ลำดับ | ยุทธศาสตร์ 20 ปี | แผนแม่บทไอที | ปีงบประมาณ | ชื่อโครงการ | หลักการและเหตุผล | วัตถุประสงค์โครงการ | เป้าหมายโครงการ | งบประมาณที่ได้รับ | งบประมาณที่ใช้ไป | หน่วยงานที่รับผิดชอบ | เริ่มโครงการ | สิ้นสุดโครงการ | สถานะโครงการ | คืบหน้า (ร้อยละ) |
1 | 1.0.1. ด้านที่ ๑ – มหานครปลอดภัย : Bangkok as a Safe City |
4.2. | 2560 | โครงการจัดหาระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อการบริหารจัดการน้ำ (กสน.) | กรุงเทพมหานครประสบปัญหาน้ำท่วมขังจากฝนตกในพื้นที่อยู่บ่อยครั้ง ทั้งท่วมขังในซอยต่างๆ และในถนนสายหลัก ซึ่งในปัจจุบันสำนักการระบายน้ำได้มีการจัดทำระบบติดตามตรวจวัดสภาพน้ำครอบคลุมทั่วทั้งพื้นที่กรุงเทพมหานครแล้ว ทั้งข้อมูลปริมาณฝน ระดับน้ำ อัตราการไหล และระดับน้ำท่วมบนถนน แต่ยังขาดเครื่องมือประมวลผล วิเคราะห์และสั่งการ สำรหับการจัดการระบายน้ำที่รวดเร็วทันต่อสถานการณ์ ดังนั้นสำนักการระบายน้ำจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องจัดทำแผนหลักการพัฒนาระบบจัดการการระบายน้ำเชิงรุก เพื่อกำหนดกรอบแนวทางในการนำเครื่องมือทีมีอยู่เดิมมาพัฒนาเพิ่มเติมให้ครบสมบูรณ์ มีความทันสมัย สามารถรองรับเทคโนโลยีสมัยใหม่สำหรับใช้ในการควบคุม ติดตาม คาดการณ์ได้ | เพื่อจัดหาระบบสนับสนุนการปฏิบัติงานตามภารกิจของสำนักการระบายน้ำ ซึ่งส่งผลต่อภารกิจด้านการเตรียมการป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมให้มีประสิทธิภาพ | มีระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อการบริหารจัดการน้ำ | 0.00 | 0.00 | สํานักการระบายน้ำ | 2016-10-01 00:00:00 | 2017-09-30 00:00:00 | ไม่ได้รับงบประมาณ | 1.00 |
2 | 1.0.1. ด้านที่ ๑ – มหานครปลอดภัย : Bangkok as a Safe City |
6.2. | 2561 | โครงการศึกษาวิจัยพัฒนาและส่งเสริมนวัตกรรมการจัดการคุณภาพน้ำ (สจน.) | สวนสาธารณะเป็นสถานที่พักผ่อนที่ประชาชนจำนวนมากเข้ามาใช้บริการ เพื่อประกอบกิจกรรมในด้านต่างๆ เช่น การออกกำลังกาย การพบปะสังสรรค์ หรือชุมนุมเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และการพักผ่อนหย่อนใจ เป็นต้น ซึ่งทางผู้รับผิดชอบต้องมีการจัดเตรียมสถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ เช่น ห้องน้ำ และสถานที่จำหน่ายอาหารไว้รองรับผู้มาใช้บริการ อีกทั้งเนื่องจากสวนสาธารณะต้องมีการจัดสถานที่ให้สวยงามและร่มรื่นสำหรับผู้มาใช้บริการ ทำให้สวนสาธารณะต้องมีการใช้ปุ๋ยเป็นจำนวนมากในการบำรุงรักษาต้นไม้ ซึ่งเมื่อเกิดฝนตกจะทำให้ปุ๋ยบางส่วนถูกชะล้างลงสู่บึงในสวนสาธารณะ ประกอบกับมีประชาชนให้อาหารปลา ทำให้ปริมาณปลาในบึงเพิ่มมากขึ้น เป็นสาเหตุให้น้ำในบึงมีธาตุอาหารพวกไนโตรเจนและฟอสฟอรัส ซึ่งธาตุอาหารทั้งสองชนิดดังกล่าวเป็นธาตุที่สาหร่ายใช้ในการเจริญเติบโต ทำให้เกิดปัญหา Eutrophication ในแหล่งน้ำ โดยในช่วงกลางวันจะพบว่าน้ำในบึงมีสีเขียวเนื่องจากมีการสังเคราะห์แสงของสาหร่าย จึงทำให้มีออกซิเจนละลายน้ำอยู่ในปริมาณมาก แต่ในเวลากลางคืนสาหร่ายใช้ออกซิเจนในการเจริญเติบโตทำให้เกิดการแย่งชิงออกซิเจนกับปลาในน้ำ ซึ่งหากปริมาณออกซิเจนที่ละลายอยู่ในน้ำไม่เพียงพอให้จะทำให้ปลาตายได้ การบำบัดไนโตรเจนและฟอสฟอรัสในน้ำสามารถทำได้หลายวิธี เช่น การใช้สารเคมีเพื่อให้เกิดการตกตะกอน และการก่อสร้างระบบบำบัดน้ำเสียแบบตะกอนเร่ง ซึ่งต้องใช้งบประมาณในการออกแบบก่อสร้าง การดำเนินงาน การดูแลรักษา ซึ่งหากใช้วิธีการนี้ก็จะส่งผลให้จำนวนตะกอนที่จะต้องกำจัดเพิ่มมากขึ้น และทำให้น้ำมีสภาพเป็นด่าง อีกทั้งวิธีการนี้ไม่สอดคล้องกลมกลืนกับสภาพของสวนสาธารณะและสภาพคุณลักษณะของน้ำในสวนสาธารณะที่มีค่าความสกปรกอยู่ระหว่าง 5 – 16 มิลลิกรัมต่อลิตร นอกจากวิธีการดังได้กล่าวไปแล้วนั้น ยังมีการใช้พืชในการบำบัดไนโตรเจนและฟอสฟอรัสก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ได้มีการศึกษาอย่างกว้างขวาง เนื่องจากไนโตรเจนและฟอสฟอรัสเป็นธาตุอาหารที่ใช้ในการเจริญเติบโตของพืช ดังนั้นเพื่อกำจัดธาตุอาหาร และความสกปรกในน้ำรวมทั้งเพื่อให้สอดคล้องกับสภาพสวนสาธารณะและคุณลักษณะของน้ำในสวนสาธารณะ จึงได้มีการศึกษาชนิดของพืชที่เหมาะสมกับการบำบัดน้ำในสวนสาธารณะโดยการใช้พืชขึ้น ซึ่งเป็นวิธีที่ง่ายและประหยัดค่าใช้จ่ายในการดูแลและบำรุงรักษา | 1. ศึกษาประสิทธิภาพการบำบัดน้ำของพืชในการกำจัดไนโตรเจนและฟอสฟอรัส ในบึงของสวนลุมพินี 2. เพื่อศึกษาชนิดของพืชที่เหมาะสมกับการบำบัดน้ำในสวนลุมพินีและสามารถนำผลไปประยุกต์ใช้กับสวนสาธารณะอื่นได้ | 1.น้ำในบึงของสวนลุมพินีได้รับการบำบัดให้มีคุณภาพที่ดีขึ้น 2.สามารถคัดเลือกพืชที่ใช้ในการกำจัดไนโตรเจนและฟอสฟอรัส 3.เป็นแหล่งศึกษาดูงานสำหรับประชาชนและหน่วยงานที่สนใจ | 0.00 | 0.00 | สํานักการระบายน้ำ | 2017-10-01 00:00:00 | 2018-09-30 00:00:00 | แล้วเสร็จ | 100.00 |
3 | 1.0.1. ด้านที่ ๑ – มหานครปลอดภัย : Bangkok as a Safe City |
6.2. | 2562 | โครงการศึกษาวิจัยพัฒนาและส่งเสริมนวัตกรรมการจัดการคุณภาพน้ำ (สจน.) | ในปัจจุบันโรงควบคุมคุณภาพน้ำทุ่งครุสามารถรองรับการบำบัดน้ำเสียได้มากถึง 65,000 ลุกบาศก์เมตรต่อวัน โดยระบบหลักที่ใช้ในการลดสารอินทรีย์ คือ ระบบบำบัดแบบใช้อากาศ เนื่องจากปัจจุบันการขยายตัวทางเศรษฐกิจและการเพื่มจำนวนของประชากรทำให้ปริมาณน้ำเสียเข้าสู่ระบบบำบัดมากขึ้น อีกทั้งพื้นที่โรงควบคุมคุณภาพน้ำทุ่งครุมีจำกัดจึงไม่สามารถขยายขนาดของระบบบำบัดน้ำเสียได้ จึงจำเป็นต้องมีการศึกษาหาแนวทางในการปรัปปรุงระบบบำบัดน้ำเสียให้สามารถรับภาระสารอินทรีย์ที่เพิ่มมากขึ้น การใส่ตัวกลางในระบบบำบัดน้ำเสียจะเป็นการเพิ่มพื้นที่ยึดเกาะให้กับจุลินทรีย์ในระบบ ทำให้เกิดฟิล์มชีวะ ขึ้นในระบบและความหลากหลายของชนิดจุลินทรีย์เพิ่มมากขึ้นส่งผลให้ความสามารถในการบำบัดสูงขึ้นตามไปด้วย ในการวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาผลของตัวกลางต่อการเพิ่มประสิทธิภาพของระบบบำบัดน้ำเสีย | เพื่อศึกษาผลของตัวกลาง(PVA Gel)ต่ออัตราการไหลที่ยังคงประสิทธิภาพในการบำบัดน้ำเสียชุมชนในระบบบำบัดแบบใช้อากาศ | ได้แนวทางในการพัฒนาระบบบำบัดน้ำเสียชุมชนเมื่อมีอัตราการไหลที่สูงขึ้นในอนาคต | 0.00 | 0.00 | สํานักการระบายน้ำ | 2018-10-01 00:00:00 | 2019-09-30 00:00:00 | แล้วเสร็จ | 100.00 |
