ลำดับ | ยุทธศาสตร์ 20 ปี | แผนแม่บทไอที | ปีงบประมาณ | ชื่อโครงการ | หลักการและเหตุผล | วัตถุประสงค์โครงการ | เป้าหมายโครงการ | งบประมาณที่ได้รับ | งบประมาณที่ใช้ไป | หน่วยงานที่รับผิดชอบ | เริ่มโครงการ | สิ้นสุดโครงการ | สถานะโครงการ | คืบหน้า (ร้อยละ) |
1 | 2.0.1. ด้านที่ ๒ - มหานครสีเขียว สะดวกสบาย : Bangkok as a Green and Convenient City |
4.2. | 2560 | กิจกรรมรวบรวมการเพิ่มพื้นที่สีเขียวและสำรวจพื้นที่สีเขียวที่เพิ่มขึ้นของสำนักงานเขต 50 เขต และสำนักงานสวนสาธารณะตามฐานข้อมูลและระบบติดตามประเมินผลการเพิ่มพื้นที่สีเขียวของกรุงเทพมหานคร | พื้นที่สีเขียวมีผลดีต่อสุขภาพและความเป็นอยู่ต่อประชากรในกรุงเทพมหานคร การเพิ่มพื้นที่สีเขียวที่เป็นสวนสาธารณะ และพื้นที่สีเขียวประเภทอื่นๆ ในกรุงเทพมหานคร จะส่งผลต่อสภาพแวดล้อมที่ดีของเมือง และส่งผลดีต่อสุขภาพของประชากร เนื่องจากต้นไม้ช่วยปรับปรุงคุณภาพอากาศ ลดอุณหภูมิ ช่วยปรับปรุงภูมิทัศน์ของเมือง อีกทั้งการมีสวนสาธารณะยังเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจ และออกกำลังกายของประชาชน แต่ปัจจุบันนี้พื้นที่สีเขียวในกรุงเทพมหานครยังมีน้อยกว่ามาตรฐานที่องค์การอนามัยโลก (WHO) กำหนด ดังนั้นการเพิ่มพื้นที่สีเขียวจึงเป็นนโยบายที่ผู้บริหารกรุงเทพมหานครให้ความสำคัญเพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน จากนโยบายมหานครสีเขียว ของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร โดยการเพิ่มพื้นที่สีเขียวอีก 5,000 ไร่ เป็นการผลักดันการเพิ่มพื้นที่สีเขียวโดยก่อสร้างสวนสาธารณะขนาดใหญ่ จากการจัดหาพื้นที่ว่างทั้งของรัฐและเอกชนเพื่อจัดสร้างเป็นพื้นที่สวนสาธารณะที่เน้นการประโยชน์ใช้สอยครบถ้วนตามมาตรฐานสวนสาธารณะระดับเมือง และการจัดทำฐานข้อมูลเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลพื้นที่สีเขียวของกรุงเทพมหานคร จะทำให้สามารถติดตามสถานการณ์พื้นที่สีเขียว เพื่อวางแผนการเพิ่มพื้นที่สีเขียวในกรุงเทพมหานคร | 1. เพื่อผลักดันให้เกิดการสำรวจพื้นที่สีเขียวของกรุงเทพมหานคร 2. เพื่อจัดทำฐานข้อมูลพื้นที่สีเขียวตามที่กำหนดไว้ในแผนแม่บทพื้นที่สีเขียวของกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2546 ให้ครอบคลุมพื้นที่ของกรุงเทพมหานคร | รวบรวมการเพิ่มพื้นที่สีเขียวและสำรวจพื้นที่สีเขียวที่เพิ่มขึ้นของสำนักงานเขต 50 เขต ตามโปรแกรมเพื่อการจัดการข้อมูลสวนสาธารณะของกรุงเทพมหานคร | 0.00 | 0.00 | สํานักสิ่งแวดล้อม | 2016-10-01 00:00:00 | 2017-09-30 00:00:00 | แล้วเสร็จ | 100.00 |
2 | 2.0.1. ด้านที่ ๒ - มหานครสีเขียว สะดวกสบาย : Bangkok as a Green and Convenient City |
4.2. | 2561 | กิจกรรมพัฒนาฐานข้อมูลไม้ยืนต้นกรุงเทพมหานคร | กรุงเทพมหานครมีหน้าที่ในการจัดมีพื้นที่สีเขียวเพื่อการพักผ่อนหย่อนใจ และประโยชน์ด้านต่างๆ ซึ่งการปลูกดูแลบำรุงรักษาต้นไม้ ในพื้นที่กรุงเทพมหานครมีหลายหน่วยงานรับผิดชอบ สำหรับข้อมูลต้นไม้ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร เป็นข้อมูลที่สำคัญ ในการใช้วางแผนการดำเนินการด้านการเพิ่มพื้นที่สีเขียว แต่ยังไม่มีหน่วยงานใดหรือระบบการจัดการใดที่ดำเนินการให้สามารถเก็บรวบรวมต้นไม้ ในรูปแบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ เพื่อการเข้าถึงข้อมูลต้นไม้ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร สำหรับการนำไปใช้ประโยชน์ ในการปฏิบัติงานและให้บริการข้อมูลแก่ผู้สนใจ กลุ่มงานวิชาการสวนและต้นไม้ สำนักงานสวนสาธารณะ สำนักสิ่งแวดล้อม