รายละเอียดโครงการ/กิจกรรม

Back Home

(2564) โครงการศึกษาจัดทำฐานข้อมูลแหล่งกำเนิดไขมันเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการและใช้ประโยชน์จากสิ่งปฏิกูลประเภทไขมันในกรุงเทพมหานคร : 786

สํานักสิ่งแวดล้อม : (6065)

ผลการพิจารณาโครงการ :ให้ทบทวนขอบเขตการดําเนินโครงการ

หลักการและเหตุผล

เลขานุการคณะกรรมการฯ รายงานต่อที่ประชุมว่า สํานักงานจัดการมูลฝอยและ ส่ิงปฏิกูล สํานักส่ิงแวดล้อม ขอความเห็นชอบดําเนินการโครงการศึกษาจัดทําฐานข้อมูลแหล่งกําเนิดไขมัน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการและใช้ประโยชน์จากสิ่งปฏิกูลประเภทไขมันในกรุงเทพมหานคร โดยขอจัดสรร งบประมาณประจําปี พ.ศ. 256๔ วงเงิน 8,0๕๓,๕40.- บาท (แปดล้านห้าหม่ืนสามพันห้าร้อยสี่สิบบาทถ้วน) ซ่ึงมีรายละเอียด ดังนี้ 1. การพัฒนาระบบการให้บริการจดั เก็บไขมันแบบครบวงจรผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ รายละเอียดตามเอกสารแนบ 1) ระบบบริหารจัดการเนื้อหาและข่าวสาร 2) ระบบลงทะเบียนสถานประกอบการเพื่อใช้งานระบบ 3) ระบบลงทะเบียนสาหรับเจ้าหน้าที่เพ่ือใช้งานระบบ 4) ระบบข้อมูลสถานประกอบการ 5) ระบบแจ้งกําจัดไขมัน 6) ระบบรับแจ้งการกําจัดไขมัน(สาหรับเจ้าหน้าท่ี) 7) ระบบรายงานการให้บริการกําจัดไขมัน(สาหรับเจ้าหน้าท่ี) 8) ระบบติดตามปริมาณไขมันและแจ้งเตือนเมื่อใกล้ครบกําหนด 9) ระบบชําระเงิน 10) ระบบเว็บไซต์ 2 ภาษา 11) ระบบแผนที่ระบุพิกัด Google map 2. จ้างบุคลากรพัฒนา ศึกษาความเหมาะสมของการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการ ไขมัน ตั้งแต่การสํารวจ จัดทําฐานข้อมูลปริมาณไขมัน คาดการณ์การรับบริการของสถานประกอบการ แต่ละ ประเภท พร้อมกําหนดรูปแบบและความถ่ีในการบริการจัดเก็บไขมัน

/

วัตถุประสงค์ของโครงการ

ท่ีประชุมคณะอนุกรรมการพิจารณาโครงการด้านเทคโนโลยีดิจิทัลของหน่วยงาน กรุงเทพมหานคร คร้ังท่ี 18/2562 เมื่อวันจันทร์ที่ 23 ธันวาคม 2562 ร่วมกันพิจารณาแล้วเห็นว่า เพื่อให้ กรุงเทพมหานครมฐีานข้อมูลแหล่งกําเนิดไขมันเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการและใช้ประโยชน์จากสิ่งปฏิกูล ประเภทไขมันในกรุงเทพมหานครแบบครบวงจรผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ ทปี่ ระชุมจึงมีมติ ในหลักการเห็นควรให้ สํานักงานจัดการมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล สํานักสิ่งแวดล้อม ดําเนินการโครงการศึกษาจัดทําฐานข้อมูลแหล่งกําเนิด ไขมันเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการและใช้ประโยชน์จากสิ่งปฏิกูลประเภทไขมันในกรุงเทพมหานคร ตามท่ีเสนอ และนําข้อสังเกตและเสนอแนะของคณะอนุกรรมการฯ ไปประกอบการพิจารณาดําเนินการ ซ่ึงมีข้อสังเกตและ เสนอแนะ ดังนี้ ๑.ให้หน่วยงานจัดทําแผนภาพแสดงการเช่ือมโยงโครงการด้านเทคโนโลยีดิจทิัลของ สํานักสิ่งแวดล้อม กับระบบสารสนเทศอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ๒. ให้หน่วยงานจัดทํารายละเอียดการนําฐานข้อมูลแหล่งกําเนิดไขมันไปใช้ประโยชน์ ๓. ให้หน่วยงานนําเสนอข้อมูลปริมาณไขมันและรายได้ที่กรุงเทพมหานครจัดเก็บ

