ลำดับ | ยุทธศาสตร์ 20 ปี | แผนแม่บทไอที | ปีงบประมาณ | ชื่อโครงการ | หลักการและเหตุผล | วัตถุประสงค์โครงการ | เป้าหมายโครงการ | งบประมาณที่ได้รับ | งบประมาณที่ใช้ไป | หน่วยงานที่รับผิดชอบ | เริ่มโครงการ | สิ้นสุดโครงการ | สถานะโครงการ | คืบหน้า (ร้อยละ) |
1 | 7.0.1. ด้านที่ ๗ – การบริหารจัดการเมืองมหานคร : Management Strategy |
4.2.1 | 2560 | 25. กิจกรรมการปรับปรุงข้อมูลบนเว็บไซต์ของกองกลาง (ฝบ.) | เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ข้อมูลการดำเนินการ ข่าวสาร และการให้บริการแก่หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ประชาชน รวมทั้งข้าราชการลูกจ้างของกรุงเทพมหานครทางเว็บไชต์กองกลาง เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้ผู้รับบริการจากกองกลาง เพื่อเป็นการเสริมสร้างภาพลักษณ์ของกองกลาง สร้างความสะดวกสำหรับผู้รับบริการที่จะค้นหาข้อมูล หรือติดต่อขอรับบริการจากกองกลาง และช่วยในการสร้างความรู้สึกประทับใจแก่ผู้เยี่ยมชมเว็บไชต์กองกลาง | - เพื่อเสริมสร้างภาพลักษณ์ของกองกลาง ให้มีความทันสมัยน่าเชื่อถือ และสร้างความประทับใจแก่ผู้เยี่ยมชมเว็บไชต์กองกลาง | - เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสาร กิจกรรม การให้บริการต่าง ๆ ผ่านทางเว็บไชต์กองกลาง | 0.00 | 0.00 | ** สำนักงานเลขานุการ สํานักปลัดกรุงเทพมหานคร | 2016-10-01 00:00:00 | 2017-09-30 00:00:00 | แล้วเสร็จ | 100.00 |
2 | 7.0.1. ด้านที่ ๗ – การบริหารจัดการเมืองมหานคร : Management Strategy |
4.2. | 2560 | 21. กิจกรรมสำรวจความพึงพอใจของผู้มารับบริการค้นหาเอกสารที่ได้รับการจัดเก็บด้วยระบบคอมพิวเตอร์ (ฝอ.) | กองกลาง มีภารกิจประการหนึ่งในการจัดเก็บเอกสารประเภทคำสั่งของกรุงเทพมหานคร และคำสั่งสำนักปลัดกรุงเทพมหานคร และเอกสารด้านการทะเบียน ซึ่งจะมีข้าราชการและบุคลากรที่จำเป็นต้องการใช้คำสั่งดังกล่าว มาติดต่อขอรับสำเนาเพื่อไปประกอบกิจธุระต่าง ๆ ตามความประสงค์ | - เพื่ออำนวยความสะดวกรวดเร็วในการค้นหาเอกสารที่ได้รับการจัดเก็บด้วยระบบคอมพิวเตอร์ให้แก่ผู้มารับบริการ | - เพื่อดำเนินการจัดเก็บเอกสารต้นฉบับคำสั่งและเอกสารด้านทะเบียนให้ถูกต้องครบถ้วนด้วยระบบคอมพิวเตอร์ | 0.00 | 0.00 | ** สำนักงานเลขานุการ สํานักปลัดกรุงเทพมหานคร | 2016-10-01 00:00:00 | 2017-09-30 00:00:00 | แล้วเสร็จ | 100.00 |
3 | 7.0.1. ด้านที่ ๗ – การบริหารจัดการเมืองมหานคร : Management Strategy |
4.2. | 2561 | 7. กิจกรรมส่งเสริมศูนย์ข้อมูลข่าวสารของราชการให้เป็นศูนย์ฯ โดดเด่น (ฝอ.) | นายกรัฐมนตรีกำหนดให้ปี 2560 เป็นปีแห่งศูนย์ข้อมูลข่าวสารของราชการ ทุกส่วนราชการและหน่วยงานภาครัฐทุกแห่งมีศูนย์ข้อมูลข่าวสารของราชการ รวมทั้งให้สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีีร่วมกับทุกหน่วยงานเปิดเผยข้อมูลข่าวสารในการบริหารงานภาครัฐให้ได้ภายในปี 2560 และนำผลงานมาคัดเลือกเพื่อมอบประกาศเกียรติคุณศูนย์ข้อมูลข่าวสารของราชการโดดเด่น ซึ่งหน่วยงานของกรุงเทพมหานคร จำนวน 7 หน่วยงาน สมัครเข้ารับการคัดเลือก และสำนักงานเขตบางกอกใหญ่ได้รับการคัดเลือกให้เป็นศูนย์ข้อมูลข่าวสารโดดเด่น สำหรับปี 2561 กองกลาง สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร จะดำเนินการผลักดันให้หน่วยงานอื่น ๆ มีการดำเนินการได้ระดับเกณฑ์มาตรฐานขั้นสูงจนกระทั่งสามารถสมัครเข้ารับการคัดเลือกเป็นศูนย์ข้อมูลข่าวสารฯ โดดเด่นได้ กระตุ้นให้หน่วยงานมีความตื่นตัวในการดำเนินการอันเป็นการปฏิบัติตามกฎหมาย และส่งผลให้หน่วยงานมีการดำเนินการด้านข้อมูลข่าวสารเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน เป็นการยกระดับคุณภาพการดำเนินการศูนย์ข้อมูลข่าวสารของกรุงเทพ-มหานคร และสอดรับกับนโยบายการบริหารงานของผู้ว่าราชการกรุงเทพเทพมหานคร "นโยบายทันใจ" นโยบายที่ 1 สะอาด (CLEAN) การบริหารราชการใสสะอาด | - กระตุ้นให้หน่วยงานมีความตื่นตัวในการดำเนินการอันเป็นการปฏิบัติตามกฎหมาย และหน่วยงานมีการดำเนินการศูนย์ข้อมูลข่าวสารตามเกณฑ์มาตรฐาน | - ผลักดันให้หน่วยงานสมัครเข้ารับการคัดเลือกเป็นศูนย์ข้อมูลข่าวสารโดดเด่น ไม่น้อยกว่า 8 หน่วยงาน | 0.00 | 0.00 | ** สำนักงานเลขานุการ สํานักปลัดกรุงเทพมหานคร | 2017-10-01 00:00:00 | 2018-09-30 00:00:00 | แล้วเสร็จ | 100.00 |
4 | 7.0.1. ด้านที่ ๗ – การบริหารจัดการเมืองมหานคร : Management Strategy |
4.2.1 | 2562 | 2. โครงการพัฒนาระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ของกรุงเทพมหานคร (กสอ.) | สำนักงานเลขานุการปลัดกรุงเทพมหานคร สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับงานสารบรรณกลางของกรุงเทพมหานคร ซึ่งระบบงานสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ได้ติดตั้งเมื่อปี พ.ศ.2548 เป็นระบบงานที่ใช้สำหรับจัดเก็บข้อมูลเท่านั้น ไม่สามารถเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างหน่วยงานได้อีกทั้งระบบดังกล่าวใช้งานมานาน เป็นเวลา 12 ปีแล้ว และปัจจุบันไม่สามารถใช้งานได้ จึงเห็นควรที่จะจัดทำโครงการระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ของกรุงเทพมหานคร ตามแผนพัฒนากรุงเทพมหานคร ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2556-2575) ที่ได้กำหนดวิสัยทัศน์ "มหานครแห่งเอเชีย" ซึ่งเครื่องมือที่สำคัญในการพัฒนากรุงเทพมหานครไปสู่เป้าหมาย และวิสัยทัศน์ดังกล่าวได้นั้น คือการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาปรับใช้ให้เหมาะสมเกิดประโยชน์ และปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล อีกทั้งการพัฒนาคุณภาพบุคลากรภาครัฐให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ยุคสมัยของรัฐบาลดิจิทัล โดยพัฒนาตาม "กรอบแนวทางการเชื่อมโยงรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ" หรือ "Thailand e-Government Interoperability Framework"(TH e-GIF) | 1. เพื่อนำไปสู่เป้าหมายสูงสุดในการสร้างระบบธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถให้บริการแบบเบ็ดเสร็จ ณ จุด เดียวกัน ด้วยการบูรณาการเชื่อมโยงระบบข้อมูลระหว่างหน่วยงานของกรุงเทพมหานครเข้าด้วยกัน 2. เพื่อเพิ่มศักยภาพการปฏิบัติงานด้านงานสารบรรณ สำหรับการรับ-ส่งหนังสือระหว่างหน่วยงานในสังกัดกรุงเทพมหานคร ด้วยเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ตามนโยบายของกรุงเทพมหานคร 