ลำดับ | ยุทธศาสตร์ 20 ปี | แผนแม่บทไอที | ปีงบประมาณ | ชื่อโครงการ | หลักการและเหตุผล | วัตถุประสงค์โครงการ | เป้าหมายโครงการ | งบประมาณที่ได้รับ | งบประมาณที่ใช้ไป | หน่วยงานที่รับผิดชอบ | เริ่มโครงการ | สิ้นสุดโครงการ | สถานะโครงการ | คืบหน้า (ร้อยละ) |
1 | 1.0.3. ด้านที่ ๑ – มหานครปลอดภัย : Bangkok as a Safe City |
6.2. | 2563 | กิจกรรมส่งเสริมสร้างผลงานนวัตกรรม ผลงานวิชาการ และผลงานการทำงานวิจัยจากงานประจำสู่งานวิจัย (R2R) | ปัจจุบันความก้าวหน้าทางวิชาการด้านการแพทย์และสาธารณสุข มีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว การสร้างสรรค์ผลงานนวัตกรรม ผลงานวิชาการ และการวิจัยเกิดขึ้นอย่างมากมาย เกิดการวินิจฉัย การรักษาพยาบาลด้วยวิธีการใหม่ ๆ อย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด สำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร เป็นหน่วยงานที่มีส่วนราชการในสังกัดประกอบด้วยโรงพยาบาล ศูนย์บริการการแพทย์ฉุกเฉินกรุงเทพมหานคร (ศูนย์เอราวัณ) ซึ่งหน้าให้บริการตรวจรักษา ผู้ป่วยทั่วไป และผู้ป่วยเฉพาะทาง รวมทั้งเป็นแหล่งการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้าน แพทย์ฝึกหัด นักศึกษาแพทย์ นักศึกษาพยาบาล และนักศึกษาด้านการแพทย์และสาธารณสุข นอกสังกัดกรุงเทพมหานคร จำเป็นต้องส่งเสริมให้บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขมีความก้าวหน้าทางด้านวิชาการ และการส่งเสริมสร้างสรรค์ผลงานนวัตกรรม ผลงานวิชาการ เพื่อนำผลงานมาพัฒนาในด้านการรักษาพยาบาลและเพื่อเป็นการเผยแพร่ผลงานให้แก่ บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขในสังกัดกรุงเทพมหานคร การสนับสนุนให้เกิดการสร้างผลงานนวัตกรรม ผลงานวิชาการ และผลงานการทำงานวิจัยจากงานประจำสู่งานวิจัย (R2R) ต้องมีการบริหารจัดการ เช่นเดียวกับการให้บริการซึ่งก็ต้องมีการบริหารจัดการเพื่อให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล การจัดการให้เกิดการผลงาน คือ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ และในอนาคตต่อไปข้างหน้าที่จะเป็นการพัฒนากระบวนการให้บริการประชาชน เนื่องจากค้นพบวิธีการใหม่ทำให้กระบวนการดูแลผู้ป่วยดีขึ้น หลายครั้งมีการดำเนินการเพื่อแก้ไขหรือตอบปัญหา สามารถพัฒนาต่อยอดไปเป็นงานวิจัย หรือผลงานวัตกรรมที่เชื่อถือได้ และเป็นต้นแบบที่ดี ดังนั้นบุคลากรในสังกัดสำนักการแพทย์ต้องมีการพัฒนาเรียนรู้ สามารถนำแนวคิดและประสบการณ์จากการปฏิบัติงาน ทำให้ผลงานเชิงวิชาการที่มีคุณภาพมากขึ้นและจะเกิดองค์กรแห่งการเรียนรู้ขึ้นได้ | 1.เพื่อให้บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขได้รับความรู้และติดตามวิทยาการความก้าวหน้าด้านการแพทย์และสาธารณสุข 2.เพื่อเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดงานวิชาการ งานวิจัยในองค์กร การสร้างนวัตกรรม รวมถึงการนำผลการวิจัย และนวัตกรรม ไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานให้มีคุณภาพยิ่งขึ้น 3.เพื่อให้บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขในสังกัดได้มีโอกาส แลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ด้านการแพทย์และสาธารณสุข | จัดกิจกรรมการนำเสนอผลงานและการประกวดผลงานนวัตกรรม ผลงานวิชาการ และผลงานการทำงานวิจัยจากงานประจำสู่งานวิจัย (R2R) ของส่วนราชการในสังกัดสำนักการแพทย์ | 0.00 | 0.00 | สำนักการแพทย์ | 2019-10-01 00:00:00 | 2020-09-29 00:00:00 | แล้วเสร็จ | 100.00 |
