รายงานสรุปจำนวนโครงการด้านเทคโนโลยีดิจิทัลของกรุงเทพมหานคร (ระหว่าง ปี 2560 - 2563): ณ วันที่ 21/11/2024 จำนวน 17 โครงการ

[พิมพ์ไฟล์ PDF (ทั้งหมด)]

ลำดับ ยุทธศาสตร์ 20 ปี แผนแม่บทไอที ปีงบประมาณ ชื่อโครงการ หลักการและเหตุผล วัตถุประสงค์โครงการ เป้าหมายโครงการ งบประมาณที่ได้รับ งบประมาณที่ใช้ไป หน่วยงานที่รับผิดชอบ เริ่มโครงการ สิ้นสุดโครงการ สถานะโครงการ คืบหน้า (ร้อยละ)
1 3.0.3.
ด้านที่ ๓ - มหานครสำหรับทุกคน : Bangkok as a City for All
4.2. 2560 พัฒนาระบบสารสนเทศ เพื่อยกระดับสมรรถนะการบริหารทรัพยากรบุคคลข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากรุงเทพมหานคร เพื่อยกระดับสมรรถนะการบริหารทรัพยากรบุคคลของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากรุงเทพมหานคร โดยการวิเคราะห์ข้อมูลรายบุคคลทุกมิติ รวมทั้งการบริหารทรัพยากรบุคคลทุกระบบผ่านระบบสารสนเทศ เพื่อให้ข้อมูลมีความถูกต้อง เป็นปัจจุบัน 1. เพื่อปรับปรุง เพิ่มเติม ข้อมูลปฐมภูมิข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากรุงเทพมหานครให้สามารถทำงานผ่านระบบสารสนเทศได้อย่างครบวงจร ทำให้กรุงเทพมหานครมีศูนย์ข้อมูลกลางของข้าราชการครูฯ ที่มีความถูกต้อง เป็นปัจจุบัน 2. เพื่อพัฒนาระบบสนับสนุนการบริหารทรัพยากรบุคคลทุกระบบ ให้เป็นกลไกขับเคลื่อน ผลักดันให้ข้อมูลปฐมภูมิของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากรุงเทพมหานคร และเอกสารทะเบียนประวัติมีความถูกต้อง แม่นยำ และเป็นปัจจุบันตลอดเวลาโดยเร็ว และเป็นช่องทางหนึ่งในการที่ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากรุงเทพมหานครจะสามารถเข้าถึงข้อมูลสำคัญของตนเองได้ด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ 3. เพื่อให้สามารถบูรณาการเชื่อมโยงระบบสารสนเทศด้านการบริหารจัดการ และการวิเคราะห์ข้อมูลรายบุคคลในการยกระดับสมรรถนะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากรุงเทพมหานคร ตลอดจนวางแผนการจัดการศึกษาของกรุงเทพมหานครให้เป็นไปในทิศทางที่ถูกต้อง เหมาะสม อีกทั้งสามารถรองรับการปรับปรุงโครงสร้างองค์กรด้านการศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ 4. เพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพด้านระบบรักษาความปลอดภัยของข้อมูลแบบองค์รวมด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยข้อมูลข่าวสารของทางราชการ และกฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ กรุงเทพมหานคร มีระบบฐานข้อมูลประวัติการรับราชการของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากรุงเทพมหานคร ที่มีการบริหารทรัพยากรบุคคลภายใต้กฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาทุกสังกัด คือ สังกัดสำนักการศึกษา จำนวน 61 อัตรา สังกัดสำนักงานเขต 15,846 อัตรา และสังกัดสำนักพัฒนาสังคม 135 อัตรา รวม 16,042 อัตรา ที่มีความถูกต้อง เป็นปัจจุบัน สามารถอ้างอิงได้ตามเอกสารทะเบียนประวัติ (ก.พ.7)ทั้งหมด ตลอดจนทะเบียนประวัติ (ก.พ.7)ของลูกจ้างกรุงเทพมหานครที่ปฏิบัติงานในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 1,172 คน พร้อมทั้งระบบสนับสนุนการบริหารทรัพยากรบุคคล จำนวน 20 ระบบ อันจะทำให้สามารถขับเคลื่อนข้อมูลให้เป็นปัจจุบันได้ตลอดเวลา รวมถึงการบริหารจัดการแฟ้มทะเบียนประวัติและ ก.พ.7 ของข้าราชการครูฯ ที่เกษียณอายุราชการหรือลาออกจากราชการตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน จำนวนไม่น้อยกว่า 8,000 คน ที่สามารถใช้ข้อมูลจากระบบอิเล็กทรอนิกส์แทนการเก็บรักษาต้นฉบับไว้ 0.00 0.00 สำนักการศึกษา 2016-10-01 00:00:00 2017-09-30 00:00:00 กำลังดำเนินการ 28.00
2 3.0.2.
ด้านที่ ๓ - มหานครสำหรับทุกคน : Bangkok as a City for All
3.1. 2561 พัฒนาเครือข่ายคอมพิวเตอร์ภายในสำนักการศึกษา สำนักการศึกษานำเทคโนโลยีสารสนเทศมาช่วยสนับสนุนภารกิจของสำนักการศึกษาโดยผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ไร้สายเป็นหลัก จึงจำเป็นต้องพัฒนาเครือข่ายคอมพิวเตอร์ภายในสำนักการศึกษาโดยจัดหาผู้มีความรู้ความชำนาญมาติดตั้งระบบสายสัญญาณที่มีข้อดีด้านประสิทธิภาพการส่งสัญญาณและอายุการใช้งานสายสัญญาได้ยาวนาน 1. เพื่อพัฒนาเครือข่ายคอมพิวเตอร์ภายในสำนักการศึกษาให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น 2. เพื่อส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศมาช่วยสนับสนุนภารกิจของสำนักการศึกษาเป็นไปด้วยความต่อเนื่อง ด้านปริมาณ 1. ติดตั้งเครือข่ายคอมพิวเตอร์ภายในสำนักการศึกษาให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น 2. ติดตั้งระบบไฟฟ้า (เต้ารับไฟฟ้า) จำนวน 200 จุด ด้านคุณภาพ บุคลากรของสำนักการศึกษาสามารถใช้ทรัพยากรสารสนเทศทั้งภายในและผ่านระบบอินเทอร์เน็ตได้อย่างมีประสิทธิภาพ 1,028,500.00 0.00 สำนักการศึกษา 2017-10-01 00:00:00 2018-09-30 00:00:00 ยกเลิก 10.00
3 3.0.2.