3. เพื่อเป็นเครื่องมือช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและความรวดเร็วในการสั่งการของผู้บริหารและเพิ่มความสะดวกในการกระจายงานสู่ผู้ปฏิบัติ 4. เพื่อพัฒนาระบบการจัดเก็บเอกสาร และการสืบค้นเอกสารของหน่วยงานได้อย่างมีระบบ ลดปัญหาเอกสารฉบับจริงสูญหาย โดยจัดเก็บสำเนาเอกสาร ไว้ในระบบและรักษาความสำคัญของข้อมูลสารบรรณด้วยระบบรักษาความปลอดภัยและลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ 5. เตรียมพร้อมโครงสร้างระบบข้อมูลสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ภายใต้กรอบ TH e-GIF เพื่อการแลกเปลี่ยนข้อมูลกับส่วนราชการอื่น ๆ ได้ในอนาคต 6. เพื่อสามารถบริหารจัดการข้อมูล ลดจำนวนการใช้งานหรือยกเลิกการใช้กระดาษและลดขั้นตอนการปฏิบัติงานไม่ให้เกิดการซ้ำซ้อน 7. เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการติดตามสถานะของหนังสือ/เอกสารที่เกี่ยวข้องรวมถึงระยะเวลาดำเนินการ ในแต่ละขั้นตอนได้ 8. เพื่อให้มีระบบหนังสือเวียนอิเล็กทรอนิกส์ ที่อำนวยความสะดวก รวดเร็ว ในการเวียนหนังสือภายใน 9. เพื่อให้สามารถจองห้องประชุมในระบบ และสามารถนัดหมายการประชุมกับผู้บริหารในระบบได้ | เป็นระบบที่ออกแบบให้สามารถให้บริการครอบคลุมหน่วยงานในสังกัดกรุงเทพมหานครทั้ง 77 หน่วยงาน/ส่วนราชการ ได้แก่ 16 สำนัก สำนักงานเลขานุการสภากรุงเทพมหานคร สำนักงานเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเพมหานคร สำนักงานเขต 50 เขต และส่วนราชการในสังกัดสำนักปลัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 9 ส่วนราชการ โดยไม่จำกัดจำนวนผู้ใช้งาน โดยมีระบบงานที่จะเกิดขึ้นได้แก่ ระบบงานสารบรรณและจัดเก็บเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ ระบบหนังสือเวียนอิเล็กทรอนิกส์ ระบบบริหารจัดการห้องประชุม ซึงหน่วยงานเข้าใช้งานแบบเต็มระบบจะสามารถใช้งานระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ในเรื่องการรับ-ส่งหนังสือการร่างหนังสือการค้นหาและติตตามงาน การปิดงานและยกเลิกเอกสาร การออกเลขหนังสือ การใช้งานระบบจัดเก็บเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ การใช้งานระบบหนังสือเวียนอิเล็กทรอนิกส์ และระบบบริหารจัดการห้องประชุม | 14,700,000.00 | 0.00 | ** สำนักงานเลขานุการ สํานักปลัดกรุงเทพมหานคร | 2018-10-01 00:00:00 | 2021-09-30 00:00:00 | แล้วเสร็จ | 100.00 |
5 | 7.0.1. ด้านที่ ๗ – การบริหารจัดการเมืองมหานคร : Management Strategy |
4.2. | 2563 | 4.ความสำเร็จในการให้บริการติดตามหนังสือราชการผ่าน Line@ | แผนปฏิบัติราชการกรุงเทพมหานคร ประจำปี พ.ศ. 2563 กรุงเทพมหานครได้กำหนดเป้าหมายที่จะให้บริการประชาชนด้วยความสะดวก รวดเร็ว โดยประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่ทันสมัย (SMART SERVICE) และมีการบริหารจัดการเมือง (กรุงเทพมหานคร) ด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารที่มีคุณภาพและประสิทธิภาพ (SMART CITY) มีระบบบริการอิเล็กทรอนิกส์สำหรับให้บริการประชาชนหรือมีการเชื่อมโยงข้อมูลเพื่อการให้บริการประชาชนระหว่างหน่วยงานภาครัฐ และหรือภาคเอกชน | 1. เพื่อเพิ่มช่องทางในการติดตามหนังสือราชการให้กับหน่วยงานและเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน 2. เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานให้บริการติดตามหนังสือราชการของสำนักงานเลขานุการปลัดกรุงเทพมหานคร 3. เพื่อให้ผู้ใช้บริการมีความพึงพอใจต่อการให้บริการติดตามหนังสือราชการของสำนักงานเลขานุการปลัดกรุงเทพมหานคร | 1. เพิ่มช่องทางในการติดตามหนังสือราชการจำนวน 1 ช่องทาง (Line@) 2. เจ้าหน้าที่ส่วนเลขานุการแจ้งรับทราบการติดตามหนังสือราชการผ่าน Line@ ภายใน 15 นาที 3. เจ้าหน้าที่ส่วนเลขานุการแจ้งผลการติดตามหรือความคืบหน้าของหนังสือราชการผ่าน Line@ ภายใน 30 นาที 4. ผู้ใช้บริการที่ประเมินความพึงพอใจ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 มีความพึงพอใจต่อการให้บริการติดตามนังสือราชการ ของสำนักงานเลขานุการปลัดกรุงเทพมหานครในระดับมากหรือมากที่สุด | 0.00 | 0.00 | ** สำนักงานเลขานุการ สํานักปลัดกรุงเทพมหานคร | 2019-10-01 00:00:00 | 2020-09-29 00:00:00 | แล้วเสร็จ | 100.00 |
6 | 7.0.1. ด้านที่ ๗ – การบริหารจัดการเมืองมหานคร : Management Strategy |
4.2. | 2563 | 5. กิจกรรมการศึกษาแนวทางการจัดทำระบบสารสนเทศที่ใช้ในการบริหารจัดการเรื่องร้องเรียนของกรุงเทพมหานครเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการของศูนย์ กทม.1555 | ตามแผนปฏิบัติราชการของกรุงเทพมหานคร ประจำปี พ.ศ. 2563 ได้กำหนดให้มีโครงการเพิ่มประสิทธิภาพศูนย์กทม. 1555 เป็นโครงการเร่งด่วน (Quick Win) และโครงการเป้าหมายสำคัญ (Flagship) ระยะกลาง ที่ต้องดำเนินการในปี พ.ศ. 2563 แต่เนื่องด้วยการดำเนินการโครงการดังกล่าวนั้น มีความจำเป็นต้องศึกษาข้อมูลความต้องการของผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องด้านการจัดการเรื่องเรียน ข้อดีข้อเสีย ความเป็นไปได้ และความเสี่ยงในการจัดทำระบบฯ เพื่อรองรับการให้บริการประชาชนในยุค Thailand 4.0 ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เพื่อกำหนดเป็นแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพศูนย์กทม. 1555 ต่อไป | 1. เพื่อศึกษาแนวทางการจัดทำระบบสารสนเทศที่ใช้ในการบริหารจัดการเรื่องร้องเรียนของกรุงเทพมหานครเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการศูนย์กทม. 1555 2. เพื่อนำผลการศึกษาฯ มาดำเนินการพัฒนาให้เป็นรูปธรรม สามารถนำมาพัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการศูนย์กทม. 1555 | 1. มีผลการศึกษาฯ ฉบับสมบูรณ์ 1 ฉบับ 2. สามารถนำผลการศึกษาฯ มาดำเนินการพัฒนาให้เป็นรูปธรรมอย่างน้อย ๑ ชิ้นงาน | 0.00 | 0.00 | ** สำนักงานเลขานุการ สํานักปลัดกรุงเทพมหานคร | 2019-10-01 00:00:00 | 2020-09-29 00:00:00 | แล้วเสร็จ | 100.00 |
7 | 7.0.1. ด้านที่ ๗ – การบริหารจัดการเมืองมหานคร : Management Strategy |
4.2. | 2563 | 4.1 โครงการพัฒนาฐานข้อมูลของหน่วยงานสังกัดกรุงเทพมหานครประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2563 | กรุงเทพมหานครมีหนังสือ ด่วนที่สุด ที่ กท 0502/42 ลงวันที่ 28 มกราคม 2563 แจ้งแนวทางการดำเนินงานตัวชี้วัด 4.1 ร้อยละความสำเร็จของการพัฒนาฐานข้อมูลของหน่วยงานสังกัดกรุงเทพมหานครประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2563 ให้หน่วยงานทราบและพิจารณาดำเนินการ เพื่อให้การพัฒนาฐานข้อมูลของหน่วยงานสังกัดกรุงเทพ-มหานครเป็นไปด้วยความเรียบร้อย กลุ่มงานสารบรรณกลางและบริหารเอกสารได้จัดกิจกรรมผลักดันศูนย์ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์โดยดำเนินการตรวจการนำเข้าข้อมูลในศูนย์ข้อมูลข่าวสารอิเล็กทรอนิกส์เป็นประจำทุกเดือน ตั้งแต่เดือนมกราคม-มิถุนายน 2563 และดำเนินการนำเข้าข้อมูลการตรวจศูนย์ข้อมูลข่าวสารอิเล็กทรอนิกส์ในระบบบันทึก ฐานข้อมูลประกอบตัวชี้วัด 4.1 โดยดำเนินการตั้งแต่เดือนมิถุนายนถึงกันยายน 2563 | เพื่อให้สามารถพัฒนาระบบฐานข้อมูลของ สลป.ได้ | สามารถจัดทำระบบฐานข้อมูลของ สลป.ได้จำนวน 1 โครงการ | 0.00 | 0.00 | ** สำนักงานเลขานุการ สํานักปลัดกรุงเทพมหานคร | 2019-10-01 00:00:00 | 2020-09-29 00:00:00 | แล้วเสร็จ | 100.00 |
8 | 7.0.1. ด้านที่ ๗ – การบริหารจัดการเมืองมหานคร : Management Strategy |
4.2. | 2563 | 6. โครงการพัฒนาระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ของกรุงเทพมหานคร | สำนักงานเลขานุการปลัดกรุงเทพมหานคร สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับงานสารบรรณกลางของกรุงเทพมหานคร ซึ่งระบบงานสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ได้ติดตั้งเมื่อปี พ.ศ.2548 เป็นระบบงานที่ใช้สำหรับจัดเก็บข้อมูลเท่านั้น ไม่สามารถเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างหน่วยงานได้อีกทั้งระบบดังกล่าวใช้งานมานาน เป็นเวลา 12 ปีแล้ว และปัจจุบันไม่สามารถใช้งานได้ จึงเห็นควรที่จะจัดทำโครงการระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ของกรุงเทพมหานคร ตามแผนพัฒนากรุงเทพมหานคร ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2556-2575) ที่ได้กำหนดวิสัยทัศน์ "มหานครแห่งเอเชีย" ซึ่งเครื่องมือที่สำคัญในการพัฒนากรุงเทพมหานครไปสู่เป้าหมาย และวิสัยทัศน์ดังกล่าวได้นั้น คือการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาปรับใช้ให้เหมาะสมเกิดประโยชน์ และปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล อีกทั้งการพัฒนาคุณภาพบุคลากรภาครัฐให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ยุคสมัยของรัฐบาลดิจิทัล โดยพัฒนาตาม "กรอบแนวทางการเชื่อมโยงรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ" หรือ "Thailand e-Government Interoperability Framework"(TH e-GIF) | 1. เพื่อนำไปสู่เป้าหมายสูงสุดในการสร้างระบบธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถให้บริการแบบเบ็ดเสร็จ ณ จุด เดียวกัน ด้วยการบูรณาการเชื่อมโยงระบบข้อมูลระหว่างหน่วยงานของกรุงเทพมหานครเข้าด้วยกัน 2. เพื่อเพิ่มศักยภาพการปฏิบัติงานด้านงานสารบรรณ สำหรับการรับ-ส่งหนังสือระหว่างหน่วยงานในสังกัดกรุงเทพมหานคร ด้วยเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ตามนโยบายของกรุงเทพมหานคร 3. เพื่อเป็นเครื่องมือช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและความรวดเร็วในการสั่งการของผู้บริหารและเพิ่มความสะดวกในการกระจายงานสู่ผู้ปฏิบัติ 4. เพื่อพัฒนาระบบการจัดเก็บเอกสาร และการสืบค้นเอกสารของหน่วยงานได้อย่างมีระบบ ลดปัญหาเอกสารฉบับจริงสูญหาย โดยจัดเก็บสำเนาเอกสาร