ลำดับ | ยุทธศาสตร์ 20 ปี | แผนแม่บทไอที | ปีงบประมาณ | ชื่อโครงการ | หลักการและเหตุผล | วัตถุประสงค์โครงการ | เป้าหมายโครงการ | งบประมาณที่ได้รับ | งบประมาณที่ใช้ไป | หน่วยงานที่รับผิดชอบ | เริ่มโครงการ | สิ้นสุดโครงการ | สถานะโครงการ | คืบหน้า (ร้อยละ) |
1 | 7.0.1. ด้านที่ ๗ – การบริหารจัดการเมืองมหานคร : Management Strategy |
4.2.1 | 2560 | กิจกรรมการประชาสัมพันธ์ข้อมูลเกี่ยวกับงานต่างประเทศเพื่อให้ความรู้แก่ประชาชนผ่านสื่อออนไลน์ | การประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวกับงานด้านต่างประเทศ และกิจกรรมด้านต่างประเทศของกรุงเทพมหานครผ่านทางหน้าเว็บไซต์ของกองการต่างประเทศที่ www.bangkok.go.th/iad ให้ประชาชนได้รับทราบ | เพื่อประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับงานด้านต่างประเทศผ่านเว็บไซต์ของกองการต่างประเทศ | ประชาชนผู้สนใจทั่วไปเข้าชมเว็บไซต์ได้ตามจำนวนครั้งที่กำหนด | 0.00 | 0.00 | ** สำนักงานการต่างประเทศ สํานักปลัดกรุงเทพมหานคร | 2016-10-01 00:00:00 | 2017-09-30 00:00:00 | แล้วเสร็จ | 100.00 |
2 | 7.0.1. ด้านที่ ๗ – การบริหารจัดการเมืองมหานคร : Management Strategy |
4.2. | 2560 | กิจกรรมการจัดทำฐานข้อมูลคำศัพท์เกี่ยวกับกรุงเทพมหานคร | การจัดทำฐานข้อมูลคำศัพท์ชื่อหน่วยงานของกรุงเทพมหานคร เขต แขวง ถนน ซอย เป็นภาษาอังกฤษ และให้บริการข้อมูลผ่านหน้าเว็บไซต์ของกองการต่างประเทศ เพื่อให้ประชาชนสามารถตรวจสอบตัวสะกดภาษาอังกฤษและนำไปใช้งานได้ถูกต้อง | เพื่อจัดทำฐานข้อมูลคำศัพท์ชื่อหน่วยงานของกรุงเทพมหานคร เขต แขวง ถนน ซอย เป็นภาษาอังกฤษ | ผู้ใช้บริการ ได้แก่ ประชาชนผู้สนใจทั่วไป สามารถเข้าใช้บริการทางหน้าเว็บไซต์ได้ตามจำนวนที่กำหนด | 0.00 | 0.00 | ** สำนักงานการต่างประเทศ สํานักปลัดกรุงเทพมหานคร | 2016-10-01 00:00:00 | 2017-09-30 00:00:00 | แล้วเสร็จ | 100.00 |
3 | 7.0.1. ด้านที่ ๗ – การบริหารจัดการเมืองมหานคร : Management Strategy |
6.2. | 2561 | 29.โครงการเข้าร่วมการประชุมด้านนวัตกรรมและการพัฒนาอย่างยั่งยืน (ตัวชี้วัดที่ 6) | บุคลากรกรุงเทพมหานครได้เข้าร่วมการประชุมเกี่ยวกับนวัตกรรมและการพัฒนาอย่างยั่งยืนเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณืเกี่ยวกับการพัฒนาอย่างยั่งยืน | เพื่อพัฒนาตามหลักสมรรถนะมีการนำเนื้อหาความรู้ที่ได้รับจากการพัฒนามาเผยแพร่/ประชาสัมพันธ์หรือปรับปรุงการปฏิบัติงาน | บุคลากรกรุงเทพมหานครได้เข้าร่วมแลกเปลี่ยนและเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างประสบการณ์และนำเนื้อหาความรู้ที่ได้รับจากการพัฒนามาเผยแพร่/ประชาสัมพันธ์หรือปรับปรุงการปฏิบัติงาน (ตัวชี้วัดที่ 6 เป้าหมาย ร้อยละ 30) | 897,300.00 | 540,475.00 | ** สำนักงานการต่างประเทศ สํานักปลัดกรุงเทพมหานคร | 2017-11-15 00:00:00 | 2018-09-30 00:00:00 | แล้วเสร็จ | 100.00 |
4 | 7.0.1. ด้านที่ ๗ – การบริหารจัดการเมืองมหานคร : Management Strategy |
4.2. | 2562 | 3.2) โครงการให้บริการที่ดีที่สุด (Best Service) | ปัจจุบันกรุงเทพมหานครมีประชากรที่เป็นชาวต่างชาติอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก จากข้อมูลสถิติ สำมะโนประชากรและเคหะ พ.ศ. 2553 สำนักงานสถิติแห่งชาติ กรุงเทพมหานครมีจำนวนชาวต่างชาติอาศัยอยู่ 706,080 คน โดยคิดเป็น 9.3 % ต่อจำนวนประชากรไทยที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานครที่มีจำนวน 7,587,272 คน และจากข้อมูลของสำนักบริหารแรงงานต่างด้าว (มิถุนายน 2561) มีแรงงานต่างด้าวที่ทำงานอยู่ในกรุงเทพมหานครเป็นจำนวน 457,700 คน กรุงเทพมหานครได้มีการให้บริการแก่ชาวต่างชาติที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานครเหล่านี้ผ่านทางสำนักงานการต่างประเทศ เช่น การเป็นล่ามสำหรับการขอดูกล้อง CCTV การประสานงานเกี่ยวกับปัญหาการอนุญาตก่อสร้างอาคาร และผ่านทางสำนักงานเขต โดยภารกิจของสำนักงานเขตที่ให้บริการชาวต่างชาติ สามารถสรุปได้หลักๆ ดังนี้ 1. งานทะเบียน: การให้บริการจดทะเบียนสมรสของคนไทยกับชาวต่างชาติ การย้ายเข้าทะเบียนบ้านของชาวต่างชาติ การออกเลขประจำตัวคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทย (ชาวต่างชาติ) การออกบัตรประจำตัวคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทย (ชาวต่างชาติ) การลงทะเบียนเปิดร้านอาหารของชาวต่างชาติ การเก็บภาษี 2. การให้ความรู้แก่แรงงานต่างด้าวเกี่ยวกับการป้องการโรคและด้านสาธารณะสุข เช่น การป้องกันโรคติดต่อ การคุมกำเนิด การป้องกันโรค HIV และการแจกถุงยาอนามัยเป็นต้น อย่างไรก็ตามยังไม่มีการรวบรวมข้อมูลการให้บริการต่าง ๆ ของกรุงเทพมหานครเหล่านี้เป็นภาษาอังกฤษจึงทำให้ชาวต่างชาติที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานครบางส่วนไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลเหล่านี้ได้ กอปรกับสำนักงานเขตได้ให้ข้อเสนอแนะและมีความต้องการให้สำนักงานการต่างประเทศช่วยจัดทำคู่มือข้อมูลที่สำคัญ ต่าง ๆ เป็นภาษาต่างประเทศ สำนักงานการต่างประเทศเล็งเห็นว่าเพื่อเป็นการพัฒนาการให้บริการแก่ชาวต่างชาติที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานครให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และเป็นการตอบสนองความต้องการของสำนักงานเขต สำนักงานการต่างประเทศจึงเห็นควรจัดทำ “คู่มือเพื่อการอยู่อาศัยในกรุงเทพมหานครสำหรับชาวต่างชาติ”เป็นภาษาอังกฤษ เพื่อเป็นการรวบรวมข้อมูลที่มีความจำเป็นแก่การใช้ชีวิตอยู่ในกรุงเทพมหานครเป็นภาษาอังกฤษ | 1. เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ชาวต่างชาติที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานครให้สามารถเข้าถึงข้อมูลการให้บริการของกรุงเทพมหานครได้ดียิ่งขึ้น 2. เพื่อเป็นการตอบสนองความต้องการของสำนักงานเขตที่ต้องการให้สำนักงานการต่างประเทศช่วยจัดทำคู่มือข้อมูลที่สำคัญต่าง ๆ เป็นภาษาต่างประเทศ 3. เพื่อเป็นการรวบรวมข้อมูลที่มีความจำเป็นแก่การดำรงชีวิตอยู่ในกรุงเทพมหานครและการให้บริการต่างๆ ของกรุงเทพมหานครเป็นภาษาอังกฤษ | 1. ชาวต่างชาติที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานครมีข้อมูลที่จำเป็นสำหรับการใช้ชีวิตในกรุงเทพมหานครซึ่งมีความน่าเชื่อถือและสามารถเข้าถึงง่าย 2. สำนักงานเขตสามารถแนะนำ “คู่มือเพื่อการอยู่อาศัยในกรุงเทพมหานครสำหรับชาวต่างชาติ” ให้แก่ชาวต่างชาติที่มาขอรับบริการที่สำนักงานเขตได้ | 0.00 | 0.00 | ** สำนักงานการต่างประเทศ สํานักปลัดกรุงเทพมหานคร | 2018-10-01 00:00:00 | 2019-09-30 00:00:00 | แล้วเสร็จ | 100.00 |
5 | 7.0.1. ด้านที่ ๗ – การบริหารจัดการเมืองมหานคร : Management Strategy |
4.2. | 2563 | 3.2) ร้อยละความสำเร็จของการดำเนินโครงการให้บริการที่ดีที่สุด (Best Service) | โครงการลดใช้พลังงานไฟฟ้าภายในศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร มีหน่วยงานและส่วนราชการภายในศาลาว่าการกรุงเทพมหานครเป็นพันธมิตรร่วมกันดำเนินโครงการ เพื่อปลูกจิตสำนึกและสร้างความตระหนักในการใช้ไฟฟ้าอย่างคุ้มค่าให้แก่บุคลากรภายในศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร ทำให้การใช้พลังงานไฟฟ้าลดลง | 1. เพื่อลดปริมาณการใช้พลังงานไฟฟ้าภายในศาลาว่าการกรุงเทพมหานครอย่างมีประสิทธิภาพ 2. เพื่อลดงบประมาณของกรุงเทพมหานคร ค่าใช้จ่ายด้านสาธารณูปโภค 3. รณรงค์และปลูกจิตสำนึกให้กับบุคลากรภายในหน่วยงาน 4. เพื่อส่งเสริมบทบาทและการมีส่วนร่วมของข้าราชการและบุคลากรในหน่วยงานในการช่วยประหยัดพลังงานไฟฟ้า | สามารถลดการใช้พลังงานไฟฟ้าภายในศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร ให้ได้ร้อยละ 7.5 ขึ้นไป โดยเทียบจากปีงบประมาณ พ.ศ.2562 | 0.00 | 0.00 | ** สำนักงานการต่างประเทศ สํานักปลัดกรุงเทพมหานคร | 2019-10-01 00:00:00 | 2020-09-30 00:00:00 | แล้วเสร็จ | 100.00 |
6 | 7.0.1. ด้านที่ ๗ – การบริหารจัดการเมืองมหานคร : Management Strategy |
4.2. | 2563 | 7.1 โครงการจัดทำระบบสารสนเทศด้านการต่างประเทศของกรุงเทพมหานครเพื่อรองรับการบริการและการปฏิบัติงานของกรุงเทพมหานคร | สำนักงานการต่างประเทศมีหน้าที่ดำเนินงานด้านการต่างประเทศเชิงรุกของกรุงเทพมหานคร แต่ยังขาดระบบสารสนเทศฐานเพื่อการดำเนินภารกิจด้านต่างประเทศและสนับสนุนการพัฒนาประสิทธิภาพด้านการบริหารจัดการงานด้านการต่างประเทศ รวมถึงใช้ประกอบการตัดสินใจของผู้บริหาร จึงจะดำเนินโครงการจัดทำระบบสารสนเทศด้านการต่างประเทศของกรุงเทพมหานคร เพื่อรวบรวมประเด็นข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินภารกิจ เป็นแหล่งข้อมูลด้านการต่างประเทศของกรุงเทพมหานครสำหรับการสืบค้น ตลอดจนส่งเสริมการประชาสัมพันธ์งานด้านต่างประเทศต่อสาธารณชน และเป็นศูนย์กลางการประสานงานกับต่างประเทศเพื่อการพัฒนาเมืองและบุคลากรของกรุงเทพมหานคร สอดคล้องกับบริบทแห่งการเปลี่ยนแปลงสู่ยุคดิจิทัลและกรอบนโยบายด้านการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม | 1. เพื่อพัฒนาระบบสารสนเทศที่สนับสนุนข้อมูลงานด้านการต่างประเทศของกรุงเทพมหานคร มีระบบฐานข้อมูลที่ครอบคลุมสามารถวิเคราะห์เพื่อใช้สนับสนุนการตัดสินใจในการกำหนดนโยบายของผู้บริหารและการดำเนินการของผู้ปฏิบัติ 2. เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพด้านการบริหารจัดการงานด้านต่างประเทศของกรุงเทพมหานครและงานที่เกี่ยวข้องของสำนักงานการต่างประเทศ 3.เพื่อเสริมสร้างองค์ความรู้ให้กับบุคลากร มีเครื่องมืออุปกรณ์และเทคโนโลยีที่ทันสมัยใช้ในการปฏิบัติงาน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ประสิทธิผล การปฏิบัติงานด้านการต่างประเทศ 4. เพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้การดำเนินงานตามนโยบายของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและแผนพัฒนากรุงเทพมหานครมีประสิทธิภาพสูงสุด 5. เพื่อสร้างแหล่งข้อมูลด้านการต่างประเทศของกรุงเทพมหานครที่ประชาชนสามารถเข้าถึงและสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ | พัฒนาระบบสารสนเทศด้านการต่างประเทศของกรุงเทพมหานครเพื่อรองรับการบริการประชาชนและการปฏิบัติงานของกรุงเทพมหานคร จำนวน 1 ระบบ | 4,200,000.00 | 4,200,000.00 | ** สำนักงานการต่างประเทศ สํานักปลัดกรุงเทพมหานคร | 2019-10-01 00:00:00 | 2020-09-29 00:00:00 | แล้วเสร็จ | 100.00 |
7 | 7.0.1. ด้านที่ ๗ – การบริหารจัดการเมืองมหานคร : Management Strategy |