4 | 7.0.1. ด้านที่ ๗ – การบริหารจัดการเมืองมหานคร : Management Strategy |
4.2. | 2562 | ความสำเร็จของการดำเนินโครงการให้บริการที่ดีที่สุด (Best Service) (กพล.) | ปัจจุบันพื้นที่ชุมชนชานเมืองด้านตะวันออกของกรุงเทพมหานครส่วนที่อยู่นอกคันกั้นน้ำพระราชดำริ (ประกอบด้วย เขตหนองจอก เขตลาดกระบัง เขตคลองสามวา และเขตมีนบุรี) มีการขยายตัวของชุมชนอย่างรวดเร็วและเกิดความเป็นเมืองมากเกินกว่าแผนที่คาดไว้ ขณะที่ระบบป้องกันน้ำท่วมและระบบระบายน้ำปฐมภูมิ โดยเฉพาะคลองระบายน้ำหลัก ยังมีการพัฒนาที่ไม่สอดคล้องกัน นอกจากนี้เส้นทางคมนาคมหลักที่พัฒนาขึ้นพร้อมกับสภาพเมือง จะมีบางส่วนที่ยังไม่มีท่อระบายน้ำหลักและบางส่วนกีดขวางการไหลของน้ำหลากจากด้านเหนือลงด้านใต้ทำให้เกิดน้ำท่วมขังตามถนนและพื้นที่ลุ่มต่ำเพิ่มมากขึ้น เมื่อเกิดฝนตกหนักถึงหนักมาก (ฝนมากกว่า 90 มม.ต่อวัน) ดังเช่นเหตุการณ์ปี พ.ศ. 2548และบางครั้งเมื่อเกิดอุทกภัยในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่างก็จะเกิดน้ำเหนือหลากไหลผ่านพื้นที่กรุงเทพมหานครนอกคันกั้นน้ำพระราชดำริเป็นบริเวณกว้าง ดังเช่นเหตุการณ์อุทกภัยปี พ.ศ. 2554 และเนื่องจากแผนกลยุทธ์การพัฒนากรุงเทพมหานครได้กำหนดให้มีศูนย์ชานเมืองขนาดใหญ่เกิดขึ้นในพื้นที่กรุงเทพมหานครนอกคันกั้นน้ำพระราชดำริ เช่น ที่เขตหนองจอก เขตลาดกระบัง รวมทั้งสำนักงานคณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้ดำเนินการศึกษา เพื่อการวางแผนพัฒนาภาคมหานคร และได้กำหนดให้มีโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับการพัฒนาเมืองอย่างเหมาะสมเพื่อรองรับการขยายตัวของพื้นที่กรุงเทพมหานครและจังหวัดรอบกรุงเทพมหานครอีกด้วย อีกทั้งพื้นที่กรุงเทพมหานครนอกคันกั้นน้ำพระราชดำริอยู่ติดกับสนามบินสุวรรณภูมิ ศูนย์ขนถ่ายสินค้า และศูนย์อุตสาหกรรม นิคมอุตสาหกรรม รอบๆ สนามบิน ดังนั้นในอนาคตจึงเป็นที่แน่ใจได้ว่าจะเกิดความเป็นเมืองเพิ่มขึ้นมากกว่าแผนที่คาดไว้ ซึ่งเมื่อเกิดฝนตกหนักมากและอุทกภัยในอนาคตปัญหาน้ำท่วม รวมทั้งความเดือดร้อนของประชาชนและความเสียหายต่อทรัพย์สินก็จะยิ่งทวีคูณ ประกอบกับพื้นที่ด้านตะวันออกของกรุงเทพมหานครนอกคันกั้นน้ำพระราชดำริกรุงเทพมหานครยังไม่เคยดำเนินการศึกษา สำรวจ และจัดทำแผนหลักระบบป้องกันน้ำท่วมและระบบระบายน้ำมาก่อน สำนักการระบายน้ำ ได้ตระหนักถึงความจำเป็นที่จะต้องดำเนินการสำรวจแผนหลักและออกแบบระบบป้องกันน้ำท่วมและระบบระบายน้ำในพื้นที่ด้านตะวันออกของกรุงเทพมหานครนอกคันกั้นน้ำพระราชดำริ เพื่อป้องกันการเกิดปัญหาน้ำท่วมขังเนื่องจากฝนตกหนักมากซึ่งจะทำให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สิน สาธารณูปโภคต่างๆ คิดเป็นมูลค่าความเสียหายเพิ่มขึ้นทุกปีจึงได้จัดเตรียมข้อกำหนดนี้ขึ้นเพื่อใช้ดำเนินการสำรวจจัดทำแผนหลักและออกแบบเบื้องต้นระบบป้องกันน้ำท่วมและระบบระบายน้ำปฐมภูมิในพื้นที่ชานเมืองด้านตะวันออกของกรุงเทพมหานครส่วนที่อยู่นอกคันกั้นน้ำพระราชดำริ ให้สามารถรองรับฝนตกที่คาบอุบัติไม่น้อยกว่า 5 ปี และให้สามารถระบายน้ำหลากจากพื้นที่กรุงเทพมหานครส่วนที่อยู่นอกคันกั้นน้ำพระราชดำริลงสู่แก้มลิงคลองชายทะเลตามแนวพระราชดำริและคลอง 100 ลบ.ม./วินาที ของกรมชลประทานไม่น้อยกว่า190 ลบ.ม./วินาที (ตามที่ กบอ. กำหนด) ได้อย่างปลอดภัย | สำนักการระบายน้ำ กรุงเทพมหานคร มีความประสงค์จะว่าจ้างที่ปรึกษาที่มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญเพื่อทำการสำรวจ จัดทำแผนหลักและออกแบบระบบป้องกันน้ำท่วมและระบบระบายน้ำพื้นที่ด้านตะวันออกของกรุงเทพมหานครนอกคันกั้นน้ำพระราชดำริ | สำรวจจัดทำแผนหลักและออกแบบระบบป้องกันน้ำท่วมและระบบระบายน้ำพื้นที่ด้านตะวันออกของกรุงเทพมหานครนอกคันกั้นน้ำพระราชดำริ | 0.00 | 0.00 | สํานักการระบายน้ำ | 2018-10-01 00:00:00 | 2019-09-30 00:00:00 | กำลังดำเนินการ | 75.00 |
5 | 1.0.1. ด้านที่ ๑ – มหานครปลอดภัย : Bangkok as a Safe City |
6.2. | 2563 | โครงการศึกษาวิจัยส่งเสริมนวัตกรรมการจัดการคุณภาพน้ำ (สจน.) | กรุงเทพมหานคร ซึ่งมีภาระกิจเกี่ยวกับการจัดการคุณภาพน้ำโดยมีโรงควบคุมคุณภาพน้ำบำบัดน้ำเสียซึ่งในแต่ละวันมีปริมาณน้ำเสียที่เข้าระบบปริมาณมาก นั้นหมายถึงค่าไฟฟ้าใช้ในการเดินระบบบำบัดน้ำเสียที่สูงตามปริมาณน้ำเสียที่ผ่านการบำบัด ซึ่งทางหน่วยงานค้นหามาตรการลดการใช้ไฟฟ้าเพื่อลดค่าใช้จ่ายลง พลังงานน้ำเป็นตัวเลือกหนึ่งที่น่าสนใจในการนำมาประยุกต์ใช้เพื่อประโยชน์ จึงใช้หลักการนี้นำมาศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการผลิตไฟฟ้า กำหนดให้โรงควบคุมคุณภาพน้ำเป็นสถานที่เหมาะสมในการดำเนินการศึกษาวิจัยการผลิตไฟฟ้าด้วยพลังน้ำขนาดเล็ก โดยพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตได้สามารถนำไปเก็บสะสมไว้ในแบตเตอรี่เพื่อเป็นพลังงานไฟฟ้าสำรองใช้ทดแทนพลังงานไฟฟ้าหลักจากการไฟฟ้านครหลวง พลังงานไฟฟ้าส่วนนี้เน้นนำไปใช้ในการส่วนวงจรไฟฟ้าแสงสว่างของโรงควบคุมคุณภาพน้ำ | -เพื่อศึกษาวิจัยการนำแรงดันน้ำที่อยู่ในระบบบำบัดน้ำเสียมาใช้ ในรูปแบบของการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากพลังงานน้ำ -เพื่อเป็นแนวทางการศึกษาเกี่ยวกับพลังงานทางเลือกที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม จากการนำพลังงานที่มีมาใช้ให้ประโยชน์ที่สูงสุด | เพื่อศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับระบบผลิตไฟฟ้าต้นแบบจากพลังน้ำที่อยู่ในระบบบำบัดน้ำเสีย โดยผลิตไฟฟ้าและมีระบบสำรองพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตได้กักเก็บไว้ในแบตเตอรี่เพื่อใช้เป็นพลังงานไฟฟ้า เพื่อใช้จ่ายกระแสไฟฟ้าสนับสนุนภายในโรงควบคุมคุณภาพน้ำ | 0.00 | 0.00 | สํานักการระบายน้ำ | 2019-10-01 00:00:00 | 2020-09-30 00:00:00 | แล้วเสร็จ | 100.00 |
