ผลการพิจารณาโครงการ :ให้ทบทวนขอบเขตการดําเนินโครงการ
เลขานุการคณะกรรมการฯรายงานต่อทปี่ระชุมว่าสืบเนื่องจากการประชุม คณะกรรมการดิจิทัลกรุงเทพมหานคร คร้ังท่ี 1/2563 เม่ือวันท่ี 27 มกราคม 2563 กองนโยบายและแผนงาน สํานักส่ิงแวดล้อม ขอความเห็นชอบดําเนินการโครงการพัฒนาระบบบริหารจัดการมูลฝอยของกรุงเทพมหานคร เพ่ือพัฒนาระบบการจัดเส้นทางการเดินรถเก็บขนมูลฝอย ระบบควบคุมและติดตามการปฏิบัติงาน และพัฒนา ช่องทางออนไลน์ในการรับแจ้งจุดหรือบริเวณที่มีมูลฝอยตกค้างของประชาชน โดยขอจัดสรรงบประมาณรายจ่าย - ประจําปี พ.ศ. 256๔ - ๒๕๖๕ วงเงิน 65,000,000.- บาท (หกสิบห้าล้านบาทถว้ น) ซ่ึงที่ประชุมคณะกรรมการฯ มีมติเห็นควรให้ สํานักส่ิงแวดล้อม ทบทวนขอบเขตการดําเนินโครงการและจัดทําข้อมูลเพิ่มเติม แล้วนําเข้า พจิารณาในคณะกรรมการฯอีกครั้งและให้นําข้อสังเกตและเสนอแนะของคณะกรรมการฯไปประกอบการ ดําเนินการ ดังนี้ 1. ให้สอบทานแนวคิดการดําเนินโครงการ เหตุผลความจําเป็น หลักการและเหตุผล ความคุ้มคา่ รวมถึงพิจารณาการนําข้อมูลการติดตามรถไปใช้ประโยชน์ในการบริหารจัดการมูลฝอย 2. ให้พิจารณาเปรียบเทียบความคุ้มค่า กรณีกรุงเทพมหานครดําเนินการเอง กับการ เช่าระบบ 3. ให้พิจารณาการจัดหาอุปกรณ์ระบุตําแหน่ง (GPS) เนื่องจากในปจ้ จบุ ันเป็นการเช่า ท้ังระบบ ไม่มีการซื้อ และไม่มีค่าใช้จ่ายของซอฟท์แวร์ โดยจะได้มาพร้อมกับอุปกรณ์ระบุตําแหน่ง (GPS) 4. ให้พิจารณาการออกแบบระบบเพื่อเป็นการประหยัดค่าใช้จ่าย “ค่าบริหารจัดการ ระบบบริหารจัดการมูลฝอย” จํานวน 28,868,400.- บาทต่อปี 5. ใหพ้ ิจารณาออกแบบระบบ รวมทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟท์แวร์ เพื่อรองรับการ ส่งข้อมูลจากรถเก็บขนมูลฝอยที่ติดต้ังอุปกรณ์ระบุตําแหน่ง (GPS) 6. ให้ตรวจสอบค่าสัญญาณอุปกรณ์ระบุตําแหน่งรถฯ (3G/4G) ในเอกสาร ให้สอดคล้องกัน 7. แนบเอกสารรายละเอียดรถเก็บขนมูลฝอยที่จะติดตั้งอุปกรณ์ระบุตําแหน่ง (GPS) จํานวน 1,000 ตัว ที่จัดหาตามโครงการ ทั้งนี้หน่วยงานไดจ้ัดทํารายละเอียดเพ่ิมเติมและนําเสนอโครงการเข้ารับการพิจารณาฯ โดยขอจัดสรรงบกลาง ปี พ.ศ. 2563 วงเงิน 71,867,420.- บาท (เจ็ดสิบเอ็ดล้านแปดแสนหกหม่ืนเจ็ดพัน - สี่ร้อยยี่สิบบาทถ้วน)
/