4.2. | 2563 | 4.1) ร้อยละความสำเร็จของการพัฒนาฐานข้อมูล | การจัดการฐานข้อมูล โดยการนำเข้าข้อมูลที่ถูกต้อง ครบถ้วน รวดเร็ว ทันสมัย และมีการแบ่งปันการใช้ข้อมูลตามแผนการพัฒนาฐานข้อมูลของหน่วยงานและเกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาการปฏิบัติงานตามภารกิจหลักของหน่วยงาน และภาพรวมของกรุงเทพมหานคร | 1. เพื่อพัฒนาฐานข้อมูลตามภารกิจหลักของสำนักงานการต่างประเทศให้มีความทันสมัย ถูกต้อง ครบถ้วน รวดเร็ว และทันสมัย 2. เพื่อพัฒนาภาพลักษณ์และประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานผ่านกาารพัฒนาฐานข้อมูลของหน่วยงาน | สำนักงานการต่างประเทศมีการพัฒนาฐานข้อมูลตามภารกิจหลักของหน่วยงาน ซึ่งเชื่อมโยงระบบสารสนเทศกรุงเทพมหานคร จำนวน 1 ฐานข้อมูล | 0.00 | 0.00 | ** สำนักงานการต่างประเทศ สํานักปลัดกรุงเทพมหานคร | 2019-10-01 00:00:00 | 2020-09-29 00:00:00 | แล้วเสร็จ | 100.00 |
8 | 0.0.0. **** ภารกิจงานประจำของหน่วยงาน **** |
.. | 2564 | 1.1 โครงการสร้างสังคมพหุวัฒนธรรมร่วมกับเมืองพี่เมืองน้อง (ส่วนส่งเสริมฯ) | การสร้างเครือข่ายความร่วมมือในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้านพหุวัฒนธรรมของกรุงเทพมหานคร ผ่านกิจกรรมการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมในรูปแบบกิจกรรมกลุ่ม หรือรูปแบบเสมือนจริงผ่านการดำเนินการออนไลน์ เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนและเรียนรู้ซึ่งกันและกัน รวมถึงการสร้างความสัมพันธ์กับเมืองในต่างประเทศ | เกิดการแลกเปลี่ยนและเรียนรู้ซึ่งกันและกัน รวมถึงการสร้างความสัมพันธ์กับเมืองในต่างประเทศ | สำนักงานการต่างประเทศ สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร ดำเนินการต้อนรับคณะเยาวชนและเจ้าหน้าที่จากเมืองพี่เมืองน้องของกรุงเทพมหานครตามโครงการแลกเปลี่ยนเยาวชนแบบทวิภาคีหรือพหุภาคี ในลักษณะต่างตอบแทนเพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของโครงการ รวมถึงการจัดเตรียมความพร้อมให้แก่เยาวชนกรุงเทพมหานครในการเป็นผู้แทนเยาวชนกรุงเทพมหานครทั้งในฐานะเจ้าบ้านที่ดีและเพื่อนเยาวชนคอยอำนวยความสะดวกให้แก่เยาวชนต่างประเทศ โดยมีคณะเยาวชน ผู้ที่เกี่ยวข้อง เจ้าหน้าที่และจากเมืองต่างๆ เช่น กรุงอูลานบาตอร์ จังหวัดฟูกูโอกะ กรุงโซล เมืองต้าเหลียน นครฉงชิ่ง และนครปูซาน เป็นต้น | 333,700.00 | 324,400.00 | ** สำนักงานการต่างประเทศ สํานักปลัดกรุงเทพมหานคร | 2020-10-01 00:00:00 | 2021-09-30 00:00:00 | แล้วเสร็จ | 100.00 |
9 | 0.0.0. **** ภารกิจงานประจำของหน่วยงาน **** |
.. | 2564 | 5.1 โครงการเข้าร่วมการประชุม/กิจกรรมที่จัดโดยเมืองหรือองค์การระหว่างประเทศในกลุ่มประเทศอาเซียน (ส่วนแผนงานฯ) | - | 1. เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมนโยบาย ดำเนินกิจกรรมโครงการการพัฒนาตามกรอบความร่วมมือของประชาคมอาเซียนของกรุงเทพมหานคร 2. เพื่อประสานความร่วมมือระหว่างกรุงเทพมหานครกับเมืองในประเทศอาเซียน ตลอดจนหน่วยงานภาครัฐและเอกชนทั้งในประเทศไทยและในกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน 3. เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ กิจกรรรมและโครงการของอาเซียนให้กับข้าราชการกรุงเทพมหานครและประชาชนชาวกรุงเทพมหานครเพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจ และความสัมพันธ์อันดีทั้งในระดับเมือง หน่วยงาน และประชาชน | 1. เข้าร่วมการประชุมความร่วมมือในระดับผู้นำเมืองและระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสในกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน 2. จัดและ/หรือ เข้าร่วมกิจกรรมร่วมกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชนของประเทศไทยและประเทศสมาชิกอาเซียนเพื่อประโยชน์ในการพัฒนาเมืองและการส่งเสริมศักยภาพของกรุงเทพมหานครสู่การเป็นเมืองมหานครแห่งเอเชียและศูนย์กลางภูมิภาคอาเซียน 3. จัดและ/หรือ เข้าร่วมกิจกรรมเผยแพร่ และเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจในการดำเนินการตามกรอบประชาคมอาเซียนแก่บุคลากรกรุงเทพมหานครและประชาชนทั่วไป | 1,000,000.00 | 0.00 | ** สำนักงานการต่างประเทศ สํานักปลัดกรุงเทพมหานคร | 2020-10-01 00:00:00 | 2021-09-30 00:00:00 | แล้วเสร็จ | 100.00 |
10 | 0.0.0. **** ภารกิจงานประจำของหน่วยงาน **** |
.. | 2564 | 3.2 โครงการส่งเสริมความร่วมมือจากแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดกับเมืองพี่เมืองน้อง (ส่วนส่งเสริมฯ) | สำนักงานการต่างประเทศได้จัดการสัมมนาผู้ปฏิบัติงานด้านเมืองพี่เมืองน้องในการวางแผนการดำเนินกิจกรรมร่วมกัน (Sister City Senior Officials Seminar on International Cooperation) ระหว่างวันที่ 12 - 16 มีนาคม 2๕๖๑ ซึ่งถือเป็นก้าวแรกของความร่วมมือระหว่างกรุงเทพมหานครกับเมืองพี่เมืองน้อง/เมืองฉันมิตรซึ่งมีหน่วยงานระดับสำนักของกรุงเทพมหานครและมหาวิทยาลัยนวมินทราธิราชเข้าร่วมการสัมมนาฯ ทำให้ได้รับทราบข้อมูลการพัฒนาเมือง และได้ร่วมแสดงความคิดเห็นพร้อมข้อเสนอแนะร่วมกับสำนักงานการต่างประเทศในการวางกรอบแนวคิดเพื่อร่วมดำเนินกิจกรรมในสาขาต่างๆ โดยนำความรู้ ประสบการณ์ เทคโนโลยี และแนวทางการดำเนินงานจากโครงการหรือแนวปฏิบัติที่ดีที่สุด (Best Practices) จากเมืองพี่เมืองน้อง/เมืองฉันมิตรมาประยุกต์ใช้ให้เป็นประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรมพร้อมร่วมเสนอแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรมร่วมกับสำนักงานต่างประเทศให้เกิดขึ้น โดยแบ่งกลุ่มการสัมมนาฯ ออกเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ 1) กลุ่มสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิต 2) กลุ่มวัฒนธรรม นันทนาการและการท่องเที่ยว 3) กลุ่มการศึกษาและการพัฒนาเยาวชน และ 4) กลุ่มส่งเสริมการค้าและเศรษฐกิจเมือง