ลำดับ | ยุทธศาสตร์ 20 ปี | แผนแม่บทไอที | ปีงบประมาณ | ชื่อโครงการ | หลักการและเหตุผล | วัตถุประสงค์โครงการ | เป้าหมายโครงการ | งบประมาณที่ได้รับ | งบประมาณที่ใช้ไป | หน่วยงานที่รับผิดชอบ | เริ่มโครงการ | สิ้นสุดโครงการ | สถานะโครงการ | คืบหน้า (ร้อยละ) |
1 | 7.0.1. ด้านที่ ๗ – การบริหารจัดการเมืองมหานคร : Management Strategy |
4.2. | 2560 | กิจกรรมการจัดทำระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์กรุงเทพมหานครเพื่อประชาคมเมือง | กองสารสนเทศภูมิศาสตร์ สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล กรุงเทพมหานคร เป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่ในการจัดทำระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อการพัฒนาเมืองของกรุงเทพมหานคร โดยมีการพัฒนาโปรแกรมด้านสารสนเทศภูมิศาสตร์ให้กับหน่วยงานของกรุงเทพมหานครใช้ในการปฏิบัติงาน และเผยแพร่สารสนเทศภูมิศาสตร์ รวมถึงการให้บริการแก่หน่วยงานทั้งภายในและภายนอกกรุงเทพมหานคร จึงดำเนินการจัดทำระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์กรุงเทพมหานครเพื่อประชาคมเมืองขึ้น เพื่อเป็นเครื่องมือในการนำเข้าข้อมูลสารสนเทศภูมิศาสตร์และสื่อสารข้อมูลสารสนเทศของกรุงเทพมหานครสู่ประชาชน | เพื่อให้มีระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ที่เป็นสื่อกลางในการนำข้อมูลสารสนเทศของเมืองสู่การให้บริการและการมีส่วนร่วมของประชาชน | ร้อยละ 80 โดยพิจารณาจากผลการดำเนินงานตามที่ดำเนินการได้ (ตามขั้นตอนที่ได้กำหนดไว้) | 0.00 | 0.00 | สํานักยุทธศาสตร์และประเมินผล | 2016-10-01 00:00:00 | 2017-09-30 00:00:00 | ยังไม่มีการรายงาน | 0.00 |
2 | 7.0.1. ด้านที่ ๗ – การบริหารจัดการเมืองมหานคร : Management Strategy |
4.2.1 | 2560 | กิจกรรมการให้บริการข้อมูลสารสนเทศบนแผนภาพ (infographic) | กองสารสนเทศภูมิศาสตร์ดำเนินการบูรณาการข้อมูลและประสานกับหน่วยงานที่รับผิดชอบ เพื่อจะทำข้อมูลสารสนเทศบนแผนภาพ (Infographic) ที่มีลักษณะของข้อมูลและกราฟิกเป็นลายเส้น สัญลักษณ์ กราฟ แผนภูมิ ไดอะแกรม และแผนที่ ในการแสดงข้อมูลและบริการด้านต่าง ๆ ของกรุงเทพมหานครเป็นภาษาไทย หรือภาษาอังกฤษ และเผยแพร่ให้ความรู้บริการแก่ ภาครัฐ ภาคเอกชน นักเรียน นักศึกษา และประชาชนทั่วไปบนเว็บไซต์ศูนย์ข้อมูลกรุงเทพมหานคร | เพื่อเผยแพร่ความรู้ด้านข้อมูลสารสนเทศและบริการด้านต่าง ๆ ของกรุงเทพมหานคร | จัดทำแผนภาพ (Infographic) ไม่น้อยกว่า 12 แผนภาพต่อไป | 0.00 | 0.00 | สํานักยุทธศาสตร์และประเมินผล | 2016-10-01 00:00:00 | 2017-09-30 00:00:00 | แล้วเสร็จ | 100.00 |
3 | 7.0.1. ด้านที่ ๗ – การบริหารจัดการเมืองมหานคร : Management Strategy |
4.2.1 | 2560 | กิจกรรมปรับปรุงระบบ GIS e-Learning ภายใต้ระบบ BMA GIS ONLINE | ปัจจุบันกรุงเทพมหานครมีการนำเทคโนโลยีสารเทศมาใช้ในการบริหารจัดการและการให้บริการประชาชน ภายใต้กรอบของแผนพัฒนากรุงเทพมหานคร ระยะ 20 ปี (พ.ศ.2556-2575) ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 7 การบริหารจัดการ ประเด็นยุทธศาสตร์ย่อยที่ 7.5 เทคโนโลยีสารสนเทศ เป้าประสงค์ที่ 7.5.3 เพิ่มศักยภาพบุคลากรกรุงเทพมหานคร ด้านการใช้งานและการบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ และแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศกรุงเทพมหานครระยะ 4 ปี (พ.ศ. 2556-2559) ในการนี้ กองสารสนเทศภูมิศาสตร์ได้เห็นความสำคัญของการนำระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ไปประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการและการให้บริการ จึงเห็นควรเพิ่มช่องทางการพัฒนาศักยภาพข้าราชการกรุงเทพมหานครให้มีความรู้ความเข้าใจ และสามารถนำความรู้ทางด้านระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ไปใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานให้เกิดประโยชน์ต่อหน่วยงานและประชาชนทั่วไป | 1. เพื่อพัฒนาระบบ e-Learning ที่สามารถบรรจุเนื้อหา รายวิชา ด้านระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ผ่านระบบอินเตอร์เน็ตส่วนกลาง (BMA GIS ONLINE) ให้บริการด้านวิชาการแก่ ข้าราชการกรุงเทพมหานครและประชาชนที่สนใจ 2. เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยมุ่งให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางและสามารถเลือกสรรการเรียนรู้ได้ตามอัธยาศัยได้ตลอดเวลาในทุกที่ ทุกโอกาส | มีผู้เรียนในระบบ GIS e-Learning ผ่านระบบอินเตอร์เน็ตส่วนกลาง (BMA GIS ONLINE) | 0.00 | 0.00 | สํานักยุทธศาสตร์และประเมินผล | 2016-10-01 00:00:00 | 2017-09-30 00:00:00 | แล้วเสร็จ | 100.00 |
4 | 9.0.4. ด้านที่ ๙ เมืองที่มีระบบบริหารจัดการที่ดี มีธรรมาภิบาล และการมีส่วนร่วมของประชาชน |
1.2. | 2560 | โครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาศักยภาพบุคลากรที่ปฏิบัติงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศให้สอดคล้องกับมาตรฐานวิชาชีพไอที (ITPE) | สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผลในฐานะหน่วยงานกลางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของกรุงเทพมหานคร ได้เล็งเห็นความสำคัญในการที่จะพัฒนาศักยภาพ ของบุคลากรกรุงเทพมหานครด้านไอซีทีจึงได้จัดทำโครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาศักยภาพบุคลากรที่ปฏิบัติงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ให้สอดคล้องกับมาตรฐานวิชาชีพไอที โดยประสานขอความร่วมมือจากศูนย์บริหารองค์การสากล (GEMC) มหาวิทยาลัยมหิดล และสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) เพื่อจัดให้มี การฝึกอบรม เชิงปฏิบัติการ เพื่อพัฒนาสมรรถนะ ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นการยกระดับ มาตรฐานวิชาชีพ ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของบุคลากร กทม. ให้มีความรู้ ความชำนาญและทักษะตามมาตรฐานวิชาชีพขั้นสูงต่อไป | 1 เพื่อพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของกรุงเทพมหานครให้มีสมรรถนะที่สอดคล้องกับมาตรฐานระดับประเทศ 2 เพื่อยกระดับมาตรฐานวิชาชีพด้านไอทีของกรุงเทพมหานครให้มีคุณภาพเทียบเท่ามาตรฐาน 3 เพื่อเป็นแนวทางในการปรับเป็นเกณฑ์ประเมิน Competencies ของบุคลากรสายงานไอที | จัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการอย่างเข้มข้นเพื่อพัฒนาศักยภาพและเตรียมความพร้อมของบุคลากรที่ปฏิบัติงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศให้มีสมรรถนะ และองค์ความรู้ที่สอดคล้องกับมาตรฐานวิชาชีพไอที โดยมีผู้เกี่ยวข้องประกอบด้วย กลุ่มเป้าหมาย ข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญที่ปฏิบัติงาน ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ระดับปฏิบัติการถึงระดับชำนาญการพิเศษ จำนวน 90 คน ผู้เกี่ยวข้อง จำนวน 7 คนต่อรุ่น ดังนี้ 1) เจ้าหน้าที่ดำเนินการ จำนวน 5 คนต่อรุ่น และ 2) วิทยากร จำนวน 2 คนต่อรุ่น | 646,000.00 | 228,200.00 | สํานักยุทธศาสตร์และประเมินผล | 2016-10-01 00:00:00 | 2017-10-01 00:00:00 | แล้วเสร็จ | 100.00 |
5 | 9.0.4. ด้านที่ ๙ เมืองที่มีระบบบริหารจัดการที่ดี มีธรรมาภิบาล และการมีส่วนร่วมของประชาชน |
1.2. | 2560 | โครงการฝึกอบรมคอมพิวเตอร์แก่ข้าราชการตามมติคณะรัฐมนตรี (COM – 03) | คณะรัฐมนตรีได้มีมติ เมื่อวันที่ ๒๒ เมษายน ๒๕๓๗ อนุมัติหลักการแผนและมาตรการส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศตามมาตรฐานขั้นต่ำ และกำหนดให้ข้าราชการที่จะเลื่อนจากระดับ ๕ เป็นระดับ ๖ ต้องมีความรู้คอมพิวเตอร์ สามารถทำแผ่นตารางทำการ (Spreadsheet) และเพื่อให้เกิดผลในทางปฏิบัติ ก.พ. ได้มีมติให้เพิ่มเติมมาตรฐานกำหนดตำแหน่งของข้าราชการพลเรือนระดับ ๖ ทุกสายงาน มีความรู้ทางคอมพิวเตอร์ให้สอดคล้องกับมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าว ซึ่งมีผลปฏิบัติมาตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๓๙ กรุงเทพมหานคร โดยสำนักยุทธศาสตร์และประเมินผลได้ถือปฏิบัติและดำเนินการฝึกอบรมข้าราชการตามมติดังกล่าวมาตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๓๙ จนถึงปัจจุบันอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ อนุกรรมการสามัญประจำกรุงเทพมหานครได้มีประกาศ ลงวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2554 การจัดทำมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง และจัดตำแหน่งข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญของทุกหน่วยงานเข้าประเภทตำแหน่ง สายงาน และระดับตำแหน่งตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง จึงเปลี่ยนกลุ่มเป้าหมายจากข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญที่ดำรงตำแหน่งในระดับ ๖ และ ระดับ ๖ ว – ๗ ว/วช. เป็นข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญ ตำแหน่งประเภททั่วไป ระดับชำนาญงาน และตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับชำนาญการ และเพื่อให้การปฏิบัติสอดคล้องกับมติคณะรัฐมนตรีและมติ ก.พ. ดังกล่าว เห็นควรกำหนดให้มีการจัดฝึกอบรมคอมพิวเตอร์แก่ข้าราชการตามมติคณะรัฐมนตรี ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕60 ต่อไป | เพื่อพัฒนาข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญให้มีความรู้ ความเข้าใจในเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ ความรู้พื้นฐานและวิธีการใช้งานในขั้นพื้นฐาน สามารถปฏิบัติงานด้วยการใช้คอมพิวเตอร์ในด้านการจัดการงานพิมพ์เอกสาร การจัดทำแผ่นตารางทำการ และการนำเสนอผลงาน ตลอดจนได้รับการฝึกอบรมตามมติคณะรัฐมนตรีและหลักเกณฑ์มาตรฐานกำหนดตำแหน่งเพิ่มเติมตามที่ ก.พ. กำหนด | ข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญ ตำแหน่งประเภททั่วไป ระดับชำนาญงาน และตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับชำนาญการ ทุกสายงาน | 243,500.00 | 179,569.25 | สํานักยุทธศาสตร์และประเมินผล | 2016-10-01 00:00:00 | 2017-09-30 00:00:00 | แล้วเสร็จ | 100.00 |
6 | 9.0.4. ด้านที่ ๙ เมืองที่มีระบบบริหารจัดการที่ดี มีธรรมาภิบาล และการมีส่วนร่วมของประชาชน |
1.2. | 2560 | โครงการฝึกอบรมระบบข้อมูลและข่ายงานระบบคอมพิวเตอร์ของกรุงเทพมหานคร (ระบบ MIS) | กรุงเทพมหานคร โดยสำนักยุทธศาสตร์และประเมินผลได้ดำเนินการพัฒนาระบบสารสนเทศของกรุงเทพมหานคร เพื่อปรับปรุงการบริหารงาน และการบริการประชาชนให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ในส่วนของสำนักและสำนักงานเขต ได้ดำเนินการพัฒนาระบบสารสนเทศส่วนกลาง ตามโครงการจัดระบบข้อมูลและข่ายงานคอมพิวเตอร์ของกรุงเทพมหานคร (ระบบ MIS) ได้แก่ ระบบงานจัดซื้อ จัดจ้าง บัญชีทรัพย์สิน งบประมาณ รายได้ การเงิน บัญชี บุคลากร เรื่องราวร้องทุกข์ เงินเดือน บริหารคลังวัสดุกลาง บริหารน้ำมันเชื้อเพลิงและหล่อลื่น และเบิกจ่ายตรงค่ารักษาพยาบาล ในปัจจุบันระบบ MIS ได้เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้การจัดระบบข้อมูลของหน่วยงาน นำไปสู่ การปฏิบัติงานที่สามารถเพิ่มประสิทธิภาพได้ในระดับหนึ่ง และเพื่อให้การดำเนินงานตามโครงการฯ ดังกล่าวเกิดผลสำเร็จต่อเนื่อง สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผลได้ติดตามผลการใช้ระบบ และแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ทั้งในด้านประสิทธิภาพของระบบเครือข่ายและการใช้โปรแกรมระบบงานที่เป็นอุปสรรคปัญหาต่อการปฏิบัติงาน ให้เกิด ผลสำเร็จยิ่งขึ้น โดยได้ดำเนินการขอจัดสรรงบประมาณดำเนินการปรับปรุงระบบงานดังกล่าว เพื่อให้การปฏิบัติงานสอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้ระบบ และกระบวนการปฏิบัติงาน ดังนั้น จึงเห็นควรดำเนินการจัดให้มี การฝึกอบรมคอมพิวเตอร์การใช้โปรแกรมระบบงานที่ได้พัฒนาปรับปรุงแก่ข้าราชการกรุงเทพมหานครทั้งระดับสำนักและสำนักงานเขต สามารถใช้ระบบงานที่เกี่ยวข้องเพื่อการปฏิบัติงานตามความรับผิดชอบต่อไป | เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้รับความรู้เกี่ยวกับวิธีการใช้ระบบงาน MIS ที่เกี่ยวข้องและสามารถนำไปใช้ในการปฏิบัติงานตามหน้าที่ความรับผิดชอบได้อย่างถูกต้อง | ข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญ ตำแหน่งประเภททั่วไป ระดับปฏิบัติงาน – ชำนาญงาน ตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับปฏิบัติการ – ชำนาญการ และข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากรุงเทพมหานคร ประเภทผู้สอนในหน่วยงานการศึกษา | 135,800.00 | 119,020.00 | สํานักยุทธศาสตร์และประเมินผล | 2016-10-01 00:00:00 | 2017-09-30 00:00:00 | แล้วเสร็จ | 100.00 |
7 | 9.0.4. ด้านที่ ๙ เมืองที่มีระบบบริหารจัดการที่ดี มีธรรมาภิบาล และการมีส่วนร่วมของประชาชน |
4.2. | 2560 | โครงการฝึกอบรมหลักสูตรระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ | ปัจจุบันนี้ กรุงเทพมหานครนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการบริหารจัดการและการให้บริการ ซึ่งอยู่ภายใต้กรอบของแผนพัฒนากรุงเทพมหานคร ระยะ 20 ปี ระยะที่ 1 (พ.ศ. 2556-2560) ในประเด็น-ยุทธศาสตร์ที่ 7 การบริหารจัดการ ประเด็นยุทธศาสตร์ย่อยที่ 7.5 เทคโนโลยีสารสนเทศ กลยุทธ์ที่ 7.5.3 เพิ่มศักยภาพของบุคลากรกรุงเทพมหานคร ด้านการใช้งานและการบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ และแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศกรุงเทพมหานคร ระยะ 4 ปี (พ.ศ. 2556-2559) แต่เนื่องจากข้าราชการ ของกรุงเทพมหานครยังมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ไม่เพียงพอ จึงไม่สามารถนำระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์มาใช้งานให้เกิดประโยชน์ได้ กองสารสนเทศภูมิศาสตร์เห็นความสำคัญของการนำระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ไปประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการและการให้บริการ จึงเห็นควรพัฒนาศักยภาพให้กับข้าราชการกรุงเทพมหานครมีความรู้ ความเข้าใจและสามารถนำระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ไปใช้งานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน และเกิดประโยชน์ต่อหน่วยงาน | 3.1.1 เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ 3.1.2 ผู้เข้ารับการฝึกอบรมสามารถจัดเก็บข้อมูล การจัดทำแผนที่ การใช้เครื่องมือต่าง ๆ และทักษะการใช้โปรแกรมด้านระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ในการวิเคราะห์เชิงพื้นที่ รวมทั้งสามารถนำแนวคิดด้านระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ไปบูรณาการให้เกิดประโยชน์แก่หน่วยงาน 3.1.3 เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้แลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน รวมถึงการสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างหน่วยงาน | จัดโครงการฝึกอบรมหลักสูตรระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ณ ศูนย์ฝึกอบรมคอมพิวเตอร์ ชั้น 4 สำนักการศึกษา เขตคลองสาน กรุงเทพมหานคร โดยแบ่งเป็น 2 หลักสูตร ดังนี้ 1. หลักสูตรระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์กรุงเทพมหานครเบื้องต้น เป็นการฝึกอบรม แบบไป-กลับ ให้กับข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญ ประเภททั่วไป ระดับปฏิบัติงาน-ระดับอาวุโส และประเภทวิชาการ ระดับปฏิบัติการ-ระดับชำนาญการพิเศษ จำนวน 100 คน แบ่งเป็น 3 รุ่น ๆ ละ 3 วันทำการ 2. หลักสูตรระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์กรุงเทพมหานครขั้นสูง (Advanced GIS) เป็นการฝึกอบรมแบบไป-กลับ ให้กับข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญ ประเภททั่วไป ระดับปฏิบัติงาน-ระดับอาวุโส และประเภทวิชาการ ระดับปฏิบัติการ-ระดับชำนาญการพิเศษ จำนวน 50 คน แบ่งเป็น 2 รุ่น ๆ ละ 3 วันทำการ | 286,800.00 | 223,050.00 | สํานักยุทธศาสตร์และประเมินผล | 2016-10-03 00:00:00 | 2017-02-15 00:00:00 | แล้วเสร็จ | 100.00 |
8 | 9.0.4. ด้านที่ ๙ เมืองที่มีระบบบริหารจัดการที่ดี มีธรรมาภิบาล และการมีส่วนร่วมของประชาชน |
1.2.1 | 2560 | โครงการสัมมนาเพื่อพัฒนาศักยภาพด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของผู้บริหารสารสนเทศระดับสูงประจำหน่วยงานของกรุงเทพมหานคร (CIO) | สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล ในฐานะหน่วยงานหลักซึ่งมีหน้าที่ดำเนินการผลักดันและติดตามผลการดำเนินการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของหน่วยงานในสังกัดกรุงเทพมหานคร ได้กำหนดจัดการสัมมนาเพื่อพัฒนาผู้บริหารสารสนเทศระดับสูง (CIO) ให้มีความรู้ ความเข้าใจในการนำเทคโนโลยี-สารสนเทศมาปรับใช้เพื่อพัฒนากระบวนการทำงานและบูรณาการข้อมูลให้ขับเคลื่อนการดำเนินงานตามภารกิจหลักของกรุงเทพมหานครได้ รวมทั้งส่งเสริมและพัฒนาการเป็นผู้นำในการบริหารงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสร้างเครือข่ายความร่วมมือที่เอื้ออำนวยต่อการบริหารและการบูรณาการการทำงานระหว่างหน่วยงานของกรุงเทพมหานครและสามารถบรรลุเป้าหมายมุ่งสู่การเป็นมหานครอิเล็กทรอนิกส์ (Digital City) | 1. เพื่อให้ผู้บริหารสารสนเทศระดับสูงของกรุงเทพมหานคร ผู้บริหารสารสนเทศระดับสูงประจำสำนักและสำนักงานเขต มีความรู้ ความสามารถและทัศนคติในการบริหารงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างเข้มแข็ง 2. เพื่อให้ผู้บริหารสารสนเทศระดับสูงของกรุงเทพมหานคร ผู้บริหารสารสนเทศระดับสูงประจำสำนักและสำนักงานเขต ตระหนักถึงความสำคัญของการนำสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ มาปรับใช้เพื่อพัฒนากระบวนการทำงานและบูรณาการข้อมูลเพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานตามภารกิจหลักของหน่วยงาน และของกรุงเทพมหานคร 3. เพื่อให้ผู้บริหารสารสนเทศระดับสูงของกรุงเทพมหานคร ผู้บริหารสารสนเทศระดับสูงประจำสำนักและสำนักงานเขต ได้แลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน สร้างเครือข่ายความร่วมมือที่เอื้ออำนวยต่อการบริหารและการบูรณาการการทำงานระหว่างหน่วยงานเพื่อปรับปรุงขับเคลื่อนและผลักดันการดำเนินงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของกรุงเทพมหานคร | 1. ดำเนินการจัดการสัมมนาและศึกษาดูงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อพัฒนาศักยภาพด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของผู้บริหารสารสนเทศระดับสูงประจำหน่วยงานของกรุงเทพมหานคร (CIO) จำนวน 1 รุ่น ระยะเวลา 4 วัน 2. กลุ่มเป้าหมายประกอบด้วย ผู้บริหารสารสนเทศระดับสูงของกรุงเทพมหานคร จำนวน 1 คน ผู้บริหารสารสนเทศระดับสูงประจำสำนักและสำนักงานเขต จำนวน 18 คน ผู้อำนวยการสำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล จำนวน 1 คน ผู้อำนวยการกองด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล จำนวน 4 คน | 553,200.00 | 417,560.00 | สํานักยุทธศาสตร์และประเมินผล | 2016-10-01 00:00:00 | 2017-09-30 00:00:00 | แล้วเสร็จ | 100.00 |
9 | 9.0.4. ด้านที่ ๙ เมืองที่มีระบบบริหารจัดการที่ดี มีธรรมาภิบาล และการมีส่วนร่วมของประชาชน |
1.2. | 2560 | โครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องการตรวจสอบ ซ่อมแซม และบำรุงรักษาเครื่องคอมพิวเตอร์เบื้องต้น | เพื่อเป็นการประหยัดงบประมาณค่าซ่อมแซมและลดปริมาณเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ประกอบที่ส่งซ่อม และลดกระบวนการปฏิบัติงานการซ่อมบำรุงรักษาคอมพิวเตอร์ของเจ้าหน้าที่เครื่องคอมพิวเตอร์ให้สามารถบริการซ่อมได้สะดวกรวดเร็วขึ้น กองบริการระบบคอมพิวเตอร์ จึงจัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องการตรวจสอบ ซ่อมแซมและบำรุงรักษาเครื่องคอมพิวเตอร์เบื้องต้น เพื่อพัฒนาข้าราชการกรุงเทพมหานครให้มีความรู้ ความเข้าใจ และมีทักษะในการตรวจสอบ ซ่อมแซมและบำรุงรักษาเครื่องคอมพิวเตอร์ของหน่วยงานด้วยตนเอง โดยไม่ต้องเสียเวลาในการส่งซ่อมเครื่องคอมพิวเตอร์มายังกองบริการระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งจะทำให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชนที่มาใช้บริการของกรุงเทพมหานครต่อไป | เพื่อพัฒนาข้าราชการกรุงเทพมหานครให้มีความรู้ ความเข้าใจ และมีทักษะในการตรวจสอบ ซ่อมแซมและบำรุงรักษาเครื่องคอมพิวเตอร์ และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานของหน่วยงาน | ข้าราชการเข้าร่วมโครงการทั้งสิ้น จำนวน 200 คน ประกอบด้วย 3.1 เป้าหมายหลัก จำนวน 150 คน ดังนี้ (1) ข้าราชการกรุงเทพมหานคร ระดับชำนาญการลงมา จำนวน 150 คน 3.2 ผู้เกี่ยวข้อง จำนวน 50 คน ดังนี้ (1) เจ้าหน้าที่ดำเนินการ (จำนวน 5 รุ่น รุ่นละ 4 คน) จำนวน 20 คน (2) วิทยากร (จำนวน 5 รุ่น รุ่นละ 6 คน) จำนวน 30 คน | 253,000.00 | 144,974.55 | สํานักยุทธศาสตร์และประเมินผล | 2016-10-01 00:00:00 | 2017-09-30 00:00:00 | แล้วเสร็จ | 100.00 |
10 | 9.0.2. ด้านที่ ๙ เมืองที่มีระบบบริหารจัดการที่ดี มีธรรมาภิบาล และการมีส่วนร่วมของประชาชน |
4.2.1 | 2560 | กิจกรรมการศึกษา วิเคราะห์และพิจารณาความเป็นไปได้/ความเหมาะสมในการจัดหาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ | เพื่อศึกษา วิเคราะห์ และพิจารณาความเห็นไปได้/ความเหมาะสมในการจัดหาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของหน่วยงาน/ส่วนราชการในสังกัดกรุงเทพมหานคร เสนอคณะกรรมการพิจารณาความเหมาะสมการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ใช้ | ศึกษา วิเคราะห์ และพิจารณาความเห็นไปได้/ความเหมาะสมในการจัดหาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของหน่วยงาน/ส่วนราชการในสังกัดกรุงเทพมหานคร เสนอคณะกรรมการพิจารณาความเหมาะสมการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ใช้ | เรื่องที่ได้รับการศึกษา วิเคราะห์ และพิจารณาความเห็นไปได้/ความเหมาะสมที่เจ้าหน้าที่ดำเนินการวิเคราะห์แล้วเสร็จ และจัดทำรายงานเสนอเลขานุการคณะกรรมการพิจารณาความเหมาะสมการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ใช้ เพื่อนำเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการฯ | 0.00 | 0.00 | สํานักยุทธศาสตร์และประเมินผล | 2016-10-01 00:00:00 | 2017-09-30 00:00:00 | แล้วเสร็จ | 100.00 |
11 | 9.0.2. ด้านที่ ๙ เมืองที่มีระบบบริหารจัดการที่ดี มีธรรมาภิบาล และการมีส่วนร่วมของประชาชน |
4.2.1 | 2560 | กิจกรรมการแก้ไขปัญหาการใช้งานระบบโปรแกรมประยุกต์ระบบงานต่าง ๆ ตามที่หน่วยงาน/ส่วนราชการมีหนังสือขอแก้ไข | การดำเนินการแก้ไขไขปัญหาการใช้ระบบโปรแกรมประยุกต์ระบบงานต่าง ๆ ตามที่หน่วยงานผู้ใช้มีหนังสือขอแก้ไข | การดำเนินการแก้ไขไขปัญหาการใช้ระบบโปรแกรมประยุกต์ระบบงานต่าง ๆ ตามที่หน่วยงานผู้ใช้มีหนังสือขอแก้ไข | ผลสำเร็จในการแก้ไขปัญหาการใช้ระบบโประแกรมประยุกต์ | 0.00 | 0.00 | สํานักยุทธศาสตร์และประเมินผล | 2016-10-01 00:00:00 | 2017-10-01 00:00:00 | แล้วเสร็จ | 100.00 |
12 | 9.0.2. ด้านที่ ๙ เมืองที่มีระบบบริหารจัดการที่ดี มีธรรมาภิบาล และการมีส่วนร่วมของประชาชน |
4.2.1 | 2560 | โครงการจ้างที่ปรึกษาจัดทำแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารกรุงเทพมหานคร ระยะ ๕ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๑-๒๕๖๕) | สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผลในฐานะเป็นหน่วยงานกลางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของกรุงเทพมหานครพิจารณาเห็นว่า เพื่อให้การพัฒนาและการดำเนินงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของกรุงเทพมหานครเกิดความร่วมมือจากทุกหน่วยงาน เพื่อให้ข้อมูลสารสนเทศที่พัฒนาขึ้นสามารถแลกเปลี่ยนเชื่อมโยงระหว่างหน่วยงานและใช้ในการบริหารจัดการและการบริการภายในของกรุงเทพมหานคร รวมทั้งการให้บริการแก่ประชาชนและสาธารณะจึงเห็นควรจัดทำแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศกรุงเทพมหานคร ระยะ ๕ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๑ – ๒๕๖๕) ที่เชื่อมโยงกับแผนพัฒนากรุงเทพมหานคร ระยะ ๒๐ ปี (พ.ศ. ๒๕๕๖ - ๒๕๗๕) เพื่อเป็นกรอบแนวทางการพัฒนาและดำเนินงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของกรุงเทพมหานครและหน่วยงานสังกัดกรุงเทพมหานคร โดยมุ่งให้การบริการของ กรุงเทพมหานครเป็นการให้บริการอิเล็กทรอนิกส์แบบครบวงจร เพื่อมุ่งสู่การเป็นมหานครอิเล็กทรอนิกส์ (e-BMA) | ๑. เพื่อให้กรุงเทพมหานครมีแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารกรุงเทพมหานคร ระยะ ๕ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๑ – ๒๕๖๕) ที่ครอบคลุมภารกิจระดับสำนักได้อย่างเหมาะสม ๒. เพื่อให้กรุงเทพมหานครมีแนวทางบูรณาการข้อมูลสารสนเทศตามภารกิจของหน่วยงานให้สามารถแลกเปลี่ยนเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างกัน เพื่อกรุงเทพมหานครสามารถให้บริการที่ดีแก่ประชาชนได้ ๓. เพื่อให้กรุงเทพมหานครมีแนวทางการบูรณาการงบประมาณด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารอย่างเหมาะสม ซึ่งหน่วยงานในสังกัดกรุงเทพมหานครสามารถพัฒนาระบบการบริหารจัดการและการบริการตามภารกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับแผนพัฒนากรุงเทพมหานคร ระยะ ๒๐ ปี (พ.ศ. ๒๕๕๖ – ๒๕๗๕) และนโยบายของผู้บริหารกรุงเทพมหานคร ๔. เพื่อให้กรุงเทพมหานครมีเกณฑ์การติดตามความก้าวหน้า การดำเนินโครงการ/กิจกรรมด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารอย่างเป็นรูปธรรม | กรุงเทพมหานครจ้างที่ปรึกษาจัดทำแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารกรุงเทพมหานคร ระยะ 5 ปี (พ.ศ. ๒๕๖๑ – ๒๕๖๕) เพื่อใช้เป็นกรอบแนวทางการพัฒนางานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และติดตามการดำเนินงานโครงการ/กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของทุกหน่วยงานในสังกัดกรุงเทพมหานคร | 7,870,000.00 | 6,280,000.00 | สํานักยุทธศาสตร์และประเมินผล | 2016-10-01 00:00:00 | 2017-09-30 00:00:00 | แล้วเสร็จ | 100.00 |
13 | 9.0.2. ด้านที่ ๙ เมืองที่มีระบบบริหารจัดการที่ดี มีธรรมาภิบาล และการมีส่วนร่วมของประชาชน |
4.2. | 2560 | กิจกรรมการจัดทำฐานข้อมูลความรู้ประกอบการจัดทำแผนพัฒนาด้านสาธารณูปโภคและโครงสร้างพื้นฐาน | สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล โดยกองยุทธศาสตร์สาธารณูปโภคพื้นฐาน มีความรับผิดชอบในการศึกษา วิเคราะห์ วิจัยเพื่อการกำหนดนโยบายและจัดทำแผนยุทธศาสตร์ด้านสาธารณูปโภคพื้นฐานเกี่ยวกับการโยธา การระบายน้ำ การผังเมือง การจราจรและขนส่ง ประสานและสนับสนุนการจัดทำแผนปฏิบัติราชการ และติดตามผลสัมฤทธิ์ในการปฏิบัติงานตามแผนของสำนักและสำนักงานเขต ซึ่งในการดำเนินการดังกล่าวจำเป็นต้องมีข้อมูลที่ใช้ในการตรวจสอบ เปรียบเทียบผลการดำเนินงาน มีชุดความรู้ที่ใช้ในการวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลเพื่อจัดทำเป็นข้อเสนอเชิงนโยบาย การให้คำแนะนำปรึกษาแก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จากเหตุผลดังกล่าว สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล โดยกองยุทธศาสตร์สาธารณูปโภคพื้นฐานจึงเห็นควรทำการศึกษาเพื่อจัดทำฐานข้อมูลความรู้ประกอบการจัดทำแผนพัฒนาด้านสาธารณูปโภคและโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งจะนำไปสู่การมีตัวชี้วัดการพัฒนาเมืองที่เป็นมาตรฐานเป็นที่ยอมรับในระดับสากลต่อไป | 1. เพื่อรวบรวมชุดความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำแผนพัฒนาด้านสาธารณูปโภคและโครงสร้างพื้นฐาน 2. เพื่อจัดทำฐานข้อมูลความรู้ที่เกี่ยวกับการวางแผนพัฒนาเมืองด้านสาธารณูปโภคและโครงสร้างพื้นฐาน 3. เพื่อเป็นฐานข้อมูลในการกำหนดตัวชี้วัดระดับการพัฒนาของเมืองในด้านสาธารณูปโภคและโครงสร้างพื้นฐาน | ดำเนินการสำรวจและรวบรวมข้อมูลความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำแผนพัฒนาด้านสาธารณูปโภคและโครงสร้างพื้นฐาน และจัดทำรายงานข้อมูล จำนวน 1 เล่ม | 0.00 | 0.00 | สํานักยุทธศาสตร์และประเมินผล | 2016-10-01 00:00:00 | 2017-09-30 00:00:00 | แล้วเสร็จ | 100.00 |
14 | 9.0.4. ด้านที่ ๙ เมืองที่มีระบบบริหารจัดการที่ดี มีธรรมาภิบาล และการมีส่วนร่วมของประชาชน |
1.2. | 2560 | โครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการในการสร้างและออกแบบแผนผังความคิด (Mind Map) ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป | เพื่อพัฒนาความรู้ความสามารถของข้าราชการและหน่วยงานของกรุงเทพมหานคร ให้ก้าวหน้าและทันต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี เพราะในการทำงานต่างๆ ในปัจจุบัน จำเป็นต้องมีการวางแผน กำหนดกลยุทธ์และขั้นตอนการปฏิบัติงาน โดยอาศัยความรู้ ประสบการณ์และความคิดเห็นในแง่มุมจากหลายๆ ฝ่ายมาประกอบกัน ขั้นตอนในการระดมสมองมักจะได้รับข้อมูลมาเป็นจำนวนมาก จำเป็นต้องมีการนำมาร้อยเรียง ให้มีความสอดคล้องเกี่ยวเนื่อง เพื่อให้เป็นแง่มุมต่างๆ สามารถแสดงให้เข้าใจในจุดสำคัญได้ชัดเจนไปในทิศทางที่ถูกต้อง การอบรมในหลักสูตรนี้จะเป็นการสร้างเครื่องมือที่สามารถสร้างแผนผังความคิดให้ออกมาในรูปแบบที่ดูง่ายและชัดเจน สื่อให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของข้อมูลสามารถนำไปใช้ร่วมกับโปรแกรมสำนักงานอัตโนมัติได้อย่างง่ายดาย และยังนำไปประยุกต์ใช้ในการทำงานนำเสนอ (Presentation) ได้อีกด้วย | 1. เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้รับความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับความหมายและความสำคัญ ของการสร้างและออกแบบแผนผังความคิด 2. เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้รับความรู้สามารถสร้างและออกแบบแผนผังความคิดด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปได้อย่างถูกต้อง | โดยมีผู้เข้าร่วมโครงการ จำนวนทั้งสิ้น 156 คน ประกอบด้วย 1. กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 120 คน ได้แก่ ข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญทุกระดับ จำนวน 120 คน (จำนวน 4 รุ่น รุ่นละ 30 คน) 2. ผู้เกี่ยวข้อง จำนวน 36 คน ดังนี้ 1) เจ้าหน้าที่ดำเนินการ จำนวน 24 คน (จำนวน 4 รุ่น รุ่นละ 6 คน) 2) วิทยากร จำนวน 12 คน (จำนวน 4 รุ่น รุ่นละ 3 คน) | 391,900.00 | 232,058.00 | สํานักยุทธศาสตร์และประเมินผล | 2016-10-01 00:00:00 | 2017-09-30 00:00:00 | แล้วเสร็จ | 100.00 |
15 | 9.0.3. ด้านที่ ๙ เมืองที่มีระบบบริหารจัดการที่ดี มีธรรมาภิบาล และการมีส่วนร่วมของประชาชน |
3.1.1 | 2560 | โครงการปรับปรุงระบบปรับอากาศและระบบไฟฟ้าของศูนย์คอมพิวเตอร์ | ศูนย์คอมพิวเตอร์ของกรุงเทพมหานครเป็นศูนย์คอมพิวเตอร์หลักสำหรับรองรับการติดตั้งเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย อุปกรณ์เครือข่ายสื่อสาร และอุปกรณ์รักษาความปลอดภัยของระบบคอมพิวเตอร์ เพื่อให้ระบบงานสารสนเทศของกรุงเทพมหานครและระบบเครือข่ายสื่อสารสามารถให้บริการได้ต่อเนื่องตลอดเวลา โดยต้องมีระบบปรับอากาศที่สามารถควบคุมอุณหภูมิและความชื้นให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม ไม่ส่งผลให้เกิดปัญหากับการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่ายและอุปกรณ์ต่างๆ รวมถึงต้องมีระบบจ่ายกระแสไฟฟ้าได้เพียงพอต่อความต้องการใช้งานของทุกอุปกรณ์ แต่ปัจจุบันมีเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่ายและอุปกรณ์ของหน่วยงาน/ส่วนราชการต่างๆ นำมาติดตั้งเพิ่มขึ้นจำนวนมากตามการเพิ่มของระบบงานสารสนเทศและการขยายระบบเครือข่ายสื่อสาร ทำให้ปริมาณการใช้กระแสไฟฟ้าเพิ่มขึ้นมาก และมีการปล่อยความร้อนเพิ่มขึ้นจำนวนมากเช่นกัน ศูนย์คอมพิวเตอร์ได้ก่อตั้งมาตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2538 อุปกรณ์บางส่วนจึงมีอายุการใช้งานมาไม่น้อยกว่า 20 ปี มีสภาพเก่าประสิทธิภาพต่ำและมีขนาดไม่เหมาะสมตามการใช้งานจริงในปัจจุบัน มีการเกิดปัญหาชำรุดขัดข้องของระบบปรับอากาศและระบบไฟฟ้าทำให้ระบบงานสารสนเทศและระบบเครือข่ายสื่อสารขัดข้องส่งผลกระทบต่อการให้บริการประชาชน นอกจากนั้นระบบป้องกันอัคคีภัยที่มีอยู่เดิมมีสภาพชำรุดไม่สามารถใช้งานได้ และไม่มีระบบตรวจจับการรั่วซึมของน้ำที่อาจทำให้เกิดไฟฟ้าลัดวงจรอันเป็นความเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดความเสียหายได้อย่างมาก มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องปรับปรุงเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของระบบปรับอากาศ พร้อมมีระบบตรวจจับการรั่วซึมของน้ำ การป้องกันอัคคีภัย และมีระบบเฝ้าดูที่สามารถแจ้งเตือนไปยังผู้ดูแลระบบได้โดยอัตโนมัติ เพื่อสามารถแก้ไขเหตุต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ทันท่วงทีและต้องปรับปรุงระบบไฟฟ้าให้จ่ายกระแสไฟฟ้าได้สอดคล้องกับปริมาณการใช้งานและไม่เกิดการขัดข้องบ่อยครั้งอันจะเป็นการลดความเสี่ยงต่อการทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่ายและอุปกรณ์ของระบบเครือข่ายสื่อสารเกิดความชำรุดเสียหายจากปัญหาด้านกระแสไฟฟ้า ทำให้อุปกรณ์มีอายุการใช้งานนานส่งผลให้ระบบงานสารสนเทศต่างๆและระบบเครือข่ายสื่อสารสามารถให้บริการได้อย่างมีประสิทธิภาพและเสถียรภาพ | 2.1 เพื่อปรับปรุงระบบปรับอากาศ ปรับปรุงสภาพแวดล้อมของศูนย์ข้อมูลในส่วนที่อาจก่อให้เกิดปัญหาหรือลดทอนประสิทธิภาพของระบบปรับอากาศ และติดตั้งระบบตรวจจับการรั่วซึมของน้ำ ระบบป้องกันอัคคีภัย ภายในศูนย์คอมพิวเตอร์ 2.2 เพื่อติดตั้งระบบที่สามารถเฝ้าดูและแจ้งเตือนสภาวะความผิดปกติได้โดยอัตโนมัติ 2.3 เพื่อปรับปรุงระบบไฟฟ้าของศูนย์คอมพิวเตอร์ให้สามารถรองรับปริมาณการใช้กระแสไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้น และป้องกันปัญหาการขัดข้องของกระแสไฟฟ้า | ปรับปรุงระบบปรับอากาศและระบบไฟฟ้าของศูนย์คอมพิวเตอร์ กรุงเทพมหานคร ให้สามารถรองรับปริมาณการใช้กระแสไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้น และป้องกันปัญหาการขัดข้องของกระแสไฟฟ้าและติดตั้งระบบที่สามารถเฝ้าดูและแจ้งเตือนสภาวะความผิดปกติได้โดยอัตโนมัติ | 10,000,000.00 | 10,000,000.00 | สํานักยุทธศาสตร์และประเมินผล | 2016-10-01 00:00:00 | 2017-09-30 00:00:00 | แล้วเสร็จ | 100.00 |
16 | 9.0.4. ด้านที่ ๙ เมืองที่มีระบบบริหารจัดการที่ดี มีธรรมาภิบาล และการมีส่วนร่วมของประชาชน |
6.2. | 2560 | โครงการสัมมนาเชิงวิชาการนวัตกรรมคอมพิวเตอร์สมัยใหม่ | เพื่อพัฒนาความรู้ความสามารถแก่ตัวข้าราชการและหน่วยงานของกรุงเทพมหานครให้ก้าวหน้าและทันต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี การให้ความรู้ในเรื่องนวัตกรรม (Innovation) หมายถึงการนำสิ่งใหม่ ๆ อาจเป็นแนวความคิดหรือสิ่งประดิษฐ์ที่ยังไม่เคยมีใช้มาก่อนหรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงจากของเดิมที่มีอยู่แล้วให้มีความทันสมัยและได้ผลดีมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงกว่าเดิม การนำนวัตกรรมคอมพิวเตอร์สมัยใหม่ (Innovation) มาประยุกต์ใช้ในองค์กร ซึ่งก็คือการนำเอาสิ่งใหม่อาจจะอยู่ในรูปของความคิดหรือการกระทำรวมทั้งสิ่งประดิษฐ์เข้ามาใช้ในองค์กร เพื่อมุ่งหวังที่จะเปลี่ยนแปลงสิ่งที่มีอยู่เดิม เพื่อให้ระบบการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ทำให้เจ้าหน้าที่ในหน่วยงานเกิดการเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็ว เกิดแรงจูงใจในการเรียนและช่วยประหยัดเวลาในการเรียน เช่น การสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วย การใช้วีดีทัศน์เชิงโต้ตอบ (Interactive Video) สื่อหลายมิติ (Hypermedia) เป็นต้น การนำนวัตกรรมคอมพิวเตอร์สมัยใหม่มาใช้กับกรุงเทพมหานคร จะส่งผลให้หน่วยงานของกรุงเทพมหานครมีความสามารถทัดเทียมและแข่งขันกับหน่วยงานอื่น ๆ ได้ | 1. เพื่อเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับนวัตกรรมคอมพิวเตอร์สมัยใหม่ที่ใช้ในการปฏิบัติงานแก่ข้าราชการกรุงเทพมหานคร 2. เพื่อให้ข้าราชการกรุงเทพมหานครนำนวัตกรรมคอมพิวเตอร์สมัยใหม่มาประยุกต์ใช้ เพื่อเพิ่มศักยภาพภายในการปฏิบัติงาน | โดยมีผู้เข้าร่วมโครงการ จำนวนทั้งสิ้น 400 คน ประกอบด้วย 1. กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 360 คน ดังนี้ 1)ข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญทุกระดับ จำนวน 360 คน (จำนวน 2 รุ่น รุ่นละ 180 คน) 2. ผู้เกี่ยวข้อง จำนวน 40 คน ดังนี้ 1)เจ้าหน้าที่ดำเนินการ จำนวน 30 คน (จำนวน 2 รุ่น รุ่นละ 15 คน) 2)วิทยากร จำนวน 10 คน (จำนวน 2 รุ่น รุ่นละ 5 คน) | 362,000.00 | 278,193.00 | สํานักยุทธศาสตร์และประเมินผล | 2016-10-01 00:00:00 | 2017-09-30 00:00:00 | แล้วเสร็จ | 100.00 |
17 | 9.0.2. ด้านที่ ๙ เมืองที่มีระบบบริหารจัดการที่ดี มีธรรมาภิบาล และการมีส่วนร่วมของประชาชน |