จึงได้มีหนังสือถึงกองสารสนเทศภูมิศาสตร์ สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล เพื่อขอความอนุเคราะห์ในการพัฒนา “โปรแกรมฐานข้อมูลต้นไม้ของกรุงเทพมหานคร” ซึ่งได้ให้การสนับสนุนพัฒนาไว้บนระบบอินเตอร์เน็ต เพื่อให้การเก็บข้อมูลไม้ยืนต้นสำหรับการใช้งาน“โปรแกรมฐานข้อมูลต้นไม้ของกรุงเทพมหานคร” เกิดประสิทธิภาพ จึงต้องมีการเก็บรวบรวมข้อมูลเบื้องต้นของต้นไม้แต่ละชนิด เพื่อใช้เป็นฐานข้อมูลต้นไม้แต่ละชนิดในโปรแกรมฯ พร้อมทั้งดำเนินการสำรวจไม้ยืนต้นรายต้นในพื้นที่จริง และนำเข้าโปรแกรมฯ เพื่อทดสอบการประมวลผลการทำงาน และสามารถสืบค้นผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตต่อไป | 1 เพื่อรวบรวมข้อมูลไม้ยืนต้นแต่ละชนิดสำหรับนำเข้าใน“โปรแกรมฐานข้อมูลต้นไม้ของกรุงเทพมหานคร” 2 เพื่อสำรวจไม้ยืนต้นในพื้นที่กรุงเทพมหานคร 3 เพื่อทดสอบการใช้ “โปรแกรมฐานข้อมูลต้นไม้ของกรุงเทพมหานคร” | พัฒนา“โปรแกรมฐานข้อมูลต้นไม้ของกรุงเทพมหานคร” จำนวน 1 ระบบ พร้อมสำรวจและนำเข้าข้อมูลไม้ยืนต้นในพื้นที่นำร่อง ได้แก่ สวนสาธารณะ 1 แห่ง สวนหย่อม 1 แห่ง และถนน 1 สาย เพื่อทดสอบการใช้งานโปรแกรมฯ | 0.00 | 0.00 | สํานักสิ่งแวดล้อม | 2017-10-01 00:00:00 | 2018-09-30 00:00:00 | แล้วเสร็จ | 100.00 |
3 | 2.0.1. ด้านที่ ๒ - มหานครสีเขียว สะดวกสบาย : Bangkok as a Green and Convenient City |
4.2. | 2561 | กิจกรรมรวบรวมการเพิ่มพื้นที่สีเขียวและสำรวจพื้นที่สีเขียวที่เพิ่มขึ้นของสำนักงานเขต 50 เขต และสำนักงานสวนสาธารณะตามฐานข้อมูลและระบบติดตามประเมินผลการเพิ่มพื้นที่สีเขียวของกรุงเทพมหานคร | พื้นที่สีเขียวมีผลดีต่อสุขภาพและความเป็นอยู่ต่อประชากรในกรุงเทพมหานคร การเพิ่มพื้นที่สีเขียวที่เป็นสวนสาธารณะ และพื้นที่สีเขียวประเภทอื่นๆ ในกรุงเทพมหานคร จะส่งผลต่อสภาพแวดล้อมที่ดีของเมือง และส่งผลดีต่อสุขภาพของประชากร เนื่องจากต้นไม้ช่วยปรับปรุงคุณภาพอากาศ ลดอุณหภูมิ ช่วยปรับปรุงภูมิทัศน์ของเมือง อีกทั้งการมีสวนสาธารณะยังเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจ และออกกำลังกายของประชาชน แต่ปัจจุบันนี้พื้นที่สีเขียวในกรุงเทพมหานครยังมีน้อยกว่ามาตรฐานที่องค์การอนามัยโลก (WHO) กำหนด ดังนั้นการเพิ่มพื้นที่สีเขียวจึงเป็นนโยบายที่ผู้บริหารกรุงเทพมหานครให้ความสำคัญเพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน จากนโยบายมหานครสีเขียว ของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร โดยการเพิ่มพื้นที่สีเขียวอีก 5,000 ไร่ เป็นการผลักดันการเพิ่มพื้นที่สีเขียวโดยก่อสร้างสวนสาธารณะขนาดใหญ่ จากการจัดหาพื้นที่ว่างทั้งของรัฐและเอกชนเพื่อจัดสร้างเป็นพื้นที่สวนสาธารณะที่เน้นการประโยชน์ใช้สอยครบถ้วนตามมาตรฐานสวนสาธารณะระดับเมือง และการจัดทำฐานข้อมูลเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลพื้นที่สีเขียวของกรุงเทพมหานคร จะทำให้สามารถติดตามสถานการณ์พื้นที่สีเขียว เพื่อวางแผนการเพิ่มพื้นที่สีเขียวในกรุงเทพมหานคร | 1. เพื่อผลักดันให้เกิดการสำรวจพื้นที่สีเขียวของกรุงเทพมหานคร 2. เพื่อจัดทำฐานข้อมูลพื้นที่สีเขียวตามที่กำหนดไว้ในแผนแม่บทพื้นที่สีเขียวของกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2546 ให้ครอบคลุมพื้นที่ของกรุงเทพมหานคร | รวบรวมการเพิ่มพื้นที่สีเขียวและสำรวจพื้นที่สีเขียวที่เพิ่มขึ้นของสำนักงานเขต 50 เขต ตามโปรแกรมเพื่อการจัดการข้อมูลสวนสาธารณะของกรุงเทพมหานคร | 0.00 | 0.00 | สํานักสิ่งแวดล้อม | 2017-10-01 00:00:00 | 2018-09-30 00:00:00 | แล้วเสร็จ | 100.00 |