6 | 1.0.1. ด้านที่ ๑ – มหานครปลอดภัย : Bangkok as a Safe City |
4.2. | 2563 | โครงการจัดทำฐานข้อมูลระบบบำบัดน้ำเสียของผู้ประกอบการ | ปัญหาน้ำเน่าเสียของแหล่งน้ำสาธารณะ เป็นปัญหาที่นับวันจะทวีความรุ่นแรงเพิ่มมากขึ้นโดยฉพาะในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ที่ประสพปัญหาในเรื่องความหนาแน่นของประชากรสูง ประกอบกับมีแม่น้ำ ลำคลองที่ไหลผ่านกรุงเทพมหานครได้รับการปนเปื้อนจากตอนบนของประเทศมาอย่างรุนแรงแล้ว ความพยายามที่จะลดความสกปรกหรือการปนเปื้อนของแหล่งน้ำดังกล่าวไม่สามารถดำเนินการให้เกิดผลในระยะเวลาอันสั้นได้อย่างเป็นรูปธรรม จึงมีแนวทางที่จะลดความสกปรกที่จะเพิ่มให้กับแหล่งน้ำดังกล่าวโดยใช้แนวทางการประชาสัมพันธ์และการมีส่วนร่วมของแหล่งกำเนิดน้ำเสียเพื่อลดความสกปรกที่จะเพิ่มให้แหล่งน้ำธรรมชาติ ในที่นี้คือความพยายามที่จะให้ผู้ประกอบการมีการบำบัดน้ำเสียขั้นต้น (Pretreatment) หรือกรณ๊ผู้ประกอบการที่เป็นแหล่งกำเนิดน้ำเสียมีระบบบำบัดน้ำเสียของตนเอง ก็จะสนับสนุนให้สามารถควบคุมกระบวนการให้น้ำผ่านการบำบัดมีคุณสมบัติผ่านตามมาตรฐานน้ำทิ้ง ทั้งนี้แนวทางในการดำเนินการหรือกระตุ้นให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาน้ำเน่าเสีย จำเป็นต้องมีฐานข้อมูลคือ จำนวนระบบบำบัดน้ำเสียของผู้ประกอบการ ปริมาณน้ำเสีย คุณสมบัติ ชนิดของระบบบำบัดน้ำเสียเพื่อใช้ในการวางแผน กำหนดแนวทาง จึงเป็นที่มาของโครงการจัดทำฐานข้อมูลระบบบำบัดน้ำเสียของผู้ประกอบการในเขตกรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดน้ำเสียที่มีความสำคัญในอันดับต้นๆ | เพื่อจัดทำฐานข้อมูลระบบบำบัดน้ำเสียของผู้ประกอบการในเขตกรุงเทพมหานคร เพื่อให้ทราบถึงข้อมูลพื้นฐานต่างๆ เช่นปริมาณน้ำเสีย คุณสมบัติ จำนวนหรือปริมาณของระบบบำบัดน้ำเสียที่มีอยู่ในกรุงเทพมหานคร เพื่อใช้เป็นแหล่งข้อมูลหรือฐานข้อมูลในการประยุกต์ใช้ ในการวางแผนด้านการจัดการคุณภาพน้ำ สำหรับแหล่งน้ำสาธารณะ ลดการเกิดน้ำเสียจากแหล่งกำเนิดขนาดใหญ่ รวมถึงการประยุกต์ใช้ระบบบำบัดน้ำเสียขนาดเล็ก เช่นระบบ Onsite Treatmentplant และประกอบการพิจารณาดำเนินการในเรื่องการจัดเก็บค่าธรรมเนียมในการบำบัดน้ำเสีย | เพื่อให้สามารถรวบรวมประเมินผล และใช้ฐานข้อมูลดังกล่าวในการวางแผน บริหารจัดการในด้านการจัดการคุณภาพน้ำใน 21 เขตการปกครองที่มีการบริการบำบัดน้ำเสียรวมเป็นอย่างน้อยและขยายไปให้ครบทั้ง 50 เขตการปกครอง (ทั่วทั้งกรุงเทพมหานคร) | 0.00 | 0.00 | สํานักการระบายน้ำ | 2019-10-01 00:00:00 | 2020-09-30 00:00:00 | แล้วเสร็จ | 100.00 |
7 | 7.0.1. ด้านที่ ๗ – การบริหารจัดการเมืองมหานคร : Management Strategy |
4.2. | 2563 | กิจกรรมพัฒนาฐานข้อมูลของสำนักการระบายน้ำ (กสน.) | ฐานข้อมูล (Database) หมายถึง แหล่งสะสมข้อมูลซึ่งรวบรวมข้อมูลจากหน่วยงานต่างๆ ของกรุงเทพมหานคร ที่มีความสัมพันธ์กันเข้าไว้ด้วยกัน ข้อมูล (Data) หมายถึง ข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นและรวบรวมเก็บไว้ในรูปแบบต่างๆ | เพื่อพัฒนาฐานข้อมูล สำหรับจัดทำฐานข้อมูลตัวชี้วัดระดับเมืองจากหน่วยงานต่างๆ ของกรุงเทพมหานคร | เพื่อพัฒนาและจัดทำ ฐานข้อมูลตัวชี้วัดระดับเมือง ของกรุงเทพมหานคร หน่วยงานสามารถพัฒนาและจัดการฐานข้อมูล (Data base) ได้ตามแผนการพัฒนาฐานข้อมูลของหน่วยงาน | 0.00 | 0.00 | สํานักการระบายน้ำ | 2019-10-01 00:00:00 | 2020-09-30 00:00:00 | แล้วเสร็จ | 100.00 |
8 | 1.0.1. ด้านที่ ๑ – มหานครปลอดภัย : Bangkok as a Safe City |
.. | 2564 | การสนับสนุนเครื่องสูบน้ำแก่สำนักงานเขต (กคจ.) | กรุงเทพมหานครได้เจริญเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว มีการพัฒนาระบบสาธารณูปโภคอย่างต่อเนื่องรวมถึงรูปแบบการใช้ที่ดินเปลี่ยนแปลงไป รวมทั้งระบบระบายน้ำและการป้องกันน้ำท่วมเดิมไม่สามารถรองรับได้ จึงก่อให้ปัญหาน้ำท่วมทวีความรุนแรงขึ้น | การสนับสนุนเครื่องสูบน้ำแก่สำนักงานเขตเพียงพอ | 0.00 | 0.00 | สํานักการระบายน้ำ | 2020-10-01 00:00:00 | 2021-09-30 00:00:00 | แล้วเสร็จ | 100.00 | |
9 | 1.0.1. ด้านที่ ๑ – มหานครปลอดภัย : Bangkok as a Safe City |
.. | 2564 | การติดตั้งและตรวจสอบเครื่องสูบน้ำและเครื่องผลักดันน้ำตามแผนการติดตั้งและตรวจสอบประจำปี (กคจ.) | กรุงเทพมหานครได้เจริญเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว มีการพัฒนาระบบสาธารณูปโภคอย่างต่อเนื่องรวมถึงรูปแบบการใช้ที่ดินเปลี่ยนแปลงไป รวมทั้งระบบระบายน้ำและการป้องกันน้ำท่วมเดิมไม่สามารถรองรับได้ จึงก่อให้ปัญหาน้ำท่วมทวีความรุนแรงขึ้น | สามารถติดตั้งและตรวจสอบเครื่องสูบน้ำและเครื่องผลักดันน้ำตามแผนงานที่กำหนด | 0.00 | 0.00 | สํานักการระบายน้ำ | 2020-10-01 00:00:00 | 2021-09-30 00:00:00 | แล้วเสร็จ | 100.00 | |