4.2.1 | 2560 | กิจกรรมการให้บริการซ่อมแซมและบำรุงรักษาไมโครคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง | เพื่อแก้ปัญหาข้อขัดข้องของระบบเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วงที่ใช้งานในลักษณะ Stand Alone ให้กับผู้บริหารและทุกหน่วยงานของกรุงเทพมหานคร | จำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์ที่สามารถแก้ไขและใช้งานได้ ร้อยละ 85 | 0.00 | 0.00 | สํานักยุทธศาสตร์และประเมินผล | 2016-10-01 00:00:00 | 2017-10-01 00:00:00 | แล้วเสร็จ | 100.00 | |
18 | 9.0.4. ด้านที่ ๙ เมืองที่มีระบบบริหารจัดการที่ดี มีธรรมาภิบาล และการมีส่วนร่วมของประชาชน |
4.2.1 | 2560 | กิจกรรมจัดทำวารสารไมโครวิชั่น | เทคโนโลยีสารสนเทศมีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว เพื่อให้สอดคล้องกับการพัฒนาเทคโนโลยี จึงต้องมีการเผยแพร่ความรู้ให้กับข้าราชการและบุคลากรของกรุงเทพมหานคร | เพื่อเผยแพร่ความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและเรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ ให้กับข้าราชการและบุคลากรของกรุงเทพมหานคร | จำนวน 3 ครั้ง/ปี | 0.00 | 0.00 | สํานักยุทธศาสตร์และประเมินผล | 2016-10-01 00:00:00 | 2017-09-30 00:00:00 | แล้วเสร็จ | 100.00 |
19 | 9.0.3. ด้านที่ ๙ เมืองที่มีระบบบริหารจัดการที่ดี มีธรรมาภิบาล และการมีส่วนร่วมของประชาชน |
3.1.1 | 2560 | โครงการจัดหาระบบคอมพิวเตอร์สำรองฉุกเฉินของกรุงเทพมหานคร (Disaster Recovery Site) | กรุงเทพมหานครได้นำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการบริหารงานของกรุงเทพมหานคร โดยพัฒนาโครงการจัดระบบข้อมูลและข่ายงานคอมพิวเตอร์ของกรุงเทพมหานคร (ระบบ MIS) ประกอบด้วยระบบงาน 13 ระบบสามารถปฏิบัติงานได้ตามหน่วยงานต่าง ๆ ของกรุงเทพมหานคร ซึ่งมีการเชื่อมโยงเครือข่ายการสื่อสารข้อมูลถึงกันมีระบบฐานข้อมูลที่ใช้งานร่วมกัน โดยมีระบบคอมพิวเตอร์เครื่องแม่ข่ายและระบบฐานข้อมูลติดตั้ง ณ ศูนย์คอมพิวเตอร์ กองควบคุมระบบคอมพิวเตอร์ สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล ชั้น 6 อาคาร 2 ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร 2 (ดินแดง) ปัจจุบันการสำรองข้อมูลจัดทำเป็น Tape Backup โดยเก็บไว้ที่กองควบคุมระบบคอมพิวเตอร์ 1 ชุด ส่วนอุปกรณ์คอมพิวเตอร์และเครื่องแม่ข่าย (Server) ต่าง ๆ ไม่มีเครื่องสำรองซึ่งหากเกิดสถานการณ์ฉุกเฉิน เช่น เพลิงไหม้ แผ่นดินไหว การชุมนุมทางการเมือง เป็นต้น จะทำให้ไม่สามารถให้บริการระบบงานดังกล่าวได้ ดังนั้น เพื่อให้การบริการประชาชนและการปฏิบัติงานของหน่วยงานภายในกรุงเทพมหานคร สามารถปฏิบัติงานได้อย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ แม้จะเกิดสถานการณ์ฉุกเฉินต่าง ๆ จึงจำเป็นต้องมีระบบคอมพิวเตอร์สำรองฉุกเฉินของกรุงเทพมหานคร (Disaster Recovery Site) | ๑.มีระบบคอมพิวเตอร์สำรองฉุกเฉินของกรุงเทพมหานคร (Disaster Recovery Site)เพื่อให้ระบบสารสนเทศหลักของกรุงเทพมหานคร ได้แก่ 1. ระบบรายได้ 2. ระบบการเงิน 3. ระบบบัญชี 4. ระบบงบประมาณ 5. ระบบจัดซื้อ 6. ระบบจัดจ้าง 7. ระบบบัญชีทรัพย์สิน 8. ระบบบุคลากร 9. ระบบงานเงินเดือน 10. ระบบงานเรื่องราวร้องทุกข์ 11.ระบบงานบริหารคลังพัสดุกลาง 12. ระบบงานบริหารน้ำมันเชื้อเพลิงและหล่อลื่น และ 13. ระบบเบิกจ่ายตรงค่ารักษาพยาบาล สามารถให้บริการประชาชนแลtการปฏิบัติงานของหน่วยงานภายในกรุงเทพมหานครได้อย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพรองรับสถานการณ์ฉุกเฉินต่าง ๆ ในกรณีที่ระบบคอมพิวเตอร์ ระบบเครือข่ายและระบบงานที่ติดตั้ง ณ ศูนย์คอมพิวเตอร์ กองควบคุมระบบคอมพิวเตอร์ สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผลเกิดขัดข้องไม่สามารถใช้งานได้ 2.เพื่อป้องกันไม่ให้ระบบฐานข้อมูลของระบบสารสนเทศของกรุงเทพมหานครที่อยู่ ณ ศูนย์คอมพิวเตอร์ เกิดความเสียหาย ซึ่งอาจจะทำให้ไม่สามารถนำข้อมูลกลับมาใช้งานได้อีก | 1. จัดหาระบบที่สามารถรองรับสถานการณ์ฉุกเฉินต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นกับระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของกรุงเทพมหานคร 2.ระบบคอมพิวเตอร์สำรองฉุกเฉินของกรุงเทพมหานคร (Disaster Recovery Site)สามารถทำงานได้ภายในระยะเวลาอันรวดเร็วในกรณีเกิดสถานการณ์ฉุกเฉินต่าง ๆ 3.หน่วยงานของกรุงเทพมหานครสามารถปฏิบัติงานได้ตลอดเวลาและมีประสิทธิภาพ | 0.00 | 0.00 | สํานักยุทธศาสตร์และประเมินผล | 2016-10-01 00:00:00 | 2017-09-30 00:00:00 | ยกเลิก | 10.00 |
20 | 7.0.1. ด้านที่ ๗ – การบริหารจัดการเมืองมหานคร : Management Strategy |
1.2. | 2561 | โครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาศักยภาพบุคลากรที่ปฏิบัติงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศให้สอดคล้องกับมาตรฐานวิชาชีพไอที (กบพ) | สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผลในฐานะหน่วยงานกลางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของกรุงเทพมหานคร ได้เล็งเห็นความสำคัญในการที่จะพัฒนาศักยภาพ ของบุคลากรกรุงเทพมหานครด้านไอซีทีจึงได้จัดทำโครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาศักยภาพบุคลากรที่ปฏิบัติงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ให้สอดคล้องกับมาตรฐานวิชาชีพไอที โดยประสานขอความร่วมมือจากศูนย์บริหารองค์การสากล (GEMC) มหาวิทยาลัยมหิดล และสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) เพื่อจัดให้มี การฝึกอบรม เชิงปฏิบัติการ เพื่อพัฒนาสมรรถนะ ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นการยกระดับ มาตรฐานวิชาชีพ ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของบุคลากร กทม. ให้มีความรู้ ความชำนาญและทักษะตามมาตรฐานวิชาชีพขั้นสูงต่อไป | 1 เพื่อพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของกรุงเทพมหานครให้มีสมรรถนะที่สอดคล้องกับมาตรฐานระดับประเทศ 2 เพื่อยกระดับมาตรฐานวิชาชีพด้านไอทีของกรุงเทพมหานครให้มีคุณภาพเทียบเท่ามาตรฐาน 3 เพื่อเป็นแนวทางในการปรับเป็นเกณฑ์ประเมิน Competencies ของบุคลากรสายงานไอที | จัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการอย่างเข้มข้นเพื่อพัฒนาศักยภาพและเตรียมความพร้อมของบุคลากรที่ปฏิบัติงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศให้มีสมรรถนะ และองค์ความรู้ที่สอดคล้องกับมาตรฐานวิชาชีพไอที โดยมีผู้เกี่ยวข้องประกอบด้วย กลุ่มเป้าหมาย ข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญที่ปฏิบัติงาน ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ระดับปฏิบัติการถึงระดับชำนาญการพิเศษ จำนวน 60 คน ผู้เกี่ยวข้อง จำนวน 7 คนต่อรุ่น ดังนี้ 1) เจ้าหน้าที่ดำเนินการ จำนวน 4 คนต่อรุ่น และ 2) วิทยากร จำนวน 3 คนต่อรุ่น | 436,000.00 | 272,500.00 | สํานักยุทธศาสตร์และประเมินผล | 2017-10-01 00:00:00 | 2018-10-01 00:00:00 | แล้วเสร็จ | 100.00 |
21 | 7.0.1. ด้านที่ ๗ – การบริหารจัดการเมืองมหานคร : Management Strategy |
4.2. | 2561 | กิจกรรมความสำเร็จของการจัดทำงบการเงินทันเวลาและถูกต้อง | ความสำเร็จของการจัดทำงบการเงินทันเวลาและถูกต้อง | เพื่อความสำเร็จของการจัดทำงบการเงินทันเวลาและถูกต้อง | จัดทำงบการเงินทันเวลาและถูกต้อง | 0.00 | 0.00 | สํานักยุทธศาสตร์และประเมินผล | 2017-10-01 00:00:00 | 2018-09-30 00:00:00 | แล้วเสร็จ | 100.00 |
22 | 7.0.1. ด้านที่ ๗ – การบริหารจัดการเมืองมหานคร : Management Strategy |
4.2. | 2561 | กิจกรรมความสำเร็จของการจัดทำรายงานบัญชีมูลค่าทรัพย์สินประจำปี 2560 ทันเวลาและถูกต้อง | ความสำเร็จของการจัดทำรายงานบัญชีมูลค่าทรัพย์สินประจำปี 2560 ทันเวลาและถูกต้อง | การจัดทำรายงานบัญชีมูลค่าทรัพย์สินประจำปี 2560 ทันเวลาและถูกต้อง | เพื่อจัดทำรายงานบัญชีมูลค่าทรัพย์สินประจำปี 2560 ทันเวลาและถูกต้อง | 0.00 | 0.00 | สํานักยุทธศาสตร์และประเมินผล | 2017-10-01 00:00:00 | 2018-09-30 00:00:00 | แล้วเสร็จ | 100.00 |
23 | 7.0.1. ด้านที่ ๗ – การบริหารจัดการเมืองมหานคร : Management Strategy |
4.2.1 | 2561 | โครงการพัฒนาระบบการให้บริการข้อมูลภูมิสารสนเทศกลางและพัฒนาระบบภูมิสารสนเทศเพื่อการผังเมืองของกรุงเทพมหานคร | ปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศมีบทบาทอย่างมาก ในทุกมิติการทำงานของภาครัฐ (Smart Government) ทั้งด้านการให้บริการประชาชน การบริหารจัดการภาครัฐ และการกำหนดนโยบาย ประกอบกับรัฐบาลมีนโยบายผลักดันให้ภาครัฐยกระดับขีดความสามารถเชิงดิจิทัลมุ่งสู่การเป็นรัฐบาลดิจิทัล เป็นยุทธศาสตร์ที่ ๑ ในแผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลประเทศไทย ระยะ ๓ ปี (พ.ศ. ๒๕๕๙ – ๒๕๖๑) องค์ประกอบที่ ๑ การบูรณาการภาครัฐ เป็นการบูรณาการระหว่างหน่วยงาน ตั้งแต่การเชื่อมโยงข้อมูลไปจนถึงการดำเนินงาน เพื่อยกระดับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน ที่จะนำไปสู่งานบริการประชาชนได้ดี และรวดเร็วขึ้น การพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่ผ่านมามีลักษณะ “ต่างคนต่างทำ” ในหน่วยงานต่าง ๆ ที่มีความต้องการใช้เทคโนโลยี ควรมาใช้ทรัพยากรร่วมกัน (Shared Resources) และใช้บริการทางเทคโนโลยีร่วมกัน (Shared Services) ช่วยลดความซ้ำซ้อนในเรื่องงบประมาณ ระยะเวลาในการดำเนินงาน และการดูแลรักษาระบบ สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล โดยกองสารสนเทศภูมิศาสตร์ มีหน้าที่รับผิดชอบ ด้านการพัฒนาระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographic Information System : GIS) ให้คำปรึกษาและให้บริการทรัพยากรส่วนกลางทางด้าน GIS (Server, Software, Database) ให้ใช้งานร่วมกัน เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานเชิงพื้นที่ให้กับเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานต่าง ๆ ในกรุงเทพมหานคร จึงได้จัดทำโครงการพัฒนาระบบการให้บริการข้อมูลภูมิสารสนเทศของกรุงเทพมหานคร เพื่อให้มีระบบสารสนเทศกลางทางด้าน GIS เป็นเครื่องมือสนับสนุนการปฏิบัติงานในเชิงพื้นที่ได้เหมาะสมกับเทคโนโลยีใหม่ ๆ ได้ สามารถรองรับงานที่หลากหลาย เพื่อนำไปสู่การบูรณาการข้อมูลและการทำงาน ใช้ทรัพยากรดิจิทัลร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ ลดความซ้ำซ้อน ทันต่อเวลา และเป็นไปตามเกณฑ์การพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ (Public Sector Management Quality Award) นอกจากนี้ สำนักผังเมืองซึ่งเป็นหน่วยงานที่ดำเนินการทางด้าน GIS เช่นเดียวกัน มีภารกิจ ในการพัฒนาแผนที่ฐาน การวางและจัดทำผังเมืองรวมของกรุงเทพมหานคร เพื่อให้เกิดความเป็นระเบียบเรียบร้อย รองรับกับการขยายตัวของเมืองในอนาคตที่เติบโตและเปลี่ยนแปลงทั้งทางด้านกายภาพ เศรษฐกิจ สังคม ประชากร และสิ่งแวดล้อม ดังนั้น ในการวางแผนเพื่อการบริหารจัดการเมืองดังกล่าว ระบบจัดการฐานข้อมูลแผนที่ การใช้ประโยชน์และการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินและอาคาร มีระบบอำนวยความสะดวกในการสืบค้น วิเคราะห์ และแสดงผลข้อมูลในแต่ละพื้นที่ ซึ่งถือเป็นองค์ประกอบสำคัญของระบบ ภูมิสารสนเทศ ที่ต้องนำมาใช้เพื่อการวิเคราะห์ ติดตามและประเมินผลผังเมืองรวมที่ได้บังคับใช้ และเพื่อปรับปรุงผังเมืองรวมต่อไปในอนาคต สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผลและสำนักผังเมือง จึงดำเนินการโครงการพัฒนาระบบการให้บริการข้อมูลภูมิสารสนเทศกลางและพัฒนาระบบภูมิสารสนเทศเพื่อการผังเมืองของกรุงเทพมหานคร เพื่อสนับสนุนภารกิจทางด้านผังเมือง และภารกิจของหน่วยงานต่าง ๆ โดยบูรณาการการใช้ทรัพยากร ทางด้านซอฟต์แวร์ ฐานข้อมูล และโปรแกรมสนับสนุนการปฏิบัติงานตามภารกิจที่เกี่ยวข้องร่วมกัน | 1. เพื่อให้กรุงเทพมหานครมีระบบการให้บริการข้อมูลภูมิสารสนเทศกลาง และระบบ ภูมิสารสนเทศเพื่อการผังเมืองของกรุงเทพมหานครที่เป็นมาตรฐานและสามารถบูรณาการเพื่อใช้งานร่วมกัน และสนับสนุนการปฏิบัติงานเชิงพื้นที่ได้ 2. เพื่อออกแบบและพัฒนาระบบบริหารจัดการพื้นที่เขตเชิงกายภาพ รวมถึงโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อสนับสนุนการวางแผน การบริหารจัดการและจัดทำผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร ให้อยู่ในรูปแบบมาตรฐานที่สามารถนำไปใช้ประกอบการกำหนดนโยบายและวางแผนยุทธศาสตร์ด้านการผังเมืองได้อย่างเหมาะสม | 1. กรุงเทพมหานครมีระบบให้บริการข้อมูลภูมิสารสนเทศกลางเพื่อเป็นเครื่องมือในการพัฒนาระบบภูมิสารสนเทศให้กับหน่วยงานของกรุงเทพมหานคร 2. กรุงเทพมหานครมีระบบภูมิสารสนเทศเพื่อการผังเมืองในรูปแบบโปรแกรมประยุกต์บนระบบเครือข่าย (Web Map Application) ให้บริการแก่หน่วยงานในกรุงเทพมหานคร หน่วยงานภายนอก สถาบันการศึกษา และประชาชนทั่วไป 3. กรุงเทพมหานครมีระบบบริหารจัดการพื้นที่เขตในกรุงเทพมหานคร เพื่อเป็นเครื่องมือในการจัดเก็บข้อมูลเชิงกายภาพสำหรับการบริหารจัดการของสำนักงานเขต คิดเป็นร้อยละ 80 (ตามเป้าหมายการดำเนินงานในปีงบประมาณ 2561) | 26,855,300.00 | 0.00 | สํานักยุทธศาสตร์และประเมินผล | 2017-10-01 00:00:00 | 2019-03-28 00:00:00 | แล้วเสร็จ | 100.00 |
24 | 7.0.1. ด้านที่ ๗ – การบริหารจัดการเมืองมหานคร : Management Strategy |
1.2.1 | 2561 | โครงการสัมมนาเพื่อพัฒนาศักยภาพผู้บริหารสารสนเทศระดับสูง (CIO) | กรุงเทพมหานคร โดยสำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล ได้พัฒนาบุคลากรผู้ดำรงตำแหน่งผู้บริหารสารสนเทศระดับสูงของกรุงเทพมหานคร ผู้บริหารสารสนเทศระดับสูงประจำสำนักและสำนักงานเขตอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ผู้บริหารสารสนเทศระดับสูงสามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการบริหารงานได้อย่างชาญฉลาดและสร้างสรรค์ และสามารถวางแผนยุทธศาสตร์การนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาพัฒนาภารกิจของหน่วยงาน สามารถบูรณาการและสร้างคุณค่าจากข้อมูลของหน่วยงานให้เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ และสามารถสร้างเครือข่ายผู้บริหารสารสนเทศระดับสูงเพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กระบวนการวางแผนยุทธศาสตร์ การดำเนินงาน และติดตามความก้าวหน้าของเทคโนโลยีใหม่ๆ รวมถึงแนวคิดในการบริหารจัดการสารสนเทศเพื่อพัฒนาหน่วยงานให้ทันสมัย สามารถสร้างสรรค์การบริการให้ตอบสนองความต้องการของประชาชนได้อย่างรวดเร็ว และถูกต้อง กองสารสนเทศภูมิศาสตร์ได้รับมอบหมายให้เป็นหน่วยงานรองรับการปฏิบัติงานของผู้บริหาร-สารสนเทศระดับสูง พิจารณาแล้วเห็นว่าเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพของการดำเนินการของหน่วยงานข้างต้น จำเป็นต้องพัฒนาศักยภาพและส่งเสริมความรู้และการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในกลุ่มผู้บริหารสารสนเทศระดับสูง อย่างต่อเนื่อง ด้วยกระบวนการสัมมนาและศึกษาดูงานหน่วยงานอื่นๆ เพื่อให้เกิดการศึกษาเปรียบเทียบการบริหาร-จัดการและการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อสนับสนุนการทำงานของหน่วยงานและการบริการประชาชน เพื่อให้เกิดแนวคิดการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการพัฒนาการดำเนินงานตามภารกิจหลักของหน่วยงานและของกรุงเทพมหานครอย่างยั่งยืนต่อไป | 1. เพื่อให้ผู้บริหารสารสนเทศระดับสูงของกรุงเทพมหานคร ผู้บริหารสารสนเทศระดับสูงประจำสำนักและสำนักงานเขต ตระหนักถึงความสำคัญและมีทัศนคติที่ดีในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการบริหาร งานของหน่วยงานและของกรุงเทพมหานคร 2. เพื่อให้ผู้บริหารสารสนเทศระดับสูงของกรุงเทพมหานคร ผู้บริหารสารสนเทศระดับสูงประจำสำนักและสำนักงานเขต มีความรู้ ความสามารถในการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาปรับใช้ เพื่อพัฒนากระบวนการ -ทำงานและบูรณาการข้อมูลเพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานของหน่วยงานและของกรุงเทพมหานคร 3. เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือของผู้บริหารสารสนเทศระดับสูง เพื่อให้การบริหารจัดการและการพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัลของกรุงเทพมหานคร เป็นไปตามทิศทางการพัฒนาที่กำหนดไว้ร่วมกัน | ผู้บริหารสารสนเทศระดับสูงของกรุงเทพมหานคร ผู้บริหารสารสนเทศระดับสูงประจำสำนัก และสำนักงานเขต ผู้บริหารหน่วยงาน และข้าราชการที่ได้รับมอบหมาย จำนวน 28 คน เข้ารับการสัมมนาเพื่อพัฒนาศักยภาพด้านการบริหารจัดการเทคโนโลยีดิจิทัล แบบไป - กลับ จำนวน 7 วัน และศึกษาดูงาน ในหน่วยงานภาครัฐและเอกชนภายในประเทศ แบบพักค้าง จำนวน 3 วัน 2 คืน รวมระยะเวลาทั้งสิ้น 10 วัน | 484,500.00 | 484,500.00 | สํานักยุทธศาสตร์และประเมินผล | 2017-10-01 00:00:00 | 2018-09-30 00:00:00 | แล้วเสร็จ | 100.00 |
25 | 7.0.1. ด้านที่ ๗ – การบริหารจัดการเมืองมหานคร : Management Strategy |
4.2.1 | 2561 | กิจกรรมการให้บริการข้อมูลสารสนเทศบนแผนภาพ (infographic) | กองสารสนเทศภูมิศาสตร์ดำเนินการบูรณาการข้อมูลและประสานกับหน่วยงานที่รับผิดชอบ เพื่อจะทำข้อมูลสารสนเทศบนแผนภาพ (Infographic) ที่มีลักษณะของข้อมูลและกราฟิกเป็นลายเส้น สัญลักษณ์ กราฟ แผนภูมิ ไดอะแกรม และแผนที่ ในการแสดงข้อมูลและบริการด้านต่าง ๆ ของกรุงเทพมหานครเป็นภาษาไทย หรือภาษาอังกฤษ และเผยแพร่ให้ความรู้บริการแก่ ภาครัฐ ภาคเอกชน นักเรียน นักศึกษา และประชาชนทั่วไปบนเว็บไซต์ศูนย์ข้อมูลกรุงเทพมหานคร | เพื่อเผยแพร่ความรู้ด้านข้อมูลสารสนเทศและบริการด้านต่าง ๆ ของกรุงเทพมหานคร | จัดทำแผนภาพ (Infographic) ไม่น้อยกว่า 16 แผนภาพต่อไป | 0.00 | 0.00 | สํานักยุทธศาสตร์และประเมินผล | 2017-10-01 00:00:00 | 2018-09-30 00:00:00 | แล้วเสร็จ | 100.00 |
26 | 7.0.1. ด้านที่ ๗ – การบริหารจัดการเมืองมหานคร : Management Strategy |
4.2. | 2561 | โครงการฝึกอบรมหลักสูตรระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ | ปัจจุบันนี้ กรุงเทพมหานครนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการบริหารจัดการและการให้บริการ ซึ่งอยู่ภายใต้กรอบของแผนพัฒนากรุงเทพมหานคร ระยะ 20 ปี ระยะที่ 1 (พ.ศ. 2556-2560) ในประเด็น-ยุทธศาสตร์ที่ 7 การบริหารจัดการ ประเด็นยุทธศาสตร์ย่อยที่ 7.5 เทคโนโลยีสารสนเทศ กลยุทธ์ที่ 7.5.3 เพิ่มศักยภาพของบุคลากรกรุงเทพมหานคร ด้านการใช้งานและการบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ และแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศกรุงเทพมหานคร ระยะ 4 ปี (พ.ศ. 2556-2559) แต่เนื่องจากข้าราชการ ของกรุงเทพมหานครยังมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ไม่เพียงพอ จึงไม่สามารถนำระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์มาใช้งานให้เกิดประโยชน์ได้ กองสารสนเทศภูมิศาสตร์เห็นความสำคัญของการนำระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ไปประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการและการให้บริการ จึงเห็นควรพัฒนาศักยภาพให้กับข้าราชการกรุงเทพมหานครมีความรู้ ความเข้าใจและสามารถนำระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ไปใช้งานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน และเกิดประโยชน์ต่อหน่วยงาน | 3.1.1 เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ 3.1.2 ผู้เข้ารับการฝึกอบรมสามารถจัดเก็บข้อมูล การจัดทำแผนที่ การใช้เครื่องมือต่าง ๆ และทักษะการใช้โปรแกรมด้านระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ในการวิเคราะห์เชิงพื้นที่ รวมทั้งสามารถนำแนวคิดด้านระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ไปบูรณาการให้เกิดประโยชน์แก่หน่วยงาน 3.1.3 เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้แลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน รวมถึงการสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างหน่วยงาน | จัดโครงการฝึกอบรมหลักสูตรระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ณ ศูนย์ฝึกอบรมคอมพิวเตอร์ ชั้น 4 สำนักการศึกษา เขตคลองสาน กรุงเทพมหานคร โดยแบ่งเป็น 2 หลักสูตร ดังนี้ 1. หลักสูตรระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์กรุงเทพมหานครเบื้องต้น เป็นการฝึกอบรม แบบไป-กลับ ให้กับข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญ ประเภททั่วไป ระดับปฏิบัติงาน-ระดับอาวุโส และประเภทวิชาการ ระดับปฏิบัติการ-ระดับชำนาญการพิเศษ จำนวน 100 คน แบ่งเป็น 3 รุ่น ๆ ละ 3 วันทำการ 2. หลักสูตรการประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์กรุงเทพมหานคร เป็นการฝึกอบรมแบบไป-กลับ ให้กับข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญ ประเภททั่วไป ระดับปฏิบัติงาน-ระดับอาวุโส และประเภทวิชาการ ระดับปฏิบัติการ-ระดับชำนาญการพิเศษ จำนวน 75 คน แบ่งเป็น 3 รุ่น ๆ ละ 3 วันทำการ 2.1 ด้านการใช้ทรัพยากรส่วนกลาง (BMA GIS ONLINE) จำนวน 2 รุ่น ๆ ละ 25 คน 2.2 ด้านการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่ จำนวน 1 รุ่น ๆ ละ 25 คน | 452,000.00 | 227,500.00 | สํานักยุทธศาสตร์และประเมินผล | 2017-10-03 00:00:00 | 2018-02-15 00:00:00 | แล้วเสร็จ | 100.00 |
27 | 7.0.1. ด้านที่ ๗ – การบริหารจัดการเมืองมหานคร : Management Strategy |
1.2. | 2561 | โครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องการตรวจสอบ ซ่อมแซม และบำรุงรักษาเครื่องคอมพิวเตอร์ขั้นสูง (Advanced) | เพื่อเป็นการประหยัดงบประมาณค่าซ่อมแซมและลดปริมาณเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ประกอบที่ส่งซ่อม และลดกระบวนการปฏิบัติงานการซ่อมบำรุงรักษาคอมพิวเตอร์ของเจ้าหน้าที่เครื่องคอมพิวเตอร์ให้สามารถบริการซ่อมได้สะดวกรวดเร็วขึ้น กองบริการระบบคอมพิวเตอร์ จึงจัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องการตรวจสอบ ซ่อมแซมและบำรุงรักษาเครื่องคอมพิวเตอร์ขั้นสูง (Advanced) เพื่อพัฒนาข้าราชการกรุงเทพมหานครให้มีความรู้ ความเข้าใจ และมีทักษะในการตรวจสอบ ซ่อมแซมและบำรุงรักษาเครื่องคอมพิวเตอร์ของหน่วยงานด้วยตนเอง โดยไม่ต้องเสียเวลาในการส่งซ่อมเครื่องคอมพิวเตอร์มายังกองบริการระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งจะทำให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชนที่มาใช้บริการของกรุงเทพมหานครต่อไป | เพื่อพัฒนาข้าราชการกรุงเทพมหานครให้มีความรู้ ความเข้าใจ และมีทักษะในการตรวจสอบ ซ่อมแซมและบำรุงรักษาเครื่องคอมพิวเตอร์ และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานของหน่วยงาน | ข้าราชการเข้าร่วมโครงการทั้งสิ้น จำนวน 195 คน ประกอบด้วย 3.1 เป้าหมายหลัก จำนวน 150 คน ดังนี้ (1) ข้าราชการกรุงเทพมหานคร ระดับชำนาญการลงมา จำนวน 150 คน 3.2 ผู้เกี่ยวข้อง จำนวน 36 คน ดังนี้ (1) เจ้าหน้าที่ดำเนินการ (จำนวน 5 รุ่น รุ่นละ 6 คน) จำนวน 30 คน (2) วิทยากร (จำนวน 5 รุ่น รุ่นละ 3 คน) จำนวน 15 คน | 363,300.00 | 362,194.00 | สํานักยุทธศาสตร์และประเมินผล | 2017-10-01 00:00:00 | 2018-09-30 00:00:00 | แล้วเสร็จ | 100.00 |
28 | 7.0.1. ด้านที่ ๗ – การบริหารจัดการเมืองมหานคร : Management Strategy |
1.2. | 2561 | โครงการฝึกอบรมคอมพิวเตอร์แก่ข้าราชการตามมติคณะรัฐมนตรี (COM – 03) | คณะรัฐมนตรีได้มีมติ เมื่อวันที่ ๒๒ เมษายน ๒๕๓๗ อนุมัติหลักการแผนและมาตรการส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศตามมาตรฐานขั้นต่ำ และกำหนดให้ข้าราชการที่จะเลื่อนจากระดับ ๕ เป็นระดับ ๖ ต้องมีความรู้คอมพิวเตอร์ สามารถทำแผ่นตารางทำการ (Spreadsheet) และเพื่อให้เกิดผลในทางปฏิบัติ ก.พ. ได้มีมติให้เพิ่มเติมมาตรฐานกำหนดตำแหน่งของข้าราชการพลเรือนระดับ ๖ ทุกสายงาน มีความรู้ทางคอมพิวเตอร์ให้สอดคล้องกับมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าว ซึ่งมีผลปฏิบัติมาตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๓๙ กรุงเทพมหานคร โดยสำนักยุทธศาสตร์และประเมินผลได้ถือปฏิบัติและดำเนินการฝึกอบรมข้าราชการตามมติดังกล่าวมาตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๓๙ จนถึงปัจจุบันอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ อนุกรรมการสามัญประจำกรุงเทพมหานครได้มีประกาศ ลงวันที่ ๑๕ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ การจัดทำมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง และจัดตำแหน่งข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญของทุกหน่วยงานเข้าประเภทตำแหน่ง สายงาน และระดับตำแหน่งตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง จึงเปลี่ยนกลุ่มเป้าหมายจากข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญที่ดำรงตำแหน่งในระดับ ๖ และ ระดับ ๖ ว – ๗ ว/วช. เป็นข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญ ตำแหน่งประเภททั่วไป ระดับชำนาญงาน และตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับชำนาญการ และเพื่อให้การปฏิบัติสอดคล้องกับมติคณะรัฐมนตรีและมติ ก.พ. ดังกล่าว เห็นควรกำหนดให้มีการจัดฝึกอบรมคอมพิวเตอร์แก่ข้าราชการตามมติคณะรัฐมนตรี ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๑ ต่อไป | เพื่อพัฒนาข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญให้มีความรู้ ความเข้าใจในเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ ความรู้พื้นฐานและวิธีการใช้งานในขั้นพื้นฐาน สามารถปฏิบัติงานด้วยการใช้คอมพิวเตอร์ในด้านการจัดการงานพิมพ์เอกสาร การจัดทำแผ่นตารางทำการ และการนำเสนอผลงาน ตลอดจนได้รับการฝึกอบรมตามมติคณะรัฐมนตรีและหลักเกณฑ์มาตรฐานกำหนดตำแหน่งเพิ่มเติมตามที่ ก.พ. กำหนด | ข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญ ตำแหน่งประเภททั่วไป ระดับชำนาญงาน และตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับชำนาญการ ทุกสายงาน | 297,500.00 | 0.00 | สํานักยุทธศาสตร์และประเมินผล | 2017-10-01 00:00:00 | 2018-09-30 00:00:00 | ยกเลิก | 10.00 |
29 | 7.0.1. ด้านที่ ๗ – การบริหารจัดการเมืองมหานคร : Management Strategy |
1.2. | 2561 | โครงการฝึกอบรมระบบข้อมูลและข่ายงานระบบคอมพิวเตอร์ของกรุงเทพมหานคร (ระบบ MIS) | กรุงเทพมหานคร โดยสำนักยุทธศาสตร์และประเมินผลได้ดำเนินการพัฒนาระบบสารสนเทศของกรุงเทพมหานคร เพื่อปรับปรุงการบริหารงาน และการบริการประชาชนให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ในส่วนของสำนักและสำนักงานเขต ได้ดำเนินการพัฒนาระบบสารสนเทศส่วนกลาง ตามโครงการจัดระบบข้อมูลและข่ายงานคอมพิวเตอร์ของกรุงเทพมหานคร (ระบบ MIS) ได้แก่ ระบบงานจัดซื้อ จัดจ้าง บัญชีทรัพย์สิน งบประมาณ รายได้ การเงิน บัญชี บุคลากร เรื่องราวร้องทุกข์ เงินเดือน บริหารคลังวัสดุกลาง บริหารน้ำมันเชื้อเพลิงและหล่อลื่น และเบิกจ่ายตรงค่ารักษาพยาบาล ในปัจจุบันระบบ MIS ได้เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้การจัดระบบข้อมูลของหน่วยงาน นำไปสู่ การปฏิบัติงานที่สามารถเพิ่มประสิทธิภาพได้ในระดับหนึ่ง และเพื่อให้การดำเนินงานตามโครงการฯ ดังกล่าวเกิดผลสำเร็จต่อเนื่อง สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผลได้ติดตามผลการใช้ระบบ และแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ทั้งในด้านประสิทธิภาพของระบบเครือข่ายและการใช้โปรแกรมระบบงานที่เป็นอุปสรรคปัญหาต่อการปฏิบัติงาน ให้เกิด ผลสำเร็จยิ่งขึ้น โดยได้ดำเนินการขอจัดสรรงบประมาณดำเนินการปรับปรุงระบบงานดังกล่าว เพื่อให้การปฏิบัติงานสอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้ระบบ และกระบวนการปฏิบัติงาน ดังนั้น จึงเห็นควรดำเนินการจัดให้มี การฝึกอบรมคอมพิวเตอร์การใช้โปรแกรมระบบงานที่ได้พัฒนาปรับปรุงแก่ข้าราชการกรุงเทพมหานครทั้งระดับสำนักและสำนักงานเขต สามารถใช้ระบบงานที่เกี่ยวข้องเพื่อการปฏิบัติงานตามความรับผิดชอบต่อไป | เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้รับความรู้เกี่ยวกับวิธีการใช้ระบบงาน MIS ที่เกี่ยวข้องและสามารถนำไปใช้ในการปฏิบัติงานตามหน้าที่ความรับผิดชอบได้อย่างถูกต้อง | ข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญ ตำแหน่งประเภททั่วไป ระดับปฏิบัติงาน – ชำนาญงาน ตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับปฏิบัติการ – ชำนาญการ และข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากรุงเทพมหานคร ประเภทผู้สอนในหน่วยงานการศึกษา | 221,900.00 | 0.00 | สํานักยุทธศาสตร์และประเมินผล | 2017-10-01 00:00:00 | 2018-09-30 00:00:00 | ยกเลิก | 10.00 |
30 | 7.0.1. ด้านที่ ๗ – การบริหารจัดการเมืองมหานคร : Management Strategy |
4.2. | 2561 | โครงการพัฒนาระบบบริหารจัดการการใช้งานระบบสารสนเทศสนับสนุนการเชื่อมโยง | หนึ่งแอพพลิเคชั่นจะมีชุดชื่อผู้ใช้และรหัสผ่านหนึ่งชุด ยิ่งในองค์กรขนาดใหญ่มีหลากหลายแอพพลิเคชั่น ผู้ใช้บริการก็จะมีความยุ่งยากในการจดจำรหัสผู้ใช้งานและรหัสผ่านของแต่ละระบบ การพัฒนาเทคโนโลยีการเข้าถึงการใช้บริการของระบบด้วยการพิสูจน์ตัวตนเพียงครั้งเดียว (Single Sign-On : SSO) ช่วยแก้ปัญหาที่กล่าวมาข้างต้น เพราะ SSO จะจัดการให้ผู้ใช้บริการกรอกล็อกอินเพียงครั้งเดียว ก็จะสามารถเข้าใช้งานระบบทุกระบบที่ตนเองมีสิทธิ์ได้ จึงช่วยลดปัญหาการจดจำรหัสผู้ใช้และรหัสผ่าน ปัญหาการต้องเปลี่ยนรหัสผ่านในทุกแอพพลิเคชั่นเมื่อถึงเวลาอันควร ปัญหาความล่าช้าในการล็อกอิน ความพยายามล็อกอินซ้ำ ๆ การลืมรหัสผ่านหรือรหัสผ่านหมดอายุ | 1 เพิ่มประสิทธิผลการทำงานของผู้ใช้ (Improved user productivity) ผู้ใช้งานระบบใช้การล็อกอิน ครั้งเดียวและเข้าใช้ได้ ทุกแอพพลิเคชันที่ตนเองมีสิทธิ์ 2 ลดค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาทรัพยากรในการจัด เก็บ Username และ Password (Reduced account maintenance) 3 ง่ายต่อการรักษาความปลอดภัยของระบบ (Strengthen security) 4 ช่วยให้การพัฒนาระบบเป็นไปอย่างรวดเร็ว (Improved developer productivity) 5 ช่วยให้การบริหารจัดการง่ายขึ้น (Simplified administration) | 1 รวบรวมข้อมูลผู้ใช้งาน สิทธิ์ในการเข้าถึงระบบงาน และระบบสารสนเทศของกรุงเทพมหานคร นำมาจัดทำเป็นฐานข้อมูล 2 มีระบบการจัดเก็บข้อมูลผู้ใช้งาน สิทธิ์ในการเข้าถึงระบบงาน และระบบสารสนเทศของกรุงเทพมหานคร 3 มีระบบบริหารจัดการผู้ใช้งานของกรุงเทพมหานคร ให้มีประสิทธิภาพในการรักษาความปลอดภัยและลดความซ้ำซ้อน ในการจัดเก็บข้อมูล เป้าหมายร้อยละ 80 | 49,989,300.00 | 0.00 | สํานักยุทธศาสตร์และประเมินผล | 2017-10-01 00:00:00 | 2018-09-30 00:00:00 | แล้วเสร็จ | 100.00 |
31 | 7.0.1. ด้านที่ ๗ – การบริหารจัดการเมืองมหานคร : Management Strategy |
4.2. | 2561 | โครงการปรับปรุงระบบเครือข่ายและโปรแกรมประยุกต์ตามโครงการระบบรักษาความปลอดภัยระบบสารสนเทศของกรุงเทพมหานคร ระยะที่ 2 | ระยะเวลาที่ผ่านการใช้งานมานานกว่า 5 ปี ทำให้อุปกรณ์มีสภาพที่เก่าและคุณสมบัติต่ำลงเมื่อเทียบกับภัยคุกคามที่เกิดขึ้นในเทคโนโลยีปัจจุบัน และมีความสามารถไม่ทันกับภัยคุกคามของเทคโนโลยีสารสนเทศ หน่วยงานเห็นความสำคัญตรงจุดนี้จึงได้ดำเนินการจัดทำโครงการปรับปรุง ระบบเครือข่ายและโปรแกรมประยุกต์ตามโครงการระบบรักษาความปลอดภัยระบบสารสนเทศของกรุงเทพมหานคร ระยะที่ 2 เพื่อป้องกันปัญหา ภัยคุกคามต่าง ๆ ที่มีการพัฒนารูปแบบการโจมตีอย่างรวดเร็วและซับซ้อน ในปัจจุบันเพื่อทำให้ระบบรักษาความปลอดภัยเดิมที่มีอยู่ทำงานได้ อย่างมีประสิทธิภาพอย่างเต็มที่เพื่อป้องกันความเสียหายจากภัยคุกคามและผู้ไม่หวังดีต่อระบบการทำงานของกรุงเทพมหานคร | เพิ่มประสิทธิภาพการป้องกันภัยระบบสารสนเทศกรุงเทพมหานคร ให้มีความสามารถเชิงการป้องกันและรักษาความปลอดภัย โดยไม่มีช่องโหว่ตลอดเวลา และสามารถวิเคราะห์ปัญหาการโจมตีเพื่อการป้องกันในอนาคตได้ | จัดหาอุปกรณ์ป้องกันภัยระบบสารสนเทศแบบบูรณาการ เพื่อป้องกันภัยคุกคามทุกด้านต่อการทำงานของระบบสารสนเทศกรุงเทพมหานคร เป้าหมายร้อยละ 80 | 49,000,000.00 | 0.00 | สํานักยุทธศาสตร์และประเมินผล | 2017-10-01 00:00:00 | 2018-09-30 00:00:00 | แล้วเสร็จ | 100.00 |
32 | 7.0.1. ด้านที่ ๗ – การบริหารจัดการเมืองมหานคร : Management Strategy |
1.2. | 2561 | โครงการฝึกอบรมเทคนิคการสร้าง Extension บนโปรแกรมสำนักงาน (กบพ.) | สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล โดยกองบริการระบบคอมพิวเตอร์ได้เล็งเห็นถึงความจำเป็นในการให้ความรู้แก่ข้าราชการของกรุงเทพมหานครเพื่อพัฒนาความรู้ความสามารถแก่ตัวข้าราชการและหน่วยงานของกรุงเทพมหานครให้ก้าวหน้าและทันต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี เนื่องจากในปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศได้เข้ามามีบทบาทกับกรุงเทพมหานครอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ทำให้การทำงานของกรุงเทพมหานครในทุกหน่วยงานต้องพึ่งพาระบบคอมพิวเตอร์ในการปฏิบัติงาน ซึ่งการปฏิบัติราชการมีการทำงานที่เป็นระเบียบแบบแผนและขั้นตอน รวมทั้ง จำเป็นที่จะต้องใช้เอกสารประกอบการปฏิบัติงานเป็นจำนวนมาก เช่น เอกสารเสนอขออนุมัติงบประมาณ เอกสารที่ใช้ในการขอเสนอโครงการ เป็นต้น ทำให้การใช้งานโปรแกรมสำนักงานจึงเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ การสร้าง Extension บนโปรแกรมสำนักงาน จะทำให้การทำงานของข้าราชการและลูกจ้างของกรุงเทพมหานคร เป็นไปด้วยความสะดวกและรวดเร็ว และถูกต้องตามระเบียบของทางราชการ เนื่องจากเอกสารของทางราชการมีหลายประเภท หลายรูปแบบ การสร้าง Extension บนโปรแกรมสำนักงาน จะเริ่มตั้งแต่การกำหนดและสร้างรูปแบบ (Template) ตามประเภทของเอกสารราชการ และจัดทำเป็นเมนูฝังเพิ่ม ไปในโปรแกรมสำนักงาน เพื่อการใช้งานที่ง่ายและมีความถูกต้อง เนื่องจากผู้ใช้งานคือข้าราชการและลูกจ้างของกรุงเทพมหานครสามารถเลือกเอกสารได้ตามที่ต้องการจากเมนูการใช้งาน และนำไปแก้ไขเพิ่มเติมได้ตามความต้องการ ทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น | 1. เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้รับความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการสร้าง Extension บนโปรแกรมสำนักงานของหน่วยงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ 2. เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมสามารถจัดทำ Extension บนโปรแกรมสำนักงาน เพื่อนำไปใช้ในหน่วยงานได้ | ผู้เข้าร่วมโครงการทั้งสิ้น จำนวน 117 คน ประกอบด้วย กลุ่มเป้าหมาย ข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญทุกระดับ (จำนวน 3 รุ่น รุ่นละ 30 คน) จำนวน 90 คน ผู้เกี่ยวข้อง จำนวน 27 คน ดังนี้ 1) เจ้าหน้าที่ดำเนินการ (จำนวน 3 รุ่น วันละ 6 คน) จำนวน 18 คน 2) วิทยากร (จำนวน 3 รุ่น วันละ 3 คน) จำนวน 9 คน | 433,000.00 | 252,002.70 | สํานักยุทธศาสตร์และประเมินผล | 2017-10-01 00:00:00 | 2018-10-01 00:00:00 | แล้วเสร็จ | 100.00 |
33 | 7.0.1. ด้านที่ ๗ – การบริหารจัดการเมืองมหานคร : Management Strategy |
3.1.1 | 2561 | โครงการจัดหาระบบคอมพิวเตอร์สำหรับปรับปรุง และทดแทนระบบทะเบียนราษฎรและบัตรประจำตัวประชาชนของศูนย์บริการกรุงเทพมหานคร จำนวน 4 สำนักงานเขต (สำนักงานเขตพระโขนง สาทร หนองแขม และวังทองหลาง) | ตามนโยบายของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร นโยบายที่ 1 “สะอาด” (CLEAN) : บ้านเมืองสะอาด การบริหารราชการใสสะอาด ภารกิจที่ 1 จัดตั้งศูนย์บริหารราชการฉับไวใสสะอาด Bangkok Fast &Clear หรือ BFC รับคำร้องด้านทะเบียนราษฎรและการอนุญาตต่าง ๆ โดยแบ่งพื้นที่รับคำร้องและพื้นที่พิจารณาออกจากกัน เพื่อลดขั้นตอน ลดระยะเวลา และสร้างกระบวนการที่ใสสะอาด ตามมาตรฐาน พ.ร.บ.อำนวยความสะดวกฯ ในการดำเนินการดังกล่าวฝ่ายทะเบียนของสำนักงานเขตต้องรับผิดชอบในการให้บริการประชาชนที่จะมาใช้บริการเพิ่มมากขึ้น และมติที่ประชุมคณะกรรมการกำหนดรูปแบบและแนวทางการปรับปรุงด้านกายภาพของสำนักงานเขต ศูนย์บริการประชาชน และระบบเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับให้บริการประชาชนของสำนักงานเขต ครั้งที่ 2/2560 เมื่อวันอังคารที่ 27 มิถุนายน 2560 ได้กำหนดแนวทางการจัดหาระบบคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ประกอบให้กับสำนักงานเขต เห็นชอบให้ดำเนินการจัดหาระบบคอมพิวเตอร์สำหรับปรับปรุง และทดแทนระบบทะเบียนราษฎรและบัตรประจำตัวประชาชนของศูนย์บริการกรุงเทพมหานครจำนวน 4 สำนักงานเขต (สำนักงานเขตพระโขนง สาทร หนองแขม และวังทองหลาง) และให้เพิ่มระบบการประเมินความพึงพอใจของผู้รับบริการ ประกอบระบบคอมพิวเตอร์ของสำนักงานเขต ทั้ง 4 แห่ง จัดซื้อตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550 มีอายุการใช้งานมากกว่า 10 ปี จึงจำเป็นต้องจัดหาเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องทดแทน และจัดหาเพิ่มเติมให้เพิ่มเติม ให้ฝ่ายอื่น ๆ เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานของศูนย์บริหารราชการฉับไวใสสะอาด Bangkok Fast & Clear หรือ BFC | สำนักงานเขต จำนวน 4 สำนักงานเขต (สำนักงานเขตพระโขนง สาทร หนองแขม และวังทองหลาง) มีเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ประกอบเพื่อใช้ในการปฏิบัติงานที่มีความทันสมัย มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น สามารถให้บริการประชาชนได้อย่างต่อเนื่อง เป็นไปตามมาตรฐานของศูนย์บริหารราชการฉับไวใสสะอาด Bangkok Fast &Clear หรือ BFC และมีระบบการประเมินความพึงพอใจของผู้รับบริการ | 1. ปรับเปลี่ยนเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องที่มีอยู่เดิม ให้ทันสมัย มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น. ปรับเปลี่ยนเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องของฝ่ายต่าง ๆ 2. ให้เป็นไปตามมาตรฐานศูนย์บริหารราชการฉับไวใสสะอาด Bangkok Fast & Clear หรือ BFC 3. กรุงเทพมหานครมีระบบการประเมินความพึงพอใจของผู้รับบริการและระบบประชาสัมพันธ์ 4. กรุงเทพมหานครมีระบบการจองคิวรับบริการด้วย Mobile Application | 30,338,600.00 | 0.00 | สํานักยุทธศาสตร์และประเมินผล | 2017-10-01 00:00:00 | 2018-09-30 00:00:00 | แล้วเสร็จ | 100.00 |