สำนักงานการต่างประเทศได้รายงานสรุปผลการจัดการสัมมนาฯ ตามหนังสือ ที่ กท 0410/869 ลงวันที่ 11 พฤษภาคม 2561 และผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครได้โปรดเห็นชอบให้สำนักงานการต่างประเทศดำเนินงานด้านการต่างประเทศตามที่ได้มีการหารือร่วมกับเมืองพี่เมืองน้อง ซึ่งในระยะแรก (Phase I) หรือ ๑ - ๓ ปีแรก จะดำเนินการพัฒนาบุคลากรจากหน่วยงานหลักด้านการพัฒนาเมืองของกรุงเทพมหานครในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับภารกิจของกรุงเทพมหานครกับโครงการหรือแนวปฏิบัติที่ดีที่สุด (Best Practice) จากเมืองพี่เมืองน้องและเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ตามที่เมืองพี่เมืองน้องกำหนด และตามหนังสือสำนักงานการต่างประเทศ ด่วนมาก ที่ กท 0410/2062 ลงวันที่ 13 พฤศจิกายน 2561 ปลัดกรุงเทพมหานครได้เห็นชอบให้มีการแต่งตั้งคณะทำงานเพื่อวางแผนการดำเนินกิจกรรมร่วมกันกับเมืองพี่เมืองน้อง และจากนั้น สำนักงานการต่างประเทศจะจัดให้มีการลงนามบันทึกความเข้าใจเพื่อต่อยอดความตกลงเมืองพี่เมืองน้อง/เมืองฉันมิตรและดำเนินการความร่วมมือระหว่างกันในอนาคต ดังนั้น เพื่อเป็นการต่อยอดการดำเนินงานระยะแรก (Phase I) และทำให้กรุงเทพฯ เป็นเมืองที่พัฒนาไปอย่างก้าวไกล มีความสามารถในการแข่งขันในทุกด้าน สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ยุทธศาสตร์ที่ 3 ในการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ และยุทธศาสตร์ที่ 6 ด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 ในการเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพทุนมนุษย์ ประกอบกับเป็นการพัฒนากรุงเทพมหานครให้เป็นไปตามวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน ค.ศ. 2030 และเป็นการดำเนินการตามความตกลง/บันทึกความเข้าใจที่ได้ลงนามร่วมกับเมืองพี่เมืองน้อง/เมืองฉันมิตร รวมถึงความสัมพันธ์และความร่วมมือที่จัดทำขึ้นโดยสภากรุงเทพมหานครในฐานะสภาบ้านพี่เมืองน้อง จึงเห็นควรดำเนินการเพื่อส่งเสริมความร่วมมือจากแนวปฏิบัติที่ดีที่สุดกับเมืองพี่เมืองน้อง/เมืองฉันมิตรตามที่ได้มีการลงนามในความตกลงหรือบันทึกความเข้าใจในด้านต่าง ๆ เช่น การพัฒนาเมืองอัจฉริยะ การท่องเที่ยว เป็นต้น โดยสำนักงานการต่างประเทศเป็นผู้ประสานงานและสร้างโอกาสในการเรียนรู้จากแนวปฏิบัติที่ดีที่สุดในด้านต่างๆ เพื่อให้ผู้บริหารและข้าราชการกรุงเทพมหานครได้เรียนรู้วิทยาการใหม่ ๆ สร้างเสริมความรู้และประสบการณ์ แลกเปลี่ยนความคิดเห็นในงานที่อยู่ในความรับผิดชอบ | กรุงเทพมหานครจะได้ประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรมจากความตกลงเมืองพี่เมืองน้อง/เมืองฉันมิตรที่ได้ลงนามกันไว้ รวมทั้งเมืองที่มีความสัมพันธ์หรือความร่วมมืออันดีและสภาบ้านพี่เมืองของสภากรุงเทพมหานคร เพื่อให้สามารถวางแผนปรับปรุงและแก้ไขปัญหาด้านต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในเขตเมืองอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น อีกทั้งยังเป็นการเสริมสร้างและกระชับความสัมพันธ์อันดีกับเมืองพี่เมืองน้องและเมืองฉันมิตรของกรุงเทพมหานครด้วย | นำคณะผู้บริหารและข้าราชการกรุงเทพมหานครจากหน่วยงานที่กำหนดตามกรอบที่หน่วยงานผู้จัดกำหนดหรือตามนโยบายผู้บริหารเดินทางเยือนเมืองพี่เมืองน้อง/เมืองฉันมิตรของกรุงเทพมหานคร เพื่อศึกษาในเชิงลึกเกี่ยวกับแนวคิด นโยบาย และการนำไปสู่การปฏิบัติเพื่อแก้ไขและตอบสนองปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม โดยหัวข้อในการเรียนรู้จะเป็นไป ตามความเห็นของคณะทำงานเพื่อวางแผนการดำเนินกิจกรรมร่วมกันกับเมืองพี่เมืองน้อง ตามที่ได้มีการลงนามบันทึกความเข้าใจในแต่ละประเด็นความร่วมมือกับแต่ละเมือง โดยใน Phase I ระยะที่ 1 จะดำเนินการต่อเนื่องในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 (ช่วงระหว่างเดือน ต.ค. 2563 - ก.ย. 2564) โดยแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มละไม่เกิน 5 คน ระยะเวลาประมาณ 2 สัปดาห์ ดังนี้ กลุ่มที่ 1 การพัฒนาเมืองอัจฉริยะ โดยเน้นด้านความปลอดภัย การนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการปรับปรุงการให้บริการของรัฐ การจราจร และการวางผังเมือง เป็นต้น กลุ่มที่ 2 การบริหารจัดการเมือง โดยเน้นการเรียนรู้ในด้านสิ่งแวดล้อม การจัดการน้ำ การบริหารทรัพยากรบุคคลและการเงินการคลัง การบริหารองค์กรและจัดระบบราชการ เป็นต้น กลุ่มที่ 3 เรียนรู้ในด้านการศึกษาและเศรษฐกิจ โดยเน้นเรื่องการพัฒนาระบบการศึกษา และเศรษฐกิจเมือง เป็นต้น | 1,053,200.00 | 8,000.00 | ** สำนักงานการต่างประเทศ สํานักปลัดกรุงเทพมหานคร | 2020-10-01 00:00:00 | 2021-09-30 00:00:00 | แล้วเสร็จ | 100.00 |
11 | 0.0.0. **** ภารกิจงานประจำของหน่วยงาน **** |