เป้าหมายของโครงการ

ทปี่ระชุมคณะกรรมการดิจิทัลกรุงเทพมหานครพิจารณาแล้วเห็นว่าเพื่อให้เกิดความ ชัดเจนของขอบเขตและรายละเอียดการดําเนินโครงการและไม่ทับซ้อนกับขอบเขตการดําเนินโครงการพัฒนา ระบบสารสนเทศการบริการประชาชนด้านสิ่งแวดล้อมกรุงเทพมหานคร และบูรณาการใช้ทรัพยากรร่วมกันเพื่อความคุ้มค่าและประหยัดงบประมาณ รวมท้ัง เพื่อให้คณะกรรมการฯ มรี ายละเอียดที่ชัดเจนเพ่ือใช้ประกอบการ พิจารณา ที่ประชุมจึงมีมติเห็นควรให้ สํานักส่ิงแวดล้อม ทบทวนขอบเขตการดําเนินโครงการศึกษาจัดทําฐานข้อมูล แหล่งกําเนิดไขมันเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการและใช้ประโยชน์จากสง่ิ ปฏิกูลประเภทไขมนั ในกรุงเทพมหานคร และจัดทําข้อมลู เพิ่มเติม แล้วนําเข้าพิจารณาในคณะกรรมการฯ อีกครั้ง และให้นําข้อสังเกตและเสนอแนะของ คณะกรรมการดิจิทัลกรุงเทพมหานครไปประกอบการดําเนินการ ดังนี้ ๑. ให้กําหนดขอบข่ายงานวิจัยต้นแบบ (Research Model) ให้ชัดเจน ท้ังในส่วนของ การกําหนดกลุ่มตัวอย่างที่เหมาะสม (Sampling Size) ขั้นตอการสํารวจ จํานวนครั้งการจัดเก็บข้อมูล ความ เปลี่ยนแปลงของการเกิดไขมัน เพื่อคาดการณ์ (Predict) เพ่ือนําไปใช้สําหรับการบริหารจัดการ ๒. ระบบสารสนเทศการบริการประชาชนด้านสิ่งแวดล้อมกรุงเทพมหานครควรมีเพียงระบบ เดียวในการให้บริการประชาชน และเช่ือมโยงกับระบบสารสนเทศที่เก่ียวข้อง ๓. ให้พิจารณาขอบเขตการดําเนินการ “การพัฒนาระบบการให้บริการจัดเก็บไขมันแบบ ครบวงจรผ่านระบบอเิล็กทรอนิกส์”มีความซ้ําซ้อนกับโครงการพัฒนาระบบสารสนเทศการบริการประชาชน ด้านส่ิงแวดล้อมกรุงเทพมหานคร” ในส่วนของ “การบริการสูบสิ่งปฏิกูลประเภทไขมัน” ในส่วนใด และให้จัดทํา รายละเอียดฟังกช์ ันของระบบของรายการค่าใช้จ่าย“การจ้างบุคลากรในการพัฒนาระบบวงเงนิ ๕,๓๔๒,๐๔๐.-บาท” และพิจารณาค่าใช้จ่ายให้เหมาะสมสอดคล้องกับขอบเขตการพัฒนาระบบ ๔. หากโครงการดําเนินการแล้วเสร็จ ให้พิจารณานําข้อมูลที่จัดเก็บในระบบ ซึ่งเป็น ข้อมูลจากการใช้จริง (Usage) ทั้งข้อมูลการให้บริการและค่าธรรมเนียมที่จัดเก็บ ไม่ใช่ข้อมูลจากการประมาณการ รวมทั้งรายงานต่าง ๆ มาใช้ในการวิเคราะห์เพื่อพิจารณาแนวทางการดําเนินการในอนาคต ๕. ให้พิจารณาปรับโครงการและเอกสารให้ชัดเจน ทั้งในส่วนของชื่อโครงการ วัตถุประสงค์ ขอบเขตการดําเนินโครงการ และค่าใช้จ่ายในการดําเนินการ ให้สอดคล้องกับความต้องการของ หน่วยงาน หากเป็นการจ้างที่ปรึกษาเพ่ือศึกษาและสํารวจฯ ควรกําหนดกลุ่มตัวอย่างที่เหมาะสม (Sampling Size) เพื่อประกอบการคํานวณค่าใช้จ่ายในการพัฒนาและจัดทําฐานข้อมูลฯ หากเป็นการจ้างพัฒนาระบบ ในการให้บริการและจัดเก็บค่าธรรมเนียม ให้พิจารณาขอบเขตการดําเนินการไม่ให้ซ้ําซ้อนกับระบบสารสนเทศ การบริการประชาชนด้านสิ่งแวดล้อมกรุงเทพมหานคร มติท่ีประชุม เห็นควรให้ สํานักสิ่งแวดล้อม ทบทวนขอบเขตการดําเนินโครงการศึกษาจัดทํา ฐานข้อมูลแหล่งกําเนิดไขมันเพ่ือเพ่ิมประสิทธิภาพการจัดการและใช้ประโยชน์จากสงิ่ ปฏิกูลประเภทไขมัน ในกรุงเทพมหานคร และจัดทําข้อมูลเพิ่มเติมตามข้อสังเกตและเสนอแนะของคณะกรรมการดิจิทัลกรุงเทพมหานคร แล้วนําเข้าพิจารณาในคณะกรรมการฯ อีกครั้ง

สนับสนุนยุทธศาสตร์กรุงเทพมหานครฯ

แผนการดำเนินงานฯ

(ทดสอบ) แสดงขั้นตอนการดำเนินงานโครงการ : 786

(คลิก) ขั้นตอนการปฏิบัติงานของโครงการ : 786

สนับสนุนตัวชี้วัดตามแผนฯ

รายละเอียดเกี่ยวกับตัวชี้วัด :

** ผลการประเมินโครงการ (รายไตรมาส) **