34 | 7.0.1. ด้านที่ ๗ – การบริหารจัดการเมืองมหานคร : Management Strategy |
3.1.1 | 2561 | โครงการจัดหาระบบคอมพิวเตอร์ สำหรับปรับปรุงและทดแทนระบบทะเบียนราษฎรและบัตรประจำตัวประชาชน จำนวน 7 สำนักงานเขต (สำนักงานเขตบางซื่อ ดอนเมือง สายไหม บางกะปิ คลองสามวา ประเวศ และบางแค) | ตามนโยบายของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร นโยบายที่ 1 “สะอาด” (CLEAN) : บ้านเมืองสะอาด การบริหารราชการใสสะอาด ภารกิจที่ 1 จัดตั้งศูนย์บริหารราชการฉับไวใสสะอาด Bangkok Fast & Clear หรือ BFC รับคำร้องด้านทะเบียนราษฎรและการอนุญาตต่าง ๆ โดยแบ่งพื้นที่รับคำร้องและพื้นที่พิจารณาออกจากกัน เพื่อลดขั้นตอน ลดระยะเวลา และสร้างกระบวนการที่ใสสะอาด ตามมาตรฐาน พ.ร.บ.อำนวยความสะดวกฯ ในการดำเนินการดังกล่าวฝ่ายทะเบียนของสำนักงานเขตต้องรับผิดชอบในการให้บริการประชาชนที่จะมาใช้บริการเพิ่มมากขึ้น และมติที่ประชุมคณะกรรมการกำหนดรูปแบบและแนวทางการปรับปรุงด้านกายภาพของสำนักงานเขต ศูนย์บริการประชาชน และระบบเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับให้บริการประชาชนของสำนักงานเขต ครั้งที่ 2/2560 เมื่อวันอังคารที่ 27 มิถุนายน 2560 ได้กำหนดแนวทางการจัดหาระบบคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ประกอบให้กับสำนักงานเขต เห็นชอบจัดหาระบบคอมพิวเตอร์สำหรับปรับปรุงและทดแทนระบบทะเบียนราษฎรและบัตรประจำตัวประชาชน จำนวน 7 สำนักงานเขต (สำนักงานเขตบางซื่อ ดอนเมือง สายไหม บางกะปิ คลองสามวา ประเวศ และบางแค) และให้เพิ่มระบบการประเมินความพึงพอใจของผู้รับบริการ ประกอบระบบคอมพิวเตอร์ของสำนักงานเขต ทั้ง 7 แห่ง จัดซื้อตั้งแต่ปี พ.ศ. 2554 มีอายุการใช้งานมากกว่า 6 ปี และไม่มีเครื่องสำหรับให้บริการของฝ่ายอื่น ๆ จึงจำเป็นต้องจัดหาเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องทดแทน และจัดหาเพิ่มเติมให้ฝ่ายอื่น ๆ เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานของศูนย์บริหารราชการฉับไวใสสะอาด Bangkok Fast & Clear หรือ BFC | สำนักงานเขต จำนวน 7 สำนักงานเขต (สำนักงานเขตบางซื่อ ดอนเมือง สายไหม บางกะปิ คลองสามวา ประเวศ และบางแค) มีเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ประกอบเพื่อใช้ในการปฏิบัติงานที่มี ความทันสมัย มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น สามารถให้บริการประชาชนได้อย่างต่อเนื่อง และเป็นไปตามมาตรฐานของศูนย์บริหารราชการฉับไวใสสะอาด Bangkok Fast & Clear หรือ BFC | 1. ปรับเปลี่ยนเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องที่มีอยู่เดิม 2. จัดหาเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมให้ฝ่ายต่าง ๆ ที่ลงมาปฏิบัติงานณ ศูนย์บริหารราชการฉับไวใสสะอาด Bangkok Fast & Clear หรือ BFC | 42,391,500.00 | 0.00 | สํานักยุทธศาสตร์และประเมินผล | 2017-10-01 00:00:00 | 2018-09-30 00:00:00 | แล้วเสร็จ | 100.00 |
35 | 7.0.1. ด้านที่ ๗ – การบริหารจัดการเมืองมหานคร : Management Strategy |
3.1.1 | 2561 | โครงการจัดหาระบบคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ประกอบ พร้อมระบบคิวและระบบการประเมินความพึงพอใจ เพื่อติดตั้ง ณ ศูนย์บริหารราชการ ฉับไวใสสะอาด (Bangkok Fast &Clear : BFC) | ตามนโยบายของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร นโยบายที่ 1 “สะอาด” (CLEAN) : บ้านเมืองสะอาด การบริหารราชการใสสะอาด ภารกิจที่ 1 จัดตั้งศูนย์บริหารราชการฉับไวใสสะอาด Bangkok Fast &Clear หรือ BFC รับคำร้องด้านทะเบียนราษฎรและการอนุญาตต่าง ๆ โดยแบ่งพื้นที่รับคำร้องและพื้นที่-พิจารณาออกจากกัน เพื่อลดขั้นตอน ลดระยะเวลา และสร้างกระบวนการที่ใสสะอาด ตามมาตรฐาน พ.ร.บ.อำนวยความสะดวกฯ ในการดำเนินการดังกล่าวฝ่ายทะเบียนของสำนักงานเขตต้องรับผิดชอบในการให้บริการประชาชนที่จะมาใช้บริการเพิ่มมากขึ้น และมติที่ประชุมคณะอนุกรรมการกำหนดรูปแบบและแนวทางการปรับปรุงด้านกายภาพของ สำนักงานเขต ศูนย์บริการประชาชน และระบบเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับให้บริการประชาชนของสำนักงานเขต ครั้งที่ 2/2560 เมื่อวันอังคารที่ 27 มิถุนายน 2560 ได้เห็นชอบการกำหนดแนวทางการจัดหาอุปกรณ์คอมพิวเตอร์พร้อมระบบและอุปกรณ์ให้กับสำนักงานเขต โดยให้ใช้รายละเอียดเดียวกันกับการจัดหาให้แก่ 4 สำนักงานเขต (สำนักงานเขตพระโขนง สาทร หนองแขม และวังทองหลาง) เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานของศูนย์บริหารราชการฉับไวใสสะอาด Bangkok Fast & Clear หรือ BFC โดยจะจัดหาให้แก่สำนักงานเขต จำนวน 39 เขต และจุดบริการด่วนมหานคร 11 จุด | สำนักงานเขต จำนวน 39 เขต และจุดบริการด่วนมหานคร 11 จุด มีเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ประกอบเพื่อใช้ในการปฏิบัติงานที่มีความทันสมัย มีประสิทธิภาพ สามารถให้บริการประชาชนได้อย่างต่อเนื่อง เป็นไปตามมาตรฐานของศูนย์บริหารราชการฉับไวใสสะอาด Bangkok Fast & Clear หรือ BFC และมีระบบการประเมินความพึงพอใจของผู้รับบริการ | 3.1. เพิ่มเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องของฝ่ายต่าง ๆ ให้เป็นไปตามมาตรฐานศูนย์บริหารราชการฉับไวใสสะอาด Bangkok Fast & Clear หรือ BFC 3.2. กรุงเทพมหานครมีระบบการประเมินความพึงพอใจของผู้รับบริการและระบบประชาสัมพันธ์ 3.3. กรุงเทพมหานครมีระบบการจองคิวรับบริการด้วย Mobile Application | 66,952,800.00 | 0.00 | สํานักยุทธศาสตร์และประเมินผล | 2017-10-01 00:00:00 | 2018-09-30 00:00:00 | แล้วเสร็จ | 100.00 |
36 | 7.0.1. ด้านที่ ๗ – การบริหารจัดการเมืองมหานคร : Management Strategy |
3.1.1 | 2561 | โครงการพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์เพื่อบูรณาการฐานข้อมูลประชาชนและการบริการภาครัฐของกรุงเทพมหานคร | คณะกรรมการบูรณาการฐานขอมูลประชาชนและการบริการภาครัฐโดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเปนประธานกรรมการ มีมติที่ประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๕๘ เมื่อวันที่ ๒๔ กันยายน ๒๕๕๘ เห็นชอบแนวทางการดําเนินการบูรณาการฐานข้อมูลประชาชนและการบริการภาครัฐ และเมื่อวันอังคารที่ 22 มีนาคม 2559 กรุงเทพมหานครได้ลงนามบันทึกข้อตกลงกับสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง จำนวน 2 ฉบับ ประกอบด้วย บันทึกข้อตกลงว่าด้วยการขอใช้ประโยชน์ข้อมูลทะเบียนประวัติราษฎรจากฐานข้อมูลทะเบียนกลางด้วยระบบคอมพิวเตอร์โดยวิธีเชื่อมโยงข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ (Online) ของสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง และการใช้ข้อมูลแผนที่ในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) ของกรุงเทพมหานคร และบันทึกข้อตกลงว่าด้วยการขอใช้โปรแกรมสำหรับอ่านข้อมูลจากบัตรประจำตัวประชาชน ต่อมาปลัดกรุงเทพมหานครมอบหมายให้ สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผลดำเนินการวางระบบเครือข่ายเพื่อเชื่อมโยงฐานข้อมูลทะเบียนกลางฯ ให้กับ สำนักการแพทย์ สำนักอนามัย สำนักผังเมือง สำนักพัฒนาสังคม และสำนักการคลัง โดยให้สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผลประสานการปฏิบัติงานกับหน่วยงานดังกล่าว รวมทั้งจัดทำรายละเอียดประมาณการในการดำเนินการและขอจัดสรรงบประมาณไปยังสำนักงบประมาณกรุงเทพมหานคร ตามหนังสือสำนักงานปกครองและทะเบียนที่ กท 0406/2791 ลงวันที่ 25 เมษายน 2559 ดังนั้น เพื่อให้กรุงเทพมหานครสามารถดำเนินการเพื่อใช้ประโยชน์ข้อมูลทะเบียนประวัติราษฎร จากฐานข้อมูลทะเบียนกลางด้วยระบบคอมพิวเตอร์โดยวิธีเชื่อมโยงข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ (Online) จึงมีความจำเป็นต้องพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์เพื่อบูรณาการฐานข้อมูลประชาชนและการบริการภาครัฐเพื่อสนับสนุนการให้บริการประชาชนต่อไป | 1. กรุงเทพมหานครสามารถใช้ข้อมูลประวัติทะเบียนราษฎรจากฐานข้อมูลทะเบียนกลาง เพื่อให้บริการประชาชนแบบ Online ได้ 2. ประชาชนมีความสะดวกในการรับบริการจากกรุงเทพมหานครเพิ่มขึ้น โดยสามารถใช้เพียง บัตรประจําตัวประชาชนแบบอเนกประสงค (Smart Card) ในการขอรับบริการ 3. เจ้าหน้าที่ของกรุงเทพมหานครสามารถให้บริการประชาชนด้วยความรวดเร็ว และถูกต้องมากยิ่งขึ้น 4. กรุงเทพมหานครสามารถเชื่อมโยงและใช้ข้อมูลประวัติราษฎรจากฐานข้อมูลทะเบียนกลาง เพื่อเป็น ไปตามบันทึกข้อตกลงฯ และมติที่ประชุมคณะกรรมการบูรณาการฐานขอมูลประชาชนและการบริการภาครัฐ | 1.มีระบบเชื่อมโยง (Linkage Center) เพื่อให้บริการข้อมูลประวัติทะเบียนราษฎร จากฐานข้อมูลทะเบียนกลาง เพื่อให้บริการประชาชนแบบ Online ได้อย่างมีประสิทธิภาพ 2. มีการติดตั้งอุปกรณ์อ่านบตรประจำตัวประชาชนให้ฝ่ายต่าง ๆ ของสำนักงานเขตรวม 8 ฝ่าย เพื่อสามารถให้บริการต่อประชาชนแทนการใช้สำเนาบัตรประชาชน | 5,955,000.00 | 0.00 | สํานักยุทธศาสตร์และประเมินผล | 2017-10-01 00:00:00 | 2018-09-30 00:00:00 | แล้วเสร็จ | 100.00 |
37 | 7.0.1. ด้านที่ ๗ – การบริหารจัดการเมืองมหานคร : Management Strategy |
3.1.1 | 2561 | โครงการจัดหาระบบคอมพิวเตอร์ สำหรับปรับปรุง และทดแทนระบบทะเบียนราษฎรและบัตรประจำตัวประชาชนของจุดบริการด่วนมหานคร ณ ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร | กรุงเทพมหานครได้เปิดให้บริการด้านทะเบียนราษฎรและบัตรประจำตัวประชาชน ที่จุดบริการด่วนมหานคร ณ ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2552 โดยเปิดให้บริการในส่วนของการจัดทำบัตรประจำตัวประชาชนและคัดรับรองสำเนา รวมถึงการให้บริการชำระภาษีและการให้บริการ รับจดทะเบียนพาณิชย์ ปัจจุบันระบบคอมพิวเตอร์มีอายุการใช้งานมากกว่า 7 - 8 ปี เสื่อมสภาพ มีการขัดข้อง ทำให้ไม่สามารถให้บริการประชาชนได้อย่างต่อเนื่อง จึงมีความจำเป็นต้องจัดหาระบบคอมพิวเตอร์สำหรับ ปรับปรุง และทดแทนระบบทะเบียนราษฎรและบัตรประจำตัวประชาชนของจุดบริการด่วนมหานคร ณ ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร ให้สามารถให้บริการประชาชนได้อย่างต่อเนื่อง สะดวกรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ รวมถึงสามารถสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับกรุงเทพมหานคร อีกทั้งประชาชนได้รับความสะดวกสบายในการเข้ารับบริการ และเป็นไปตามมติที่ประชุมคณะกรรมการกำหนดรูปแบบและแนวทางการปรับปรุงด้านกายภาพของสำนักงานเขต ศูนย์บริการประชาชน และระบบเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับให้บริการประชาชนของสำนักงานเขต ครั้งที่ 2/2560 เมื่อวันอังคารที่ 27 มิถุนายน 2560 เห็นชอบให้ดำเนินการจัดหาระบบคอมพิวเตอร์สำหรับปรับปรุงและทดแทนระบบทะเบียนราษฎรและบัตรประจำตัวประชาชนของจุดบริการด่วนมหานคร ณ ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร | จุดบริการด่วนมหานคร ณ ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร มีเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ประกอบที่มีความทันสมัย และมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น ให้สามารถให้บริการประชาชนได้อย่างต่อเนื่องมีประสิทธิภาพ และได้รับความพึงพอใจจากประชาชน | 1. ปรับเปลี่ยนเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ที่ให้บริการ ณ จุดบริการด่วนมหานคร ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร ให้มีความทันสมัย มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น สามารถให้บริการได้อย่างต่อเนื่อง 2.เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ที่ให้บริการด้านทะเบียนราษฎรและบัตรประจำตัวประชาชนสามารถทำงานร่วมกับระบบของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ได้อย่างมีประสิทธิภาพ | 1,533,100.00 | 0.00 | สํานักยุทธศาสตร์และประเมินผล | 2017-10-01 00:00:00 | 2018-09-30 00:00:00 | แล้วเสร็จ | 100.00 |
38 | 7.0.1. ด้านที่ ๗ – การบริหารจัดการเมืองมหานคร : Management Strategy |
3.1. | 2561 | จัดหาระบบเครือข่ายสื่อสารข้อมูลและระบบสนับสนุนการปฏิบัติงานของสภากรุงเทพมหานคร | กรุงเทพมหานครได้ดำเนินการก่อสร้างอาคารสภากรุงเทพมหานคร ซึ่งอยู่ในบริเวณศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร(ดินแดง) โดยกำหนดให้มีพื้นที่ใช้งานประกอบด้วยห้องประชุมสภากรุงเทพมหานคร ห้องประชุมย่อยสำหรับใช้เป็นห้องประชุมกรรมาธิการ ห้องปฏิบัติงานของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร ห้องปฏิบัติงานสำนักงานเลขานุการสภากรุงเทพมหานคร ซึ่งภายในอาคารดังกล่าวยังไม่มีระบบเครือข่ายสื่อสารข้อมูลและระบบสนับสนุนการปฏิบัติงานของสภากรุงเทพมหานคร เพื่อให้บริการสำหรับเจ้าหน้าที่ ผู้บริหาร และสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร ดังนั้นจึงจำเป็นต้องติดตั้งระบบเครือข่ายสื่อสารข้อมูลที่มีประสิทธิภาพ สำหรับให้บริการรับส่งข้อมูลและมีระบบสนับสนุนการปฏิบัติงานเพื่อให้มีความคล่องตัวและมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยเป็นการสื่อสารภายในองค์กรในรูปแบบการสื่อสารแบบง่ายประหยัด (Easy use and Save cost) และปลอดภัยมีความเป็นส่วนตัว ด้วยการพัฒนารูปแบบของเทคโนโลยีที่พกติดตัวผู้ใช้อยู่ตลอดเวลาอย่างสมาร์ทโฟน (Smart Phone) และแอปพลิเคชัน (Application) บนสมาร์ทโฟนทำให้เกิด Community และเอื้อต่อการบริหารงานภายในหน่วยงานมากขึ้น | จัดทำระบบเครือข่ายสื่อสารข้อมูลสำหรับอาคารสภากรุงเทพมหานคร ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร (ดินแดง)เพื่อเป็นโครงข่ายสื่อสารข้อมูลหลักสำหรับสมาชิกสภากรุงเทพมหานครและเจ้าหน้าที่เพื่อให้สามารถเชื่อมต่อใช้งานระบบสารสนเทศในการปฏิบัติงานและให้บริการประชาชนผ่านทางเครื่องคอมพิวเตอร์หรือ Smart Phone และสามารถเชื่อมต่อกับหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกได้อย่างมีประสิทธิภาพและเสถียรภาพ ครอบคลุมพื้นที่อาคารสภากรุงเทพมหานคร | จัดหาและติดตั้งระบบเครือข่ายสื่อสารข้อมูลพร้อมระบบสนับสนุนการปฏิบัติงานของสภากรุงเทพมหานครศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร (ดินแดง)โดยเชื่อมต่อเข้ากับโครงข่ายสื่อสารข้อมูลหลักของกรุงเทพมหานครพร้อมอุปกรณ์และสายสัญญาณครอบคลุมทุกชั้นของอาคารเพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์สื่อสารต่างๆ สามารถเชื่อมโยงเข้าถึงเครือข่ายของกรุงเทพมหานครได้อย่างสมบูรณ์ และให้เจ้าหน้าที่ ผู้บริหาร และสมาชิกสภากรุงเทพมหานครสามารถติดต่อสื่อสารระหว่างกันได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ สนับสนุนการเข้าถึงเทคโนโลยีสารสนเทศตามนโยบายไทยแลนด์ 4.0 | 28,697,200.00 | 0.00 | สํานักยุทธศาสตร์และประเมินผล | 2017-10-01 00:00:00 | 2018-09-30 00:00:00 | แล้วเสร็จ | 100.00 |
39 | 7.0.1. ด้านที่ ๗ – การบริหารจัดการเมืองมหานคร : Management Strategy |
3.1.1 | 2561 | พัฒนาศูนย์ข้อมูล (Data Center) ของกรุงเทพมหานคร | กรุงเทพมหานครมีศูนย์คอมพิวเตอร์เพื่อติดตั้งเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่ายของหน่วยงานในสังกัดกรุงเทพมหานครและติดตั้งอุปกรณ์เครือข่ายสื่อสาร เพื่อรองรับการสื่อสารข้อมูลสารสนเทศในการให้บริการกับประชาชนครอบคลุมพื้นที่ 50 สำนักงานเขต โดยมีพื้นที่ของศูนย์คอมพิวเตอร์สำหรับติดตั้งเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่ายและอุปกรณ์เครือข่ายสื่อสาร เพียง 100 ตารางเมตร เริ่มใช้งานตั้งแต่ปี พ.ศ. 2535 ปัจจุบันมีการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพิ่มขึ้นกว่าในอดีตแบบก้าวกระโดด ตามสภาวะเศรษฐกิจ สังคมและเทคโนโลยีที่พัฒนาอย่างรวดเร็ว ทำให้ต้องเล็งเห็นถึงความสำคัญในการพัฒนาและขยายขีดความสามารถจากศูนย์คอมพิวเตอร์ที่ใช้งานมานานและมีข้อจำกัดทางกายภาพให้เป็นศูนย์กลางที่มีประสิทธิภาพในด้านการพัฒนาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และการสื่อสาร สำหรับรองรับการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่และการบริการประชาชนได้อย่างเต็มประสิทธิภาพจึงจำเป็นต้องจัดหาสถานที่ที่มีพื้นที่ไม่น้อยกว่า 500 ตารางเมตร เพื่อพัฒนาเป็นศูนย์ข้อมูล (Data Center)สำหรับให้บริการหน่วยงานของกรุงเทพมหานครในการติดตั้งเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่ายและอุปกรณ์เครือข่ายเพื่อเป็นโครงสร้างพื้นฐานและเป็นศูนย์บริหารจัดการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสำหรับรองรับการอำนวย ความสะดวกในการบริการประชาชนของกรุงเทพมหานคร | ๑ เพื่อให้กรุงเทพมหานครมีศูนย์ข้อมูล (Data Center) ขนาดไม่น้อยกว่า 500 ตารางเมตร สำหรับรองรับการติดตั้งเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่ายและอุปกรณ์ระบบเครือข่ายสื่อสารข้อมูล ๒ เพื่อให้ศูนย์ข้อมูล (Data Center) สามารถบริหารจัดการพื้นที่ บริหารจัดการด้านพลังงานและการพัฒนาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการได้อย่างเอกเทศ ๓ เพื่อให้การบริหารจัดการการติดตั้งเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย การติดตั้งอุปกรณ์ระบบเครือข่ายสื่อสารข้อมูล การติดตั้งอุปกรณ์ควบคุมรักษาความปลอดภัย ดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพ | เพื่อให้การบริหารจัดการพื้นที่สำหรับติดตั้งเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย อุปกรณ์ระบบเครือข่ายสื่อสารข้อมูล อุปกรณ์ควบคุมและรักษาความปลอดภัยสำหรับบริการหน่วยงานของกรุงเทพมหานครได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีความพร้อมสำหรับสนับสนุนหน่วยงานในการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อให้การบริการและการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชนให้เกิดความพึงพอใจสูงสุด และสอดคล้องตามแผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลของประเทศไทย | 91,019,700.00 | 0.00 | สํานักยุทธศาสตร์และประเมินผล | 2017-10-01 00:00:00 | 2019-09-30 00:00:00 | แล้วเสร็จ | 100.00 |
40 | 7.0.1. ด้านที่ ๗ – การบริหารจัดการเมืองมหานคร : Management Strategy |
4.2.1 | 2561 | กิจกรรมการศึกษาดูงานสารสนเทศการวางแผน | การจัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนากรุงเทพมหานครในแต่ละด้าน กรุงเทพมหานครควรมีระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ให้แก่นักวิเคราะห์นโยบายและแผนรวมทั้งผู้บริหารกรุงเทพมหานครใชัประกอบการตัดสินใจในการกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนากรุงเทพมหานคร | 1. เพื่อให้คณะผู้บริหาร และนักวิเคราะห์นโยบายและแผน ของสำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล มีความรู้ความเข้าใจด้านการจัดการข้อมูลสารสนเทศ 2. เพื่อนำข้อมูลมาวิเคราะห์ และวางแผนยุทธศาสตร์กรุงเทพมหานคร | 1. คณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ของสำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล จำนวน 40 คน | 0.00 | 0.00 | สํานักยุทธศาสตร์และประเมินผล | 2017-10-01 00:00:00 | 2018-09-30 00:00:00 | แล้วเสร็จ | 100.00 |
41 | 7.0.1. ด้านที่ ๗ – การบริหารจัดการเมืองมหานคร : Management Strategy |
4.2. | 2562 | โครงการแก้ไขปัญหาไอที แก้ไขทันที มีรับประกันผลงาน (รักษารอบปี 2562) | กรุงเทพมหานครเป็นหน่วยงานราชการขนาดใหญ่มีหน่วยงานในสังกัดจำนวนมากถึง 77 หน่วยงาน ทำให้การบริหารราชการของกรุงเทพมหานครด้านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศจึงมีปัญหาที่หลากหลาย ซึ่งสามารถสรุปปัญหาเป็นกลุ่มๆ ได้ดังนี้ กลุ่มฮาร์ดแวร์ กลุ่มซอฟต์แวร์ กลุ่มระบบเครือข่ายและเครื่องแม่ข่าย กลุ่มระบบข้อมูลสารสนเทศ และกลุ่มบุคลากรด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งปัจจุบันเทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ทำให้บุคลากรของกรุงเทพมหานคร ไม่สามารถเรียนรู้ให้เท่าทันตามเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นได้ ประกอบกับเจ้าหน้าที่ไม่ได้อัพเดทความรู้และข้อมูลใหม่ๆ จึงเป็นสาเหตุทำให้การบริการเป็นไปด้วยความล่าช้า ใช้เวลานาน ทำให้ผู้รับบริการเกิดความเบื่อหน่ายและหงุดหงิดในการขอรับบริการ ส่งผลทำให้เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน เกิดความเครียดและกดดันในระหว่างการให้บริการ สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล ในฐานะหน่วยงานกลาง ที่รับผิดชอบด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ของกรุงเทพมหานคร จึงมีแนวคิดในการพัฒนา งานบริการให้ดียิ่งขึ้น และลดความตึงเครียดในระหว่างการให้บริการ โดยกำหนดให้มีโครงการเพิ่มประสิทธิภาพ การให้บริการแก้ไขปัญหาด้านไอที เป็นการปฏิรูปกระบวนทัศน์ การทำงานและการให้บริการของกรุงเทพมหานคร ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อตอบสนองการพัฒนา ตามแผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และการวางรากฐานสู่การเป็นมหานครแห่งเอเชีย ตาม แผนพัฒนากรุงเทพมหานคร ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2556-2575) | วัตถุประสงค์ เพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการแก้ไขปัญหาการใช้งานคอมพิวเตอร์และเครือข่าย ให้กับหน่วยงานของกรุงเทพมหานคร | ตัวชี้วัด 1. จำนวนมาตรฐานการให้บริการแก้ไขปัญหาคอมพิวเตอร์ ไม่น้อยกว่า 1 มาตรฐาน (ผลผลิต) 2. จำนวนระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานให้บริการแก้ไขปัญหาคอมพิวเตอร์ จำนวน 1 ระบบ (ผลผลิต) 3. ระดับความพึงพอใจของผู้รับบริการ ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 85 (ผลลัพธ์) ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 1. ผู้รับบริการมีความพึงพอใจในการให้บริการแก้ไขปัญหาคอมพิวเตอร์ของบุคลากรของ สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล 2. บุคลากรของสำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล มีเครื่องมือช่วยในการปฏิบัติงานให้บริการแก้ไขปัญหาคอมพิวเตอร์ ทำให้สามารถให้บริการได้อย่างรวดเร็ว ส่งผลให้เกิดความสุขในการทำงาน | 0.00 | 0.00 | สํานักยุทธศาสตร์และประเมินผล | 2018-10-01 00:00:00 | 2019-09-30 00:00:00 | แล้วเสร็จ | 100.00 |
42 | 7.0.1. ด้านที่ ๗ – การบริหารจัดการเมืองมหานคร : Management Strategy |
1.2. | 2562 | โครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องการตรวจสอบ ซ่อมแซม และบำรุงรักษาเครื่องคอมพิวเตอร์ขั้นสูง (Advance) | เพื่อเป็นการประหยัดงบประมาณค่าซ่อมแซมและลดปริมาณเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ประกอบที่ส่งซ่อม และลดกระบวนการปฏิบัติงานการซ่อมบำรุงรักษาคอมพิวเตอร์ของเจ้าหน้าที่เครื่องคอมพิวเตอร์ให้สามารถบริการซ่อมได้สะดวกรวดเร็วขึ้น กองบริการระบบคอมพิวเตอร์ จึงจัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องการตรวจสอบ ซ่อมแซมและบำรุงรักษาเครื่องคอมพิวเตอร์ขั้นสูง (Advanced) เพื่อพัฒนาข้าราชการกรุงเทพมหานครให้มีความรู้ ความเข้าใจ และมีทักษะในการตรวจสอบ ซ่อมแซมและบำรุงรักษาเครื่องคอมพิวเตอร์ของหน่วยงานด้วยตนเอง โดยไม่ต้องเสียเวลาในการส่งซ่อมเครื่องคอมพิวเตอร์มายังกองบริการระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งจะทำให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชนที่มาใช้บริการของกรุงเทพมหานครต่อไป | เพื่อพัฒนาข้าราชการกรุงเทพมหานครให้มีความรู้ ความเข้าใจ และมีทักษะในการตรวจสอบ ซ่อมแซมและบำรุงรักษาเครื่องคอมพิวเตอร์ และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานของหน่วยงาน | ข้าราชการเข้าร่วมโครงการทั้งสิ้น จำนวน 111 คน ประกอบด้วย 3.1 เป้าหมายหลัก จำนวน 90 คน ดังนี้ (1) ข้าราชการกรุงเทพมหานคร ระดับชำนาญการลงมา จำนวน 90 คน 3.2 ผู้เกี่ยวข้อง จำนวน 36 คน ดังนี้ (1) เจ้าหน้าที่ดำเนินการ (จำนวน 3 รุ่น รุ่นละ 6 คน) จำนวน 18 คน (2) วิทยากร (จำนวน 3 รุ่น รุ่นละ 1 คน) จำนวน 3 คน | 124,800.00 | 91,000.00 | สํานักยุทธศาสตร์และประเมินผล | 2018-10-01 00:00:00 | 2019-09-30 00:00:00 | แล้วเสร็จ | 100.00 |
43 | 7.0.1. ด้านที่ ๗ – การบริหารจัดการเมืองมหานคร : Management Strategy |
1.2. | 2562 | โครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการในการนำเสนอข้อมูลภาพเคลื่อนไหว (Info Motion) อย่างมืออาชีพ | การนำข้อมูลจำนวนมากสื่อออกมาในลักษณะของภาพกราฟิกทำให้เข้าใจได้ง่าย และการนำเสนอในแบบสื่อ Info Motion เป็นการนำเสนอข้อมูลด้วยภาพเคลื่อนไหว เข้าใจได้ง่ายในเวลาอันรวดเร็ว หากสามารถนำความรู้ต่างๆ มาสื่อสารในรูปแบบ Infographic และสื่อ Info Motion ได้จะช่วยให้ข้าราชการและบุคลากรของกรุงเทพมหานคร และประชาชน มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น | 1. เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้รับความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการนำเสนอข้อมูลภาพเคลื่อนไหว (Info Motion) อย่างมืออาชีพ 2. เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมสามารถจัดทำข้อมูลภาพเคลื่อนไหว (Info Motion) อย่างมืออาชีพ | ผู้เข้ารับการอบรม ข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญทุกระดับ จำนวน 80 คน (จำนวน 2 รุ่น รุ่นละ 40 คน) | 155,500.00 | 140,250.00 | สํานักยุทธศาสตร์และประเมินผล | 2018-10-01 00:00:00 | 2019-09-30 00:00:00 | แล้วเสร็จ | 100.00 |
44 | 7.0.1. ด้านที่ ๗ – การบริหารจัดการเมืองมหานคร : Management Strategy |
4.2. | 2562 | โครงการฝึกอบรมระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ | กรุงเทพมหานครนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการบริหารจัดการและการให้บริการ ซึ่งอยู่ภายใต้กรอบของแผนพัฒนากรุงเทพมหานคร ระยะ 20 ปี ระยะที่ 2 (พ.ศ. 2561-2565) ด้านที่ 7 การบริหารจัดการเมืองมหานคร มิติที่ 7.3 การบริหารทรัพยากรบุคคล เป้าหมายที่ 7.3.1 บุคลากรกรุงเทพมหานครเป็นผู้ปฏิบัติงานแบบมืออาชีพ มีคุณธรรม จริยธรรม และเป็นที่เชื่อมั่นของประชาชน มิติที่ 7.5 เทคโนโลยีสารสนเทศ เป้าหมายที่ 7.5.1 กรุงเทพมหานครให้บริการประชาชนด้วยความสะดวก รวดเร็ว ถูกต้องและโปร่งใส โดยประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่ทันสมัย (SMART SERVICE) เพื่อสนับสนุนนโยบายเศรษฐกิจดิจิตอล (Digital Economy) และมีการบริหารจัดการเมือง (กรุงเทพมหานคร) ด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่มีคุณภาพและมีประสิทธิภาพ (SMART CITY) และสอดคล้องตามแผนพัฒนาทรัพยากรบุคคลของกรุงเทพมหานคร (พ.ศ. 2561 - 2565) ยุทธศาสตร์ที่ 1 พัฒนาทรัพยากรบุคคลของกรุงเทพมหานครให้มีสมรรถนะพึงประสงค์ แต่เนื่องจากข้าราชการของกรุงเทพมหานครบางส่วนยังมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ไม่เพียงพอ จึงไม่สามารถนำระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์มาประยุกต์ใช้งานให้เกิดประโยชน์ได้อย่างครบถ้วนประกอบกับข้าราชการที่มีความรู้ความสามารถเกี่ยวกับระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ได้รับการแต่งตั้งหรือมีการโยกย้ายไปหน่วยงานอื่น ทำให้ข้าราชการที่รับตำแหน่งทดแทน อาจไม่ได้รับการถ่ายทอดความรู้การใช้งานด้านระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ และไม่มีความเข้าใจในการใช้งานด้านระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ กองสารสนเทศภูมิศาสตร์เห็นความสำคัญของการนำระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ไปประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการและการให้บริการ จึงเห็นควรพัฒนาศักยภาพข้าราชการกรุงเทพมหานครให้มีความรู้ ความเข้าใจและสามารถนำระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ไปใช้งานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน และเกิดประโยชน์ต่อหน่วยงาน | 3.1 เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ กระบวนการจัดเก็บข้อมูล การจัดทำแผนที่ การใช้เครื่องมือต่างๆ และทักษะการใช้โปรแกรมด้านระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ในการวิเคราะห์เชิงพื้นที่ รวมทั้ง สามารถนำแนวคิดด้านระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานด้านต่าง ๆ ของกรุงเทพมหานครและบูรณาการให้เกิดประโยชน์แก่หน่วยงาน 3.2 เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้แลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน รวมถึงการสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างหน่วยงาน | จัดฝึกอบรมหลักสูตรระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ แบบไป - กลับ ณ ศูนย์ฝึกอบรมคอมพิวเตอร์ ชั้น 4 สำนักการศึกษา เขตคลองสาน กรุงเทพมหานคร โดยแบ่งเป็น 2 หลักสูตร ประกอบด้วย 1) หลักสูตรระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์กรุงเทพมหานครเบื้องต้น เป็นการฝึกอบรมแบบไป - กลับ ให้กับข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญ ประเภททั่วไป ระดับปฏิบัติงาน - ระดับอาวุโส และประเภทวิชาการ ระดับปฏิบัติการ - ระดับชำนาญการพิเศษ จำนวน 100 คน 2) หลักสูตรการประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์กรุงเทพมหานคร เป็นการฝึกอบรมแบบไป - กลับ ให้กับข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญ ประเภททั่วไป ระดับปฏิบัติงาน - ระดับอาวุโส และประเภทวิชาการ ระดับปฏิบัติการ - ระดับชำนาญการพิเศษ จำนวน 50 คน | 203,300.00 | 176,750.00 | สํานักยุทธศาสตร์และประเมินผล | 2018-10-17 00:00:00 | 2019-05-17 00:00:00 | แล้วเสร็จ | 100.00 |
45 | 7.0.1. ด้านที่ ๗ – การบริหารจัดการเมืองมหานคร : Management Strategy |
7.2.1 | 2562 | โครงการพัฒนาระบบเผยแพร่ข้อมูลการจัดซื้อจัดจ้างตามพระราชบัญญัติฉบับใหม่ (e-GP) | ด้วยกรุงเทพมหานครเป็นหน่วยงานของรัฐซึ่งอยู่ในบังคับพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 และระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 กำหนดให้หน่วยงานของรัฐต้องมีการประกาศเผยแพร่ข้อมูลในระบบเครือข่ายสารสนเทศของหน่วยงานของรัฐ (เว็บไซต์ของกรุงเทพมหานคร www.bangkok.go.th) ปัจจุบันเว็บไซต์กรุงเทพมหานคร เป็นเว็บไซต์สำหรับเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร และกิจกรรมต่าง ๆ ของกรุงเทพมหานคร การปรับปรุงข้อมูลเว็บไซต์ใช้ระบบบริหารจัดการข้อมูล (CMS) ซึ่งเป็นระบบที่พัฒนาขึ้นโดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ควบคุมดูแลและบริหารจัดการข้อมูลเป็นเจ้าหน้าที่กองควบคุมระบบคอมพิวเตอร์ สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล เนื่องจากระเบียบการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 กำหนดต้องดำเนินการประกาศเผยแพร่ข้อมูลการจัดซื้อจัดจ้างของกรุงเทพมหานครในทุกขั้นตอนการปฏิบัติงาน พร้อมกำหนดให้ทุกหน่วยงานต้องดำเนินการจัดทำแผนการจัดซื้อจัดจ้างประจำปี ประกาศและเผยแพร่ในระบบสารสนเทศของกรมบัญชีกลางและของกรุงเทพมหานคร (www.bangkok.go.th) ซึ่งเดิมเผยแพร่ในเว็บไซต์ของกรมบัญชีกลางและเว็บไซต์ของหน่วยงานเท่านั้น เบื้องต้นกองควบคุมระบบคอมพิวเตอร์ได้แก้ปัญหา โดยจัดทำเมนูการจัดซื้อจัดจ้างประจำปีของหน่วยงาน เพิ่มเติมผู้ใช้งานระบบในเว็บไซต์กรุงเทพมหานคร หน่วยงานละ 1 รหัส และอนุญาตให้สามารถปรับปรุงข้อมูลในเว็บไซต์กรุงเทพมหานคร ในเมนูการจัดซื้อจัดจ้างประจำปีของหน่วยงานได้ โดยเป็นการเข้าใช้งานเมนูร่วมกันของทุกหน่วยงานไม่สามารถกำหนดสิทธิ์ในการเข้าถึงข้อมูลในแต่ละผู้ใช้ได้ ซึ่งอาจมีปัญหาทำให้ผู้ใช้บางรายอาจดำเนินการแก้ไขข้อมูลของผู้ใช้รายอื่นๆ โดยเจตนาหรือไม่เจตนาก็ได้ และอาจส่งผลให้เกิดความเสียหายต่อเว็บไซต์กรุงเทพมหานครโดยรวม ประกอบกับข้อมูลการจัดซื้อจัดจ้างประจำปีของหน่วยงานกรุงเทพมหานครมีปริมาณค่อนข้างมาก จำเป็นต้องอาศัยระบบการจัดเก็บและการสืบค้นข้อมูลที่เป็นระเบียบแบบแผนและถูกต้องรวดเร็ว จึงควรแยกระบบเผยแพร่ข้อมูลการจัดซื้อจัดจ้างประจำปีของหน่วยงานกรุงเทพมหานครออกมาอีกเว็บไซต์ มีระบบบริหารจัดการการเข้าถึงข้อมูล สามารถรองรับผู้ใช้งานระบบจำนวนมาก รองรับขั้นตอนการปฏิบัติงานที่ถูกต้องตามระเบียบการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 สามารถตรวจสอบสถานะขั้นตอนการจัดซื้อจัดจ้างของแต่ละโครงการได้ และมีการจัดทำรายงานสถิติการจัดซื้อจัดจ้างประจำปีของแต่ละหน่วยงาน | -เพื่อให้กรุงเทพมหานครมีระบบเว็บไซต์จัดซื้อจัดจ้างกรุงเทพมหานครเป็นศูนย์กลางในการเผยแพร่ข้อมูลตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 ในระบบเครือข่ายสารสนเทศของกรุงเทพมหานคร -เพื่อให้การจัดซื้อจัดจ้างกรุงเทพมหานคร มีความโปร่งใส สามารถสืบค้นข้อมูลได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว สร้างความเท่าเทียมกันของผู้ค้า/ผู้รับจ้างทำให้เกิดการแข่งขันอย่างเสรี | -มีระบบเว็บไซต์จัดซื้อจัดจ้างกรุงเทพมหานคร ที่รวบรวมและเผยแพร่ข้อมูลการจัดซื้อจัดจ้างของกรุงเทพมหานครในแต่ละปีงบประมาณ สอดคล้องกับระเบียบและขั้นตอนตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 -ข้อมูลการจัดซื้อจัดจ้างกรุงเทพมหานคร มีการบริหารจัดการและการจัดเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบ สะดวกต่อการใช้งานและง่ายต่อการสืบค้นข้อมูล ติดตามตรวจสอบเพื่อความโปร่งใสในการจัดซื้อจัดจ้าง | 7,800,000.00 | 0.00 | สํานักยุทธศาสตร์และประเมินผล | 2018-10-01 00:00:00 | 2019-09-30 00:00:00 | แล้วเสร็จ | 100.00 |
46 | 7.0.1. ด้านที่ ๗ – การบริหารจัดการเมืองมหานคร : Management Strategy |
