รายงานสรุปจำนวนโครงการด้านเทคโนโลยีดิจิทัลของกรุงเทพมหานคร (ระหว่าง ปี 2560 - 2563): ณ วันที่ 21/11/2024 จำนวน 21 โครงการ

[พิมพ์ไฟล์ PDF (ทั้งหมด)]

ลำดับ ยุทธศาสตร์ 20 ปี แผนแม่บทไอที ปีงบประมาณ ชื่อโครงการ หลักการและเหตุผล วัตถุประสงค์โครงการ เป้าหมายโครงการ งบประมาณที่ได้รับ งบประมาณที่ใช้ไป หน่วยงานที่รับผิดชอบ เริ่มโครงการ สิ้นสุดโครงการ สถานะโครงการ คืบหน้า (ร้อยละ)
1 4.0.1.
ด้านที่ ๔ – มหานครกระชับ : Bangkok as a Compact City
4.2. 2560 ปรับปรุงข้อมูลแผนที่ฐานเชิงเลข (Digital Map) กรุงเทพมหานคร มาตราส่วน 1:4,000 ให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน จำนวน 50 เขต เนื่องจากกรุงเทพมหานครเป็นเมืองหลวงของประเทศที่มีประชากรอยู่อาศัยกันอย่างหนาแน่นในบางบริเวณ ทำให้สภาพพื้นที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่แทบจะตลอดเวลา สำนักผังเมืองซึ่งเป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการจัดทำฐานข้อมูลทางด้านกายภาพต่างๆ ของกรุงเทพมหานคร เพื่อให้บริการแก่ประชาชนและหน่วยงานราชการต่างๆ จึงมีความจำเป็นต้องดำเนินการปรับปรุงแผนที่เชิงเลข มาตราส่วน 1:4,000 ให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน โดยดำเนินการครอบคลุมพื้นที่กรุงเทพมหานคร จำนวน 50 เขต เพื่อปรับปรุงข้อมูลแผนที่ฐานเชิงเลข (Digital Map) กรุงเทพมหานคร มาตราส่วน 1:4,000 ให้มีความถูกต้องทันสมัยและเป็นปัจจุบัน ให้แล้วเสร็จไม่น้อยกว่า 175 ระวาง ปรับปรุงข้อมูลแผนที่เชิงเลข (ข้อมูลเชิงพื้นที่และข้อมูลเชิงบรรยาย) ให้มีความถูกต้องและทันสมัยเป็นปัจจุบัน แล้วเสร็จร้อยละ 80 0.00 0.00 สำนักการวางผังและพัฒนาเมือง 2016-10-01 00:00:00 2017-09-30 00:00:00 แล้วเสร็จ 100.00
2 7.0.1.
ด้านที่ ๗ – การบริหารจัดการเมืองมหานคร : Management Strategy
4.2.1 2560 การปรับปรุงข้อมูลบนเว็บไซต์ของสำนักผังเมือง กรุงเทพมหานครได้กำหนดกรอบการประเมินผลการปฏิบัติราชการของหน่วยงาน กลยุทธ์พัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศในการปฏิบัติราชการ เพื่อมุ่งสู่การเป็นหน่วยงานอิเล็กทรอนิกส์ ตัวชี้วัด การปรับปรุงข้อมูลในเว็บไซต์ทุก 15 วัน สำนักผังเมืองจึงได้มีการแต่งตั้งคณะทำงานควบคุมดูแลเว็บไซต์และ Facebook สำนักผังเมือง เพื่อดำเนินการบริการข้อมูลผังเมืองผ่านระบบอินเตอร์เน็ตให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและมีประสิทธิภาพและดำเนินการปรับปรุงข้อมูลข่าวสารและยังเป็นการประชาสัมพันธ์กิจกรรมของสำนักผังเมืองในเว็บไซต์ของหน่วยงานเพื่อให้เป็นปัจจุบัน และรายงานให้ผู้บริหารทราบ - เพื่อพัฒนาและปรับปรุงเว็บไซต์ของสำนักผังเมือง - เพื่อเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร และความรู้ด้านผังเมือง - ประชาสัมพันธ์กิจกรรมของสำนักผังเมือง - ปรับปรุงเว็บไซต์ของสำนักผังเมืองทุก 15 วัน - ส่งรายงานเรื่องการปรับปรุงเว็บไซต์ของสำนักผังเมืองเสนอผู้บริหาร เดือนละ 2 ครั้ง 0.00 0.00 สำนักการวางผังและพัฒนาเมือง 2016-10-01 00:00:00 2017-09-30 00:00:00 แล้วเสร็จ 100.00
3 4.0.1.
ด้านที่ ๔ – มหานครกระชับ : Bangkok as a Compact City
4.2. 2561 ค่าใช้จ่ายในการปรับปรุงข้อมูลแผนที่เชิงเลขมาตราส่วน ๑:๔,๐๐๐ และจัดทำข้อมูลภูมิประเทศและระดับชั้นความสูง เพื่อพัฒนาระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อการผังเมือง สำนักผังเมืองได้จัดทำแผนที่มาตราส่วน ๑:๔,๐๐๐ ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ๕๐ เขต แสดงลักษณะทางกายภาพของกลุ่มข้อมูล เช่น ถนน อาคาร สถานที่ตั้ง ชื่อและคำอธิบาย เป็นต้น โดยมีโครงสร้างฐานข้อมูลแสดงรายละเอียดของข้อมูลกายภาพแต่ละประเภท รวมทั้งการใช้ประโยชน์ที่ดินและอาคาร เชื่อมโยงกับข้อมูลกายภาพ ได้ดำเนินการตั้งแต่ปี ๒๕๔๒ และใช้งานอยู่ในปัจจุบัน มีการปรับปรุงแผนที่การใช้ประโยชน์ที่ดินและอาคารครั้งล่าสุดในปี ๒๕๔๙ ในช่วงปี พ.ศ.2550-2559พบว่า มีอาคารที่เกิดขึ้นใหม่และมีการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินเพิ่มมากขึ้นในอัตราค่อนข้างสูง และยังพบว่ามีระบบสาธารณูปโภคต่างๆ เพิ่มขึ้นในอัตราใกล้เคียงกัน รวมถึงปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงระบบเลขที่บ้าน ชื่อถนน ตรอก ซอยต่างๆ ใหม่ มากกว่า 35 เขต สำนักผังเมืองฐานะผู้รับผิดชอบในการจัดทำ ปรับปรุง ค้นคว้าศึกษาและพัฒนาคุณภาพข้อมูลแผนที่ในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) และวิธีการอันจะได้มาซึ่งข้อมูลแผนที่ที่มีความทันสมัย ถูกต้องแม่นยำสูง ทั้งข้อมูลเชิงพื้นที่และเชิงบรรยายทุกมาตราส่วนในพื้นที่กรุงเทพมหานคร และเป็นผู้ใช้ข้อมูลแผนที่ในการจัดทำผังเมืองรวมและวางผังเฉพาะ และหน่วยงานต่างๆของกรุงเทพมหานคร เช่น สำนักการโยธา สำนักการระบายน้ำ สำนักการจราจรและขนส่ง สำนักการแพทย์ เป็นต้น ได้นำข้อมูลไปใช้ในการบริหารงานในภารกิจที่รับผิดชอบ โดยเฉพาะช่วงเกิดอุทกภัยในปี ๒๕๕๔ มีหน่วยงานของภาครัฐและภาคเอกชนหลายราย มาขอรับบริการข้อมูลแผนที่ไปใช้ในการวางแผนและบริหารจัดการ จึงจำเป็นจะต้องมีข้อมูลที่ถูกต้องและเป็นปัจจุบันเพื่อให้บริการ และเป็นข้อมูลสำคัญในการจัดทำกฎกระทรวงผังเมืองรวมให้มีความถูกต้อง อนี่ง พระราชบัญญัติการผังเมือง (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2558 “มาตรา ๑๗ ความว่า ผังเมืองประกอบด้วย (๒) แผนที่แสดงเขตของผังเมืองรวมโดยแสดงข้อมูลภูมิประเทศและระดับชั้นความสูง ซึ่งกองสำรวจและแผนที่จะต้องดำเนินการจัดทำแผนที่แสดงข้อมูลภูมิประเทศและระดับชั้นความสูงให้แล้วเสร็จ รวมทั้งจัดเตรียมข้อมูลพื้นฐานสำหรับให้บริการแก่หน่วยงานทั้งภายในและภายนอกกรุงเทพมหานคร หน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ เอกชน นิสิต นักศึกษา และประชาชนทั่วไป จากเหตุผลข้างต้น หากไม่ดำเนินโครงการฯ หรือดำเนินการล่าช้า ข้อมูลแผนที่เชิงเลขไม่ถูกต้องและทันสมัย อาจเกิดความเสียหายแก่กรุงเทพมหานครได้ กองสำรวจและแผนที่ สำนักผังเมือง จึงมีความจำเป็นต้องดำเนินโครงการปรับปรุงข้อมูลแผนที่เชิงเลขมาตราส่วน ๑:๔,๐๐๐ และจัดทำข้อมูลภูมิประเทศและระดับชั้นความสูง เพื่อพัฒนาระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อการผังเมืองครอบคลุมพื้นที่ทั้ง ๕๐ เขตของกรุงเทพมหานคร กรุงเทพมหานครมีความประสงค์จะว่าจ้างดำเนินการปรับปรุงข้อมูลแผนที่เชิงเลขมาตราส่วน ๑:๔,๐๐๐ ข้อมูลภูมิประเทศและระดับชั้นความสูง เพื่อพัฒนาระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อการผังเมือง ครอบคลุมพื้นที่กรุงเทพมหานคร โดยโครงการที่ว่าจ้างนี้จะต้องมีรายละเอียดตามวัตถุประสงค์ ดังต่อไปนี้ ๒.๑ เพื่อจัดทำแผนที่ภาพถ่ายความละเอียดสูง ข้อมูลความสูงภูมิประเทศเชิงเลข และระดับชั้นความสูง ๒.๒ เพื่อปรับปรุงข้อมูลแผนที่เชิงเลขมาตราส่วน 1:4,000 จากแผนที่ภาพถ่ายความละเอียดสูง ในกลุ่มชั้นข้อมูลแผนที่ฐานและถ่ายโอนข้อมูลเชิงบรรยายที่สำนักผังเมืองมีอยู่ ไปสู่กลุ่มชั้นข้อมูลแผนที่ฐานที่ทำการปรับปรุงแล้วเสร็จ เพื่อจัดทำแผนที่แสดงการใช้ประโยชน์ที่ดินและอาคาร ๒.๓ เพื่อศึกษาและออกแบบปรับปรุงโครงสร้างฐานข้อมูลแผนที่เชิงเลข ให้สอดคล้องกับข้อมูลที่จะทำการปรับปรุง พร้อมจัดทำคำอธิบายชุดข้อมูลแผนที่ภาพถ่าย และจัดทำชุดข้อมูลสถานที่สำคัญ (Point of Interest) 3.1 เพื่อให้กรุงเทพมหานคร มีระบบข้อมูลแผนที่เชิงเลขมาตราส่วน 1:4,000 ที่ถูกต้อง น่าเชื่อถือและทันสมัย 3.2 เพื่อให้กรุงเทพมหานคร มีข้อมูลภูมิประเทศและระดับชั้นความสูง ที่เป็นไปตามพระราชบัญญัติการผังเมือง (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2558 “มาตรา ๑๗ ความว่า ผังเมืองประกอบด้วย (๒) แผนที่แสดงเขตของผังเมืองรวมโดยแสดงข้อมูลภูมิประเทศและระดับชั้นความสูง 3.3 เพื่อบริการข้อมูลแผนที่เชิงเลขมาตราส่วน 1:4,000 ให้แก่หน่วยงานของกรุงเทพมหานครและหน่วยงานภายนอก รัฐวิสาหกิจ เอกชน นิสิต นักศึกษา และประชาชนทั่วไป 70,000,000.00 0.00 สำนักการวางผังและพัฒนาเมือง 2017-10-01 00:00:00 2018-09-30 00:00:00 แล้วเสร็จ 100.00
4 4.0.1.