2 | 7.0.1. ด้านที่ ๗ – การบริหารจัดการเมืองมหานคร : Management Strategy |
4.2. | 2563 | กิจกรรมการพัฒนาระบบฐานข้อมูลของสำนักการแพทย์ | เนื่องจากการจัดเก็บข้อมูลของสำนักการแพทย์ยังจัดเก็บไม่เป็นระบบ | เพื่อให้การจัดเก็บข้อมูล database โดยการนำเข้าข้อมูลที่ถูกต้อง ครบถ้วน รวดเร็ว ทันสมัย และมีการแบ่งปันการใช้งานข้อมูล ตามแผนการพัฒนาฐานข้อมูลของสำนักการแพทย์และเกิดผลประโยชน์ต่อการพัฒนาการปฏิบัติงานตามภารกิจของสำนักการแพทย์และภาพรวมของกรุงเทพมหานคร | โรงพยาบาลในสังกัดสำนักการแพทย์ทุกแห่งมีการจัดข้อมูลที่ถูกต้อง ครบถ้วน รวดเร็ว ทันสมัย และมีการแบ่งปันการใช้งานข้อมูล | 0.00 | 0.00 | สำนักการแพทย์ | 2019-10-01 00:00:00 | 2020-09-29 00:00:00 | แล้วเสร็จ | 100.00 |
3 | 1.0.3. ด้านที่ ๑ – มหานครปลอดภัย : Bangkok as a Safe City |
.. | 2564 | กิจกรรมพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาลขั้นที่ 1 | แผนปฏิบัติราชการประจำปี 2564 ของสำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร ที่กำหนดให้หน่วยงาน/ส่วนราชการในสังกัดที่ยังไม่ผ่านมาตรฐานการรับรองคุณภาพโรงพยาบาล (HA ) จากสถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์กรมหาชน) ได้แก่ โรงพยาบาลผู้สูงอายุบางขุนเทียน โรงพยาบาลคลองสามวา โรงพยาบาลบางนากรุงเทพมหานคร ต้องมีการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาล ทั้งนี้เพื่อให้ คณะผู้บริหารของโรงพยาบาล และผู้ปฏิบัติงานของโรงพยาบาลได้ร่วมกันสร้างระบบงานที่มีคุณภาพ เป็นการเพิ่มขีดความสามารถให้แก่องค์กรในการดำเนินงานอันจะเอื้อประโยชน์ต่อผู้ใช้บริการของโรงพยาบาล และช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของกระบวนการปฏิบัติงานของโรงพยาบาล จึงทำให้ทางโรงพยาบาลดังกล่าว มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาลอย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมในการขอรับรองกระบวนการคุณภาพโรงพยาบาล ( Accreditation HA ขั้นที่1) ในปีงบประมาณ 2564 | 1.บุคลากรในโรงพยาบาลทั้ง 3 แห่ง มีความรู้ความเข้าใจการพัฒนาคุณภาพและประโยชน์ที่จะได้รับจากพัฒนาคุณภาพ 2.ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของกระบวนการปฏิบัติงานและเกิดการพัฒนาคุณภาพของโรงพยาบาลอย่างต่อเนื่อง 3.ช่วยสร้างชื่อเสียงให้กับโรงพยาบาลและทำให้โรงพยาบาลเป็นที่รู้จักเพิ่มขึ้น | โรงพยาบาลผู้สูงอายุบางขุนเทียน โรงพยาบาลคลองสามวา โรงพยาบาลบางนากรุงเทพมหานคร ผ่านการประเมินมาตรฐานการรับรองคุณภาพโรงพยาบาล (HA ) ขั้นที่ 1 จากสถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์กรมหาชน) | 0.00 | 0.00 | สำนักการแพทย์ | 2020-10-01 00:00:00 | 2021-09-30 00:00:00 | แล้วเสร็จ | 100.00 |
4 | 7.0.1. ด้านที่ ๗ – การบริหารจัดการเมืองมหานคร : Management Strategy |