3.1.1 | 2562 | โครงการเพิ่มประสิทธิภาพและขอบเขตการให้บริการระบบอินเทอร์เน็ตของกรุงเทพมหานคร | กรุงเทพมหานครสามารถเปิดให้บริการแก่ข้าราชการของกรุงเทพมหานครในด้านการเข้าใช้งาน ในระบบอินเทอร์เน็ตของกรุงเทพมหานครแล้วแต่หน่วยงานจะร้องขอ เนื่องจากมีข้อจำกัดในเรื่องของปริมาณ การใช้งานในระบบอินเทอร์เน็ตผ่านเครือข่าย LAN ของกรุงเทพมหานคร ประกอบกับการใช้งานในระบบอินเทอร์เน็ตสำหรับหน่วยงานต่าง ๆ ของกรุงเทพมหานคร มีความต้องการให้เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถออกสู่ระบบอินเทอร์เน็ตได้มีปริมาณเพิ่มสูงขึ้นเป็นจำนวนมาก เนื่องจากระบบงานต่าง ๆ ที่หน่วยงานต้องใช้ในการปฏิบัติราชการต้องใช้งานผ่านระบบอินเทอร์เน็ตเพิ่มมากขึ้น เช่น การรับจดทะเบียนพาณิชย์ การปฏิบัติงาน ตามระบบการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-GP) เป็นต้น ดังนั้นเพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่เชื่อมต่อผ่านเครือข่าย LAN ของกรุงเทพมหานคร สามารถออกสู่ระบบอินเทอร์เน็ตได้ จึงจำเป็นต้องจัดหาปรับเปลี่ยนรูปแบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการให้สามารถใช้งานได้อย่างหลากหลาย มีความครอบคลุมถึงเครื่องคอมพิวเตอร์ภายในเครือข่าย และจัดหาระบบจัดเก็บข้อมูลตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560 ให้สอดคล้องกับการขยายการใช้งานในระบบอินเทอร์เน็ตที่เพิ่มมากขึ้นด้วยซึ่งจะทำให้สามารถจัดเก็บข้อมูลการใช้งานของผู้ใช้แต่ละผู้ใช้เป็นรายบุคคลได้ครบถ้วน ตามกฎหมายต่อไป สำหรับการให้บริการเว็บไซต์ของกรุงเทพมหานคร (www.bangkok.go.th) และระบบบริหารจัดการการเข้าถึงข้อมูล (Web Portal) รวมถึงการให้บริการพื้นที่ในการจัดเก็บข้อมูลของเว็บไซต์ของหน่วยงานต่าง ๆ มีระบบจัดเก็บข้อมูลตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560 แต่ยังไม่ครอบคลุมในทุกเหตุการณ์ (Event) อีกทั้งยังไม่มีระบบการวิเคราะห์เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เพื่อนำมาตรวจสอบความผิดปกติต่าง ๆ เพื่อใช้สำหรับการป้องกันการบุกรุกในลักษณะต่าง ๆ จึงมีความจำเป็นต้องจัดหาระบบจัดเก็บข้อมูลการใช้งานและวิเคราะห์เหตุการณ์ ในระดับโปรแกรมประยุกต์ | 1. สามารถรองรับการใช้งานในระบบอินเทอร์เน็ตของหน่วยงานกรุงเทพมหานครได้ทุกเครื่องที่เชื่อมต่อผ่านเครือข่าย LAN ของกรุงเทพมหานคร โดยสามารถใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือในการปฏิบัติราชการได้อย่างเพียงพอและมีประสิทธิภาพ 2. หน่วยงานของกรุงเทพมหานครและเจ้าหน้าที่ของกรุงเทพมหานครทุกคน สามารถใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ออกสู่ระบบอินเทอร์เน็ตได้ ค้นคว้า หาความรู้ต่าง ๆ บนระบบอินเทอร์เน็ต เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการปฏิบัติราชการได้อย่างมีประสิทธิภาพ 3. สามารถรองรับการจัดเก็บข้อมูลการใช้งานระบบอินเทอร์เน็ตและจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ได้ตามจำนวนผู้ใช้งานที่เพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นไปตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560 | 1. เครื่องคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อผ่านเครือข่าย LAN ของกรุงเทพมหานครสามารถออกสู่ระบบอินเทอร์เน็ตได้ และสนับสนุนการปฏิบัติงานที่ต้องใช้ระบบอินเทอร์เน็ตได้อย่างเพียงพอและมีประสิทธิภาพ 2. เจ้าหน้าที่กรุงเทพมหานครสามารถค้นหาข้อมูลเพื่อพัฒนาความรู้ได้ตามความต้องการ สามารถนำไปเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการประชาชนได้อย่างกว้างขวาง ทันสมัยต่อเหตุการณ์ได้ดียิ่งขึ้น 3. สามารถเก็บข้อมูลผู้ใช้งานและวิเคราะห์ข้อมูลการใช้งานของผู้ใช้ได้ครบถ้วน ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. ๒๕๕๐ และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560 4. สามารถเก็บข้อมูลการใช้งานและวิเคราะห์เหตุการณ์ ระดับโปรแกรมประยุกต์ เพื่อหาความผิดปกติและเก็บข้อมูลได้ครบถ้วนตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. ๒๕๕๐ และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560 5. สามารถให้บริการต่อเจ้าหน้าที่กรุงเทพมหานครได้ 40,000 คน โดยมีจำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เข้าใช้งานได้ 20,000 เครื่อง | 29,500,000.00 | 0.00 | สํานักยุทธศาสตร์และประเมินผล | 2018-10-01 00:00:00 | 2019-09-30 00:00:00 | แล้วเสร็จ | 100.00 |
47 | 7.0.1. ด้านที่ ๗ – การบริหารจัดการเมืองมหานคร : Management Strategy |
1.2.1 | 2562 | โครงการจัดทำระบบฐานข้อมูลฝึกอบรม และระบบพัฒนาศักยภาพบุคลากรของกรุงเทพมหานครด้วยการ เรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ | การนำระบบสารสนเทศและการสื่อสารสมัยใหม่มาประยุกต์ใช้ในงานด้านการฝึกอบรม และการพัฒนาศักยภาพบุคลากรโดยกำหนดให้บุคลากรกรุงเทพมหานคร เรียนรู้ได้ด้วยตนเองผ่านช่องทางสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ของกรุงเทพมหานคร หรือผ่านทางระบบ e-learning ซึ่งจะช่วยให้บุคลากรของกรุงเทพมหานครในทุกสังกัด สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง จากทุกสถานที่ ทุกช่วงเวลา เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้สนใจเรียนรู้จำนวนมาก ได้มีโอกาสเข้าถึงแหล่งเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วและไม่จำกัดช่วงเวลา อีกทั้งยังได้ปฏิสัมพันธ์กับผู้สอนตามช่วงเวลาที่กำหนด จะเห็นได้ว่าแนวทางการพัฒนาความรู้ความสามารถดังกล่าว เป็นแนวทางหนึ่งในการแก้ปัญหาความเสมอภาค ทางด้านการฝึกอบรม/พัฒนาของกรุงเทพมหานคร ซึ่งเกิดจากข้อจำกัดทางด้านงบประมาณได้อย่างยั่งยืน จึงช่วยตอบโจทย์ทางด้านการพัฒนาทรัพยากรบุคคลของ กรุงเทพมหานคร และตอบสนองเจตนารมณ์ของผู้บริหารกรุงเทพมหานครที่ต้องการให้บุคลากรของกรุงเทพมหานครมีความรู้ ความสามารถที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะความรู้ และทักษะทางด้านดิจิทัลพื้นฐานที่มีความจำเป็นในการปฏิบัติงาน ตามโครงการพัฒนาทักษะความเข้าใจและใช้เทคโนโลยีดิจิทัลสำหรับบุคลากรภาครัฐ (Digital Literacy Project) ของสำนักงาน ก.พ.ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งตามแนวทางการปฏิรูประบบบริการภาครัฐ เพื่อเตรียมพร้อมการปรับเปลี่ยนสู่รัฐบาลดิจิทัล (Digital Government) อย่างเต็มตัว เพื่อนำประเทศไปสู่ความ “มั่นคง มั่งคั่งและยั่งยืน” บรรลุตามวิสัยทัศน์ที่กำหนดไว้ | 1. เพื่อพัฒนาเครื่องมือสำหรับใช้บริหารจัดการข้อมูลการฝึกอบรม และระบบพัฒนาศักยภาพบุคลากรของกรุงเทพมหานคร ที่หน่วยงานในสังกัด กรุงเทพมหานครทุกแห่งสามารถเข้าใช้งานได้รวมกัน 2. เพื่อสร้างชุดเครื่องมือสำหรับให้บุคลากรของกรุงเทพมหานครทุกคนได้มีโอกาสประเมินผลด้วยตนเอง (self-Assessment) เพื่อหาข้อบกพร่อง นำไปปรับปรุงพัฒนาการปฏิบัติงาน 3. เพื่อให้บุคลากรของกรุงเทพมหานครมีความพร้อมก่อนเข้าร่วมทดสอบกับโครงการพัฒนาทักษะความเข้าใจและใช้เทคโนโลยีดิจิทัล สำหรับบุคลากรภาครัฐ (Digital Literacy Project) 4. เพื่อวางกรอบแนวทางการพัฒนาความรู้ ความสามารถให้กับบุคลากรของกรุงเทพมหานครทุกตำแหน่ง ได้มีโอกาสศึกษาและพัฒนาความรู้ ตามสายอาชีพ (Training Road Map : TRM) ตลอดจนพัฒนาเครื่องมือสำหรับใช้ติดตามและประเมินผลการพัฒนาความรู้ ความสามารถเป็นรายบุคคล | พัฒนาระบบบริหารข้อมูลการฝึกอบรมและระบบสารสนเทศการพัฒนาศักยภาพบุคลากรของกรุงเทพมหานคร เพื่อรองรับการใช้งานบุคลากร ของกรุงเทพมหานครในทุกสังกัดได้มีโอกาสได้ศึกษาหาความรู้ด้วยตนเองจากทุกสถานที่ ทุกช่วงเวลาผ่านช่องทางสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ ของกรุงเทพมหานคร รวมถึงสร้างระบบที่เหมาะสม สำหรับพัฒนากำลังคนของกรุงเทพมหานครให้มีทักษะและความสามารถนำเครื่องมืออุปกรณ์ และเทคโนโลยีดิจิทัลตามโครงการพัฒนาทักษะความเข้าใจและใช้เทคโนโลยีดิจิทัลสำหรับบุคลากรภาครัฐ (Digital Literacy Project) พร้อมสร้างเครื่องมือสำหรับใช้ติดตามและรับทราบผลการประเมินการพัฒนาความรู้ ความสามารถในลักษณะเป็นรายบุคคล เพื่อประโยชน์ในการวางพัฒนาความรู้เฉพาะบุคคล (Individual Development Plan : IDP) ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์ในการวางแผนการศึกษา ตามเส้นทางการพัฒนาตามสายอาชีพ | 29,800,000.00 | 0.00 | สํานักยุทธศาสตร์และประเมินผล | 2018-10-01 00:00:00 | 2020-09-29 00:00:00 | แล้วเสร็จ | 100.00 |
48 | 7.0.1. ด้านที่ ๗ – การบริหารจัดการเมืองมหานคร : Management Strategy |
4.2.1 | 2562 | โครงการพัฒนาระบบศูนย์รับคำขออนุญาตของกรุงเทพมหานคร (BMA OSS) | ตามพระราชบัญญัติการอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ พ.ศ.2558 ซึ่งกำหนดให้หน่วยงานราชการทุกแห่งที่เกี่ยวข้องกับการคำขออนุญาต/บริการจัดตั้งธุรกิจ (Doing Business Platform)รวมถึงกรุงเทพมหานครต้องพัฒนาระบบฯ สำหรับรองรับการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ (Open Data) กับทางศูนย์รับคำขออนุญาตกลางของสำนักงาน ก.พ.ร. และหน่วยงานภาครัฐระหว่างกัน เพื่ออำนวยความสะดวกให้ประชาชนในการติดต่อกับทางราชการ ในฐานะเป็นหน่วยงานให้บริการประชาชน และเป็นส่วนหนึ่งในการพิจารณาออกใบอนุญาต/บริการ โดยรับหน้าที่เป็นหน่วยงานรับข้อมูลจากประชาชนที่ติดต่อมาขอรับใบอนุญาต/บริการ ตลอดจนรับ - ส่งส่งต่อข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์กับศูนย์รับคำขออนุญาตกลางของสำนักงาน ก.พ.ร. ผ่านระบบเชื่อมโยง เพื่อส่งต่อข้อมูลของประชาชนให้กับหน่วยงานในสังกัดของกรุงเทพมหานคร ให้สามารถดำเนินการในภารกิจที่เกี่ยวข้องได้สะดวกรวดเร็ว จึงมีความจำเป็นต้องพัฒนาระบบสารสนเทศกลาง สำหรับเป็นศูนย์รับคำขออนุญาตของกรุงเทพหานคร เพื่อบริหารจัดการข้อมูลให้มีประสิทธิภาพ รองรับภารกิจที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการประชาชนตามพระราชบัญญัติฯ ที่กำหนด รวมถึงประชาชนสามารถติดตาม (Monitoring / Tracking) การออกใบอนุญาต/บริการ พร้อมระบบแจ้งเตือน (Alert) เพื่อรายงานสถานะการดำเนินการ และผลการพิจารณาการออกใบอนุญาต/บริการ ให้ประชาชนได้รับทราบ | 1. เพื่อพัฒนาระบบสารสนเทศสำหรับรองรับคำขอใบอนุญาต/บริการของประชาชนที่จะดำเนินการผ่านทางสำนักงานเขต 50 เขตและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 2. เพื่อพัฒนาระบบเชื่อมโยงข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์กับศูนย์รับคำขออนุญาตกลางของสำนักงาน ก.พ.ร. และหน่วยงานในสังกัดกรุงเทพมหานครได้แบบเบ็ดเสร็จ 3. เพื่อให้ประชาชนสามารถติดตามสถานะการดำเนินการ และรับทราบผลการพิจารณาใบอนุญาต/บริการ ผ่านทางระบบอิเล็กทรอนิกส์และระบบออนไลน์ | 1. กรุงเทพมหานครมีระบบสารสนเทศสำหรับรองรับคำขอใบอนุญาต/บริการของประชาชนที่จะดำเนินการผ่านทางสำนักงานเขต 50 เขต รวมถึงมีระบบเชื่อมโยงข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อรับ-ส่งข้อมูลของประชาชนที่มาติดต่อกับทางราชการ ตลอดจนหลักฐานในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ กับศูนย์รับคำขออนุญาตของสำนักงาน ก.พ.ร. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับประชาชนในการติดต่อกับทางราชการแบบเบ็ดเสร็จครบวงจร 2. ประชาชนสามาถติดตามสถานะการดำเนินการการขอใบอนุญาต/บริการของประชาชนได้สะดวก รวดเร็ว โดยดำเนินการผ่านทางระบบอิเล็กทรอนิกส์แบบออนไลน์ของกรุงเทพมหานคร | 83,237,500.00 | 0.00 | สํานักยุทธศาสตร์และประเมินผล | 2018-10-01 00:00:00 | 2020-09-30 00:00:00 | แล้วเสร็จ | 100.00 |
49 | 7.0.1. ด้านที่ ๗ – การบริหารจัดการเมืองมหานคร : Management Strategy |
4.2.1 | 2562 | โครงการพัฒนาระบบบริหารจัดการเพื่อวิเคราะห์ฐานข้อมูลขนาดใหญ่ | ปัญหาและสถานการณ์ต่างๆ ในกรุงเทพมหานครมีหลากหลายด้าน หลากหลายมุมมองได้ก่อตัวและขยายวงกว้างมากขึ้น ส่งผลกระทบโดยตรงต่อการบริหารจัดการเมือง รวมไปถึงการกระทำ หรือการแสดงความคิดเห็น ตลอดถึงการรายงานสถานการณ์ต่างๆ การขอความช่วยเหลือ และการร้องเรียนในเรื่องต่างๆ ทั้งที่เป็นเรื่อง ในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต จึงมีความจำเป็นอย่างเร่งด่วนที่จะต้องพัฒนาระบบบริหารจัดการเพื่อวิเคราะห์ฐานข้อมูลขนาดใหญ่จากทั้งระบบฐานข้อมูลของกรุงเทพมหานครและข้อมูลจากเครือข่ายทางสังคม (Social Network) เพื่อความมั่นคงและความสงบเรียบร้อยของสังคมและประชาชน รวมทั้งส่วนที่เพิ่มเติมในระบบคลังข้อมูลกลางกรุงเทพมหานคร ด้านวัฒนธรรม ด้านคุณภาพชีวิต และด้านสวัสดิการสังคม เพื่อพัฒนาระบบสารสนเทศพื้นฐานที่ยังไม่มีอยู่แต่จำเป็นต่อการสนับสนุนคลังข้อมูลกลาง และเพิ่มความสามารถในการปฏิบัติหน้าที่หลักเพื่อตอบสนองนโยบายรัฐบาล และการบริหารจัดการเมืองกรุงเทพฯ เพื่อทำให้เมืองกรุงเทพฯ ก้าวสู่การเป็น “มหานครแห่งเอเชีย” ในปี พ.ศ. ๒๕๗๕ การพัฒนาระบบบริหารจัดการเพื่อวิเคราะห์ฐานข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) หมายถึง การเก็บข้อมูลที่ได้มาทำการวิเคราะห์โดยใช้เครื่องในการเก็บข้อมูลที่มีขนาด (Volume) ความหลากหลาย (Variety) และความเร็ว (Velocity) ของข้อมูลที่สูงมาก และสิ่งสำคัญคือคุณค่าของข้อมูล (Value) ที่เป็นแบบที่มีโครงสร้าง (Structure) และไม่มีโครงสร้าง (Unstructure) ให้อยู่ในรูปแบบที่สามารถนำไปวิเคราะห์ได้ โดยการวาง Schema ให้เหมาะสมและตรงตามโจทย์ที่ต้องการได้รับคำตอบ ดังนั้นจึงมีความจำเป็นต้องจัดทำโครงการพัฒนาระบบบริหารจัดการเพื่อวิเคราะห์ฐานข้อมูลขนาดใหญ่ เพื่อเป็นการเพิ่มศักยภาพของกรุงเทพมหานครให้พัฒนาไปสู่องค์กรสมัยใหม่ที่มีการบริหารงาน ด้วยข้อมูลสารสนเทศที่มีคุณภาพ มีความหลากหลายครอบคลุมรอบด้าน สามารถนำมาใช้ในการวางแผนและบริหารงานในเชิงรุกได้ | 1. เพื่อค้นหาข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) และนำมาวิเคราะห์ พยากรณ์ และคาดการณ์เหตุการณ์ต่างๆ ที่จะเกิดขึ้น และพัฒนาระบบจัดเก็บข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลจาก Social Network เพื่อใช้ในการบริหารจัดการเมืองกรุงเทพมหานคร 2. เพื่อจัดทำคลังข้อมูลสำหรับบูรณาการข้อมูลจากสังคมออนไลน์ โดยเน้นผู้รับบริการในพื้นที่กรุงเทพมหานคร และนำไปใช้เป็นฐานในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึก ช่วยในการวางแผนและบริหารงานเชิงยุทธศาสตร์ | 1. เพื่อรวบรวม และวิเคราะห์ฐานข้อมูลขนาดใหญ่ให้มีความทันสมัยและมีประสิทธิภาพ สามารถวิเคราะห์ พยากรณ์ และคาดการณ์เรื่องต่าง ๆ ในอดีตและปัจจุบัน และครอบคลุมการดำเนินงานตามภารกิจของกรุงเทพมหานครได้อย่างมีประสิทธิภาพ 2. ศึกษา วิเคราะห์ ออกแบบ และพัฒนารูปแบบการจัดเก็บข้อมูล และรูปแบบการนำเสนอที่เหมาะสมจากเครือข่ายสังคม | 87,200,000.00 | 0.00 | สํานักยุทธศาสตร์และประเมินผล | 2018-10-01 00:00:00 | 2020-09-30 00:00:00 | แล้วเสร็จ | 100.00 |
50 | 7.0.1. ด้านที่ ๗ – การบริหารจัดการเมืองมหานคร : Management Strategy |
4.2. | 2562 | โครงการพัฒนาระบบวิเคราะห์การบริหารจัดการระบบสารสนเทศ | เป็นการจัดทำระบบวิเคราะห์การบริหารจัดการระบบสารสนเทศ หรือติดตั้งเครื่องมือซอฟต์แวร์ที่ช่วยในการบริหารจัดการระบบสารสนเทศที่เป็นมาตรฐานสากล เพื่อให้ผู้บริหารตลอดจนผู้ปฏิบัติงานสามารถตัดสินใจได้อย่างรวดเร็ว ทั้งในด้านการบริหารจัดการ และการวิเคราะห์ข้อมูลทางด้านเทคนิค ซึ่งจะส่งเสริมให้หน่วยงานสามารถดูแลรักษาระบบสารสนเทศให้มีความพร้อมใช้ (availability) และความน่าเชื่อถือได้ (reliability) โดยระบบ IT Infrastructure Monitoring จะทำการรวบรวมข้อมูลสถานะการทำงานเพื่อวิเคราะห์สถานการณ์ ของระบบทั้งหมด ตรวจสอบการโจมตีที่เกิดขึ้นในเครือข่าย ทำการแสดงผลและ แจ้งเตือน รวมถึงสร้างรายงานได้ โดยระบบที่ IT Infrastructure Monitoring สามารถตรวจสอบการทำงานและการเรียกใช้งาน เช่น Application DatabaseStorage สามารถแยกแยะได้ระหว่างอุปกรณ์ Network, Firewall, Printer, PC, Notebook, Mobile Phone, Tablet, USB Device หรือ IP รวมถึง Service, Process และ Software ที่ติดตั้งและใช้งานอยู่ในแต่ละช่วงเวลา รวมถึงการยืนยันตัวตนของผู้ใช้งาน | จัดหาระบบวิเคราะห์การบริหารจัดการระบบสารสนเทศที่ได้มาตรฐานสากล เพื่อช่วยในการบริหารจัดการระบบสารสนเทศที่มีอยู่กระจัดกระจายและมีปริมาณมาก | 1. เพื่อรวบรวม วิเคราะห์ และแก้ไขปัญหางานด้านระบบสารสนเทศให้มีประสิทธิภาพ 2. เพื่อศึกษา วิเคราะห์ และบริหารจัดการระบบสารสนเทศให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน สามารถรองรับภารกิจของกรุงเทพมหานคร ช่วยให้ผู้บริหารสามารถตัดสินใจได้อย่างรวดเร็ว ถูกต้อง และสอดคล้องตามแผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลของประเทศไทย | 17,000,000.00 | 3,390,000.00 | สํานักยุทธศาสตร์และประเมินผล | 2018-10-01 00:00:00 | 2019-09-30 00:00:00 | กำลังดำเนินการ | 95.00 |
51 | 7.0.1. ด้านที่ ๗ – การบริหารจัดการเมืองมหานคร : Management Strategy |
1.2.1 | 2562 | กิจกรรมพัฒนาศักยภาพบุคลากรกรุงเทพมหานครให้มีสมรรถนะด้านดิจิทัล (Digital Skill) | การพัฒนาทักษะด้านดิจิทัลของข้าราชการและบุคลากรภาครัฐเพื่อการปรับเปลี่ยนเป็นรัฐบาลดิจิทัล มุ่งเน้นให้ข้าราชการและบุคลากรภาครัฐปรับกระบวนทัศน์และมีความสามารถในการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาสร้างสรรค์นวัตกรรมการทำงานและการให้บริการภาครัฐที่สร้างคุณค่าร่วมกันระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน อันจะนำไปสู่การเพิ่มศักยภาพการแข่งขันของประเทศ ความโปร่งใสและธรรมาภิบาลในภาพรวม | 1. เพื่อให้ภาครัฐมีกำลังคนที่มีทักษะด้านดิจิทัลที่เหมาะสม ที่จะเป็นกลไกขับเคลื่อนที่สำคัญ ในการ ปรับเปลี่ยนภาครัฐเป็นรัฐบาลดิจิทัล ทั้งนี้ เพื่อการพัฒนาประเทศไทยไปสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน ในยุคเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัล 2. บุคลากรและผู้บริหารของกรุงเทพมหานครสามารถปรับตัวให้เท่าทันกับการเปลี่ยนแปลงของ เทคโนโลยี มีความพร้อมที่จะปฏิบัติงานตามบทบาทและพฤติกรรมที่คาดหวังในบริบทของการปรับเปลี่ยนเป็นรัฐบาลดิจิทัล และสามารถนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด | พัฒนาทักษะด้านดิจิทัลให้กับบุคลากรและผู้บริหารของกรุงเทพมหานครให้มีสมรรถนะด้านดิจิทัล (Digital Skill) ที่จะส่งเสริมสนับสนุนให้เกิดการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในการปฏิบัติงานและในการพัฒนางานภาครัฐ และสนับสนุน “การปรับเปลี่ยนภาครัฐให้เป็นรัฐบาลดิจิทัล” | 0.00 | 0.00 | สํานักยุทธศาสตร์และประเมินผล | 2018-10-01 00:00:00 | 2019-09-30 00:00:00 | แล้วเสร็จ | 100.00 |
52 | 7.0.1. ด้านที่ ๗ – การบริหารจัดการเมืองมหานคร : Management Strategy |
3.1.1 | 2562 | พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลประสิทธิภาพสูง สำหรับการบริหารจัดการและการบริการ ณ ศูนย์ข้อมูลของกรุงเทพมหานคร | ศูนย์คอมพิวเตอร์ กองควบคุมระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งแต่ละระบบทำงานบนเครื่องแม่ข่ายของตนเองทำให้ค่าใช้จ่ายในการดูแลสูง จากการที่เครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่ายมีจำนวนมาก มีการใช้พลังงานไฟฟ้าสูงและต้องเปิดระบบปรับอากาศอย่างเพียงพอต่อการควบคุมอุณหภูมิห้องให้เหมาะสม ประกอบกับเครื่องแม่ข่ายที่ใช้งานอยู่เดิม มีอายุนานหลายปี มีการเสื่อมสภาพตามอายุการใช้งาน มีความเสี่ยงสูงต่อการชำรุดเสียหาย อีกทั้งไม่สามารถจัดสรรการใช้ทรัพยากรของเครื่องให้เต็มขีดสมรรถนะและยืดหยุ่นเหมาะสมกับสภาวะการใช้งานจริงของแต่ละระบบงานในแต่ละช่วงขณะดังที่ต้องการได้เช่นเดียวกับเทคโนโลยีเครื่องแม่ข่ายในปัจจุบัน ดังนั้นจึงจำเป็นต้อง ทำการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานของระบบเครื่องแม่ข่ายให้ทำงานได้เต็มประสิทธิภาพสูงสุด โดยจัดทำระบบเครื่องแม่ข่ายเสมือน ด้วยเทคโนโลยี Virtualization เพื่อรองรับการนำระบบสารสนเทศต่าง ๆ ของกรุงเทพมหานครติดตั้งระบบเครื่องแม่ข่ายเสมือน โดยมีการใช้งานอุปกรณ์ต่าง ๆ ร่วมกัน ช่วยลดขนาดพื้นที่ในการติดตั้ง จัดการ การใช้งานพื้นที่ที่มีจำกัดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาลดลง ประหยัดพลังงานไฟฟ้าทั้งนี้ยังทำให้การบริหารจัดการเครื่องแม่ข่ายมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น ลดความซับซ้อนในการจัดการ รวมไปถึง สามารถดูข้อมูลเครื่องแม่ข่ายทั้งหมดได้สะดวกและง่ายขึ้นในหน้าจอเดียวกัน ตอบสนองต่อภารกิจพิเศษที่ต้องการ ใช้งานทรัพยากรของระบบเครื่องแม่ข่ายได้ในเวลารวดเร็ว พร้อมทั้งรองรับปัญหาการขาดแคลนเครื่องแม่ข่ายที่นำมาทดแทนเครื่องที่มีอายุการใช้งานนาน มีการเสื่อมสภาพ มีสมรรถนะต่ำไม่สามารถรองรับการใช้งานที่เพิ่มมากขึ้นได้ จึงมีความจำเป็นต้องจัดหาเครื่องแม่ข่ายเสมือน เพื่อเป็นโครงสร้างพื้นฐานรองรับการพัฒนาระบบสารสนเทศของหน่วยงานอย่างเพียงพอและมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้การบริการประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกทั้งเพื่อตอบสนองนโยบายของภาครัฐเพื่อผลักดันสู่ไทยแลนด์ 4.0 | 1.เพื่อให้กรุงเทพมหานครมีเครื่องแม่ข่ายเสมือนที่มีความยืดหยุ่นและสามารถรองรับการทำงานของระบบสารสนเทศได้หลากหลายระบบ 2.เพื่อบริหารจัดการทรัพยากรเครื่องแม่ข่ายเสมือนให้เป็นแบบรวมศูนย์และให้สามารถใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ 3.เพื่อเป็นต้นแบบในการบริหารจัดการการใช้งานพื้นที่ที่มีจำกัดของศูนย์ข้อมูลกรุงเทพมหานคร อย่างมีประสิทธิภาพ และประหยัดการใช้พลังงาน 4.เพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายในการจัดหาเครื่องแม่ข่ายในอนาคต รวมถึง License ของ Software อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง และสามารถรองรับการเติบโตในอนาคต | จัดหาโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลประสิทธิภาพสูงเพิ่มเติมให้กับศูนย์ข้อมูลกรุงเทพมหานครเพื่อให้สามารถรองรับความต้องการใช้งานของหน่วยงานกรุงเทพมหานครในภาพรวม | 89,000,000.00 | 0.00 | สํานักยุทธศาสตร์และประเมินผล | 2018-10-01 00:00:00 | 2019-09-30 00:00:00 | แล้วเสร็จ | 100.00 |
53 | 7.0.1. ด้านที่ ๗ – การบริหารจัดการเมืองมหานคร : Management Strategy |
3.1.1 | 2562 | จัดหาซอฟต์แวร์ลิขสิทธิ์สำหรับศูนย์ข้อมูลของกรุงเทพมหานคร | กรุงเทพมหานครจึงมีความจำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องดำเนินการจัดหาซอฟต์แวร์ลิขสิทธิ์ระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์แม่ข่าย ระบบการจัดการฐานข้อมูลสำหรับศูนย์ข้อมูล พร้อมทั้งระบบตรวจสอบและเฝ้าระวังประสิทธิภาพการให้บริการ อุปกรณ์ และโครงข่ายของศูนย์ข้อมูลขึ้น โดยในการจัดหาซอฟต์แวร์ที่ทุกหน่วยงานของกรุงเทพมหานครจำเป็นต้องใช้ในการดำเนินการระบบสารสนเทศของตนเองทั้งในปัจจุบันและอนาคต เพื่อให้ศูนย์ข้อมูล (Data Center) ของกรุงเทพมหานคร สามารถใช้ให้บริการโครงสร้างพื้นฐานสำหรับศูนย์ข้อมูล (Data Center) ครอบคลุมทั้งในส่วนของฮาร์ดแวร์ (Infrastructure as a Service : IaaS) และซอฟต์แวร์ Platform as a Service (PaaS) ได้อย่างมีประสิทธิภาพเป็นไปตามมาตรฐานสากลและรองรับความต้องการใช้งานของทุกหน่วยงานของกรุงเทพมหานคร | เพื่อให้ศูนย์ข้อมูลของกรุงเทพมหานครมีซอฟต์แวร์ลิขสิทธิ์ที่จำเป็นอย่างยิ่งในการบริหารจัดการศูนย์ข้อมูลได้อย่างเป็นระบบเป็นไปตามมาตรฐานสากลและรองรับความต้องการใช้งานของหน่วยงานในสังกัดกรุงเทพมหานครได้อย่างมีประสิทธิภาพ | 1.จัดหาซอฟต์แวร์ที่มีลิขสิทธิ์ที่จำเป็นต้องใช้ในระบบการบริหารจัดการและการให้บริการเพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานต่าง ๆ ของศูนย์ข้อมูลของกรุงเทพมหานคร 2.จัดหาซอฟต์แวร์ที่เป็นระบบปฏิบัติการเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่ายสำหรับศูนย์ข้อมูล 3.จัดหาซอฟต์แวร์ระบบการจัดการฐานข้อมูลสำหรับศูนย์ข้อมูล 4.จัดหาซอฟต์แวร์ระบบตรวจสอบและเฝ้าระวังประสิทธิภาพการให้บริการ อุปกรณ์และเครือข่ายของศูนย์ข้อมูล 5.จัดหาซอฟต์แวร์สำหรับการบริหารจัดการคอมพิวเตอร์แบบศูนย์กลาง | 84,401,900.00 | 0.00 | สํานักยุทธศาสตร์และประเมินผล | 2018-10-01 00:00:00 | 2020-09-30 00:00:00 | แล้วเสร็จ | 100.00 |
54 | 7.0.1. ด้านที่ ๗ – การบริหารจัดการเมืองมหานคร : Management Strategy |
3.1.1 | 2562 | ปรับปรุงและทดแทนระบบการแจกและควบคุมหมายเลข IP Address | กรุงเทพมหานครได้นำระบบการจัดการหมายเลข IP Address (IPAM) ใช้มาตั้งแต่ปี 2554 ในการให้บริการแจกหมายเลข IP Address แบบอัตโนมัติแก่หน่วยงานต่าง ๆ ของกรุงเทพมหานคร เพื่อลดระยะเวลาในการตั้งค่าเครื่องคอมพิวเตอร์ลูกข่าย และช่วยบริหารจัดการหมายเลข IP Address ของแต่ละหน่วยงานให้มีความถูกต้องเป็นมาตรฐาน สามารถตรวจสอบและแก้ไขได้อย่างรวดเร็ว โดยมีอุปกรณ์ให้บริการแจกหมายเลข IP Address ใช้งานอยู่เดิมจำนวน 58 เครื่อง ซึ่งติดตั้งเพื่อให้บริการแจกหมายเลข IP Address ที่สำนักและสำนักงานเขต ปัจจุบันอุปกรณ์ดังกล่าวเริ่มมีการชำรุดเสี่ยงต่อการไม่มีอะไหล่ในการที่จะซ่อมแซมหรือเปลี่ยนทดแทน เนื่องจากบริษัทผู้ผลิตได้ยกเลิกสายการผลิตไปแล้ว ดังนั้นเพื่อป้องกันความเสียหายที่เกิดจากความล่าช้าในการให้บริการการเชื่อมต่อของเครื่องคอมพิวเตอร์ลูกข่ายและอุปกรณ์ต่อพ่วง จึงจำเป็นต้องจัดหาระบบการแจกและควบคุมหมายเลข IP Address มาทดแทนของเดิมที่เสื่อมสภาพและชำรุดต่อไป | 1.เพื่อให้ระบบสามารถแจก IP Address ให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่จะใช้งานได้โดยอัตโนมัติและสามารถบริหารจัดการระบบเครือข่าย เครื่องคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ต่อพ่วงต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพตอบสนองความต้องการของผู้ใช้งานได้อย่างรวดเร็วและมีความพึงพอใจในการรับบริการ 2.เพื่อบริหารจัดการและเพิ่มความปลอดภัยให้กับระบบ DNS โดยมีกระบวนการในการตรวจสอบ (Validation) และพิสูจน์ตัวตน (Authentication) ของ DNS Server และความถูกต้องของข้อมูลจาก DNS | เพื่อให้สามารถบริหารจัดการและรองรับการแจกหมายเลข IP Address ได้รวดเร็วและครอบคลุมทุกหน่วยงานของกรุงเทพมหานครที่เชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายสื่อสารข้อมูลของกรุงเทพมหานครจำนวนไม่น้อยกว่า 20,000 อุปกรณ์ | 20,137,000.00 | 0.00 | สํานักยุทธศาสตร์และประเมินผล | 2018-10-01 00:00:00 | 2019-09-30 00:00:00 | แล้วเสร็จ | 100.00 |
55 | 7.0.1. ด้านที่ ๗ – การบริหารจัดการเมืองมหานคร : Management Strategy |
3.1.1 | 2562 | ระบบควบคุมงานจากส่วนกลาง | สามารถนำมาใช้ตรวจสอบ ควบคุม ผู้รับจ้างดูแลบำรุงรักษาให้ดำเนินการให้เสร็จตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ตามสัญญาการให้บริการ (Service Level Agreement : SLA) โดยการแจ้ง Incident ต่างๆ ที่มีปัญหาไปให้กับผู้รับจ้างดูแลบำรุงรักษาทั้งแบบอัตโนมัติ และแบบ Manual ระบบจะบันทึกปัญหาที่เกิดขึ้นในรูปแบบฐานข้อมูล เพื่อช่วยให้สรุปปัญหาต่าง ๆ รวมทั้งแสดงรายละเอียดต่าง ๆ ในรูปของรายงาน หน่วยงานปลายทางสามารถ แจ้งปัญหาที่เกิดขึ้นผ่านระบบควบคุมงานจากส่วนกลางได้ และสามารถจัดเก็บแนวทางการแก้ไขปัญหาในรูปแบบฐานข้อมูลเพื่อเป็นแนวทางการแก้ไขในอนาคตได้ (Knowledge Management) เมื่อระบบนี้ได้ดำเนินการเสร็จสิ้นแล้วหน่วยงานต่าง ๆ ของกรุงเทพมหานครสามารถนำไปใช้เพื่อตรวจสอบ และควบคุม ผู้รับจ้างดูแลบำรุงรักษาให้ดำเนินการให้เสร็จตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ตามสัญญาการให้บริการ (Service Level Agreement : SLA)ได้ทุกหน่วยงาน | เพื่อให้มีเครื่องมือที่สามารถแจ้งเหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ Incident ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นและส่งปัญหาไปให้กับผู้รับจ้างที่รับผิดชอบในการซ่อมบำรุงระบบได้โดยอัตโนมัติ เร่งรัดการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นให้เป็นปกติได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งลดเวลาในการเกิด Downtime ของการให้บริการประชาชนของหน่วยงานกรุงเทพมหานคร | จัดหาและติดตั้งระบบติดตามผลแบบ Real Time ได้ตลอด 24 ชั่วโมง และประเมินความเสี่ยงที่จะเกิดปัญหาขึ้นในอนาคตเพื่อป้องกันเหตุในเชิงบูรณาการ | 16,987,000.00 | 0.00 | สํานักยุทธศาสตร์และประเมินผล | 2018-10-01 00:00:00 | 2019-09-30 00:00:00 | แล้วเสร็จ | 100.00 |
56 | 7.0.1. ด้านที่ ๗ – การบริหารจัดการเมืองมหานคร : Management Strategy |
4.2.1 | 2562 | โครงการพัฒนาระบบการให้บริการข้อมูลภูมิสารสนเทศกลางและพัฒนาระบบภูมิสารสนเทศเพื่อการผังเมืองของกรุงเทพมหานคร | ปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศมีบทบาทอย่างมาก ในทุกมิติการทำงานของภาครัฐ (Smart Government) ทั้งด้านการให้บริการประชาชน การบริหารจัดการภาครัฐ และการกำหนดนโยบาย ประกอบกับรัฐบาลมีนโยบายผลักดันให้ภาครัฐยกระดับขีดความสามารถเชิงดิจิทัลมุ่งสู่การเป็นรัฐบาลดิจิทัล เป็นยุทธศาสตร์ที่ ๑ ในแผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลประเทศไทย ระยะ ๓ ปี (พ.ศ. ๒๕๕๙ – ๒๕๖๑) องค์ประกอบที่ ๑ การบูรณาการภาครัฐ เป็นการบูรณาการระหว่างหน่วยงาน ตั้งแต่การเชื่อมโยงข้อมูลไปจนถึงการดำเนินงาน เพื่อยกระดับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน ที่จะนำไปสู่งานบริการประชาชนได้ดี และรวดเร็วขึ้น การพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่ผ่านมามีลักษณะ “ต่างคนต่างทำ” ในหน่วยงานต่าง ๆ ที่มีความต้องการใช้เทคโนโลยี ควรมาใช้ทรัพยากรร่วมกัน (Shared Resources) และใช้บริการทางเทคโนโลยีร่วมกัน (Shared Services) ช่วยลดความซ้ำซ้อนในเรื่องงบประมาณ ระยะเวลาในการดำเนินงาน และการดูแลรักษาระบบ สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล โดยกองสารสนเทศภูมิศาสตร์ มีหน้าที่รับผิดชอบ ด้านการพัฒนาระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographic Information System : GIS) ให้คำปรึกษาและให้บริการทรัพยากรส่วนกลางทางด้าน GIS (Server, Software, Database) ให้ใช้งานร่วมกัน เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานเชิงพื้นที่ให้กับเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานต่าง ๆ ในกรุงเทพมหานคร จึงได้จัดทำโครงการพัฒนาระบบการให้บริการข้อมูลภูมิสารสนเทศของกรุงเทพมหานคร เพื่อให้มีระบบสารสนเทศกลางทางด้าน GIS เป็นเครื่องมือสนับสนุนการปฏิบัติงานในเชิงพื้นที่ได้เหมาะสมกับเทคโนโลยีใหม่ ๆ ได้ สามารถรองรับงานที่หลากหลาย เพื่อนำไปสู่การบูรณาการข้อมูลและการทำงาน ใช้ทรัพยากรดิจิทัลร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ ลดความซ้ำซ้อน ทันต่อเวลา และเป็นไปตามเกณฑ์การพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ (Public Sector Management Quality Award) นอกจากนี้ สำนักผังเมืองซึ่งเป็นหน่วยงานที่ดำเนินการทางด้าน GIS เช่นเดียวกัน มีภารกิจ ในการพัฒนาแผนที่ฐาน การวางและจัดทำผังเมืองรวมของกรุงเทพมหานคร เพื่อให้เกิดความเป็นระเบียบเรียบร้อย รองรับกับการขยายตัวของเมืองในอนาคตที่เติบโตและเปลี่ยนแปลงทั้งทางด้านกายภาพ เศรษฐกิจ สังคม ประชากร และสิ่งแวดล้อม ดังนั้น ในการวางแผนเพื่อการบริหารจัดการเมืองดังกล่าว ระบบจัดการฐานข้อมูลแผนที่ การใช้ประโยชน์และการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินและอาคาร มีระบบอำนวยความสะดวกในการสืบค้น วิเคราะห์ และแสดงผลข้อมูลในแต่ละพื้นที่ ซึ่งถือเป็นองค์ประกอบสำคัญของระบบ ภูมิสารสนเทศ ที่ต้องนำมาใช้เพื่อการวิเคราะห์ ติดตามและประเมินผลผังเมืองรวมที่ได้บังคับใช้ และเพื่อปรับปรุงผังเมืองรวมต่อไปในอนาคต สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผลและสำนักผังเมือง จึงดำเนินการโครงการพัฒนาระบบการให้บริการข้อมูลภูมิสารสนเทศกลางและพัฒนาระบบภูมิสารสนเทศเพื่อการผังเมืองของกรุงเทพมหานคร เพื่อสนับสนุนภารกิจทางด้านผังเมือง และภารกิจของหน่วยงานต่าง ๆ โดยบูรณาการการใช้ทรัพยากร ทางด้านซอฟต์แวร์ ฐานข้อมูล และโปรแกรมสนับสนุนการปฏิบัติงานตามภารกิจที่เกี่ยวข้องร่วมกัน | 1. เพื่อให้กรุงเทพมหานครมีระบบการให้บริการข้อมูลภูมิสารสนเทศกลาง และระบบ ภูมิสารสนเทศเพื่อการผังเมืองของกรุงเทพมหานครที่เป็นมาตรฐานและสามารถบูรณาการเพื่อใช้งานร่วมกัน และสนับสนุนการปฏิบัติงานเชิงพื้นที่ได้ 2. เพื่อออกแบบและพัฒนาระบบบริหารจัดการพื้นที่เขตเชิงกายภาพ รวมถึงโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อสนับสนุนการวางแผน การบริหารจัดการและจัดทำผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร ให้อยู่ในรูปแบบมาตรฐานที่สามารถนำไปใช้ประกอบการกำหนดนโยบายและวางแผนยุทธศาสตร์ด้านการผังเมืองได้อย่างเหมาะสม | 1. กรุงเทพมหานครมีระบบให้บริการข้อมูลภูมิสารสนเทศกลางเพื่อเป็นเครื่องมือในการพัฒนาระบบภูมิสารสนเทศให้กับหน่วยงานของกรุงเทพมหานคร 2. กรุงเทพมหานครมีระบบภูมิสารสนเทศเพื่อการผังเมืองในรูปแบบโปรแกรมประยุกต์บนระบบเครือข่าย (Web Map Application) ให้บริการแก่หน่วยงานในกรุงเทพมหานคร หน่วยงานภายนอก สถาบันการศึกษา และประชาชนทั่วไป 3. กรุงเทพมหานครมีระบบบริหารจัดการพื้นที่เขตในกรุงเทพมหานคร เพื่อเป็นเครื่องมือในการจัดเก็บข้อมูลเชิงกายภาพสำหรับการบริหารจัดการของสำนักงานเขต คิดเป็นร้อยละ 80 (ตามเป้าหมายการดำเนินงานในปีงบประมาณ 2562) | 0.00 | 4,015,500.00 | สํานักยุทธศาสตร์และประเมินผล | 2018-10-01 00:00:00 | 2019-03-28 00:00:00 | แล้วเสร็จ | 100.00 |
57 | 7.0.1. ด้านที่ ๗ – การบริหารจัดการเมืองมหานคร : Management Strategy |
4.2.1 | 2562 | กิจกรรมกำหนดรูปแบบและจัดทำข้อมูลเปิดภาครัฐ (Open Government Data) ของกรุงเทพมหานคร (ไม่ใช้งบประมาณ ) | ศูนย์ข้อมูลกรุงเทพมหานครได้จัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2543 เพื่อเป็นศูนย์กลางการให้บริการข้อมูลสารสนเทศด้านต่าง ๆ เกี่ยวกับกรุงเทพมหานครต่อสาธารณชน เช่น ผลการดำเนินงานด้านต่างๆ แผนที่ ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS)ผังเมืองรวม กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการบริหารราชการกรุงเทพมหานคร เศรษฐกิจ สังคม จำนวนประชากรตลอดจนข้อมูลเกี่ยวกับเขตปกครองทั้ง 50 เขต รวมทั้งเป็นศูนย์กลางการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลพื้นฐานระหว่างหน่วยงานของกรุงเทพมหานคร ผ่านเว็บไซต์ศูนย์ข้อมูลกรุงเทพมหานครที่สามารถเข้าถึงได้ผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์ทั่วไป และอุปกรณ์สมาร์ทโฟน ทั้งนี้ศูนย์ข้อมูลกรุงเทพมหานครได้ให้ความสำคัญกับการเผยแพร่ข้อมูลของกรุงเทพมหานครมาโดยตลอด โดยในขั้นต้นได้รวบรวมข้อมูลจากหน่วยงานต่างๆ ของกรุงเทพมหานครที่ให้บริการตามเว็บไซต์ของหน่วยงาน ทั้งในรูปแบบรายงานและสารสนเทศต่างๆ ในระยะหลังที่ภาครัฐให้ความสนใจกับการใช้ประโยชน์จากข้อมูลภาครัฐ และเผยแพร่ในรูปแบบข้อมูลเปิดภาครัฐ ศูนย์ข้อมูลกรุงเทพมหานครจึงได้รวบรวมข้อมูลและจัดเตรียมให้อยู่ในรูปแบบข้อมูลเปิดของกรุงเทพมหานคร เพื่อทำให้ผู้ใช้บริการข้อมูล ทั้งภาคประชาชนภาคธุรกิจเอกชน รวมถึงหน่วยงานภาครัฐ สอดคล้องกับแผนพัฒนากรุงเทพมหานคร ระยะ ๒๐ ปี ระยะที่ 2 (พ.ศ. ๒๕61 – ๒๕65) มิติที่ 7.5 เป้าหมายที่ 7.5.1.1 มีกรุงเทพมหานครให้บริการประชาชนด้วย ความสะดวก รวดเร็ว ถูกต้องและโปร่งใส โดยประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่ทันสมัย (SMART SERVICE) เพื่อสนับสนุนนโยบายเศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy) และมีการบริหารจัดการเมือง (กรุงเทพมหานคร) ด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ที่มีคุณภาพและมีประสิทธิภาพ (SMART CITY) เป้าประสงค์ที่ 7.5.1.1 มีระบบบริการอิเล็กทรอนิกส์สำหรับให้บริการประชาชนและ/หรือ มีการเชื่อมโยงข้อมูลเพื่อให้บริการประชาชนระหว่างหน่วยงานภาครัฐ และ/หรือภาคเอกชน และ แผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารกรุงเทพมหานคร ระยะ 5 ปี (พ.ศ.2561-2565) ยุทธศาสตร์ที่ 7 : สร้างกลไกการบริหารการขับเคลื่อนอย่างโปร่งใสและมีธรรมาภิบาล (DIGITAL ENTREPRENEUR)เป้าประสงค์ที่ 1 : กรุงเทพมหานครมีการบริหารงานอย่างโปร่งใสและมีธรรมาภิบาล (GOOD GOVERNANCE)กลยุทธ์ที่ 1 : การบูรณาการการใช้ข้อมูล และการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารเพื่อความโปร่งใส พร้อมให้ประชาชนผู้มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการและยกระดับการพัฒนาของการบริการภาครัฐ (E-Government) อย่างต่อเนื่องและปลอดภัย ตัวชี้วัดเป้าประสงค์ คือมีการเปิดเผย เผยแพร่และแบ่งปัน (Open Public and Sharing) ข้อมูลเพื่อการบริการ และการบริหารจัดการของกรุงเทพมหานครที่โปร่งใส ทันสมัย และ รวดเร็ว เป็นการรองรับการพัฒนารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์และสังคมดิจิทัลเพื่อนำไปสู่การพัฒนาหน่วยงานให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลและแผนพัฒนาประเทศ | 2.1 เพื่อกำหนดมาตรฐานข้อมูลเปิดภาครัฐของกรุงเทพมหานครให้เป็นแนวทางในการจัดทำข้อมูลของหน่วยงานกรุงเทพมหานคร 2.2 มีช่องทางในการเผยแพร่ข้อมูลเปิดภาครัฐตามมาตรฐานที่กำหนดเพื่อให้บริการข้อมูลเปิดภาครัฐของกรุงเทพมหานครแก่ภาคประชาชน ภาคธุรกิจเอกชน รวมถึงหน่วยงานภาครัฐ | 3.1 หน่วยงานของกรุงเทพมหานครมีมาตรฐานในการจัดทำข้อมูลเปิดภาครัฐ 3.2 บูรณาการข้อมูลของกรุงเทพมหานครให้สามารถเป็นการให้บริการข้อมูลเปิดภาครัฐอย่างเป็นระบบ | 0.00 | 0.00 | สํานักยุทธศาสตร์และประเมินผล | 2018-10-01 00:00:00 | 2019-09-30 00:00:00 | แล้วเสร็จ | 100.00 |
58 | 7.0.1. ด้านที่ ๗ – การบริหารจัดการเมืองมหานคร : Management Strategy |