ด้านที่ ๔ – มหานครกระชับ : Bangkok as a Compact City
4.2. 2561 ค่าใช้จ่ายในการบูรณาการข้อมูลแผนที่ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) กับข้อมูลทะเบียนราษฎร ของกรมการปกครอง สำนักผังเมือง ได้จัดทำแผนที่ในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) ครอบคลุมพื้นที่กรุงเทพมหานคร ๕๐ เขต แสดงลักษณะทางกายภาพของกลุ่มข้อมูล เซ่น ถนน อาคาร สถานที่ตั้ง ซื่อและคำอธิบาย เป็นต้น โดยมีโครงสร้างฐานข้อมูลแสดงรายละเอียดของข้อมูลกายภาพแต่ละประเภท เชื่อมโยงกับข้อมูลกายภาพ เพื่อใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมด้านผังเมือง ประกอบด้วย การวางผังเมือง การวางผังเฉพาะพื้นที่ การปรับปรุงฟื้นนฟูเมือง การจัดรูปที่ดินและการควบคุมทางผังเมือง และด้วยในฐานะผู้รับผิดชอบการจัดทำ ปรับปรุง แก้ไข ค้นคว้าศึกษาและพัฒนาคุณภาพ ข้อมูลแผนที่ในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) และวิธีการอันจะได้มาซึ่งข้อมูลแผนที่ที่มีความทันสมัย ถูกต้อง มีความแม่นยำสูง และลดการซ้ำซ้อน จึงได้ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงว่าด้วยการขอใช้ประโยชน์ข้อมูลทะเบียนประวัติราษฎรจากฐานข้อมูลทะเบียนกลางด้วยระบบคอมพิวเตอร์ โดยวิธีการเชื่อมโยงข้อมูลทาง อิเล็กทรอนิกส์ (ONLINE) ของสำนักทะเบียนกลางกรมการปกครอง เพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาเมืองที่สำคัญ การบริหารจัดการมหานครให้มีประสิทธิภาพย่อมต้องคำนึงถึงการตอบสนองความต้องการของคนทุกกลุ่ม ที่อาศัยในมหานครนั้น ๆ กลุ่มคนกลุ่มหนึ่งที่ภาครัฐต้องเข้าไปให้การสนับสนุนและช่วยเหลือ เพื่อให้สามารถดูแลตนเองหรือดำรงชีพได้อย่างมีศักดิ์ศรีตามศักยภาพของตนเอง คือ กลุ่มผู้สูงอายุ ซึ่งเป็นกลุ่มคนที่มักจะถูกมองว่าเป็นภาระของสังคม และถูกละเลยการเอาใจใส่อย่างจริงจังในการพัฒนาศักยภาพให้สามารถเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างความก้าวหน้าให้กับสังคม ด้วยผู้สูงอายุ หมายถึง บุคคลที่มีอายุ ๖๐ ปีบริบูรณ์ขึ้นไป (ที่มา: พระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. ๒๕๔๖) ซึ่งจะเป็นกลุ่มที่มีการใช้ชีวิตที่ไม่คล่องแคล่วว่องไวเหมือนผู้ที่ยังมีอายุน้อย แม้ผู้สูงอายุจะต่างจากคนพิการ แต่สมรรถภาพในการมองเห็น เคลื่อนไหว ได้ยินหรือแม้แต่การคิดต่าง ๆ ก็ลดน้อยถอยลงไม่ต่างจากคนพิการนัก ที่ผ่านมากรุงเทพมหานครได้จัดหาสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้สูงอายุที่จะช่วยการใช้ชีวิตภายนอกที่อยู่อาศัยของผู้สูงอายุมีความสะดวกมากขึ้น โดยเป็นไปตามกฎกระทรวงกำหนดสิ่งอำนวยความสะดวกในอาคารสำหรับผู้พิการหรือทุพพลภาพ และคนชรา พ.ศ.๒๔๔๘ ได้แก่ ทางลาด ห้องน้ำ ป้ายสัญลักษณ์ ที่จอดรถ บริการ ข้อมูล และอื่น ๆ (รถเข็นสำหรับคนพิการ ลิฟต์สำหรับคนพิการ ช่องทาง fast track ฉลากซองยาอักษรเบลล์ และ ไม้เท้าสี่ขา) เป็นต้น อย่างไรก็ตามกลุ่มผู้สูงอายุมีแนวโน้มที่จะมีสัดส่วนเพิ่มมากขึ้น โดยพบว่ากลุ่มผู้สูงอายุ สัญชาติไทยที่มีอายุ ๖๑ ปีขึ้นไป และมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน ณ เดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ มีจำนวน ๘๖๘,๓๘๖ คน คิดเป็นร้อยละ ๑๕.๗๘ เมื่อเทียบกับจำนวนประชากรในกรุงเทพมหานคร ๕,๕๐๒,๙๒๙ คน ซึ่งเพิ่มจากปี พ.ศ. ๒๕๔๙ ถึง ๓๒๙,๓๐๓ คน จากคำแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรีโดยพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชานายกรัฐมนตรีที่ได้แถลงนโยบายต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติเมื่อวันที่๑๖กันยายนพ.ศ.๒๕๕๗ ข้อที่ ๓ การลดความเหลื่อมล้ำของสังคมและการสร้างโอกาศเข้าถึงบริการของรัฐ ในข้อ ๓.๔ ได้พูดถึงเป้านโยบายของรัฐบาลนี้ที่ต้องการให้มีการเตรียมความพร้อมเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยระบุว่า “...เพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตและการมีงานหรือกิจกรรมที่เหมาะสม เพื่อสร้างสรรค์และไม่ก่อภาระต่อสังคมในอนาคตโดยจัดเตรียมระบบการดูแลในบ้าน สถานพักฟื้นและโรงพยาบาล ที่เป็นความร่วมมือของภาครัฐ ภาคเอกชน ชุมชน และครอบครัวรวมทั้งพัฒนาระบบการเงินการคลังสำหรับการดูแลผู้สูงอายุ” นอกจากนี้แผนปฏิบัติการกรุงเทพมหานครประจำปีพ.ศ.๒๕๖๑ ได้กำหนดเป้าประสงค์ด้านยุทธศาสตร์ของกรุงเทพมหานครในอนาคต ในด้านที่๓ มหานครสำหรับทุกคน โดยได้พูดถึงมิติของผู้สูงอายุ ผู้พิการ และผู้ด้อยโอกาศ ก็ได้ให้ความสำคัญต่อการเตรียมตัวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุจากแนวโน้มการเพิ่มอัตราผู้สูงอายุในสังคมปัจจุบันจะเพิ่มขึ้นทุกปี เพื่อให้สอดรับกับนโยบายของรัฐบาลตามที่ท่านนายกรัฐมนตรีแถลงต่อรัฐสภา และสอดคล้องกับมาตรการและนโยบายของกรุงเทพมหานครที่จะเตรียมรองรับการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุสำนักผังเมืองจึงมีความจำเป็นที่จะต้องบูรณาการข้อมูลรายการบุคคลจาก ฐานข้อมูลทะเบียนกลาง โดยเชื่อมโยงกับฐานข้อมูลสารสนเทศภูมิศาสตร์ของสำนักผังเมือง ซึ่งหากไม่ดำเนินโครงการดังกล่าว อาจทำให้ข้อมูลแผนที่เซิงเลขไม่ถูกต้องและทันสมัย การช่วยเหลือหรือให้บริการผู้สูงอายุอาจไม่ทันการ กองสำรวจและแผนที่จึงมีความจำเป็นต้องดำเนินโครงการบูรณาการข้อมูลแผนที่ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) กับข้อมูลทะเบียนราษฎรของกรมการปกครอง เพื่อรองรับบริการสาธารณะที่เหมาะสมกับสังคมผู้สูงอายุ ที่จะมีการเปลี่ยนแปลงก่อนจะเป็นปัญหาใหญ่ต่อไปในอนาคต 1. เพื่อจัดทำฐานข้อมูลรายการบ้าน พร้อมตำแหน่งพิกัดภูมิศาสตร์ ครอบคลุมพื้นที่กรุงเทพมหานคร 2. เพื่อเชื่อมโยงข้อมูลอาคารของสำนักผังเมืองและทะเบียนราษฎร ของสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง และทำการวิเคราะห์ให้ทราบถึงที่ตั้งของผู้สูงอายุและอาคารที่พักอาศัย 3. เพื่อทราบถึงความเพียงพอบริการสาธารณะที่จำเป็นของกรุงเทพมหานครต่อผู้สูงอายุ 4. เพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์ของกรุงเทพมหานครและกรมการปกครอง ในการบูรณาการข้อมูลร่วมกันอย่างเป็นระบบ 1. กรุงเทพมหานคร มีระบบการให้บริการแผนที่สารสนเทศภูมิศาสตร์ GIS สำหรับการแลกเปลี่ยนการเชื่อมโยงข้อมูลรายการบ้านกับกรมการปกครอง ตามบันทึกข้อตกลงว่าด้วยการขอให้ประโยชน์ข้อมูลทะเบียนราษฎร์กลางด้วยระบบคอมพิวเตอร์ โดยวิธีการเชื่อมโยงข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ (Online) ของสำนักทะเบียนราษฎร์ กรมการปกครอง และข้อมูลแผนที่ในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ กรุงเทพมหานคร 2. เพื่อให้กรุงเทพมหานคร มีชั้นข้อมูลอาคารในระบบสารสนเทศภูมมิศาสตร์ เชื่อมโยงข้อมูล รายการบ้านกับในฐานข้อมูลทะเบียนประวัติราษฎรจากฐานข้อมูลทะเบียนกลาง ของสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครองโดยรวม เพื่อประโยชน์ในการศึกษาลักษณะประชากรทั้งหมดและวิเคราะห์ 3. เพื่อทราบความเหมาะสมของการบริการสาธารณะที่จำเป็นรองรับผู้สูงอายุในปัจจุบัน (สำหรับอายุ ๖๐ ปี ขึ้นไป) และวางแผนอนาคตรองรับบริการประชาชนกำลังเข้าสู้วัยผู้สูงอายุ (ช่วงอายุตั้งแต่ ๕๕ ปีถึงอายุ ๖๐ ปี) 4. เพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายของนายกรัฐมนตรีตามนโยบายของรัฐบาลที่ท่านนายกรัฐมนตรีแถลงต่อรัฐสภา และสอดคล้องกับมาตรการและนโยบายของกรุงเทพมหานครที่จะเตรียมรองรับการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ 10,000,000.00 1,497,786.00 สำนักการวางผังและพัฒนาเมือง 2017-10-01 00:00:00 2018-09-30 00:00:00 กำลังดำเนินการ 75.00
5 7.0.1.
ด้านที่ ๗ – การบริหารจัดการเมืองมหานคร : Management Strategy
4.2.1 2561 กิจกรรมการปรับปรุงข้อมูลบนเว็บไซต์ของสำนักผังเมือง กรุงเทพมหานครได้กำหนดกรอบการประเมินผลการปฏิบัติราชการของหน่วยงาน กลยุทธ์พัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศในการปฏิบัติราชการ เพื่อมุ่งสู่การเป็นหน่วยงานอิเล็กทรอนิกส์ ตัวชี้วัด การปรับปรุงข้อมูลในเว็บไซต์ทุก 15 วัน สำนักผังเมืองจึงได้มีการแต่งตั้งคณะทำงานควบคุมดูแลเว็บไซต์และ Facebook สำนักผังเมือง เพื่อดำเนินการบริการข้อมูลผังเมืองผ่านระบบอินเตอร์เน็ตให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและมีประสิทธิภาพและดำเนินการปรับปรุงข้อมูลข่าวสารและยังเป็นการประชาสัมพันธ์กิจกรรมของสำนักผังเมืองในเว็บไซต์ของหน่วยงานเพื่อให้เป็นปัจจุบัน และรายงานให้ผู้บริหารทราบ - เพื่อพัฒนาและปรับปรุงเว็บไซต์ของสำนักผังเมือง - เพื่อเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร และความรู้ด้านผังเมือง - ประชาสัมพันธ์กิจกรรมของสำนักผังเมือง - ปรับปรุงเว็บไซต์ของสำนักผังเมืองอย่างน้อย 12 ครั้ง/ปี - ส่งรายงานเรื่องการปรับปรุงเว็บไซต์ของสำนักผังเมืองเสนอผู้บริหาร เดือนละหนึ่งครั้ง 0.00 0.00 สำนักการวางผังและพัฒนาเมือง 2017-10-01 00:00:00 2018-09-30 00:00:00 แล้วเสร็จ 100.00
6 7.0.1.