ด้านที่ ๓ - มหานครสำหรับทุกคน : Bangkok as a City for All
6.2. 2561 ยกระดับมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ด้วยเทคโนโลยีผ่านนวัตกรรม Maths-Whizz ในการจัดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ สื่อและนวัตกรรมการเรียนรู้เป็นตัวกลางสำคัญที่จะส่งผลให้ผู้เรียนเข้าถึงความรู้ และคุณลักษณะตามมาตรฐานการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ ผู้เรียนควรมีโอกาสเรียนรู้จากการปฏิบัติจริง ฝึกทักษะ กระบวนการ จัดกิจกรรมการเรียนรู้เสริมด้วยนวัตกรรมต่างๆ ที่หลากหลาย ซึ่งนวัตกรรม Maths-Whizz เป็นนวัตกรรมหนึ่งที่เป็นระบบการเรียนการสอนแบบพัฒนาตามศักยภาพของผู้เรียนเป็นรายบุคคล (Personalised Learning) และแก้ปัญหาความแตกต่างของอายุทางคณิตศาสตร์ (Maths Agetm) ซึ่งผลการวิจัยจากหลายประเทศ พบว่า นักเรียนที่เรียนรู้ผ่านนวัตกรรม Maths-Whizz จำนวน 60 นาที/สัปดาห์ ต่อเนื่องเป็นเวลา 12 เดือน จะมีพัฒนาการอายุทางคณิตศาสตร์ มากถึง 18 เดือน และช่วยเสริมสร้างกำลังใจให้นักเรียนได้เรียนรู้คณิตศาสตร์อย่างมีความสุข ดังนั้น เพื่อให้โรงเรียนสามารถยกระดับมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ หน่วยศึกษานิเทศก์ จึงได้จัดทำโครงการยกระดับมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ด้วยเทคโนโลยีผ่านนวัตกรรม Maths-Whizz ให้กับโรงเรียนที่เปิดโครงการสองภาษา (หลักสูตรไทย-อังกฤษ) เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนคณิตศาสตร์แบบบูรณาการ และสร้างเจตคติที่ดีต่อการเรียนคณิตศาสตร์ อันจะส่งผลให้ผู้เรียนมีทักษะทางด้านคณิตศาสตร์เต็มตามศักยภาพ นำไปสู่การยกระดับคุณภาพการศึกษาให้ได้มาตรฐานในระดับสากลต่อไป 1.เพื่อยกระดับมาตรฐานการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนระดับประถมศึกษาในโรงเรียนที่เปิดโครงการสองภาษา (หลักสูตรไทย-อังกฤษ) สังกัดกรุงเทพมหานคร 2.เพื่อให้ครูผู้สอนคณิตศาสตร์ใช้นวัตกรรม Maths-Whizz ในการพัฒนาศักยภาพของผู้เรียนเป็นรายบุคคล (Personalised Learning) 3.เพื่อให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้แบบบูรณาการ และสร้างเจตคติที่ดีต่อการเรียนคณิตศาสตร์ ด้านปริมาณ 1.โรงเรียนที่เปิดโครงการสองภาษา (หลักสูตรไทย-อังกฤษ) ที่มีความพร้อมในการจัดห้องเรียนด้วยนวัตกรรม Maths-Whizz จำนวน 44 โรงเรียน 2. ผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอนคณิตศาสตร์ระดับประถมศึกษา ศึกษานิเทศก์ และผู้ที่เกี่ยวข้อง ได้เข้ารับการอบรมเชิงปฏิบัติการ การใช้นวัตกรรม Maths-Whizz ด้านคุณภาพ 1. นักเรียนระดับประถมศึกษาในโรงเรียนที่เปิดโครงการสองภาษา (หลักสูตรไทย-อังกฤษ) มีพัฒนาการอายุทางคณิตศาสตร์สูงขึ้น 2. ครูผู้สอนคณิตศาสตร์มีทักษะการสอนและสามารถใช้นวัตกรรม Maths-Whizz เป็นเครื่องมือส่งเสริมการจัดกระบวนการเรียนรู้ให้กับนักเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ 3. ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารระดับสำนักการศึกษา และระดับกรุงเทพมหานคร สามารถวางนโยบายในการยกระดับมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์อย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น 10,505,250.00 0.00 สำนักการศึกษา 2017-10-01 00:00:00 2018-09-30 00:00:00 ยกเลิก 10.00
4 3.0.2.