10 | 1.0.1. ด้านที่ ๑ – มหานครปลอดภัย : Bangkok as a Safe City |
.. | 2564 | การซ่อมและบำรุงรักษาเครื่องสูบน้ำ เครื่องผลักดันน้ำและเครื่องจักรกล (กคจ.) | กรุงเทพมหานครได้ดำเนินการติดตั้งและตรวจสอบเครื่องสูบน้ำ เครื่องผลักดันน้ำ โดยใช้เครื่องจักรกลและเครื่องทุ่นแรงต่างๆ เพื่อรองรับการป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่อย่างต่อเนื่องตลอดเวลา จึงส่งผลให้เกิดการชำรุดเสียหายจากการใช้งาน | การซ่อมและบำรุงรักษาเครื่องสูบน้ำ เครื่องผลักดันน้ำมีประสิทธิภาพ | 0.00 | 0.00 | สํานักการระบายน้ำ | 2020-10-01 00:00:00 | 2021-09-30 00:00:00 | แล้วเสร็จ | 100.00 | |
11 | 1.0.1. ด้านที่ ๑ – มหานครปลอดภัย : Bangkok as a Safe City |
.. | 2564 | โครงการจ้างที่ปรึกษาควบคุมการก่อสร้างโครงการก่อสร้างอุโมงค์ระบายน้ำจากบึงหนองบอนลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา (สพน.) (ต่อเนื่องปี 2558-2563) (ก.1) | ด้วยกรุงเทพมหานครจะจ้างเหมาดำเนินการโครงการก่อสร้างอุโมงค์ระบายน้ำ จากบึงหนองบอนลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา และเนื่องจากโครงการก่อสร้างดังกล่าว เป็นงานเทคนิคเฉพาะด้านที่ต้องใช้ความเชี่ยวชาญ จึงจำเป็นต้องจัดจ้างบริษัท ที่ปรึกษาควบคุมการก่อสร้างโครงการดังกล่าวให้เป็นไปตามแบบ รายการ สัญญา และถูกต้องตามหลักวิชาการ | 5,970,000.00 | 0.00 | สํานักการระบายน้ำ | 2020-10-01 00:00:00 | 2021-09-30 00:00:00 | กำลังดำเนินการ | 93.00 | ||
12 | 1.0.1. ด้านที่ ๑ – มหานครปลอดภัย : Bangkok as a Safe City |
.. | 2564 | โครงการก่อสร้างเขื่อน ค.ส.ล.(ดาดท้องคลอง) คลองบางอ้อจากบริเวณถนนโรงงานไม้อัดไทยไปทางประตูระบายน้ำคลองบางอ้อ (กรบ.) (ต่อเนื่อง งบปี 2562-2564) | คลองบางอ้อน้อย เป็นคลองระบายน้ำหลักในพื้นที่เขตพระโขนงง และเขตบางนา ทำหน้าที่รับน้ำจาาากคลองบางจาก บริเวณซอยสุขุมวิท 62 ถึงแยกบางนาไปที่สถานีสูบน้ำคลองบางอ้อน้อย ที่มีขนาด 18 ลบม./วินาที ก่อรระบายน้ำลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา เมื่อมีฝนตกประมาณ 30 มม./ชม. จะเกิดปัญหาน้ำท่วมบนผิวจราจรและบริเวณใกลล้เคียงเป้นประจำ ซึ่งระบบระบายน้ำเดิมไม่ามารถระบายน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ สำนักการระบายน้ำพิจารณาแล้ววเห็นว่า แนวทางแก้ไขปัญหาอย่างเร่งด่วน คือการเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำในคลองบางอ้อน้อย | 0.00 | 0.00 | สํานักการระบายน้ำ | 2020-10-01 00:00:00 | 2021-09-30 00:00:00 | แล้วเสร็จ | 100.00 | ||
13 | 1.0.1. ด้านที่ ๑ – มหานครปลอดภัย : Bangkok as a Safe City |
.. | 2564 | โครงการก่อสร้างอุโมงค์ระบายน้ำคลองทวีวัฒนาบริเวณคอขวด (สพน.) (งบ 63-64) (ก.3) | หลังจากวิกฤติน้ำท่วมครั้งใหญ่ พ.ศ.2554 ซึ่งประชาชนได้รับความเดือดร้อน อาคาร บ้านเรือน เสียหายเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ฝั่งตะวันตก ของแม่น้ำเจ้าพระยา ตั้งแต่ใต้คลองมหาสวัสดิ์จนถึงคลองภาษีเจริญ น้ำท่วมขังเป็นเวลานาน เนื่องจากปลายคลองทวีวัฒนามีลักษณะเป็นคอขวด จำเป็นต้องก่อสร้างอุโมงค์ระบายน้ำ รองรับการระบายน้ำฝนและน้ำหลากได้เป็นอย่างดี ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 60 ตร.กม. ประกอบกับอุโมงค์ระบายน้ำดังกล่าวเป็นนโยบายสำคัญของ ผว.กทม. ด้านมหานครแห่งความ ปลอดภัย เรื่องการป้องกันอุทกภัยโดยการก่อสร้างอุโมงค์ยักษ์ 6 แห่ง เพื่อแก้ไขปัญหา น้ำท่วมขังพื้นที่กรุงเทพมหานคร | 11,121,000.00 | 0.00 | สํานักการระบายน้ำ | 2020-10-01 00:00:00 | 2021-09-30 00:00:00 | กำลังดำเนินการ | 45.00 | ||
14 | 1.0.1. ด้านที่ ๑ – มหานครปลอดภัย : Bangkok as a Safe City |
.. | 2565 | การซ่อมและบำรุงรักษาเครื่องสูบน้ำ เครื่องผลักดันน้ำและเครื่องจักรกล (กคจ.) | กรุงเทพมหานครได้ดำเนินการติดตั้งและตรวจสอบเครื่องสูบน้ำ เครื่องผลักดันน้ำ โดยใช้เครื่องจักรกลและเครื่องทุ่นแรงต่างๆ เพื่อรองรับการป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่อย่างต่อเนื่องตลอดเวลา จึงส่งผลให้เกิดการชำรุดเสียหายจากการใช้งาน | เพื่อซ่อมและบำรุงรักษาเครื่องสูบน้ำ เครื่องผลักดันน้ำ และเครื่องจักรกล ให้มีความพร้อมในการนำไปใช้ปฏิบัติงานตลอดเวลา และสำรองเปลี่ยนทดแทนกรณีชำรุดเสียหาย | การซ่อมและบำรุงรักษาเครื่องสูบน้ำ เครื่องผลักดันน้ำ และเครื่องจักรกล เป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ | 0.00 | 0.00 | สํานักการระบายน้ำ | 2021-10-01 00:00:00 | 2022-09-30 00:00:00 | แล้วเสร็จ | 100.00 |
15 | 1.0.1. ด้านที่ ๑ – มหานครปลอดภัย : Bangkok as a Safe City |
.. | 2565 | การสนับสนุนเครื่องสูบน้ำแก่สำนักงานเขต (กคจ.) | กรุงเทพมหานครได้เจริญเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว มีการพัฒนาระบบสาธารณูปโภคอย่างต่อเนื่องรวมถึงรูปแบบการใช้ที่ดินเปลี่ยนแปลงไป รวมทั้งระบบระบายน้ำและการป้องกันน้ำท่วมเดิมไม่สามารถรองรับได้ จึงก่อให้เกิดปัญหาน้ำท่วมทวีความรุนแรงขึ้น | เพื่อให้การสนับสนุนเครื่องสูบน้ำและอุปกรณ์แก่สำนักงานเขตต่าง ๆ ติดตั้งใช้งานด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่ที่สำนักงานเขตรับผิดชอบ | การสนับสนุนเครื่องสูบน้ำและอุปกรณ์เป็นไปตามแผนการสนับสนุนประจำปี | 0.00 | 0.00 | สํานักการระบายน้ำ | 2021-10-01 00:00:00 | 2022-09-30 00:00:00 | แล้วเสร็จ | 100.00 |
16 | 1.0.1. ด้านที่ ๑ – มหานครปลอดภัย : Bangkok as a Safe City |