ด้านที่ ๗ – การบริหารจัดการเมืองมหานคร : Management Strategy
3.1. 2561 ค่าใช้จ่ายในการปรับปรุงระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ของสำนักผังเมือง ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ของสำนักผังเมือง เริ่มใช้งานเมื่อปี พ.ศ. 2546 เพื่อใช้เป็นศูนย์กลางในเชื่อมโยงระบบสารสนเทศของกรุงเทพมหานคร และหน่วยงานภายนอก ได้แก่ ระบบ MIS ระบบหนังสือเวียน ระบบภูมิสารสนเทศบนระบบเครือข่าย สำหรับศูนย์บริการข้อมูลเมือง (One Stop Service Center) ซึ่งระบบดังกล่าวมีอายุการใช้งานมากกว่า 10 ปี ทำให้ระบบมีปัญหาการทำงานของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ดังนี้ 1. เป็นเทคโนโลยีที่ล้าสมัย ไม่รองรับการใช้งานที่เพิ่มมากขึ้นในปัจจุบัน 2. ปัจจุบันสำนักผังเมืองมีข้อมูลขนาดใหญ่จำนวนมาก จึงเกิดปัญหาการโอนย้ายข้อมูลทำได้ช้า 3. ไม่รองรับระบบคอมพิวเตอร์รุ่นใหม่ และ Smart Device ทำให้ไม่สามารถเชื่อมต่อระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ได้ 4. ข่ายสายสัญญาณเก่ารับส่งสัญญาณได้น้อย 5. การกระจายจุดเชื่อมโยงระบบไม่ทั่วถึง 6. ระบบป้องกันภัยคุกคามของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์เป็นระบบเก่า ทำให้ระบบฐานข้อมูลของสำนักผังเมืองมีความเสี่ยงถูกภัยคุกคามจากภายนอกเข้าโจมตี ดังนั้น การปรับปรุงระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ จึงมีความจำเป็นเพื่อให้สามารถสนับสนุนนโยบายและการบริหารงานส่วนกลาง และสนับสนุนให้การดำเนินงานของสำนักผังเมืองโดยองค์รวมประสบความสำเร็จอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งการปรับปรุงในครั้งนี้เป็นการทดแทนของเดิมที่เป็นอุปกรณ์เก่าและมีอายุ ใช้งานมากกว่า 10 ปี เพื่อให้ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ สามารถรองรับการใช้งานของผู้ใช้งานภายในสำนัก ผังเมือง และเชื่อมโยงกับระบบสารสนเทศของกรุงเทพมหานครที่ปรับปรุงใหม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้สำนักผังเมืองมีระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ มีโครงสร้างพื้นฐานที่มีความมั่นคง สามารถสนับสนุน นโยบายและการบริหารงานส่วนกลางสามารถสนับสนุนให้การดำเนินงานของสำนักโดยองค์รวมประสบความสำเร็จอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถเชื่อมโยงการปฏิบัติงานของผู้ปฏิบัติงานทุกระดับ เกิดการบูรณาการ และเชื่อมโยงกับทุกหน่วยงานภายในสำนักผังเมือง และเชื่อมโยงกับระบบสารสนเทศของกรุงเทพมหานคร สามารถให้การบริการได้อย่างต่อเนื่องและพร้อมใช้งาน โดยไม่เกิดอุปสรรคในการปฏิบัติงานของหน่วยงานภายในและภายนอก จึงเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งเพราะช่วยให้การโอนย้ายข้อมูลสามารถเชื่อมโยงและเข้าถึงได้อย่างรวดเร็ว ทำให้ผู้รับบริการด้านข้อมูลสามารถรับทราบข้อมูลข่าวสารด้านการบริหารจัดการเมือง และนโยบายต่าง ๆ ด้วยความรวดเร็ว ทันต่อเหตุการณ์ ดำเนินการปรับปรุงระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ของสำนักผังเมือง ดังนี้ 1. จัดหาและติดตั้งระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์สำหรับระบบเครือข่ายมีสาย 2. จัดหาและติดตั้งระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์สำหรับระบบเครือข่ายไร้สาย 3. จัดหาและติดตั้งระบบบริหารจัดการระบบเครือข่าย 4. จัดหาและติดตั้งระบบรักษาความปลอดภัยจากภัยคุกคามจากภายนอก 5. จัดหาและติดตั้งระบบพิสูจน์ตัวตนเพื่อตรวจสอบสิทธิ์ของผู้ใช้งานระบบเครือข่าย 6. จัดหาและติดตั้งสายใยแก้วระหว่างอาคาร และภายในอาคาร 7. การติดตั้งสายสัญญาณอย่างน้อยเป็น UTP Category 6 จากสวิตช์ไปยังเต้ารับแบบ Structure Cabling ไม่น้อยกว่า 250 จุด 8. จัดหาและติดตั้งเครื่องสํารองไฟฟ้า (UPS) 9. จัดหาและติดตั้งระบบสายส่งกระแสไฟฟ้า รองรับการปรับปรุงระบบทั้งหมด 7,000,000.00 4,868,500.00 สำนักการวางผังและพัฒนาเมือง 2017-10-01 00:00:00 2018-09-30 00:00:00 แล้วเสร็จ 100.00
7 4.0.1.
ด้านที่ ๔ – มหานครกระชับ : Bangkok as a Compact City
4.2. 2562 ค่าใช้จ่ายในการปรับปรุงข้อมูลแผนที่เชิงเลขมาตราส่วน ๑:๔,๐๐๐ และจัดทำข้อมูลภูมิประเทศและระดับชั้นความสูง เพื่อพัฒนาระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อการผังเมือง สำนักผังเมืองได้จัดทำแผนที่มาตราส่วน ๑:๔,๐๐๐ ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ๕๐ เขต แสดงลักษณะทางกายภาพของกลุ่มข้อมูล เช่น ถนน อาคาร สถานที่ตั้ง ชื่อและคำอธิบาย เป็นต้น โดยมีโครงสร้างฐานข้อมูลแสดงรายละเอียดของข้อมูลกายภาพแต่ละประเภท รวมทั้งการใช้ประโยชน์ที่ดินและอาคาร เชื่อมโยงกับข้อมูลกายภาพ ได้ดำเนินการตั้งแต่ปี ๒๕๔๒ และใช้งานอยู่ในปัจจุบัน มีการปรับปรุงแผนที่การใช้ประโยชน์ที่ดินและอาคารครั้งล่าสุดในปี ๒๕๔๙ ในช่วงปี พ.ศ.2550-2559พบว่า มีอาคารที่เกิดขึ้นใหม่และมีการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินเพิ่มมากขึ้นในอัตราค่อนข้างสูง และยังพบว่ามีระบบสาธารณูปโภคต่างๆ เพิ่มขึ้นในอัตราใกล้เคียงกัน รวมถึงปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงระบบเลขที่บ้าน ชื่อถนน ตรอก ซอยต่างๆ ใหม่ มากกว่า 35 เขต สำนักผังเมืองฐานะผู้รับผิดชอบในการจัดทำ ปรับปรุง ค้นคว้าศึกษาและพัฒนาคุณภาพข้อมูลแผนที่ในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) และวิธีการอันจะได้มาซึ่งข้อมูลแผนที่ที่มีความทันสมัย ถูกต้องแม่นยำสูง ทั้งข้อมูลเชิงพื้นที่และเชิงบรรยายทุกมาตราส่วนในพื้นที่กรุงเทพมหานคร และเป็นผู้ใช้ข้อมูลแผนที่ในการจัดทำผังเมืองรวมและวางผังเฉพาะ และหน่วยงานต่างๆของกรุงเทพมหานคร เช่น สำนักการโยธา สำนักการระบายน้ำ สำนักการจราจรและขนส่ง สำนักการแพทย์ เป็นต้น ได้นำข้อมูลไปใช้ในการบริหารงานในภารกิจที่รับผิดชอบ โดยเฉพาะช่วงเกิดอุทกภัยในปี ๒๕๕๔ มีหน่วยงานของภาครัฐและภาคเอกชนหลายราย มาขอรับบริการข้อมูลแผนที่ไปใช้ในการวางแผนและบริหารจัดการ จึงจำเป็นจะต้องมีข้อมูลที่ถูกต้องและเป็นปัจจุบันเพื่อให้บริการ และเป็นข้อมูลสำคัญในการจัดทำกฎกระทรวงผังเมืองรวมให้มีความถูกต้อง อนี่ง พระราชบัญญัติการผังเมือง (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2558 “มาตรา ๑๗ ความว่า ผังเมืองประกอบด้วย (๒) แผนที่แสดงเขตของผังเมืองรวมโดยแสดงข้อมูลภูมิประเทศและระดับชั้นความสูง ซึ่งกองสำรวจและแผนที่จะต้องดำเนินการจัดทำแผนที่แสดงข้อมูลภูมิประเทศและระดับชั้นความสูงให้แล้วเสร็จ รวมทั้งจัดเตรียมข้อมูลพื้นฐานสำหรับให้บริการแก่หน่วยงานทั้งภายในและภายนอกกรุงเทพมหานคร หน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ เอกชน นิสิต นักศึกษา และประชาชนทั่วไป จากเหตุผลข้างต้น หากไม่ดำเนินโครงการฯ หรือดำเนินการล่าช้า ข้อมูลแผนที่เชิงเลขไม่ถูกต้องและทันสมัย อาจเกิดความเสียหายแก่กรุงเทพมหานครได้ กองสำรวจและแผนที่ สำนักผังเมือง จึงมีความจำเป็นต้องดำเนินโครงการปรับปรุงข้อมูลแผนที่เชิงเลขมาตราส่วน ๑:๔,๐๐๐ และจัดทำข้อมูลภูมิประเทศและระดับชั้นความสูง เพื่อพัฒนาระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อการผังเมืองครอบคลุมพื้นที่ทั้ง ๕๐ เขตของกรุงเทพมหานคร กรุงเทพมหานครมีความประสงค์จะว่าจ้างดำเนินการปรับปรุงข้อมูลแผนที่เชิงเลขมาตราส่วน ๑:๔,๐๐๐ ข้อมูลภูมิประเทศและระดับชั้นความสูง เพื่อพัฒนาระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อการผังเมือง ครอบคลุมพื้นที่กรุงเทพมหานคร โดยโครงการที่ว่าจ้างนี้จะต้องมีรายละเอียดตามวัตถุประสงค์ ดังต่อไปนี้ ๒.๑ เพื่อจัดทำแผนที่ภาพถ่ายความละเอียดสูง ข้อมูลความสูงภูมิประเทศเชิงเลข และระดับชั้นความสูง ๒.๒ เพื่อปรับปรุงข้อมูลแผนที่เชิงเลขมาตราส่วน 1:4,000 จากแผนที่ภาพถ่ายความละเอียดสูง ในกลุ่มชั้นข้อมูลแผนที่ฐานและถ่ายโอนข้อมูลเชิงบรรยายที่สำนักผังเมืองมีอยู่ ไปสู่กลุ่มชั้นข้อมูลแผนที่ฐานที่ทำการปรับปรุงแล้วเสร็จ เพื่อจัดทำแผนที่แสดงการใช้ประโยชน์ที่ดินและอาคาร ๒.๓ เพื่อศึกษาและออกแบบปรับปรุงโครงสร้างฐานข้อมูลแผนที่เชิงเลข ให้สอดคล้องกับข้อมูลที่จะทำการปรับปรุง พร้อมจัดทำคำอธิบายชุดข้อมูลแผนที่ภาพถ่าย และจัดทำชุดข้อมูลสถานที่สำคัญ (Point of Interest) 3.1 เพื่อให้กรุงเทพมหานคร มีระบบข้อมูลแผนที่เชิงเลขมาตราส่วน 1:4,000 ที่ถูกต้อง น่าเชื่อถือและทันสมัย 3.2 เพื่อให้กรุงเทพมหานคร มีข้อมูลภูมิประเทศและระดับชั้นความสูง ที่เป็นไปตามพระราชบัญญัติการผังเมือง (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2558 “มาตรา ๑๗ ความว่า ผังเมืองประกอบด้วย (๒) แผนที่แสดงเขตของผังเมืองรวมโดยแสดงข้อมูลภูมิประเทศและระดับชั้นความสูง 3.3 เพื่อบริการข้อมูลแผนที่เชิงเลขมาตราส่วน 1:4,000 ให้แก่หน่วยงานของกรุงเทพมหานครและหน่วยงานภายนอก รัฐวิสาหกิจ เอกชน นิสิต นักศึกษา และประชาชนทั่วไป 70,000,000.00 13,939,960.00 สำนักการวางผังและพัฒนาเมือง 2018-10-01 00:00:00 2019-09-30 00:00:00 กำลังดำเนินการ 56.00
8 4.0.1.
