รายงานสรุปจำนวนโครงการด้านเทคโนโลยีดิจิทัลของกรุงเทพมหานคร (ระหว่าง ปี 2560 - 2563): ณ วันที่ 23/11/2024 จำนวน 25 โครงการ

[พิมพ์ไฟล์ PDF (ทั้งหมด)]

ลำดับ ยุทธศาสตร์ 20 ปี แผนแม่บทไอที ปีงบประมาณ ชื่อโครงการ หลักการและเหตุผล วัตถุประสงค์โครงการ เป้าหมายโครงการ งบประมาณที่ได้รับ งบประมาณที่ใช้ไป หน่วยงานที่รับผิดชอบ เริ่มโครงการ สิ้นสุดโครงการ สถานะโครงการ คืบหน้า (ร้อยละ)
1 4.0.1.
ด้านที่ ๔ – มหานครกระชับ : Bangkok as a Compact City
4.2. 2560 การลงจุดแสดงตำแหน่งอาคารที่มีการออกเลขรหัสประจำบ้าน ตามที่แผนพัฒนากรุงเทพมหานคร ด้านยุทธศาสตร์การพัฒนาประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 1 เรื่องการพัฒนาโครงการ สร้างพื้นฐานแบบบูรณาการเพื่อมุ่งสู่การเป็นศูนย์กลางของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยได้กำหนดให้มีการส่งเสริม และสนับสนุนการใช้ประโยชน์ในที่ดินให้สอดคล้องกับผังเมืองรวมกรุงเทพมหานครอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในด้านการ ปลูกสร้างอาคารบ้านเรือนเพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัย และเพื่อการพาณิชย์นับวันจะเพิ่มมากขึ้น ดังนั้น เพื่อให้การตรวจสอบเพื่อค้นหาตำแหน่งที่ตั้งอาคารที่ได้มีการกำหนดเลขรหัสประจำบ้านพร้อมเลขหมาย ประจำบ้านเป็นไปด้วยความสะดวก รวดเร็ว ถูกต้อง และเพื่อให้การดำเนินงานสามารถรองรับตัวชี้วัดบูรณาการของ สำนักงานเขตตลิ่งชันประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 จึงด้านจัดทำโครงการ “การลงจุดแสดงตำแหน่งอาคารที่มีการออก เลขรหัสประจำบ้านขึ้น” ซึ่งจะเป็นฐานข้อมูลและเป็นประโยชน์สำหรับใช้ในการตรวจสอบการใช้ประโยชน์ในที่ดินและ อาคารตามข้อกำหนดผังเมืองของกรุงเทพมหานคร และของหน่วยงานอื่น ๆ ต่อไป 1.เพื่อสร้างฐานข้อมูลทางภูมิศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการให้เลขบ้าน ให้เป็นปัจจุบันและสามารถตรวจสอบค้นหาได้อย่างสะดวก รวดเร็ว 2.เพื่อเป็นประโยชน์ในการตรวจสอบ ค้นหาตำแหน่งที่ตั้งของอาคารและเลขหมายประจำบ้าน ในพื้นที่เขตตลิ่งชัน สำหรับการให้บริการประชาชน หน่วยงานอื่น ๆ และเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาความสำคัญเกี่ยวกับการพัฒนาเขต 3.เพื่อเป็นฐานข้อมูล ตรวจสอบเปรียบเทียบฐานข้อมูลทางภูมิศาสาตร์และสภาพพื้นที่จริงสามารถกระทำได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ 4.เพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบข้อมูลบ้านของประชาชนและหน่วยงานราชการ 5.เพือนำระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์หรือแผนที่บ้านมาใช้ในการวางแผนบริหารพื้นที่ 1. ให้เลขหมายประจำบ้านแก่อาคารที่ได้รับอนุญาตปลูกสร้างใหม่ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2558 ซึ่งปลูกสร้างพร้อมลงจุดหรือแสดงจุดที่ตั้งองอาคารไว้ในฐานข้อมูลระบบแผนที่สารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) ภายใน 7 วัน นับจากวันยื่นคำขอเลขบ้าน 2. ดำเนินการตรวจสอบ ค้นหาและจัดเก็บข้อมูลเกี่ยวกับเลขบ้านเดิม เพื่อนำเข้าสู่ฐานข้อมูลระบบ (GIS) 0.00 0.00 สำนักงานเขตตลิ่งชัน 2016-10-01 00:00:00 2017-09-30 00:00:00 แล้วเสร็จ 100.00
2 7.0.1.