ด้านที่ ๓ - มหานครสำหรับทุกคน : Bangkok as a City for All
4.2. 2561 พัฒนาระบบสารสนเทศ เพื่อยกระดับสมรรถนะการบริหารทรัพยากรบุคคลข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากรุงเทพมหานคร เพื่อยกระดับสมรรถนะการบริหารทรัพยากรบุคคลของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากรุงเทพมหานคร โดยการวิเคราะห์ข้อมูลรายบุคคลทุกมิติ รวมทั้งการบริหารทรัพยากรบุคคลทุกระบบผ่านระบบสารสนเทศ เพื่อให้ข้อมูลมีความถูกต้อง เป็นปัจจุบัน 1. เพื่อปรับปรุง เพิ่มเติม ข้อมูลปฐมภูมิข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากรุงเทพมหานครให้สามารถทำงานผ่านระบบสารสนเทศได้อย่างครบวงจร ทำให้กรุงเทพมหานครมีศูนย์ข้อมูลกลางของข้าราชการครูฯ ที่มีความถูกต้อง เป็นปัจจุบัน 2. เพื่อพัฒนาระบบสนับสนุนการบริหารทรัพยากรบุคคลทุกระบบ ให้เป็นกลไกขับเคลื่อน ผลักดันให้ข้อมูลปฐมภูมิของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากรุงเทพมหานคร และเอกสารทะเบียนประวัติมีความถูกต้อง แม่นยำ และเป็นปัจจุบันตลอดเวลาโดยเร็ว และเป็นช่องทางหนึ่งในการที่ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากรุงเทพมหานครจะสามารถเข้าถึงข้อมูลสำคัญของตนเองได้ด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ 3. เพื่อให้สามารถบูรณาการเชื่อมโยงระบบสารสนเทศด้านการบริหารจัดการ และการวิเคราะห์ข้อมูลรายบุคคลในการยกระดับสมรรถนะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากรุงเทพมหานคร ตลอดจนวางแผนการจัดการศึกษาของกรุงเทพมหานครให้เป็นไปในทิศทางที่ถูกต้อง เหมาะสม อีกทั้งสามารถรองรับการปรับปรุงโครงสร้างองค์กรด้านการศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ 4. เพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพด้านระบบรักษาความปลอดภัยของข้อมูลแบบองค์รวมด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยข้อมูลข่าวสารของทางราชการ และกฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ กรุงเทพมหานคร มีระบบฐานข้อมูลประวัติการรับราชการของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากรุงเทพมหานคร ที่มีการบริหารทรัพยากรบุคคลภายใต้กฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาทุกสังกัด คือ สังกัดสำนักการศึกษา จำนวน 61 อัตรา สังกัดสำนักงานเขต 15,846 อัตรา และสังกัดสำนักพัฒนาสังคม 135 อัตรา รวม 16,042 อัตรา ที่มีความถูกต้อง เป็นปัจจุบัน สามารถอ้างอิงได้ตามเอกสารทะเบียนประวัติ (ก.พ.7)ทั้งหมด ตลอดจนทะเบียนประวัติ (ก.พ.7)ของลูกจ้างกรุงเทพมหานครที่ปฏิบัติงานในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 1,172 คน พร้อมทั้งระบบสนับสนุนการบริหารทรัพยากรบุคคล จำนวน 20 ระบบ อันจะทำให้สามารถขับเคลื่อนข้อมูลให้เป็นปัจจุบันได้ตลอดเวลา รวมถึงการบริหารจัดการแฟ้มทะเบียนประวัติและ ก.พ.7 ของข้าราชการครูฯ ที่เกษียณอายุราชการหรือลาออกจากราชการตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน จำนวนไม่น้อยกว่า 8,000 คน ที่สามารถใช้ข้อมูลจากระบบอิเล็กทรอนิกส์แทนการเก็บรักษาต้นฉบับไว้ 20,100,000.00 0.00 สำนักการศึกษา 2017-10-01 00:00:00 2018-09-30 00:00:00 แล้วเสร็จ 100.00
5 3.0.2.
ด้านที่ ๓ - มหานครสำหรับทุกคน : Bangkok as a City for All
6.2. 2561 ประกวดผลงานนวัตกรรมแห่งการเรียนรู้ของข้าราชการครูกรุงเทพมหานคร กรุงเทพมหานครได้ให้ความสำคัญต่อการพัฒนาการศึกษาเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะในการพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากรุงเทพมหานคร ให้มีสมรรถนะ มีความเป็นมืออาชีพตามมาตรฐานที่กำหนด เนื่องจากข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากรุงเทพมหานคร เป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยให้การจัดการศึกษาของโรงเรียนบรรลุตามเป้าหมาย อาชีพครูจึงเป็นอาชีพที่สำคัญที่ควรได้รับการส่งเสริมและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนต้องสร้างขวัญและกำลังใจให้กับกลุ่มข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากรุงเทพมหานครในการปฏิบัติหน้าที่ และให้เกียรติชมเชยต่อความสามารถของกลุ่มข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากรุงเทพมหานคร ที่ได้ร่วมสร้างผลงานที่เป็นประโยชน์ต่อการเรียนการสอน ในอันที่จะส่งเสริมการสร้างวัฒนธรรมชุมชนทางการเรียนรู้ทางวิชาชีพของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากรุงเทพมหานคร หรือ PLC (Professional Learning Community) ให้เข้มแข็งในระบบการศึกษาของกรุงเทพมหานคร จากความสำคัญดังกล่าว สำนักการศึกษาในฐานะที่เป็นหน่วยงานหลักในการจัดการศึกษาของกรุงเทพมหานคร ซึ่งปัจจุบันมีโรงเรียนที่ต้องรับผิดชอบ จำนวน ๔๓๗ โรงเรียน และข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากรุงเทพมหานคร จำนวน ๑๔,๑๘๕ คน จึงเห็นควรให้มีการคัดเลือกข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากรุงเทพมหานครที่มีผลงานดีเด่นด้านการพัฒนาการเรียนการสอนแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้และอื่น ๆ ที่นำไปสู่การพัฒนานักเรียนกรุงเทพมหานคร เพื่อยกย่องเชิดชูเกียรติให้เข้ารับรางวัล และเพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ครูผู้สอนทั่วกรุงเทพมหานคร โดยจัดให้มีการประกวดผลงานนวัตกรรมแห่งการเรียนรู้ของข้าราชการครูกรุงเทพมหานคร 1 เพื่อส่งเสริมและกระตุ้นให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาของโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร ได้แสดงศักยภาพและความสามารถในการเรียนการสอนตามกลุ่มสาระและงานที่รับผิดชอบ 2 เพื่อเป็นการยกย่องและเชิดชูเกียรติและสร้างขวัญกำลังใจให้แก่ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากรุงเทพมหานครที่มีความพร้อมและมุ่งมั่นในการสอนและงานที่รับผิดชอบ 3 เพื่อเป็นต้นแบบให้กับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากรุงเทพมหานครได้ศึกษาและเรียนรู้วัฒนธรรมชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) ตลอดจนเผยแพร่ผลงานให้สาธารณชนรับรู้ต่อไป 1 ด้านปริมาณ - จัดให้มีการประกวดผลงานนวัตกรรมแห่งการเรียนรู้ของข้าราชการครูกรุงเทพมหานครสำหรับกลุ่มข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากรุงเทพมหานคร จำนวน ๑๐ ประเภท ๆ ละ ๓ รางวัล ได้แก่ (๑) กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (๒) กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ (๓) กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (๔) กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย (๕) กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (๖) กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม (๗) กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (๘) กลุ่มสาระการเรียนรู้ ... - 2 - (๘) กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา (๙) กลุ่มครูแนะแนว (๑๐) กลุ่มครูการศึกษาพิเศษ (เรียนร่วม) 2 ด้านคุณภาพ - ได้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากรุงเทพมหานคร ที่มีศักยภาพและคุณภาพ เป็นที่ยอมรับของสาธารณชน สามารถเป็นแบบอย่างและต้นแบบในการเรียนการสอนได้ - ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากรุงเทพมหานคร มีขวัญ กำลังใจ และได้รับการยกย่องและเชิดชูเกียรติ 2,474,000.00 0.00 สำนักการศึกษา 2017-10-01 00:00:00 2018-09-30 00:00:00 ยกเลิก 10.00
6 3.0.2.