4 | 7.0.1. ด้านที่ ๗ – การบริหารจัดการเมืองมหานคร : Management Strategy |
4.2. | 2561 | กิจกรรมการสำรวจความพึงพอใจของผู้รับบริการ | 1. ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 มาตรา 3/1 บัญญัติว่า “การบริหารราชการต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ ความคุ้มค่าในเชิงภารกิจแห่งรัฐ ความมีประสิทธิภาพ การลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน การลดภารกิจ และยุบเลิกหน่วยงานที่ไม่จำเป็นการกระจายภารกิจและทรัพยากรให้ท้องถิ่น การกระจายอำนาจ การตัดสินใจการอำนวยความสะดวกและการตอบสนองความต้องการของประชาชน มีผู้รับผิดชอบต่อผลของงาน และความรับผิดชอบของผู้ปฏิบัติงาน” การปรับปรุงคุณภาพการให้บริการจึงเป็นแนวทางหนึ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งเพื่อให้การบริหารราชการเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและสามารถตอบสนองความต้องการของประชาชน 2. การบริหารราชการมีเป้าหมายสุดท้าย คือ ทำให้ประชาชนเกิดความพึงพอใจ การปฏิบัติงานตามโครงการต่างๆ ซึ่งพยายามให้เกิดความรวดเร็ว โปร่งใส มีส่วนร่วม ตรงตามความต้องการของผู้รับบริการมีประสิทธิภาพมีประสิทธิผล ฯลฯ ล้วนแต่ต้องการให้ผู้รับบริการมีความพึงพอใจ หากปฏิบัติงานแล้วผู้รับบริการไม่พึงพอใจยังไม่นับว่ามีการปฏิบัติงานและการบริหารราชการได้ตามเป้าหมายอย่างแท้จริง การวัดความพึงพอใจจึงเป็นสิ่งที่สำคัญมาก | เพื่อสำรวจความพึงพอใจของผู้รับบริการจากหน่วยงาน โดยครอบคุมประเด็นต่างๆ เช่น 1. ความพึงพอใจด้านกระบวนการ ขั้นตอนการให้บริการ 2. ความพึงพอใจด้านเจ้าหน้าที่ให้บริการ 3. ความพึงพอใจด้านการบริการผ่านระบบอิเล็กโทรนิกส์ 4. ความพึงพอใจด้านสิ่งอำนวยความสะดวก 5. ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานด้านการแก้ไขปัญหาต่างๆ ของหน่วยงาน 6. ความพึงพอใจต่อกิจกรรมเสริมสร้างและพัฒนาของหน่วยงาน ฯลฯ | ดำเนินการตามเกณฑ์การประเมินผลในคู่มือการประเมินผลการปฏิบัติราชการตามคำรับรองการปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ.25ุ61 โดยได้ระดับความพึงพอใจ ระดับ 5 โดยรอการประสานงานจากผู้ตรวจราชการ เกี่ยวกับแบบสำรวจ ซึ่งมีจำนวน 300 ชุด ตามกลุ่มเป้าหมายที่จะมีการกำหนดจากผู้ตรวจราชการ โดยดำเนินการสำรวจความพึงพอใจจากผู้รับบริการ เรื่องการให้บริการของสำนักสิ่งแวดล้อม ในประเด็นต่างๆ เช่น 1. ความพึงพอใจด้านกระบวนการ ขั้นตอนการให้บริการ 2. ความพึงพอใจด้านเจ้าหน้าที่ให้บริการ 3. ความพึงพอใจด้านการบริการผ่านระบบอิเล็กโทรนิกส์ 4. ความพึงพอใจด้านสิ่งอำนวยความสะดวก 5. ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานด้านการแก้ไขปัญหาต่างๆ ของหน่วยงาน 6. ความพึงพอใจต่อกิจกรรมเสริมสร้างและพัฒนาของหน่วยงาน ฯลฯ | 0.00 | 0.00 | สํานักสิ่งแวดล้อม | 2017-10-01 00:00:00 | 2018-09-30 00:00:00 | แล้วเสร็จ | 100.00 |
5 | 7.0.1. ด้านที่ ๗ – การบริหารจัดการเมืองมหานคร : Management Strategy |