ไว้ในระบบและรักษาความสำคัญของข้อมูลสารบรรณด้วยระบบรักษาความปลอดภัยและลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ 5. เตรียมพร้อมโครงสร้างระบบข้อมูลสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ภายใต้กรอบ TH e-GIF เพื่อการแลกเปลี่ยนข้อมูลกับส่วนราชการอื่น ๆ ได้ในอนาคต 6. เพื่อสามารถบริหารจัดการข้อมูล ลดจำนวนการใช้งานหรือยกเลิกการใช้กระดาษและลดขั้นตอนการปฏิบัติงานไม่ให้เกิดการซ้ำซ้อน 7. เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการติดตามสถานะของหนังสือ/เอกสารที่เกี่ยวข้องรวมถึงระยะเวลาดำเนินการ ในแต่ละขั้นตอนได้ 8. เพื่อให้มีระบบหนังสือเวียนอิเล็กทรอนิกส์ ที่อำนวยความสะดวก รวดเร็ว ในการเวียนหนังสือภายใน 9. เพื่อให้สามารถจองห้องประชุมในระบบ และสามารถนัดหมายการประชุมกับผู้บริหารในระบบได้ | เป็นระบบที่ออกแบบให้สามารถให้บริการครอบคลุมหน่วยงานในสังกัดกรุงเทพมหานครทั้ง 77 หน่วยงาน/ส่วนราชการ ได้แก่ 16 สำนัก สำนักงานเลขานุการสภากรุงเทพมหานคร สำนักงานเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเพมหานคร สำนักงานเขต 50 เขต และส่วนราชการในสังกัดสำนักปลัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 9 ส่วนราชการ โดยไม่จำกัดจำนวนผู้ใช้งาน โดยมีระบบงานที่จะเกิดขึ้นได้แก่ ระบบงานสารบรรณและจัดเก็บเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ ระบบหนังสือเวียนอิเล็กทรอนิกส์ ระบบบริหารจัดการห้องประชุม ซึงหน่วยงานเข้าใช้งานแบบเต็มระบบจะสามารถใช้งานระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ในเรื่องการรับ-ส่งหนังสือการร่างหนังสือการค้นหาและติตตามงาน การปิดงานและยกเลิกเอกสาร การออกเลขหนังสือ การใช้งานระบบจัดเก็บเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ การใช้งานระบบหนังสือเวียนอิเล็กทรอนิกส์ และระบบบริหารจัดการห้องประชุม | 10,800,000.00 | 0.00 | ** สำนักงานเลขานุการ สํานักปลัดกรุงเทพมหานคร | 2018-11-27 00:00:00 | 2021-09-30 00:00:00 | แล้วเสร็จ | 100.00 |
9 | 7.0.1. ด้านที่ ๗ – การบริหารจัดการเมืองมหานคร : Management Strategy |
0.0.0 | 2564 | โครงการคลินิกให้คำปรึกษาการปฏิบัติงานออนไลน์ | ด้วยแผนปฏิบัติราชการประจำปี พ.ศ. 2564 สำนักงานเลขานุการปลัดกรุงเทพมหานคร สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร กำหนดให้สำนักงานเลขานุการปลัดกรุงเทพมหานคร มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับ งานสารบรรณกลางของกรุงเทพมหานคร งานด้านพิธีการต่าง ๆ การประสานงานด้านพระราชพิธี รัฐพิธี และ พิธีการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับกรุงเทพมหานคร รวมถึงงานกลั่นกรองงาน ตรวจสอบเอกสาร ยกร่างหนังสือหรือสรุปเรื่อง ทำบันทึกความเห็นและเอกสารประกอบ เพื่อเสนอปลัดกรุงเทพมหานคร และรองปลัดกรุงเทพมหานคร ให้คำปรึกษาแนะนำเกี่ยวกับการยกร่างหรือแก้ไขหนังสือ และการอ้างอิงข้อกฎหมาย ระเบียบ คำสั่ง หรือหนังสือสั่งการที่เกี่ยวข้อง จากการดำเนินงานที่ผ่านมามีหน่วยงานในสังกัดกรุงเทพมหานครได้ประสานงานไปยังสำนักงานเลขานุการปลัดกรุงเทพมหานคร เพื่อขอปรึกษา หารือ และขอคำแนะนำในการปฏิบัติงานเกี่ยวกับงานดังกล่าวเป็นจำนวนมาก ดังนั้น เพื่อให้การปฏิบัติงานของหน่วยงานในสังกัดกรุงเทพมหานครที่เกี่ยวข้องกับงานต่างๆ ของสำนักงานเลขานุการปลัดกรุงเทพมหานคร เป็นไปด้วยความเรียบร้อย ถูกต้อง รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ ส่วนเลขานุการ สำนักงานเลขานุการปลัดกรุงเทพมหานคร จึงได้จัดทำโครงการคลินิกให้คำปรึกษาการปฏิบัติงานออนไลน์ โดยการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาสนับสนุนการปฏิบัติงานให้มีความสะดวกและรวดเร็ว เพื่อเพิ่มช่องทางในการให้คำปรึกษาการปฏิบัติงานแก่หน่วยงานในสังกัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 1 ช่องทาง คือ เพจ Facebook ชื่อ สำนักงานเลขานุการปลัดกรุงเทพมหานคร | 1. เพื่อเพิ่มช่องทางในการให้คำปรึกษาการปฏิบัติงานให้กับหน่วยงานในสังกัดกรุงเทพมหานคร 2. เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานให้บริการให้คำปรึกษาการปฏิบัติงานของสำนักงานเลขานุการปลัดกรุงเทพมหานคร 3. เพื่อให้ผู้ใช้บริการมีความพึงพอใจต่อการให้บริการให้คำปรึกษาการปฏิบัติงานของสำนักงานเลขานุการปลัดกรุงเทพมหานคร | 1. เพิ่มช่องทางในการให้คำปรึกษาการปฏิบัติงาน จำนวน 1 ช่องทาง (Facebook) 2. ร้อยละ 80 ของจำนวนเรื่องที่หน่วยงานขอรับคำปรึกษา สามารถดำเนินการได้แล้วเสร็จภายใน 1 วัน นับจากเวลาที่หน่วยงานโพสต์คำถามหรือเรื่องที่ขอรับคำปรึกษา 3. ร้อยละ 80 ของหน่วยงานที่ขอรับคำปรึกษา มีความพึงพอใจในการให้บริการให้คำปรึกษาการปฏิบัติงานในระดับมากหรือมากที่สุด | 0.00 | 0.00 | ** สำนักงานเลขานุการ สํานักปลัดกรุงเทพมหานคร | 2020-10-01 00:00:00 | 2021-09-30 00:00:00 | แล้วเสร็จ | 100.00 |
10 | 7.0.1. ด้านที่ ๗ – การบริหารจัดการเมืองมหานคร : Management Strategy |
0.0.0 | 2564 | โครงการพัฒนาระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ของกรุงเทพมหานคร | สำนักงานเลขานุการปลัดกรุงเทพมหานคร สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับงานสารบรรณกลางของกรุงเทพมหานคร ซึ่งระบบงานสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ได้ติดตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2548 เป็นระบบงานที่ใช้สำหรับจัดเก็บข้อมูลเท่านั้น ไม่สามารถเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างหน่วยงานได้ อีกทั้งระบบดังกล่าวใช้งานมานานเป็นเวลา 13 ปีแล้ว และปัจจุบันไม่สามารถใช้งานได้ จึงเห็นควรที่จะจัดทำโครงการพัฒนาระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ของกรุงเทพมหานคร ซึ่งตามแผนพัฒนากรุงเทพมหานคร ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2556-2575) ที่ได้กำหนดวิสัยทัศน์ “มหานครแห่งเอเชีย” โดยเครื่องมือที่สำคัญในการพัฒนากรุงเทพมหานครไปสู่เป้าหมาย และวิสัยทัศน์ดังกล่าวได้นั้น คือ การนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาปรับใช้ให้เหมาะสม เกิดประโยชน์ และปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล อีกทั้งการพัฒนาคุณภาพบุคลากรภาครัฐให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ยุคสมัยของรัฐบาลดิจิทัล โดยพัฒนาตาม “กรอบแนวทางการเชื่อมโยงรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ” หรือ “Thailand e-Government Interoperability Framework” (TH