.. | 2565 | โครงการจัดทำและพัฒนาระบบการบริหารจัดการน้ำเชิงรุก (โครงการต่อเนื่อง) (กสน.) | กองสารสนเทศระบายน้ำ ซึ่งเป็นส่วนราชการที่รับผิดชอบด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกับภารกิจด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วม จึงได้จัดทำ โครงการจัดทำและพัฒนาระบบการบริหารจัดการน้ำเชิงรุก เพื่อเป็นระบบสนับสนุนการตัดสินใจของผู้บริหาร สนับสนุนการปฎิบัติงานของเจ้าหน้าที่ให้มีประสิทธิภาพ เป็นการสร้างองค์ความรู้จากประสบการณ์ของผู้บริหารและบุคลากร มารวบรวมในระบบที่ผู้บริหารและบุคลากรทุกคน สามารถเรียนรู้และเข้าใจได้ และยังเป็นการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกับภารกิจที่รับผิดชอบ | เพื่อให้มีระบบสนับสนุนการตัดสินใจของผู้บริหาร สนับสนุนการปฎิบัติงานของเจ้าหน้าที่ให้มีประสิทธิภาพ | มีระบบสนับสนุนการตัดสินใจของผู้บริหาร สนับสนุนการปฎิบัติงานของเจ้าหน้าที่ให้มีประสิทธิภาพ | 67,955,000.00 | 17,843,250.00 | สํานักการระบายน้ำ | 2021-10-01 00:00:00 | 2022-09-30 00:00:00 | แล้วเสร็จ | 100.00 |
17 | 1.0.1. ด้านที่ ๑ – มหานครปลอดภัย : Bangkok as a Safe City |
.. | 2565 | โครงการพัฒนาระบบประเมินปริมาณฝนและพยากรณ์ฝนล่วงหน้าโดยใช้ข้อมูลเรดาร์ตรวจอากาศ (กสน.) | สำนักการระบายน้ำจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องดำเนินการนำเครื่องมือที่มีอยู่เดิมมาพัฒนาเพิ่มเติมให้ครบสมบูรณ์ มีความทันสมัย สามารถรองรับเทคโนโลยีสมัยใหม่สำหรับใช้ในการควบคุม ติดตาม คาดการณ์ และโต้ตอบ (Control-Monitor-Forecast-Interact) อันจะส่งผลให้ระบบระบายน้ำของกรุงเทพมหานครทำงานได้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ซึ่งจะเป็นการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนและผลกระทบจากการเกิดน้ำท่วมขังให้แก่ประชาชนที่อยู่อาศัยในกรุงเทพมหานครได้อย่างยั่งยืน ฝนที่ตกหนักเป็นสาเหตุหลักที่ก่อให้เกิดปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ดังนั้นในการบริหารจัดการน้ำท่วมที่มีประสิทธิภาพจำเป็นต้องมีข้อมูลการประเมินฝนและการพยากรณ์ฝนที่มีความถูกต้องแม่นยำ ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการระบายน้ำ รวมทั้งเป็นข้อมูลที่ช่วยในการตัดสินใจในการบริหารจัดการน้ำท่วม เทคนิคการสำรวจระยะไกลด้วยเรดาร์ตรวจอากาศได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายเพื่อนำมาใช้ในการตรวจวัดฝน เนื่องจากเรดาร์ตรวจอากาศสามารถให้ข้อมูลรายละเอียดของฝนครอบคลุมพื้นที่ที่อยู่ภายใต้รัศมีของเรดาร์และสามารถทำการตรวจวัดฝนได้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งสามารถให้ความละเอียดของข้อมูลฝนในเชิงพื้นที่ได้ละเอียดถึง o.๕ x o.๕ ตารางกิโลเมตร และสามารถตรวจวัดข้อมูลฝนได้ทุกๆ ๕ นาที ข้อมูลตรวจวัดฝนจากเรดาร์ยังสามารถนำมาใช้ได้ในทันทีหรือมีฝนตก นอกจากนี้ข้อมูลที่วัดได้จากเรดาร์ยังมีศักยภาพเพียงพอที่จะถูกนำไปใช้ในการพยากรณ์ฝนล่วงหน้า ๑-๓ ชั่วโมง (Nowcasting) ซึ่งเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการน้ำท่วมได้ในลำดับต่อไป | ๑. เพื่อจัดทำระบบประเมินน้ำฝนและการพยากรณ์ฝนล่วงหน้า ๑-๓ ชั่วโมง (Nowcasting) ด้วยเรดาร์ตรวจอากาศ ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร โดยใช้ข้อมูลจากเรดาร์ ๒ สถานีร่วมกัน ซึ่งประกอบด้วยสถานีเรดาร์หนองจอก และสถานีเรดาร์หนองแขม โดยวิธี Composite Radar Reflectivity ให้สามารถประเมินข้อมูลฝนเชิงพื้นที่ในแต่ละเขตของกรุงเทพมหานครได้ ๒ เพื่อเชื่อมโยงระบบการประเมินน้ำฝนและการพยากรณ์ฝนล่วงหน้า ๑-๓ ชั่วโมง เข้ากับระบบบริหารจัดการน้ำท่วมของศูนย์ควบคุมระบบป้องกันน้ำท่วมแบบ Realtime เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการน้ำท่วม การประชาสัมพันธ์และการเตือนภัยล่วงหน้าในพื้นที่กรุงเทพมหานคร | ๑ การประยุกต์ใช้ข้อมูลตรวจวัดปริมาณฝนด้วยเรดาร์ตรวจอากาศเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพบริหารจัดการน้ำท่วมในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ๒ มีระบบประเมินปริมาณฝนและคาดการณ์ฝนล่วงหน้า๑-๓ ชั่วโมงที่มีความแม่นยำ น่าเชื่อถือ และได้มาตรฐานในระดับสากล | 0.00 | 0.00 | สํานักการระบายน้ำ | 2021-10-01 00:00:00 | 2022-09-30 00:00:00 | ไม่ได้รับงบประมาณ | 1.00 |
18 | 1.0.1. ด้านที่ ๑ – มหานครปลอดภัย : Bangkok as a Safe City |
.. | 2565 | โครงการเพิ่มประสิทธิภาพศูนย์ควบคุมระบบป้องกันน้ำท่วมกรุงเทพมหานคร (กสน.) | ศูนย์ควบคุมระบบป้องกันน้ำท่วมกรุงเทพมหานคร จะทำหน้าที่ในด้านการเก็บรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวกับการระบายน้ำ และการป้องกันน้ำท่วมในกรุงเทพมหานคร โดยอาศัยเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ที่ทันสมัยประกอบด้วย “สถานีแม่ข่าย” (Master Station) ซึ่งตั้งอยู่ที่ชั้น 6 ของอาคารสำนักการระบายน้ำ ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร 2 ถนนมิตรไมตรี เขตดินแดง และ “สถานีเครือข่าย” (Monitoring Station) กระจายอยู่ทั่วไปในพื้นที่ของกรุงเทพมหานคร ตามสถานีสูบน้ำ ประตูระบายน้ำ บางแห่ง คลองสายหลักต่าง ๆ และสำนักงานเขตทั้ง 50 เขต การทำงานของระบบควบคุมการทำงานโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่เรียกว่า ระบบ SCADA ซึ่งมีระบบตรวจวัดข้อมูลระยะไกล และส่งข้อมูลมายังศูนย์กลางอัตโนมัติ จากประเมินสถานการณ์ในการปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมกับระบบตรวจวัดข้อมูลด้านต่าง ๆ ของสถานีเครือข่ายศูนย์ควบคุมระบบป้องกันน้ำท่วมกรุงเทพมหานคร พบว่าระบบตรวจวัดข้อมูลยังไม่ครอบคลุมในสถานีสูบน้ำและประตูระบายน้ำ ซึ่งเป็นระบบหลักและสำคัญในการควบคุมและระบายน้ำเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมกรุงเทพมหานคร ปัจจุบันมีเพียง 75 แห่ง จึงเห็นควรขยายขีดความสามารถของศูนย์ควบคุมระบบป้องกันน้ำท่วมกรุงเทพมหานครให้ครอบคลุมสถานีสูบน้ำและประตู ระบายน้ำที่เป็นจุดสำคัญ และเพิ่มประสิทธิภาพการตรวจสอบควบคุมระบบของศูนย์ควบคุมระบบป้องกัน น้ำท่วมกรุงเทพมหานคร เพื่อให้สามารถรับทราบสถานการณ์การทำงานรวมถึงรองรับการควบคุมการทำงานของสถานีสูบน้ำและประตูระบายน้ำได้ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล พร้อมกับการเพิ่มประสิทธิภาพการตรวจวัดข้อมูลของสถานีเครือข่ายเดิม โดยติดตั้งอุปกรณ์ตรวจวัดข้อมูลเพิ่มเติม และพัฒนาเครื่องมือตรวจวัดให้ทันกับเทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ครบถ้วนสมบูรณ์ในการบริหารจัดการป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมกรุงเทพมหานครได้รวดเร็วมีประสิทธิภาพ ตามนโยบายผู้บริหารกรุงเทพมหานคร และบรรเทาปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน | 1 ขยายขีดความสามารถของศูนย์ควบคุมระบบป้องกันน้ำท่วมกรุงเทพมหานคร ให้ครอบคลุมสถานีสูบน้ำและประตูระบายน้ำหลักที่สำคัญในการควบคุมน้ำ 2 เพิ่มประสิทธิภาพระบบตรวจวัดข้อมูลของสถานีเครือข่ายเดิมของศูนย์ควบคุมระบบป้องกันน้ำท่วมกรุงเทพมหานครให้มีข้อมูลที่ถูกต้องครบถ้วนสมบูรณ์ในทุกด้าน 3 เพิ่มประสิทธิภาพระบบการควบคุมและบริหารสั่งการของศูนย์ควบคุมระบบป้องกันน้ำท่วมกรุงเทพมหานคร | - มีระบบตรวจสอบ ควบคุมและบริหารจัดการสถานีสูบน้ำ และประตูระบายน้ำหลักเพื่อควบคุมน้ำและป้องกันแก้ไขปัญหาน้ำท่วมได้อย่างมีประสิทธิภาพ- ศูนย์ควบคุมระบบป้องกันน้ำท่วมกรุงเทพมหานครมีขีดความสามารถในการบริหารจัดการ ควบคุมน้ำและมีข้อมูลที่ครบถ้วน สมบูรณ์ และครอบคลุมระบบระบายน้ำหลัก เพื่อการบริหารจัดการน้ำที่มีประสิทธิภาพ - ติดตั้งระบบตรวจวัดคุณภาพน้ำในคลองเปรมประชากร คลองสอง คลองแสนแสบ คลองประเวศบุรีรมย์ คลองภาษีเจริญ คลองพระยาราชมนตรี คลองสนามชัยและแม่น้ำเจ้าพระยา จำนวน 10 จุด | 0.00 | 0.00 | สํานักการระบายน้ำ | 2021-10-01 00:00:00 | 2022-09-30 00:00:00 | ไม่ได้รับงบประมาณ | 1.00 |
19 | 1.0.1. ด้านที่ ๑ – มหานครปลอดภัย : Bangkok as a Safe City |
.. | 2565 | โครงการพัฒนาระบบตรวจสอบและควบคุมเครื่องสูบน้ำอัตโนมัติพื้นที่จุดเสี่ยงน้ำท่วม (กสน.) | ปัญหาน้ำท่วมกรุงเทพมหานครอันเนื่องจากฝนตกในพื้นที่เป็นปัญหาใหญ่ และก่อให้เกิดปัญหาด้านอื่น ๆ ตามมา เช่น ด้านการจราจร ด้านความปลอดภัย ซึ่งปัญหาน้ำรอการระบายในหลายพื้นที่เกิดบ่อยครั้งแม้ปริมาณฝนไม่มากจนกลายเป็นจุดเสี่ยงที่ต้องมีการเฝ้าระวังเป็นพิเศษ เพื่อบรรเทาปัญหาด้านต่าง ๆ จำเป็นต้องเร่งการแก้ไขปัญหาให้คลี่คลายให้รวดเร็วทันต่อเหตุการณ์ การแก้ไขปัญหาน้ำท่วมบริเวณพื้นที่จุดเสี่ยงน้ำท่วมได้ใช้ระบบพื้นที่ปิดล้อมเพื่อแก้ไขปัญหาและการระบายน้ำที่ท่วมออกจากพื้นที่อาศัยเครื่องสูบน้ำตามบ่อสูบน้ำต่างๆ ในพื้นที่ปิดล้อมเป็นหลักเพื่อสูบระบายน้ำจากจุดน้ำท่วมไปลงสู่คลองและใช้คลองลำเลียงน้ำลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา การเปิดเดินเครื่องสูบน้ำ เพื่อเร่งการระบายน้ำบริเวณน้ำท่วมปัจจุบันใช้เจ้าหน้าที่เฝ้าประจำเครื่องสูบน้ำทุกจุดตลอด 24 ชั่วโมง การตรวจสอบการเดินเครื่องสูบน้ำและการสั่งการเดินเครื่องสูบน้ำต้องประสานและสั่งให้เจ้าหน้าที่ที่ประจำ ทำการเดินเครื่องโดยใช้ระบบโทรศัพท์และวิทยุสื่อสารซึ่งการติดต่อประสานงานเพื่อสั่งการ ปัจจุบันการประสานสั่งการมีอุปสรรคในบางครั้งที่ไม่สามารถติดต่อหรือสั่งการไปยังเจ้าหน้าที่ประจำเครื่องสูบน้ำได้ เป็นเหตุให้การแก้ไขปัญหาน้ำท่วมเกิดความล่าช้าไม่ทันต่อเหตุการณ์ จึงมีแนวคิดจัดหาระบบเทคโนโลยีมาเพิ่มประสิทธิภาพกรณีดังกล่าว โดยจัดทำโครงการระบบตรวจและควบคุมเครื่อง สูบน้ำอัตโนมัติพื้นที่จุดเสี่ยงน้ำท่วม โดยติดตั้งอุปกรณ์ที่จำเป็นในการตรวจสอบสถานะเครื่องสูบน้ำ ระบบควบคุมการเปิดเดินเครื่องสูบน้ำระยะไกล และระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิดในการตรวจดูสภาพความพร้อมของระบบต่าง ๆ ที่บ่อสูบน้ำ ระบบดังกล่าวจะเชื่อมโยงข้อมูลเข้ามาที่ศูนย์ควบคุมระบบป้องกันน้ำท่วมหรือส่วนกลาง ซึ่งทำให้รับทราบสถานการณ์หรือสถานะการทำงานของบ่อสูบน้ำได้ตลอดเวลา รวมถึงระบบสามารถสั่งเปิดเดินเครื่องสูบน้ำได้จากส่วนกลางตามสถานการณ์ฝนหรือน้ำท่วม จะทำให้การบริหารจัดการมีประสิทธิภาพ แก้ปัญหาได้รวดเร็วทันต่อสถานการณ์ | - เพื่อพัฒนาเทคโนโลยี ในการสนับสนุนการปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วม - เพื่อสำรวจติดตั้งอุปกรณ์สำหรับตรวจสอบการทำงานของเครื่องสูบน้ำและความพร้อมของบ่อสูบน้ำ สถานีสูบน้ำในพื้นที่จุดเสี่ยงและจุดเฝ้าระวังน้ำท่วมในพื้นที่กรุงเทพมหานคร - เพื่อจัดทำระบบการตรวจสอบและควบคุมเครื่องสูบน้ำระยะไกล ในการควบคุมและสั่งเปิดเดินเครื่องสูบน้ำจากส่วนกลาง - เพื่อรับทราบสถานการณ์ปัจจุบันของเหตุการณ์บริเวณบ่อสูบหรือสถานีสูบน้ำได้เพื่อประเมินและวางแผนการแก้ปัญหาได้อย่างรวดเร็ว | - จุดเสี่ยงทุกจุดมีระบบตรวจสอบการทำงานของเครื่องสูบน้ำ ที่สามารถตรวจสอบได้จากส่วนกลางได้ทันทีและตลอดเวลา - มีระบบการควบคุมและสั่งการระยะไกล สามารถสั่งเปิดเดินเครื่องสูบน้ำได้ทันทีจากส่วนกลาง - ติดตั้งกล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) แบบ ๒ Mega Pixel Fix Hybrid Camera ชนิด Day/Night Mode จำนวน 80 กล้อง | 0.00 | 0.00 | สํานักการระบายน้ำ | 2021-10-01 00:00:00 | 2022-09-30 00:00:00 | ไม่ได้รับงบประมาณ | 1.00 |