.. | 2564 | โครงการอบรมฟื้นฟูวิชาการพนักงานฉุกเฉินการแพทย์ | ในภาวะที่ผู้ป่วย หรือผู้บาดเจ็บฉุกเฉินจำเป็นต้องได้รับการดูแลอย่างเร่งด่วน ถูกต้อง และเหมาะสมตามมาตรฐานและหลักการทางการแพทย์ บุคลากรผู้ปฏิบัติงานในระบบการแพทย์ฉุกเฉินกรุงเทพมหานคร ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการให้ความช่วยเหลือ ณ จุดเกิดเหตุ รวมไปถึงดูแลผู้ป่วยระหว่างการนำส่งโรงพยาบาล จำเป็นต้องมีความรู้ ทักษะ และประสบการณ์ พร้อมรับกับสถานการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ กรุงเทพมหานครจึงจำเป็นต้องพัฒนาการบริการให้ความช่วยเหลือ ผู้ป่วยและผู้บาดเจ็บฉุกเฉิน ของผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่กรุงเทพมหานครด้วยบริการที่มีคุณภาพ และสามารถให้การช่วยเหลือ ณ จุดเกิดเหตุได้อย่างรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ สำนักการแพทย์ โดยศูนย์บริการการแพทย์ฉุกเฉินกรุงเทพมหานคร (ศูนย์เอราวัณ) จึงเล็งเห็นถึงความสำคัญในการพัฒนาบุคลากรซึ่งนับว่าเป็นหัวใจหลักของการให้บริการ จึงได้จัดทำโครงการฟื้นฟูวิชาการพนักงานฉุกเฉินการแพทย์ (Refreshed EMT – Basic) ขึ้น เพื่อฟื้นฟู และทบทวนความรู้ด้านวิชาการ ด้านทักษะการปฏิบัติการทางแพทย์ฉุกเฉิน แก่บุคลากรผู้ปฏิบัติงานในระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินกรุงเทพมหานคร ให้สามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในการปฏิบัติงาน และเพิ่มประสิทธิภาพในการบริการให้ดียิ่งขึ้น อีกทั้งโครงการดังกล่าวยังเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ปฏิบัติงานได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ระหว่างหน่วยปฏิบัติการในระบบฯ เพื่อเชื่อมประสานการทำงานแบบมีส่วนร่วม ส่งผลให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชนและผู้รับบริการมากยิ่งขึ้นไป | 9.1 ผู้เข้าร่วมโครงการได้ทบทวนความรู้ และพัฒนาทักษะในการปฏิบัติงานเพิ่มเติม สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานได้จริง 9.2 เกิดการบูรณาการร่วมกันระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการปฏิบัติงานทางการแพทย์ฉุกเฉิน 9.3 เสริมสร้างความสัมพันธ์ของผู้ปฏิบัติงานระหว่างเครือข่ายในระบบฯ ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น | จัดโครงการฟื้นฟูวิชาการพนักงานฉุกเฉินการแพทย์ (Refreshed EMT – Basic) โดยมีผู้เข้าร่วมโครงการฯ จำนวนทั้งสิ้น 122 คน ประกอบด้วย กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 90 คน ดังนี้ 1. ข้าราชการกรุงเทพมหานคร 2. บุคลากรกรุงเทพมหานคร 3. บุคคลภายนอกตามเป้าหมายโครงการ ซึ่งปฏิบัติงานในเครือข่ายระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินกรุงเทพมหานคร ผู้เกี่ยวข้อง จำนวน 32 คน ดังนี้ 1. วิทยากร จำนวน 26 คน/รุ่น 2. เจ้าหน้าที่ดำเนินการ จำนวน 6 คน/รุ่น | 181,556.00 | 0.00 | สำนักการแพทย์ | 2020-10-01 00:00:00 | 2021-09-30 00:00:00 | แล้วเสร็จ | 100.00 |
5 | 7.0.1. ด้านที่ ๗ – การบริหารจัดการเมืองมหานคร : Management Strategy |