ด้านที่ ๓ - มหานครสำหรับทุกคน : Bangkok as a City for All
6.2. 2562 ประกวดนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ สำนักการศึกษาเป็นหน่วยงานหลักที่จะต้องส่งเสริมสนับสนุนให้สถานศึกษาของกรุงเทพมหานครได้มีการจัดการเรียนรู้ที่สอดรับตามแผนและบรรลุตามเป้าประสงค์ ดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการประกวดนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ เพื่อเป็นการกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาเพื่อยกระดับการจัดการเรียนรู้ของกรุงเทพมหานคร และสร้างขวัญกำลังใจแก่ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากรุงเทพมหานคร ตลอดจนเป็นเวทีแห่งการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และเผยแพร่นวัตกรรมของสถานศึกษาสังกัดกรุงเทพมหานคร เพื่อเป็นต้นแบบให้แก่สถานศึกษาอื่น อันจะนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพการศึกษาของกรุงเทพมหานครที่ยั่งยืนต่อไป 1.เพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากรุงเทพมหานครได้ใช้ความรู้ความสามารถในการออกแบบและการสร้างนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ที่มีประสิทธิภาพ 2. เพื่อเป็นแรงกระตุ้นและเสริมสร้างขวัญกำลังใจให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากรุงเทพมหานครสร้างนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ 3. เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนได้พัฒนาทักษะการเรียนรู้ การใช้นวัตกรรม หรือสื่อ หรือเทคโนโลยีสารสนเทศในการจัดทำโครงงาน เกิดการเรียนรู้จากการฝึกปฏิบัติ ด้านปริมาณ 1. ได้นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ในระดับปฐมวัย ระดับประถมศึกษา และระดับมัธยมศึกษา 2. ได้โครงงานจากการใช้นวัตกรรม หรือสื่อ หรือเทคโนโลยีสารสนเทศของนักเรียน ในระดับปฐมวัย ระดับประถมศึกษา และระดับมัธยมศึกษา ด้านคุณภาพ 1. ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากรุงเทพมหานคร มีการออกแบบและสร้างการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 อย่างมีประสิทธิภาพ 2. นักเรียนโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานครสร้างโครงงานโดยนำนวัตกรรม หรือสื่อหรือเทคโนโลยีสารสนเทศ มาประยุกต์ใช้ได้อย่างเป็นรูปธรรมและสร้างสรรค์ 318,500.00 189,150.00 สำนักการศึกษา 2018-10-01 00:00:00 2019-09-30 00:00:00 แล้วเสร็จ 100.00
7 3.0.2.
ด้านที่ ๓ - มหานครสำหรับทุกคน : Bangkok as a City for All
4.2. 2562 พัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อยกระดับสมรรถนะการบริหารทรัพยากรบุคคลข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากรุงเทพมหานคร เพื่อยกระดับสมรรถนะการบริหารทรัพยากรบุคคลของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากรุงเทพมหานคร โดยการวิเคราะห์ข้อมูลรายบุคคลทุกมิติ รวมทั้งการบริหารทรัพยากรบุคคลทุกระบบผ่านระบบสารสนเทศ เพื่อให้ข้อมูลมีความถูกต้อง เป็นปัจจุบัน 1. เพื่อปรับปรุง เพิ่มเติม ข้อมูลปฐมภูมิข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากรุงเทพมหานครให้สามารถทำงานผ่านระบบสารสนเทศได้อย่างครบวงจร ทำให้กรุงเทพมหานครมีศูนย์ข้อมูลกลางของข้าราชการครูฯ ที่มีความถูกต้อง เป็นปัจจุบัน 2. เพื่อพัฒนาระบบสนับสนุนการบริหารทรัพยากรบุคคลทุกระบบ ให้เป็นกลไกขับเคลื่อน ผลักดันให้ข้อมูลปฐมภูมิของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากรุงเทพมหานคร และเอกสารทะเบียนประวัติมีความถูกต้อง แม่นยำ และเป็นปัจจุบันตลอดเวลาโดยเร็ว และเป็นช่องทางหนึ่งในการที่ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากรุงเทพมหานครจะสามารถเข้าถึงข้อมูลสำคัญของตนเองได้ด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ 3. เพื่อให้สามารถบูรณาการเชื่อมโยงระบบสารสนเทศด้านการบริหารจัดการ และการวิเคราะห์ข้อมูลรายบุคคลในการยกระดับสมรรถนะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากรุงเทพมหานคร ตลอดจนวางแผนการจัดการศึกษาของกรุงเทพมหานครให้เป็นไปในทิศทางที่ถูกต้อง เหมาะสม อีกทั้งสามารถรองรับการปรับปรุงโครงสร้างองค์กรด้านการศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ 4. เพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพด้านระบบรักษาความปลอดภัยของข้อมูลแบบองค์รวมด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยข้อมูลข่าวสารของทางราชการ และกฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ กรุงเทพมหานคร มีระบบฐานข้อมูลประวัติการรับราชการของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากรุงเทพมหานคร ที่มีการบริหารทรัพยากรบุคคลภายใต้กฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาทุกสังกัด คือ สังกัดสำนักการศึกษา จำนวน 61 อัตรา สังกัดสำนักงานเขต 15,846 อัตรา และสังกัดสำนักพัฒนาสังคม 135 อัตรา รวม 16,042 อัตรา ที่มีความถูกต้อง เป็นปัจจุบัน สามารถอ้างอิงได้ตามเอกสารทะเบียนประวัติ (ก.พ.7)ทั้งหมด ตลอดจนทะเบียนประวัติ (ก.พ.7)ของลูกจ้างกรุงเทพมหานครที่ปฏิบัติงานในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 1,172 คน พร้อมทั้งระบบสนับสนุนการบริหารทรัพยากรบุคคล จำนวน 20 ระบบ อันจะทำให้สามารถขับเคลื่อนข้อมูลให้เป็นปัจจุบันได้ตลอดเวลา รวมถึงการบริหารจัดการแฟ้มทะเบียนประวัติและ ก.พ.7 ของข้าราชการครูฯ ที่เกษียณอายุราชการหรือลาออกจากราชการตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน จำนวนไม่น้อยกว่า 8,000 คน ที่สามารถใช้ข้อมูลจากระบบอิเล็กทรอนิกส์แทนการเก็บรักษาต้นฉบับไว้ 25,400,000.00 0.00 สำนักการศึกษา 2018-10-01 00:00:00 2019-09-30 00:00:00 แล้วเสร็จ 100.00
8 3.0.2.
