ลำดับ | ยุทธศาสตร์ 20 ปี | แผนแม่บทไอที | ปีงบประมาณ | ชื่อโครงการ | หลักการและเหตุผล | วัตถุประสงค์โครงการ | เป้าหมายโครงการ | งบประมาณที่ได้รับ | งบประมาณที่ใช้ไป | หน่วยงานที่รับผิดชอบ | เริ่มโครงการ | สิ้นสุดโครงการ | สถานะโครงการ | คืบหน้า (ร้อยละ) |
1 | 7.0.1. ด้านที่ ๗ – การบริหารจัดการเมืองมหานคร : Management Strategy |
4.2. | 2560 | การเพิ่มระบบฐานข้อมูลรหัสชุมชนเข้าในระบบทะเบียนบ้านของเขตธนบุรี | สำนักงานเขตธนบุรีมีพื้นที่การปกครอง จำนวน 8.556 ตารางกิโลเมตร แบ่งการปกครองเป็น 7 แขวง มีจำนวนชุมชนที่ได้รับการจัดตั้งตามระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยชุมชนและกรรมการชุมชนฯ จำนวน 44 ชุมชน ปัจจุบันข้อมูลจำนวนบ้านในชุมชนมีความสำคัญต่อหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเป็นอย่างมาก โดยทะเบียนบ้านของชุมชนเขตธนบุรี ทั้ง 44 ชุมชน ยังไม่มีการเพิ่มรหัสชุมชนเข้าในระบบทะเบียนบ้าน ทำให้ไม่สามารถทราบฐานข้อมูลบ้านของชุมชน จำนวนคนที่มีรายชื่อในทะเบียนบ้าน ทำให้เกิดปัญหาในการจัดทำบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งในชุมชน ปัญหาคนในชุมชน ไม่สามารถสนองตอบต่อนโยบายการให้บริการสู่ความเป็นเลิศได้ ดังนั้น หากมีการนำข้อมูลของชุมชนที่ได้รับการจัดตั้งตามระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยชุมชนและกรรมการขุมชนฯ มากำหนดเข้าในระบบทะเบียนบ้านแล้ว ทะเบียนบ้านแต่ละหลังที่อยู่ในชุมชน แต่ละชุมชนเข้ากับฐานข้อมูลทะเบียนราษฎรของกรมการปกครอง จะทำให้ข้อมูลบ้านและประชากรในแต่ละชุมชนสามารถสืบค้น คัดแยกข้อมูล ได้อย่างถูกต้องจากรหัสของชุมชนที่กำหนดขึ้น ทำให้การให้บริการข้อมูลชุมชนแก่หน่วยงานและบุคคลที่เกี่ยวข้องมีประสิทธิภาพ ทั้งยังเป็นการเพิ่มช่องทางในการให้บริการให้มีความสะดวกและมีประโยชน์มากขึ้น | 1. เพื่อเพิ่มช่องทางในการให้บริการข้อมูลบ้านและประชากรในชุมชนแก่หน่วยงานและบุคคลที่เกี่ยวข้องได้รับความสะดวกเพิ่มขึ้น 2. เพื่อให้การนำข้อมูลของชุมชนมาใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ ได้สะดวกยิ่งขึ้น เช่น การเลือกตั้งกรรมการชุมชน การบริการสาธารณสุข การเข้า ช่วยเหลือสิทธิต่างๆ ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 3. เพื่อให้ฐานข้อมูลทะเบียนราษฎรในแต่ละชุมชนเป็นปัจจุบันและถูกต้อง สามารถตรวจสอบได้ | 1. เพิ่มระบบรหัสชุมชนเข้าในระบบทะเบียนบ้านของเขตธนบุรี จำนวน 44 ชุมชน ลงในฐานข้อมูลให้ครบทุกหลังคาเรือน 2. เป็นการเพิ่มช่องทางในการให้บริการข้อมูลบ้านและประชากรที่อยู่ในชุมชนได้อย่างถูกต้องและสะดวกเพิ่มมากขึ้น | 0.00 | 0.00 | สำนักงานเขตธนบุรี | 2016-10-01 00:00:00 | 2017-09-30 00:00:00 | แล้วเสร็จ | 100.00 |
2 | 1.0.1. ด้านที่ ๑ – มหานครปลอดภัย : Bangkok as a Safe City |
4.2. | 2563 | โครงการจัดทำฐานข้อมูลระบบบำบัดน้ำเสียของสถานประกอบการ | ปัญหาน้ำเน่าเสียของแหล่งน้ำสาธารณะ เป็นปัญหาที่นับวันจะทวีความรุ่นแรงเพิ่มมากขึ้นโดยเฉพาะในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ที่ประสพปัญหาในเรื่องความหนาแน่นของประชากรสูงประกอบกับมีแม่น้ำ ลำคลองที่ไหลผ่านกรุงเทพมหานครได้รับการปนเปื้อนจากตอนบนของประเทศมาอย่างรุนแรงแล้ว ความพยายามที่จะลดความสกปรกหรือการปนเปื้อนของแหล่งน้ำดังกล่าวไม่สามารถดำเนินการให้เกิดผลในระยะเวลาอันสั้นได้อย่างเป็นรูปธรรม จึงมีแนวทางที่จะลดความสกปรกที่จะเพิ่มให้กับแหล่งน้ำดังกล่าวโดยใช้แนวทางการประชาสัมพันธ์และการมีส่วนร่วมของแหล่งกำเนิดน้ำเสียเพื่อลดความสกปรกที่จะเพิ่มให้แหล่งน้ำธรรมชาติ ในที่นี้คือความพยายามที่จะให้ผู้ประกอบการมีการบำบัดน้ำเสียขั้นต้น (Pretreatment) หรือกรณีผู้ประกอบการที่เป็นแหล่งกำเนิดน้ำเสียมีระบบบำบัดน้ำเสียของตนเอง ก็จะสนับสนุนให้สามารถควบคุมกระบวนการให้น้ำผ่านการบำบัดมีคุณสมบัติผ่านตามมาตรฐานน้ำทิ้ง ทั้งนี้แนวทางในการดำเนินการหรือกระตุ้นให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาน้ำเน่าเสียจำเป็นต้องมีฐานข้อมูลคือ จำนวนระบบบำบัดน้ำเสียของผู้ประกอบการ ปริมาณน้ำเสีย คุณสมบัติ ชนิดของระบบบำบัดน้ำเสียเพื่อใช้ในการวางแผน กำหนดแนวทาง จึงเป็นที่มาของโครงการจัดทำฐานข้อมูลระบบบำบัดน้ำเสียของผู้ประกอบการในเขตกรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดน้ำเสียที่มีความสำคัญในอันดับต้นๆ | เพื่อจัดทำฐานข้อมูลระบบบำบัดน้ำเสียของผู้ประกอบการในเขตกรุงเทพมหานคร เพื่อให้ทราบถึงข้อมูลพื้นฐานต่างๆ เช่น ปริมาณน้ำเสีย คุณสมบัติ จำนวนหรือปริมาณของระบบบำบัดน้ำเสียที่มีอยู่ในกรุงเทพมหานคร เพื่อใช้เป็นแหล่งข้อมูลหรือฐานข้อมูลในการประยุกต์ใช้ ในการวางแผนด้านการจัดการคุณภาพน้ำสำหรับแหล่งน้ำสาธารณะ ลดการเกิดน้ำเสียจากแหล่งกำเนิดขนาดใหญ่ รวมถึงการประยุกต์ใช้ระบบบำบัดน้ำเสียขนาดเล็ก เช่นระบบ Onsite Treatment plantและประกอบการพิจารณาดำเนินการในเรื่องการจัดเก็บค่าธรรมเนียมในการบำบัดน้ำเสีย | เพื่อให้สามารถรวบรวมประเมินผล และใช้ฐานข้อมูลดังกล่าวในการวางแผน บริหารจัดการในด้านการจัดการคุณภาพน้ำใน 21 เขตการปกครองที่มีการบริการบำบัดน้ำเสียรวมเป็นอย่างน้อยและขยายไปให้ครบทั้ง 50 เขตการปกครอง (ทั่วทั้งกรุงเทพมหานคร) เป็นการบูรณาการสำนักระบายน้ำเพื่อประสานความร่วมมือกับสถานประกอบการต่าง ๆ ที่เป็นแหล่งให้ข้อมูล | 0.00 | 0.00 | สำนักงานเขตธนบุรี | 2019-10-01 00:00:00 | 2020-09-29 00:00:00 | แล้วเสร็จ | 100.00 |
3 | 7.0.1. ด้านที่ ๗ – การบริหารจัดการเมืองมหานคร : Management Strategy |