20 | 7.0.1. ด้านที่ ๗ – การบริหารจัดการเมืองมหานคร : Management Strategy |
.. | 2565 | กิจกรรมพัฒนาฐานข้อมูลของสำนักการระบายน้ำ (2565) (กสน.) | - ข้อมูล หมายความว่า สิ่งที่สื่อความหมายให้รู้เรื่องราวข้อเท็จจริงหรือเรื่องอื่นใด ไม่ว่าการสื่อความหมายนั้นจะทำได้โดยสภาพของสิ่งนั้นเองหรือโดยผ่านวิธีการใดๆ และไม่ว่าจะได้จัดทำไว้ในรูปของเอกสาร แฟ้ม รายงาน หนังสือ แผนผัง แผนที่ ภาพวาด ภาพถ่าย ภาพถ่ายดาวเทียมฟิล์ม การบันทึกภาพหรือเสียง การบันทึกโดยเครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องมือตรวจวัด การสารวจระยะไกล หรือวิธีอื่นใดที่ทำให้สิ่งที่บันทึกไว้ปรากฏได้ - ชุดข้อมูล หมายความว่า การนำข้อมูลจากหลายแหล่งมารวบรวม เพื่อจัดเป็นชุดให้ตรงตามลักษณะโครงสร้างของข้อมูลบัญชีรายการข้อมูล หมายความว่า เอกสารแสดงบรรดารายการของชุดข้อมูล ที่จำแนกแยกแยะโดยการจัดกลุ่มหรือจัดประเภทข้อมูลที่อยู่ในความครอบครองหรือควบคุมของหน่วยงาน - ฐานข้อมูล (Database) หมายถึง กลุ่มของข้อมูลที่ถูกเก็บรวบรวมไว้ โดยมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน โดยไม่ได้บังคับว่าข้อมูลทั้งหมดนี้จะต้องเก็บไว้ในแฟ้มข้อมูล (Data file) เดียวกันหรือแยกเก็บหลายๆ แฟ้มข้อมูล (Data file) - คำอธิบายข้อมูลหรือเมทาดาตา (Metadata) หมายถึง ข้อมูลที่ใช้อธิบายข้อมูล โดยระบุรายละเอียดแหล่งข้อมูล หรือคาอธิบายรายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ซึ่งจัดทำให้ผู้ใช้ข้อมูลทราบว่าข้อมูลมาจากแหล่งใด มีรูปแบบอย่างไร เพื่อช่วยอานวยความสะดวกในการสืบค้นข้อมูล และใช้ประโยชน์ในการจัดทำบัญชีรายการข้อมูล (Data Catalog) - ความสำเร็จในการพัฒนาฐานข้อมูล หมายถึง การพัฒนาและการจัดการฐานข้อมูลโดยการนำเข้าข้อมูลที่ถูกต้อง ครบถ้วน รวดเร็ว ทันสมัย และมีการแบ่งปันการใช้งานข้อมูล ตามแผนการพัฒนาฐานข้อมูลของหน่วยงานและเกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาการปฏิบัติงานตามภารกิจหลักของหน่วยงาน และภาพรวมของกรุงเทพมหานคร โดยสอดคล้องกับมาตรฐานและกรอบธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ (ตามประกาศคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เรื่อง ธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ) แบ่งเป็น 2 ส่วน (ร้อยละ 100) ส่วนที่ 1 รักษาสถานภาพฐานข้อมูลของหน่วยงานที่ดาเนินการในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ส่วนที่ 2 พัฒนาและจัดเก็บข้อมูลในฐานข้อมูลที่มีความสาคัญต่อการปฏิบัติงานหรือการให้บริการ | มีฐานข้อมูลที่มีความสำคัญต่อการปฏิบัติงานหรือการให้บริการของสำนักการระบายน้ำ | ได้ฐานข้อมูลที่มีความสำคัญต่อการปฏิบัติงานหรือการให้บริการของสำนักการระบายน้ำ | 0.00 | 0.00 | สํานักการระบายน้ำ | 2021-10-01 00:00:00 | 2022-09-30 00:00:00 | ไม่ได้รับงบประมาณ | 100.00 |
21 | 1.0.2. ยุทธศาสตร์ที่ ๑ –การสร้างเมืองปลอดภัยและหยุ่นตัวต่อวิกฤตการณ์ |
.. | 2566 | การสนับสนุนเครื่องสูบน้ำแก่สำนักงานเขต (กคจ.) | กรุงเทพมหานครได้เจริญเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว มีการพัฒนาระบบสาธารณูปโภคอย่างต่อเนื่องรูปแบบการใช้ที่ดินเปลี่ยนแปลงไป รวมถึงระบบระบายน้ำและการป้องกันน้ำท่วมเดิมไม่สามารถรองรับได้ จึงก่อให้เกิดปัญหาน้ำท่วมรอระบายทวีความรุนแรงมากขึ้น | เพื่อให้การสนับสนุนเครื่องสูบน้ำและอุปกรณ์แก่สำนักงานเขตต่าง ๆ ติดตั้งใช้งานด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่ที่สำนักงานเขตรับผิดชอบ | สนับสนุนเครื่องสูบน้ำและอุปกรณ์เป็นไปตามแผนการสนับสนุนประจำปี | 0.00 | 0.00 | สํานักการระบายน้ำ | 2022-10-01 00:00:00 | 2023-09-30 00:00:00 | แล้วเสร็จ | 100.00 |
22 | 1.0.2. ยุทธศาสตร์ที่ ๑ –การสร้างเมืองปลอดภัยและหยุ่นตัวต่อวิกฤตการณ์ |
.. | 2566 | การซ่อมและบำรุงรักษาเครื่องสูบน้ำ เครื่องผลักดันน้ำและเครื่องจักรกล (กคจ.) | กรุงเทพมหานครได้ดำเนินการติดตั้งและตรวจสอบเครื่องสูบน้ำ เครื่องผลักดันน้ำ โดยใช้เครื่องจักรกลและเครื่องทุ่นแรงต่างๆ เพื่อรองรับการป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่อย่างต่อเนื่องตลอดเวลา จึงส่งผลให้เกิดการชำรุดเสียหายจากการใช้งาน | เพื่อซ่อมและบำรุงรักษาเครื่องสูบน้ำ เครื่องผลักดันน้ำ และเครื่องจักรกล ให้มีความพร้อมในการนำไปใช้ปฏิบัติงานตลอดเวลา และสำรองเปลี่ยนทดแทนกรณีชำรุดเสียหาย | การซ่อมและบำรุงรักษาเครื่องสูบน้ำ เครื่องผลักดันน้ำ และเครื่องจักรกล เป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ | 0.00 | 0.00 | สํานักการระบายน้ำ | 2022-10-01 00:00:00 | 2023-09-30 00:00:00 | แล้วเสร็จ | 100.00 |
23 | 1.0.2. ยุทธศาสตร์ที่ ๑ –การสร้างเมืองปลอดภัยและหยุ่นตัวต่อวิกฤตการณ์ |