.. | 2564 | 4.1 โครงการเข้าร่วมการประชุม/กิจกรรมที่จัดขึ้นโดยเมืองหรือองค์การระหว่างประเทศในระดับเมืองที่กรุงเทพมหานครเป็นสมาชิก (ส่วนแผนงานฯ) | กรุงเทพมหานครในฐานะเมืองหลวงของประเทศและศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ การท่องเที่ยว สังคม วัฒนธรรม การศึกษา การเมืองและการปกครอง ทำให้กรุงเทพมหานครมีความเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วและต่อเนื่องมาโดยตลอด และความเจริญก้าวหน้านี้ทำให้กรุงเทพมหานครต้องเผชิญกับปัญหาต่างๆ ที่เมืองใหญ่ต้องประสบ อาทิ ปัญหาด้านการจัดการเมือง สิ่งแวดล้อม ระบบสาธารณูปโภค ที่อยู่อาศัย การใช้ที่ดิน สาธารณสุข และปัญหาสังคมต่างๆ ดังนั้น กรุงเทพมหานครในฐานะองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีหน้าที่รับผิดชอบดูแลพื้นที่และประชาชนโดยตรงจึงมีความจำเป็นที่จะต้องทำความเข้าใจและดำเนินการแก้ไขปัญหาอย่างถูกวิธีและทันท่วงที การแสวงหาความร่วมมือกับเมืองต่างๆ ผ่านองค์การระหว่างประเทศในระดับเมือง เป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะช่วยส่งเสริมบทบาทและภาพลักษณ์ของกรุงเทพมหานครในเวทีนานาชาติพร้อมทั้งเป็นการเสริมสร้างศักยภาพในการจัดการ และพัฒนาเมืองได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยอาศัยเครือข่ายความร่วมมือระหว่างเมืองสมาชิกเพื่อเพิ่มพูนความรู้ และประสบการณ์รวมถึงการแลกเปลี่ยนความร่วมมือในด้านต่างๆ อันจะนำไปสู่ประโยชน์และการพัฒนาเมือง อย่างยั่งยืนและเพื่อบรรลุเป้าหมายของแผนพัฒนากรุงเทพมหานคร ระยะ 20 ปี ปัจจุบันกรุงเทพมหานครมีการแลกเปลี่ยนความร่วมมือกับเมืองต่าง ๆ ผ่านทางองค์การระหว่างประเทศในระดับเมืองที่กรุงเทพมหานครเป็นสมาชิกอย่างเป็นทางการและที่เป็นสมาชิกเครือข่ายอย่างไม่เป็นทางการ อาทิ 1) Asian-Pacific City Summit หรือ APCS 2) C40 Cities Climate Leadership 3) CityNet 4) The Japan Council of Local Authorities for International Relations หรือ CLAIR 5) Metropolis 6) International Council for Local Environment Initiatives หรือ ICLEI 7) Asia-Europe Meeting for Governors and Mayors หรือ ASEM MGM 8) Asian Mayors Forum หรือ AMF 9) World e-Government Organization หรือ WeGO และ 10) Mayors for Peace นอกจากนี้ กรุงเทพมหานครยังได้ให้ความร่วมมือและเข้าร่วมกิจกรรมในกรอบความร่วมมือผ่านเครือข่ายความร่วมมือระหว่างประเทศในระดับเมืองอื่นๆ อีกด้วย ทั้งนี้เพื่อเป็นการส่งเสริมการพัฒนากรุงเทพมหานครให้เป็นไปอย่างบูรณาการและทัดเทียมกับนานาประเทศ การเข้าร่วมกิจกรรมแลกเปลี่ยนการเรียนรู้และความร่วมมือกับองค์การระหว่างประเทศในระดับเมืองดังที่กล่าวมาจะช่วยให้กรุงเทพมหานครสามารถนำความรู้ ประสบการณ์ และข้อมูลที่ได้รับมาปรับใช้ในการดำเนินงานและพัฒนาศักยภาพของหน่วยงานและบุคลากรได้เป็นอย่างดี | 1. เพิ่มบทบาทของกรุงเทพมหานครด้านการต่างประเทศทั้งในระดับทวิภาคีและพหุภาคีในการ แลกเปลี่ยนประสบการณ์และความร่วมมือระหว่างเมืองผ่านการเป็นสมาชิกขององค์การระหว่างประเทศในระดับเมืองและเครือข่ายความร่วมมือระหว่างเมืองต่าง ๆ 2. ส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างกรุงเทพมหานครกับเมืองต่าง ๆ ผ่านองค์การระหว่างประเทศที่กรุงเทพมหานครเป็นสมาชิก 3. เพื่อเป็นเวทีสำหรับแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างเมืองในการบริหารจัดการเมืองและแก้ไขปัญหาเมืองด้านต่าง ๆ เพื่อการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืนและการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาตามกรอบยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2565๗ และแผนพัฒนากรุงเทพมหานคร ระยะ 20 ปี ระยะที่ 2 (พ.ศ. 2561-2565) | ผู้บริหารและข้าราชการกรุงเทพมหานครร่วมประชุม เข้าร่วมหรือจัดกิจกรรมที่จัดโดยเมืองหรือองค์การระหว่างประเทศในระดับเมืองเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์และความร่วมมือในสาขาต่าง ๆ | 2,500,000.00 | 0.00 | ** สำนักงานการต่างประเทศ สํานักปลัดกรุงเทพมหานคร | 2020-10-01 00:00:00 | 2021-09-30 00:00:00 | แล้วเสร็จ | 100.00 |
12 | 0.0.0. **** ภารกิจงานประจำของหน่วยงาน **** |
.. | 2564 | 5.2 โครงการส่งเสริมศักยภาพของเมืองในเวทีระดับโลก (ส่วนแผนงานฯ) | กรุงเทพมหานครเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ การท่องเที่ยว สังคม วัฒนธรรม การศึกษา การเมืองและการปกครองของประเทศไทย ทำให้กรุงเทพมหานครมีความเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วและต่อเนื่องมาโดยตลอด และความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี โดยเฉพาะในด้านการติดต่อสื่อสารและการคมนาคมในปัจจุบันได้นำไปสู่การรวมกลุ่มหรือเครือข่ายความร่วมมือด้านต่าง ๆ ทั้งในระดับภูมิภาค ระดับประเทศ และระดับเมือง เพื่อเพิ่มพูนศักยภาพทางการแข่งขันและเจริญก้าวหน้าของสมาชิกเครือข่ายความร่วมมือดังกล่าว อาทิ การพัฒนาตามกรอบประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) การดำเนินความร่วมมือเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development Goals) ขององค์การสหประชาชาติ และการพัฒนาเพื่อการเป็นเมืองที่น่าอยู่อย่างยั่งยืนสำหรับทุกคนตามกรอบวาระการพัฒนาเมืองใหม่ (New Urban Agenda) ขององค์การ UN-Habitat เป็นต้น ในการนี้ทำให้กรุงเทพมหานครซึ่งเป็นเมืองสำคัญของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จำเป็นต้องมีการเร่งพัฒนาบทบาทและส่งเสริมสมรรถภาพทางการแข่งขันของเมืองเพื่อก้าวทันเมืองชั้นนำต่างๆ ในเวทีระดับโลก รวมถึง การพัฒนาศักยภาพด้านต่าง ๆ อันจะนำไปสู่ความเป็นเมืองน่าอยู่ น่าเที่ยวและน่าลงทุนอย่างยั่งยืน ที่สอดคล้อง กับเป้าหมายการพัฒนาตามกรอบยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580) และแผนพัฒนากรุงเทพมหานคร ระยะ 20 ปี ระยะที่ 2 (พ.ศ. 2561-2565) รวมถึงการดำเนินการตามแนวนโยบายของผู้บริหารกรุงเทพมหานคร | 1. ส่งเสริมศักยภาพและบทบาทของกรุงเทพมหานครให้เป็นที่ยอมรับและทัดเทียมกับเมืองชั้นนำในระดับโลก 2. เพิ่มพูนสมรรถภาพทางการแข่งขันของกรุงเทพมหานครในด้านการลงทุน การท่องเที่ยวและการเป็นศูนย์กลางของภูมิภาคและการเป็นเมืองมหานครแห่งเอเชีย 3. เพื่อพัฒนากรุงเทพมหานครให้เป็นเมืองน่าอยู่ น่าเที่ยวและน่าลงทุนอย่างยั่งยืนสำหรับทุกคนตามเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development Goals-SDGs) วาระการพัฒนาเมืองใหม่ (New Urban Agenda-NUA) การพัฒนาตามกรอบยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580) และแผนพัฒนากรุงเทพมหานคร ระยะ 20 ปี ระยะที่ 2 (พ.ศ. 2561-2565) รวมถึงการดำเนินการตามแนวนโยบายของผู้บริหารกรุงเทพมหานครและแผนพัฒนากรุงเทพมหานคร ระยะ 20 ปี | 1. ผู้บริหารและข้าราชการกรุงเทพมหานครเข้าร่วมการประชุม/กิจกรรมที่จัดโดยองค์การระหว่างประเทศและเครือข่ายความร่วมมือเพื่อการพัฒนาที่มีความสำคัญในระดับสากล เช่น การประชุมขององค์การสหประชาชาติ การประชุมนายกเทศมนตรีโลก และกิจกรรมที่จัดโดยเมืองมหานครระดับโลก เป็นต้น 2. ผู้บริหารและข้าราชการกรุงเทพมหานครเข้าร่วมและ/หรือจัดกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อประชาสัมพันธ์ศักยภาพของเมืองในต่างประเทศชั้นนำที่เป็นเวทีสำคัญในระดับสากลในสาขาการพัฒนาเมืองด้านต่าง ๆ เช่น การจัดการเมือง การค้า การลงทุน เศรษฐกิจและการท่องเที่ยว เป็นต้น รวมถึงการประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อมวลชนแขนงต่าง ๆ ของต่างประเทศ อาทิ สื่อโทรทัศน์ วิทยุ หนังสือพิมพ์ และนิตยสาร เป็นต้น | 2,500,000.00 | 0.00 | ** สำนักงานการต่างประเทศ สํานักปลัดกรุงเทพมหานคร | 2020-10-01 00:00:00 | 2021-09-30 00:00:00 | กำลังดำเนินการ | 95.00 |
13 | 0.0.0. **** ภารกิจงานประจำของหน่วยงาน **** |
.. | 2564 | 3.1 โครงการแลกเปลี่ยนการเดินทางเยือนระหว่างผู้บริหารเมืองพี่เมืองน้อง (ส่วนส่งเสริมฯ) | ปัจจุบันความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไม่ว่าจะเป็นด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมถือเป็นความสัมพันธ์ในลักษณะไร้พรมแดนและพึ่งพาอาศัยกันมากขึ้น ดังจะเห็นได้ว่าประเด็นปัญหาระดับโลกเกี่ยวเนื่องโดยตรงกับประเด็นปัญหาของท้องถิ่น สำนักงานการต่างประเทศจึงเห็นว่า การส่งเสริมความเข้าใจอันดีกับมหานครหรือเมืองในต่างประเทศจะนำไปสู่ความร่วมมือระดับท้องถิ่นในด้านต่างๆ ผ่านการเรียนรู้ช่วยเหลือและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างกันเพื่อแก้ไขปัญหาในที่เกี่ยวข้องอันจะก่อให้เกิดประโยชน์ในการพัฒนาเมืองอย่างเป็นรูปธรรม ทั้งนี้ กรุงเทพมหานครได้สถาปนาความสัมพันธ์ในลักษณะของเมืองพี่เมืองน้อง/เมืองฉันมิตร ตลอดจนดำเนินกิจกรรมกับเมืองต่างประเทศในหลากหลายภูมิภาคของโลก ซึ่งก่อให้เกิดความร่วมมือทวิภาคี (Bilateral Cooperation) เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจและพัฒนาความสัมพันธ์อันดีระหว่างกันอย่างแน่นแฟ้นอันจะนำมาซึ่งการแลกเปลี่ยนระหว่างเมืองเพื่อประโยชน์ของประชาชนและความเจริญก้าวหน้าในการพัฒนาร่วมกันทั้งสองฝ่าย เพื่อเป็นการต่อยอดการดำเนินการหลังจากที่มีการเปลี่ยนแปลงผู้บริหารใหม่ สำนักงานการต่างประเทศจึงจัดทำโครงการแลกเปลี่ยนการเดินทางเยือนระหว่างผู้บริหารเมืองพี่เมืองน้อง/เมืองฉันมิตรและเมืองต่างประเทศเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนากรุงเทพมหานคร ตลอดจนส่งเสริมและกระชับความสัมพันธ์กับเมืองต่างๆ ดังกล่าว อาทิเช่น การเดินทางเยือนเพื่อหารือความร่วมมือด้านต่าง ๆ ในอนาคต การเข้าร่วมกิจกรรมที่เมืองพี่เมืองน้อง/เมืองฉันมิตรและเมืองต่างประเทศเป็นเจ้าภาพ การให้การต้อนรับการเยือนของเมืองพี่เมืองน้อง/เมืองฉันมิตรและเมืองต่างประเทศ การขยายความสัมพันธ์หรือดำเนินความร่วมมือระดับเมืองในด้านต่างๆ ทั้งนี้ ในปัจจุบันกรุงเทพมหานครได้ลงนามในความตกลงเมืองพี่เมืองน้อง/เมืองฉันมิตรกับเมืองต่าง ๆ จำนวน 35 เมืองใน ๑๙ ประเทศ ตลอดจนดำเนินกิจกรรมร่วมกับเมืองต่างประเทศต่างๆ ซึ่งมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคต จึงถือเป็นโอกาสที่ดีในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ร่วมกันในระดับผู้บริหารเมืองเพื่อให้เกิดประโยชน์ทั้งสองฝ่ายอันเป็นหนึ่งในเจตนารมณ์ของการลงนามความตกลงเมืองพี่เมืองน้องและความตกลงฉันมิตรอีกด้วย | กรุงเทพมหานครจะได้ประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรมจากความตกลงเมืองพี่เมืองน้อง/เมืองฉันมิตรที่ได้ลงนามกันไว้ รวมทั้งเมืองที่มีความสัมพันธ์หรือความร่วมมืออันดี เพื่อให้สามารถวางแผนปรับปรุงและแก้ไขปัญหาด้านต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในเขตเมืองอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น อีกทั้งยังเป็นการเสริมสร้างและกระชับความสัมพันธ์อันดีกับเมืองพี่เมืองน้องและเมืองฉันมิตรของกรุงเทพมหานครด้วย | 1. นำผู้บริหารและข้าราชการกรุงเทพมหานครเดินทางเยือนเมืองพี่เมืองน้อง/เมืองฉันมิตรของกรุงเทพมหานครและเมืองต่าง ๆ รวมถึงดำเนินการให้การต้อนรับการเยือนของเมืองพี่เมืองน้อง/เมืองฉันมิตรและเมืองต่างๆ และการเข้าร่วมกิจกรรม/การแลกเปลี่ยนตามคำเชิญของเมืองพี่เมืองน้อง/เมืองฉันมิตรตามกรอบความร่วมมือเมืองพี่เมืองน้องและเมืองต่างประเทศต่างๆ 2. เข้าร่วมกิจกรรมแลกเปลี่ยนความร่วมมือและส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างเมืองพี่เมืองน้อง 3. ดำเนินการสร้างสัมพันธภาพ และขยายขอบเขตการสร้างหรือการสถาปนาความสัมพันธ์เมืองพี่เมืองน้องกับมหานครต่าง ๆ ทั่วโลก โดยยึดหลักแห่งความยุติธรรม ความเสมอภาค และก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อกรุงเทพมหานคร | 4,850,000.00 | 0.00 | ** สำนักงานการต่างประเทศ สํานักปลัดกรุงเทพมหานคร | 2020-10-01 00:00:00 | 2021-10-30 00:00:00 | แล้วเสร็จ | 100.00 |
14 | 0.0.0. **** ภารกิจงานประจำของหน่วยงาน **** |
.. | 2564 | 6.1 การแปลและตรวจร่างเอกสารภาษาอังกฤษ | สำนักงานการต่างประเทศ มีหน้าที่ดำเนินการด้านล่าม การแปล การร่างหนังสือ จดหมาย สุนทรพจน์ ข้อตกลงและบทความต่าง ๆ เป็นภาษาไทยและอังกฤษ ที่ผ่านมา กลุ่มงานพิธีการได้รับการประสานขอความอนุเคราะห์จากหน่วยงานของกรุงเทพมหานครเพื่อแปลหนังสือเชิญ บัตรเชิญ หนังสือประสานงาน คำกล่าว สุนทรพจน์ แผ่นพับ เอกสารประชาสัมพันธ์ของหน่วยงาน เอกสารโครงการความร่วมมือกับต่างประเทศ ข่าว ป้าย ประกาศนียบัตร เป็นต้น เป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษ รวมถึงตรวจสอบความถูกต้องการแปลเอกสารราชการสองภาษา หนังสือรับรองเงินเดือนภาษาอังกฤษของผู้บริหาร | หนังสือราชการและเอกสารภาษาอังกฤษที่ถูกต้องตามหลักไวยากรณ์ และเป็นรูปแบบหนังสือราชการภาษาอังกฤษที่ถูกต้อง เพื่อให้การติดต่อสื่อสารกับหน่วยงานในต่างประเทศเป็นไปอย่างถูกต้อง ครบถ้วนตามแบบแผนทั้งความหมาย รูปแบบ และภาษาที่ใช้ | แปลและตรวจร่างเอกสารภาษาอังกฤษของหน่วยงานกรุงเทพมหานครและผู้บริหารกรุงเทพมหานคร จำนวนไม่ต่ำกว่า 100 หน้า | 0.00 | 0.00 | ** สำนักงานการต่างประเทศ สํานักปลัดกรุงเทพมหานคร | 2020-10-01 00:00:00 | 2021-09-30 00:00:00 | แล้วเสร็จ | 100.00 |
15 | 0.0.0. **** ภารกิจงานประจำของหน่วยงาน **** |
.. | 2564 | 8.1 โครงการการรับรองเอกอัครราชทูตและบุคคลสำคัญจากต่างประเทศ | กรุงเทพมหานครเป็นเมืองหลวงของประเทศไทย ซึ่งมีสถานเอกอัครราชทูตต่างประเทศที่ตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานคร รวมทั้งหมด 78 ประเทศ ทั้งนี้ ตามธรรมเนียมปฏิบัติที่ผ่านมา เอกอัครราชทูตต่างประเทศที่เข้ารับตำแหน่งใหม่จะแจ้งความประสงค์ขอเข้าเยี่ยมคารวะผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในโอกาสเข้ารับตำแหน่งใหม่เพื่อกระชับความสัมพันธ์และแสวงหาความร่วมมือระหว่างประเทศ นอกจากนี้ กรุงเทพมหานครยังได้สถาปนาความสัมพันธ์เมืองพี่เมือง/เมืองฉันมิตรกับ 36 เมืองทั่วโลก ทำให้มีการไปมาหาสู่กันระหว่างผู้บริหารระดับสูงของเมืองอย่างต่อเนื่อง สำนักงานการต่างประเทศ มีหน้าที่ดำเนินการรับรองเอกอัครราชทูตและบุคคลสำคัญจากต่างประเทศที่เข้าพบผู้บริหารกรุงเทพมหานครและสรุปการหารือพร้อมให้คำแนะนำในการดำเนินการความร่วมมือในอนาคต โดยดำเนินการให้ถูกต้องตามแบบแผนพิธีการทูต ซึ่งรวมถึงการเป็นล่ามแปลภาษาให้กับผู้บริหารขณะเยี่ยมคารวะ โดยในปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 - 2563 ได้ให้การต้อนรับเอกอัครราชทูตและบุคคลสำคัญจากต่างประเทศที่เข้าเยี่ยมคารวะผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและปลัดกรุงเทพมหานคร หรือผู้บริหารกรุงเทพมหานคร จำนวน 27 คณะ ประกอบด้วย เอกอัครราชทูตต่างประเทศประจำประเทศไทย ผู้ว่าการ/ผู้ว่าราชการเมือง นายกเทศมนตรี ประธานสภาเมือง และผู้แทนเมือง รายละเอียดตามข้อมูลการเข้าเยี่ยมคารวะ ปีงบประมาณ 2562 – 2563 ที่แนบ | กรุงเทพมหานครจะได้ประโยชน์จากการเจริญความสัมพันธ์กับสถานเอกอัครราชทูตต่างประเทศและเมืองพี่เมืองน้อง/เมืองฉันมิตรของกรุงเทพมหานคร อันจะนำไปสู่ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาเมืองและแก้ไขปัญหาด้านต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในเขตเมืองอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากยิ่งขึ้นอีกด้วย | ให้การรับรองเอกอัครราชทูตและบุคคลสำคัญจากต่างประเทศที่เข้าพบเพื่อเยี่ยมคารวะผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ปลัดกรุงเทพมหานคร และ ผู้บริหารกรุงเทพมหานครตามหลักพิธีการทูต | 0.00 | 0.00 | ** สำนักงานการต่างประเทศ สํานักปลัดกรุงเทพมหานคร | 2020-10-01 00:00:00 | 2021-09-30 00:00:00 | แล้วเสร็จ | 100.00 |
16 | 0.0.0. **** ภารกิจงานประจำของหน่วยงาน **** |
.. | 2564 | 5.1) ความสำเร็จของการเบิกจ่ายงบประมาณในภาพรวม | ดำเนินการเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 รวม 5 หมวดรายจ่าย ได้แก่ หมวดค่าตอบแทน ใช้สอยและวัสดุ หมวดค่าสาธารณูปโภค หมวดค่าครุภัณฑ์ ที่ดินและสิ่งก่อสร้าง หมวดเงินอุดหนุน และ หมวดรายจ่ายอื่น รวมทั้งงบกลางทุกประเภทที่ได้รับ จัดสรรในปีงบประมาณ พ.ศ.2564 ณ สิ้นเดือนกันยายน 2564 (ไม่รวมงบประมาณรายจ่ายประจำปี หมวดเงินเดือนและค่าจ้างประจำหมวดค่าจ้างชั่วคราว งบกลาง รายการเงินช่วยเหลือข้าราชการและลูกจ้างงบกลาง รายการเงินบำเหน็จลูกจ้าง งบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม งบเงินอุดหนุน จากรัฐบาล และงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 กันไว้เบิกเหลื่อมปีในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564) | 1.หน่วยงานสามารถเร่งรัดเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปี และงบกลางทุกประเภทที่ได้รับจัดสรรในปีงบประมาณ พ.ศ.2564 ให้แล้วเสร็จภายในปีงบประมาณ รวมถึงบันทึกข้อมูลในระบบสารสนเทศของกรุงเทพมหานครให้เป็นปัจจุบันเสมอ 2.สำนักงบประมาณกรุงเทพมหานครสามารถตรวจสอบข้อมูลการเบิกจ่ายงบประมาณจากระบบสารสนเทศของกรุงเทพมหานคร ณ สิ้นเดือนกันยายน 2564 | ร้อยละความสำเร็จของการเบิกจ่ายงบประมาณของหน่วยงานในภาพรวม ร้อยละ 100 ณ สิ้นเดือนกันยายน พ.ศ.2564 | 0.00 | 0.00 | ** สำนักงานการต่างประเทศ สํานักปลัดกรุงเทพมหานคร | 2020-10-01 00:00:00 | 2021-09-30 00:00:00 | แล้วเสร็จ | 100.00 |