ด้านที่ ๓ - มหานครสำหรับทุกคน : Bangkok as a City for All
6.2. 2563 โครงการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้เพื่อผลิตสื่อเทคโนโลยีเสมือนจริง จากผลการทดสอบความสามารถพื้นฐานของผู้เรียนระดับชาติ (NT) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2560 พบว่า คะแนนเฉลี่ยด้านการคิดคำนวณของนักเรียนโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร เท่ากับ 34.13 ซึ่งต่ำกว่าคะแนนเฉลี่ยระดับประเทศ จากผลการทดสอบดังกล่าวแสดงให้เห็นว่านักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ของโรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร มีปัญหาเรื่องทักษะด้านการคิดคำนวณ ซึ่งจะส่งผลต่อการเรียนรู้ในระดับที่สูงขึ้นของนักเรียน สำนักการศึกษา ตระหนักถึงความสำคัญของการนำเทคโนโลยีมาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนรู้ของนักเรียน เห็นว่าเทคโนโลยีเสมือนจริง (AR) สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ของครูในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร เพื่อสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ของครูและนักเรียน และส่งเสริมให้มีการนำเทคโนโลยีมาใช้พัฒนาการจัดการเรียนรู้ในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานครให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น 1. เพื่อวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 2. เพื่อผลิตสื่อเทคโนโลยีเสมือนจริงกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 1 ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากรุงเทพมหานครที่ปฏิบัติการสอนวิชาคณิตศาสตร์ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง 2 นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2563 ที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง 3,978,500.00 0.00 สำนักการศึกษา 2019-10-01 00:00:00 2020-09-30 00:00:00 กำลังดำเนินการ 90.00
9 3.0.2.
ด้านที่ ๓ - มหานครสำหรับทุกคน : Bangkok as a City for All
4.2. 2563 โครงการพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์เพื่อการเรียนรู้ต่อเนื่อง สืบเนื่องจากกรุงเทพมหานครได้ตระหนักถึงความสำคัญในการพัฒนาการศึกษา โดยการนำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเข้ามาช่วยพัฒนาการเรียนการสอนให้เกิดประสิทธิภาพ เพื่อให้สอดคล้องตามแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2579 ยุทธศาสตร์ที่ 4 การสร้างโอกาสความเสมอภาคและความเท่าเทียมทางการศึกษา เป้าหมาย การเพิ่มโอกาสทางการศึกษาผ่านเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการศึกษาสำหรับคนทุกช่วงวัย ดังนั้น เพื่อให้การพัฒนาการศึกษาของกรุงเทพมหานครเป็นไปอย่างต่อเนื่อง มีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับเทคโนโลยีสมัยใหม่ รองรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากรุงเทพมหานคร 14,375 คน และนักเรียนในสังกัดจำนวน 286,719 คน ทั่วพื้นที่ 50 สำนักงานเขต สำนักการศึกษาจึงจัดทำโครงการเช่าระบบคอมพิวเตอร์เพื่อการเรียนรู้ต่อเนื่อง ในปีงบประมาณ พ.ศ.2563 โดยกำหนดวัตถุประสงค์การใช้และการบริหารจัดการห้องคอมพิวเตอร์อย่างชัดเจน สามารถนำไปปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมและมีประสิทธิภาพได้มากขึ้น 1. เพื่อพัฒนานักเรียนสังกัดกรุงเทพมหานครให้มีความรู้ความสามารถ มีทักษะการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในทุกระดับ 2. เพื่อพัฒนาสภาพแวดล้อมห้องคอมพิวเตอร์ให้เอื้อต่อการเรียนรู้ และเพื่อเปิดโอกาสให้ครูผู้สอนและนักเรียนเข้าถึงเทคโนโลยีดิจิทัลที่ทันสมัย 3. เพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาของโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร รองรับการจัดกระบวนการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 เป้าหมายรวม โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร 437 โรงเรียน มีห้องคอมพิวเตอร์สำหรับจัดการเรียนรู้ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลที่มีประสิทธิภาพครบทุกโรงเรียน ด้านปริมาณ 1. พัฒนาห้องคอมพิวเตอร์ของโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 437 โรงเรียน ห้องคอมพิวเตอร์ จำนวน 576 ห้อง เครื่องคอมพิวเตอร์ จำนวน 21,916 เครื่อง 2. พัฒนาระบบคอมพิวเตอร์สำนักการศึกษา จำนวน 1 แห่ง ดังนี้ 1) พัฒนาศูนย์ฝึกอบรมคอมพิวเตอร์ เครื่องคอมพิวเตอร์ จำนวน 51 เครื่อง 2) พัฒนาศูนย์ควบคุมระบบคอมพิวเตอร์และเครือข่าย จำนวน 1 แห่ง ด้านคุณภาพ 1. นักเรียนในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานครมีองค์ความรู้และความสามารถใช้กระบวนการเทคโนโลยีสารสนเทศในการสืบค้นข้อมูล การเรียนรู้ การสื่อสาร การแก้ปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพ 2. ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากรุงเทพมหานครมีองค์ความรู้และความสามารถใช้คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือในการสอนและสร้างสื่อการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ 63,298,900.00 0.00 สำนักการศึกษา 2019-10-01 00:00:00 2020-09-29 00:00:00 แล้วเสร็จ 100.00
10 3.0.2.