4.2. | 2561 | กิจกรรมการดำเนินโครงการให้บริการที่ดีที่สุด (Best Service) | หน่วยงานจำเป็นต้องคิดค้น/พัฒนา/ปรับปรุงระบบการให้บริการให้มีความทันสมัย คล่องตัว เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนหรือผู้รับบริการ ภายใต้แนวคิดการยึดผู้รับบริการเป็นศูนย์กลาง โดยพิจารณาจากภารกิจ อำนาจหน้าที่ สภาพปัญหาในการปฏิบัติงาน ความต้องการของผู้รับบริการหรือประเด็นปัญหาที่มีผลกระทบต่อผู้รับบริการ ซึ่งจำเป็นต้องดำเนินการแก้ไข/พัฒนาการให้บริการ หรือสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ โดยนำแนวคิด/เทคนิคทางการบริหารสมัยใหม่มาประยุกต์ใช้อย่างเหมาะสม | 1. เพื่อให้เกิดประสิทธิผลและประโยชน์ต่อผู้รับบริการอย่างยั่งยืน 2. เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนหรือผู้รับบริการ | ผู้รับบริการของหน่วยงาน หมายถึง 1. ประชาชนผู้มารับบริการจากหน่วยงานของกรุงเทพมหานคร หรือ 2. บุคลากรหรือหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกกรุงเทพมหานครที่ได้รับบริการจากหน่วยงานของกรุงเทพมหานคร | 0.00 | 0.00 | สํานักสิ่งแวดล้อม | 2017-10-01 00:00:00 | 2018-09-30 00:00:00 | แล้วเสร็จ | 100.00 |
6 | 7.0.1. ด้านที่ ๗ – การบริหารจัดการเมืองมหานคร : Management Strategy |
4.2. | 2561 | กิจกรรมการดำเนินการตามมาตรการเสริมสร้างธรรมมาภิบาลเพื่อพัฒนาภาพลักษณ์และประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของหน่วยงาน | มติคณะรัฐมนตรีเห็นชอบให้ทุกภาคส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐกำหนดมาตรการหรือแนวทางการป้องกันและแก้ไขปญหาการทุจริตประพฤติมิชอบในส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐ โดยมุ่งเน้นการสร้างธรรมาภิบาลในการบริหารงาน และส่งเสริมการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนในการตรวจสอบ เฝ้าระวัง เพื่อสกัดกั้นมิให้เกิดการทุจริตประพฤติมิชอบได้ เพื่อให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตกรุงเทพมหานครจึงได้กำหนดเป็นแผนปฏิบัติการสร้างราชการใสสะอาดของกรุงเทพมหานคร และให้ทุกหน่วยงานและส่วนราชการในสังกัดสำนักปลัดกรุงเทพมหานครนำแผนดังกล่าวไปสู่การปฏิบัติเพื่อให้เกิดระบบการทำงานที่ดี สามารถป้องกันการทุจริตคอร์รัปชั่นที่อาจจะเกิดขึ้นภายในหน่วยงาน | 1. ส่งเสริมการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนในการตรวจสอบการทุจริต ประพฤติมิชอบ เพื่อให้สอดคล้องกับยุทธ์ศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต 2. เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของหน่วยงานในตรวจสอบ แก้ไข เมื่อเกิดการทุจริตหรือกำลังจะเกิด จากการได้รับข้อมูลการทุจริตในหน่วยงานอันมีสาเหตุมาจากพฤติการณ์อันมิชอบของเจ้าหน้าที่ในสังกัด | 1. สำนักสิ่งแวดล้อมมีการกำหนดแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาการทุจริตประพฤติมิชอบ 2. สำนักสิ่งแวดล้อมสามารถนำระบบการบริหารความเสี่ยงและการควบคุมมาใช้เป็นเครื่องมือในการบริหารจัดการที่จะช่วยส่งเสริมหรือสนับสนุนให้การปฏิบัติงานด้านต่าง ๆ ของสำนักสิ่งแวดล้อมบรรลุผลสำเร็จได้อย่างมีประสิทธิภาพและเป็นการเสริมสร้างธรรมาภิบาลในองค์กร 3. สำนักสิ่งแวดล้อมเกิดภาพลักษณ์ที่ดีและมีประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน | 0.00 | 0.00 | สํานักสิ่งแวดล้อม | 2017-10-01 00:00:00 | 2018-09-30 00:00:00 | แล้วเสร็จ | 100.00 |
7 | 1.0.2. ด้านที่ ๑ – มหานครปลอดภัย : Bangkok as a Safe City |
4.2. | 2562 | โครงการจ้างเหมาพัฒนาระบบสารสนเทศบริหารจัดการข้อมูลมูลฝอยของกรุงเทพมหานคร | ระบบฐานข้อมูลสารสนเทศช่วยให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องใช้ในการวางแผน ตัดสินใจ และกาหนดแนวทางการบริหารจัดการมูลฝอยของกรุงเทพมหานครให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น | - เพื่อให้มีระบบสารสนเทศและฐานข้อมูลด้านการจัดการข้อมูลมูลฝอย สาหรับใช้ในการวางแผนตัดสินใจและกาหนดแนวทางการบริหารจัดการมูลฝอยของกรุงเทพมหานครได้อย่างมีประสิทธิภาพ | - เพื่อให้มีระบบสารสนเทศข้อมูลปริมาณมูลฝอยที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน (การชั่งน้าหนักมูลฝอยแบบอัตโนมัติ) ณ ศูนย์กาจัดมูลฝอยของกรุงเทพมหานครทั้ง 3 แห่ง และสถานีขนถ่ายมูลฝอยย่อยรัชวิภา และระบบงานที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย เส้นทางการเดินรถเก็บขนมูลฝอย ข้อมูลรถเก็บขนมูลฝอย ปริมาณน้ามันเชื้อเพลิง และการวิเคราะห์เพื่อประเมิน ประสิทธิภาพการจัดการมูลฝอย | 28,000,000.00 | 0.00 | สํานักสิ่งแวดล้อม | 2018-10-01 00:00:00 | 2019-09-30 00:00:00 | แล้วเสร็จ | 100.00 |
8 | 2.0.1. ด้านที่ ๒ - มหานครสีเขียว สะดวกสบาย : Bangkok as a Green and Convenient City |
4.2. | 2562 | กิจกรรมสำรวจ รวบรวมและพัฒนาพื้นที่สีเขียวเพื่อนำเข้าฐานข้อมูลและระบบติดตามประเมินผลการเพิ่มพื้นที่สีเขียวของกรุงเทพมหานครโดย 50 สำนักงานเขตและสำนักสิ่งแวดล้อม | พื้นที่สีเขียวมีผลดีต่อสุขภาพและความเป็นอยู่ต่อประชากรในกรุงเทพมหานคร การเพิ่มพื้นที่สีเขียวที่เป็นสวนสาธารณะ และพื้นที่สีเขียวประเภทอื่นๆ ในกรุงเทพมหานคร จะส่งผลต่อสภาพแวดล้อมที่ดีของเมือง และส่งผลดีต่อสุขภาพของประชากร เนื่องจากต้นไม้ช่วยปรับปรุงคุณภาพอากาศ ลดอุณหภูมิ ช่วยปรับปรุงภูมิทัศน์ของเมือง อีกทั้งการมีสวนสาธารณะยังเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจ และออกกำลังกายของประชาชน แต่ปัจจุบันนี้พื้นที่สีเขียวในกรุงเทพมหานครยังมีน้อยกว่ามาตรฐานที่องค์การอนามัยโลก (WHO) กำหนด ดังนั้นการเพิ่มพื้นที่สีเขียวจึงเป็นนโยบายที่ผู้บริหารกรุงเทพมหานครให้ความสำคัญเพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน จากนโยบายมหานครสีเขียว ของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นการผลักดันการเพิ่มพื้นที่สีเขียวโดยก่อสร้างสวนสาธารณะขนาดใหญ่ จากการจัดหาพื้นที่ว่างทั้งของรัฐและเอกชนเพื่อจัดสร้างเป็นพื้นที่สวนสาธารณะที่เน้นการประโยชน์ใช้สอยครบถ้วนตามมาตรฐานสวนสาธารณะระดับเมือง และการจัดทำฐานข้อมูลเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลพื้นที่สีเขียวของกรุงเทพมหานคร จะทำให้สามารถติดตามสถานการณ์พื้นที่สีเขียว เพื่อวางแผนการเพิ่มพื้นที่สีเขียวในกรุงเทพมหานคร | 1. เพื่อผลักดันให้เกิดการสำรวจพื้นที่สีเขียวของกรุงเทพมหานคร 2. เพื่อจัดทำฐานข้อมูลพื้นที่สีเขียวตามที่กำหนดไว้ในแผนแม่บทพื้นที่สีเขียวของกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2546 ให้ครอบคลุมพื้นที่ของกรุงเทพมหานคร | รวบรวมการเพิ่มพื้นที่สีเขียวและสำรวจพื้นที่สีเขียวที่เพิ่มขึ้นของสำนักงานเขต 50 เขต ตามโปรแกรมฯ เพื่อการจัดการข้อมูลสวนสาธารณะของกรุงเทพมหานคร | 0.00 | 0.00 | สํานักสิ่งแวดล้อม | 2018-10-01 00:00:00 | 2019-09-30 00:00:00 | แล้วเสร็จ | 100.00 |
9 | 2.0.1. ด้านที่ ๒ - มหานครสีเขียว สะดวกสบาย : Bangkok as a Green and Convenient City |
4.2. | 2562 | ฐานข้อมูลไม้ยื่นต้น | กรุงเทพมหานครมีหน้าที่ในการจัดมีพื้นที่สีเขียวเพื่อการพักผ่อนหย่อนใจ และประโยชน์ด้านต่างๆ ซึ่งการปลูกดูแลบำรุงรักษาต้นไม้ในพื้นที่กรุงเทพมหานครมีหลายหน่วยงานรับผิดชอบ สำหรับข้อมูลต้นไม้ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร เป็นข้อมูลที่สำคัญในการใช้วางแผนการดำเนินการด้านการเพิ่มพื้นที่สีเขียว แต่ยังไม่มีหน่วยงานใดหรือระบบการจัดการใดที่ดำเนินการให้สามารถเก็บรวบรวมต้นไม้ในรูปแบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ เพื่อการเข้าถึงข้อมูลต้นไม้ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร สำหรับการนำไปใช้ประโยชน์ในการปฏิบัติงานและให้บริการข้อมูลแก่ผู้สนใจ กลุ่มงานวิชาการสวนและต้นไม้ สำนักงานสวนสาธารณะ สำนักสิ่งแวดล้อมจึงได้มีหนังสือถึงกองสารสนเทศภูมิศาสตร์ สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล เพื่อขอความอนุเคราะห์ในการพัฒนา “โปรแกรมฐานข้อมูลต้นไม้ของกรุงเทพมหานคร” ซึ่งได้ให้การสนับสนุนพัฒนาไว้บนระบบอินเตอร์เน็ต เพื่อให้การเก็บข้อมูลไม้ยืนต้นสำหรับการใช้งาน“โปรแกรมฐานข้อมูลต้นไม้ของกรุงเทพมหานคร” เกิดประสิทธิภาพ จึงต้องมีการเก็บรวบรวมข้อมูลเบื้องต้นของต้นไม้แต่ละชนิด เพื่อใช้เป็นฐานข้อมูลต้นไม้แต่ละชนิดในโปรแกรมฯ พร้อมทั้งดำเนินการสำรวจไม้ยืนต้นรายต้นในพื้นที่จริง และนำเข้าโปรแกรมฯ เพื่อทดสอบการประมวลผลการทำงานและสามารถสืบค้นผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตต่อไป | 1 เพื่อรวบรวมข้อมูลไม้ยืนต้นแต่ละชนิดสำหรับนำเข้าใน“โปรแกรมฐานข้อมูลต้นไม้ของ กรุงเทพมหานคร” 2 เพื่อสำรวจไม้ยืนต้นในพื้นที่กรุงเทพมหานคร 3 เพื่อทดสอบการใช้ “โปรแกรมฐานข้อมูลต้นไม้ของกรุงเทพมหานคร” | พัฒนา“โปรแกรมฐานข้อมูลต้นไม้ของกรุงเทพมหานคร” จำนวน 1 ระบบ พร้อมสำรวจและนำเข้าข้อมูลไม้ยืนต้นในพื้นที่นำร่อง ได้แก่ สวนสาธารณะ 1 แห่ง สวนหย่อม 1 แห่ง และถนน 1 สาย เพื่อทดสอบการใช้งานโปรแกรมฯ | 0.00 | 0.00 | สํานักสิ่งแวดล้อม | 2018-10-01 00:00:00 | 2019-09-30 00:00:00 | แล้วเสร็จ | 100.00 |
10 | 1.0.2. ด้านที่ ๑ – มหานครปลอดภัย : Bangkok as a Safe City |
4.2. | 2563 | โครงการจ้างเหมาพัฒนาระบบสารสนเทศบริหารจัดการข้อมูลมูลฝอยของกรุงเทพมหานคร | เพื่อให้มีระบบสารสนเทศและฐานข้อมูลด้านการจัดการข้อมูลมูลฝอย สำหรับใช้ในการวางแผนตัดสินใจและกำหนดแนวทางการบริหารจัดการมูลฝอยของกรุงเทพมหานครได้อย่างมีประสิทธิภาพ | - เพื่อให้มีระบบสารสนเทศข้อมูลปริมาณมูลฝอยที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน (การชั่งน้ำหนักมูลฝอยแบบอัตโนมัติ) ณ ศูนย์กำจัดมูลฝอยของกรุงเทพมหานครทั้ง 3 แห่ง และสถานีขนถ่ายมูลฝอยย่อยรัชวิภา และระบบงานที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย เส้นทางการเดินรถเก็บขนมูลฝอย ข้อมูลรถเก็บขนมูลฝอย ปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิง และการวิเคราะห์เพื่อประเมินประสิทธิภาพการจัดการมูลฝอย - เพื่อให้มีฐานข้อมูลสารสนเทศสำหรับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการวางแผน ตัดสินใจ และกำหนดแนวทางการบริหารจัดการมูลฝอยของกรุงเทพมหานคร | - เพื่อให้มีระบบสารสนเทศข้อมูลปริมาณมูลฝอยที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน (การชั่งน้ำหนักมูลฝอยแบบอัตโนมัติ) ณ ศูนย์กำจัดมูลฝอยของกรุงเทพมหานครทั้ง 3 แห่ง และสถานีขนถ่ายมูลฝอยย่อยรัชวิภา และระบบงานที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย เส้นทางการเดินรถเก็บขนมูลฝอย ข้อมูลรถเก็บขนมูลฝอย ปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิง และการวิเคราะห์เพื่อประเมินประสิทธิภาพการจัดการมูลฝอย - เพื่อให้มีฐานข้อมูลสารสนเทศสำหรับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการวางแผน ตัดสินใจ และกำหนดแนวทางการบริหารจัดการมูลฝอยของกรุงเทพมหานคร | 62,100,000.00 | 62,100,000.00 | สํานักสิ่งแวดล้อม | 2019-10-01 00:00:00 | 2020-09-29 00:00:00 | แล้วเสร็จ | 100.00 |
11 | 1.0.4. ด้านที่ ๑ – มหานครปลอดภัย : Bangkok as a Safe City |