ด้านที่ ๔ – มหานครกระชับ : Bangkok as a Compact City
4.2. 2562 ค่าใช้จ่ายในการบูรณาการข้อมูลแผนที่ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) กับข้อมูลทะเบียนราษฎร ของกรมการปกครอง สำนักผังเมือง ได้จัดทำแผนที่ในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) ครอบคลุมพื้นที่กรุงเทพมหานคร ๕๐ เขต แสดงลักษณะทางกายภาพของกลุ่มข้อมูล เซ่น ถนน อาคาร สถานที่ตั้ง ซื่อและคำอธิบาย เป็นต้น โดยมีโครงสร้างฐานข้อมูลแสดงรายละเอียดของข้อมูลกายภาพแต่ละประเภท เชื่อมโยงกับข้อมูลกายภาพ เพื่อใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมด้านผังเมือง ประกอบด้วย การวางผังเมือง การวางผังเฉพาะพื้นที่ การปรับปรุงฟื้นนฟูเมือง การจัดรูปที่ดินและการควบคุมทางผังเมือง และด้วยในฐานะผู้รับผิดชอบการจัดทำ ปรับปรุง แก้ไข ค้นคว้าศึกษาและพัฒนาคุณภาพ ข้อมูลแผนที่ในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) และวิธีการอันจะได้มาซึ่งข้อมูลแผนที่ที่มีความทันสมัย ถูกต้อง มีความแม่นยำสูง และลดการซ้ำซ้อน จึงได้ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงว่าด้วยการขอใช้ประโยชน์ข้อมูลทะเบียนประวัติราษฎรจากฐานข้อมูลทะเบียนกลางด้วยระบบคอมพิวเตอร์ โดยวิธีการเชื่อมโยงข้อมูลทาง อิเล็กทรอนิกส์ (ONLINE) ของสำนักทะเบียนกลางกรมการปกครอง เพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาเมืองที่สำคัญ การบริหารจัดการมหานครให้มีประสิทธิภาพย่อมต้องคำนึงถึงการตอบสนองความต้องการของคนทุกกลุ่ม ที่อาศัยในมหานครนั้น ๆ กลุ่มคนกลุ่มหนึ่งที่ภาครัฐต้องเข้าไปให้การสนับสนุนและช่วยเหลือ เพื่อให้สามารถดูแลตนเองหรือดำรงชีพได้อย่างมีศักดิ์ศรีตามศักยภาพของตนเอง คือ กลุ่มผู้สูงอายุ ซึ่งเป็นกลุ่มคนที่มักจะถูกมองว่าเป็นภาระของสังคม และถูกละเลยการเอาใจใส่อย่างจริงจังในการพัฒนาศักยภาพให้สามารถเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างความก้าวหน้าให้กับสังคม ด้วยผู้สูงอายุ หมายถึง บุคคลที่มีอายุ ๖๐ ปีบริบูรณ์ขึ้นไป (ที่มา: พระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. ๒๕๔๖) ซึ่งจะเป็นกลุ่มที่มีการใช้ชีวิตที่ไม่คล่องแคล่วว่องไวเหมือนผู้ที่ยังมีอายุน้อย แม้ผู้สูงอายุจะต่างจากคนพิการ แต่สมรรถภาพในการมองเห็น เคลื่อนไหว ได้ยินหรือแม้แต่การคิดต่าง ๆ ก็ลดน้อยถอยลงไม่ต่างจากคนพิการนัก ที่ผ่านมากรุงเทพมหานครได้จัดหาสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้สูงอายุที่จะช่วยการใช้ชีวิตภายนอกที่อยู่อาศัยของผู้สูงอายุมีความสะดวกมากขึ้น โดยเป็นไปตามกฎกระทรวงกำหนดสิ่งอำนวยความสะดวกในอาคารสำหรับผู้พิการหรือทุพพลภาพ และคนชรา พ.ศ.๒๔๔๘ ได้แก่ ทางลาด ห้องน้ำ ป้ายสัญลักษณ์ ที่จอดรถ บริการ ข้อมูล และอื่น ๆ (รถเข็นสำหรับคนพิการ ลิฟต์สำหรับคนพิการ ช่องทาง fast track ฉลากซองยาอักษรเบลล์ และ ไม้เท้าสี่ขา) เป็นต้น อย่างไรก็ตามกลุ่มผู้สูงอายุมีแนวโน้มที่จะมีสัดส่วนเพิ่มมากขึ้น โดยพบว่ากลุ่มผู้สูงอายุ สัญชาติไทยที่มีอายุ ๖๑ ปีขึ้นไป และมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน ณ เดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ มีจำนวน ๘๖๘,๓๘๖ คน คิดเป็นร้อยละ ๑๕.๗๘ เมื่อเทียบกับจำนวนประชากรในกรุงเทพมหานคร ๕,๕๐๒,๙๒๙ คน ซึ่งเพิ่มจากปี พ.ศ. ๒๕๔๙ ถึง ๓๒๙,๓๐๓ คน จากคำแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรีโดยพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชานายกรัฐมนตรีที่ได้แถลงนโยบายต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติเมื่อวันที่๑๖กันยายนพ.ศ.๒๕๕๗ ข้อที่ ๓ การลดความเหลื่อมล้ำของสังคมและการสร้างโอกาศเข้าถึงบริการของรัฐ ในข้อ ๓.๔ ได้พูดถึงเป้านโยบายของรัฐบาลนี้ที่ต้องการให้มีการเตรียมความพร้อมเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยระบุว่า “...เพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตและการมีงานหรือกิจกรรมที่เหมาะสม เพื่อสร้างสรรค์และไม่ก่อภาระต่อสังคมในอนาคตโดยจัดเตรียมระบบการดูแลในบ้าน สถานพักฟื้นและโรงพยาบาล ที่เป็นความร่วมมือของภาครัฐ ภาคเอกชน ชุมชน และครอบครัวรวมทั้งพัฒนาระบบการเงินการคลังสำหรับการดูแลผู้สูงอายุ” นอกจากนี้แผนปฏิบัติการกรุงเทพมหานครประจำปีพ.ศ.๒๕๖๑ ได้กำหนดเป้าประสงค์ด้านยุทธศาสตร์ของกรุงเทพมหานครในอนาคต ในด้านที่๓ มหานครสำหรับทุกคน โดยได้พูดถึงมิติของผู้สูงอายุ ผู้พิการ และผู้ด้อยโอกาศ ก็ได้ให้ความสำคัญต่อการเตรียมตัวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุจากแนวโน้มการเพิ่มอัตราผู้สูงอายุในสังคมปัจจุบันจะเพิ่มขึ้นทุกปี เพื่อให้สอดรับกับนโยบายของรัฐบาลตามที่ท่านนายกรัฐมนตรีแถลงต่อรัฐสภา และสอดคล้องกับมาตรการและนโยบายของกรุงเทพมหานครที่จะเตรียมรองรับการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุสำนักผังเมืองจึงมีความจำเป็นที่จะต้องบูรณาการข้อมูลรายการบุคคลจาก ฐานข้อมูลทะเบียนกลาง โดยเชื่อมโยงกับฐานข้อมูลสารสนเทศภูมิศาสตร์ของสำนักผังเมือง ซึ่งหากไม่ดำเนินโครงการดังกล่าว อาจทำให้ข้อมูลแผนที่เซิงเลขไม่ถูกต้องและทันสมัย การช่วยเหลือหรือให้บริการผู้สูงอายุอาจไม่ทันการ กองสำรวจและแผนที่จึงมีความจำเป็นต้องดำเนินโครงการบูรณาการข้อมูลแผนที่ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) กับข้อมูลทะเบียนราษฎรของกรมการปกครอง เพื่อรองรับบริการสาธารณะที่เหมาะสมกับสังคมผู้สูงอายุ ที่จะมีการเปลี่ยนแปลงก่อนจะเป็นปัญหาใหญ่ต่อไปในอนาคต 1. เพื่อจัดทำฐานข้อมูลรายการบ้าน พร้อมตำแหน่งพิกัดภูมิศาสตร์ ครอบคลุมพื้นที่กรุงเทพมหานคร 2. เพื่อเชื่อมโยงข้อมูลอาคารของสำนักผังเมืองและทะเบียนราษฎร ของสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง และทำการวิเคราะห์ให้ทราบถึงที่ตั้งของผู้สูงอายุและอาคารที่พักอาศัย 3. เพื่อทราบถึงความเพียงพอบริการสาธารณะที่จำเป็นของกรุงเทพมหานครต่อผู้สูงอายุ 4. เพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์ของกรุงเทพมหานครและกรมการปกครอง ในการบูรณาการข้อมูลร่วมกันอย่างเป็นระบบ 1. กรุงเทพมหานคร มีระบบการให้บริการแผนที่สารสนเทศภูมิศาสตร์ GIS สำหรับการแลกเปลี่ยนการเชื่อมโยงข้อมูลรายการบ้านกับกรมการปกครอง ตามบันทึกข้อตกลงว่าด้วยการขอให้ประโยชน์ข้อมูลทะเบียนราษฎร์กลางด้วยระบบคอมพิวเตอร์ โดยวิธีการเชื่อมโยงข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ (Online) ของสำนักทะเบียนราษฎร์ กรมการปกครอง และข้อมูลแผนที่ในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ กรุงเทพมหานคร 2. เพื่อให้กรุงเทพมหานคร มีชั้นข้อมูลอาคารในระบบสารสนเทศภูมมิศาสตร์ เชื่อมโยงข้อมูล รายการบ้านกับในฐานข้อมูลทะเบียนประวัติราษฎรจากฐานข้อมูลทะเบียนกลาง ของสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครองโดยรวม เพื่อประโยชน์ในการศึกษาลักษณะประชากรทั้งหมดและวิเคราะห์ 3. เพื่อทราบความเหมาะสมของการบริการสาธารณะที่จำเป็นรองรับผู้สูงอายุในปัจจุบัน (สำหรับอายุ ๖๐ ปี ขึ้นไป) และวางแผนอนาคตรองรับบริการประชาชนกำลังเข้าสู้วัยผู้สูงอายุ (ช่วงอายุตั้งแต่ ๕๕ ปีถึงอายุ ๖๐ ปี) 4. เพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายของนายกรัฐมนตรีตามนโยบายของรัฐบาลที่ท่านนายกรัฐมนตรีแถลงต่อรัฐสภา และสอดคล้องกับมาตรการและนโยบายของกรุงเทพมหานครที่จะเตรียมรองรับการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ 8,487,454.00 7,789,047.12 สำนักการวางผังและพัฒนาเมือง 2018-10-01 00:00:00 2019-09-30 00:00:00 แล้วเสร็จ 100.00
9 7.0.1.
ด้านที่ ๗ – การบริหารจัดการเมืองมหานคร : Management Strategy
4.2. 2562 กิจกรรมการปรับปรุงข้อมูลบนเว็บไซต์ของสำนักการวางผังและพัฒนาเมือง กรุงเทพมหานครได้กำหนดกรอบการประเมินผลการปฏิบัติราชการของหน่วยงาน กลยุทธ์พัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศในการปฏิบัติราชการ เพื่อมุ่งสู่การเป็นหน่วยงานอิเล็กทรอนิกส์ สำนักผังเมืองจึงได้มีการแต่งตั้งคณะทำงานควบคุมดูแลเว็บไซต์และ Facebook สำนักผังเมือง เพื่อดำเนินการบริการข้อมูลผังเมืองผ่านระบบอินเตอร์เน็ตให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและมีประสิทธิภาพและดำเนินการปรับปรุงข้อมูลข่าวสารและยังเป็นการประชาสัมพันธ์กิจกรรมของสำนักผังเมืองในเว็บไซต์ของหน่วยงานเพื่อให้เป็นปัจจุบัน และรายงานให้ผู้บริหารทราบ - เพื่อพัฒนาและปรับปรุงเว็บไซต์ของสำนักผังเมือง - เพื่อเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร และความรู้ด้านผังเมือง - ประชาสัมพันธ์กิจกรรมของสำนักผังเมือง - ปรับปรุงเว็บไซต์ของสำนักผังเมืองอย่างน้อย 12 ครั้ง/ปี - ส่งรายงานเรื่องการปรับปรุงเว็บไซต์ของสำนักผังเมืองเสนอผู้บริหาร เดือนละหนึ่งครั้ง 0.00 0.00 สำนักการวางผังและพัฒนาเมือง 2018-10-01 00:00:00 2019-09-30 00:00:00 แล้วเสร็จ 100.00
10 4.0.1.