ทปี่ ระชุมคณะกรรมการดิจิทัลกรุงเทพมหานครพิจารณาแล้วเห็นว่า เพื่อให้การ บริหารจดั การมูลฝอยของกรุงเทพมหานครเกิดประสิทธภิ าพครบท้ังกระบวนการ ต้ังแต่ต้นทาง คือ การลดการใช้ (3R) การปรับรูปแบบถังขยะเพื่อรองรับ 3R การจัดเก็บขยะโดยไม่มีขยะตกค้าง ไม่เกิดการหมักหมม ประชาชนเมือง พึงพอใจ ซ่ึงการพัฒนาระบบบริหารจัดการมูลฝอยเป็นสว่ นหน่ึงของการบริหารจัดการฯ และเพื่อให้คณะกรรมการฯ มีรายละเอียดท่ีชัดเจนเพ่ือใช้ประกอบการพิจารณา ที่ประชุมจงึ มีมติ เห็นควรให้ สํานักส่ิงแวดล้อม ทบทวนขอบเขต การดําเนินโครงการพัฒนาระบบบริหารจัดการมูลฝอยของกรุงเทพมหานครและจัดทําข้อมูลเพม่ิเติมแล้วนําเข้า พิจารณาในคณะกรรมการฯ อีกครั้ง และให้นําข้อสังเกตและเสนอแนะของคณะกรรมการดิจิทัลกรุงเทพมหานคร ไปประกอบการดําเนินการ ดังนี้ ๑. ให้พิจารณาการดําเนินการให้เกิดประโยชน์ ประหยัด คุ้มค่า โปร่งใส และ มีประสิทธิภาพ เพื่อให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 ๒. ให้จัดทํารายละเอียดที่ชัดเจนของต้นทุนการบริหารจัดการมูลฝอยฯ ที่ผ่านมา เปรียบเทียบกับการลงทุนในการดําเนินโครงการ เพื่อให้พิจารณาความคุ้มค่าในการลงทุน ประโยชน์ที่ประชาชน และกรุงเทพมหานครจะได้รับ ๓.ให้จัดทํารายละเอียดเปรียบเทียบกรณกีรุงเทพมหานครลงทุนดําเนินการเอง กับการเช่าระบบ อย่างเป็นรูปธรรม ๔. ให้ตัดค่าใช้จ่ายบุคลากรทีมบริหารจัดการระบบบริหารจัดการมูลฝอย วงเงิน ๘,๕๕,๓๒๐.- บาท เนื่องจากเป็นการจ้างบุคลากรซ้ําซ้อนในพัฒนาระบบ และพิจารณาการจ้างบุคลากร ในส่วนของทีมบริหารจัดการให้คําปรึกษาสํานักงานเขต (Coaching Team) และทีมบริหารจัดการรับแจ้ง ปัญหา ตลอด 24 ชั่วโมง ตามความจําเป็น เพื่อให้เกิดความคุ้มค่าในการดําเนินการ ๕. กรณีมีความจําเป็นต้องจัดซ้ืออุปกรณ์สําหรับ Tracking ควรกําหนดให้มีกล้อง - บันทึกภาพติดรถยนต์ โดยบันทึกทั้งหน้าและหลัง เพื่อตรวจสอบ (Cross Check) ครบทุกมิติ ทั้งพฤติกรรม ผู้ขับรถยนต์และรถยนต์ที่ร่วมใช้ถนน เพื่อเป็นหลักฐานในกรณีเกิดอุบัติเหตุ ซ่ึงในปัจจุบันมีเทคโนโลยีที่มีคุณสมบัติ สามารถตรวจสอบผู้ขับขี่ ท้ังในส่วนของการหลับใน การเมาสุรา อุณหภูมิร่างกาย เป็นต้น โดยพิจารณาความ คมุ้ คา่ ในการดําเนินการ ๖. ควรพิจารณาการเช่าซอฟท์แวร์ ซึ่งมีการ Upgrade ตลอดเวลา โดยพิจารณา ดําเนินการให้เป็นไปตามระเบียบและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
เห็นควรให้ สํานักส่ิงแวดล้อม ทบทวนขอบเขตการดําเนินโครงการพัฒนาระบบบริหาร จัดการมูลฝอยของกรุงเทพมหานคร และจัดทําข้อมูลเพิ่มเติมตามข้อสังเกตและเสนอแนะของคณะกรรมการดิจิทัล - กรุงเทพมหานคร แล้วนําเข้าพิจารณาในคณะกรรมการฯ อีกคร้ัง