1.2.1 | 2562 | สัมมนาเพื่อพัฒนาศักยภาพผู้บริหารสารสนเทศระดับสูง (CIO) | กรุงเทพมหานคร โดยสำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล ได้พัฒนาบุคลากรผู้ดำรงตำแหน่ง ผู้บริหารสารสนเทศระดับสูงของกรุงเทพมหานคร ผู้บริหารสารสนเทศระดับสูงประจำสำนักและสำนักงานเขตอย่างต่อเนื่องตลอดมา เพื่อเป็นการพัฒนาผู้บริหารสารสนเทศระดับสูงให้สามารถใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการบริหารงานของหน่วยงานได้อย่างชาญฉลาดและสร้างสรรค์ และสามารถวางแผนยุทธศาสตร์การนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาพัฒนาภารกิจของหน่วยงาน สามารถสร้างแนวคิดเพื่อบูรณาการและสร้างคุณค่าจากข้อมูลของหน่วยงานให้เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ และสามารถสร้างเครือข่ายผู้บริหารสารสนเทศระดับสูงเพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กระบวนการวางแผนยุทธศาสตร์ การดำเนินงาน และติดตามความก้าวหน้าของเทคโนโลยีใหม่ๆ รวมถึงแนวคิดในการบริหารจัดการสารสนเทศเพื่อพัฒนาหน่วยงานให้ทันสมัย สามารถสร้างสรรค์การบริการให้ตอบสนองความต้องการของประชาชนได้อย่างรวดเร็วและถูกต้อง กองสารสนเทศภูมิศาสตร์ได้รับมอบหมายให้เป็นหน่วยงานรองรับการปฏิบัติงานของผู้บริหารสารสนเทศระดับสูง พิจารณาแล้วเห็นว่าเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพของการดำเนินการของหน่วยงานข้างต้น จำเป็นต้องพัฒนาศักยภาพและส่งเสริมความรู้และการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในกลุ่มผู้บริหารสารสนเทศระดับสูง อย่างต่อเนื่อง ด้วยกระบวนการสัมมนาและศึกษาดูงานหน่วยงานอื่นๆ ในต่างประเทศ เพื่อให้เกิดการศึกษาเปรียบเทียบการบริหารจัดการและการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อสนับสนุนการทำงานของหน่วยงานและการบริการประชาชน เพื่อให้เกิดแนวคิดการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการพัฒนาการดำเนินงานตามภารกิจหลักของหน่วยงานและของกรุงเทพมหานครอย่างยั่งยืนต่อไป | 2.1 เพื่อให้ผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูงของกรุงเทพมหานคร ผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูงประจำสำนักและสำนักงานเขตตระหนักถึงความสำคัญและมีทัศนคติที่ดีในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการบริหารงานของหน่วยงานและของกรุงเทพมหานคร 2.2 เพื่อให้ผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูงของกรุงเทพมหานคร ผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูงประจำสำนักและสำนักงานเขต มีความรู้ ความสามารถในการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาปรับใช้ เพื่อพัฒนากระบวนการทำงานและบูรณาการข้อมูลเพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงาน 2.3 เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือของผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูง เพื่อให้การบริหารจัดการการพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัลของกรุงเทพมหานครเป็นไปตามทิศทางการพัฒนาที่กำหนดไว้ร่วมกัน | ผู้บริหารสารสนเทศระดับสูงของกรุงเทพมหานคร ผู้บริหารสารสนเทศระดับสูงประจำสำนัก และสำนักงานเขต ผู้อำนวยการสำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล หัวหน้าส่วนราชการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล และข้าราชการที่ได้รับมอบหมาย จำนวน 28 คน เข้ารับการสัมมนา เพื่อพัฒนาศักยภาพด้านการบริหารจัดการเทคโนโลยีดิจิทัล แบบไป - กลับ จำนวน 4 วัน | 129,600.00 | 79,200.00 | สํานักยุทธศาสตร์และประเมินผล | 2018-10-01 00:00:00 | 2019-09-30 00:00:00 | แล้วเสร็จ | 100.00 |
59 | 7.0.1. ด้านที่ ๗ – การบริหารจัดการเมืองมหานคร : Management Strategy |
5.1.1 | 2562 | โครงการศึกษาและวิเคราะห์สถาปัตยกรรมองค์กรด้านเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับกระบวนการทำงานตามภารกิจหลักของกรุงเทพมหานคร ระยะที่ 1 | สถานการณ์การดำเนินการของหน่วยงานในปัจจุบันมีการปฏิบัติงานหลายขั้นตอนใช้กระดาษเป็นจำนวนมากโปรแกรมการปฏิบัติงานไม่ครอบคลุมถึงกระบวนการตามภารกิจที่สำคัญ ข้อมูลมีการจัดเก็บซ้ำซ้อนและขาดผู้รับผิดชอบสำหรับข้อมูลที่ใช้งานร่วมกันและแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารกรุงเทพมหานคร ระยะ 5 ปี (พ.ศ.2561-2565) เสนอแนวทางเพื่อการบริหารยุทธศาสตร์องค์กรเพื่อให้เกิดการบูรณาการระหว่างแผนแม่บทฯ และภารกิจขององค์กรในด้านต่างๆ ซึ่งจะช่วยให้การขับเคลื่อนองค์กรไปสู่เป้าหมายตามยุทธศาสตร์ที่กำหนดไว้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังเป็นการบริหารจัดการทรัพยากรในด้านต่างๆ ได้อย่างคุ้มค่า อาทิ การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานการบริหารทรัพยากรบุคลากรเป็นต้น เพื่อให้รองรับกับการพัฒนารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์และสังคมดิจิทัลเพื่อนำไปสู่การพัฒนาหน่วยงานให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลและแผนพัฒนาประเทศ การขับเคลื่อนของกรุงเทพมหานครในปัจจุบันมีการพึ่งพาเทคโนโลยีดิจิทัลที่มีประสิทธิภาพ แต่มีปัญหาส่วนใหญ่คือ การขาดความเชื่อมโยงระหว่างเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology) กับพันธกิจองค์กร (Business) ซึ่งเป็นผลก่อให้เกิดความล้มเหลวของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในองค์กรอาทิ ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่จัดซื้อด้วยราคาแพงแต่ใช้งานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ ไม่สอดคล้องกับกระบวนการทางพันธกิจ (Business Process) ไม่ตอบโจทย์ วิสัยทัศน์ทางธุรกิจ (Business Vision)ขององค์กร รวมทั้งระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมีความซับซ้อนเกินความจำเป็น สถาปัตยกรรมองค์กร (Enterprise Architecture: EA) เป็นแนวความคิดใหม่ที่บูรณาการระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ากับพันธกิจขององค์กรอย่างเป็นระบบตั้งแต่การกำหนดโจทย์การบริการการวิเคราะห์สถาปัตยกรรมธุรกิจ (Business Architecture) เพื่อออกแบบการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศให้เชื่อมโยงกับการดำเนินงานได้อย่างสอดคล้องและมีประสิทธิภาพทั้งในระดับ Architecture ไปจนถึง Roadmapขององค์กร เพื่อผลักดันให้องค์กรสามารถดำเนินการตามนโยบายและวิสัยทัศน์ขององค์กรที่กำหนดไว้ | 1. เพื่อเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจความสำคัญของสถาปัตยกรรมองค์กรที่มีผลต่อการดำเนินงานของกรุงเทพมหานคร 2. เพื่อมุ่งเน้นไปสู่การเป็นองค์กรที่ใช้ข้อมูล เพื่อการตัดสินใจในการทำงาน (Data Driven Organization) และลดการใช้กระดาษให้มากที่สุด 3. เพื่อกำหนดกระบวนการปฏิบัติงานและการบริหารจัดการที่มีมาตรฐาน และรองรับการเปลี่ยนแปลงได้อย่างมีประสิทธิภาพ 4. เพื่อให้การบริหารจัดการข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบ Single Source โดยมีการกำหนด Data Operation และ Data Governance ที่เหมาะสม 5. เพื่อเป็นแนวทางกำหนดกรอบการพัฒนาแอปพลิเคชันที่เน้นการเชื่อมโยงระบบผ่านAPIเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูล รวมถึงการเปิดข้อมูลให้กับ Stakeholder ผ่าน Public API | 1.รายงานสรุปผลการศึกษา เพื่อคัดเลือกกรอบแนวทางที่เหมาะสมใช้เป็นกรอบแนวทางในการพัฒนาสถาปัตยกรรมองค์กรของกรุงเทพมหานคร ทั้งในส่วนของกรอบแนวคิดสถาปัตยกรรมองค์กร ที่เหมาะสม และจัดทำรายละเอียดข้อมูลสถาปัตยกรรมองค์กรในแต่ละด้านที่สอดคล้องตามกระบวนการโดยระบุถึงข้อมูลหลักของกระบวนการแหล่งที่มาของข้อมูลและผู้ใช้งานข้อมูล 2. การบูรณาการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ากับกระบวนงานตามภารกิจอย่างเป็นระบบเพื่อสร้างสถาปัตยกรรมการจัดการองค์กรที่พร้อมสู่การเติบโตอย่างต่อเนื่องและมั่นคงไปสู่การปฏิบัติ 3. การบูรณาการเทคโนโลยีสารสนเทศกับภารกิจอย่างเป็นระบบไปสู่การปฏิบัติ | 11,430,000.00 | 0.00 | สํานักยุทธศาสตร์และประเมินผล | 2018-10-01 00:00:00 | 2019-09-30 00:00:00 | แล้วเสร็จ | 100.00 |
60 | 7.0.1. ด้านที่ ๗ – การบริหารจัดการเมืองมหานคร : Management Strategy |
4.2.1 | 2562 | กิจกรรมการให้บริการข้อมูลสารสนเทศบนแผนภาพ (infographic) | กองสารสนเทศภูมิศาสตร์ดำเนินการบูรณาการข้อมูลและประสานกับหน่วยงานที่รับผิดชอบ เพื่อจะทำข้อมูลสารสนเทศบนแผนภาพ (Infographic) ที่มีลักษณะของข้อมูลและกราฟิกเป็นลายเส้น สัญลักษณ์ กราฟ แผนภูมิ ไดอะแกรม และแผนที่ ในการแสดงข้อมูลและบริการด้านต่าง ๆ ของกรุงเทพมหานครเป็นภาษาไทย หรือภาษาอังกฤษ และเผยแพร่ให้ความรู้บริการแก่ ภาครัฐ ภาคเอกชน นักเรียน นักศึกษา และประชาชนทั่วไปบนเว็บไซต์ศูนย์ข้อมูลกรุงเทพมหานคร | เพื่อเผยแพร่ความรู้ด้านข้อมูลสารสนเทศและบริการด้านต่าง ๆ ของกรุงเทพมหานคร | จัดทำแผนภาพ (Infographic) ไม่น้อยกว่า 6 แผนภาพต่อปี | 0.00 | 0.00 | สํานักยุทธศาสตร์และประเมินผล | 2018-10-01 00:00:00 | 2019-09-30 00:00:00 | แล้วเสร็จ | 100.00 |
61 | 7.0.1. ด้านที่ ๗ – การบริหารจัดการเมืองมหานคร : Management Strategy |
4.2.1 | 2562 | กิจกรรมการกำกับ ดูแล และบริหารจัดการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ให้เป็นไปตามมาตรการที่กำหนด | กองสารสนเทศภูมิศาสตร์ สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล กรุงเทพมหานคร ในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการดิจิทัลกรุงเทพมหานคร มีหน้าที่รับผิดชอบดำเนินการจัดประชุมคณะกรรมการดิจิทัลกรุงเทพมหานคร โดยในปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 หน่วยงานในสังกัดกรุงเทพมหานครจะต้องเสนอโครงการด้านเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อขอรับความเห็นชอบจากคณะกรรมการดิจิทัลฯ ก่อนนำโครงการเสนอขอรับงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ดังนั้นจึงต้องมีกระบวนการพิจารณาเรื่อง/โครงการให้เป็นไปตามมาตรการ/หลักเกณฑ์การพิจารณาการจัดหาระบบสารสนเทศของกรุงเทพมหานครเพื่อกำกับ ดูแล และบริหารจัดการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารให้เป็นไปตามมาตรการที่กำหนด | เพื่อพิจารณารื่อง/โครงการให้เป็นไปตามมาตรการ/หลักเกณฑ์การพิจารณาการจัดหาระบบสารสนเทศของกรุงเทพมหานครเพื่อกำกับ ดูแล และบริหารจัดการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารให้เป็นไปตามมาตรการที่กำหนด | ร้อยละ 90 ของจำนวนเรื่อง/โครงการด้านเทคโนโลยีดิจิทัลของหน่วยงานที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการเทคโนโลยีดิจิทัลกรุงเทพมหานคร | 0.00 | 0.00 | สํานักยุทธศาสตร์และประเมินผล | 2018-10-01 00:00:00 | 2019-09-30 00:00:00 | แล้วเสร็จ | 100.00 |
62 | 7.0.1. ด้านที่ ๗ – การบริหารจัดการเมืองมหานคร : Management Strategy |
1.2. | 2562 | โครงการฝึกอบรมคอมพิวเตอร์แก่ข้าราชการตามมติคณะรัฐมนตรี (COM – 03) | คณะรัฐมนตรีได้มีมติ เมื่อวันที่ ๒๒ เมษายน ๒๕๓๗ อนุมัติหลักการแผนและมาตรการส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศตามมาตรฐานขั้นต่ำ และกำหนดให้ข้าราชการที่จะเลื่อนจากระดับ ๕ เป็นระดับ ๖ ต้องมีความรู้คอมพิวเตอร์ สามารถทำแผ่นตารางทำการ (Spreadsheet) และเพื่อให้เกิดผลในทางปฏิบัติ ก.พ. ได้มีมติให้เพิ่มเติมมาตรฐานกำหนดตำแหน่งของข้าราชการพลเรือนระดับ ๖ ทุกสายงาน มีความรู้ทางคอมพิวเตอร์ให้สอดคล้องกับมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าว ซึ่งมีผลปฏิบัติมาตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๓๙ กรุงเทพมหานคร โดยสำนักยุทธศาสตร์และประเมินผลได้ถือปฏิบัติและดำเนินการฝึกอบรมข้าราชการตามมติดังกล่าวมาตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๓๙ จนถึงปัจจุบันอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ อนุกรรมการสามัญประจำกรุงเทพมหานครได้มีประกาศ ลงวันที่ ๑๕ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ การจัดทำมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง และจัดตำแหน่งข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญของทุกหน่วยงานเข้าประเภทตำแหน่ง สายงาน และระดับตำแหน่งตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง จึงเปลี่ยนกลุ่มเป้าหมายจากข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญที่ดำรงตำแหน่งในระดับ ๖ และ ระดับ ๖ ว – ๗ ว/วช. เป็นข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญ ตำแหน่งประเภททั่วไป ระดับชำนาญงาน และตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับชำนาญการ และเพื่อให้การปฏิบัติสอดคล้องกับมติคณะรัฐมนตรีและมติ ก.พ. ดังกล่าว เห็นควรกำหนดให้มีการจัดฝึกอบรมคอมพิวเตอร์แก่ข้าราชการตามมติคณะรัฐมนตรี ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๑ ต่อไป | เพื่อพัฒนาข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญให้มีความรู้ ความเข้าใจในเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ ความรู้พื้นฐานและวิธีการใช้งานในขั้นพื้นฐาน สามารถปฏิบัติงานด้วยการใช้คอมพิวเตอร์ในด้านการจัดการงานพิมพ์เอกสาร การจัดทำแผ่นตารางทำการ และการนำเสนอผลงาน ตลอดจนได้รับการฝึกอบรมตามมติคณะรัฐมนตรีและหลักเกณฑ์มาตรฐานกำหนดตำแหน่งเพิ่มเติมตามที่ ก.พ. กำหนด | ข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญ ตำแหน่งประเภททั่วไป ระดับชำนาญงาน และตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับชำนาญการ ทุกสายงาน | 117,500.00 | 90,427.00 | สํานักยุทธศาสตร์และประเมินผล | 2018-10-01 00:00:00 | 2019-09-30 00:00:00 | แล้วเสร็จ | 100.00 |
63 | 7.0.1. ด้านที่ ๗ – การบริหารจัดการเมืองมหานคร : Management Strategy |
4.2. | 2562 | กิจกรรมจัดทำฐานข้อมูลด้านเศรษฐกิจของกรุงเทพมหานคร | ข้อมูลด้านเศรษฐกิจของกรุงเทพมหานคร คือ ข้อมูลผลการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติราชการประจำปีของหน่วยงาน และข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับภาคเศรษฐกิจที่ปรากฎตามแผนของกรุงเทพมหานคร แบ่งออกเป็น 5 ด้าน ดังนี้ 1. ด้านการท่องเที่ยว 2. ด้านการเกษตร 3. ด้านผลิตภัณฑ์กรุงเทพมหานคร (Bangkok Brand) และผลิตภัณฑ์ชุมชน (OTOP) 4. ด้านอาชีพและแรงงาน 5. ด้านการคลังและงบประมาณ | เพื่อรวบรวมและพัฒนาฐานข้อมูลด้านเศรษฐกิจของกรุงเทพมหานครให้ครอบคลุ่ม ครบถ้วน และเป็นปัจจุบัน | มีข้อมูลอย่างน้อย 2 ด้าน | 0.00 | 0.00 | สํานักยุทธศาสตร์และประเมินผล | 2018-10-01 00:00:00 | 2019-09-30 00:00:00 | แล้วเสร็จ | 100.00 |
64 | 7.0.1. ด้านที่ ๗ – การบริหารจัดการเมืองมหานคร : Management Strategy |
4.2. | 2562 | โครงการจัดทำฐานข้อมูลตัวชี้วัดการพัฒนาเมือง | กรุงเทพมหานคร โดยสำนักยุทธศาสตร์และประเมินผลได้ดำเนินการทบทวนและจัดทำตัวชี้วัดการพัฒนาเมืองตามแผนพัฒนากรุงเทพมหานคร ระยะ 20 ปี (พ.ศ.2556-2575) ที่สอดคล้องกับบทบาทและภารกิจของกรุงเทพมหานคร สนับสนุนการพัฒนาตามเป้าหมายของการพัฒนาระดับประเทศ เพื่อใช้ใน การกำกับ ติดตาม และประเมินผลการพัฒนาที่เหมาะสมกับบริบทของกรุงเทพมหานคร สอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาในระดับประเทศ และเป็นไปตามแนวโน้มการพัฒนาของโลก ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 ซึ่งข้อมูลตัวชี้วัดการพัฒนาเมืองจัดเป็นข้อมูลฐานที่มีความสำคัญต่อการกำหนดนโยบายของฝ่ายบริหาร การกำหนดแผนงานโครงการซึ่งทำให้กรุงเทพมหานครเกิดการพัฒนาอย่างมีทิศทาง เป้าหมาย และสามารถแสดงประสิทธิภาพ ประสิทธิผลของการพัฒนาได้อย่างเป็นรูปธรรม ดังนั้น ข้อมูลตัวชี้วัดและค่าเป้าหมายการพัฒนาเมือง จึงควรได้รับการปรับปรุงและพัฒนาอย่างเป็นระบบโดยนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ เป็นเครื่องมือในการดำเนินการดังกล่าว สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผลได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการจัดทำฐานข้อมูลตัวชี้วัดการพัฒนาเมือง เพื่อให้กรุงเทพมหานครมีฐานข้อมูลตัวชี้วัดการพัฒนาเมืองที่เป็นระบบ มีมาตรฐานและเป็นปัจจุบัน สามารถนำไปใช้ในกระบวนการวางแผน การติดตามประเมินผลตลอดจนการกำหนดนโยบายของฝ่ายบริหาร จึงได้จัดทำโครงการพัฒนาฐานข้อมูลตัวชี้วัดการพัฒนาเมืองขึ้น ในปีงบประมาณ พ.ศ.2562 เพื่อให้กรุงเทพมหานครมีฐานข้อมูลตัวชี้วัดการพัฒนาเมืองที่เป็นระบบสอดคล้องกับสถานการณ์ ซึ่งจะนำไปสู่การดำเนินงาน การติดตามความก้าวหน้าและการประเมินผลแผนพัฒนาฯ ให้มีความชัดเจนเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น | 1. เพื่อพัฒนาและจัดทำฐานข้อมูลตัวชี้วัดการพัฒนาเมืองให้เป็นระบบ มีความเป็นปัจจุบัน และง่ายต่อการใช้งานทั้งในด้านของการเก็บรวบรวมข้อมูล และการวิเคราะห์ประมวลผลข้อมูล 2. เพื่อให้กรุงเทพมหานครมีฐานข้อมูลตัวชี้วัดการพัฒนาเมืองที่สามารถเชื่อมโยงกับกระบวนการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ของกรุงเทพมหานคร การรายงาน การพัฒนาในทุกระดับ และการติดตามประเมินผล 3. เพื่อพัฒนาฐานข้อมูลตัวชี้วัดการพัฒนาเมืองสำหรับใช้เป็นข้อมูลสนับสนุนการตัดสินใจ กำหนดนโยบาย สั่งการให้ดำเนินการหรือไม่ดำเนินการในภารกิจต่าง ๆ ของผู้บริหารกรุงเทพมหานคร | มีระบบฐานข้อมูลตัวชี้วัดการพัฒนาเมือง 1 ระบบ สำหรับใช้เป็นข้อมูลสนับสนุนการตัดสินใจของผู้บริหารกรุงเทพมหานคร และใช้ประกอบการจัดทำแผนยุทธศาสตร์และการติดตามประเมินผลการพัฒนากรุงเทพมหานครในทุกระดับ | 0.00 | 0.00 | สํานักยุทธศาสตร์และประเมินผล | 2018-10-01 00:00:00 | 2019-09-30 00:00:00 | แล้วเสร็จ | 100.00 |
65 | 7.0.1. ด้านที่ ๗ – การบริหารจัดการเมืองมหานคร : Management Strategy |
4.2.1 | 2562 | การปรับปรุงประสิทธิภาพการให้บริการพิจารณาโครงการด้านเทคโนโลยีดิจิทัลของหน่วยงานที่เสนอคณะกรรมการดิจิทัลกรุงเทพมหานคร | สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล โดย กองสารสนเทศภูมิศาสตร์ ในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการดิจิทัลกรุงเทพมหานคร มีหน้าที่รับผิดชอบดำเนินการจัดประชุมคณะกรรมการดิจิทัลกรุงเทพมหานคร ซึ่งหน่วยงานในสังกัดกรุงเทพมหานครได้เสนอโครงการด้านเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อขอรับความเห็นชอบจากคณะกรรมการดิจิทัลกรุงเทพมหานคร ก่อนเสนอขอรับงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 เป็นจำนวนมาก ส่งผลให้มีการจัดส่งเอกสารประกอบการพิจารณาโครงการของหน่วยงานจำนวนมาก ประกอบกับฝ่ายเลขานุการฯ ซึ่งมีหน้าที่จัดเตรียมและวิเคราะห์ข้อมูลโครงการของหน่วยงานก่อนเสนอเข้าสู่การพิจารณาในคณะกรรมการฯ จะต้องวิเคราะห์โครงการจำนวนมากเสนอต่อคณะกรรมการฯ เพื่อให้ทันต่อการเสนอโครงการเพื่อขอรับงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 นอกจากนี้ ในการพิจารณาของคณะกรรมการฯ หน่วยงานต้องเสนอขอรับการพิจารณาโครงการด้านเทคโนโลยีดิจิทัลจากคณะกรรมการฯ หลายครั้ง และใช้เวลาในการพิจารณานาน เนื่องจากขาดความเข้าใจในการนำเสนอโครงการต่อคณะกรรมการฯ สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล เล็งเห็นถึงปัญหาในการพิจารณาโครงการด้านเทคโนโลยีดิจิทัลตั้งแต่ขั้นตอนการนำเข้าโครงการฯ ขั้นตอนกระบวนการพิจารณาโครงการฯ จนถึงขั้นตอนการติดตามประเมินผลโครงการฯ จึงขอเสนอโครงการการปรับปรุงประสิทธิภาพการให้บริการพิจารณาโครงการด้านเทคโนโลยีดิจิทัลของหน่วยงานที่เสนอคณะกรรมการดิจิทัลกรุงเทพมหานคร เพื่อรองรับการให้บริการกับหน่วยงานในการให้คำปรึกษาและจัดส่งโครงการด้านเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อประกอบการพิจารณาของคณะกรรมการฯ ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น รวมถึงเป็นการบริหารจัดการข้อมูลโครงการด้านเทคโนโลยีดิจิทัลในภาพรวมของฝ่ายเลขานุการฯ ในการจัดเตรียมรายละเอียดโครงการให้ถูกต้องและครบถ้วน ส่งผลให้คณะกรรมการฯ ได้มีข้อมูลประกอบการพิจารณาโครงการที่ครบถ้วนสมบูรณ์ สามารถนำไปบูรณาการภาพรวมในด้านเทคโนโลยีดิจิทัลของกรุงเทพมหานครได้ต่อไป | 1.เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการพิจารณาโครงการด้านเทคโนโลยีดิจิทัลให้รวดเร็วยิ่งขึ้น ใน 3 ขั้นตอน ประกอบด้วย ขั้นตอนการนำเข้าโครงการฯ ขั้นตอนกระบวนการพิจารณาโครงการฯ และขั้นตอนการติดตามประเมินผลโครงการฯ 2.เพื่อเพิ่มช่องทางการปฏิบัติงานให้กับเจ้าหน้าที่ในการจัดส่งเอกสารประกอบการพิจารณาโครงการด้านเทคโนโลยีดิจิทัลของหน่วยงานและการให้คำปรึกษาเกี่ยวกับโครงการด้านเทคโนโลยีดิจิทัลแก่หน่วยงาน 3.เพื่อติดตามประเมินผลโครงการด้านเทคโนโลยีดิจิทัลที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการดิจิทัลกรุงเทพมหานคร นำมาจัดทำฐานข้อมูลด้านเทคโนโลยีดิจิทัล นำไปสู่การประเมินผลตามแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารกรุงเทพมหานคร | 1.พัฒนาระบบมาตรฐาน กระบวนการ และปรับขั้นตอนการนำเรื่องเข้าสู่การพิจารณาโครงการที่มุ่งสู่การลดระยะเวลาการดำเนินการให้ทันต่อการขอรับงบประมาณ ใน 3 ขั้นตอน ประกอบด้วย ขั้นตอนการนำเข้าโครงการฯ ขั้นตอนกระบวนการพิจารณาโครงการฯ และขั้นตอนการติดตามประเมินผลโครงการฯ 2.พัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการและติดตามประเมินผลโครงการด้านเทคโนโลยีดิจิทัลของหน่วยงานที่เสนอคณะกรรมการดิจิทัลกรุงเทพมหานคร 3.พัฒนาคู่มือการเสนอโครงการด้านเทคโนโลยีดิจิทัลต่อคณะกรรมการดิจิทัลกรุงเทพมหานคร 4.จัดบริการให้คำปรึกษากับหน่วยงานผู้รับบริการ | 0.00 | 0.00 | สํานักยุทธศาสตร์และประเมินผล | 2018-10-01 00:00:00 | 2019-09-30 00:00:00 | แล้วเสร็จ | 100.00 |
66 | 7.0.1. ด้านที่ ๗ – การบริหารจัดการเมืองมหานคร : Management Strategy |
4.2.1 | 2562 | เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานด้านแผนและเทคโนโลยีสารสนเทศของสำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล | สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผลได้ดำเนินการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมขององค์กร โดยใช้กรอบแนวคิด 7’s Mckinsey Framework เพื่อวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายใน และ PESTEL Analysis ในการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอก ทั้งนี้ จากผลการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในของสำนัก-ยุทธศาสตร์และประเมินผล พบว่า มีประเด็นที่เป็นจุดอ่อนสำคัญและต้องแก้ไขปรับปรุง ๓ ประเด็น ได้แก่ ด้านบุคลากร (Staff) ขาดความรู้ความเข้าใจ และการบูรณาการองค์ความรู้ด้านแผนให้เป็นไป ในแนวทางเดียวกัน รวมถึงความต่อเนื่องขององค์ความรู้กรณีที่บุคลากรมีการโยกย้าย ลาออกหรือเกษียณอายุราชการ ด้านระบบในการดำเนินการ (System) การประสานงานระหว่างส่วนราชการยังขาดความชัดเจน ขาดการสื่อสารทำความเข้าใจ ขาดมาตรฐานการปฏิบัติงาน และมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบและวิธีการปฏิบัติงานบ่อยครั้ง ด้านโครงสร้างองค์กร (Structure) ขาดความยืดหยุ่นและปรับตัวขององค์กรในการรองรับภารกิจใหม่ๆ ส่งผลให้ขาดความคล่องตัวในการปฏิบัติงาน การกำหนดภารกิจระหว่างส่วนราชการมีความเหลื่อมซ้อนกัน ส่งผลกระทบต่อการประสานงาน เกิดความล่าช้าและไม่สนับสนุนการบูรณาการการทำงาน จุดอ่อนขององค์กรที่พบจากการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายใน มีผลต่อการดำเนินงานของสำนัก-ยุทธศาสตร์และประเมินผล ซึ่งเป็นหน่วยต้นทางของการบริหารจัดการแผนและเทคโนโลยีสารสนเทศของกรุงเทพมหานคร การที่บุคลากรมีความเข้าใจต่อภารกิจที่แตกต่างกัน โดยเฉพาะความเข้าใจต่อความรู้และเครื่องมือที่ใช้ในการปฏิบัติงาน ย่อมส่งผลต่อมาตรฐานของงาน ความน่าเชื่อถือขององค์กร และประสิทธิภาพการบริหารราชการในภาพรวมของกรุงเทพมหานคร โดยเฉพาะเมื่อพิจารณาจากสภาพแวดล้อมภายนอก ในด้านของโอกาสที่พบว่า ประชาชน ภาคประชาสังคมมีการตื่นตัวต่อกระบวนการในการติดตาม ตรวจสอบการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐอย่างมาก และเมื่อผนวกกับความรวดเร็วของระบบการสื่อสารในยุคปัจจุบันแล้ว การจัดการกับปัจจัยหรือเงื่อนไขที่เป็นจุดอ่อนในการบริหารงานของสำนักยุทธศาสตร์- และประเมินผลจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง ดังนั้น เพี่อเป็นการแก้ไขจุดอ่อนและลดผลกระทบที่เกิดขึ้นจากปัญหาดังกล่าว กองยุทธศาสตร์บริหารจัดการ สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล จึงได้จัดทำโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานด้านแผนและเทคโนโลยีสารสนเทศของสำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล ขึ้นในปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 เพื่อให้บุคลากรของสำนักยุทธศาสตร์และประเมินผลทั้งในส่วนที่เกี่ยวข้องกับงานด้านแผน และงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศมีความเข้าใจต่อเป้าหมายและทิศทางการดำเนินงานขององค์กร มีการทำงานที่เกื้อหนุนเชื่อมโยงกัน ซึ่งจะนำไปสู่การเป็นองค์กรที่มีประสิทธิภาพ เป็นผู้นำหรือที่ปรึกษาด้านแผนของกรุงเทพมหานครโดยมีระบบสารสนเทศเป็นแกนประสานทั้งภายในสำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล และหน่วยงานภายนอก | ๒.1 เพื่อพัฒนารูปแบบและแนวทางในการประสานงานระหว่างเจ้าหน้าที่ด้านแผนและเทคโนโลยีสารสนเทศของสำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล 2.2 เพื่อพัฒนาคู่มือในการบริหารจัดการแผนของกรุงเทพมหานครสำหรับบุคลากรของสำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ๒.๓ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานด้านแผนและเทคโนโยโลยีของสำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล | 3.1 นักวิเคราะห์นโยบายและแผนและผู้ที่เกี่ยวข้องในภารกิจการบริหารจัดการแผนของสำนักยุทธศาสตร์และประเมินผลมีรูปแบบและแนวทางในการทำงานที่เกื้อกูล ประสาน เชื่อมโยงกัน ๓.2 สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผลมีคู่มือในการบริหารจัดการแผนที่เป็นมาตรฐานสำหรับกรุงเทพมหานคร เพื่อให้หน่วยงานต่าง ๆ ใช้เป็นแนวทางในการบริหารจัดการแผน ๓.3 หน่วยงานของกรุงเทพมหานครสามารถจัดทำแผนได้ถูกต้อง มีความสอดคล้องเชื่อมโยงกัน | 0.00 | 0.00 | สํานักยุทธศาสตร์และประเมินผล | 2018-10-01 00:00:00 | 2019-09-30 00:00:00 | แล้วเสร็จ | 100.00 |
67 | 0.0.0. **** ภารกิจงานประจำของหน่วยงาน **** |
4.2.1 | 2563 | กิจกรรมเสริมสร้างความร่วมมือ เพื่อกำหนดแนวทางการพัฒนามหานครอัจฉริยะด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล | สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผลเห็นถึงความสำคัญในการกำหนดกรอบแนวทางการพัฒนาเมืองอัจฉริยะของกรุงเทพมหานคร และการพัฒนาพื้นที่กรุงเทพมหานครสู่ความเป็นเมืองอัจฉริยะ ให้สอดคล้องกับแนวทางตามประกาศคณะกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ ที่ 1/ 2562 เรื่อง หลักเกณฑ์การประเมิน คุณสมบัติ วิธีการและกระบวนการในการพิจารณาการเป็นเมืองอัจฉริยะ และการพัฒนาแบบมีส่วนร่วมจึงได้จัดทำกิจกรรมเสริมสร้างความร่วมมือเพื่อกำหนดแนวทางการพัฒนามหานครอัจฉริยะด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อเป็นการศึกษาข้อมูลจากการทดลองดำเนินการในพื้นที่จริง ในการเตรียมความพร้อมของการพัฒนาพื้นที่สู่มหานครอัจฉริยะ ตามแนวทางการสร้างเสริมความร่วมมือ ซึ่งประกอบด้วยกระบวนการระดมความคิดเห็นและกรอบแนวทางการพัฒนาพื้นที่ให้ตรงกับความต้องการและศักยภาพของพื้นที่ กำหนดเลือกพื้นที่เริ่มต้นของการพัฒนาและจัดทำแผนพัฒนาพื้นที่เป้าหมายสู่มหานครอัจฉริยะ ซึ่งสามารถใช้ประโยชน์จากการนำข้อมูลสนับสนุนการจัดทำแผนแม่บทการพัฒนาเมืองอัจฉริยะกรุงเทพมหานคร ซึ่งสำนักยุทธศาสตร์และประเมินผลดำเนินการในแผนปฏิบัติราชการกรุงเทพมหานครประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564ต่อไป | 2.1 เพื่อศึกษาการพัฒนาเมืองสู่มหานครอัจฉริยะ ด้วยการสร้างความมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน 2.2 เพื่อศึกษาและคัดเลือกพื้นที่เริ่มต้นในการดำเนินการพัฒนาสู่ความเป็นมหานครอัจฉริยะ 2.3 เพื่อจัดทำแผนเตรียมความพร้อมในการพัฒนาพื้นที่สู่ความเป็นมหานครอัจฉริยะ | 3.1 มีหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการระดมความคิดเห็นต่อการพัฒนาเมืองสู่มหานครอัจฉริยะ 3.2 มีการศึกษาและเลือกพื้นที่เริ่มต้นเพื่อดำเนินการพัฒนาสู่ความเป็นมหานครอัจฉริยะ 3.3 มีการจัดทำแผนเตรียมความพร้อมในการพัฒนาพื้นที่สู่ความเป็นมหานครอัจฉริยะ | 0.00 | 0.00 | สํานักยุทธศาสตร์และประเมินผล | 2019-10-01 00:00:00 | 2020-09-29 00:00:00 | แล้วเสร็จ | 100.00 |
68 | 7.0.1. ด้านที่ ๗ – การบริหารจัดการเมืองมหานคร : Management Strategy |
4.2. | 2563 | โครงการฝึกอบรมหลักสูตรระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ | กรุงเทพมหานครนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการบริหารจัดการและการให้บริการ ซึ่งอยู่ภายใต้กรอบของแผนพัฒนากรุงเทพมหานคร ระยะ 20 ปี ระยะที่ 2 (พ.ศ. 2561-2565) ด้านที่ 7 การบริหารจัดการเมืองมหานคร มิติที่ 7.3 การบริหารทรัพยากรบุคคล เป้าหมายที่ 7.3.1 บุคลากรกรุงเทพมหานครเป็นผู้ปฏิบัติงานแบบมืออาชีพ มีคุณธรรม จริยธรรม และเป็นที่เชื่อมั่นของประชาชน มิติที่ 7.5 เทคโนโลยีสารสนเทศ เป้าหมายที่ 7.5.1 กรุงเทพมหานครให้บริการประชาชนด้วยความสะดวก รวดเร็ว ถูกต้องและโปร่งใส โดยประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่ทันสมัย (SMART SERVICE) เพื่อสนับสนุนนโยบายเศรษฐกิจดิจิตอล (Digital Economy) และมีการบริหารจัดการเมือง (กรุงเทพมหานคร) ด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่มีคุณภาพและมีประสิทธิภาพ (SMART CITY) และสอดคล้องตามแผนพัฒนาทรัพยากรบุคคลของกรุงเทพมหานคร (พ.ศ. 2561 - 2565) ยุทธศาสตร์ที่ 1 พัฒนาทรัพยากรบุคคลของกรุงเทพมหานครให้มีสมรรถนะพึงประสงค์ แต่เนื่องจากข้าราชการของกรุงเทพมหานครบางส่วนยังมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ไม่เพียงพอ จึงไม่สามารถนำระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์มาประยุกต์ใช้งานให้เกิดประโยชน์ได้อย่างครบถ้วนประกอบกับข้าราชการที่มีความรู้ความสามารถเกี่ยวกับระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ได้รับการแต่งตั้งหรือมีการโยกย้ายไปหน่วยงานอื่น ทำให้ข้าราชการที่รับตำแหน่งทดแทน อาจไม่ได้รับการถ่ายทอดความรู้การใช้งานด้านระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ และไม่มีความเข้าใจในการใช้งานด้านระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ กองสารสนเทศภูมิศาสตร์เห็นความสำคัญของการนำระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ไปประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการและการให้บริการ จึงเห็นควรพัฒนาศักยภาพข้าราชการกรุงเทพมหานครให้มีความรู้ ความเข้าใจและสามารถนำระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ไปใช้งานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน และเกิดประโยชน์ต่อหน่วยงาน | 3.1 เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ กระบวนการจัดเก็บข้อมูล การจัดทำแผนที่ การใช้เครื่องมือต่างๆ และทักษะการใช้โปรแกรมด้านระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ในการวิเคราะห์เชิงพื้นที่ รวมทั้ง สามารถนำแนวคิดด้านระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานด้านต่าง ๆ ของกรุงเทพมหานครและบูรณาการให้เกิดประโยชน์แก่หน่วยงาน 3.2 เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้แลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน รวมถึงการสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างหน่วยงาน | จัดฝึกอบรมหลักสูตรระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ แบบไป - กลับ ณ ศูนย์ฝึกอบรมคอมพิวเตอร์ ชั้น 4 สำนักการศึกษา เขตคลองสาน กรุงเทพมหานคร โดยแบ่งเป็น 2 หลักสูตร ประกอบด้วย 1) หลักสูตรระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์กรุงเทพมหานครเบื้องต้น เป็นการฝึกอบรมแบบไป - กลับ ให้กับข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญ ประเภททั่วไป ระดับปฏิบัติงาน - ระดับอาวุโส และประเภทวิชาการ ระดับปฏิบัติการ - ระดับชำนาญการพิเศษ จำนวน 50 คน 2) หลักสูตรการประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์กรุงเทพมหานคร เป็นการฝึกอบรมแบบไป - กลับ ให้กับข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญ ประเภททั่วไป ระดับปฏิบัติงาน - ระดับอาวุโส และประเภทวิชาการ ระดับปฏิบัติการ - ระดับชำนาญการพิเศษ จำนวน 50 คน | 149,000.00 | 0.00 | สํานักยุทธศาสตร์และประเมินผล | 2019-10-17 00:00:00 | 2020-05-17 00:00:00 | แล้วเสร็จ | 100.00 |
69 | 7.0.1. ด้านที่ ๗ – การบริหารจัดการเมืองมหานคร : Management Strategy |
5.1.1 | 2563 | โครงการศึกษาและวิเคราะห์สถาปัตยกรรมองค์กรด้านเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับกระบวนการทำงานตามภารกิจหลักของกรุงเทพมหานคร ระยะที่ 1 | สถานการณ์การดำเนินการของหน่วยงานในปัจจุบันมีการปฏิบัติงานหลายขั้นตอนใช้กระดาษเป็นจำนวนมากโปรแกรมการปฏิบัติงานไม่ครอบคลุมถึงกระบวนการตามภารกิจที่สำคัญ ข้อมูลมีการจัดเก็บซ้ำซ้อนและขาดผู้รับผิดชอบสำหรับข้อมูลที่ใช้งานร่วมกันและแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารกรุงเทพมหานคร ระยะ 5 ปี (พ.ศ.2561-2565) เสนอแนวทางเพื่อการบริหารยุทธศาสตร์องค์กรเพื่อให้เกิดการบูรณาการระหว่างแผนแม่บทฯ และภารกิจขององค์กรในด้านต่างๆ ซึ่งจะช่วยให้การขับเคลื่อนองค์กรไปสู่เป้าหมายตามยุทธศาสตร์ที่กำหนดไว้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังเป็นการบริหารจัดการทรัพยากรในด้านต่างๆ ได้อย่างคุ้มค่า อาทิ การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานการบริหารทรัพยากรบุคลากรเป็นต้น เพื่อให้รองรับกับการพัฒนารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์และสังคมดิจิทัลเพื่อนำไปสู่การพัฒนาหน่วยงานให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลและแผนพัฒนาประเทศ การขับเคลื่อนของกรุงเทพมหานครในปัจจุบันมีการพึ่งพาเทคโนโลยีดิจิทัลที่มีประสิทธิภาพ แต่มีปัญหาส่วนใหญ่คือ การขาดความเชื่อมโยงระหว่างเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology) กับพันธกิจองค์กร (Business) ซึ่งเป็นผลก่อให้เกิดความล้มเหลวของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในองค์กรอาทิ ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่จัดซื้อด้วยราคาแพงแต่ใช้งานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ ไม่สอดคล้องกับกระบวนการทางพันธกิจ (Business Process) ไม่ตอบโจทย์ วิสัยทัศน์ทางธุรกิจ (Business Vision)ขององค์กร รวมทั้งระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมีความซับซ้อนเกินความจำเป็น สถาปัตยกรรมองค์กร (Enterprise Architecture: EA) เป็นแนวความคิดใหม่ที่บูรณาการระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ากับพันธกิจขององค์กรอย่างเป็นระบบตั้งแต่การกำหนดโจทย์การบริการการวิเคราะห์สถาปัตยกรรมธุรกิจ (Business Architecture) เพื่อออกแบบการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศให้เชื่อมโยงกับการดำเนินงานได้อย่างสอดคล้องและมีประสิทธิภาพทั้งในระดับ Architecture ไปจนถึง Roadmapขององค์กร เพื่อผลักดันให้องค์กรสามารถดำเนินการตามนโยบายและวิสัยทัศน์ขององค์กรที่กำหนดไว้ | 1. เพื่อเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจความสำคัญของสถาปัตยกรรมองค์กรที่มีผลต่อการดำเนินงานของกรุงเทพมหานคร 2. เพื่อมุ่งเน้นไปสู่การเป็นองค์กรที่ใช้ข้อมูล เพื่อการตัดสินใจในการทำงาน (Data Driven Organization) และลดการใช้กระดาษให้มากที่สุด 3. เพื่อกำหนดกระบวนการปฏิบัติงานและการบริหารจัดการที่มีมาตรฐาน และรองรับการเปลี่ยนแปลงได้อย่างมีประสิทธิภาพ 4. เพื่อให้การบริหารจัดการข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบ Single Source โดยมีการกำหนด Data Operation และ Data Governance ที่เหมาะสม 5. เพื่อเป็นแนวทางกำหนดกรอบการพัฒนาแอปพลิเคชันที่เน้นการเชื่อมโยงระบบผ่านAPIเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูล รวมถึงการเปิดข้อมูลให้กับ Stakeholder ผ่าน Public API | 1.รายงานสรุปผลการศึกษา เพื่อคัดเลือกกรอบแนวทางที่เหมาะสมใช้เป็นกรอบแนวทางในการพัฒนาสถาปัตยกรรมองค์กรของกรุงเทพมหานคร ทั้งในส่วนของกรอบแนวคิดสถาปัตยกรรมองค์กร ที่เหมาะสม และจัดทำรายละเอียดข้อมูลสถาปัตยกรรมองค์กรในแต่ละด้านที่สอดคล้องตามกระบวนการโดยระบุถึงข้อมูลหลักของกระบวนการแหล่งที่มาของข้อมูลและผู้ใช้งานข้อมูล 2. การบูรณาการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ากับกระบวนงานตามภารกิจอย่างเป็นระบบเพื่อสร้างสถาปัตยกรรมการจัดการองค์กรที่พร้อมสู่การเติบโตอย่างต่อเนื่องและมั่นคงไปสู่การปฏิบัติ 3. การบูรณาการเทคโนโลยีสารสนเทศกับภารกิจอย่างเป็นระบบไปสู่การปฏิบัติ | 11,430,000.00 | 1,143,000.00 | สํานักยุทธศาสตร์และประเมินผล | 2019-10-01 00:00:00 | 2020-09-30 00:00:00 | แล้วเสร็จ | 100.00 |
70 | 7.0.1. ด้านที่ ๗ – การบริหารจัดการเมืองมหานคร : Management Strategy |