4.2. | 2563 | กิจกรรมการพัฒนาฐานข้อมูลของสำนักงานเขตธนบุรี (มิติที่ 4.1) | ฐานข้อมูลเป็นการจัดเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบ ทำให้ผู้ใช้สามารถใช้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องในระบบงานต่าง ๆ ร่วมกันได้ โดยที่จะไม่เกิดความซ้ำซ้อนของข้อมูล และยังสามารถหลีกเลี่ยงความขัดแย้งของข้อมูลด้วย อีกทั้งข้อมูลในระบบก็จะถูกต้องเชื่อถือได้ และเป็นมาตรฐานเดียวกัน สำนักงานเขตธนบุรี จึงได้กำหรดกิจกรรมการพัฒนาฐานข้อมูลของสำนักงานเขตธนบุรีขึ้น เพื่อจัดการกับข้อมูลต่าง ๆ ของสำนักงานเขต ให้สามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการพัฒนาเขตธนบุรีและกรุงเทพมหานครในอนาคต และเพื่อเป็นการดำเนินการตามแผนพัฒนากรุงเทพมหานครประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ตัวชี้วัดที่ 4.1 ร้อยละความสำเร็จของการพัฒนาฐานข้อมูล | 1. เพื่อจัดการกับข้อมูลต่าง ๆ ของสำนักงานเขตให้เป็นระบบ 2. เพื่อให้สามารถนำข้อมูลของสำนักงานเขตธนบุรีมาใช้ประโยชน์ในการพัฒนาเขตธนบุรีและกรุงเทพมหานครในอนาคต 3. เพื่อเป็นการดำเนินการตามแผนพัฒนากรุงเทพมหานครประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ตัวชี้วัดที่ 4.1 ร้อยละความสำเร็จของการพัฒนาฐานข้อมูล | พัฒนาระบบฐานข้อมูลและบันทึกข้อมูลในระบบฐานข้อมูลนั้นอย่างน้อย 1 ฐานข้อมูล คิดเป็น ร้อยละ 100 | 0.00 | 0.00 | สำนักงานเขตธนบุรี | 2019-10-01 00:00:00 | 2020-09-29 00:00:00 | แล้วเสร็จ | 100.00 |
4 | 0.0.0. **** ภารกิจงานประจำของหน่วยงาน **** |
0.0.0 | 2564 | กิจกรรมการพัฒนาฐานข้อมูลของสำนักงานเขตธนบุรี (องค์ประกอบที่ 5.2) | ฐานข้อมูลเป็นการจัดเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบ ทำให้ผู้ใช้สามารถใช้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องในระบบงานต่าง ๆ ร่วมกันได้ โดยที่จะไม่เกิดความซ้ำซ้อนของข้อมูล และยังสามารถหลีกเลี่ยงความขัดแย้งของข้อมูลด้วย อีกทั้งข้อมูลในระบบก็จะถูกต้องเชื่อถือได้ และเป็นมาตรฐานเดียวกัน สำนักงานเขตธนบุรี จึงได้กำหรดกิจกรรมการพัฒนาฐานข้อมูลของสำนักงานเขตธนบุรีขึ้น เพื่อจัดการกับข้อมูลต่าง ๆ ของสำนักงานเขต ให้สามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการพัฒนาเขตธนบุรีและกรุงเทพมหานครในอนาคต และเพื่อเป็นการดำเนินการตามแผนพัฒนากรุงเทพมหานครประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ตัวชี้วัดที่ 4.1 ร้อยละความสำเร็จของการพัฒนาฐานข้อมูล | 1. เพื่อจัดการกับข้อมูลต่าง ๆ ของสำนักงานเขตให้เป็นระบบ 2. เพื่อให้สามารถนำข้อมูลของสำนักงานเขตธนบุรีมาใช้ประโยชน์ในการพัฒนาเขตธนบุรีและกรุงเทพมหานครในอนาคต 3. เพื่อเป็นการดำเนินการตามแผนพัฒนากรุงเทพมหานครประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ตัวชี้วัดที่ 4.1 ร้อยละความสำเร็จของการพัฒนาฐานข้อมูล | ส่วนที่ 1 รักษาสถานภาพฐานข้อมูลของหน่วยงานที่ด้าเนินการในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ส่วนที่ 2 พัฒนาและจัดเก็บข้อมูลในฐานข้อมูลที่มีความส้าคัญต่อการปฏิบัติงานหรือการให้บริการ | 0.00 | 0.00 | สำนักงานเขตธนบุรี | 2020-10-01 00:00:00 | 2021-09-30 00:00:00 | แล้วเสร็จ | 100.00 |
รวม ->4 โครงการ | 0 | 0.00 | 0.00 | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 | 0 | 0 | 0 | 0 |