ด้านที่ ๔ – มหานครกระชับ : Bangkok as a Compact City
4.2. 2563 ค่าใช้จ่ายในการปรับปรุงข้อมูลแผนที่เชิงเลขมาตราส่วน ๑:๔,๐๐๐ และจัดทำข้อมูลภูมิประเทศและระดับชั้นความสูง เพื่อพัฒนาระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อการผังเมือง สำนักผังเมืองได้จัดทำแผนที่มาตราส่วน ๑:๔,๐๐๐ ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ๕๐ เขต แสดงลักษณะทางกายภาพของกลุ่มข้อมูล เช่น ถนน อาคาร สถานที่ตั้ง ชื่อและคำอธิบาย เป็นต้น โดยมีโครงสร้างฐานข้อมูลแสดงรายละเอียดของข้อมูลกายภาพแต่ละประเภท รวมทั้งการใช้ประโยชน์ที่ดินและอาคาร เชื่อมโยงกับข้อมูลกายภาพ ได้ดำเนินการตั้งแต่ปี ๒๕๔๒ และใช้งานอยู่ในปัจจุบัน มีการปรับปรุงแผนที่การใช้ประโยชน์ที่ดินและอาคารครั้งล่าสุดในปี ๒๕๔๙ ในช่วงปี พ.ศ.2550-2559พบว่า มีอาคารที่เกิดขึ้นใหม่และมีการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินเพิ่มมากขึ้นในอัตราค่อนข้างสูง และยังพบว่ามีระบบสาธารณูปโภคต่างๆ เพิ่มขึ้นในอัตราใกล้เคียงกัน รวมถึงปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงระบบเลขที่บ้าน ชื่อถนน ตรอก ซอยต่างๆ ใหม่ มากกว่า 35 เขต สำนักผังเมืองฐานะผู้รับผิดชอบในการจัดทำ ปรับปรุง ค้นคว้าศึกษาและพัฒนาคุณภาพข้อมูลแผนที่ในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) และวิธีการอันจะได้มาซึ่งข้อมูลแผนที่ที่มีความทันสมัย ถูกต้องแม่นยำสูง ทั้งข้อมูลเชิงพื้นที่และเชิงบรรยายทุกมาตราส่วนในพื้นที่กรุงเทพมหานคร และเป็นผู้ใช้ข้อมูลแผนที่ในการจัดทำผังเมืองรวมและวางผังเฉพาะ และหน่วยงานต่างๆของกรุงเทพมหานคร เช่น สำนักการโยธา สำนักการระบายน้ำ สำนักการจราจรและขนส่ง สำนักการแพทย์ เป็นต้น ได้นำข้อมูลไปใช้ในการบริหารงานในภารกิจที่รับผิดชอบ โดยเฉพาะช่วงเกิดอุทกภัยในปี ๒๕๕๔ มีหน่วยงานของภาครัฐและภาคเอกชนหลายราย มาขอรับบริการข้อมูลแผนที่ไปใช้ในการวางแผนและบริหารจัดการ จึงจำเป็นจะต้องมีข้อมูลที่ถูกต้องและเป็นปัจจุบันเพื่อให้บริการ และเป็นข้อมูลสำคัญในการจัดทำกฎกระทรวงผังเมืองรวมให้มีความถูกต้อง อนี่ง พระราชบัญญัติการผังเมือง (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2558 “มาตรา ๑๗ ความว่า ผังเมืองประกอบด้วย (๒) แผนที่แสดงเขตของผังเมืองรวมโดยแสดงข้อมูลภูมิประเทศและระดับชั้นความสูง ซึ่งกองสำรวจและแผนที่จะต้องดำเนินการจัดทำแผนที่แสดงข้อมูลภูมิประเทศและระดับชั้นความสูงให้แล้วเสร็จ รวมทั้งจัดเตรียมข้อมูลพื้นฐานสำหรับให้บริการแก่หน่วยงานทั้งภายในและภายนอกกรุงเทพมหานคร หน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ เอกชน นิสิต นักศึกษา และประชาชนทั่วไป จากเหตุผลข้างต้น หากไม่ดำเนินโครงการฯ หรือดำเนินการล่าช้า ข้อมูลแผนที่เชิงเลขไม่ถูกต้องและทันสมัย อาจเกิดความเสียหายแก่กรุงเทพมหานครได้ กองสำรวจและแผนที่ สำนักผังเมือง จึงมีความจำเป็นต้องดำเนินโครงการปรับปรุงข้อมูลแผนที่เชิงเลขมาตราส่วน ๑:๔,๐๐๐ และจัดทำข้อมูลภูมิประเทศและระดับชั้นความสูง เพื่อพัฒนาระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อการผังเมืองครอบคลุมพื้นที่ทั้ง ๕๐ เขตของกรุงเทพมหานคร กรุงเทพมหานครมีความประสงค์จะว่าจ้างดำเนินการปรับปรุงข้อมูลแผนที่เชิงเลขมาตราส่วน ๑:๔,๐๐๐ ข้อมูลภูมิประเทศและระดับชั้นความสูง เพื่อพัฒนาระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อการผังเมือง ครอบคลุมพื้นที่กรุงเทพมหานคร โดยโครงการที่ว่าจ้างนี้จะต้องมีรายละเอียดตามวัตถุประสงค์ ดังต่อไปนี้ ๒.๑ เพื่อจัดทำแผนที่ภาพถ่ายความละเอียดสูง ข้อมูลความสูงภูมิประเทศเชิงเลข และระดับชั้นความสูง ๒.๒ เพื่อปรับปรุงข้อมูลแผนที่เชิงเลขมาตราส่วน 1:4,000 จากแผนที่ภาพถ่ายความละเอียดสูง ในกลุ่มชั้นข้อมูลแผนที่ฐานและถ่ายโอนข้อมูลเชิงบรรยายที่สำนักผังเมืองมีอยู่ ไปสู่กลุ่มชั้นข้อมูลแผนที่ฐานที่ทำการปรับปรุงแล้วเสร็จ เพื่อจัดทำแผนที่แสดงการใช้ประโยชน์ที่ดินและอาคาร ๒.๓ เพื่อศึกษาและออกแบบปรับปรุงโครงสร้างฐานข้อมูลแผนที่เชิงเลข ให้สอดคล้องกับข้อมูลที่จะทำการปรับปรุง พร้อมจัดทำคำอธิบายชุดข้อมูลแผนที่ภาพถ่าย และจัดทำชุดข้อมูลสถานที่สำคัญ (Point of Interest) 3.1 เพื่อให้กรุงเทพมหานคร มีระบบข้อมูลแผนที่เชิงเลขมาตราส่วน 1:4,000 ที่ถูกต้อง น่าเชื่อถือและทันสมัย 3.2 เพื่อให้กรุงเทพมหานคร มีข้อมูลภูมิประเทศและระดับชั้นความสูง ที่เป็นไปตามพระราชบัญญัติการผังเมือง (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2558 “มาตรา ๑๗ ความว่า ผังเมืองประกอบด้วย (๒) แผนที่แสดงเขตของผังเมืองรวมโดยแสดงข้อมูลภูมิประเทศและระดับชั้นความสูง 3.3 เพื่อบริการข้อมูลแผนที่เชิงเลขมาตราส่วน 1:4,000 ให้แก่หน่วยงานของกรุงเทพมหานครและหน่วยงานภายนอก รัฐวิสาหกิจ เอกชน นิสิต นักศึกษา และประชาชนทั่วไป 0.00 0.00 สำนักการวางผังและพัฒนาเมือง 2019-10-01 00:00:00 2020-09-30 00:00:00 กำลังดำเนินการ 61.00
11 4.0.1.
ด้านที่ ๔ – มหานครกระชับ : Bangkok as a Compact City
4.2. 2563 กิจกรรมการจัดทำข้อมูลสารสนเทศภูมิศาสตร์ข้อมูลที่ดินของรัฐในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ข้อมูลที่ดินของรัฐ ซึ่งเป็นข้อมูลที่ดินที่เป็นทรัพย์สินของแผ่นดิน ไม่ว่าจะเป็นทรัพย์สินแผ่นดินธรรมดา หรือเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ซึ่งรัฐยึดถือครอบครองไว้เป็นประโยชน์แห่งรัฐ เฉพาะประเภท ที่ราชพัสดุ ซึ่งเป็นข้อมูลของกรมธนารักษ์ และประเภท ที่ดินที่ได้รับ นสล. (หนังสือสำคัญสำหรับที่หลวง) ซึ่งเป็นหนังสือแสดงสิทธิในการขอใช้ประโยชน์หรือร่วมกันใช้ที่ดินในเขตที่ราชพัสดุ หรือเขตสาธารณประโยชน์ที่ออกโดยกรมที่ดิน โดยเป็นเอกสารสิทธิแสดงแนวเขตที่ดินของรัฐ ซึ่งอาจจะออกเป็นแปลงใหญ่รวมกันและระบุชื่อหน่วยงานที่ใช้ประโยชน์ไว้ได้ ซึ่งเป็นข้อมูลของกรมที่ดิน เฉพาะที่มีการเปลี่ยนแปลง และอยู่ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ซึ่งได้นำส่งให้สำนักการวางผังและพัฒนาเมืองในรูปแบบระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ลักษณะขอบเขตรูปแปลงที่ดิน ประกอบข้อมูลคำอธิบาย ได้แก่ เลขที่เอกสารสิทธิ ขนาดพื้นที่ และสภาพการใช้พื้นที่ เพื่อจัดทำฐานข้อมูลสารสนเทศภูมิศาสตร์ข้อมูลที่ดินของรัฐในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ในรูปแบบขอบเขตรูปแปลงที่ดิน ในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ซึ่งได้มาจากกรมธนารักษ์และกรมที่ดิน และนำมาประกอบระวางแผนที่ในลักษณะแผนที่แสดงที่ดินของรัฐในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ในรูปแบบดิจิทัล เพื่อเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์ กรุงเทพมหานครได้มีฐานข้อมูลสารสนเทศภูมิศาสตร์ข้อมูลที่ดินของรัฐในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ในรูปแบบขอบเขตรูปแปลงที่ดิน ในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ซึ่งได้มาจากกรมธนารักษ์และกรมที่ดิน และนำมาประกอบระวางแผนที่ในลักษณะแผนที่แสดงที่ดินของรัฐในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ในรูปแบบดิจิทัล เพื่อเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์ 0.00 0.00 สำนักการวางผังและพัฒนาเมือง 2019-10-01 00:00:00 2020-09-29 00:00:00 แล้วเสร็จ 100.00
12 7.0.1.
ด้านที่ ๗ – การบริหารจัดการเมืองมหานคร : Management Strategy
4.2. 2563 โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการรายงานการแจ้งหรือเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินในเขตผังเมืองรวมด้วยระบบภูมิสารสนเทศ สำนักการวางผังและพัฒนาเมืองมีภารกิจในการวางและจัดทำผังเมืองรวมกรุงเทพมหานครเพื่อเป็นกรอบกำหนดทิศทางการพัฒนากรุงเทพมหานครในหลายมิติ ทั้งด้านกายภาพ ประชากร เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยมีความเชื่อมโยงถึงกิจกรรมการใช้ประโยชน์ที่ดินและอาคารของประชาชนและภาคเอกชน ซึ่งปัจจุบันกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๕๖ ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๐ ตอนที่ ๔๑ ก เมื่อวันที่ ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๕๖ และเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของผังเมืองรวม จึงได้กำหนดวิธีดำเนินการให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองที่ดินที่ประสงค์จะใช้ที่ดินเพื่อก่อสร้างอาคารหรือประกอบกิจการที่ต้องขออนุญาตหรือต้องแจ้งต่อเจ้าพนักงานตามกฎหมาย แจ้งการใช้ประโยชน์ที่ดินหรือการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น ตามแบบหนังสือแจ้งการใช้ประโยชน์ที่ดินหรือเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินในเขตกรุงเทพมหานคร หรือแบบ ผมร. ๑ พร้อมกับการยื่นคำขออนุญาตหรือการแจ้ง ต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น ณ สำนักงานเขตท้องที่ หรือสำนักการโยธา โดยสำนักการวางผังและพัฒนาเมืองจะได้รับรายงานจากสำนักงานเขต และสำนักการโยธา ซึ่งจากผลการดำเนินการที่ผ่านมาได้รับข้อมูลล่าช้า ไม่ครบถ้วน อีกทั้งข้อมูลอยู่ในรูปแบบกระดาษ ไม่สามารถนำไปวิเคราะห์ได้ทันที ประกอบกับมีข้อสังเกตจากผลการตรวจราชการให้มีการลดขั้นตอน ลดการใช้ทรัพยากรในการส่งรายงานผล และผลการสอบถามความคิดเห็นจากประชาชนผู้รับบริการ มีความต้องการให้มีบริการผ่านระบบอินเตอร์เน็ตเพื่อความสะดวก รวดเร็ว แม่นยำ สำนักการวางผังและพัฒนาเมืองจึงได้พัฒนา Webmap Application ระบบภูมิสารสนเทศบนระบบเครือข่ายเพื่อบันทึกหนังสือแจ้งการใช้ประโยชน์ที่ดินหรือเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินในเขตผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร (แบบ ผมร.๑) เป็นระบบแสดงผลแผนที่กรุงเทพมหานครแบบออนไลน์ ให้ประชาชนสามารถแจ้งการใช้ประโยชน์ที่ดินหรือเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินผ่านระบบได้ด้วยตนเอง โดยฝ่ายโยธา สำนักงานเขต และสำนักการโยธา สามารถเข้ามาตรวจสอบหรือแก้ไขข้อมูลในแบบ ผมร.๑ ที่ประชาชนยื่นมาพร้อมกับแบบฟอร์มการขออนุญาตก่อสร้างอาคารได้ รวมทั้งหน่วยงานกรุงเทพมหานครสามารถเข้าถึงฐานข้อมูลภูมิสารสนเทศเพื่อประเมินผลการบังคับใช้ผังเมืองรวม และวิเคราะห์ วิจัยเพื่อการพัฒนาเมืองได้อย่างสะดวก รวดเร็ว สอดรับกับนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ที่หน่วยงานมีการจัดเก็บข้อมูลในรูปแบบดิจิทัลเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน เพื่อให้บุคลากรมีความรู้ และทักษะที่เหมาะสมต่อการปรับเปลี่ยนระบบการทำงานนั้น จำเป็นต้องเตรียมความพร้อมบุคลากรของกรุงเทพมหานครในการให้คำแนะนำแก่ประชาชน เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจในการใช้ระบบสารสนเทศ ดังนั้น โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการรายงานการแจ้งหรือเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินในเขตผังเมืองรวมด้วยระบบภูมิสารสนเทศ จึงเป็นการพัฒนาบุคลากรของกรุงเทพมหานครในการปรับเปลี่ยนกระบวนการทำงานโดยการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้เพื่อบริการประชาชนและบริหารจัดการข้อมูลเมืองให้อยู่ในรูปแบบดิจิทัล เพื่อลดขั้นตอน ลดการใช้ทรัพยากร และข้อมูลที่ได้มีทันสมัย ถูกต้อง เพื่อนำไปสู่การบริหารจัดการกรุงเทพมหานครต่อไป เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริการและเป็นการอำนวยความสะดวกให้กับประชาชนที่มีความประสงค์ขอแจ้งการใช้ประโยชน์ที่ดินหรือเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดิน และการรายงานผลมายังสำนักการวางผังและพัฒนาเมือง ให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย ถูกต้องตามขั้นตอนและกระบวนการ และเป็นการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีในการเป็นองค์กรดิจิทัล 3.1. หน่วยงานมีคู่มือหรือวิธีการที่ชัดเจนในการเพิ่มประสิทธิภาพการบริการประชาชนและกระบวนการทำงานในการแจ้งการใช้ประโยชน์ที่ดินหรือเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินในเขตผังเมืองรวม 3.2. บุคลากรของกรุงเทพมหานครมีความรู้ ความเข้าใจในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อสร้างความเข้าใจแก่ประชาชนในการปรับเปลี่ยนกระบวนการบริการประชาชนในการแจ้งการใช้ประโยชน์ที่ดินหรือเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินในเขตผังเมืองรวมไปสู่รูปแบบดิจิทัลด้วยตนเอง 3.3. ประชาชนมีทัศนคติที่ดีต่อสำนักการวางผังและพัฒนาเมืองในการให้บริการประชาชน 0.00 0.00 สำนักการวางผังและพัฒนาเมือง 2019-10-01 00:00:00 2020-09-30 00:00:00 แล้วเสร็จ 100.00
13 7.0.1.