17 | 0.0.0. **** ภารกิจงานประจำของหน่วยงาน **** |
.. | 2564 | 4.1) ความสำเร็จในการเสนอนวัตกรรมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของหน่วยงาน | นวัตกรรม หมายถึง แนวคิด วิธี และรูปแบบใหม่ ๆ ในการจัดการองค์กร การดำเนินงาน และการให้บริการ อันเป็นผลมาจากการสร้าง พัฒนา เพิ่มพูน ต่อยอด หรือประยุกต์ใช้องค์ความรู้ และแนวปฏบัติต่าง ๆ ซึ่งจะส่งผลให้เกิดการพัฒนาประสิทธิภาพประสิทธิผล หรือคุณภาพของการปฏิบัติงานของหน่วยงาน การเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของหน่วยงาน หมายถึง การปรับปรุง แก้ไข และ/หรือเพิ่มความสามารถ หรือทักษะในการปฏิบัติงานของหน่วยงานให้ดียิ่งขึ้น เพื่อให้ผลการปฏิบัติงานบรรลุเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และคุณภาพ เพื่อให้เกิดความพึงพอใจแก่ผู้ปฏิบัติงานและผู้รับบริการ | เพื่อพัฒนาและเสนอนวัตกรรมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของหน่วยงาน นวัตกรรม หมายถึง แนวคิด วิธี และรูปแบบใหม่ๆ ในการจัดการองค์กร การดาเนินงาน และ การให้บริการ อันเป็นผลมาจากการสร้าง พัฒนา เพิ่มพูน ต่อยอด หรือประยุกต์ใช้องค์ความรู้ และแนวปฏิบัติต่าง ๆ ซึ่งจะส่งผลให้เกิดการพัฒนาประสิทธิภาพประสิทธิผล หรือคุณภาพของการปฏิบัติงานของหน่วยงาน | พัฒนาและเสนอนวัตกรรมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของหน่วยงาน อย่างน้อย 1 โครงการ | 0.00 | 0.00 | ** สำนักงานการต่างประเทศ สํานักปลัดกรุงเทพมหานคร | 2020-10-01 00:00:00 | 2021-09-30 00:00:00 | แล้วเสร็จ | 100.00 |
18 | 3.0.3. ด้านที่ ๓ - มหานครสำหรับทุกคน : Bangkok as a City for All |
.. | 2564 | 7.1 โครงการพัฒนาเยาวชนกรุงเทพมหานครร่วมกับเมืองพี่เมืองน้อง | กรุงเทพมหานครในฐานะเมืองหลวงของประเทศและเป็นศูนย์กลางของการเจริญเติบโต ในทุกด้าน รวมทั้งศูนย์กลางของประเทศไทยในการติดต่อสัมพันธ์กับต่างประเทศ โดยเฉพาะในระดับเมือง กรุงเทพมหานครได้สถาปนาความสัมพันธ์เป็นเมืองพี่เมืองน้อง และมีความสัมพันธ์ตามกรอบบันทึกความร่วมมือกับเมืองใหญ่ต่าง ๆ รวมทั้งเมืองที่มีความสัมพันธ์และความร่วมมือใกล้ชิด ซึ่งที่ผ่านมากรุงเทพมหานครได้ดำเนินงานตามกรอบความสัมพันธ์ อันมีส่วนช่วยผลักดันให้เกิดการพัฒนาการบริหารจัดการของกรุงเทพมหานครในรูปแบบต่าง ๆ และมีส่วนช่วยส่งเสริมกิจกรรมในภาพรวมของประชาชนในแต่ละเมือง ส่งผลให้มีความสัมพันธ์ที่ดีและสร้างความเข้าใจระหว่างเมืองมากยิ่งขึ้น โครงการพัฒนาเยาวชนกรุงเทพมหานครร่วมกับเมืองพี่เมืองน้อง เป็นอีกหนึ่งโครงการความร่วมมือที่มีความสำคัญในการเปิดโอกาสให้กับเยาวชนกรุงเทพมหานครได้มีประสบการณ์การเรียนรู้กับเยาวชนในต่างประเทศผ่านกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อศึกษาและสร้างความเข้าใจซึ่งกันและกันทั้งในเรื่องการศึกษา สังคม การเมืองการปกครอง เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม เทคโนโลยี และศิลปวัฒนธรรม โดยคาดว่าจะมีเมืองที่ให้ความร่วมมือจัดกิจกรรมเชิญเยาวชนกรุงเทพมหานครเดินทางเยือนในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 จำนวน 9 เมือง ได้แก่ กรุงปักกิ่ง นครเซี่ยงไฮ้ เมืองต้าเหลียน เมืองเฉิงตู กรุงโซล เมืองแตกู เมืองปูซาน จังหวัดฟูกูโอกะ และจังหวัดไอจิ และเมืองอื่นๆ ที่มีความสัมพันธ์แบบเมืองพี่เมืองน้อง นอกจากนี้มีเมืองที่เชิญเยาวชนกรุงเทพมหานครเข้าร่วมในด้านการแสดงดนตรีและศิลปวัฒนธรรม ได้แก่ นครเฉิงตู เมืองปูซาน และกรุงโซล และอาจเป็นไปได้ว่าจะมีเมืองที่ประสงค์เชิญและแสวงหาความร่วมมือด้านพัฒนาเยาวชนกับกรุงเทพมหานครเพิ่มขึ้นอีก เช่น กรุงมอสโก เป็นต้น | กรุงเทพมหานครจะได้ประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรมจากความร่วมมือและความสัมพันธ์อันดีในระดับประชาชน โดยเฉพาะเยาวชนกรุงเทพมหานครร่วมกับเมืองพี่เมืองน้องและเมืองฉันมิตรที่ได้ลงนามกันไว้ ซึ่งเยาวชนกรุงเทพมหานครจะได้รับการเพิ่มพูนความรู้ ทักษะ และประสบการณ์ เพื่อนำมาพัฒนามหานครกรุงเทพได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นในอนาคต รวมทั้งเป็นการส่งเสริมพัฒนางานด้านการต่างประเทศของกรุงเทพมหานคร และเป็นการดำเนินโครงการและกิจกรรมที่สอดคล้องและเชื่อมโยงกับแผนปฏิบัติราชการกรุงเทพมหานครประจำปี พ.ศ. 2564 ให้บรรลุเป้าหมายอย่างมีประสิทธิผล | สำนักงานการต่างประเทศ สำนักปลัดกรุงเทพมหานครดำเนินการนำคณะเยาวชนกรุงเทพมหานครและเจ้าหน้าที่กรุงเทพมหานครเดินทางเยือนเมืองพี่เมืองน้องที่มีการเชิญร่วมจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเยาวชนตามวัตถุประสงค์ของโครงการ เช่น กรุงปักกิ่ง นครเซี่ยงไฮ้ เมืองต้าเหลียน เมืองเฉิงตู กรุงโซล เมืองแตกู เมืองปูซาน จังหวัดฟูกูโอกะ จังหวัดไอจิ และเมืองอื่นๆ เป็นต้น | 1,607,500.00 | 5,804.00 | ** สำนักงานการต่างประเทศ สํานักปลัดกรุงเทพมหานคร | 2020-10-01 00:00:00 | 2021-09-30 00:00:00 | แล้วเสร็จ | 100.00 |
รวม ->18 โครงการ | 0 | 0.00 | 0.00 | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 | 0 | 0 | 0 | 0 |