4.2.1 | 2563 | โครงการพัฒนาระบบการให้บริการข้อมูลภูมิสารสนเทศกลางและพัฒนาระบบภูมิสารสนเทศเพื่อการผังเมืองของกรุงเทพมหานคร | ปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศมีบทบาทอย่างมาก ในทุกมิติการทำงานของภาครัฐ (Smart Government) ทั้งด้านการให้บริการประชาชน การบริหารจัดการภาครัฐ และการกำหนดนโยบาย ประกอบกับรัฐบาลมีนโยบายผลักดันให้ภาครัฐยกระดับขีดความสามารถเชิงดิจิทัลมุ่งสู่การเป็นรัฐบาลดิจิทัล เป็นยุทธศาสตร์ที่ ๑ ในแผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลประเทศไทย ระยะ ๓ ปี (พ.ศ. ๒๕๕๙ – ๒๕๖๑) องค์ประกอบที่ ๑ การบูรณาการภาครัฐ เป็นการบูรณาการระหว่างหน่วยงาน ตั้งแต่การเชื่อมโยงข้อมูลไปจนถึงการดำเนินงาน เพื่อยกระดับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน ที่จะนำไปสู่งานบริการประชาชนได้ดี และรวดเร็วขึ้น การพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่ผ่านมามีลักษณะ “ต่างคนต่างทำ” ในหน่วยงานต่าง ๆ ที่มีความต้องการใช้เทคโนโลยี ควรมาใช้ทรัพยากรร่วมกัน (Shared Resources) และใช้บริการทางเทคโนโลยีร่วมกัน (Shared Services) ช่วยลดความซ้ำซ้อนในเรื่องงบประมาณ ระยะเวลาในการดำเนินงาน และการดูแลรักษาระบบ สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล โดยกองสารสนเทศภูมิศาสตร์ มีหน้าที่รับผิดชอบ ด้านการพัฒนาระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographic Information System : GIS) ให้คำปรึกษาและให้บริการทรัพยากรส่วนกลางทางด้าน GIS (Server, Software, Database) ให้ใช้งานร่วมกัน เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานเชิงพื้นที่ให้กับเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานต่าง ๆ ในกรุงเทพมหานคร จึงได้จัดทำโครงการพัฒนาระบบการให้บริการข้อมูลภูมิสารสนเทศของกรุงเทพมหานคร เพื่อให้มีระบบสารสนเทศกลางทางด้าน GIS เป็นเครื่องมือสนับสนุนการปฏิบัติงานในเชิงพื้นที่ได้เหมาะสมกับเทคโนโลยีใหม่ ๆ ได้ สามารถรองรับงานที่หลากหลาย เพื่อนำไปสู่การบูรณาการข้อมูลและการทำงาน ใช้ทรัพยากรดิจิทัลร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ ลดความซ้ำซ้อน ทันต่อเวลา และเป็นไปตามเกณฑ์การพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ (Public Sector Management Quality Award) นอกจากนี้ สำนักผังเมืองซึ่งเป็นหน่วยงานที่ดำเนินการทางด้าน GIS เช่นเดียวกัน มีภารกิจ ในการพัฒนาแผนที่ฐาน การวางและจัดทำผังเมืองรวมของกรุงเทพมหานคร เพื่อให้เกิดความเป็นระเบียบเรียบร้อย รองรับกับการขยายตัวของเมืองในอนาคตที่เติบโตและเปลี่ยนแปลงทั้งทางด้านกายภาพ เศรษฐกิจ สังคม ประชากร และสิ่งแวดล้อม ดังนั้น ในการวางแผนเพื่อการบริหารจัดการเมืองดังกล่าว ระบบจัดการฐานข้อมูลแผนที่ การใช้ประโยชน์และการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินและอาคาร มีระบบอำนวยความสะดวกในการสืบค้น วิเคราะห์ และแสดงผลข้อมูลในแต่ละพื้นที่ ซึ่งถือเป็นองค์ประกอบสำคัญของระบบ ภูมิสารสนเทศ ที่ต้องนำมาใช้เพื่อการวิเคราะห์ ติดตามและประเมินผลผังเมืองรวมที่ได้บังคับใช้ และเพื่อปรับปรุงผังเมืองรวมต่อไปในอนาคต สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผลและสำนักผังเมือง จึงดำเนินการโครงการพัฒนาระบบการให้บริการข้อมูลภูมิสารสนเทศกลางและพัฒนาระบบภูมิสารสนเทศเพื่อการผังเมืองของกรุงเทพมหานคร เพื่อสนับสนุนภารกิจทางด้านผังเมือง และภารกิจของหน่วยงานต่าง ๆ โดยบูรณาการการใช้ทรัพยากร ทางด้านซอฟต์แวร์ ฐานข้อมูล และโปรแกรมสนับสนุนการปฏิบัติงานตามภารกิจที่เกี่ยวข้องร่วมกัน | 1. เพื่อให้กรุงเทพมหานครมีระบบการให้บริการข้อมูลภูมิสารสนเทศกลาง และระบบ ภูมิสารสนเทศเพื่อการผังเมืองของกรุงเทพมหานครที่เป็นมาตรฐานและสามารถบูรณาการเพื่อใช้งานร่วมกัน และสนับสนุนการปฏิบัติงานเชิงพื้นที่ได้ 2. เพื่อออกแบบและพัฒนาระบบบริหารจัดการพื้นที่เขตเชิงกายภาพ รวมถึงโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อสนับสนุนการวางแผน การบริหารจัดการและจัดทำผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร ให้อยู่ในรูปแบบมาตรฐานที่สามารถนำไปใช้ประกอบการกำหนดนโยบายและวางแผนยุทธศาสตร์ด้านการผังเมืองได้อย่างเหมาะสม | 1. กรุงเทพมหานครมีระบบให้บริการข้อมูลภูมิสารสนเทศกลางเพื่อเป็นเครื่องมือในการพัฒนาระบบภูมิสารสนเทศให้กับหน่วยงานของกรุงเทพมหานคร 2. กรุงเทพมหานครมีระบบภูมิสารสนเทศเพื่อการผังเมืองในรูปแบบโปรแกรมประยุกต์บนระบบเครือข่าย (Web Map Application) ให้บริการแก่หน่วยงานในกรุงเทพมหานคร หน่วยงานภายนอก สถาบันการศึกษา และประชาชนทั่วไป 3. กรุงเทพมหานครมีระบบบริหารจัดการพื้นที่เขตในกรุงเทพมหานคร เพื่อเป็นเครื่องมือในการจัดเก็บข้อมูลเชิงกายภาพสำหรับการบริหารจัดการของสำนักงานเขต | 26,855,300.00 | 16,062,000.00 | สํานักยุทธศาสตร์และประเมินผล | 2019-10-01 00:00:00 | 2020-03-28 00:00:00 | แล้วเสร็จ | 100.00 |
71 | 7.0.1. ด้านที่ ๗ – การบริหารจัดการเมืองมหานคร : Management Strategy |
4.2. | 2563 | การลดใช้พลังงานไฟฟ้าภายในศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร (หน่วยงานและส่วนราชการในศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร) | ศาลาว่าการกรุงเทพมหานครเป็นอาคารขนาดใหญ่ มีการใช้พลังงานไฟฟ้าปริมาณมากในแต่ล่ะปี ประกอบกับภารกิจของกรุงเทพมหานครมีหน้าที่ในการจัดบริการสาธารณะด้านต่างๆให้แก่ประชาชน ทำให้แต่ละวันจะมีบุคลากรที่ปฏิบัติงานและเข้ามาติดต่อราชการเป็นจำนวนมากไม่น้อยกว่า 1,500 คน ปัญหาที่พบคือบุคลากรส่วนใหญ่ยังคงใช้ไฟฟ้าอย่างไม่ถูกวิธี ไม่มีประสิทธิภาพ ทำให้งบประมาณรายจ่ายค่าสาธารณูปโภค(ไฟฟ้า)มีจำนวนสูง จึงเป็นที่มาของโครงการการลดใช้ไฟฟ้าภายในศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร ซึ่งมีหน่วยงานและส่วนราชการภายในศาลาว่าการกรุงเทพมหานครเป็นพันธมิตรร่วมกันดำเนินโครงการ เพื่อปลูกจิตสำนึกและสร้างความตระหนักในการใช้ไฟฟ้าอย่างคุ้มค่าให้แก่บุคลากรภายในศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร ทำให้การใช้พลังงานไฟฟ้าลดลง ส่งผลให้งบประมาณด้านศาธารณูปโภค(ไฟฟ้า) ที่เป็นภาษีของประชาชนลดลงไปตามไปด้วย | 1.เพื่อลดปริมาณการใช้พลังงานไฟฟ้าภายในศาลาว่าการกรุงเทพมหานครอย่างประสิทธิภาพ 2.เพื่อลดงบประมาณของกรุงเทพมหานคร ด้านค่าใช้จ่ายสาธาณูปโภค 3.รณรงค์และปลูกจิตสำนึกให้กับบุคลากรภายในหน่วยงานและส่วนราชการภายในศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการใช้ไฟฟ้าในรูปแบบต่างๆ 4.เพื่อส่งเสริมบทบาทและการมีส่วนร่วมของข้าราชการและบุคลากรในหน่วยงานในการช่วยประหยัดพลังงานไฟฟ้า | ลดการใช้พลังงานไฟฟ้าและลดค่าใชจ่ายค่าสาธารณูปโภค(ไฟฟ้า) ภายในศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร จากปีงบประมาณ พ.ศ.2562 | 0.00 | 0.00 | สํานักยุทธศาสตร์และประเมินผล | 2019-10-01 00:00:00 | 2020-09-30 00:00:00 | แล้วเสร็จ | 100.00 |
72 | 7.0.1. ด้านที่ ๗ – การบริหารจัดการเมืองมหานคร : Management Strategy |
4.2. | 2563 | การปรับปรุงประสิทธิภาพการให้บริการพิจารณาโครงการด้านเทคโนโลยีดิจิทัลของหน่วยงานที่เสนอคณะกรรมการดิจิทัลกรุงเทพมหานคร (รักษารอบ) | สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล โดย กองสารสนเทศภูมิศาสตร์ ในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการดิจิทัลกรุงเทพมหานคร มีหน้าที่รับผิดชอบดำเนินการจัดประชุมคณะกรรมการดิจิทัลกรุงเทพมหานคร ซึ่งหน่วยงานในสังกัดกรุงเทพมหานครได้เสนอโครงการด้านเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อขอรับความเห็นชอบจากคณะกรรมการดิจิทัลกรุงเทพมหานคร ก่อนเสนอขอรับงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 เป็นจำนวนมาก ส่งผลให้มีการจัดส่งเอกสารประกอบการพิจารณาโครงการของหน่วยงานจำนวนมาก ประกอบกับฝ่ายเลขานุการฯ ซึ่งมีหน้าที่จัดเตรียมและวิเคราะห์ข้อมูลโครงการของหน่วยงานก่อนเสนอเข้าสู่การพิจารณาในคณะกรรมการฯ จะต้องวิเคราะห์โครงการจำนวนมากเสนอต่อคณะกรรมการฯ เพื่อให้ทันต่อการเสนอโครงการเพื่อขอรับงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 นอกจากนี้ ในการพิจารณาของคณะกรรมการฯ หน่วยงานต้องเสนอขอรับการพิจารณาโครงการด้านเทคโนโลยีดิจิทัลจากคณะกรรมการฯ หลายครั้ง และใช้เวลาในการพิจารณานาน เนื่องจากขาดความเข้าใจในการนำเสนอโครงการต่อคณะกรรมการฯ สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล เล็งเห็นถึงปัญหาในการพิจารณาโครงการด้านเทคโนโลยีดิจิทัลตั้งแต่ขั้นตอนการนำเข้าโครงการฯ ขั้นตอนกระบวนการพิจารณาโครงการฯ จนถึงขั้นตอนการติดตามประเมินผลโครงการฯ จึงขอเสนอโครงการการปรับปรุงประสิทธิภาพการให้บริการพิจารณาโครงการด้านเทคโนโลยีดิจิทัลของหน่วยงานที่เสนอคณะกรรมการดิจิทัลกรุงเทพมหานคร เพื่อรองรับการให้บริการกับหน่วยงานในการให้คำปรึกษาและจัดส่งโครงการด้านเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อประกอบการพิจารณาของคณะกรรมการฯ ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น รวมถึงเป็นการบริหารจัดการข้อมูลโครงการด้านเทคโนโลยีดิจิทัลในภาพรวมของฝ่ายเลขานุการฯ ในการจัดเตรียมรายละเอียดโครงการให้ถูกต้องและครบถ้วน ส่งผลให้คณะกรรมการฯ ได้มีข้อมูลประกอบการพิจารณาโครงการที่ครบถ้วนสมบูรณ์ สามารถนำไปบูรณาการภาพรวมในด้านเทคโนโลยีดิจิทัลของกรุงเทพมหานครได้ต่อไป | 1.เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการพิจารณาโครงการด้านเทคโนโลยีดิจิทัลให้รวดเร็วยิ่งขึ้น ใน 3 ขั้นตอน ประกอบด้วย ขั้นตอนการนำเข้าโครงการฯ ขั้นตอนกระบวนการพิจารณาโครงการฯ และขั้นตอนการติดตามประเมินผลโครงการฯ 2.เพื่อเพิ่มช่องทางการปฏิบัติงานให้กับเจ้าหน้าที่ในการจัดส่งเอกสารประกอบการพิจารณาโครงการด้านเทคโนโลยีดิจิทัลของหน่วยงานและการให้คำปรึกษาเกี่ยวกับโครงการด้านเทคโนโลยีดิจิทัลแก่หน่วยงาน 3.เพื่อติดตามประเมินผลโครงการด้านเทคโนโลยีดิจิทัลที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการดิจิทัลกรุงเทพมหานคร นำมาจัดทำฐานข้อมูลด้านเทคโนโลยีดิจิทัล นำไปสู่การประเมินผลตามแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารกรุงเทพมหานคร | เป้าหมาย ปี 2562 (ดำเนินการเรียบร้อยแล้ว) 1.ดำเนินการให้เป็นไปตามมาตรฐาน กระบวนการ และขั้นตอนการนำเรื่องเข้าสู่การพิจารณาโครงการที่มุ่งสู่การลดระยะเวลาการดำเนินการให้ทันต่อการขอรับงบประมาณ ใน 3 ขั้นตอน ประกอบด้วย ขั้นตอนการนำเข้าโครงการฯ ขั้นตอนกระบวนการพิจารณาโครงการฯ และขั้นตอนการติดตามประเมินผลโครงการฯ 2.การนำระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการและติดตามประเมินผลโครงการด้านเทคโนโลยีดิจิทัลของหน่วยงานที่เสนอคณะกรรมการดิจิทัลกรุงเทพมหานคร ที่พัฒนาขึ้น (ในปี พ.ศ. 26562) มาใช้ในการดำเนินการ 3.จัดบริการให้คำปรึกษากับหน่วยงานผู้รับบริการ | 0.00 | 0.00 | สํานักยุทธศาสตร์และประเมินผล | 2019-10-01 00:00:00 | 2020-09-30 00:00:00 | แล้วเสร็จ | 100.00 |
73 | 7.0.1. ด้านที่ ๗ – การบริหารจัดการเมืองมหานคร : Management Strategy |
4.2.1 | 2563 | โครงการจัดทำระบบศูนย์สอบและค่าข้อสอบเพื่อพัฒนาทักษะความรู้ด้านดิจิทัลแก่บุคลากร กรุงเทพมหานคร (Digital Skill) | เพื่อเป็นการประหยัดงบประมาณที่กรุงเทพมหานครจะต้องจัดส่งบุคลากรไปสอบ วัดความรู้กับหน่วยงานภายนอก ประหยัดค่าใช้จ่ายในการเดินทางของบุคลากร รองรับการสอบวัดความรู้ของบุคลากรกรุงเทพมหานครทั้งหมด และเป็นการพัฒนาบุคลากรของกรุงเทพมหานครให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาทรัพยากรบุคคลของกรุงเทพมหานคร (พ.ศ. 2561 – 2565) รวมถึงการบรรลุวิสัยทัศน์ “ทรัพยากรบุคคลของกรุงเทพมหานครเป็นมืออาชีพในการให้บริการประชาชน (BMAPRO 21st) มุ่งสู่การเป็นมหานครแห่งเอเชีย” ได้สำเร็จอย่างเป็นรูปธรรม สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผลจำเป็นต้องจัดทำระบบศูนย์สอบและค่าข้อสอบเพื่อพัฒนาทักษะความรู้ด้านดิจิทัลแก่บุคลากรกรุงเทพมหานคร (Digital Skill) | ๒.๑ จัดทำระบบศูนย์สอบมาตรฐานในการสอบวัดความรู้ความสามารถด้านความเข้าใจและใช้เทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Literacy) แก่บุคลากรของกรุงเทพมหานคร ๒.2 จัดหาข้อสอบสำหรับการสอบวัดความรู้ความสามารถด้านความเข้าใจและใช้เทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Literacy) แก่บุคลากรของกรุงเทพมหานคร | ๓.๑ มีระบบศูนย์สอบมาตรฐานในการสอบวัดความรู้ความสามารถด้านความเข้าใจและใช้เทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Literacy) แก่บุคลากรของกรุงเทพมหานคร 3.2 มีข้อสอบสำหรับการสอบวัดความรู้ความสามารถด้านความเข้าใจและใช้เทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Literacy) แก่บุคลากรของกรุงเทพมหานคร | 10,735,000.00 | 0.00 | สํานักยุทธศาสตร์และประเมินผล | 2019-10-01 00:00:00 | 2020-09-30 00:00:00 | กำลังดำเนินการ | 46.00 |
74 | 7.0.1. ด้านที่ ๗ – การบริหารจัดการเมืองมหานคร : Management Strategy |
4.2.1 | 2563 | โครงการพัฒนาระบบบริการภาครัฐ | ในฐานะกรุงเทพมหาครเป็นหน่วยงานให้บริการประชาชน และเป็นส่วนหนึ่งของศูนย์รับคำขออนุญาต ประกอบปัจจุบันอยู่ในยุคของสังคมไร้เงินสด (Cashless Society) จึงเห็นควรจัดหาหรือพัฒนาระบบสารสนเทศสำหรับสนับสนุนการรับ-ส่งใบอนุญาตที่ผ่านการอนุมัติแล้ว ตลอดจนปรับปรุงระบบการรับชำระเงินที่มีอยู่ในปัจจุบันของกรุงเทพมหานครให้มีความทันสมัยและหลากหลายมากยิ่งขึ้น เพื่อรองรับการเป็นศูนย์รับคำขอของกรุงเทพมหานคร (BMA OSS) อย่างเต็มรูปแบบและทันสมัยโดยผ่านการให้บริการของธนาคาร หรือตัวแทนรับชำระเงิน เพื่อให้ประชาชนหรือผู้ประกอบการที่มาติดต่อขอรับชำระค่าธรรมเนียมจากค่าบริการในการออกใบอนุญาต ไม่ต้องเสียเวลาเดินทางมายังหน่วยงานกรุงเทพมหานคร สามารถชำระเงินได้ตลอด 24 ชั่วโมง | 2.1 เพื่อเพิ่มช่องทางให้ประชาชนหรือผู้ประกอบการได้รับความสะดวกรวดเร็วในการติดต่อหรือ การทำธุรกรรมทางด้านการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ได้อย่างเต็มรูปแบบหลากหลายช่องทางรวมถึงรองรับการรับชำระเงินค่าธรรมเนียมได้ตลอด 24 ชั่วโมง โดยไม่จำเป็นต้องเดินทางมาติดต่อขอชำระค่าธรรมเนียมใบอนุญาตที่หน่วยงานหรือสำนักงานเขตของกรุงเทพมหานคร 2.2เพื่ออำนวยความสะดวกให้ประชาชนหรือผู้ประกอบการไม่ต้องเดินทางมาติดต่อขอรับใบอนุญาตที่ผ่านการอนุมัติแล้ว โดยสามารถรับเอกสารใบสำคัญหรือใบอนุญาตได้จากระบบจดหมายอิเล็กทรอนิกส์หรือระบบขนส่งอัจฉริยะของภาคเอกชน 2.3 เพื่ออำนวยความสะดวกให้หน่วยงานหรือผู้ที่เกี่ยวข้อง สามารถสอบทานตัวเลขค่าธรรมเนียมและค่าภาษีได้สะดวกรวดเร็วและถูกต้องทันการณ์ โดยสามารถสรุปข้อมูลรายรับ พร้อมส่งต่อข้อมูลไปยังทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง สำหรับใช้ประกอบการตัดสินใจในด้านการวางแผนงบประมาณรายรับได้อย่างถูกต้องแม่นยำ | 3.1 อำนวยความสะดวกให้กับประชาชนหรือผู้ประกอบการ โดยมีทางเลือกในการชำระเงินค่าธรรมเนียมค่าภาษี ไม่ต้องถือเงินสด และยังรองรับการรับชำระเงินได้ตลอด 24 ชั่วโมงผ่านช่องทางหลากหลาย รวมถึงไม่ต้องเดินทางมายังหน่วยงานหรือสำนักงานเขตของกรุงเทพมหานครเพื่อมาติดต่อขอรับใบอนุญาตที่ผ่านมาอนุมัติแล้ว 3.2 เพื่อรองรับการบูรณาข้อมูลการรับชำระเงินของกรุงเทพมหานครกับหน่วยงานภาครัฐต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องในรูปแบบรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (e-Government) เพื่อประโยชน์ในการวางแผนการบริหารจัดการงบประมาณภาครัฐได้อย่างแม่นยำถูกต้อง | 40,100,000.00 | 0.00 | สํานักยุทธศาสตร์และประเมินผล | 2019-10-01 00:00:00 | 2021-09-30 00:00:00 | กำลังดำเนินการ | 57.00 |
75 | 7.0.1. ด้านที่ ๗ – การบริหารจัดการเมืองมหานคร : Management Strategy |
4.2.1 | 2563 | โครงการพัฒนาระบบยืนยันและตรวจสอบตัวบุคคลในระบบดิจิทัล | การดำเนินธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ของกรุงเทพมหานครจำเป็นต้องกำหนดนโยบายและวางแนวทางปฏิบัติทางด้านความปลอดภัยในระบบสารสนเทศของกรุงเทพมหาครใหม่ เพื่อให้เป็นไปตามพระราชกฤษฎีกากำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐ พ.ศ. 2549ด้วยการนำเทคโนโลยีระบบรหัสแบบกุญแจสาธารณะ หรือกุญแจสมมาตร ที่ประกอบด้วยกุญแจส่วนตัว (Private key) และกุญแจสาธารณะ (Public key) ซึ่งเป็นที่ยอมรับในระดับสากล พร้อมด้วยการใช้โปรโตคอลSecure Socket LayerหรือSSL มาประยุกต์ใช้ในการเข้ารหัส และการถอดรหัส (Encryption) ในระหว่างขั้นตอนการรับ–ส่งข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต เพื่อเป็นการสร้างความมั่นใจและเชื่อมั่นได้ว่า เอกสารสำคัญหรือข้อมูลของทางราชการยังคงได้รับการปกป้องและยังคงเป็นความลับ (Data Confidentiality)จากผู้ที่ไม่ได้รับอนุญาตหรือผู้ไม่หวังดีเข้ามาอ่าน หรือขโมยข้อมูลระหว่างการดำเนินธุรกรรมได้ | 2.1 เพื่อพัฒนาระบบสารสนเทศสำหรับรองรับการออกใบอนุญาตในรูปแบบเอกสารอิเล็กทรอนิกส์และการทำธุรกรรมของกรุงเทพมหานครที่มีความน่าเชื่อถือและมีผลถูกต้องตามกฎหมาย 2.2เพื่อสร้างความเชื่อถือให้กับเว็บไซต์ของกรุงเทพมหานครในด้านการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลระหว่างการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์หรือประชาชนที่มาติดต่อขอรับบริการกับกรุงเทพมหานครผ่านช่องทางอินเตอร์เน็ต 2.3 เพื่อบ่งบอกและยืนยันตัวบุคคลในโลกดิจิทัล สำหรับรองรับการทำธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์เพื่อให้มีผลตามกฎหมาย | 3.1ประชาชนที่มาติดต่อขอรับบริการหรือหน่วยงานภาครัฐที่ร่วมทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์กับกรุงเทพมหานครผ่านช่องทางอินเตอร์เน็ต มีความเชื่อมั่นในด้านการรักษาความลับของข้อมูล ตลอดจนความถูกต้องครบถ้วนของข้อมูลแม้อาจมีการถูกดักจับข้อมูลระหว่างการทำธุรกรรม 3.2 เป็นการยกระดับการรักษาความปลอดภัยของข้อมูล ในขั้นตอนการรับ-ส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ผ่านช่องทางอินเตอร์เน็ต ตลอดจนสามารถยืนยันและตรวจสอบตัวบุคคลในระบบดิจิทัลได้ | 47,000,000.00 | 0.00 | สํานักยุทธศาสตร์และประเมินผล | 2019-10-01 00:00:00 | 2021-09-30 00:00:00 | กำลังดำเนินการ | 57.00 |
76 | 7.0.1. ด้านที่ ๗ – การบริหารจัดการเมืองมหานคร : Management Strategy |
3.1.1 | 2563 | โครงการเพิ่มประสิทธิภาพระบบ web portal กรุงเทพมหานคร | เพื่อให้การบริการระบบเว็บไซต์กรุงเทพมหานครและเว็บไซต์หน่วยงานของกรุงเทพมหานคร มีเทคโนโลยีที่เป็นปัจจุบันเป็นช่องทางหลักในการสื่อสารกับประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงจำเป็นต้องเพิ่มประสิทธิภาพระบบ web portal กรุงเทพมหานคร ทั้งในส่วนของการปรับปรุงโครงสร้าง การทำงานของระบบและรูปแบบการทำงานที่ต้องเข้าถึงระบบ Social Media และรองรับการทำงานลักษณะ Web Service ซึ่งเป็นการออกแบบเว็บไซต์ในยุคแห่งการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารระหว่างกัน รวมถึงระบบรักษาความมั่นคงปลอดภัยและการตรวจสอบระบบเว็บไซต์ | 1.เพื่อปรับปรุงโครงสร้างการทำงานของระบบ web portal กรุงเทพมหานคร (Web Server Architecture) ให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ 2.เพื่อปรับปรุงรูปแบบการทำงานของระบบ web portal กรุงเทพมหานคร (Application Architecture) ให้สามารถเข้าถึงระบบ Social Media และรองรับการทำงานลักษณะ Web Service 3.เพื่อตรวจสอบสถานะการทำงานของเว็บไซต์ที่อยู่ภายใต้ระบบ web portal กรุงเทพมหานคร | 1.เว็บไซต์กรุงเทพมหานครและหน่วยงานของกรุงเทพมหานคร สามารถเข้าถึงได้ง่ายและสะดวกรวดเร็วผ่านอุปกรณ์ Smart Device 2.ข้อมูลของเว็บไซต์สามารถเชื่อมโยงไปยัง Social Media ต่าง ๆ ได้ เช่น Facebook , Twister , Instragram เป็นต้น 3.ปรับปรุงโครงสร้างและรูปแบบของข้อมูลระบบ web portal ให้สามารถรองรับการจัดทำ Web Service 4.มีระบบตรวจสอบสถานะการทำงานของเว็บไซต์ (Website Monitoring) อย่างน้อย ๕๐๐ เว็บไซต์ | 8,500,000.00 | 0.00 | สํานักยุทธศาสตร์และประเมินผล | 2019-10-01 00:00:00 | 2020-09-29 00:00:00 | กำลังดำเนินการ | 70.00 |
77 | 7.0.1. ด้านที่ ๗ – การบริหารจัดการเมืองมหานคร : Management Strategy |
3.1.1 | 2563 | เพิ่มสมรรถนะการบริหารจัดการศูนย์ข้อมูล | กรุงเทพมหานครได้มีโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน โดยมีศูนย์ข้อมูลของกรุงเทพมหานครซึ่งประกอบด้วยอุปกรณ์ และเครื่องมือบริหารจัดการประสิทธิภาพสูงเพื่อรองรับระบบสารสนเทศของหน่วยงาน ดังนั้นโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีสารสนเทศจำเป็นต้องมีระบบบริหารจัดการ เพื่อตรวจสอบเหตุการณ์ ประเมินประสิทธิภาพของอุปกรณ์ สำหรับการวางแผนในการดูแลบำรุงรักษาให้เกิดความต่อเนื่องในการให้บริการและสอดคล้องกับแนวทางการดำเนินงานของศูนย์สารสนเทศภาครัฐ กรุงเทพมหานครอยู่ระหว่างการพัฒนาศูนย์ข้อมูลหลักของกรุงเทพมหานคร เพื่อใช้เป็นศูนย์ให้บริการของระบบสารสนเทศของกรุงเทพมหานคร มีการให้บริการที่จำเป็นสำหรับการพัฒนา การปฏิบัติงาน และการให้บริการทางด้านดิจิทัล ในลักษณะของบริการโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure as a Service : IaaS) และบริการแพล็ตฟอร์ม (Platform as a Service : PaaS) โดยแบ่งการดำเนินการเป็น ๓ ส่วน ได้แก่ การสร้างศูนย์ข้อมูล การพัฒนาระบบคลาวด์ และการจัดเตรียมแพล็ตฟอร์ม เช่น ระบบฐานข้อมูล ระบบปฏิบัติการ แต่การดำเนินการศูนย์ข้อมูล ยังขาดเครื่องมือในการตรวจสอบระบบและควบคุมโครงสร้างพื้นฐานของศูนย์ข้อมูล | เพื่อเพิ่มระบบตรวจสอบประสิทธิภาพของอุปกรณ์ภายในศูนย์ข้อมูลของกรุงเทพมหานครให้ครอบคลุมโครงสร้างพื้นฐาน พร้อมยกระดับความสามารถของศูนย์ข้อมูลกรุงเทพมหานครให้อยู่ในระดับ4(Cross Agency DC)ตามมาตรฐานศูนย์ข้อมูลหน่วยงานภาครัฐ(Government Data Center Modernization:GDCM)ของรัฐบาล | 1.มีระบบตรวจสอบการใช้พลังงานไฟฟ้าซึ่งสามารถตรวจสอบการใช้พลังงานย่อยลงไปถึงระดับแต่ละตู้อุปกรณ์ได้ 2.มีระบบตรวจสอบคุณภาพแบตเตอรี่ของระบบสำรองไฟฟ้า เพื่อการวางแผนในการบำรุงรักษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ 3.มีระบบบริหารจัดการในการตรวจสอบสภาพแวดล้อมทางกายภาพ ที่มีประสิทธิภาพสูง สามารถแสดงตำแหน่งอุปกรณ์ในลักษณะ ๓ มิติ พร้อมทั้งแสดงรายละเอียดแบบออนไลน์ได้ | 14,211,800.00 | 0.00 | สํานักยุทธศาสตร์และประเมินผล | 2019-10-01 00:00:00 | 2020-09-29 00:00:00 | กำลังดำเนินการ | 90.00 |
78 | 7.0.1. ด้านที่ ๗ – การบริหารจัดการเมืองมหานคร : Management Strategy |
4.2. | 2563 | ระบบควบคุมและตรวจสอบสิทธิการเข้าถึงระบบสารสนเทศของกรุงเทพมหานคร | ปัจจุบันกรุงเทพมหานครได้ดำเนินการพัฒนาศูนย์ข้อมูล (Data Center) เพื่อรองรับระบบงานสารสนเทศต่างๆ มากมายหลายระบบ สำหรับใช้ในการปฏิบัติงานด้านต่าง ๆ ของกรุงเทพมหานคร ซึ่งการเข้าใช้ระบบเครือข่ายสื่อสารต่าง ๆ ก่อให้เกิดความสับสน ความยากลำบากต่อการบริหารจัดการของเจ้าหน้าที่ในการ ที่จะต้องจดจำชื่อ Loginและ Passwordของแต่ละระบบ จากปัญหาดังกล่าวจึงจำเป็นต้องมีการจัดทำระบบตรวจสอบสิทธิและระบบควบคุมการใช้งานเครือข่ายของกรุงเทพมหานครให้เป็นรูปแบบเดียวกัน (One Login and One Password) สำหรับการเข้าจัดการระบบเครือข่ายสื่อสาร และอุปกรณ์เครือข่ายสื่อสารต่าง ๆ เพื่อตรวจสอบและระบุสิทธิการเข้าถึงเครือข่ายสื่อสารหรืออุปกรณ์เครือข่ายสื่อสารต่างๆ ได้อย่างสะดวก มีความคล่องตัว และมีความปลอดภัยในการปกป้อง Loginและ Password ของเจ้าหน้าที่ที่ดูแลระบบและผู้ใช้งาน | เพื่อลดความสับสน ความยากลำบากต่อการเข้าใช้งานของเจ้าหน้าที่ในการที่จะต้องจดจำชื่อ Login และPassword ของแต่ละเครือข่าย และป้องกันการเข้าถึงระบบเครือข่ายสื่อสารต่าง ๆ ของกรุงเทพมหานคร โดยผู้ที่ไม่ได้รับอนุญาต | จัดหาระบบตรวจสอบสิทธิและระบบควบคุมการใช้งานเครือข่าย เพื่อควบคุมและตรวจสอบสิทธิการเข้าถึงระบบเครือข่ายและระบบงานสารสนเทศต่าง ๆ ของกรุงเทพมหานคร | 13,600,000.00 | 0.00 | สํานักยุทธศาสตร์และประเมินผล | 2019-10-01 00:00:00 | 2020-09-29 00:00:00 | กำลังดำเนินการ | 90.00 |
79 | 7.0.1. ด้านที่ ๗ – การบริหารจัดการเมืองมหานคร : Management Strategy |
3.1. | 2563 | ปรับเปลี่ยนระบบเครือข่ายสื่อสารหลักของกรุงเทพมหานคร | กรุงเทพมหานครได้ติดตั้งระบบเครือข่ายสื่อสารข้อมูลหลักโดยใช้สายใยแก้วนำแสงเป็นตัวกลางเชื่อมต่อกับหน่วยงานต่างๆ ที่อยู่ในสังกัดของกรุงเทพมหานครทั้งสำนักงานเขต 50 เขต สำนัก 16 สำนัก และโรงพยาบาลในสังกัดกรุงเทพมหานคร เพื่อเข้าใช้งานระบบงานสารสนเทศต่าง ๆ ของกรุงเทพมหานคร ระบบงานทะเบียนราษฎร และบัตรประจำตัวประชาชน และระบบอินเทอร์เน็ต เป็นต้น โดยสายใยแก้วนำแสงมีอายุการใช้งานมากกว่า 12 ปี มีสภาพเก่า ชำรุดเสื่อมสภาพ จนทำให้ด้อยประสิทธิภาพและขาดเสถียรภาพ จากเหตุผลดังกล่าวก่อให้เกิดปัญหาและส่งผลกระทบต่อการใช้งานและการบริการประชาชนมีความล่าช้าในการเรียกใช้ข้อมูลของระบบสารสนเทศต่าง ๆ จนส่งผลให้ต้องหยุดการปฏิบัติงานและการให้บริการประชาชน ณ หน่วยงานต่างๆ ของกรุงเทพมหานครอยู่บ่อยครั้ง ต้องใช้ระยะเวลาแก้ไขปัญหาเพื่อให้สามารถกลับมาใช้งานได้อย่างน้อย 2 ชั่วโมง อีกทั้งปัจจุบันกรุงเทพมหานคร อยู่ระหว่างการพัฒนาศูนย์ข้อมูล (Data Center) พร้อมระบบคลาวด์ (Cloud System) เพื่อให้บริการระบบสารสนเทศทั้งหมดของกรุงเทพมหานคร โดยใช้เครือข่ายสื่อสารข้อมูลหลักส่งผ่านข้อมูลไปยังหน่วยงานต่าง ๆ จากปัญหาที่กล่าวถึงข้างต้นจึงมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนระบบเครือข่ายสื่อสารข้อมูลหลักของกรุงเทพมหานคร เพื่อให้มีประสิทธิภาพในการใช้งาน รวดเร็ว มีเสถียรภาพในการรับส่งข้อมูลสำหรับการเรียกใช้บริการระบบสารสนเทศจากศูนย์ข้อมูลและจากระบบคลาวด์ของกรุงเทพมหานคร | เพื่อปรับเปลี่ยนระบบเครือข่ายสื่อสารหลักของกรุงเทพมหานครให้มีประสิทธิภาพ มีเสถียรภาพในการรับส่งข้อมูลระหว่างหน่วยงานของกรุงเทพมหานครและสามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว | จ้างใช้บริการเครือข่ายสื่อสารหลักของกรุงเทพมหานคร เพื่อให้มีประสิทธิภาพในการใช้งาน รวดเร็ว มีเสถียรภาพในการรับส่งข้อมูลของสำนักงานเขต 50 เขต และหน่วยงานส่วนกลาง 19 หน่วยงาน | 75,012,000.00 | 0.00 | สํานักยุทธศาสตร์และประเมินผล | 2019-10-01 00:00:00 | 2020-09-29 00:00:00 | กำลังดำเนินการ | 80.00 |
80 | 7.0.1. ด้านที่ ๗ – การบริหารจัดการเมืองมหานคร : Management Strategy |
3.1.1 | 2563 | ปรับปรุงระบบจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ | ระบบจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ของกรุงเทพมหานครได้เปิดให้บริการแก่บุคลากรของกรุงเทพมหานครตั้งแต่ ปี ๒๕๔๒ เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบันภายใต้ user@bangkok.go.th ซึ่งเป็นช่องทางในการติดต่อสื่อสารกันภายในองค์กร และหน่วยงานต่างๆ ภายนอกองค์กร โดยให้บริการในรูปแบบของ Web Mail และ Client Mail รวมถึงให้พื้นที่ในการจัดเก็บจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ คนละ ๑ GB โดยมีการดูแลบำรุงรักษาและปรับปรุงระบบดังกล่าวเป็นอย่างดีมาโดยตลอดเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพการใช้งานสูงสุดแก่ผู้ใช้งานภายในองค์กร | 1.เพื่อพัฒนาให้เป็นระบบจดหมายอิเล็กทรอนิกส์หลักของกรุงเทพมหานคร รองรับการใช้งาน ของเจ้าหน้าที่ทุกคน มีการใช้งานอย่างกว้างขวาง และแพร่หลายรวมถึงเกิดความสะดวกในการใช้งานจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ของกรุงเทพมหานคร 2.สามารถรองรับการใช้งานในรูปแบบ Web Mail และ Client Mail ได้อย่างมีประสิทธิภาพ 3.สามารถรองรับการใช้งานในรูปแบบ Mobile Application และการเชื่อมต่อกิจกรรมต่าง ๆ เช่น ปฏิทิน ตารางนัดหมายต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ | 1.สามารถรองรับผู้ใช้งานได้ จำนวน 70,000 คน และมีพื้นที่ในการจัดเก็บจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ คนละ ๑๐ GB 2.รูปแบบการใช้งานทั้งในส่วนของ Web Mail และ Client Mail เป็นไปตามมาตรฐานสากล และผู้ใช้สามารถใช้งานได้อย่างสะดวก อีกทั้งง่ายต่อการใช้งาน 3.มีระบบจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ในรูปแบบ Mobile Application เพื่ออำนวยความสะดวก ต่อการใช้งานให้ผู้ใช้งาน สามารถใช้ได้ทุกที่ ทุกเวลา 4.มีระบบ Mail Engine ที่มีประสิทธิภาพ สามารถให้บริการจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ของกรุงเทพมหานครได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีเสถียรภาพ 5.มีระบบป้องกันจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ที่เป็น Spam ได้อย่างต่อเนื่อง ตลอดเวลา | 10,741,000.00 | 0.00 | สํานักยุทธศาสตร์และประเมินผล | 2019-10-01 00:00:00 | 2020-09-29 00:00:00 | กำลังดำเนินการ | 100.00 |
81 | 7.0.1. ด้านที่ ๗ – การบริหารจัดการเมืองมหานคร : Management Strategy |
3.1.1 | 2563 | จัดหาระบบคอมพิวเตอร์ สำหรับปรับปรุงและทดแทนระบบทะเบียนราษฎรและบัตรประจำตัวประชาชน จำนวน 10 เขต และ 8 โรงพยาบาล | ตามนโยบายของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร นโยบายที่ 1 “สะอาด” (CLEAN) : บ้านเมืองสะอาด การบริหารราชการใสสะอาด ภารกิจที่ 1 จัดตั้งศูนย์บริหารราชการฉับไวใสสะอาด Bangkok Fast & Clear หรือ BFC รับคำร้องด้านทะเบียนราษฎรและการอนุญาตต่าง ๆ โดยแบ่งพื้นที่รับคำร้องและพื้นที่พิจารณาออกจากกัน เพื่อลดขั้นตอน ลดระยะเวลา และสร้างกระบวนการที่ใสสะอาด ตามมาตรฐาน พ.ร.บ.อำนวยความสะดวกฯ ในการดำเนินการดังกล่าวฝ่ายทะเบียนของสำนักงานเขต ต้องรับผิดชอบในการให้บริการประชาชนที่จะมาใช้บริการเพิ่มมากขึ้น ประกอบกับ สำนักงานเขต จำนวน 10 สำนักงานเขต ได้แก่ สำนักงานเขตคันนายาวดุสิต บางพลัด พญาไท มีนบุรี ยานนาวา ราษฎร์บูรณะ ลาดกระบัง ลาดพร้าว และห้วยขวาง ระบบคอมพิวเตอร์สำหรับให้บริการด้านทะเบียนราษฎรและบัตรประจำตัวประชาชน จัดซื้อมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2555 มีอายุการใช้งานมากกว่า 7 ปี เสื่อมสภาพ มีการขัดข้องทำให้ไม่สามารถให้บริการประชาชนได้อย่างต่อเนื่อง อีกทั้งระบบคอมพิวเตอร์สำหรับให้บริการด้านทะเบียนราษฎร ณ โรงพยาบาล จำนวน 8 แห่ง ได้แก่ โรงพยาบาลกลางโรงพยาบาลนพรัตนราชธานี คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราชโรงพยาบาลศิริราชปิยมหาราชการุณย์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โรงพยาบาลตำรวจโรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดชและโรงพยาบาลราชวิถีจัดซื้อมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2551 มีอายุการใช้งานมากกว่า 10 ปี เสื่อมสภาพ มีการขัดข้องทำให้ไม่สามารถให้บริการประชาชนได้อย่างต่อเนื่อง | 1.พื่อให้ทั้ง 10 สำนักงานเขต และ 8 โรงพยาบาล มีเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ประกอบที่มีประสิทธิภาพในการให้บริการประชาชนด้านทะเบียนราษฎรและบัตรประจำตัวประชาชน 2.เพื่อให้ประชาชนสามารถใช้บริการได้อย่างต่อเนื่องและเป็นไปตามมาตรฐานของศูนย์บริหารราชการฉับไวใสสะอาด Bangkok Fast & Clearหรือ BFC | สำนักงานเขตทั้ง 10 สำนักงานเขต และ 8 โรงพยาบาล มีเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ประกอบที่มีความทันสมัย และประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น เพื่อให้สามารถให้บริการประชาชนด้านทะเบียนราษฎรและบัตรประจำตัวประชาชน รวมทั้งให้บริการตามมาตรฐานของศูนย์บริหารราชการฉับไวใสสะอาด Bangkok Fast & Clearหรือ BFCได้อย่างต่อเนื่อง สะดวกรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ รวมถึงได้รับความพึงพอใจจากประชาชน | 49,084,000.00 | 0.00 | สํานักยุทธศาสตร์และประเมินผล | 2019-10-01 00:00:00 | 2020-09-29 00:00:00 | กำลังดำเนินการ | 70.00 |
82 | 7.0.1. ด้านที่ ๗ – การบริหารจัดการเมืองมหานคร : Management Strategy |
3.1. | 2563 | ปรับปรุงระบบเครือข่ายสื่อสารภายในของสำนักงานเขต | ปัจจุบันเครือข่ายสื่อสารรับส่งข้อมูลภายในสำนักงานเขต ที่เชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์กระจายสัญญาณรอง (Distribute Switch) ไปยังอุปกรณ์กระจายสัญญาณปลายทาง (Access Switch) ของฝ่ายต่าง ๆ รวมถึงจุดให้บริการประชาชน โดยส่งข้อมูลผ่านตัวกลางที่เป็นสายนำสัญญาณแบบเกลียวคู่ (UTP) ซึ่งส่วนใหญ่ ใช้งานมามากกว่า 10 ปี มีสภาพชำรุดและเสื่อมสภาพ อีกทั้งอุปกรณ์กระจายสัญญาณรอง (Distribute Switch) และอุปกรณ์กระจายสัญญาณปลายทาง(Access Switch) มีอายุการใช้งานมากกว่า 7 ปี เริ่มมีสภาพเก่า มีการชำรุดเสียหายบ่อยขึ้นและล้าหลังในความสามารถทางด้านเทคโนโลยี จากเหตุผลดังกล่าวก่อให้เกิดปัญหาในการใช้ปฏิบัติงานและการบริการประชาชน เช่น การปรับเปลี่ยนหรือเพิ่มจุดเชื่อมต่อเครือข่ายทำได้ลำบาก อุปกรณ์กระจายสัญญาณมีสภาพเก่าและล้าสมัย ทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ ไม่มีเสถียรภาพ ส่งผลกระทบต่อการทำงานในวงกว้างของกรุงเทพมหานครที่ต้องการใช้งานระบบสารสนเทศต่าง ๆ ผ่านระบบเครือข่ายสื่อสารดังนั้นจึงมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนระบบเครือข่ายสื่อสารข้อมูลของกรุงเทพมหานคร เพื่อให้มีประสิทธิภาพในการใช้งานด้านความเร็ว มีเสถียรภาพและเกิดประโยชน์สูงสุด จึงมีความจำเป็นที่ต้องปรับเปลี่ยนระบบเครือข่ายสื่อสารภายในของสำนักงานเขตเพื่อรองรับการใช้งานอย่างบูรณาการ โดยคำนึงถึงความคุ้มค่าในการลงทุนและผลประโยชน์ของประชาชนผู้มารับบริการและความคล่องตัวรวดเร็วของบุคลากรกรุงเทพมหานครในการปฏิบัติงานและให้บริการแก่ประชาชน | พื่อปรับเปลี่ยนเครือข่ายสื่อสารข้อมูลโดยส่งข้อมูลผ่านตัวกลางแบบไร้สายแทนที่ระบบสื่อสารแบบสายนำสัญญาณแบบเดิม และปรับเปลี่ยนอุปกรณ์กระจายสัญญาณรอง (Distribute Switch) และอุปกรณ์กระจายสัญญาณปลายทาง (Access Switch) ให้รองรับการใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพและเสถียรภาพเหมาะสมกับ การให้บริการประชาชนในปัจจุบัน | จัดหาอุปกรณ์เครือข่ายสื่อสารแบบไร้สายให้ครอบคลุมพื้นที่การปฏิบัติงานของแต่ละฝ่าย และจุดให้บริการประชาชน ทั้ง 50 สำนักงานเขต (เอกสารแนบแสดงจุดติดตั้งอุปกรณ์เครือข่ายสื่อสารไร้สาย) | 87,672,000.00 | 0.00 | สํานักยุทธศาสตร์และประเมินผล | 2019-10-01 00:00:00 | 2021-01-29 00:00:00 | กำลังดำเนินการ | 80.00 |
83 | 7.0.1. ด้านที่ ๗ – การบริหารจัดการเมืองมหานคร : Management Strategy |
4.2. | 2563 | กิจกรรมพัฒนาฐานข้อมูลของสำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล | ด้วยสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานครได้กำหนดกรอบการประเมินผล การปฏิบัติราชการของหน่วยงาน ประจำปี พ.ศ. 2563 ในมิติที่ 4 ด้านพัฒนาองค์การ ตัวชี้วัดที่ 4.1 ร้อยละความสำเร็จของการพัฒนาฐานข้อมูล โดยให้หน่วยงานดำเนินการพัฒนาฐานข้อมูล เพื่อให้มีการนำเข้าข้อมูลที่ถูกต้อง ครบถ้วน รวดเร็ว ทันสมัย และมีการแบ่งปันการใช้งานข้อมูล ซึ่งสอดคล้องกับแผนพัฒนาฐานข้อมูลของหน่วยงาน และเกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาการปฏิบัติงานตามภารกิจหลักของหน่วยงาน และภาพรวมของกรุงเทพมหานคร ตามแนวทางการประเมินผลการปฏิบัติราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ที่สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานครกำหนด | เพื่อให้มีการนำเข้าข้อมูลที่ถูกต้อง ครบถ้วน รวดเร็ว ทันสมัย และมีการแบ่งปันการใช้งานข้อมูล ซึ่งสอดคล้องกับแผนพัฒนาฐานข้อมูลของหน่วยงาน และเกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาการปฏิบัติงานตามภารกิจหลักของหน่วยงาน และภาพรวมของกรุงเทพมหานคร ตามแนวทางการประเมินผลการปฏิบัติราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ที่สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานครกำหนด | พัฒนาฐานข้อมูลของสำนักยุทธศาสตร์และประเมินผลตามกรอบที่คณะกรรมการกำกับการพัฒนาฐานข้อมูล ตามกรอบการประเมินผลการปฏิบัติราชการ ประจำปี 2563 กำหนด | 0.00 | 0.00 | สํานักยุทธศาสตร์และประเมินผล | 2019-10-01 00:00:00 | 2020-09-29 00:00:00 | แล้วเสร็จ | 100.00 |
84 | 7.0.1. ด้านที่ ๗ – การบริหารจัดการเมืองมหานคร : Management Strategy |