ด้านที่ ๓ - มหานครสำหรับทุกคน : Bangkok as a City for All
4.2. 2563 4.1 กิจกรรมการพัฒนาฐานข้อมูลของสำนักการศึกษา ตามเกณฑ์คู่มือการประเมินผลการปฏิบัติราชการตามคำรับรองการปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๓ (มิติที่ ๔ ตัวชี้วัดที่ ๔.๑) ตามเกณฑ์คู่มือการประเมินผลการปฏิบัติราชการตามคำรับรองการปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๓ (มิติที่ ๔ ตัวชี้วัดที่ ๔.๑) ตามเกณฑ์คู่มือการประเมินผลการปฏิบัติราชการตามคำรับรองการปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๓ (มิติที่ ๔ ตัวชี้วัดที่ ๔.๑) 0.00 0.00 สำนักการศึกษา 2019-10-01 00:00:00 2020-09-29 00:00:00 แล้วเสร็จ 100.00
11 3.0.2.
ด้านที่ ๓ - มหานครสำหรับทุกคน : Bangkok as a City for All
4.2. 2563 โครงการพัฒนาระบบสารสนเทศและเทคโนโลยีการจัดการศึกษา สำนักการศึกษาเป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่สนับสนุน ส่งเสริมการจัดการศึกษาของกรุงเทพมหานคร มีส่วนราชการภายใน 8 ส่วนราชการ ซึ่งแต่ละส่วนราชการมีข้อมูลต่างๆ มากมาย แต่ยังขาดระบบการเชื่อมโยง และแลกเปลี่ยนข้อมูลในระดับฐานข้อมูลระหว่างส่วนราชการและสถานศึกษา ทำให้เกิดปัญหาด้านความถูกต้อง ความซ้ำซ้อนของข้อมูล และข้อมูลไม่เป็นปัจจุบัน การนำระบบบริหารข้อมูลสารสนเทศ ซึ่งเป็นระบบจัดเก็บข้อมูลในระบบฐานข้อมูลอย่างเป็นระบบ จะทำให้การเชื่อมโยงข้อมูลภายในส่วนราชการของสำนักการศึกษาและสถานศึกษาเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อใช้ประกอบการวิเคราะห์และการตัดสินใจของผู้บริหารได้อย่างมีประสิทธิภาพ 1. เพื่อจัดทำระบบฐานข้อมูลสารสนเทศด้านการศึกษา สำหรับเป็นศูนย์กลางในการรวบรวมข้อมูลของโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร เพื่อใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึก และให้บริการข้อมูลในรูปแบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) 2. เพื่อให้สามารถบูรณาการเชื่อมโยงแลกเปลี่ยนข้อมูลสารสนเทศด้านการศึกษาระหว่างหน่วยงานภายในสำนักการศึกษา โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร เพื่อยกระดับการใช้งานข้อมูลสารสนเทศด้านการศึกษาทุกมิติให้มีประสิทธิภาพ รองรับนโยบายของรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ 3. เพื่อพัฒนาเชื่อมโยงระบบฐานข้อมูลสารสนเทศของสำนักการศึกษากับฐานข้อมูลกลางการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ 1. ด้านปริมาณ สำนักการศึกษา และโรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 437 โรงเรียน มีระบบฐานข้อมูลสารสนเทศที่เป็นปัจจุบัน 2. ด้านคุณภาพ 1. สำนักการศึกษาและโรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานครสามารถใช้ระบบฐานข้อมูลสารสนเทศที่มีความถูกต้อง ความรวดเร็ว และเป็นปัจจุบัน 2. โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานครสามารถใช้ข้อมูลสารสนเทศในการจัดการด้านการศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ 18,226,400.00 0.00 สำนักการศึกษา 2019-10-01 00:00:00 2020-09-30 00:00:00 แล้วเสร็จ 100.00
12 3.0.2.
ด้านที่ ๓ - มหานครสำหรับทุกคน : Bangkok as a City for All
6.2. 2563 โครงการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษครู เพื่อยกระดับคุณภาพนักเรียนด้วยสื่อนวัตกรรมใหม่ สำหรับครูและบุคลากรทางการศึกษาสังกัดกรุงเทพมหานคร ปัจจุบันภาษาอังกฤษถือเป็นภาษากลางของโลกที่คนต่างภาษาต่างวัฒนธรรมใช้ติดต่อสื่อสารระหว่างกัน ความสำคัญนี้จึงทำให้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สองรองจากภาษาประจำชาติ และภาษาอังกฤษมีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับคนไทยทุกคนทั้งเพื่อการติดต่อสื่อสารโดยตรงกับชาวต่างชาติและเพื่อใช้แสวงหาสืบค้นข้อมูลความรู้จากแหล่งต่าง ๆ จำนวนมากที่เป็นภาษาอังกฤษ ไม่ว่าอยู่ในรูปแบบของหนังสือ บทความ วารสาร หรือข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต การมีทักษะภาษาอังกฤษจะทำให้ได้รับโอกาสที่ดีในหลายๆ ด้าน เพราะนอกจากจะสามารถติดต่อสื่อสารได้แล้ว ยังสามารถเพิ่มโอกาสการเรียนรู้ เพิ่มโอกาสในการพัฒนาตนเอง สามารถสร้างวิสัยทัศน์ พัฒนาความคิด ทัศนคติ และสามารถเป็นผู้ตามทันโลกอีกด้วย ผู้บริหารกรุงเทพมหานครได้เล็งความสำคัญและประโยชน์ระยะยาวของการมีทักษะภาษาอังกฤษของบุคลากรในองค์กรจึงมีนโยบายส่งเสริมการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษให้แก่ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากรุงเทพมหานคร เพื่อการพัฒนาศักยภาพของตนเองที่ส่งผลต่อการยกระดับคุณภาพการศึกษาของนักเรียนกรุงเทพมหานครในอนาคต สำนักการศึกษาจึงได้จัดทำโครงการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษครู เพื่อยกระดับคุณภาพนักเรียนด้วยสื่อนวัตกรรมใหม่ สำหรับครูและบุคลากรทางการศึกษาสังกัดกรุงเทพมหานคร เพื่อส่งเสริมและพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษให้แก่ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากรุงเทพมหานคร โดยให้ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอเพื่อผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ทางภาษาที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล และให้ครูสามารถปฏิบัติงานการสอนให้แก่นักเรียนได้อย่างเต็มที่ ลดการออกนอกห้องเรียนให้สอดคล้องกับนโยบาย "คืนครูสู่ห้องเรียน" ของกรุงเทพมหานคร 1 เพื่อพัฒนาและยกระดับทักษะภาษาอังกฤษของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากรุงเทพมหานคร 2 เพื่อส่งเสริมศักยภาพการจัดการเรียนรู้ของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากรุงเทพมหานครให้กว้างขวางขึ้นจากแหล่งเรียนรู้ที่เป็นภาษาอังกฤษ ส่งผลสัมฤทธิ์ต่อการพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนในทุกวิชา 1 ด้านปริมาณ ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากรุงเทพมหานคร จำนวน ๓,๐๐๐ คน เข้ารับการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษครู เพื่อยกระดับคุณภาพนักเรียนด้วยสื่อนวัตกรรมใหม่ 2 ด้านคุณภาพ ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากรุงเทพมหานครสามารถนำความรู้และทักษะภาษาอังกฤษไปใช้การจัดการเรียนการสอนในวิชาที่รับผิดชอบได้ 29,287,600.00 0.00 สำนักการศึกษา 2019-10-01 00:00:00 2020-09-29 00:00:00 ยกเลิก 35.00
13 7.0.1.