ด้านที่ ๗ – การบริหารจัดการเมืองมหานคร : Management Strategy
4.2. 2563 กิจกรรมการพัฒนาฐานข้อมูลของสำนักการวางผังและพัฒนาเมือง รายละเอียดตามที่ปรากฏในคู่มือการประเมินผลการปฏิบัติราชการตามคำรับรองการปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 เพื่อพัฒนาภาพลักษณ์และประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน ฐานข้อมูลของหน่วยงานการพัฒนาให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาการปฏิบัติงานตามภารกิจหลักของหน่วยงาน และภาพรวมของกรุงเทพมหานคร 0.00 0.00 สำนักการวางผังและพัฒนาเมือง 2019-10-01 00:00:00 2020-09-29 00:00:00 แล้วเสร็จ 100.00
14 7.0.1.
ด้านที่ ๗ – การบริหารจัดการเมืองมหานคร : Management Strategy
4.2. 2563 กิจกรรมการปรับปรุงข้อมูลบนเว็บไซต์ของสำนักการวางผังและพัฒนาเมือง กรุงเทพมหานครได้กำหนดกรอบการประเมินผลการปฏิบัติราชการของหน่วยงาน กลยุทธ์พัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศในการปฏิบัติราชการ เพื่อมุ่งสู่การเป็นหน่วยงานอิเล็กทรอนิกส์ สำนักผังเมืองจึงได้มีการแต่งตั้งคณะทำงานควบคุมดูแลเว็บไซต์และ Facebook สำนักผังเมือง เพื่อดำเนินการบริการข้อมูลผังเมืองผ่านระบบอินเตอร์เน็ตให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและมีประสิทธิภาพและดำเนินการปรับปรุงข้อมูลข่าวสารและยังเป็นการประชาสัมพันธ์กิจกรรมของสำนักผังเมืองในเว็บไซต์ของหน่วยงานเพื่อให้เป็นปัจจุบัน และรายงานให้ผู้บริหารทราบ - เพื่อพัฒนาและปรับปรุงเว็บไซต์ของสำนักผังเมือง - เพื่อเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร และความรู้ด้านผังเมือง - ประชาสัมพันธ์กิจกรรมของสำนักผังเมือง - ปรับปรุงเว็บไซต์ของสำนักผังเมืองอย่างน้อย 12 ครั้ง/ปี - ส่งรายงานเรื่องการปรับปรุงเว็บไซต์ของสำนักผังเมืองเสนอผู้บริหาร เดือนละหนึ่งครั้ง 0.00 0.00 สำนักการวางผังและพัฒนาเมือง 2019-10-01 00:00:00 2020-09-30 00:00:00 แล้วเสร็จ 100.00
15 4.0.1.
ด้านที่ ๔ – มหานครกระชับ : Bangkok as a Compact City
0.0.0 2564 ค่าใช้จ่ายในการเชื่อมโยงข้อมูลที่ดินระหว่างกรุงเทพมหานครกับกรมที่ดิน สำนักการวางผังและพัฒนาเมืองมีหน้าที่หลักเกี่ยวกับการวางผังและพัฒนาเมือง ให้สอดคล้องกับศักยภาพของพื้นที่ สภาพเศรษฐกิจ สังคม การดูแลรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม ตามนโยบายของรัฐบาล รวมทั้งสร้างโอกาสในการแข่งขันกับประเทศเพื่อนบ้าน และมีหน้าที่ในการสำรวจ จัดเก็บ และบูรณาการข้อมูลภูมิสารสนเทศ เพื่อพัฒนาระบบภูมิสารสนเทศกลางของกรุงเทพมหานครให้ทันสมัยเป็นปัจจุบันอย่างต่อเนื่อง เพื่องานด้านการบริหารจัดการเมือง และให้บริการแก่ทุกหน่วยงาน ดังนั้น การจัดเก็บข้อมูลที่ดินและสิ่งปลูกสร้างในกรุงเทพมหานครดังกล่าว จำเป็นต้องเชื่อมโยงระบบเครือข่ายเพื่อใช้งานข้อมูลภูมิสารสนเทศและข้อมูลแปลงที่ดินจากกรมที่ดินในรูปแบบข้อมูลภูมิสารสนเทศเป็นไปอย่างสะดวก รวดเร็ว มีประสิทธิภาพ และลดความซ้ำซ้อนของข้อมูล 2.1 เพื่อเชื่อมโยงฐานข้อมูลที่ดินระหว่างกรุงเทพมหานครกับกรมที่ดินผ่านระบบเครือข่าย 2.2 เพื่อให้กรุงเทพมหานครสามารถเข้าถึงฐานข้อมูลที่ดินและสิ่งปลูกสร้างผ่านระบบเครือข่าย เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาใช้ในการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างของทุกสำนักงานเขตได้อย่างถูกต้อง รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ รวมทั้งนำไปใช้ในการเร่งรัด ติดตามการจัดเก็บภาษีให้ครบถ้วน ถูกต้อง 2.3 เพื่อปรับปรุงฐานข้อมูลภูมิสารสนเทศของสำนักการวางผังและพัฒนาเมือง ให้มีความถูกต้อง ครบถ้วน แม่นยำ และมีประสิทธิภาพได้มาตรฐานสากล ครอบคลุมพื้นที่กรุงเทพมหานคร สำหรับใช้ในการบริหารจัดการเมือง และการให้บริการแก่หน่วยงานในสังกัดกรุงเทพมหานคร รวมถึงหน่วยงานภายนอกทั้งภาครัฐ ภาคเอกชนและภาคประชาชน พัฒนาระบบบริการข้อมูลที่ดิน พร้อมจัดหาระบบคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์เพื่อเชื่อมโยงข้อมูลที่ดินของกรมที่ดินกับระบบเครือข่ายของกรุงเทพมหานคร จำนวนแปลงที่ดินประมาณ 2,100,000 แปลง และมีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลที่เป็นปัจจุบัน และเชื่อมโยงข้อมูลที่ได้ สู่ฐานข้อมูลภูมิสารสนเทศของสำนักการวางผังและพัฒนาเมือง 4,500,000.00 3,129,000.00 สำนักการวางผังและพัฒนาเมือง 2020-10-01 00:00:00 2021-09-30 00:00:00 กำลังดำเนินการ 85.00
16 4.0.1.
ด้านที่ ๔ – มหานครกระชับ : Bangkok as a Compact City
0.0.0 2564 ค่าใช้จ่ายในการศึกษาและจัดทำแผนพัฒนาศูนย์ข้อมูลเมืองกรุงเทพมหานคร สำนักการวางผังและพัฒนาเมืองเป็นองค์กรหลักด้านการวางและจัดทำผังเมือง เพื่อชี้นำการบริหารและพัฒนาเมืองไปสู่การปฏิบัติด้วยระบบผังเมืองที่มีประสิทธิภาพและเทคโนโลยีที่ทันสมัย ทำให้กรุงเทพมหานครเป็นเมืองน่าอยู่อย่างยั่งยืน โดยมีภารกิจหลักในการวางและจัดทำผังเมืองรวม แผนผังพัฒนาพื้นที่เฉพาะแห่ง การบังคับใช้กฎหมายผังเมืองและกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้ง เป็นศูนย์เทคโนโลยีข้อมูลเมือง เพื่อการบริหารข้อมูลเมือง การให้บริการข้อมูลภูมิสารสนเทศ การเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลกับหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกกรุงเทพมหานคร ซึ่งสำนักงานภูมิสารสนเทศจะต้องดำเนินการสำรวจ รังวัด จัดเก็บข้อมูลด้านกายภาพ ผลิตแผนที่ภาพถ่ายทางอากาศ เพื่อจัดทำแผนที่มาตราส่วนต่าง ๆ โดยมีการวางระบบงานคอมพิวเตอร์เครือข่าย รวบรวมและจัดทำข้อมูลเมืองด้านประชากร ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม ด้านกายภาพ และด้านสิ่งแวดล้อม ให้อยู่ในระบบภูมิสารสนเทศ วิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลเมือง วางระบบงานสถิติ รวมทั้งออกแบบและพัฒนาระบบบริการข้อมูลด้านภูมิสารสนเทศ และเผยแพร่สารสนเทศทางอินเทอร์เน็ต ทั้งนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 สำนักงานภูมิสารสนเทศได้จัดทำแผนที่มาตราส่วน ๑ : ๔,๐๐๐ ครอบคลุมพื้นที่กรุงเทพมหานคร ๕๐ เขต จัดเก็บข้อมูลทางกายภาพของกลุ่มข้อมูล ได้แก่ ถนน อาคาร ชื่อ ข้อมูลภูมิประเทศ และระดับชั้นความสูง และคำอธิบาย ข้อมูลเมืองดังกล่าวถือเป็นข้อมูลที่สำคัญในการวางแผนการบริหารจัดการเมือง การวางผังเมืองรวมและผังพัฒนาพื้นที่ในระดับต่าง ๆ ให้มีความถูกต้อง มีความทันสมัย และมีความแม่นยำทั้งข้อมูลเชิงพื้นที่และเชิงบรรยาย เพื่อนำมาใช้เป็นกรอบการพัฒนาเมืองให้เป็นมหานครศูนย์กลางเศรษฐกิจและวิทยาการของอาเซียน ทั้งนี้ ข้อมูลเมืองที่มีอยู่ ได้แก่ ข้อมูลแผนที่ ข้อมูลแผนที่ภาพถ่ายทางอากาศ ข้อมูลภูมิประเทศ เป็นข้อมูลที่มีความละเอียดสูง ปริมาณข้อมูลขนาดใหญ่ ยังไม่มีการออกแบบการจัดการทรัพยากรระบบสารสนเทศระดับสูง ประกอบกับหน่วยงานภายในกรุงเทพมหานครมีการจัดทำข้อมูลตามภารกิจความรับผิดชอบของแต่ละหน่วยงาน ยังขาดการวางแผนการรวบรวมและปรับปรุงข้อมูลเมืองอื่น ๆ ให้ครอบคลุมความต้องการทุกภาคส่วน รวมทั้งยังขาดการบูรณาการ การศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลที่จำเป็นต่อการพัฒนาเมืองของทุกส่วนราชการกรุงเทพมหานคร สำหรับการจัดการกรุงเทพมหานครทุกมิติ และให้บริการแก่ทุกภาคส่วน และยังขาดการวางแผนการใช้ระบบสารสนเทศในการให้บริการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลกับหน่วยงานอื่น เพื่อให้กรุงเทพมหานครมีเป้าหมายในการเป็นมหานคร Smart City ตามนโยบายไทยแลนด์ 4.0 จากภารกิจและสภาพปัญหาดังกล่าว เพื่อให้กรุงเทพมหานครมีแผนพัฒนาศูนย์ข้อมูลเมืองของกรุงเทพมหานคร สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ พันธกิจ และแผนยุทธศาสตร์การดำเนินงานของกรุงเทพมหานคร ที่เป็นแนวทางการพัฒนาสู่อนาคตในระยะยาวอย่างยั่งยืน รองรับการบริหารจัดการมหานครให้เป็น Smart City ที่มีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูงมาใช้เพื่อพัฒนาระบบการบริหารจัดการ และการบริการประชาชนอย่างสะดวก รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ จึงจำเป็นต้องจัดทำแผนพัฒนาศูนย์ข้อมูลเมืองเพื่อการบริหารจัดการเมืองกรุงเทพมหานคร เพื่อให้มีทรัพยากรในการรองรับการให้บริการข้อมูลภูมิสารสนเทศที่มีความละเอียดและความถูกต้องเชิงพื้นที่สูง อันเป็นการสนับสนุนการดำเนินการวางและจัดทำผังเมือง การบริหารจัดการมหานคร การบูรณาการ การให้บริการ เชื่อมโยง และแลกเปลี่ยนข้อมูลกับหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้กรุงเทพมหานครมีแผนพัฒนาศูนย์ข้อมูลเมืองของกรุงเทพมหานคร ในรูปแบบข้อมูลภูมิสารสนเทศ (City Spatial Information) และข้อมูลอื่นที่เกี่ยวข้อง ที่สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ พันธกิจ และแผนยุทธศาสตร์การดำเนินงานของกรุงเทพมหานคร ที่เป็นแนวทางการพัฒนาสู่อนาคตในระยะยาวอย่างยั่งยืน มีแผนพัฒนาศูนย์ข้อมูลเมืองของกรุงเทพมหานคร ที่สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ พันธกิจ และแผนยุทธศาสตร์การดำเนินงานของกรุงเทพมหานคร และแผนแม่บทภูมิสารสนเทศแห่งชาติ เพื่อใช้ประโยชน์จากข้อมูลเมืองในรูปแบบข้อมูลภูมิสารสนเทศ (City Spatial Information) ในการพัฒนาเมืองด้านต่าง ๆ อย่างมีประสิทธิภาพ ที่สามารถให้บริการข้อมูลได้อย่างสะดวก รวดเร็ว สำหรับการพัฒนากรุงเทพมหานครให้เป็น Smart City ตามนโยบายไทยแลนด์ 4.0 6,202,600.00 610,000.00 สำนักการวางผังและพัฒนาเมือง 2020-10-01 00:00:00 2021-09-30 00:00:00 กำลังดำเนินการ 60.00
17 4.0.1.