3.1.1 | 2563 | พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลประสิทธิภาพสูง สำหรับการบริหารจัดการและการบริการ ณ ศูนย์ข้อมูลของกรุงเทพมหานคร | ศูนย์คอมพิวเตอร์ กองควบคุมระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งแต่ละระบบทำงานบนเครื่องแม่ข่ายของตนเองทำให้ค่าใช้จ่ายในการดูแลสูง จากการที่เครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่ายมีจำนวนมาก มีการใช้พลังงานไฟฟ้าสูงและต้องเปิดระบบปรับอากาศอย่างเพียงพอต่อการควบคุมอุณหภูมิห้องให้เหมาะสม ประกอบกับเครื่องแม่ข่ายที่ใช้งานอยู่เดิม มีอายุนานหลายปี มีการเสื่อมสภาพตามอายุการใช้งาน มีความเสี่ยงสูงต่อการชำรุดเสียหาย อีกทั้งไม่สามารถจัดสรรการใช้ทรัพยากรของเครื่องให้เต็มขีดสมรรถนะและยืดหยุ่นเหมาะสมกับสภาวะการใช้งานจริงของแต่ละระบบงานในแต่ละช่วงขณะดังที่ต้องการได้เช่นเดียวกับเทคโนโลยีเครื่องแม่ข่ายในปัจจุบัน ดังนั้นจึงจำเป็นต้อง ทำการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานของระบบเครื่องแม่ข่ายให้ทำงานได้เต็มประสิทธิภาพสูงสุด โดยจัดทำระบบเครื่องแม่ข่ายเสมือน ด้วยเทคโนโลยี Virtualization เพื่อรองรับการนำระบบสารสนเทศต่าง ๆ ของกรุงเทพมหานครติดตั้งระบบเครื่องแม่ข่ายเสมือน โดยมีการใช้งานอุปกรณ์ต่าง ๆ ร่วมกัน ช่วยลดขนาดพื้นที่ในการติดตั้ง จัดการ การใช้งานพื้นที่ที่มีจำกัดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาลดลง ประหยัดพลังงานไฟฟ้าทั้งนี้ยังทำให้การบริหารจัดการเครื่องแม่ข่ายมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น ลดความซับซ้อนในการจัดการ รวมไปถึง สามารถดูข้อมูลเครื่องแม่ข่ายทั้งหมดได้สะดวกและง่ายขึ้นในหน้าจอเดียวกัน ตอบสนองต่อภารกิจพิเศษที่ต้องการ ใช้งานทรัพยากรของระบบเครื่องแม่ข่ายได้ในเวลารวดเร็ว พร้อมทั้งรองรับปัญหาการขาดแคลนเครื่องแม่ข่ายที่นำมาทดแทนเครื่องที่มีอายุการใช้งานนาน มีการเสื่อมสภาพ มีสมรรถนะต่ำไม่สามารถรองรับการใช้งานที่เพิ่มมากขึ้นได้ จึงมีความจำเป็นต้องจัดหาเครื่องแม่ข่ายเสมือน เพื่อเป็นโครงสร้างพื้นฐานรองรับการพัฒนาระบบสารสนเทศของหน่วยงานอย่างเพียงพอและมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้การบริการประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกทั้งเพื่อตอบสนองนโยบายของภาครัฐเพื่อผลักดันสู่ไทยแลนด์ 4.0 | 1.เพื่อให้กรุงเทพมหานครมีเครื่องแม่ข่ายเสมือนที่มีความยืดหยุ่นและสามารถรองรับการทำงานของระบบสารสนเทศได้หลากหลายระบบ 2.เพื่อบริหารจัดการทรัพยากรเครื่องแม่ข่ายเสมือนให้เป็นแบบรวมศูนย์และให้สามารถใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ 3.เพื่อเป็นต้นแบบในการบริหารจัดการการใช้งานพื้นที่ที่มีจำกัดของศูนย์ข้อมูลกรุงเทพมหานคร อย่างมีประสิทธิภาพ และประหยัดการใช้พลังงาน 4.เพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายในการจัดหาเครื่องแม่ข่ายในอนาคต รวมถึง License ของ Software อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง และสามารถรองรับการเติบโตในอนาคต | จัดหาโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลประสิทธิภาพสูงเพิ่มเติมให้กับศูนย์ข้อมูลกรุงเทพมหานครเพื่อให้สามารถรองรับความต้องการใช้งานของหน่วยงานกรุงเทพมหานครในภาพรวม | 89,000,000.00 | 0.00 | สํานักยุทธศาสตร์และประเมินผล | 2019-10-01 00:00:00 | 2020-09-29 00:00:00 | แล้วเสร็จ | 100.00 |
85 | 7.0.1. ด้านที่ ๗ – การบริหารจัดการเมืองมหานคร : Management Strategy |
3.1.1 | 2563 | จัดหาซอฟต์แวร์ลิขสิทธิ์สำหรับศูนย์ข้อมูลของกรุงเทพมหานคร | กรุงเทพมหานครจึงมีความจำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องดำเนินการจัดหาซอฟต์แวร์ลิขสิทธิ์ระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์แม่ข่าย ระบบการจัดการฐานข้อมูลสำหรับศูนย์ข้อมูล พร้อมทั้งระบบตรวจสอบและเฝ้าระวังประสิทธิภาพการให้บริการ อุปกรณ์ และโครงข่ายของศูนย์ข้อมูลขึ้น โดยในการจัดหาซอฟต์แวร์ที่ทุกหน่วยงานของกรุงเทพมหานครจำเป็นต้องใช้ในการดำเนินการระบบสารสนเทศของตนเองทั้งในปัจจุบันและอนาคต เพื่อให้ศูนย์ข้อมูล (Data Center) ของกรุงเทพมหานคร สามารถใช้ให้บริการโครงสร้างพื้นฐานสำหรับศูนย์ข้อมูล (Data Center) ครอบคลุมทั้งในส่วนของฮาร์ดแวร์ (Infrastructure as a Service : IaaS) และซอฟต์แวร์ Platform as a Service (PaaS) ได้อย่างมีประสิทธิภาพเป็นไปตามมาตรฐานสากลและรองรับความต้องการใช้งานของทุกหน่วยงานของกรุงเทพมหานคร | เพื่อให้ศูนย์ข้อมูลของกรุงเทพมหานครมีซอฟต์แวร์ลิขสิทธิ์ที่จำเป็นอย่างยิ่งในการบริหารจัดการศูนย์ข้อมูลได้อย่างเป็นระบบเป็นไปตามมาตรฐานสากลและรองรับความต้องการใช้งานของหน่วยงานในสังกัดกรุงเทพมหานครได้อย่างมีประสิทธิภาพ | 1.จัดหาซอฟต์แวร์ที่มีลิขสิทธิ์ที่จำเป็นต้องใช้ในระบบการบริหารจัดการและการให้บริการเพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานต่าง ๆ ของศูนย์ข้อมูลของกรุงเทพมหานคร 2.จัดหาซอฟต์แวร์ที่เป็นระบบปฏิบัติการเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่ายสำหรับศูนย์ข้อมูล 3.จัดหาซอฟต์แวร์ระบบการจัดการฐานข้อมูลสำหรับศูนย์ข้อมูล 4.จัดหาซอฟต์แวร์ระบบตรวจสอบและเฝ้าระวังประสิทธิภาพการให้บริการ อุปกรณ์และเครือข่ายของศูนย์ข้อมูล 5.จัดหาซอฟต์แวร์สำหรับการบริหารจัดการคอมพิวเตอร์แบบศูนย์กลาง | 84,401,900.00 | 0.00 | สํานักยุทธศาสตร์และประเมินผล | 2019-10-01 00:00:00 | 2020-09-29 00:00:00 | กำลังดำเนินการ | 90.00 |
86 | 7.0.1. ด้านที่ ๗ – การบริหารจัดการเมืองมหานคร : Management Strategy |
4.2. | 2563 | กิจกรรมการเชื่อมโยงการทำงานร่วมกันระหว่างแผนและเทคโนโลยีสารสนเทศ | สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผลได้ทบทวนและจัดทำตัวชี้วัดระดับเมืองตามแผนพัฒนากรุงเทพมหานคร ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2556-2575) ที่สอดคล้องกับบทบาทและภารกิจของกรุงเทพมหานคร สนับสนุนการพัฒนาตามเป้าหมายของการพัฒนาระดับประเทศ เพื่อใช้ในการกำกับ ติดตาม และประเมินผลการพัฒนาที่เหมาะสมกับบริบทของกรุงเทพมหานคร โดยมีการสำรวจข้อมูลสนับสนุนตัวชี้วัดระดับเมือง แต่ยังไม่ได้มีการรวบรวมและพัฒนาให้เป็นระบบที่เชื่อมโยงกับหน่วยงานของกรุงเทพมหานครเพื่อสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการบริหารจัดการแผนได้อย่างเป็นรูปธรรม รวมถึงสำนักยุทธศาสตร์และประเมินผลมีเป้าหมายสำคัญในการยกระดับองค์กรให้เป็นองค์กรชาญฉลาด (Smart Department) ภายในปี 2565 เพื่อรองรับมหานครอัจฉริยะ (Smart City) มีการกำหนดพันธกิจการเป็นศูนย์กลางการบริหารจัดการและพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัลของกรุงเทพมหานคร โดยเฉพาะการเชื่อมโยงระบบฐานข้อมูลด้วยการพัฒนาคลังข้อมูลกลางกรุงเทพมหานคร (Data Warehouse)และระบบภูมิสารสนเทศ (GIS) ดังนั้น เพื่อเป็นการแก้ไขจุดอ่อน โดยใช้ประโยชน์จากประเด็นสำคัญดังกล่าว กองยุทธศาสตร์บริหารจัดการ สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล จึงได้จัดทำกิจกรรมการเชื่อมโยงการทำงานร่วมกันระหว่างแผนและเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ใช้เพื่อจัดทำฐานข้อมูล | 1 เพื่อบูรณาการการทำงานร่วมกันระหว่างภารกิจด้านแผนและด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ 2 เพื่อสร้างเครื่องมือในการเพิ่มประสิทธิภาพบริหารจัดการแผนของสำนักยุทธศาสตร์และประเมินผลและหน่วยงานกรุงเทพมหานคร | การบูรณาการการทำงานร่วมกันระหว่างภารกิจด้านแผนและด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยจัดทำระบบฐานข้อมูลตัวชี้วัดเมืองเพื่อใช้ในการบริหารจัดการแผน 1 ระบบ | 0.00 | 0.00 | สํานักยุทธศาสตร์และประเมินผล | 2019-10-01 00:00:00 | 2020-09-29 00:00:00 | แล้วเสร็จ | 100.00 |
87 | 0.0.0. **** ภารกิจงานประจำของหน่วยงาน **** |
0.0.0 | 2564 | เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการความมั่นคงของศูนย์ข้อมูลและเครือข่ายสื่อสารกรุงเทพมหานคร | กรุงเทพมหานครมีความจำเป็นในการดำเนินการเพิ่มการรักษาความปลอดภัย ให้เป็นไปตามมาตรฐาน และสอดล้องกับลำดับความสำคัญของการดำเนินงานในหน่วยงานได้อย่างเหมาะสม โดยการกำหนดมาตรการความปลอดภัยในระดับสูงเพื่อปกป้องโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยใช้ระบบรักษาความมั่นคงปลอดภัยในระดับองค์กรทั้งในส่วนของระบบป้องกันและตรวจสอบเพื่อลดความ เสี่ยงจากภัยคุกคาม รวมถึงการใช้เทคโนโลยีการเข้ารหัสที่ทันสมัย เพื่อถ่ายโอนข้อมูลระหว่างศูนย์ข้อมูล สร้างความมั่นใจในการรับส่งข้อมูลอย่างปลอดภัย | เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงปลอดภัยของระบบสารสนเทศและยกระดับการให้บริการของกรุงเทพมหานครตามนโยบายของรัฐบาลที่มุ่งเน้นให้หน่วยงานมีการใช้งานเทคโนโลยีในการบริหารราชการและการบริการประชาชนอย่างมีประสิทธิภาพ | 1.มีระบบป้องกันและตรวจสอบภัยคุกคามและช่องโหว่ของระบบสารสนเทศ 2.มีระบบการเข้ารหัสข้อมูลที่ทันสมัยเพื่อเพิ่มความปลอดภัยในการรับส่งข้อมูลของศูนย์ข้อมูลกรุงเทพมหานครกับหน่วยงาน รวมถึงสามารถป้องกันการทําธุรกรรมในระดับแอปพลิเคชัน | 54,150,000.00 | 0.00 | สํานักยุทธศาสตร์และประเมินผล | 2020-10-01 00:00:00 | 2021-09-30 00:00:00 | กำลังดำเนินการ | 50.00 |
88 | 0.0.0. **** ภารกิจงานประจำของหน่วยงาน **** |
0.0.0 | 2564 | ปรับปรุงระบบเครือข่ายสื่อสารภายในของสำนักงานเขต | ปัจจุบันเครือข่ายสื่อสารรับส่งข้อมูลภายในสำนักงานเขต ที่เชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์กระจายสัญญาณรอง (Distribute Switch) ไปยังอุปกรณ์กระจายสัญญาณปลายทาง (Access Switch) ของฝ่ายต่าง ๆ รวมถึงจุดให้บริการประชาชน โดยส่งข้อมูลผ่านตัวกลางที่เป็นสายนำสัญญาณแบบเกลียวคู่ (UTP) ซึ่งส่วนใหญ่ ใช้งานมามากกว่า 10 ปี มีสภาพชำรุดและเสื่อมสภาพ อีกทั้งอุปกรณ์กระจายสัญญาณรอง (Distribute Switch) และอุปกรณ์กระจายสัญญาณปลายทาง(Access Switch) มีอายุการใช้งานมากกว่า 7 ปี เริ่มมีสภาพเก่า มีการชำรุดเสียหายบ่อยขึ้นและล้าหลังในความสามารถทางด้านเทคโนโลยี จากเหตุผลดังกล่าวก่อให้เกิดปัญหาในการใช้ปฏิบัติงานและการบริการประชาชน เช่น การปรับเปลี่ยนหรือเพิ่มจุดเชื่อมต่อเครือข่ายทำได้ลำบาก อุปกรณ์กระจายสัญญาณมีสภาพเก่าและล้าสมัย ทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ ไม่มีเสถียรภาพ ส่งผลกระทบต่อการทำงานในวงกว้างของกรุงเทพมหานครที่ต้องการใช้งานระบบสารสนเทศต่าง ๆ ผ่านระบบเครือข่ายสื่อสารดังนั้นจึงมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนระบบเครือข่ายสื่อสารข้อมูลของกรุงเทพมหานคร เพื่อให้มีประสิทธิภาพในการใช้งานด้านความเร็ว มีเสถียรภาพและเกิดประโยชน์สูงสุด จึงมีความจำเป็นที่ต้องปรับเปลี่ยนระบบเครือข่ายสื่อสารภายในของสำนักงานเขตเพื่อรองรับการใช้งานอย่างบูรณาการ โดยคำนึงถึงความคุ้มค่าในการลงทุนและผลประโยชน์ของประชาชนผู้มารับบริการและความคล่องตัวรวดเร็วของบุคลากรกรุงเทพมหานครในการปฏิบัติงานและให้บริการแก่ประชาชน | พื่อปรับเปลี่ยนเครือข่ายสื่อสารข้อมูลโดยส่งข้อมูลผ่านตัวกลางแบบไร้สายแทนที่ระบบสื่อสารแบบสายนำสัญญาณแบบเดิม และปรับเปลี่ยนอุปกรณ์กระจายสัญญาณรอง (Distribute Switch) และอุปกรณ์กระจายสัญญาณปลายทาง (Access Switch) ให้รองรับการใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพและเสถียรภาพเหมาะสมกับ การให้บริการประชาชนในปัจจุบัน | จัดหาอุปกรณ์เครือข่ายสื่อสารแบบไร้สายให้ครอบคลุมพื้นที่การปฏิบัติงานของแต่ละฝ่าย และจุดให้บริการประชาชน ทั้ง 50 สำนักงานเขต (เอกสารแนบแสดงจุดติดตั้งอุปกรณ์เครือข่ายสื่อสารไร้สาย) | 52,672,000.00 | 0.00 | สํานักยุทธศาสตร์และประเมินผล | 2020-10-01 00:00:00 | 2021-01-29 00:00:00 | แล้วเสร็จ | 100.00 |
89 | 0.0.0. **** ภารกิจงานประจำของหน่วยงาน **** |
.. | 2564 | โครงการพัฒนานวัตกรรมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของหน่วยงาน | สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผลเป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่ขับเคลื่อนการดำเนินการด้านยุทธศาสตร์และเทคโนโลยีสารสนเทศของกรุงเทพมหานครให้สำเร็จลุล่วงเป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ให้เป็นรูปธรรม ประกอบกับมีการกำหนดวิสัยทัศน์ให้เป็น “องค์กรชาญฉลาด (Smart Department) ภายในปี พ.ศ. 2565 เพื่อรองรับมหานครอัจฉริยะ” โดยกำหนดให้ปี พ.ศ. 2564 นำเทคโนโลยีสารสนเทศมาพัฒนาสนับสนุนการปฏิบัติงานตามภารกิจหลักและภารกิจสนับสนุนได้อย่างครอบคลุม และในปี พ.ศ. 2565 จะได้รับการยอมรับในฐานะองค์กรชาญฉลาดต้นแบบของกรุงเทพมหานคร ปัจจุบันสำนักยุทธศาสตร์และประเมินผลจัดทำระบบมาเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานต่าง ๆ ภายใน เช่น ระบบหนังสือเวียนสำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล (D.O.D BMA) ระบบการลาอิเล็กทรอนิกส์ (E-Leave) ตารางการใช้ห้องประชุม และระบบสารบรรณ เป็นต้น แต่มีลักษณะเป็นระบบเฉพาะกิจแยกส่วน โดยไม่ได้มีการบูรณาการและปรับเปลี่ยนขั้นตอนการปฏิบัติให้มีการบริหารงานงานที่มีประสิทธิภาพอย่างแท้จริง ดังนั้นจึงพิจารณาที่จะรวบรวมระบบที่ใช้งานอยู่ที่หลากหลายมาทำการปรับปรุงให้มีความสมบูรณ์มากขึ้น เพิ่มเติมระบบที่มีความจำเป็นนำมาจัดทำเป็นระบบสารสนเทศกลาง เพื่อเข้าสู่การเป็นองค์กรชาญฉลาด (Smart Department) โดยจัดทำ “ โครงการนวัตกรรมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของสำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล เพื่อมุ่งสู่การเป็น Smart Department” เพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์ดังกล่าวต่อไป | 0.00 | 0.00 | สํานักยุทธศาสตร์และประเมินผล | 2021-01-01 00:00:00 | 2022-09-30 00:00:00 | แล้วเสร็จ | 100.00 | ||
90 | 7.0.1. ด้านที่ ๗ – การบริหารจัดการเมืองมหานคร : Management Strategy |
0.0.0 | 2564 | โครงการจัดทำคลังข้อมูลเปิดของย่านรัตนโกสินทร์ (Open Data Platform) (กสศ.) | สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล เล็งเห็นถึงปัญหาในการเปิดเผยข้อมูลเปิดของเมือง (Urban Open Data : UOD) ที่จำเป็นต้องมี จึงขอเสนอโครงการจัดทำคลังข้อมูลเปิดของย่านรัตนโกสินทร์ (Open Data Platform) เพื่อรองรับการให้บริการการใช้ข้อมูลเปิดเผยของกรุงเทพมหานครแก่บุคคล องค์กร ที่มีความสนใจข้อมูล โดยอาศัยฐานข้อมูลจากแบบจำลองสารสนเทศเมืองย่านรัตนโกสินทร์ (CIM) และฐานข้อมูลที่มีความสำคัญต่อการปฏิบัติงานหรือการให้บริการ มุ่งหมายที่จะสร้างช่องทางสำหรับประชาชนทั่วไป ในการเข้าถึงฐานข้อมูลของย่านรัตนโกสินทร์แบบเบ็ดเสร็จในที่เดียว โดยนำเสนออย่างเป็นระบบระเบียบเข้าใจง่ายผ่านจินตทัศน์สารสนเทศ (Data Visualization) ที่ชัดเจน เสริมด้วยการชี้ประเด็นสำคัญ ๆ และสรุปบทวิเคราะห์ในเรื่องเด่น ๆ ของเมือง ทั้งยังให้บริการเฉพาะด้านแก่บุคคล องค์กร ที่มีความสนใจข้อมูลในเชิงลึกอีกด้วย | 1. เพื่อจัดทำคลังข้อมูลเปิดย่านรัตนโกสินทร์ให้เป็นช่องทางในการรับรู้ข้อมูลย่านของประชาชน สำหรับนำไปใช้ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ รวมทั้งการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการเมือง 2. เพื่อให้หน่วยงานของกรุงเทพมหานครมีช่องทางเผยแพร่และรับรู้ข้อมูลของกรุงเทพมหานครที่มีความสำคัญต่อการปฏิบัติงานหรือการให้บริการ 3. พัฒนาแพลตฟอร์มดิจิทัลที่รวบรวมข้อมูลเชิงพื้นที่ขนาดใหญ่ (Geospatial Big Data) ของเมือง ในหลากหลายมิติ โดยแสดงเป็นภาพสามมิติ (Visualization) ของพื้นที่เมือง ร่วมกับแผนภูมิและตาราง | 1. สร้างแพลทฟอร์มคลังข้อมูลของย่านรัตนโกสินทร์ โดยดึงฐานข้อมูลจากแบบจำลองสารสนเทศเมืองย่านรัตนโกสินทร์ (CIM) และฐานข้อมูลที่มีความสำคัญต่อการปฏิบัติงานหรือการให้บริการ 2. สร้างช่องทางการเข้าถึงคลังข้อมูลย่านของประชาชน เช่น เว็บไซต์ และเพจในสื่อสังคมออนไลน์ 3. นำเสนอประเด็นสำคัญของเมืองและบทวิเคราะห์เรื่องเด่นต่าง ๆ ของเมือง 4. ให้บริการเฉพาะด้านแก่บุคคล องค์กรที่มีความสนใจข้อมูลในเชิงลึก | 0.00 | 0.00 | สํานักยุทธศาสตร์และประเมินผล | 2020-10-01 00:00:00 | 2021-09-30 00:00:00 | แล้วเสร็จ | 100.00 |
91 | 7.0.1. ด้านที่ ๗ – การบริหารจัดการเมืองมหานคร : Management Strategy |
0.0.0 | 2564 | โครงการศึกษาและวิเคราะห์สถาปัตยกรรมองค์กรด้านเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับกระบวนการทำงานตามภารกิจหลักของกรุงเทพมหานคร ระยะที่ 1 | สถานการณ์การดำเนินการของหน่วยงานในปัจจุบันมีการปฏิบัติงานหลายขั้นตอนใช้กระดาษเป็นจำนวนมากโปรแกรมการปฏิบัติงานไม่ครอบคลุมถึงกระบวนการตามภารกิจที่สำคัญ ข้อมูลมีการจัดเก็บซ้ำซ้อนและขาดผู้รับผิดชอบสำหรับข้อมูลที่ใช้งานร่วมกันและแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารกรุงเทพมหานคร ระยะ 5 ปี (พ.ศ.2561-2565) เสนอแนวทางเพื่อการบริหารยุทธศาสตร์องค์กรเพื่อให้เกิดการบูรณาการระหว่างแผนแม่บทฯ และภารกิจขององค์กรในด้านต่างๆ ซึ่งจะช่วยให้การขับเคลื่อนองค์กรไปสู่เป้าหมายตามยุทธศาสตร์ที่กำหนดไว้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังเป็นการบริหารจัดการทรัพยากรในด้านต่างๆ ได้อย่างคุ้มค่า อาทิ การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานการบริหารทรัพยากรบุคลากรเป็นต้น เพื่อให้รองรับกับการพัฒนารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์และสังคมดิจิทัลเพื่อนำไปสู่การพัฒนาหน่วยงานให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลและแผนพัฒนาประเทศ การขับเคลื่อนของกรุงเทพมหานครในปัจจุบันมีการพึ่งพาเทคโนโลยีดิจิทัลที่มีประสิทธิภาพ แต่มีปัญหาส่วนใหญ่คือ การขาดความเชื่อมโยงระหว่างเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology) กับพันธกิจองค์กร (Business) ซึ่งเป็นผลก่อให้เกิดความล้มเหลวของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในองค์กรอาทิ ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่จัดซื้อด้วยราคาแพงแต่ใช้งานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ ไม่สอดคล้องกับกระบวนการทางพันธกิจ (Business Process) ไม่ตอบโจทย์ วิสัยทัศน์ทางธุรกิจ (Business Vision)ขององค์กร รวมทั้งระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมีความซับซ้อนเกินความจำเป็น สถาปัตยกรรมองค์กร (Enterprise Architecture: EA) เป็นแนวความคิดใหม่ที่บูรณาการระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ากับพันธกิจขององค์กรอย่างเป็นระบบตั้งแต่การกำหนดโจทย์การบริการการวิเคราะห์สถาปัตยกรรมธุรกิจ (Business Architecture) เพื่อออกแบบการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศให้เชื่อมโยงกับการดำเนินงานได้อย่างสอดคล้องและมีประสิทธิภาพทั้งในระดับ Architecture ไปจนถึง Roadmapขององค์กร เพื่อผลักดันให้องค์กรสามารถดำเนินการตามนโยบายและวิสัยทัศน์ขององค์กรที่กำหนดไว้ | 1. เพื่อเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจความสำคัญของสถาปัตยกรรมองค์กรที่มีผลต่อการดำเนินงานของกรุงเทพมหานคร 2. เพื่อมุ่งเน้นไปสู่การเป็นองค์กรที่ใช้ข้อมูล เพื่อการตัดสินใจในการทำงาน (Data Driven Organization) และลดการใช้กระดาษให้มากที่สุด 3. เพื่อกำหนดกระบวนการปฏิบัติงานและการบริหารจัดการที่มีมาตรฐาน และรองรับการเปลี่ยนแปลงได้อย่างมีประสิทธิภาพ 4. เพื่อให้การบริหารจัดการข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบ Single Source โดยมีการกำหนด Data Operation และ Data Governance ที่เหมาะสม 5. เพื่อเป็นแนวทางกำหนดกรอบการพัฒนาแอปพลิเคชันที่เน้นการเชื่อมโยงระบบผ่านAPIเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูล รวมถึงการเปิดข้อมูลให้กับ Stakeholder ผ่าน Public API | 1.รายงานสรุปผลการศึกษา เพื่อคัดเลือกกรอบแนวทางที่เหมาะสมใช้เป็นกรอบแนวทางในการพัฒนาสถาปัตยกรรมองค์กรของกรุงเทพมหานคร ทั้งในส่วนของกรอบแนวคิดสถาปัตยกรรมองค์กร ที่เหมาะสม และจัดทำรายละเอียดข้อมูลสถาปัตยกรรมองค์กรในแต่ละด้านที่สอดคล้องตามกระบวนการโดยระบุถึงข้อมูลหลักของกระบวนการแหล่งที่มาของข้อมูลและผู้ใช้งานข้อมูล 2. การบูรณาการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ากับกระบวนงานตามภารกิจอย่างเป็นระบบเพื่อสร้างสถาปัตยกรรมการจัดการองค์กรที่พร้อมสู่การเติบโตอย่างต่อเนื่องและมั่นคงไปสู่การปฏิบัติ 3. การบูรณาการเทคโนโลยีสารสนเทศกับภารกิจอย่างเป็นระบบไปสู่การปฏิบัติ | 3,190,000.00 | 3,095,400.00 | สํานักยุทธศาสตร์และประเมินผล | 2020-10-01 00:00:00 | 2021-09-30 00:00:00 | แล้วเสร็จ | 100.00 |
92 | 7.0.1. ด้านที่ ๗ – การบริหารจัดการเมืองมหานคร : Management Strategy |
0.0.0 | 2564 | จัดหาระบบคอมพิวเตอร์ สำหรับปรับปรุงและทดแทนระบบทะเบียนราษฎรและบัตรประจำตัวประชาชน จำนวน 10 สำนักงานเขต | ตามนโยบายของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร นโยบายที่ 1 “สะอาด” (CLEAN) :บ้านเมืองสะอาดการบริหารราชการใสสะอาด ภารกิจที่ 1 จัดตั้งศูนย์บริหารราชการฉับไวใสสะอาด Bangkok Fast & Clear หรือ BFC รับคำร้องด้านทะเบียนราษฎรและการอนุญาตต่าง ๆ โดยแบ่งพื้นที่รับคำร้องและพื้นที่พิจารณาออกจากกัน เพื่อลดขั้นตอน ลดระยะเวลา และสร้างกระบวนการที่ใสสะอาด ตามมาตรฐาน พ.ร.บ.อำนวยความสะดวกฯ ในการดำเนินการดังกล่าวฝ่ายทะเบียนของสำนักงานเขต ต้องรับผิดชอบในการให้บริการประชาชนที่จะมาใช้บริการเพิ่มมากขึ้น ประกอบกับ สำนักงานเขต จำนวน 10 สำนักงานเขต ได้แก่ สำนักงานเขตบางกอกน้อย หลักสี่ ปทุมวัน วัฒนา คลองเตย หนองจอก ตลิ่งชัน ธนบุรี ทุ่งครุ และสวนหลวง ระบบคอมพิวเตอร์สำหรับให้บริการ ด้านทะเบียนราษฎรและบัตรประจำตัวประชาชน จัดซื้อมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2555 มีอายุการใช้งานมากกว่า 7 ปี เสื่อมสภาพ มีการขัดข้องทำให้ไม่สามารถให้บริการประชาชนได้อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้การให้บริการระบบทะเบียนราษฎรและบัตรประจำตัวประชาชนของกรุงเทพมหานคร สามารถให้บริการประชาชนได้อย่างต่อเนื่อง สะดวกรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ รวมถึงสามารถสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับกรุงเทพมหานครได้ อีกทั้งประชาชนได้รับความสะดวกรวดเร็ว ในการเข้ารับบริการจึงมีความจำเป็นต้อง จัดหาระบบคอมพิวเตอร์และทดแทนระบบทะเบียนราษฎรและบัตรประจำตัวประชาชน จำนวน 10 สำนักงานเขต ต่อไป | 1 เพื่อให้ทั้ง 10 สำนักงานเขต มีเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ประกอบที่มีประสิทธิภาพ ในการให้บริการประชาชนด้านทะเบียนราษฎรและบัตรประจำตัวประชาชน 2 เพื่อให้ประชาชนสามารถใช้บริการได้อย่างต่อเนื่องและเป็นไปตามมาตรฐานของศูนย์บริหารราชการฉับไวใสสะอาด Bangkok Fast & Clear หรือ BFC | สำนักงานเขตทั้ง 10 สำนักงานเขต มีเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ประกอบที่มีความทันสมัย และประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น เพื่อให้สามารถให้บริการประชาชนด้านทะเบียนราษฎรและบัตรประจำตัวประชาชนได้อย่างต่อเนื่อง สะดวกรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ รวมถึงได้รับความพึงพอใจจากประชาชน | 47,240,900.00 | 0.00 | สํานักยุทธศาสตร์และประเมินผล | 2020-10-01 00:00:00 | 2021-09-30 00:00:00 | แล้วเสร็จ | 100.00 |
93 | 7.0.1. ด้านที่ ๗ – การบริหารจัดการเมืองมหานคร : Management Strategy |
0.0.0 | 2564 | กิจกรรมการตรวจสอบความคืบหน้าของการติดตั้งระบบสารสนเทศภายในศูนย์ข้อมูลกรุงเทพมหานคร | 1 | 1 | 1 | 0.00 | 0.00 | สํานักยุทธศาสตร์และประเมินผล | 2020-10-01 00:00:00 | 2021-09-30 00:00:00 | กำลังดำเนินการ | 60.00 |
94 | 7.0.1. ด้านที่ ๗ – การบริหารจัดการเมืองมหานคร : Management Strategy |
.. | 2564 | โครงการพัฒนาระบบศูนย์รับคำขออนุญาตของกรุงเทพมหานคร (BMA OSS) | ตามพระราชบัญญัติการอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ พ.ศ.2558 ซึ่งกำหนดให้หน่วยงานราชการทุกแห่งที่เกี่ยวข้องกับการคำขออนุญาต/บริการจัดตั้งธุรกิจ (Doing Business Platform)รวมถึงกรุงเทพมหานครต้องพัฒนาระบบฯ สำหรับรองรับการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ (Open Data) กับทางศูนย์รับคำขออนุญาตกลางของสำนักงาน ก.พ.ร. และหน่วยงานภาครัฐระหว่างกัน เพื่ออำนวยความสะดวกให้ประชาชนในการติดต่อกับทางราชการ ในฐานะเป็นหน่วยงานให้บริการประชาชน และเป็นส่วนหนึ่งในการพิจารณาออกใบอนุญาต/บริการ โดยรับหน้าที่เป็นหน่วยงานรับข้อมูลจากประชาชนที่ติดต่อมาขอรับใบอนุญาต/บริการ ตลอดจนรับ - ส่งส่งต่อข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์กับศูนย์รับคำขออนุญาตกลางของสำนักงาน ก.พ.ร. ผ่านระบบเชื่อมโยง เพื่อส่งต่อข้อมูลของประชาชนให้กับหน่วยงานในสังกัดของกรุงเทพมหานคร ให้สามารถดำเนินการในภารกิจที่เกี่ยวข้องได้สะดวกรวดเร็ว จึงมีความจำเป็นต้องพัฒนาระบบสารสนเทศกลาง สำหรับเป็นศูนย์รับคำขออนุญาตของกรุงเทพหานคร เพื่อบริหารจัดการข้อมูลให้มีประสิทธิภาพ รองรับภารกิจที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการประชาชนตามพระราชบัญญัติฯ ที่กำหนด รวมถึงประชาชนสามารถติดตาม (Monitoring / Tracking) การออกใบอนุญาต/บริการ พร้อมระบบแจ้งเตือน (Alert) เพื่อรายงานสถานะการดำเนินการ และผลการพิจารณาการออกใบอนุญาต/บริการ ให้ประชาชนได้รับทราบ | 1. เพื่อพัฒนาระบบสารสนเทศสำหรับรองรับคำขอใบอนุญาต/บริการของประชาชนที่จะดำเนินการผ่านทางสำนักงานเขต 50 เขต และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 2. เพื่อพัฒนาระบบเชื่อมโยงข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์กับศูนย์รับคำขออนุญาตกลางของสำนักงาน ก.พ.ร. และหน่วยงานในสังกัดกรุงเทพมหานครได้แบบเบ็ดเสร็จ 3. เพื่อให้ประชาชนสามารถติดตามสถานะการดำเนินการ และรับทราบผลการพิจารณาใบอนุญาต/บริการ ผ่านทางระบบอิเล็กทรอนิกส์และระบบออนไลน์ | 1. กรุงเทพมหานครมีระบบสารสนเทศสำหรับรองรับคำขอใบอนุญาต/บริการของประชาชนที่จะดำเนินการผ่านทางสำนักงานเขต 50 เขต รวมถึงมีระบบเชื่อมโยงข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อรับ-ส่งข้อมูลของประชาชนที่มาติดต่อกับทางราชการ ตลอดจนหลักฐานในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ กับศูนย์รับคำขออนุญาตของสำนักงาน ก.พ.ร. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับประชาชนในการติดต่อกับทางราชการแบบเบ็ดเสร็จครบวงจร 2. ประชาชนสามาถติดตามสถานะการดำเนินการการขอใบอนุญาต/บริการของประชาชนได้สะดวก รวดเร็ว โดยดำเนินการผ่านทางระบบอิเล็กทรอนิกส์แบบออนไลน์ ของกรุงเทพมหานคร | 83,237,500.00 | 0.00 | สํานักยุทธศาสตร์และประเมินผล | 2019-10-01 00:00:00 | 2022-09-30 00:00:00 | กำลังดำเนินการ | 50.00 |
95 | 7.0.1. ด้านที่ ๗ – การบริหารจัดการเมืองมหานคร : Management Strategy |
.. | 2564 | โครงการพัฒนาระบบบริหารจัดการเพื่อวิเคราะห์ฐานข้อมูลขนาดใหญ่ | ปัญหาและสถานการณ์ต่างๆ ในกรุงเทพมหานครมีหลากหลายด้าน หลากหลายมุมมองได้ก่อตัวและขยายวงกว้างมากขึ้น ส่งผลกระทบโดยตรงต่อการบริหารจัดการเมือง รวมไปถึงการกระทำ หรือการแสดงความคิดเห็น ตลอดถึงการรายงานสถานการณ์ต่างๆ การขอความช่วยเหลือ และการร้องเรียนในเรื่องต่างๆ ทั้งที่เป็นเรื่อง ในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต จึงมีความจำเป็นอย่างเร่งด่วนที่จะต้องพัฒนาระบบบริหารจัดการเพื่อวิเคราะห์ฐานข้อมูลขนาดใหญ่จากทั้งระบบฐานข้อมูลของกรุงเทพมหานครและข้อมูลจากเครือข่ายทางสังคม (Social Network) เพื่อความมั่นคงและความสงบเรียบร้อยของสังคมและประชาชน รวมทั้งส่วนที่เพิ่มเติมในระบบคลังข้อมูลกลางกรุงเทพมหานคร ด้านวัฒนธรรม ด้านคุณภาพชีวิต และด้านสวัสดิการสังคม เพื่อพัฒนาระบบสารสนเทศพื้นฐานที่ยังไม่มีอยู่แต่จำเป็นต่อการสนับสนุนคลังข้อมูลกลาง และเพิ่มความสามารถในการปฏิบัติหน้าที่หลักเพื่อตอบสนองนโยบายรัฐบาล และการบริหารจัดการเมืองกรุงเทพฯ เพื่อทำให้เมืองกรุงเทพฯ ก้าวสู่การเป็น “มหานครแห่งเอเชีย” ในปี พ.ศ. ๒๕๗๕ การพัฒนาระบบบริหารจัดการเพื่อวิเคราะห์ฐานข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) หมายถึง การเก็บข้อมูลที่ได้มาทำการวิเคราะห์โดยใช้เครื่องในการเก็บข้อมูลที่มีขนาด (Volume) ความหลากหลาย (Variety) และความเร็ว (Velocity) ของข้อมูลที่สูงมาก และสิ่งสำคัญคือคุณค่าของข้อมูล (Value) ที่เป็นแบบที่มีโครงสร้าง (Structure) และไม่มีโครงสร้าง (Unstructure) ให้อยู่ในรูปแบบที่สามารถนำไปวิเคราะห์ได้ โดยการวาง Schema ให้เหมาะสมและตรงตามโจทย์ที่ต้องการได้รับคำตอบ ดังนั้นจึงมีความจำเป็นต้องจัดทำโครงการพัฒนาระบบบริหารจัดการเพื่อวิเคราะห์ฐานข้อมูลขนาดใหญ่ เพื่อเป็นการเพิ่มศักยภาพของกรุงเทพมหานครให้พัฒนาไปสู่องค์กรสมัยใหม่ที่มีการบริหารงาน ด้วยข้อมูลสารสนเทศที่มีคุณภาพ มีความหลากหลายครอบคลุมรอบด้าน สามารถนำมาใช้ในการวางแผนและบริหารงานในเชิงรุกได้ | 1. เพื่อค้นหาข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) และนำมาวิเคราะห์ พยากรณ์ และคาดการณ์เหตุการณ์ต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นในกรุงเทพฯ 2. ระบบจัดเก็บข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลจาก Social Network เพื่อใช้ในการบริหารจัดการ เมืองกรุงเทพฯ | 1. เพื่อรวบรวม และวิเคราะห์ฐานข้อมูลขนาดใหญ่ให้มีความทันสมัยและมีประสิทธิภาพ 2. ระบบสามารถวิเคราะห์ พยากรณ์และคาดการณ์เรื่องต่างๆ ในอดีตและปัจจุบันได้ 3. ระบบสามารถครอบคลุมการดำเนินงานตามภารกิจของกรุงเทพมหานครอย่างมีประสิทธิภาพ | 87,200,000.00 | 0.00 | สํานักยุทธศาสตร์และประเมินผล | 2018-10-01 00:00:00 | 2022-09-30 00:00:00 | ชะลอ | 48.00 |
96 | 7.0.1. ด้านที่ ๗ – การบริหารจัดการเมืองมหานคร : Management Strategy |
.. | 2564 | โครงการพัฒนาระบบบริการภาครัฐ | ในฐานะกรุงเทพมหาครเป็นหน่วยงานให้บริการประชาชน และเป็นส่วนหนึ่งของศูนย์รับคำขออนุญาต ประกอบปัจจุบันอยู่ในยุคของสังคมไร้เงินสด (Cashless Society) จึงเห็นควรจัดหาหรือพัฒนาระบบสารสนเทศสำหรับสนับสนุนการรับ-ส่งใบอนุญาตที่ผ่านการอนุมัติแล้ว ตลอดจนปรับปรุงระบบการรับชำระเงินที่มีอยู่ในปัจจุบันของกรุงเทพมหานครให้มีความทันสมัยและหลากหลายมากยิ่งขึ้น เพื่อรองรับการเป็นศูนย์รับคำขอของกรุงเทพมหานคร (BMA OSS) อย่างเต็มรูปแบบและทันสมัยโดยผ่านการให้บริการของธนาคาร หรือตัวแทนรับชำระเงิน เพื่อให้ประชาชนหรือผู้ประกอบการที่มาติดต่อขอรับชำระค่าธรรมเนียมจากค่าบริการในการออกใบอนุญาต ไม่ต้องเสียเวลาเดินทางมายังหน่วยงานกรุงเทพมหานคร สามารถชำระเงินได้ตลอด 24 ชั่วโมง | 1. เพื่อเพิ่มช่องทางให้ประชาชนหรือผู้ประกอบการได้รับความสะดวกรวดเร็วในการติดต่อหรือ การทำธุรกรรมทางด้านการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ได้อย่างเต็มรูปแบบหลากหลายช่องทาง รวมถึงรองรับการรับชำระเงินค่าธรรมเนียมได้ตลอด 24 ชั่วโมง โดยไม่จำเป็นต้องเดินทางมาติดต่อขอชำระค่าธรรมเนียมใบอนุญาตที่หน่วยงานหรือสำนักงานเขตของกรุงเทพมหานคร 2. เพื่ออำนวยความสะดวกให้ประชาชนหรือผู้ประกอบการไม่ต้องเดินทางมาติดต่อขอรับใบอนุญาตที่ผ่านการอนุมัติแล้ว โดยสามารถรับเอกสารใบสำคัญหรือใบอนุญาตได้จากระบบจดหมายอิเล็กทรอนิกส์หรือระบบขนส่งอัจฉริยะของภาคเอกชน 3. เพื่ออำนวยความสะดวกให้หน่วยงานหรือผู้ที่เกี่ยวข้อง สามารถสอบทานตัวเลขค่าธรรมเนียมและค่าภาษีได้สะดวกรวดเร็วและถูกต้องทันการณ์ โดยสามารถสรุปข้อมูลรายรับ พร้อมส่งต่อข้อมูลไปยังทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง สำหรับใช้ประกอบการตัดสินใจในด้านการวางแผนงบประมาณรายรับได้อย่างถูกต้องแม่นยำ | 1. อำนวยความสะดวกให้กับประชาชนหรือผู้ประกอบการ โดยมีทางเลือกในการชำระเงินค่าธรรมเนียม ค่าภาษี ไม่ต้องถือเงินสด และยังรองรับการรับชำระเงินได้ตลอด 24 ชั่วโมงผ่านช่องทางหลากหลาย รวมถึงไม่ต้องเดินทางมายังหน่วยงานหรือสำนักงานเขตของกรุงเทพมหานครเพื่อมาติดต่อขอรับใบอนุญาตที่ผ่านมาอนุมัติแล้ว 2. เพื่อรองรับการบูรณาข้อมูลการรับชำระเงินของกรุงเทพมหานครกับหน่วยงานภาครัฐต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องในรูปแบบรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (e-Government) เพื่อประโยชน์ในการวางแผนการบริหารจัดการงบประมาณภาครัฐได้อย่างแม่นยำถูกต้อง | 40,100,000.00 | 0.00 | สํานักยุทธศาสตร์และประเมินผล | 2019-10-01 00:00:00 | 2021-09-30 00:00:00 | กำลังดำเนินการ | 60.00 |
97 | 7.0.1. ด้านที่ ๗ – การบริหารจัดการเมืองมหานคร : Management Strategy |
.. | 2564 | โครงการพัฒนาระบบยืนยันและตรวจสอบตัวบุคคลในระบบดิจิทัล | การดำเนินธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ของกรุงเทพมหานครจำเป็นต้องกำหนดนโยบายและวางแนวทางปฏิบัติทางด้านความปลอดภัยในระบบสารสนเทศของกรุงเทพมหาครใหม่ เพื่อให้เป็นไปตามพระราชกฤษฎีกากำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐ พ.ศ. 2549ด้วยการนำเทคโนโลยีระบบรหัสแบบกุญแจสาธารณะ หรือกุญแจสมมาตร ที่ประกอบด้วยกุญแจส่วนตัว (Private key) และกุญแจสาธารณะ (Public key) ซึ่งเป็นที่ยอมรับในระดับสากล พร้อมด้วยการใช้โปรโตคอลSecure Socket LayerหรือSSL มาประยุกต์ใช้ในการเข้ารหัส และการถอดรหัส (Encryption) ในระหว่างขั้นตอนการรับ–ส่งข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต เพื่อเป็นการสร้างความมั่นใจและเชื่อมั่นได้ว่า เอกสารสำคัญหรือข้อมูลของทางราชการยังคงได้รับการปกป้องและยังคงเป็นความลับ (Data Confidentiality)จากผู้ที่ไม่ได้รับอนุญาตหรือผู้ไม่หวังดีเข้ามาอ่าน หรือขโมยข้อมูลระหว่างการดำเนินธุรกรรมได้ | 1. เพื่อพัฒนาระบบสารสนเทศสำหรับรองรับการออกใบอนุญาตในรูปแบบเอกสารอิเล็กทรอนิกส์และการทำธุรกรรมของกรุงเทพมหานครที่มีความน่าเชื่อถือและมีผลถูกต้องตามกฎหมาย 2 เพื่อสร้างความเชื่อถือให้กับเว็บไซต์ของกรุงเทพมหานครในด้านการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลระหว่างการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์หรือประชาชนที่มาติดต่อขอรับบริการกับกรุงเทพมหานครผ่านช่องทางอินเตอร์เน็ต 3. เพื่อบ่งบอกและยืนยันตัวบุคคลในโลกดิจิทัล สำหรับรองรับการทำธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์เพื่อให้มีผลตามกฎหมาย | 1. ประชาชนที่มาติดต่อขอรับบริการหรือหน่วยงานภาครัฐที่ร่วมทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์กับกรุงเทพมหานครผ่านช่องทางอินเตอร์เน็ต มีความเชื่อมั่นในด้านการรักษาความลับของข้อมูล ตลอดจนความถูกต้องครบถ้วนของข้อมูล แม้อาจมีการถูกดักจับข้อมูลระหว่างการทำธุรกรรม 2. เป็นการยกระดับการรักษาความปลอดภัยของข้อมูล ในขั้นตอนการรับ-ส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ผ่านช่องทางอินเตอร์เน็ต ตลอดจนสามารถยืนยันและตรวจสอบตัวบุคคลในระบบดิจิทัลได้ | 47,000,000.00 | 0.00 | สํานักยุทธศาสตร์และประเมินผล | 2019-10-01 00:00:00 | 2021-09-30 00:00:00 | กำลังดำเนินการ | 50.00 |
98 | 0.0.0. **** ภารกิจงานประจำของหน่วยงาน **** |
.. | 2565 | โครงการพัฒนาระบบศูนย์รับคำขออนุญาตของกรุงเทพมหานคร (BMA OSS) | ตามพระราชบัญญัติการอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ พ.ศ.2558 ซึ่งกำหนดให้หน่วยงานราชการทุกแห่งที่เกี่ยวข้องกับการคำขออนุญาต/บริการจัดตั้งธุรกิจ (Doing Business Platform)รวมถึงกรุงเทพมหานครต้องพัฒนาระบบฯ สำหรับรองรับการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ (Open Data) กับทางศูนย์รับคำขออนุญาตกลางของสำนักงาน ก.พ.ร. และหน่วยงานภาครัฐระหว่างกัน เพื่ออำนวยความสะดวกให้ประชาชนในการติดต่อกับทางราชการ ในฐานะเป็นหน่วยงานให้บริการประชาชน และเป็นส่วนหนึ่งในการพิจารณาออกใบอนุญาต/บริการ โดยรับหน้าที่เป็นหน่วยงานรับข้อมูลจากประชาชนที่ติดต่อมาขอรับใบอนุญาต/บริการ ตลอดจนรับ - ส่งส่งต่อข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์กับศูนย์รับคำขออนุญาตกลางของสำนักงาน ก.พ.ร. ผ่านระบบเชื่อมโยง เพื่อส่งต่อข้อมูลของประชาชนให้กับหน่วยงานในสังกัดของกรุงเทพมหานคร ให้สามารถดำเนินการในภารกิจที่เกี่ยวข้องได้สะดวกรวดเร็ว จึงมีความจำเป็นต้องพัฒนาระบบสารสนเทศกลาง สำหรับเป็นศูนย์รับคำขออนุญาตของกรุงเทพหานคร เพื่อบริหารจัดการข้อมูลให้มีประสิทธิภาพ รองรับภารกิจที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการประชาชนตามพระราชบัญญัติฯ ที่กำหนด รวมถึงประชาชนสามารถติดตาม (Monitoring / Tracking) การออกใบอนุญาต/บริการ พร้อมระบบแจ้งเตือน (Alert) เพื่อรายงานสถานะการดำเนินการ และผลการพิจารณาการออกใบอนุญาต/บริการ ให้ประชาชนได้รับทราบ | 1. เพื่อพัฒนาระบบสารสนเทศสำหรับรองรับคำขอใบอนุญาต/บริการของประชาชนที่จะดำเนินการผ่านทางสำนักงานเขต 50 เขต และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 2. เพื่อพัฒนาระบบเชื่อมโยงข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์กับศูนย์รับคำขออนุญาตกลางของสำนักงาน ก.พ.ร. และหน่วยงานในสังกัดกรุงเทพมหานครได้แบบเบ็ดเสร็จ 3. เพื่อให้ประชาชนสามารถติดตามสถานะการดำเนินการ และรับทราบผลการพิจารณาใบอนุญาต/บริการ ผ่านทางระบบอิเล็กทรอนิกส์และระบบออนไลน์ | 1. กรุงเทพมหานครมีระบบสารสนเทศสำหรับรองรับคำขอใบอนุญาต/บริการของประชาชนที่จะดำเนินการผ่านทางสำนักงานเขต 50 เขต รวมถึงมีระบบเชื่อมโยงข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อรับ-ส่งข้อมูลของประชาชนที่มาติดต่อกับทางราชการ ตลอดจนหลักฐานในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ กับศูนย์รับคำขออนุญาตของสำนักงาน ก.พ.ร. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับประชาชนในการติดต่อกับทางราชการแบบเบ็ดเสร็จครบวงจร 2. ประชาชนสามาถติดตามสถานะการดำเนินการการขอใบอนุญาต/บริการของประชาชนได้สะดวก รวดเร็ว โดยดำเนินการผ่านทางระบบอิเล็กทรอนิกส์แบบออนไลน์ของกรุงเทพมหานคร | 83,237,500.00 | 0.00 | สํานักยุทธศาสตร์และประเมินผล | 2019-10-01 00:00:00 | 2023-09-30 00:00:00 | กำลังดำเนินการ | 65.00 |