.. | 2566 | โครงการพัฒนาระบบประเมินปริมาณฝนและพยากรณ์ฝนล่วงหน้าโดยใช้ข้อมูลเรดาร์ตรวจอากาศ (กสน.) | ในช่วง ๓-๔ ปี ที่ผ่านมานี้ กรุงเทพมหานครต้องประสบกับปัญหาน้ำท่วมขังจากฝนตกในพื้นที่อยู่บ่อยครั้ง สืบเนื่องมาจาก ๒ ปัจจัยหลัก ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงของการใช้ประโยชน์ที่ดินที่มีการขยายตัวของชุมชุนเมืองเพิ่มอย่างรวดเร็ว และการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศโลกที่ทำให้ปริมาณฝนที่ตกมีความเข้มสูงขึ้นมาก ซึ่งทั้งสองปัจจัยทำให้กรุงเทพมหานครจำเป็นต้องมีระบบจัดการระบายน้ำเชิงรุก (Proactive Drainage Management System) สำหรับเป็นเครื่องมือในการติดตาม สั่งการ และรายงานผล ในการจัดการระบายน้ำฝนที่ตกในพื้นที่กรุงเทพมหานครไปสู่ระบบระบายน้ำหลัก (อุโมงค์ระบายน้ำ คลองสายหลัก และสถานีสูบน้ำ) ซึ่งได้มีการจัดทำไว้พร้อมแล้ว เพื่อให้ระบบระบายน้ำหลักที่มีอยู่สามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ สำนักการระบายน้ำจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องดำเนินการนำเครื่องมือที่มีอยู่เดิมมาพัฒนาเพิ่มเติมให้ครบสมบูรณ์ มีความทันสมัย สามารถรองรับเทคโนโลยีสมัยใหม่สำหรับใช้ในการควบคุม ติดตาม คาดการณ์ และโต้ตอบ (Control-Monitor-Forecast-Interact) อันจะส่งผลให้ระบบระบายน้ำของกรุงเทพมหานครทำงานได้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ซึ่งจะเป็นการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนและผลกระทบจากการเกิดน้ำท่วมขังให้แก่ประชาชนที่อยู่อาศัยในกรุงเทพมหานครได้อย่างยั่งยืน ฝนที่ตกหนักเป็นสาเหตุหลักที่ก่อให้เกิดปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่กรุงเทพมหานคร สำนักการระบายน้ำ โดยกองสารสนเทศระบายน้ำ จึงได้จัดทำโครงการจัดทำระบบประเมินน้ำฝนและพยากรณ์ฝนล่วงหน้าในพื้นที่กรุงเทพมหานครโดยใช้ข้อมูลเรดาร์ตรวจอากาศ ซึ่งเป็นการประยุกต์ใช้ข้อมูลปริมาณฝนที่ตรวจวัดในอากาศด้วยเรดาร์มาประเมินเป็นปริมาณฝนที่ตรวจวัดได้จริงโดยใช้วิธีการประเมินฝนและพยากรณ์ฝนจากข้อมูลเรดาร์ที่เป็นมาตรฐานเป็นที่ยอมรับในระดับสากล ทั้งนี้ระบบการพยากรณ์ฝน ที่พัฒนาขึ้นจะสามารถประเมินปริมาณฝนรายชั่วโมงและพยากรณ์ฝนล่วงหน้าได้ ๑-๓ ชั่วโมง (Nowcasting) มีความถูกต้อง แม่นยำ น่าเชื่อถือ สามารถตรวจวัดปริมาณน้ำฝนได้อย่างต่อเนื่องภายใต้รัศมีทำการของเรดาร์ และสามารถเชื่อมโยงข้อมูลการประเมินฝนและพยากรณ์ฝนเข้ากับระบบบริหารจัดการน้ำท่วมของศูนย์ควบคุมระบบป้องกันน้ำท่วมกรุงเทพมหานคร | ๒.๑ เพื่อจัดทำระบบประเมินน้ำฝนและการพยากรณ์ฝนล่วงหน้า ๑-๓ ชั่วโมง (Nowcasting) ด้วยเรดาร์ตรวจอากาศ ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร โดยใช้ข้อมูลจากเรดาร์ ๒ สถานีร่วมกัน ซึ่งประกอบด้วยสถานีเรดาร์หนองจอก และสถานีเรดาร์หนองแขม โดยวิธี Composite Radar Reflectivity ให้สามารถประเมินข้อมูลฝนเชิงพื้นที่ในแต่ละเขตของกรุงเทพมหานครได้ ๒.๒ เพื่อเชื่อมโยงระบบการประเมินน้ำฝนและการพยากรณ์ฝนล่วงหน้า ๑-๓ ชั่วโมง เข้ากับระบบบริหารจัดการน้ำท่วมของศูนย์ควบคุมระบบป้องกันน้ำท่วมแบบ Realtime เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการน้ำท่วม การประชาสัมพันธ์และการเตือนภัยล่วงหน้าในพื้นที่กรุงเทพมหานคร | ๓.๑ การประยุกต์ใช้ข้อมูลตรวจวัดปริมาณฝนด้วยเรดาร์ตรวจอากาศเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพบริหารจัดการน้ำท่วมในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ๓.๒ มีระบบประเมินปริมาณฝนและคาดการณ์ฝนล่วงหน้า ๑-๓ ชั่วโมงที่มีความแม่นยำ น่าเชื่อถือ และได้มาตรฐานในระดับสากล | 15,000,000.00 | 0.00 | สํานักการระบายน้ำ | 2022-10-01 00:00:00 | 2023-09-30 00:00:00 | ไม่ได้รับงบประมาณ | 10.00 |
24 | 1.0.2. ยุทธศาสตร์ที่ ๑ –การสร้างเมืองปลอดภัยและหยุ่นตัวต่อวิกฤตการณ์ |
.. | 2566 | โครงการปรับระดับหมุดหลักฐานทางดิ่ง พร้อมติดตั้งแผ่นวัดระดับน้ำที่อาคารบังคับน้ำ (กสน.) | สำนักการระบายน้ำ กรุงเทพมหานคร มีภารกิจหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมพื้นที่กรุงเทพมหานคร และปริมณฑลจากสถานีสูบน้ำ ประตูระบายน้ำ จุดวัดน้ำ แ ละบ่อสูบน้ำที่กระจายอยู่ทั่วพื้นที่กรุงเทพมหานคร เพื่อใช้บริหารจัดการ และวางแผนป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วม การวางแผนป้องกันและแก้ไขปัญหา ต้องมีข้อมูลที่ถูกต้องแม่นยำ โดยเฉพาะข้อมูลทางด้านระดับน้ำ เพื่อจะได้รู้ถึงค่าความสูงของระดับน้ำ ปริมาณน้ำ จึงจำเป็นต้องมีค่าระดับหมุดหลักฐานทางดิ่งที่เป็นปัจจุบันพร้อมแผ่นวัดระดับน้ำ (STAFFGUAGE) จากการเปลี่ยนแปลงทางด้านธรณี แผ่นดินทรุดต่อเนื่องในทุก ๆ ปี จึงต้องปรับค่าระดับที่ติดตั้ง ตั้งแต่ปี 2552 พร้อมค่าระดับหมุดหลักฐานใหม่ กองสารสนเทศระบายน้ำ สำนักการระบายน้ำ จึงได้ดำเนินการโครงการปรับระดับหมุดหลักฐานทางดิ่ง พร้อมติดตั้งแผ่นวัดระดับน้ำ (STAFFGUAGE) โดยดำเนินการรังวัดค่าระดับในลักษณะเป็นวงรอบเพื่อตรวจสอบความถูกต้อง และทำการปรับแก้ค่าระดับทั้งหมด ทั้งฝั่งธนบุรีและฝั่งพระนคร แล้วจึงดำเนินการติดตั้งแผ่นวัดระดับน้ำ (STAFFGUAGE) ให้เป็นไปตามค่าหมุดหลักฐานที่ได้รังวัดไว้จะทำให้ได้ข้อมูลระดับน้ำที่ถูกต้องเป็นปัจจุบันทั้งระบบทั่วพื้นที่กรุงเทพมหานครเพื่อการบริหารจัดการน้ำในการป้องกันและแก้ไขอย่างมีประสิทธิภาพ | 2.1 สำรวจปรับระดับหมุดหลักฐานทางดิ่ง ค่าระดับน้ำ รทก. (ระดับน้ำทะเลปานกลาง) ให้มีค่าที่ถูกต้องและเป็นปัจจุบันพร้อมติดตั้งแผ่นวัดระดับน้ำที่สถานีสูบน้ำ ประตูระบายน้ำ จุดวัดน้ำและบ่อสูบน้ำ 2.2 เพื่อให้มีข้อมูลในการเฝ้าระวังและตรวจสอบระดับน้ำในพื้นที่กรุงเทพมหานคร และมีค่าระดับน้ำที่จำเป็นได้ทั่วถึงในการป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมให้เป็นในแนวทางระดับมาตรฐานเดียวกัน | 3.1 ติดตั้งหมุดหลักฐานทางดิ่ง (BM) ที่สถานีสูบน้ำ ประตูระบายน้ำ จุดวัดน้ำและบ่อสูบน้ำ จำนวน 700 จุด 3.2 ติดตั้งแผ่นป้ายทองเหลืองบอกค่าระดับ จำนวน 1,300 แผ่น 3.3 ถ่ายค่าระดับจากหมุดหลักฐานติดตั้งแผ่นโลหะเคลือบวัดระดับน้ำ (STAFFGUAGE) จำนวน 1,300 จุด | 20,224,000.00 | 0.00 | สํานักการระบายน้ำ | 2022-10-01 00:00:00 | 2023-09-30 00:00:00 | กำลังดำเนินการ | 64.00 |
รวม ->24 โครงการ | 0 | 0.00 | 0.00 | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 | 0 | 0 | 0 | 0 |