ด้านที่ ๔ – มหานครกระชับ : Bangkok as a Compact City
0.0.0 2564 ค่าใช้จ่ายในการพัฒนาระบบบูรณาการภูมิสารสนเทศ (GI Platform) เพื่อการบริหารจัดการเมืองกรุงเทพมหานคร สำนักการวางผังและพัฒนาเมืองเป็นองค์กรหลักด้านการวางและจัดทำผังเมือง เพื่อชี้นำการบริหารและพัฒนาเมืองไปสู่การปฏิบัติด้วยระบบผังเมืองที่มีประสิทธิภาพและเทคโนโลยีที่ทันสมัย ทำให้กรุงเทพมหานครเป็นเมืองน่าอยู่อย่างยั่งยืน โดยมีภารกิจหลักในการวางและจัดทำผังเมืองรวม แผนผังพัฒนาพื้นที่เฉพาะแห่ง อนุรักษ์และฟื้นฟูโบราณสถาน การบังคับใช้กฎหมายผังเมืองและกฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งเป็นศูนย์เทคโนโลยีข้อมูลเมือง เพื่อการบริหารข้อมูลเมือง การให้บริการข้อมูลภูมิสารสนเทศ การเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลกับหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกกรุงเทพมหานคร ซึ่งปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 สำนักงานภูมิสารสนเทศได้จัดทำแผนที่มาตราส่วน ๑ : ๔,๐๐๐ ครอบคลุมพื้นที่กรุงเทพมหานคร ๕๐ เขต จัดเก็บข้อมูลทางกายภาพของกลุ่มข้อมูล เช่น ถนน อาคาร สถานที่ตั้ง ชื่อ และคำอธิบาย ประกอบกับจัดทำแผนที่แสดงข้อมูลภูมิประเทศและระดับชั้นความสูง เพื่อให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2562 แต่โครงการดังกล่าวเป็นการดำเนินการจัดหาและปรับปรุงข้อมูลเท่านั้น ประกอบกับข้อมูลที่สำนักการวางผังและพัฒนาเมืองมีอยู่เป็นจำนวนมาก และหลายช่วงเวลา เพื่อวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงของเมือง ซึ่งปัจจุบันยังไม่มีระบบสารสนเทศที่รองรับการจัดการในรูปแบบฐานข้อมูลที่มีประสิทธิภาพ เช่น ภาพถ่ายทางอากาศ ภาพถ่ายดาวเทียม เป็นต้น ซึ่งปัจจุบันยังขาดทรัพยากรด้านเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่ายที่ใช้ในการจัดเก็บข้อมูล และโปรแกรมสารสนเทศภูมิศาสตร์ที่รองรับการให้บริการผ่านระบบเครือข่ายที่จะเกิดขึ้น ให้เพียงพอ และมีประสิทธิภาพในการให้บริการแก่หน่วยงานของกรุงเทพมหานคร และบริการแก่หน่วยงานภายนอก จากเหตุผลดังกล่าวข้างต้น จึงจำเป็นต้องจัดทำโครงการพัฒนาระบบบูรณาการภูมิสารสนเทศ (GI Platform) เพื่อการบริหารจัดการเมืองกรุงเทพมหานคร โดยจัดหาทรัพยากรในการรองรับการให้บริการข้อมูลแผนที่และภาพถ่ายความละเอียดสูงที่ได้จากโครงการที่สำนักการวางผังและพัฒนาเมืองกำลังดำเนินการ สามารถให้บริการ การใช้และการวิเคราะห์ข้อมูลผ่านระบบเครือข่ายแก่หน่วยงานภายในกรุงเทพมหานคร หน่วยงานภายนอก รวมทั้งผู้ขอรับบริการข้อมูลอย่างเพียงพอต่อความต้องการใช้งาน รวมทั้งพัฒนาระบบข้อมูลเมืองจากข้อมูลที่มีอยู่ เพื่อเป็นระบบข้อมูลกลางเพื่อการบริหารจัดการเมืองกรุงเทพมหานคร อันเป็นการสนับสนุนการดำเนินการวางและจัดทำผังเมืองการบริหารจัดการมหานคร การบูรณาการ การให้บริการ เชื่อมโยง และแลกเปลี่ยนข้อมูลกับหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกได้อย่างมีประสิทธิภาพ 2.1 เพื่อให้กรุงเทพมหานครมีระบบบูรณาการภูมิสารสนเทศ (GI Platform) เพื่อการบริหารมหานคร การจัดทำและบริการข้อมูลเมือง สนับสนุนการดำเนินการวางและจัดทำผังเมือง และการบริหารจัดการมหานคร การบูรณาการ การให้บริการ เชื่อมโยง และแลกเปลี่ยนข้อมูลกับหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกได้อย่างมีประสิทธิภาพ 2.2 เพื่อปรับปรุงทรัพยากรระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ให้รองรับกับข้อมูลที่สำนักการวางผังและพัฒนาเมืองดำเนินการอยู่ พัฒนาระบบบูรณาการภูมิสารสนเทศ (GI Platform) พร้อมจัดหาระบบคอมพิวเตอร์และโปรแกรมสำหรับการจัดการข้อมูลด้านภูมิสารสนเทศอย่างเป็นระบบ ให้ทันสมัย มีประสิทธิภาพและสามารถขยายผลต่อไปในอนาคตได้ในระยะยาว (Longevity) 26,712,700.00 0.00 สำนักการวางผังและพัฒนาเมือง 2020-10-01 00:00:00 2021-09-30 00:00:00 กำลังดำเนินการ 44.00
18 4.0.1.
ด้านที่ ๔ – มหานครกระชับ : Bangkok as a Compact City
.. 2564 ค่าใช้จ่ายในการปรับปรุงข้อมูลแผนที่เชิงเลขมาตราส่วน ๑:๔,๐๐๐ และจัดทำข้อมูลภูมิประเทศและระดับชั้นความสูง เพื่อพัฒนาระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อการผังเมือง สำนักผังเมืองได้จัดทำแผนที่มาตราส่วน ๑:๔,๐๐๐ ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ๕๐ เขต แสดงลักษณะทางกายภาพของกลุ่มข้อมูล เช่น ถนน อาคาร สถานที่ตั้ง ชื่อและคำอธิบาย เป็นต้น โดยมีโครงสร้างฐานข้อมูลแสดงรายละเอียดของข้อมูลกายภาพแต่ละประเภท รวมทั้งการใช้ประโยชน์ที่ดินและอาคาร เชื่อมโยงกับข้อมูลกายภาพ ได้ดำเนินการตั้งแต่ปี ๒๕๔๒ และใช้งานอยู่ในปัจจุบัน มีการปรับปรุงแผนที่การใช้ประโยชน์ที่ดินและอาคารครั้งล่าสุดในปี ๒๕๔๙ ในช่วงปี พ.ศ.2550-2559พบว่า มีอาคารที่เกิดขึ้นใหม่และมีการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินเพิ่มมากขึ้นในอัตราค่อนข้างสูง และยังพบว่ามีระบบสาธารณูปโภคต่างๆ เพิ่มขึ้นในอัตราใกล้เคียงกัน รวมถึงปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงระบบเลขที่บ้าน ชื่อถนน ตรอก ซอยต่างๆ ใหม่ มากกว่า 35 เขต สำนักผังเมืองฐานะผู้รับผิดชอบในการจัดทำ ปรับปรุง ค้นคว้าศึกษาและพัฒนาคุณภาพข้อมูลแผนที่ในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) และวิธีการอันจะได้มาซึ่งข้อมูลแผนที่ที่มีความทันสมัย ถูกต้องแม่นยำสูง ทั้งข้อมูลเชิงพื้นที่และเชิงบรรยายทุกมาตราส่วนในพื้นที่กรุงเทพมหานคร และเป็นผู้ใช้ข้อมูลแผนที่ในการจัดทำผังเมืองรวมและวางผังเฉพาะ และหน่วยงานต่างๆของกรุงเทพมหานคร เช่น สำนักการโยธา สำนักการระบายน้ำ สำนักการจราจรและขนส่ง สำนักการแพทย์ เป็นต้น ได้นำข้อมูลไปใช้ในการบริหารงานในภารกิจที่รับผิดชอบ โดยเฉพาะช่วงเกิดอุทกภัยในปี ๒๕๕๔ มีหน่วยงานของภาครัฐและภาคเอกชนหลายราย มาขอรับบริการข้อมูลแผนที่ไปใช้ในการวางแผนและบริหารจัดการ จึงจำเป็นจะต้องมีข้อมูลที่ถูกต้องและเป็นปัจจุบันเพื่อให้บริการ และเป็นข้อมูลสำคัญในการจัดทำกฎกระทรวงผังเมืองรวมให้มีความถูกต้อง อนี่ง พระราชบัญญัติการผังเมือง (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2558 “มาตรา ๑๗ ความว่า ผังเมืองประกอบด้วย (๒) แผนที่แสดงเขตของผังเมืองรวมโดยแสดงข้อมูลภูมิประเทศและระดับชั้นความสูง ซึ่งกองสำรวจและแผนที่จะต้องดำเนินการจัดทำแผนที่แสดงข้อมูลภูมิประเทศและระดับชั้นความสูงให้แล้วเสร็จ รวมทั้งจัดเตรียมข้อมูลพื้นฐานสำหรับให้บริการแก่หน่วยงานทั้งภายในและภายนอกกรุงเทพมหานคร หน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ เอกชน นิสิต นักศึกษา และประชาชนทั่วไป จากเหตุผลข้างต้น หากไม่ดำเนินโครงการฯ หรือดำเนินการล่าช้า ข้อมูลแผนที่เชิงเลขไม่ถูกต้องและทันสมัย อาจเกิดความเสียหายแก่กรุงเทพมหานครได้ กองสำรวจและแผนที่ สำนักผังเมือง จึงมีความจำเป็นต้องดำเนินโครงการปรับปรุงข้อมูลแผนที่เชิงเลขมาตราส่วน ๑:๔,๐๐๐ และจัดทำข้อมูลภูมิประเทศและระดับชั้นความสูง เพื่อพัฒนาระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อการผังเมืองครอบคลุมพื้นที่ทั้ง ๕๐ เขตของกรุงเทพมหานคร ความคุ้มค่าและประโยชน์ต่อกรุงเทพมหานครและประชาชน โดยการนำข้อมูลไปประยุกต์ใช้ในงานด้านต่าง ๆ ดังนี้ 1. ด้านการผังเมือง เช่น การวางและจัดทำผังเมือง 2. ด้านการคลัง เช่น การจัดเก็บภาษีและรายได้ของกรุงเทพมหานคร 3. ด้านการจราจรและขนส่ง เช่น การวิเคราะห์และวางแผนการจราจร 4. ด้านการโยธา เช่น การควบคุมอาคาร งานระบบสาธารณูปโภค แนวเขตที่ดินของรัฐ (One map) 5. ด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เช่น การวางแผนป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย 6. ด้านการระบายน้ำ เช่น การวางแผนป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วม สามารถใช้ข้อมูลแผนที่เชิงเลขมาตราส่วน 1:4,000 ร่วมกับข้อมูลความสูงภูมิประเทศเชิงเลขเทคนิค