.. | 2564 | โครงการระดมทรัพยากรในพื้นที่เพื่อพัฒนาความพร้อมทางการแพทย์ฉุกเฉินในเหตุสาธารณภัย | สาธารณภัยที่เกิดขึ้นในเขตกรุงเทพมหานครทั้งที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติและมนุษย์ทำขึ้นเกิดขึ้นบ่อยครั้ง ที่ผ่านมาได้สร้างความเสียหายให้เกิดขึ้นแก่ชีวิตและทรัพย์สินจำนวนมหาศาล เช่น เหตุความไม่สงบจากการชุมนุมทางการเมืองของประชาชน เหตุเพลิงไหม้อาคารสูง เหตุระเบิดจากการก่อการร้าย หรืออุบัติเหตุจากการคมนาคมต่างๆ สารเคมีรั่วไหลจากโรงงานอุตสาหกรรม เป็นต้น ซึ่งเกิดขึ้นอยู่บ่อยครั้งในพื้นที่กรุงเทพมหานคร โดยเหตุการณ์ที่ผ่านมามีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิต ตลอดจนทรัพย์สินเสียหายเป็นจำนวนมาก การบริหารจัดการกับสาธารณภัยและภัยพิบัติให้เกิดขึ้นภายใต้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดนั้น จำเป็นต้องผสานความร่วมมือจากหลากหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน ในการระดมทรัพยากรในทุกๆด้าน เพื่อบริหารจัดการลดความเสี่ยงในการเกิดเหตุและการเตรียมความพร้อมปฏิบัติการเมื่อเกิดเหตุให้มีประสิทธิภาพ การบริหารจัดการกับสาธารณภัยและภัยพิบัติจึงเป็นปัจจัยสำคัญที่สามารถดำเนินการเพื่อช่วยบรรเทาและลดความสูญเสียต่อชีวิตและทรัพย์สินได้ นอกเหนือจากการเตรียมความพร้อมในเรื่องอุปกรณ์และการพัฒนาเทคโนโลยีแล้ว การซ้อมแผนปฏิบัติการของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อทดสอบและพัฒนาทักษะของบุคลากรในการปฏิบัติการตามแผนปฏิบัติการที่ได้เตรียมไว้นับว่าเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้ทราบถึงปัญหาและจุดอ่อนของการปฏิบัติการร่วมกันระหว่างผู้ปฏิบัติการที่เกี่ยวข้อง ศูนย์บริการการแพทย์ฉุกเฉินกรุงเทพมหานคร (ศูนย์เอราวัณ) เป็นส่วนราชการสังกัดสำนักการแพทย์ ซึ่งรับผิดชอบเกี่ยวกับการบริหารการจัดบริการระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินในเขตกรุงเทพมหานครเพื่อรองรับสถานการณ์สาธารณภัยที่อาจเกิดขึ้น เป็นศูนย์กลางการประสานงานและพัฒนาระบบปฏิบัติการในพื้นที่ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการเตรียมความพร้อมทางการแพทย์ฉุกเฉินสนับสนุนการปฏิบัติการในสถานการณ์สาธารณภัย จึงได้จัดทำโครงการระดมทรัพยากรในพื้นที่เพื่อพัฒนาความพร้อมทางการแพทย์ในเหตุสาธารณภัยขึ้น เพื่อให้บุคลากรหน่วยงานในสังกัดสำนักการแพทย์และเครือข่ายในระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินกรุงเทพมหานคร ได้เรียนรู้และมีประสบการณ์การปฏิบัติการทางการแพทย์ ร่วมกับหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในการให้ความช่วยเหลือผู้บาดเจ็บ ในสถานการณ์ใกล้เคียงความเป็นจริง ได้อย่างมีประสิทธิภาพและได้เรียนรู้แนวทางปฏิบัติที่บูรณาการการปฏิบัติการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างเป็นระบบที่ถูกต้อง เหมาะสม | 9.1 ผู้ที่เกี่ยวข้องในการปฏิบัติการเมื่อเกิดสาธารณภัยทราบแผนปฏิบัติการรับสาธารณภัย ด้านการแพทย์ในเขตกรุงเทพมหานคร 9.2 เกิดการบูรณาการการเผชิญเหตุสาธารณภัย โดยมีการจัดตั้งกองอำนวยการร่วมเผชิญเหตุสาธารณภัย 9.3 บุคลากรในระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินกรุงเทพมหานครสามารถปฏิบัติการช่วยเหลือ ผู้เจ็บป่วยจากเหตุสาธารณภัยได้อย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ 9.4 กรุงเทพมหานครทราบสถานะความพร้อมทางการแพทย์ในการปฏิบัติการเผชิญเหตุ สาธารณภัยระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน 9.5 หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการเผชิญเหตุได้มีโอกาสซักซ้อมการปฏิบัติการร่วมกัน | จัดโครงการระดมทรัพยากรในพื้นที่เพื่อพัฒนาความพร้อมทางการแพทย์ในเหตุสาธารณภัย โดยมีผู้เข้าร่วมโครงการฯ ซึ่งเป็นผู้ปฏิบัติงานในด้านการแพทย์ฉุกเฉิน ด้านสาธารณภัย และด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และมูลนิธิ อาทิ สำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย สำนักเทศกิจ สำนักอนามัยสำนักงานเขต สำนักงานตำรวจแห่งชาติ สำนักการแพทย์ และโรงพยาบาลในระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินกรุงเทพมหานคร เป็นต้น ผู้เข้าร่วมโครงการฯ จำนวนประมาณ 300 คน | 250,000.00 | 0.00 | สำนักการแพทย์ | 2020-10-01 00:00:00 | 2021-09-30 00:00:00 | ยกเลิก | 13.00 |
6 | 7.0.1. ด้านที่ ๗ – การบริหารจัดการเมืองมหานคร : Management Strategy |
.. | 2564 | โครงการประเมินศักยภาพผู้ปฏิบัติการในระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินกรุงเทพมหานคร | ด้วยสำนักการแพทย์ โดยศูนย์บริการการแพทย์ฉุกเฉินกรุงเทพมหานคร (ศูนย์เอราวัณ) ได้เปิดให้บริการด้านการแพทย์ฉุกเฉิน ตั้งแต่วันที่ 8 สิงหาคม 2550 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อมุ่งเน้นให้บริการด้านการแพทย์ฉุกเฉิน ด้วยบริการที่มีคุณภาพและมาตรฐาน ผ่านหน่วยปฏิบัติการซึ่งเป็นเครือข่ายในระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินกรุงเทพมหานคร ซึ่งมีผู้ปฏิบัติงานระดับพนักงานฉุกเฉินการแพทย์ (Emergency Medical Technician Basic : EMT – B) ปฏิบัติงานร่วมกับแพทย์หรือพยาบาล ทั้งนี้เพื่อเป็นการควบคุม ติดตาม และกำกับดูแลคุณภาพของผู้ปฏิบัติการเครือข่ายในระบบฯ ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และองค์กรมูลนิธิ ในการนี้ สำนักการแพทย์ โดยคณะกรรมการดำเนินการระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินกรุงเทพมหานคร จึงได้กำหนดให้มีการประเมินศักยภาพผู้ปฏิบัติการในระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินกรุงเทพมหานคร เพื่อเป็นการกำกับติดตามและรับรองคุณภาพผู้ปฏิบัติงานซึ่งเป็นเครือข่ายในระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินกรุงเทพมหานคร ให้เป็นไปอย่างมีมาตรฐานตามที่กรุงเทพมหานครกำหนด และคงไว้ซึ่งบริการที่มีคุณภาพแก่ประชาชนผู้รับบริการในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร | 9.1 บุคลากรผู้ผ่านการประเมินศักยภาพฯ ได้รับการทบทวนความรู้ และได้รับรองคุณภาพการปฏิบัติงาน สามารถออกปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพเป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด 9.2 ประชาชนผู้รับบริการ เกิดความมั่นใจในมาตรฐานการให้บริการของกรุงเทพมหานคร 9.3 หน่วยบริการซึ่งเป็นเครือข่ายในระบบการบริการทางการแพทย์ฉุกเฉิน สามารถคงมาตรฐานของบุคลากรผู้ปฏิบัติงานให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด | จัดให้มีการประเมินศักยภาพฯ ให้แก่ผู้ปฏิบัติงานผู้ปฏิบัติงานระดับพนักงานฉุกเฉินการแพทย์ (Emergency Medical Technician Basic : EMT – B) ที่ปฏิบัติงานในเครือข่ายระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินกรุงเทพมหานคร จำนวนประมาณ 450 – 500 คน | 554,430.00 | 0.00 | สำนักการแพทย์ | 2020-10-01 00:00:00 | 2021-09-30 00:00:00 | ยกเลิก | 10.00 |