99 | 0.0.0. **** ภารกิจงานประจำของหน่วยงาน **** |
.. | 2565 | โครงการพัฒนาระบบบริการภาครัฐ | ในฐานะกรุงเทพมหาครเป็นหน่วยงานให้บริการประชาชน และเป็นส่วนหนึ่งของศูนย์รับคำขออนุญาต ประกอบปัจจุบันอยู่ในยุคของสังคมไร้เงินสด (Cashless Society) จึงเห็นควรจัดหาหรือพัฒนาระบบสารสนเทศสำหรับสนับสนุนการรับ-ส่งใบอนุญาตที่ผ่านการอนุมัติแล้ว ตลอดจนปรับปรุงระบบการรับชำระเงินที่มีอยู่ในปัจจุบันของกรุงเทพมหานครให้มีความทันสมัยและหลากหลายมากยิ่งขึ้น เพื่อรองรับการเป็นศูนย์รับคำขอของกรุงเทพมหานคร (BMA OSS) อย่างเต็มรูปแบบและทันสมัยโดยผ่านการให้บริการของธนาคาร หรือตัวแทนรับชำระเงิน เพื่อให้ประชาชนหรือผู้ประกอบการที่มาติดต่อขอรับชำระค่าธรรมเนียมจากค่าบริการในการออกใบอนุญาต ไม่ต้องเสียเวลาเดินทางมายังหน่วยงานกรุงเทพมหานคร สามารถชำระเงินได้ตลอด 24 ชั่วโมง | 1. เพื่อเพิ่มช่องทางให้ประชาชนหรือผู้ประกอบการได้รับความสะดวกรวดเร็วในการติดต่อหรือ การทำธุรกรรมทางด้านการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ได้อย่างเต็มรูปแบบหลากหลายช่องทาง รวมถึงรองรับการรับชำระเงินค่าธรรมเนียมได้ตลอด 24 ชั่วโมง โดยไม่จำเป็นต้องเดินทางมาติดต่อขอชำระค่าธรรมเนียมใบอนุญาตที่หน่วยงานหรือสำนักงานเขตของกรุงเทพมหานคร 2. เพื่ออำนวยความสะดวกให้ประชาชนหรือผู้ประกอบการไม่ต้องเดินทางมาติดต่อขอรับใบอนุญาตที่ผ่านการอนุมัติแล้ว โดยสามารถรับเอกสารใบสำคัญหรือใบอนุญาตได้จากระบบจดหมายอิเล็กทรอนิกส์หรือระบบขนส่งอัจฉริยะของภาคเอกชน 3. เพื่ออำนวยความสะดวกให้หน่วยงานหรือผู้ที่เกี่ยวข้อง สามารถสอบทานตัวเลขค่าธรรมเนียมและค่าภาษีได้สะดวกรวดเร็วและถูกต้องทันการณ์ โดยสามารถสรุปข้อมูลรายรับ พร้อมส่งต่อข้อมูลไปยังทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง สำหรับใช้ประกอบการตัดสินใจในด้านการวางแผนงบประมาณรายรับได้อย่างถูกต้องแม่นยำ | 1. อำนวยความสะดวกให้กับประชาชนหรือผู้ประกอบการ โดยมีทางเลือกในการชำระเงินค่าธรรมเนียม ค่าภาษี ไม่ต้องถือเงินสด และยังรองรับการรับชำระเงินได้ตลอด 24 ชั่วโมงผ่านช่องทางหลากหลาย รวมถึงไม่ต้องเดินทางมายังหน่วยงานหรือสำนักงานเขตของกรุงเทพมหานครเพื่อมาติดต่อขอรับใบอนุญาตที่ผ่านมาอนุมัติแล้ว 2. เพื่อรองรับการบูรณาข้อมูลการรับชำระเงินของกรุงเทพมหานครกับหน่วยงานภาครัฐต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องในรูปแบบรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (e-Government) เพื่อประโยชน์ในการวางแผนการบริหารจัดการงบประมาณภาครัฐได้อย่างแม่นยำถูกต้อง | 40,100,000.00 | 0.00 | สํานักยุทธศาสตร์และประเมินผล | 2019-10-01 00:00:00 | 2022-09-30 00:00:00 | กำลังดำเนินการ | 75.00 |
100 | 0.0.0. **** ภารกิจงานประจำของหน่วยงาน **** |
.. | 2565 | โครงการพัฒนาระบบยืนยันและตรวจสอบตัวบุคคลในระบบดิจิทัล | การดำเนินธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ของกรุงเทพมหานครจำเป็นต้องกำหนดนโยบายและวางแนวทางปฏิบัติทางด้านความปลอดภัยในระบบสารสนเทศของกรุงเทพมหาครใหม่ เพื่อให้เป็นไปตามพระราชกฤษฎีกากำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐ พ.ศ. 2549ด้วยการนำเทคโนโลยีระบบรหัสแบบกุญแจสาธารณะ หรือกุญแจสมมาตร ที่ประกอบด้วยกุญแจส่วนตัว (Private key) และกุญแจสาธารณะ (Public key) ซึ่งเป็นที่ยอมรับในระดับสากล พร้อมด้วยการใช้โปรโตคอลSecure Socket LayerหรือSSL มาประยุกต์ใช้ในการเข้ารหัส และการถอดรหัส (Encryption) ในระหว่างขั้นตอนการรับ–ส่งข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต เพื่อเป็นการสร้างความมั่นใจและเชื่อมั่นได้ว่า เอกสารสำคัญหรือข้อมูลของทางราชการยังคงได้รับการปกป้องและยังคงเป็นความลับ (Data Confidentiality)จากผู้ที่ไม่ได้รับอนุญาตหรือผู้ไม่หวังดีเข้ามาอ่าน หรือขโมยข้อมูลระหว่างการดำเนินธุรกรรมได้ | 1. เพื่อพัฒนาระบบสารสนเทศสำหรับรองรับการออกใบอนุญาตในรูปแบบเอกสารอิเล็กทรอนิกส์และการทำธุรกรรมของกรุงเทพมหานครที่มีความน่าเชื่อถือและมีผลถูกต้องตามกฎหมาย 2 เพื่อสร้างความเชื่อถือให้กับเว็บไซต์ของกรุงเทพมหานครในด้านการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลระหว่างการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์หรือประชาชนที่มาติดต่อขอรับบริการกับกรุงเทพมหานครผ่านช่องทางอินเตอร์เน็ต 3. เพื่อบ่งบอกและยืนยันตัวบุคคลในโลกดิจิทัล สำหรับรองรับการทำธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์เพื่อให้มีผลตามกฎหมาย | 1. ประชาชนที่มาติดต่อขอรับบริการหรือหน่วยงานภาครัฐที่ร่วมทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์กับกรุงเทพมหานครผ่านช่องทางอินเตอร์เน็ต มีความเชื่อมั่นในด้านการรักษาความลับของข้อมูล ตลอดจนความถูกต้องครบถ้วนของข้อมูล แม้อาจมีการถูกดักจับข้อมูลระหว่างการทำธุรกรรม 2. เป็นการยกระดับการรักษาความปลอดภัยของข้อมูล ในขั้นตอนการรับ-ส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ผ่านช่องทางอินเตอร์เน็ต ตลอดจนสามารถยืนยันและตรวจสอบตัวบุคคลในระบบดิจิทัลได้ | 47,000,000.00 | 0.00 | สํานักยุทธศาสตร์และประเมินผล | 2019-10-01 00:00:00 | 2023-09-30 00:00:00 | กำลังดำเนินการ | 65.00 |
101 | 4.0.1. ด้านที่ ๔ – มหานครกระชับ : Bangkok as a Compact City |
.. | 2565 | โครงการพัฒนาเมืองอัจฉริยะเพื่อสนับสนุนการพัฒนาพื้นที่โดยรอบคลองผดุงกรุงเกษม | คลองผดุงกรุงเกษม เป็นคลองที่มีศักยภาพในการเชื่อมต่อการเดินทางด้วยระบบขนส่งมวลชน ล้อ ราง เรือ ได้แก่ รถโดยสารประจำทาง เช่น สาย 171 (ปอ.) สาย 49 สาย 505 (ปอ.) สาย 511 (ปอ.) และ 53 ซึ่งเชื่อมเส้นทางมายังริม 2 ฝั่งคลอง มีเส้นทางสัญจรทางน้ำด้วยเรือโดยสารไฟฟ้าตามแนวคลองผดุงกรุงเกษม ซึ่งเป็นการสนับสนุนการเชื่อมต่อระบบขนส่งมวลชนจากแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณท่าเรือเทเวศร์ มายังสถานีรถไฟฟ้าหัวลำโพง รวม 11 ท่าเรือ ระยะทางประมาณ 5 กิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ 4 เขตได้แก่ เขตพระนคร เขตดุสิต เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย และเขตปทุมวัน โดยมีเรือด่วนเจ้าพระยาและเรือข้ามฟากบริเวณท่าเรือเทเวศร์ เรือโดยสารคลองแสนแสบซึ่งมาบรรจบกับเส้นทางเดินเรือคลองผดุงกรุงเกษมบริเวณตลาดโบ๊เบ๊ และรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินที่สถานีรถไฟหัวลำโพง และความยาวของคลองยังต่อเนื่องไปถึงพื้นที่ย่านตลาดน้อย ออกสู่แม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณท่าเรือข้ามฟากสี่พระยา ในพื้นที่เขตสัมพันธวงศ์ และเขตบางรัก แต่ทั้งนี้ ถนนและทางเท้าบริเวณริมคลองผดุงกรุงเกษมบางช่วงมี สภาพชำรุดเสียหาย รวมทั้งมีการใช้พื้นที่เพื่อประกอบกิจกรรมการค้าขายบนทางเท้า ทำให้ศักยภาพในการใช้ประโยชน์พื้นที่ลดลง จึงจำเป็นต้องดำเนินการปรับปรุงภูมิทัศน์บริเวณริมคลองผดุงกรุงเกษมทั้ง 2 ฝั่ง เพื่อให้เกิดความเป็นระเบียบเรียบร้อย สร้างทัศนียภาพสวยงาม ประชาชนสามารถเดินทางสัญจรได้อย่างสะดวก และปลอดภัย ตลอดแนวคลอง ในปี 2552 สำนักการวางผังและพัฒนาเมือง (สำนักผังเมือง เดิม) ได้นำเสนอผลการศึกษาโครงการปรับปรุงฟื้นฟูย่านคลองผดุงกรุงเกษมทั้ง 2 ฝั่งคลอง ใน 5 บริเวณหลัก ได้แก่ ย่านตลาดเทวราชกุญชร ย่านวัดโสมนัสวรวิหารและย่านตลาดนางเลิ้ง ย่านตลาดสะพานขาวและบริเวณโรงหนังปารีส ย่านตลาดโบ๊เบ๊ และย่านหัวลำโพง เพื่อปรับปรุงและพัฒนาสภาพแวดล้อมให้สวยงาม เป็นระเบียบเรียบร้อย เป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญในการส่งเสริมและเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจสร้างรายได้ให้แก่ประชาชนและชุมชน และในปี 2563 กรุงเทพมหานครได้แต่งตั้งคณะทำงานปรับปรุงภูมิทัศน์และก่อสร้างทางจักรยานคลองผดุงกรุงเกษม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มพื้นที่ริมคลองให้สามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ รองรับการใช้งานสำหรับทุกคน (Universal Design) มีความสะดวก ปลอดภัย ในการเดินทาง พัฒนาพื้นที่สีเขียวเพื่อการพักผ่อน หย่อนใจการฟื้นฟู ส่งเสริม เอกลักษณ์ของแต่ละย่าน ที่มีความสำคัญ การมีส่วนร่วมและรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในพื้นที่ต่อการพัฒนาในด้านต่าง ๆ รวมทั้ง การสร้างเครือข่ายที่เข้มแข็งของชุมชน ในการดูแลรักษาพื้นที่ นอกจากนี้ สำนักการวางผังและพัฒนาเมือง ยังได้ดำเนินการศึกษาแผนการพัฒนาฟื้นฟูย่าน ตลาดน้อยและพื้นที่ต่อเนื่อง ซึ่งเป็นพื้นที่เชื่อมโยงกับแนวคลองผดุงเกรงเกษม เพื่อต่อยอดการพัฒนาพื้นที่คลองผดุงกรุงเกษม กรุงเทพมหานครจึงดำเนินการผลักดันการพัฒนาพื้นที่ตลอด 2 ฝั่งคลองอย่างบูรณาการรอบด้าน โดยการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานเพื่อเชื่อมโยงการเดินทางสัญจร และปรับปรุงภูมิทัศน์บริเวณโดยรอบคลองผดุงกรุงเกษมเพื่อส่งเสริมให้เกิดการเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากศักยภาพเพื่อการสัญจรของพื้นที่ ในขณะเดียวกัน กรุงเทพมหานครต้องคำนึงถึงประชาชนริมคลอง โดยส่งเสริมกิจกรรมทางเศรษฐกิจ และยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน เพื่อให้ประชาชนได้รับประโยชน์และ เห็นความสำคัญของการพัฒนาพื้นที่ อันจะนำไปสู่การมีส่วนร่วมในการดูแลรักษาพื้นที่อย่างยั่งยืน | 1) เพื่อเพิ่มศักยภาพการเชื่อมต่อการเดินทางในพื้นที่ตลอดแนวคลองผดุงกรุงเกษม 2) เพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียวและพื้นที่สาธารณะเพื่อให้ประโยชน์ร่วมกันของประชาชนริมคลองผดุงกรุงเกษม 3) เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนริมคลองผดุงกรุงเกษม | 1. จำนวนผู้ใช้บริการระบบขนส่งสาธารณะในพื้นที่ เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา 2. มูลค่าทางเศรษฐกิจของพื้นที่/ราคาประเมินที่ดินเพิ่มขึ้น 3. รายได้เฉลี่ยของประชาชนในพื้นที่เพิ่มขึ้น | 0.00 | 0.00 | สํานักยุทธศาสตร์และประเมินผล | 2021-10-01 00:00:00 | 2022-09-30 00:00:00 | กำลังดำเนินการ | 40.00 |
102 | 7.0.1. ด้านที่ ๗ – การบริหารจัดการเมืองมหานคร : Management Strategy |
.. | 2565 | กิจกรรมการพัฒนาและจัดเก็บฐานข้อมูลสำหรับบูรณาการภารกิจของหน่วยงาน (กสศ.) | การพัฒนาและการสร้างชุดข้อมูลสำหรับบูรณาการภารกิจของหน่วยงาน โดยจัดทำคำอธิบายข้อมูลและพจนานุกรมข้อมูลตามแนวทางธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐของกรุงเทพมหานคร รวมทั้งนำเข้าข้อมูลและปรับปรุงข้อมูลข้อมูลให้มีคุณภาพเป็นปัจจุบันอย่างสม่ำเสมอตามรอบระยะเวลาที่กำหนดและสร้างนวัตกรรมการให้บริการหรือการบริหารจัดการจากชุดข้อมูล | 1. แต่งตั้งคณะทำงานธรรมาภิบาลข้อมูลและทีมบริกรข้อมูลระดับหน่วยงานและหน่วยงานจัดทำเอกสารชุดข้อมูลสำคัญของหน่วยงาน 2. นำเสนอชุดข้อมูลสำคัญของหน่วยงานต่อคณะกรรมการธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐของกรุงเทพมหานคร และสร้างชุดข้อมูลสำคัญ จัดทำคำอธิบายข้อมูลและพจนานุกรมข้อมูล พร้อมทั้งการทำความสะอาดข้อมูล 3. นำเข้าข้อมูลและปรับปรุงข้อมูลข้อมูลให้มีความถูกต้อง มีความครบถ้วน และมีความเป็นปัจจุบัน 4. สร้างนวัตกรรมการให้บริการหรือการบริหารจัดการจากชุดข้อมูล อย่างน้อย 1 ผลงานนวัตกรรม | 1. แต่งตั้งคณะทำงานธรรมาภิบาลข้อมูลและทีมบริกรข้อมูลระดับหน่วยงานและหน่วยงานจัดทำเอกสารชุดข้อมูลสำคัญของหน่วยงาน 2. นำเสนอชุดข้อมูลสำคัญของหน่วยงานต่อคณะกรรมการธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐของกรุงเทพมหานคร และสร้างชุดข้อมูลสำคัญ จัดทำคำอธิบายข้อมูลและพจนานุกรมข้อมูล พร้อมทั้งการทำความสะอาดข้อมูล 3. นำเข้าข้อมูลและปรับปรุงข้อมูลข้อมูลให้มีความถูกต้อง มีความครบถ้วน และมีความเป็นปัจจุบัน 4. สร้างนวัตกรรมการให้บริการหรือการบริหารจัดการจากชุดข้อมูล อย่างน้อย 1 ผลงานนวัตกรรม | 0.00 | 0.00 | สํานักยุทธศาสตร์และประเมินผล | 2021-10-01 00:00:00 | 2022-09-30 00:00:00 | แล้วเสร็จ | 100.00 |
103 | 7.0.1. ด้านที่ ๗ – การบริหารจัดการเมืองมหานคร : Management Strategy |
.. | 2565 | กิจกรรมการสร้างระบบมาตรฐานการให้บริการเทคโนโลยีดิจิทัล | กรุงเทพมหานครเป็นเมืองหลวงของประเทศไทยและเป็นมหานครหนึ่งของโลก การขับเคลื่อนองค์กรในปัจจุบันล้วนพึ่งพาเทคโนโลยีดิจิทัลเป็นสำคัญ เทคโนโลยีดิจิทัลที่มีประสิทธิภาพจะเป็นเครื่องมือที่ช่วยผลักดันให้กรุงเทพมหานครสามารถดำเนินการตามนโยบายและวิสัยทัศน์ที่กำหนดไว้ โดยมีเป้าหมายการพัฒนาด้านเทคโนโลยีดิจิทัลตามแผนพัฒนากรุงเทพมหานครระยะ 20 ปี (2556 - 2575) ระยะที่ 2 มิติที่ 7.5 เทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งมุ่งเน้นให้กรุงเทพมหานครมีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ในการบริหารจัดการองค์กรภายใน และการให้บริการประชาชนด้วยความสะดวก รวดเร็ว ถูกต้องและโปร่งใส โดยประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่ทันสมัย (SMART Service) เพื่อสนับสนุนนโยบายเศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy) และมีการบริหารจัดการเมือง (กรุงเทพมหานคร) ด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่มีคุณภาพและมีประสิทธิภาพ (SMART City) สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล โดยกองบริการระบบคอมพิวเตอร์ มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการให้บริการและสนับสนุนการมีการใช้ระบบเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง และเครือข่ายการสื่อสาร พร้อมโปรแกรมสำเร็จรูป ตลอดจนโครงการติดตั้งระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กที่ใช้งานของสำนักและสำนักงานเขต รวมถึงการให้บริการในเรื่องเกี่ยวกับเทคนิคทางคอมพิวเตอร์แก่ผู้บริหารและทุกหน่วยงานของกรุงเทพมหานคร เพื่ออำนวยความสะดวกให้สามารถทำงานได้อย่างต่อเนื่อง เพิ่มประสิทธิภาพประสิทธิผลในการปฏิบัติงานและการบริการประชาชน กิจกรรมการสร้างระบบมาตรฐานการให้บริการเทคโนโลยีดิจิทัลจัดทำขึ้นเพื่อบริหารจัดการเทคโนโลยีดิจิทัลของกรุงเทพมหานคร เพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการเทคโนโลยีดิจิทัลและลดขั้นตอนการติดต่อประสานงาน 4 ส่วนราชการด้านเทคโนโลยีดิจิทัลของสำนักยุทธศาสตร์และประเมินผลเป็นผู้ดูแลรับผิดชอบให้สะดวก รวดเร็วยิ่งขึ้น | - เพื่อสร้างมาตรฐานการให้บริการเทคโนโลยีดิจิทัลของกรุงเทพมหานคร - เพื่อพัฒนาระบบบริหารจัดการเทคโนโลยีดิจิทัล ที่ใช้เป็นเครื่องมือในการบริหารจัดการการให้บริการเทคโนโลยีดิจิทัล - เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการเทคโนโลยีดิจิทัลให้สะดวก รวดเร็ว และลดขั้นตอนการติดต่อประสานงาน - เพื่อติดตามและประเมินผลการให้บริการเทคโนโลยีดิจิทัล โดยนำมาพัฒนาและปรับปรุงการบริการให้เกิดประโยชน์สูงสุด | - มีมาตรฐานการให้บริการเทคโนโลยีดิจิทัลของกรุงเทพมหานคร - มีระบบบริหารจัดการเทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Management System) เป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อนการให้บริการเทคโนโลยีดิจิทัลของกรุงเทพมหานคร | 0.00 | 0.00 | สํานักยุทธศาสตร์และประเมินผล | 2021-12-01 00:00:00 | 2022-09-30 00:00:00 | แล้วเสร็จ | 100.00 |
104 | 7.0.1. ด้านที่ ๗ – การบริหารจัดการเมืองมหานคร : Management Strategy |
.. | 2565 | กิจกรรมเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของหน่วยงาน (สก.สยป.) | สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผลเป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่ขับเคลื่อนการดำเนินการด้านยุทธศาสตร์และเทคโนโลยีสารสนเทศของกรุงเทพมหานครให้สำเร็จลุล่วงเป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ให้เป็นรูปธรรม นำเทคโนโลยีสารสนเทศมาพัฒนาสนับสนุนการปฏิบัติงานตามภารกิจหลักและภารกิจสนับสนุนได้อย่างครอบคลุม | เพื่อพัฒนานวัตกรรมให้เป็นเครื่องมือที่ช่วยสนับสนุนการทำงานของสำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล | มีนวัตกรรมเพื่อสนับสนุนการทำงานของหน่วยงาน | 0.00 | 0.00 | สํานักยุทธศาสตร์และประเมินผล | 2022-10-01 00:00:00 | 2022-09-30 00:00:00 | กำลังดำเนินการ | 50.00 |
105 | 0.0.0. ด้านที่ ๗ – การบริหารจัดการเมืองมหานคร : Management Strategy |
.. | 2565 | กิจกรรมการเปิดเผยข้อมูลภาครัฐหน่วยงานสังกัดกรุงเทพมหานคร | การเปิดเผยข้อมูลเปิดภาครัฐ มีกฎหมายที่เกี่ยวข้องให้หน่วยงานของรัฐต้องเปิดเผยข้อมูลเพื่อประโยชน์แก่สาธารณะ ได้แก่ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๖๐ พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสาร ของทางราชการ พ.ศ. ๒๕๔๐ นอกจากนี้ ยังมีพระราชบัญญัติการบริหารงานและการให้บริการภาครัฐผ่านระบบดิจิทัล พ.ศ. ๒๕๖๒ ซึ่งกำหนดให้หน่วยงานของรัฐจัดทำข้อมูลที่ต้องเปิดเผยตามกฎหมายว่าด้วยข้อมูลข่าวสารของราชการในรูปแบบข้อมูลดิจิทัลต่อสาธารณะ โดยต้องให้ประชาชนทั่วไปสามารถเข้าถึงได้อย่างเสรีโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย และสามารถนำไปเผยแพร่ ใช้ประโยชน์ หรือพัฒนาบริการและนวัตกรรมในรูปแบบต่าง ๆ ได้ รวมถึงแสดงความโปร่งใสในการดำเนินงาน และสามารถตรวจสอบได้จากทุกภาคส่วน โดยกรุงเทพมหานครได้มีประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง ธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐของกรุงเทพมหานคร ส่วนที่ 1 ลงวันที่ 31 มีนาคม 2565 เพื่อใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติงานด้านธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ ซึ่งมีแนวทาง 3 ฉบับ ได้แก่ นโยบาย มาตรฐาน และแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับข้อมูลของกรุงเทพมหานคร แนทางการกำหนดชุดข้อมูลสำคัญของกรุงเทพมหานคร และนโยบายและแนวทางปฏิบัติการเปิดเผยข้อมูลเปิดภาครัฐของกรุงเทพมหานคร | กรุงเทพมหานครมีข้อมูลที่ต้องเปิดเผยต่อสาธารณะตามกฎหมายว่าด้วยข้อมูลข่าวสารของราชการในรูปแบบข้อมูลดิจิทัลที่สามารถเข้าถึงและใช้ได้อย่างเสรี ไม่จำกัดแพลตฟอร์ม ไม่เสียค่าใช้จ่าย เผยแพร่ ทำซ้ำ หรือใช้ประโยชน์ได้โดยไม่จำกัดวัตถุประสงค์ | การเปิดเผยข้อมูลภาครัฐที่มีคุณภาพสูงในด้านคุณภาพชีวิต ด้านความปลอดภัย ด้านการศึกษา ด้านการเงิน ด้านสุขภาพ | 0.00 | 0.00 | สํานักยุทธศาสตร์และประเมินผล | 2022-07-01 00:00:00 | 2023-09-30 00:00:00 | กำลังดำเนินการ | 0.00 |
106 | 0.0.0. ด้านที่ ๒ - มหานครสีเขียว สะดวกสบาย : Bangkok as a Green and Convenient City |
.. | 2566 | พัฒนาทรัพยากรพื้นฐานดิจิทัลสำหรับศูนย์ข้อมูลกรุงเทพมหานคร | ศูนย์ข้อมูลกรุงเทพมหานครได้ถูกพัฒนาและให้บริการแก่หน่วยงานกรุงเทพมหานครตั้งแต่ปี ๒๕๖๓ ซึ่งดำเนินการตามแผนการพัฒนากรุงเทพมหานครระยะที่ ๒ (๒๕๖๑-๒๕๖๕) โดยนำเทคโนโลยีการประมวลผลแบบคลาดว์มาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาระบบสารสนเทศของหน่วยงานกรุงเทพมหานคร สำหรับใช้ในการบริหารจัดการ การปฏิบัติราชการ และการให้บริการประชาชน รองรับการเป็นบริหารจัดการมหานครด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล ศูนย์ข้อมูลกรุงเทพมหานครถูกออกแบบและพัฒนาตามผลการศึกษาออกแบบ ซึ่งสามารถรองรับระบบสารสนเทศได้ประมาณ ๔๐ ระบบ แต่ด้วยสถานการณ์ความต้องการใช้งานระบบสารสนเทศประสิทธิภาพสูงเพื่อตอบสนองการให้บริการประชาชนอย่างรวดเร็ว ทำให้ในปีงบประมาณ ๒๕๖๔ ศูนย์ข้อมูลมีระบบสารสนเทศใหม่เข้าติดตั้งภายในศูนย์ข้อมูลกรุงเทพมหานครมากกว่า ๗๕ ระบบงาน นับว่าเป็นอัตราการเติบโตของปริมาณข้อมูลอย่างก้าวกระโดด จากปัจจัยการขยายตัวของระบบสารสนเทศอย่างรวดเร็วของหน่วยงานกรุงเทพมหานคร จะทำให้ศูนย์ข้อมูลกรุงเทพมหานคร จะประสบปัญหาการขาดแคลนทรัพยากรพื้นฐานเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อให้บริการภายในปี ๒๕๖๕ - ๒๕๖๖ ดังนั้นเพื่อให้การบริหารราชการและการบริการประชาชนเป็นไปอย่างต่อเนื่อง จึงมีความจำเป็นต้องขยายปริมาณทรัพยากรโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีสารสนเทศแก่ศูนย์ข้อมูลกรุงเทพมหานคร ให้เพียงพอกับความต้องการใช้งานของหน่วยงาน รองรับการเทคนิคการพัฒนาระบบสารสนเทศด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการทำงาน คุ้มค่าการใช้จ่ายงบประมาณ | 1.เพื่อจัดหาเครื่องแม่ข่ายประสิทธิภาพสูงเพิ่มทรัพยากรโครงสร้างพื้นฐานแก่ศูนย์ข้อมูล พร้อมระบบบริหารจัดการคลาวด์ครอบคลุมทรัพยากรที่เพิ่มขึ้น 2.เพื่อจัดหาสิทธิ์การใช้งานซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการให้เพียงพอกับเครื่องแม่ข่ายประสิทธิภาพสูง 3.เพื่อจัดหาอุปกรณ์เครือข่ายรองรับเครื่องแม่ข่ายที่เพิ่มขึ้นอย่างเพียงพอ 4.เพื่อจัดหาซอฟต์แวร์ระบบบริหารจัดการคลาวด์ | 1.สามารถให้บริการทรัพยากรโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลได้เพียงพอต่อความต้องการใช้งานของหน่วยงานกรุงเทพมหานครในระยะเวลา ๒ ปี 2.มีระบบโครงสร้างพื้นฐานคลาวด์ ที่มีประสิทธิภาพ ทันสมัย สอดคล้องกับเทคโนโลยีการพัฒนาระบบสารสนเทศในปัจจุบัน | 47,678,000.00 | 0.00 | สํานักยุทธศาสตร์และประเมินผล | 2023-10-01 00:00:00 | 2024-09-30 00:00:00 | กำลังดำเนินการ | 40.00 |
107 | 0.0.0. **** ภารกิจงานประจำของหน่วยงาน **** |
.. | 2566 | โครงการพัฒนาระบบศูนย์รับคำขออนุญาตของกรุงเทพมหานคร (BMA OSS) | ตามพระราชบัญญัติการอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ พ.ศ.2558 ซึ่งกำหนดให้หน่วยงานราชการทุกแห่งที่เกี่ยวข้องกับการคำขออนุญาต/บริการจัดตั้งธุรกิจ (Doing Business Platform)รวมถึงกรุงเทพมหานครต้องพัฒนาระบบฯ สำหรับรองรับการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ (Open Data) กับทางศูนย์รับคำขออนุญาตกลางของสำนักงาน ก.พ.ร. และหน่วยงานภาครัฐระหว่างกัน เพื่ออำนวยความสะดวกให้ประชาชนในการติดต่อกับทางราชการ ในฐานะเป็นหน่วยงานให้บริการประชาชน และเป็นส่วนหนึ่งในการพิจารณาออกใบอนุญาต/บริการ โดยรับหน้าที่เป็นหน่วยงานรับข้อมูลจากประชาชนที่ติดต่อมาขอรับใบอนุญาต/บริการ ตลอดจนรับ - ส่งส่งต่อข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์กับศูนย์รับคำขออนุญาตกลางของสำนักงาน ก.พ.ร. ผ่านระบบเชื่อมโยง เพื่อส่งต่อข้อมูลของประชาชนให้กับหน่วยงานในสังกัดของกรุงเทพมหานคร ให้สามารถดำเนินการในภารกิจที่เกี่ยวข้องได้สะดวกรวดเร็ว จึงมีความจำเป็นต้องพัฒนาระบบสารสนเทศกลาง สำหรับเป็นศูนย์รับคำขออนุญาตของกรุงเทพหานคร เพื่อบริหารจัดการข้อมูลให้มีประสิทธิภาพ รองรับภารกิจที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการประชาชนตามพระราชบัญญัติฯ ที่กำหนด รวมถึงประชาชนสามารถติดตาม (Monitoring / Tracking) การออกใบอนุญาต/บริการ พร้อมระบบแจ้งเตือน (Alert) เพื่อรายงานสถานะการดำเนินการ และผลการพิจารณาการออกใบอนุญาต/บริการ ให้ประชาชนได้รับทราบ | 1. เพื่อพัฒนาระบบสารสนเทศสำหรับรองรับคำขอใบอนุญาต/บริการของประชาชนที่จะดำเนินการผ่านทางสำนักงานเขต 50 เขต และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 2. เพื่อพัฒนาระบบเชื่อมโยงข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์กับศูนย์รับคำขออนุญาตกลางของสำนักงาน ก.พ.ร. และหน่วยงานในสังกัดกรุงเทพมหานครได้แบบเบ็ดเสร็จ 3. เพื่อให้ประชาชนสามารถติดตามสถานะการดำเนินการ และรับทราบผลการพิจารณาใบอนุญาต/บริการ ผ่านทางระบบอิเล็กทรอนิกส์และระบบออนไลน์ | 1. กรุงเทพมหานครมีระบบสารสนเทศสำหรับรองรับคำขอใบอนุญาต/บริการของประชาชนที่จะดำเนินการผ่านทางสำนักงานเขต 50 เขต รวมถึงมีระบบเชื่อมโยงข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อรับ-ส่งข้อมูลของประชาชนที่มาติดต่อกับทางราชการ ตลอดจนหลักฐานในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ กับศูนย์รับคำขออนุญาตของสำนักงาน ก.พ.ร. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับประชาชนในการติดต่อกับทางราชการแบบเบ็ดเสร็จครบวงจร 2. ประชาชนสามาถติดตามสถานะการดำเนินการการขอใบอนุญาต/บริการของประชาชนได้สะดวก รวดเร็ว โดยดำเนินการผ่านทางระบบอิเล็กทรอนิกส์แบบออนไลน์ของกรุงเทพมหานคร | 83,237,500.00 | 0.00 | สํานักยุทธศาสตร์และประเมินผล | 2022-10-01 00:00:00 | 2023-09-30 00:00:00 | กำลังดำเนินการ | 88.00 |
108 | 7.0.2. ยุทธศาสตร์ที่ ๗ – การสร้างความเป็นมืออาชีพในการบริหารจัดการมหานคร |
.. | 2566 | โครงการจัดหาระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการเครื่องคอมพิวเตอร์ลูกข่าย (Desktop Management) | หน่วยงานต่าง ๆ ของกรุงเทพมหานครได้จัดหาเครื่องคอมพิวเตอร์ลูกข่าย มาเชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายสื่อสารของกรุงเทพมหานครสำหรับใช้งานระบบสารสนเทศต่าง ๆ เช่น ระบบ MIS ระบบงาน 50 สำนักงานเขต และระบบงานอื่น ๆ ที่พัฒนามาเพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการปฏิบัติงานและให้บริการประชาชน ปัจจุบันมีเครื่องคอมพิวเตอร์ลูกข่าย มากกว่า 25,000 เครื่อง ที่เชื่อมต่อใช้งานเข้ากับระบบเครือข่ายสื่อสารดังกล่าว ซึ่งจากจำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์ลูกข่ายที่มีจำนวนมาก จึงส่งผลให้การดูแลบำรุงรักษา และการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นกับเครื่องคอมพิวเตอร์ลูกข่ายจำเป็นต้องดำเนินการในเชิงป้องกันและในกรณีที่เกิดเหตุขัดข้องขึ้นกับเครื่องคอมพิวเตอร์ลูกข่ายจำเป็นต้องแก้ไขโดยรวดเร็ว เพื่อให้หน่วยงานสามารถใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ลูกข่าย ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และไม่มีผลกระทบต่อผู้ใช้งานและประชาชนที่มาใช้บริการจึงมีความจำเป็นต้องจัดหาระบบควบคุมและบริหารจัดการเครื่องลูกข่ายเพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการตรวจสอบสถานะ และแก้ไขให้ Hardware และ Software ให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพและเพื่อป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้น รวมถึงช่วยลดเวลา ลดขั้นตอนในการแก้ไขปัญหากับเครื่องคอมพิวเตอร์ลูกข่ายที่ใช้ตามหน่วยงานต่าง ๆ ของกรุงเทพมหานคร และลดค่าใช้จ่ายในการเดินทางเพื่อไปแก้ไขปัญหาที่หน่วยงานและเป็นการวางแนวทางการกำหนดนโยบายการจัดการระบบสารสนเทศของกรุงเทพมหานคร ให้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น | เพื่อเป็นการปรับปรุงให้บริการแก้ไขปัญหาเครื่องคอมพิวเตอร์ลูกข่ายของหน่วยงานกรุงเทพมหานครให้เป็นจุดบริการจุดเดียวเบ็ดเสร็จ สามารถแก้ไขปัญหาข้อขัดข้องของเครื่องคอมพิวเตอร์ลูกข่ายได้รวดเร็ว และครอบคลุมปัญหาที่เกี่ยวข้องกับระบบคอมพิวเตอร์ มีความสะดวกรวดเร็วในการปรับแต่งระบบโปรแกรม หรือติดตั้งเพิ่มเติมเพื่อนำมาใช้งานตามความประสงค์ของหน่วยงาน ประกอบด้วย สำนักงานเขต 50 เขต สำนักการคลัง และผู้บริหารกรุงเทพมหานคร | จัดหาระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการเครื่องคอมพิวเตอร์ลูกข่าย (Desktop Management) ของกรุงเทพมหานครเพื่อให้มีเครื่องมือวิเคราะห์ข้อมูลของเครื่องคอมพิวเตอร์ลูกข่ายและระบบโปรแกรมที่ใช้ปฏิบัติงานภายในหน่วยงานของกรุงเทพมหานครโดยสามารถดำเนินการและบริหารจัดการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ลูกข่ายได้จากส่วนกลาง ซึ่งจะลดเวลาในการแก้ไขปัญหา เพิ่มความสะดวกรวดเร็ว และสร้างความเชื่อถือให้กับหน่วยงานของกรุงเทพมหานคร | 11,548,800.00 | 0.00 | สํานักยุทธศาสตร์และประเมินผล | 2022-10-01 00:00:00 | 2023-09-30 00:00:00 | กำลังดำเนินการ | 90.00 |
109 | 7.0.2. ยุทธศาสตร์ที่ ๗ – การสร้างความเป็นมืออาชีพในการบริหารจัดการมหานคร |
.. | 2566 | โครงการจัดทำระบบการวางแผนทรัพยากรองค์กรของกรุงเทพมหานคร (BMA-ERP) | ดำเนินการโครงการจัดทำระบบการวางแผนทรัพยากรองค์กรของกรุงเทพมหานคร (BMA-ERP) เพื่อพัฒนาระบบการบริหารจัดการทรัพยากรองค์กร (Enterprise Resource Planning : ERP) ของกรุงเทพมหานคร สำหรับทดแทนระบบ MIS 2 ให้สามารถรองรับกับระเบียบ นโยบาย และแผนการปฏิบัติราชการที่เปลี่ยนแปลง สำหรับการปฏิบัติงานด้านการเงิน บัญชี และระบบทรัพย์สินของหน่วยงานในกรุงเทพมหานคร ขยายขอบเขตการใช้งานหรือให้บริการได้อย่างครอบคลุม มีเสถียรภาพ สามารถบริหารจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีข้อมูลที่สามารถสนับสนุนการตัดสินใจของผู้บริหารกรุงเทพมหานครได้ เพื่อมุ่งสู่การเป็นรัฐบาลดิจิทัล | ๑ เพื่อให้กรุงเทพมหานครมีระบบการวางแผนทรัพยากรองค์กรของกรุงเทพมหานคร ๒ เพื่อจัดทำระบบให้รองรับมาตรฐานผังบัญชีและการบันทึกบัญชีให้เป็นไปตามแนวทางการบัญชีภาครัฐ | ๑ มีระบบสารสนเทศที่รองรับการปฏิบัติงานด้านการเงิน บัญชี และทรัพย์สินของกรุงเทพมหานครได้อย่างครอบคลุม ครบถ้วน ๒ เพื่อให้สามารถนำข้อมูลมาใช้ในการบริหารจัดการ และติดตามงานในภาพรวมของกรุงเทพมหานคร | 218,035,400.00 | 0.00 | สํานักยุทธศาสตร์และประเมินผล | 2022-10-01 00:00:00 | 2023-09-30 00:00:00 | กำลังดำเนินการ | 30.00 |
110 | 7.0.1. ยุทธศาสตร์ที่ ๗ – การสร้างความเป็นมืออาชีพในการบริหารจัดการมหานคร |
.. | 2566 | จ้างที่ปรึกษาจ้างบริการวิชาการในด้านดิจิทัลเพื่อการขับเคลื่อนนโยบายและยุทธศาสตร์ดิจิทัลในการพัฒนากรุงเทพมหานคร | การบริหารงานของกรุงเทพมหานครมีการประยุกต์นำเทคโนโลยีดิจิทัล เป็นเครื่องมือหลักในการพัฒนา และปฏิรูปกระบวนการทำงานให้ทันสมัย ถูกต้อง รวดเร็ว และเป็นเครื่องมือกำหนดยุทธศาสตร์ การขับเคลื่อนการพัฒนาเมือง ให้สอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาประเทศ ทั้งนี้ผู้บริหารสามารถเห็นภาพรวมการเชื่อมโยงของข้อมูล และสามารถวางแผนการพัฒนาเมือง และบริการสาธารณะ รวมทั้งกำหนดนโยบาย และแนวทางปฏิบัติ ด้านดิจิทัลในการพัฒนากรุงเทพมหานคร และการสร้างนวัตกรรมบริการใหม่ ๆ เพื่อให้บริการกับประชาชน สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล มีพันธกิจในการกำหนดนโยบาย เป้าหมายการจัดทำและพัฒนาแผนพัฒนากรุงเทพมหานคร โดยการแปลงยุทธศาสตร์ เป็นแผนนำไปสู่การปฏิบัติ การติดตามและประเมินผล การดำเนินการ รวมทั้งการบริหารจัดการพัฒนา และให้บริการด้านเทคโนโลยี สารสนเทศ ของกรุงเทพมหานคร เพื่อผลักดันให้กรุงเทพมหานครเป็นรัฐบาลดิจิทัล จึงเสนอโครงการนี้เพื่อศึกษาการวิเคราะห์ด้านดิจิทัล เพื่อการขับเคลื่อนนโยบาย และยุทธศาสตร์ดิจิทัลในการพัฒนากรุงเทพมหานคร และจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายที่ใช้กำหนดนโยบายและยุทธศาสตร์เชิงรุก และข้อเสนอแนะการเปิดเผยข้อมูลศักยภาพสูงของกรุงเทพมหานคร (Open Bangkok) รวมทั้งความพร้อมและต้องการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล และโครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยีดิจิทัล โดยข้อมูลที่ได้ จากการวิเคราะห์ จะเป็นกลไกสำคัญ ในการขับเคลื่อน การพัฒนาเมือง และเพิ่มศักยภาพ ของกรุงเทพมหานคร ให้พัฒนาไปสู่ การเป็นมหานครชั้นนำ ของเอเชียต่อไป | 2.1 เพื่อให้กรุงเทพมหานครมีแนวทาง การพัฒนาเพื่อการขับเคลื่อนนโยบาย และยุทธศาสตร์ดิจิทัล ในการพัฒนากรุงเทพมหานคร ที่สอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาประเทศ 2.2 เพื่อศึกษาข้อมูลตามภารกิจ ข้อมูลขนาดใหญ่ ข้อมูลเปิดของหน่วยงานกรุงเทพมหานคร และข้อมูลของหน่วยงานภายนอกที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานของกรุงเทพมหานครในการจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายที่สามารถนำมาใช้กำหนดนโยบายและยุทธศาสตร์เชิงรุกที่สามารถแปลงไปสู่การปฏิบัติได้อย่างเหมาะสม รวมทั้งข้อเสนอแนะการเปิดเผยข้อมูลศักยภาพสูงของกรุงเทพมหานคร (Open Bangkok) 2.3 เพื่อเป็นแนวทางในการกำหนดนโยบายและแนวทางปฏิบัติในการพัฒนากรุงเทพมหานครให้เป็นรัฐบาลดิจิทัล โดยศึกษาความพร้อมและความต้องการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล และโครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยีดิจิทัล ซึ่งครอบคลุมในส่วนของการปรับเปลี่ยนรูปแบบวิธีการปฏิบัติงาน การบูรณาการบริการและข้อมูลภาครัฐ การให้บริการภาครัฐ และกฎหมายที่เกี่ยวข้องเพื่อให้หน่วยงานของกรุงเทพมหานครสามารถให้บริการประชาชนผ่านช่องทางดิจิทัลได้อย่างเบ็ดเสร็จและไร้รอยต่อ 2.4 เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาบุคลากรของกรุงเทพมหานครให้มีความพร้อม และความรู้ด้านข้อมูลดิจิทัลและด้านเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อใช้ในการปฏิบัติงานตามภารกิจ | กรุงเทพมหานครมีการขับเคลื่อนนโยบายและยุทธศาสตร์ดิจิทัลในการพัฒนากรุงเทพมหานครให้เป็นรัฐบาลดิจิทัล โดยมียุทธศาสตร์และการวางแผนกลยุทธ์ในการบริหารจัดการเมืองและบริการสาธารณะ เพื่อให้กรุงเทพมหานครเป็นเมืองน่าอยู่อย่างยั่งยืนและประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี | 14,142,000.00 | 0.00 | สํานักยุทธศาสตร์และประเมินผล | 2022-10-01 00:00:00 | 2023-09-30 00:00:00 | กำลังดำเนินการ | 70.00 |
111 | 7.0.4. ยุทธศาสตร์ที่ ๗ – การสร้างความเป็นมืออาชีพในการบริหารจัดการมหานคร |
.. | 2566 | ระบบป้องกันไฟฟ้าสำหรับเครือข่ายสื่อสารข้อมูล | กรุงเทพมหานครได้นำระบบเครือข่ายสื่อสารข้อมูลมาใช้ในงานบริหารจัดการ การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ รวมถึงการให้บริการประชาชนผ่านระบบงานสานสนเทศต่างๆ เช่น ระบบงาน MIS ระบบงาน 50 เขต ระบบงานทะเบียนราษฎร และระบบงานสารสนเทศต่างๆ ของหน่วยงาน ปัจจุบันเครือข่ายสื่อสารข้อมูลมีเพียงเครื่องสำรองไฟฟ้าเท่านั้นที่ทำหน้าที่ป้องกันไฟฟ้ากระชากเข้ามาในระบบเครือข่ายสื่อสาร ซึ่งทำหน้าที่ได้ไม่เหมาะสม ทำให้เวลามีเหตุการณ์จากฟ้าผ่า หรือ ไฟฟ้ากระชากจากนอกอาคารเหนี่ยวนำ เข้ามา ไม่สามารถป้องกันได้อย่างรวดเร็วพอ ทำให้อุปกรณ์ของระบบเครือข่ายสื่อสารข้อมูลเสียหายอย่างมาก และทำให้บริหารจัดการ การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ รวมถึงการให้บริการประชาชนผ่านระบบงานสารสนเทศต่างๆ ไม่สามารถปฏิบัติงานต่อไปได้ ทั้งนี้การป้องกันความเสียหายซึ่งนำไปสู่การแก้ไขปัญหา เชิงรุก และรักษาป้องกันอุปกรณ์เครือข่ายสื่อสารให้สามารถใช้งานได้ตลอดโดยไม่มีผลกระทบดังกล่าว จึงจำเป็นต้องติดตั้งระบบอุปกรณ์ป้องกันไฟฟ้าตามหน่วยงาน ที่ติดตั้งระบบเครือข่ายสื่อสารข้อมูลหลัก จำนวน 70 หน่วยงาน เพื่อป้องกันความเสียหายต่ออุปกรณ์ที่มีมูลค่าสูง และสร้างเสถียรภาพการทำงาน ของระบบ โดยระบบจะมีการส่งข้อมูลเหตุการณ์ จากการเกิดไฟฟ้ากระชาก มายังส่วนกลางเพื่อนำมาเป็นข้อมูลในการบริหารจัดการ และดำเนินการป้องกันอย่างยั่งยืนต่อไป | เพื่อป้องกันไฟฟ้ากระชาก ป้องกันความเสียหายต่ออุปกรณ์ระบบเครือข่ายสื่อสารข้อมูล ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ลดความสูญเสียจากปัญหาระบบไฟฟ้าที่เกิดขึ้น ต่อระบบเครือข่ายสื่อสารข้อมูล | มีระบบป้องกันไฟฟ้ากระชากที่เกิดขึ้น และก่อความเสียหายให้กับระบบเครือข่ายสื่อสารข้อมูล พร้อมระบบบริหารจัดการข้อมูลในการตรวจสอบ และวิเคราะห์เพื่อแก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ | 13,013,875.00 | 0.00 | สํานักยุทธศาสตร์และประเมินผล | 2023-10-01 00:00:00 | 2024-09-30 00:00:00 | กำลังดำเนินการ | 60.00 |
112 | 7.0.3. ยุทธศาสตร์ที่ ๗ – การสร้างความเป็นมืออาชีพในการบริหารจัดการมหานคร |
.. | 2566 | กิจกรรมการพัฒนาและจัดเก็บฐานข้อมูลสำหรับบูรณาการภารกิจของหน่วยงาน | 1. แต่งตั้งคณะทำงานธรรมาภิบาลข้อมูลและคณะทำงานบริกรข้อมูลระดับหน่วยงาน จัดทำบัญชีรายการข้อมูลทั้งหมด และจัดทำแผนพัฒนาข้อมูลที่มีคุณภาพสูงของหน่วยงาน ระยะ 4 ปี (พ.ศ. 2566 - 2569) 2. จัดทำและปรับปรุงข้อมูลตามแผนพัฒนาข้อมูลที่มีคุณภาพสูงของหน่วยงาน และเผยแพร่บนศูนย์ข้อมูลเปิดภาครัฐของกรุงเทพมหานคร พร้อมคำอธิบายข้อมูลดิจิทัล และพจนานุกรม 3. นำเข้าข้อมูลที่ได้จัดทำพัฒนาเป็น Dashboard ที่แสดงผลการวิเคราะห์เพื่อสนับสนุนการตัดสินใจตามภารกิจของหน่วยงาน | 1. แต่งตั้งคณะทำงานธรรมาภิบาลข้อมูลและคณะทำงานบริกรข้อมูลระดับหน่วยงาน จัดทำบัญชีรายการข้อมูลทั้งหมด และจัดทำแผนพัฒนาข้อมูลที่มีคุณภาพสูงของหน่วยงาน ระยะ 4 ปี (พ.ศ. 2566 - 2569) 2. จัดทำและปรับปรุงข้อมูลตามแผนพัฒนาข้อมูลที่มีคุณภาพสูงของหน่วยงาน และเผยแพร่บนศูนย์ข้อมูลเปิดภาครัฐของกรุงเทพมหานคร พร้อมคำอธิบายข้อมูลดิจิทัล และพจนานุกรม 3. นำเข้าข้อมูลที่ได้จัดทำพัฒนาเป็น Dashboard ที่แสดงผลการวิเคราะห์เพื่อสนับสนุนการตัดสินใจตามภารกิจของหน่วยงาน | 0.00 | 0.00 | สํานักยุทธศาสตร์และประเมินผล | 2023-10-01 00:00:00 | 2024-09-30 00:00:00 | กำลังดำเนินการ | 80.00 | |
รวม ->112 โครงการ | 0 | 0.00 | 0.00 | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 | 0 | 0 | 0 | 0 |