ด้านที่ ๗ – การบริหารจัดการเมืองมหานคร : Management Strategy
4.2.1 2563 โครงการพัฒนาระบบอินเทอร์เน็ตในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร ผู้บริหารกรุงเทพมหานครได้ตระหนักถึงความสำคัญในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานครเพื่อให้ได้มาตรฐานและทั่วถึงเพียงพอต่อการใช้งาน สำนักการศึกษาจึงดำเนินโครงการพัฒนาระบบอินเทอร์เน็ตในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานครเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการเรียนการสอน 1. เพื่อพัฒนาระบบอินเทอร์เน็ตในโรงเรียนในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานครให้เพียงพอต่อการใช้งานด่านการเรียนการสอนและการบริหารโรงเรียน 2. เพื่อส่งเสริมครูผู้สอนให้ใช้สื่อการสอนในอินเทอร์เน็ตที่มีคุณภาพมาประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนรู้ ด้านปริมาณ โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานครมีระบบอินเทอร์เน็ตได้มาตรฐานและเพียงพอต่อการใช้งานด้านการเรียนการสอนทั้ง 437 โรงเรียน ความเร็วแต่ละโรงเรียนไม่น้อยกว่า 100 Mbps ด้านคุณภาพ 1. ครูและนักเรียนสามารถใช้ระบบอินเทอร์เน็ตโรงเรียนเพื่อการจัดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ 2. คุณภาพการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานครสูงขึ้น 10,700,000.00 3,323,930.88 สำนักการศึกษา 2019-10-01 00:00:00 2020-09-30 00:00:00 กำลังดำเนินการ 97.00
14 7.0.1.
ด้านที่ ๗ – การบริหารจัดการเมืองมหานคร : Management Strategy
3.1. 2563 โครงการพัฒนาเครือข่ายคอมพิวเตอร์ภายในสำนักการศึกษา ปัจจุบันสำนักการศึกษามีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศมาช่วยสนับสนุนภารกิจของสำนักการศึกษาผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ไร้สายเป็นหลัก แต่จากการสำรวจส่วนราชการในสำนักการศึกษา ปรากฏปัญหาการส่งสัญญาณไร้สายมีประสิทธิภาพต่ำและบางพื้นที่อับสัญญาณ สาเหตุมาจากอุปกรณ์กระจายสัญญาณไร้สายเสื่อมสภาพตามอายุการใช้งาน ประกอบกับมีสัญญาณรบกวนอื่นๆ จำนวนมากจากสถานที่ใกล้เคียง ส่งผลกระทบต่อการทำงานของบุคลากรในสำนักการศึกษา สำนักการศึกษาจึงมีโครงการพัฒนาเครือข่ายคอมพิวเตอร์ภายในสำนักการศึกษา โดยจัดหาผู้มีความรู้ ความชำนาญมาติดตั้งเครือข่ายไร้สายในสำนักการศึกษา เพื่อให้การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศมาช่วยสนับสนุนภารกิจของสำนักการศึกษาเป็นไปด้วยความเรียบร้อย 1. เพื่อพัฒนาเครือข่ายคอมพิวเตอร์ในสำนักการศึกษาให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น 2. เพื่อส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศมาช่วยสนับสนุนภารกิจของสำนักการศึกษาเป็นไปด้วยความต่อเนื่อง ด้านปริมาณ 1. ติดตั้งเครือข่ายไร้สาย พร้อมอุปกรณ์ประกอบใน 8 ส่วนราชการของสำนักการศึกษา 2. ติดตั้งระบบไฟฟ้า พร้อมอุปกรณ์ประกอบใน 8 ส่วนราชการของสำนักการศึกษา ด้านคุณภาพ บุคลากรของสำนักการศึกษาสามารถใช้ทรัพยากรสารสนเทศผ่านเครือข่ายไร้สายได้อย่างมีประสิทธิภาพ 3,145,800.00 0.00 สำนักการศึกษา 2019-10-01 00:00:00 2020-09-30 00:00:00 ยกเลิก 10.00
15 3.0.2.