LIDAR 7. ด้านสิ่งแวดล้อม เช่น การวางแผนการจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อมต่างๆ 8. ด้านวัฒนธรรม กีฬาและการท่องเที่ยว เช่น ข้อมูลด้านวัฒนธรรม กีฬา การท่องเที่ยว และห้องสมุดประชาชน 9. ด้านอนามัย เช่น การควบคุม ป้องกันและแก้ไขโรคระบาด พื้นที่ควบคุม เฝ้าระวัง ป้องกันและแก้ไขการระบาดของโรค การวางแผนในการจัดตั้งและให้บริการของศูนย์สาธารณสุข 10. ด้านการแพทย์ เช่น ระบบบริการการแพทย์ 11. ด้านการพัฒนาที่อยู่อาศัย เช่น การวิเคราะห์หาพื้นที่ที่เหมาะสมเพื่อจัดทำโครงการที่อยู่อาศัย 12. ด้านการปกครองและทะเบียน การค้นหาหรือกำหนดตำแหน่งที่ตั้งของอาคาร ตึกแถว บ้านเรือน สถานประกอบการ สถานที่สำคัญต่างๆ ฯลฯ ที่ก่อสร้างแล้ว หรือที่จะขออนุญาตปลูกสร้าง 13. หน่วยงานของกรุงเทพมหานครสามารถใช้ข้อมูลแผนที่สืบค้นข้อมูลต่างๆ ได้อย่างรวดเร็วและข้อมูลมีคุณภาพ 14. กรุงเทพมหานครเป็นศูนย์กลางข้อมูลสารสนเทศภูมิศาสตร์ที่มีมาตรฐาน ถูกต้อง แม่นยำ และมีความทันสมัย เพื่อสนับสนุนภารกิจด้านการบริหารจัดการเมืองที่ทันสมัยและมีประสิทธิภาพ และเป็นประโยชน์ต่อหน่วยงาน และบริการประชาชน 15. กรุงเทพมหานคร มีข้อมูลภูมิประเทศและระดับชั้นความสูง ที่เป็นไปตามพระราชบัญญัติการผังเมือง (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2558 “มาตรา 17 ความว่า ผังเมือง ประกอบด้วย (2) แผนที่แสดงเขตของผังเมืองรวมโดยแสดงข้อมูลภูมิประเทศและระดับชั้นความสูง 3.1 เพื่อให้กรุงเทพมหานคร มีระบบข้อมูลแผนที่เชิงเลขมาตราส่วน 1:4,000 ที่ถูกต้อง น่าเชื่อถือและทันสมัย 3.2 เพื่อให้กรุงเทพมหานคร มีข้อมูลภูมิประเทศและระดับชั้นความสูง ที่เป็นไปตามพระราชบัญญัติการผังเมือง (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2558 “มาตรา ๑๗ ความว่า ผังเมืองประกอบด้วย (๒) แผนที่แสดงเขตของผังเมืองรวมโดยแสดงข้อมูลภูมิประเทศและระดับชั้นความสูง 3.3 เพื่อบริการข้อมูลแผนที่เชิงเลขมาตราส่วน 1:4,000 ให้แก่หน่วยงานของกรุงเทพมหานครและหน่วยงานภายนอก รัฐวิสาหกิจ เอกชน นิสิต นักศึกษา และประชาชนทั่วไป 0.00 0.00 สำนักการวางผังและพัฒนาเมือง 2020-10-01 00:00:00 2021-09-30 00:00:00 แล้วเสร็จ 100.00
19 4.0.1.
ด้านที่ ๔ – มหานครกระชับ : Bangkok as a Compact City
.. 2565 ค่าใช้จ่ายในการพัฒนาระบบบูรณาการภูมิสารสนเทศ (GI Platform) เพื่อการบริหารจัดการเมืองกรุงเทพมหานคร สำนักการวางผังและพัฒนาเมืองเป็นองค์กรหลักด้านการวางและจัดทำผังเมือง เพื่อชี้นำการบริหารและพัฒนาเมืองไปสู่การปฏิบัติด้วยระบบผังเมืองที่มีประสิทธิภาพและเทคโนโลยีที่ทันสมัย ทำให้กรุงเทพมหานครเป็นเมืองน่าอยู่อย่างยั่งยืน โดยมีภารกิจหลักในการวางและจัดทำผังเมืองรวม แผนผังพัฒนาพื้นที่เฉพาะแห่ง อนุรักษ์และฟื้นฟูโบราณสถาน การบังคับใช้กฎหมายผังเมืองและกฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งเป็นศูนย์เทคโนโลยีข้อมูลเมือง เพื่อการบริหารข้อมูลเมือง การให้บริการข้อมูลภูมิสารสนเทศ การเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลกับหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกกรุงเทพมหานคร ซึ่งปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 สำนักงานภูมิสารสนเทศได้จัดทำแผนที่มาตราส่วน ๑ : ๔,๐๐๐ ครอบคลุมพื้นที่กรุงเทพมหานคร ๕๐ เขต จัดเก็บข้อมูลทางกายภาพของกลุ่มข้อมูล เช่น ถนน อาคาร สถานที่ตั้ง ชื่อ และคำอธิบาย ประกอบกับจัดทำแผนที่แสดงข้อมูลภูมิประเทศและระดับชั้นความสูง เพื่อให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2562 แต่โครงการดังกล่าวเป็นการดำเนินการจัดหาและปรับปรุงข้อมูลเท่านั้น ประกอบกับข้อมูลที่สำนักการวางผังและพัฒนาเมืองมีอยู่เป็นจำนวนมาก และหลายช่วงเวลา เพื่อวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงของเมือง ซึ่งปัจจุบันยังไม่มีระบบสารสนเทศที่รองรับการจัดการในรูปแบบฐานข้อมูลที่มีประสิทธิภาพ เช่น ภาพถ่ายทางอากาศ ภาพถ่ายดาวเทียม เป็นต้น ซึ่งปัจจุบันยังขาดทรัพยากรด้านเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่ายที่ใช้ในการจัดเก็บข้อมูล และโปรแกรมสารสนเทศภูมิศาสตร์ที่รองรับการให้บริการผ่านระบบเครือข่ายที่จะเกิดขึ้น ให้เพียงพอ และมีประสิทธิภาพในการให้บริการแก่หน่วยงานของกรุงเทพมหานคร และบริการแก่หน่วยงานภายนอก จากเหตุผลดังกล่าวข้างต้น จึงจำเป็นต้องจัดทำโครงการพัฒนาระบบบูรณาการภูมิสารสนเทศ (GI Platform) เพื่อการบริหารจัดการเมืองกรุงเทพมหานคร โดยจัดหาทรัพยากรในการรองรับการให้บริการข้อมูลแผนที่และภาพถ่ายความละเอียดสูงที่ได้จากโครงการที่สำนักการวางผังและพัฒนาเมืองกำลังดำเนินการ สามารถให้บริการ การใช้และการวิเคราะห์ข้อมูลผ่านระบบเครือข่ายแก่หน่วยงานภายในกรุงเทพมหานคร หน่วยงานภายนอก รวมทั้งผู้ขอรับบริการข้อมูลอย่างเพียงพอต่อความต้องการใช้งาน รวมทั้งพัฒนาระบบข้อมูลเมืองจากข้อมูลที่มีอยู่ เพื่อเป็นระบบข้อมูลกลางเพื่อการบริหารจัดการเมืองกรุงเทพมหานคร อันเป็นการสนับสนุนการดำเนินการวางและจัดทำผังเมืองการบริหารจัดการมหานคร การบูรณาการ การให้บริการ เชื่อมโยง และแลกเปลี่ยนข้อมูลกับหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกได้อย่างมีประสิทธิภาพ 1. เพื่อให้กรุงเทพมหานครมีระบบบูรณาการภูมิสารสนเทศ (GI Platform) เพื่อการบริหารมหานคร การจัดทำและบริการข้อมูลเมือง สนับสนุนการดำเนินการวางและจัดทำผังเมือง และการบริหารจัดการมหานคร การบูรณาการ การให้บริการ เชื่อมโยง และแลกเปลี่ยนข้อมูลกับหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกได้อย่างมีประสิทธิภาพ 2. เพื่อปรับปรุงทรัพยากรระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ให้รองรับกับข้อมูลที่สำนักการวางผังและพัฒนาเมืองดำเนินการอยู่ พัฒนาระบบบูรณาการภูมิสารสนเทศ (GI Platform) พร้อมจัดหาระบบคอมพิวเตอร์และโปรแกรมสำหรับการจัดการข้อมูลด้านภูมิสารสนเทศอย่างเป็นระบบ ให้ทันสมัย มีประสิทธิภาพและสามารถขยายผลต่อไปในอนาคตได้ในระยะยาว (Longevity) 26,600,000.00 26,220,500.00 สำนักการวางผังและพัฒนาเมือง 2021-10-01 00:00:00 2022-09-30 00:00:00 แล้วเสร็จ 100.00
20 0.0.0.
**** ภารกิจงานประจำของหน่วยงาน ****
.. 2566 การพัฒนาระบบ BKK Risk Map โครงการตามนโยบายของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร - เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลความเสี่ยงทุกรูปแบบ เพื่อประกอบการตัดสินใจในชีวิตประจำวัน เช่น การเดินทาง การเลือกโซนที่อยู่อาศัย และการอพยพเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน - เพื่อให้หน่วยงานต่าง ๆ สามารถจัดการกับจุดเสี่ยงในเมืองได้อย่างเป็นระบบและรวดเร็ว - เพื่อให้ส่วนราชการกรุงเทพมหานคร ตระหนักถึงความสำคัญในการจัดเก็บข้อมูล การวิเคราะห์และเผยแพร่ข้อมูล เพื่อประโยชน์ของประชาชนและกรุงเทพมหานคร ระบบ BKK Risk Map จำนวน 1 ระบบ โดยระยะแรกที่ 1 เผยแพร่แผนที่เสี่ยงภัยจำนวน 5 ด้าน ประชาชน ประกอบด้วย - ด้านอุทกภัย - ด้านอัคคีภัย - ด้านความภัยในชีวิตและทรัพย์สิน - ด้านความปลอดภัยทางถนน - ด้านเสี่ยงภัยมลพิษ (PM 2.5) 0.00 0.00 สำนักการวางผังและพัฒนาเมือง 2023-10-01 00:00:00 2024-09-30 00:00:00 แล้วเสร็จ 100.00
21 0.0.0.
**** ภารกิจงานประจำของหน่วยงาน ****
.. 2566 การจัดทำแบบจำลองสามมิติจากข้อมูล DSM DTM และอาคารสามมิติ ประกอบข้อมูลจาก Sensor ของหน่วยงาน กทม. โครงการตามนโยบายของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เพื่อจัดทำแบบจำลองสามมิติจากข้อมูล DSM DTM และอาคารสามมิติ ประกอบข้อมูลจาก Sensor ของหน่วยงานกรุงเทพมหานคร ระบบการแสดงผลข้อมูลเมืองในระบบ 3 มิติ จำนวน 1 ระบบ 0.00 0.00 สำนักการวางผังและพัฒนาเมือง 2023-10-01 00:00:00 2024-09-30 00:00:00 แล้วเสร็จ 100.00
รวม ->21 โครงการ 0 0.00 0.00 0 0.00 0 0.00 0 0 0 0