3.1. | 2563 | โครงการพัฒนาระบบข้อมูลการจัดการคุณภาพอากาศ | สำนักสิ่งแวดล้อมโดยกองจัดการคุณภาพอากาศและเสียง ได้ดำเนินการติดตามตรวจสอบ คุณภาพอากาศเพื่อเฝ้าระวังสถานการณ์ปัญหามลพิษทางอากาศครอบคลุมพื้นที่ ๕๐ เขต โดยสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศเดิม จำนวน ๔ สถานี สถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศติดตั้งบนเสาเหล็ก จำนวน ๔๖ สถานี และ แบบเคลื่อนที่ จำนวน ๕ คัน ที่ผ่านมาการรับส่งข้อมูลคุณภาพอากาศจากสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศและรถตรวจวัดคุณภาพอากาศมายังกองจัดการคุณภาพอากาศและเสียง ดำเนินการผ่านโปรแกรมต่างๆ ยังไม่มีการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศเดิมกับสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศติดตั้งบนเสาเหล็ก และแบบเคลื่อนที่ ส่งผลให้สำนักสิ่งแวดล้อมขาดการเชื่อมโยงข้อมูลแบบบูรณาการ เพื่อที่จะนำไปประเมินผลมลพิษทางอากาศ และวางแผนบริหารจัดการ ดังนั้น จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องดำเนินการโครงการพัฒนาระบบข้อมูลการจัดการคุณภาพอากาศ เพื่อเชื่อมโยง แลกเปลี่ยนข้อมูลคุณภาพอากาศจากสถานีตรวจวัดต่างๆ ของกรุงเทพมหานคร การแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างหน่วยงานภายในและหน่วยงานภายนอกกรุงเทพมหานคร เพื่อนำมาใช้วิเคราะห์ อ้างอิงข้อมูลค่าตรวจวัดคุณภาพอากาศ ทำให้การประมวลผลที่ศูนย์ข้อมูลคุณภาพอากาศมีความแม่นยำและถูกต้องยิ่งขึ้น ก่อนเผยแพร่ข้อมูลดังกล่าวสู่สาธารณชนต่อไป โดยศูนย์ข้อมูลคุณภาพอากาศสามารถใช้ข้อมูลสภาพแวดล้อมซึ่งเป็นข้อมูลที่ได้รับ หรือจากการเชื่อมโยงข้อมูลอย่างเป็นระบบแบบบูรณาการ อาทิเช่น ทิศทางลม การก่อสร้าง การจราจร ฯลฯ มาประกอบการวิเคราะห์ค่าการตรวจวัดคุณภาพอากาศบริเวณจุดตรวจวัดฯ สามารถประมวลผล แปรผล และเตือนให้ประชาชนหลีกเลี่ยงในการเข้าไปในพื้นที่ที่ค่ามลพิษทางอากาศสูงอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน ทั้งนี้ ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลคุณภาพอากาศ การแปรผล การพยาการณ์คุณภาพอากาศล่วงหน้าภายใน ๒๔ ชั่วโมง ฯลฯ ผ่านทางคอมพิวเตอร์พื้นฐาน แท็ปเล็ต และโทรศัพท์มือถือแบบสมาร์ทโฟน ผ่านระบบแอพพลิเคชั่น โดยทางระบบอินเตอร์เน็ต เพื่อให้ประชาชนสามารถนำข้อมูลคุณภาพอากาศไปช่วยในการตัดสินใจในการทำกิจกรรมภายนอกอาคารบริเวณพื้นที่กรุงเทพมหานคร หรือหลีกเลี่ยงกิจกรรมที่จะก่อให้เกิดมลพิษทางอากาศต่อตัวเองและบริเวณนั้น ซึ่งเป็นสร้างความตระหนักให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการช่วยกันมลพิษทางอากาศในกรุงเทพมหานครต่อไป | 1. เพื่อทดสอบระบบการพัฒนาระบบข้อมูลการจัดการคุณภาพอากาศในการจัดการระบบสารสนเทศข้อมูลคุณภาพอากาศ ระหว่างสถานีตรวจวัดเดิมกับสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศติดตั้งบนเสาเหล็ก แบบเคลื่อนที่ และศูนย์ข้อมูลคุณภาพอากาศกรุงเทพมหานคร 2. เพื่อทดสอบระบบจำลองการแพร่กระจายมลพิษทางอากาศ ระบบเพื่อค้นหาแหล่งกำเนิดมลพิษทางอากาศ ระบบสำหรับนำเข้าและเชื่อมโยงข้อมูลด้านอากาศจากหน่วยงานภายใน และหน่วยงานภายนอกกรุงเทพมหานคร และศึกษาการนำข้อมูลเข้า Big Data 3. เพื่อทดสอบระบบแจ้งเตือนประชาชนชาวกรุงเทพมหานครให้ทราบถึงความเสี่ยงต่อสุขภาพ ระยะเวลาที่สามารถอยู่ได้ในพื้นที่นั้น การป้องกันตนเองเบื้องต้น หากเกิดกรณีอยู่ในพื้นที่ที่มีค่ามลพิษทางอากาศค่าสูง 4. เพื่อแปรผลข้อมูลที่บูรณาการทั้งหมดสนับสนุนให้ผู้บริหารกรุงเทพมหานคร พิจารณา วางแผน ตัดสินใจ และกำหนดนโยบายในการจัดการคุณภาพอากาศของกรุงเทพมหานคร | 1. กองจัดการคุณภาพอากาศและเสียง สำนักสิ่งแวดล้อม เป็นศูนย์สารสนเทศข้อมูลคุณภาพอากาศของกรุงเทพมหานครที่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน 2. ข้อมูลคุณภาพอากาศระหว่างสถานีตรวจวัดเดิม จำนวน ๔ สถานี บนเสาเหล็ก จำนวน ๔๖ สถานี แบบเคลื่อนที่ จำนวน ๕ คัน ข้อมูลหน่วยงานภายใน และหน่วยงานภายนอกกรุงเทพมหานคร สามารถเชื่อมโยง ระหว่างกันอย่างเป็นระบบ (Platform) อยู่ในศูนย์ข้อมูลคุณภาพอากาศกรุงเทพมหานคร (Big Data) 3. การวิเคราะห์ การประมวลผล การแปรผลเหตุการณ์ การพยากรณ์ การแพร่กระจาย การค้นหาแหล่งกำเนิด จากค่าการตรวจวัดคุณภาพอากาศที่ผ่านระบบ Big Data เผยแพร่สู่ประชาชนเชิงแผนที่ภูมิศาสตร์ของกรุงเทพมหานคร ผ่านทางระบบอินเตอร์เน็ต แอพพลิเคชั่น 4. ประชาชนสามารถ รับทราบถึงความเสี่ยง ผลกระทบ การป้องกันสุขภาพของตนเองและช่วยในการตัดสินใจของประชาชนในการทำกิจกรรมใดที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อคุณภาพอากาศ 5. ประชาชนและกรุงเทพมหานคร มีปฏิสัมพันธ์แลกเปลี่ยนข้อมูล ความคิดเห็น ข้อติชมด้านมลพิษทางอากาศ ความรู้ด้านอากาศ อื่นๆ ผ่านทางระบบ social media เช่น ไลน์ เฟซบุ๊ค เป็นต้น | 8,155,000.00 | 8,155,000.00 | สํานักสิ่งแวดล้อม | 2019-10-01 00:00:00 | 2020-09-29 00:00:00 | แล้วเสร็จ | 100.00 |
12 | 2.0.1. ด้านที่ ๒ - มหานครสีเขียว สะดวกสบาย : Bangkok as a Green and Convenient City |
4.2. | 2563 | กิจกรรมรวบรวมฐานข้อมูลต้นไม้ | กิจกรรมรวบรวมข้อมูลพื้นที่สีเขียว 50 เขต | กิจกรรมรวบรวมข้อมูลพื้นที่สีเขียว 50 เขต | กิจกรรมรวบรวมข้อมูลพื้นที่สีเขียว 50 เขต | 0.00 | 0.00 | สํานักสิ่งแวดล้อม | 2019-10-01 00:00:00 | 2020-09-29 00:00:00 | แล้วเสร็จ | 100.00 |
13 | 7.0.1. ด้านที่ ๗ – การบริหารจัดการเมืองมหานคร : Management Strategy |
4.2. | 2563 | กิจกรรมการพัฒนาฐานข้อมูลของหน่วยงาน ตัวชี้วัด 4.1 | ข้อมูล (Data) หมายถึง ข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น และได้มีการรวบรวมเก็บไว้ในรูปแบบต่างๆ ในสื่อต่างๆ ฐานข้อมูล (Database) หมายถึง กลุ่มของข้อมูลที่ถูกเก็บรวบรวมไว้ โดยมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันโดยไม่ได้บังคับว่าข้อมูลทั้งหมดนี้จะต้องเก็บไว้ในแฟ้มข้อมูล (Data file) เดียวกันหรือแยกเก็บหลายๆ แฟ้มข้อมูล(Data file) ความสำเร็จของการพัฒนาฐานข้อมูล หมายถึง การจัดการฐานข้อมูล (Database) โดยการนำเข้าข้อมูลที่ถูกต้อง ครบถ้วน รวดเร็ว ทันสมัย และมีการแบ่งปันการใช้งานข้อมูล ตามแผนการพัฒนาฐานข้อมูลของหน่วยงานและเกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาการปฏิบัติงานตามภารกิจหลักของหน่วยงาน และภาพรวมของกรุงเทพมหานคร | พิจารณาจากกระบวนการในการดำเนินงาน ทั้งการทบทวนระบบข้อมูลที่ต้องการในการปฏิบัติงานและ ติดตามผลการดำเนินงาน การวิเคราะห์และจัดทำรายละเอียดของข้อมูลที่ต้องการจัดเก็บ การจัดทำแผนพัฒนาระบบข้อมูล การพัฒนาฐานข้อมูล และการนำเข้าข้อมูลของหน่วยงาน โดยมีวิธีการดำเนินการทั้งหมด 5 ขั้นตอน | ความสำเร็จของผลการดำเนินการแต่ละขั้นตอน เป็นไปตามเกณฑ์ของคณะกรรมการพัฒนาฐานข้อมูลที่สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผลกำหนด | 0.00 | 0.00 | สํานักสิ่งแวดล้อม | 2019-10-01 00:00:00 | 2020-09-29 00:00:00 | แล้วเสร็จ | 100.00 |
รวม ->13 โครงการ | 0 | 0.00 | 0.00 | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 | 0 | 0 | 0 | 0 |