ด้านที่ ๓ - มหานครสำหรับทุกคน : Bangkok as a City for All
0.0.0 2564 โครงการพัฒนาสื่อการเรียนรู้ดิจิทัลเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในวิชาหลัก กองเทคโนโลยีการศึกษา ได้จัดทำโครงการพัฒนาสื่อการเรียนรู้ดิจิทัลเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในวิชาหลัก ได้แก่ ภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เพื่อเป็นการศึกษาและพัฒนาสื่อการเรียนรู้ที่มีคุณภาพ และส่งเสริมให้นักเรียนสามารถใช้เทคโนโลยีเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ อันจะส่งผลให้เกิดการพัฒนา การจัดการเรียนรู้ ยกระดับผลสัมฤทธิ์ในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร ได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป 1. เพื่อผลิตสื่อการเรียนรู้ดิจิทัลมัลติมีเดีย สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่เป็นวิชาหลัก จำนวน 4 กลุ่มสาระการเรียนรู้ ได้แก่ ภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และภาษาอังกฤษ 2. เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนสามารถใช้สื่อเทคโนโลยีเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ ตามศักยภาพของตนเองได้ 3. เพื่อสนับสนุนให้โรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานครมีสื่อการเรียนรู้ดิจิทัลที่มีคุณภาพและประสิทธิภาพ ใช้ประกอบการเรียนรู้ ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่เป็นวิชาหลัก สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 1. ด้านปริมาณ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีสื่อการเรียนรู้ดิจิทัลมัลติมีเดีย ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่เป็นวิชาหลัก จำนวน 4 กลุ่มสาระการเรียนรู้ ได้แก่ ภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และภาษาอังกฤษ จำนวน 10 เรื่อง 2. ด้านคุณภาพ สื่อการเรียนรู้ดิจิทัลที่ผลิตขึ้นมีเนื้อหาตรงตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 และมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และสาระภูมิศาสตร์ ในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ได้มาตรฐาน มีความทันสมัย มีคุณภาพ และประสิทธิภาพ นักเรียนสามารถนำไปใช้พัฒนาการเรียนรู้ด้วยตนเองได้ 3,500,000.00 3,500,000.00 สำนักการศึกษา 2020-10-01 00:00:00 2021-09-30 00:00:00 แล้วเสร็จ 100.00
16 3.0.2.
ด้านที่ ๓ - มหานครสำหรับทุกคน : Bangkok as a City for All
0.0.0 2564 โครงการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์เชิงนวัตกรรมโดยหุ่นยนต์ สำนักการศึกษา ได้ดำเนินโครงการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์เชิงนวัตกรรมโดยหุ่นยนต์ เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร พัฒนาความคิดสร้างสรรค์เชิงนวัตกรรม การคิดเชิงคำนวณ การคิดวิเคราะห์ แก้ปัญหาอย่างเป็นขั้นตอนและเป็นระบบ ทำงานเป็นทีม พัฒนาสิ่งประดิษฐ์เทคโนโลยี ผ่านสื่ออุปกรณ์หุ่นยนต์เพื่อการเรียนรู้ ทั้งนี้ ได้ร่วมศึกษากับสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เพื่อการขับเคลื่อนนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ กำหนดแนวทางพิจารณาเลือกสื่อที่เหมาะสม และสอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมาย รวมทั้งการพัฒนาครูผู้สอนให้สามารถจัดการเรียนรู้ ที่ช่วยให้นักเรียนเห็นภาพและเข้าใจกระบวนการการคิดอย่างเป็นระบบได้อย่างมีคุณภาพ สามารถนำความรู้เลือกใช้เทคโนโลยีไปประยุกต์ใช้ในการสร้างนวัตกรรมในอนาคต ส่งผลให้เกิดการยกระดับพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของโรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร ให้มีประสิทธิภาพต่อไป 1. เพื่อเสริมสร้างการเรียนรู้ให้นักเรียนฝึกปฏิบัติ พัฒนาความคิดสร้างสรรค์เชิงนวัตกรรม การคิดเชิงคำนวณ การคิดวิเคราะห์ แก้ปัญหาอย่างเป็นขั้นตอนและเป็นระบบ ทำงานเป็นทีม พัฒนาสิ่งประดิษฐ์เทคโนโลยี ผ่านสื่ออุปกรณ์หุ่นยนต์เพื่อการเรียนรู้ 2. เพื่อส่งเสริมให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากรุงเทพมหานครมีความรู้ความสามารถในการจัดกระบวนการเรียนรู้ยุคใหม่ในศตวรรษที่ 21 1. ด้านปริมาณ โรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร ระดับมัธยมศึกษา 109 โรงเรียน มีชุดสื่อการเรียนรู้พัฒนาความคิดสร้างสรรค์เชิงนวัตกรรมโดยหุ่นยนต์ รวมจำนวน 766 ชุด โดยจำแนกเป็น โรงเรียนขนาดเล็ก จำนวน 9 โรงเรียนๆ ละ 4 ชุด โรงเรียนขนาดกลาง จำนวน 35 โรงเรียนๆ ละ 6 ชุด โรงเรียนขนาดใหญ่ จำนวน 65 โรงเรียนๆ ละ 8 ชุด 2. ด้านคุณภาพ 2.1 นักเรียนระดับมัธยมศึกษา โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานครมีการเรียนรู้ด้วยสื่อเทคโนโลยีหุ่นยนต์ สามารถพัฒนาทักษะการคิดสร้างสรรค์เชิงนวัตกรรม การคิดเชิงคำนวณ การคิดวิเคราะห์ แก้ปัญหาอย่างเป็นขั้นตอนและเป็นระบบ ทำงานเป็นทีม พัฒนาสิ่งประดิษฐ์เทคโนโลยี สร้างนวัตกรรม ได้อย่างมีคุณภาพ 2.2 ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากรุงเทพมหานคร มีความรู้ความสามารถในการจัดกระบวนการเรียนรู้ยุคใหม่ในศตวรรษที่ 21 ได้อย่างมีคุณภาพ 10,402,300.00 10,360,000.00 สำนักการศึกษา 2020-10-01 00:00:00 2021-09-30 00:00:00 แล้วเสร็จ 100.00
17 7.0.1.
ด้านที่ ๗ – การบริหารจัดการเมืองมหานคร : Management Strategy
0.0.0 2564 กิจกรรมพัฒนาและจัดเก็บฐานข้อมูลสำนักการศึกษา ตามที่สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผลกำหนด ตามที่สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผลกำหนด ตามที่สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผลกำหนด 0.00 0.00 สำนักการศึกษา 2020-10-01 00:00:00 2021-09-30 00:00:00 กำลังดำเนินการ 20.00
รวม ->17 โครงการ 0 0.00 0.00 0 0.00 0 0.00 0 0 0 0