7 | 1.0.3. ยุทธศาสตร์ที่ ๑ –การสร้างเมืองปลอดภัยและหยุ่นตัวต่อวิกฤตการณ์ |
.. | 2566 | กิจกรรมการเชื่อมโยงข้อมูลระบบสารสนเทศโรงพยาบาล Hospital information System (HIS) กับระบบ Health Link | สำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร เป็นหน่วยงานหนึ่งในสังกัดกรุงเทพมหานคร มีอำนาจ หน้าที่เกี่ยวกับการจัดให้มีบริการโรงพยาบาลในการตรวจรักษาพยาบาล ส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค ฟื้นฟู สุขภาพและสมรรถภาพ เพื่อลดการบาดเจ็บและการตายจากการเจ็บป่วยของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร ได้เล็งเห็นความสำคัญของการนำข้อมูลทางด้านการแพทย์และสาธารณสุขมาใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด การนำข้อมูลจากระบบสารสนเทศโรงพยาบาลแต่ละแห่งเพียงหน่วยงานเดียว ไม่สามารถใช้เป็นข้อมูลสนับสนุนในการแก้ปัญหาได้ในทุกมิติ จึงจำเป็นต้องพัฒนาการเชื่อมโยงแลกเปลี่ยนข้อมูลทางการแพทย์กับหน่วยงานอื่น เพื่อนำข้อมูลมาช่วยในการบริหารจัดการพัฒนาคุณภาพการให้บริการ และช่วยในการแก้ปัญหาด้านต่าง ๆ ให้ดียิ่งขึ้น กรุงเทพมหานคร โดย สำนักการแพทย์ ร่วมกับ สถาบันส่งเสริมการวิเคราะห์และบริหารข้อมูลขนาดใหญ่ภาครัฐ (สวข.) หรือ GBDi ได้จัดทำข้อตกลงความร่วมมือโครงการจัดทำระบบดิจิทัลและเทคโนโลยีเพื่อเชื่อมโยงข้อมูลสุขภาพทั่วประเทศ และได้จัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ เรื่องการพัฒนาเพิ่มคุณภาพการบริการด้านการแพทย์และสาธารณสุขผ่านเทคโนโลยีดิจิทัล ระหว่างกระทรวงกลาโหม กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กรุงเทพมหานคร ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช สภากาชาดไทย สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เมื่อวันที่ ๑๗ มีนาคม ๒๕๖๕ ณ ห้องประชุมบางกอก อาคารไอราวัตพัฒนา ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร ๒ โดยโครงการ Health Link จะทำการเชื่อมข้อมูลสุขภาพของโรงพยาบาลในสังกัดสำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานครทั้ง ๑๑ แห่งเข้าสู่ระบบฐานข้อมูลกลางของ Health Link โดยใช้มาตรฐาน Fast Healthcare Interoperability Resources (FHIR) จากองค์กร Health Level Seven (HL7) หรือเรียกสั้น ๆ ว่า HL7 FHIR ซึ่งเป็นมาตรฐานการแลกเปลี่ยนข้อมูลสุขภาพที่มีผู้ใช้งานทั่วโลก | เพื่อเชื่อมโยงข้อมูลสุขภาพจากระบบสารสนเทศโรงพยาบาลทั้ง ๑๑ แห่ง เข้ากับโครงการเชื่อมโยงข้อมูลสุขภาพทั่วประเทศ (Health Information Exchange: Health Link) ให้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการรักษาพยาบาลของโรงพยาบาล | ระบบสารสนเทศโรงพยาบาลในสังกัดสำนักการแพทย์ สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลสุขภาพส่วนบุคคลได้ตามมาตรฐานที่กำหนดของโครงการเชื่อมโยงข้อมูลสุขภาพทั่วประเทศ (Health Information Exchange: Health Link) ภายในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 | 0.00 | 0.00 | สำนักการแพทย์ | 2022-10-01 00:00:00 | 2023-09-30 00:00:00 | แล้วเสร็จ | 100.00 |
รวม ->7 โครงการ | 0 | 0.00 | 0.00 | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 | 0 | 0 | 0 | 0 |