e-GIF) | 1. เพื่อเพิ่มศักยภาพการปฏิบัติงานด้านงานสารบรรณในการรับ-ส่งหนังสือแบบรวมศูนย์ (Centralized) ตั้งแต่ระดับหน่วยงานถึงระดับบุคคลด้วยเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ตามนโยบายของกรุงเทพมหานคร 2. เพื่อเพิ่มศักยภาพในการร่างหนังสือผ่านแบบฟอร์มอิเล็กทรอนิกส์ ลงนามด้วยลายมือชื่อดิจิทัล (Digital Signature) ลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Signature) รองรับการใช้งานผ่านระบบด้วย Personal Computer หรือ Mobile Device 3. เพื่อเป็นเครื่องมือช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและความรวดเร็วในการสั่งการของผู้บริหารและเพิ่มความสะดวกในการกระจายงานสู่ผู้ปฏิบัติ 4. เพื่อพัฒนาระบบการจัดเก็บเอกสาร และการสืบค้นเอกสารของหน่วยงานได้อย่างมีระบบ ลดปัญหาเอกสารฉบับจริงสูญหายโดยจัดเก็บสำเนาเอกสารไว้ในระบบและรักษาความสำคัญของข้อมูลสารบรรณด้วยระบบรักษาความปลอดภัยและลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ 5. เตรียมพร้อมโครงสร้างระบบข้อมูลสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ภายใต้กรอบ TH e-GIF เพื่อการแลกเปลี่ยนข้อมูลกับส่วนราชการอื่น ๆ ได้ในอนาคต 6. เพื่อสามารถบริหารจัดการข้อมูล ลดจำนวนการใช้งานหรือยกเลิกการใช้กระดาษ และลดขั้นตอนการปฏิบัติงานไม่ให้เกิดการซ้ำซ้อน 7. เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการติดตามสถานะของหนังสือ/เอกสารที่เกี่ยวข้องรวมถึงระยะเวลาดำเนินการในแต่ละขั้นตอนได้ 8. เพื่อให้มีระบบหนังสือเวียนอิเล็กทรอนิกส์ที่อำนวยความสะดวก รวดเร็ว ในการเวียนหนังสือภายใน 9. เพื่อให้สามารถจองห้องประชุมในระบบ และสามารถนัดหมายการประชุมกับผู้บริหารในระบบได้ | เป็นระบบที่ออกแบบให้สามารถให้บริการครอบคลุมหน่วยงานในสังกัดกรุงเทพมหานครทั้ง 77 หน่วยงาน/ส่วนราชการ ได้แก่ 16 สำนัก สำนักงานเลขานุการสภากรุงเทพมหานคร สำนักงานเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเพมหานคร สำนักงานเขต 50 เขต และส่วนราชการในสังกัดสำนักปลัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 9 ส่วนราชการ โดยไม่จำกัดจำนวนผู้ใช้งาน โดยมีระบบงานที่จะเกิดขึ้นได้แก่ ระบบงานสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ ระบบงานจัดเก็บเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ ระบบหนังสือเวียนอิเล็กทรอนิกส์ ระบบบริหารจัดการห้องประชุม และระบบบริหารจัดการและจองรถยนต์ส่วนกลางสำหรับสำนักงานเลขานุการปลัดกรุงเทพมหานคร ซึ่งหน่วยงานเข้าใช้งานแบบเต็มระบบจะสามารถใช้งานระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ในเรื่องการรับ-ส่งหนังสือการร่างหนังสือการค้นหาและติตตามงาน การปิดงานและยกเลิกเอกสาร การออกเลขหนังสือ การใช้งานระบบจัดเก็บเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ การใช้งานระบบหนังสือเวียนอิเล็กทรอนิกส์ และระบบบริหารจัดการห้องประชุม | 14,700,000.00 | 0.00 | ** สำนักงานเลขานุการ สํานักปลัดกรุงเทพมหานคร | 2020-10-01 00:00:00 | 2021-09-30 00:00:00 | กำลังดำเนินการ | 60.00 |
รวม ->10 โครงการ | 0 | 0.00 | 0.00 | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 | 0 | 0 | 0 | 0 |