ด้านที่ ๗ – การบริหารจัดการเมืองมหานคร : Management Strategy
4.2.1 2560 กิจกรรมการปรับปรุงข้อมูลบนเว็บไซต์ของสำนักงานเขตตลิ่งชัน เพื่อให้การบริการข้อมูลข่าวสาร และการประชาสัมพันธ์ภารกิจของสำนักงานเขตตลิ่งชัน ให้กับประชาชนได้รับทราบเป็นไปด้วยความรวดเร็ว เพื่อเพิ่มช่องทางการบริการที่สะดวกและรวดเร็วแก่ประชาชน ระดับผลผลิต 5 เรื่องต่อเดือน นับจำนวนข่าวสารที่ดำเนินการเผยแพร่ภายในปีงบประมาณ 1. ข่าวสาร โดยต้องลงวันที่ที่นำข้อมูลออกเผยแพร่ท้ายหัวข้อข่าวสารทุกรายการ ประกอบด้วย 1.1 ข่าวประชาสัมพันธ์ เป็นการเผยแพร่ข่าวกิจกรรมที่หน่วยงานนำลงในปฏิทินกิจกรรมของเดือนที่ผ่านมา 1.2 ภาพกิจกรรมเป็นการนำภาพถ่าย การจัดกิจกรรมมาเผยแพร่ 1.3 ประกาศ เป็นประกาศต่าง ๆ ที่ประสงค์จะเผยแพร่ เช่น ประกาศของกรุงเทพมหานคร/หน่วยงาน ประกาศอื่น ๆ เช่น การรับสมัครงาน ประกาศการจัดซื้อ-จัดจ้าง ประกาศประกวดราคา ประกาศสอบราคาการประมูลด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ ฯลฯ ระดับผลลัพธ์ ร้อยละ 100 นับจากจำนวนครั้งของการปฏิบัติงานตามข้อ 1 - 3 คูณด้วย 100 หารด้วยจำนวนครั้งทั้งหมดของการปฏิบัติงานตามข้อ 1 - 3 1. ปฏิทินกิจกรรม จะต้องลงกิจกรรมต่าง ๆ ที่วางแผนไว้ล่วงหน้าเป็นรายเดือนในปฏิทินกิจกรรม อย่างน้อย 1 เดือน 2. ปรับปรุงข้อมูลเกี่ยวกับองค์กรทุก 1 เดือน 3. เผยแพร่ข้อมูลต่าง ๆ ตามที่ได้รับการร้องขอ 0.00 0.00 สำนักงานเขตตลิ่งชัน 2016-10-01 00:00:00 2017-09-30 00:00:00 แล้วเสร็จ 100.00
3 4.0.1.
ด้านที่ ๔ – มหานครกระชับ : Bangkok as a Compact City
4.2. 2561 77.การลงจุดแสดงตำแหน่งอาคารที่มีการออกเลขรหัสประจำบ้าน เพื่อให้การค้นหาและตรวจสอบตำแหน่งที่ตั้งของอาคารที่ได้มีการกำหนดเลขรหัสประจำบ้านพร้อมเลขหมายประจำบ้านเป็นไปด้วยความสะดวกรวดเร็ว ถูกต้อง และเพื่อให้การดำเนินงานสามารถรองรับตัวชี้วัดบูรณาการของสำนักงานเขตตลิ่งชัน 2.1 เพื่อให้การสร้างฐานข้อมูลทางภูมิศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการให้เลขบ้าน มีความเป็นปัจจุบันและสามารถตรวจสอบค้นหาได้อย่างรวดเร็ว 2.2 เพื่อให้เป็นประโยชน์ในการตรวจสอบ ค้นหาตำแหน่งที่ตั้งของอาคาร และเลขหมายประจำบ้านในพื้นที่เขตตลิ่งชันสำรหับการให้บริการประชาชน หน่วยงานอื่น ๆ และเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาเกี่ยวกับการพัฒนาเขต 2.3 เพื่อเป็นฐานข้อมูลตรวจสอบ เปรียบเทียบฐานข้อมูลทางภูมิศาสตร์กับสภาพพื้นที่จริงสามารถกระทำได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ 2.4 เพื่อเป็นประโยชน์ในการตรวจสอบข้อมูลบ้านของประชาชนและหน่วยงานราชการ 2.5 เพื่อนำระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ หรือแผนที่บ้านมาใช้ในการวางแผนบริหารพื้นที่ 3.1 ให้เลขหมายประจำบ้านแก่อาคารที่ได้รับอนุญาตปลูกสร้างใหม่ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2560 ซึ่งปลูกสร้างเสร็จพร้อมลงจุดหรือแสดงจุดที่ตั้งของอาคารไว้ในฐานข้อมูลระบบแผนที่สารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) ภายใน 7 วัน นับจากวันยื่นคำขอเลขบ้าน 3.2 ดำเนินการตรวจสอบ ค้นหา และจัดเก็บข้อมูลเกี่ยวกับเลขบ้านเดิม เพื่อนำเข้าสู่ฐานข้อมูลระบบ (GIS) 0.00 0.00 สำนักงานเขตตลิ่งชัน 2017-10-01 00:00:00 2018-09-30 00:00:00 แล้วเสร็จ 100.00
4 4.0.1.
ด้านที่ ๔ – มหานครกระชับ : Bangkok as a Compact City
4.2. 2562 74. การลงจุดแสดงตำแหน่งอาคารที่มีการออกเลขรหัสประจำบ้าน ตามที่แผนพัฒนากรุงเทพมหานครได้ยุทธศาสตร์การพัฒนา ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 1 เรื่องการพัฒนาโครงการสร้างพื้นฐานแบบบูรณาการเพื่อมุ่งสู่การเป็นศูนย์กลางของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้กำหนดให้มีการส่งเสริมและสนับสนุนการใช้ประโยชน์ในที่ดิน ให้สอดคล้องกับผังเมือง รวมกรุงเทพมหานครอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในด้านการปลูกสร้างอาคารบ้านเรือน เพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัย และเพื่อการพาณิชย์นับวันจะเพิ่มมากขึ้น เพื่อให้การค้นหาและตรวจสอบตำแหน่งที่ตั้งของอาคารที่ได้มีการกำหนดรหัสเลขประจำบ้าน พร้อมเลขหมายประจำบ้าน เป็นไปด้วยความสะดวก รวดเร็ว ถูกต้อง และเพื่อให้การดำเนินงานสามารถรองรับตัวชีวัดบูรณาการของสำนักงานเขตตลิ่งชัน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 จึงได้จัดทำโครงการ "การลงจุดแสดงตำแหน่งอาคารที่มีการออกเลขรหัสประจำบ้าน" ขึ้น ซึ่งจะเป็นฐานข้อมูลและเป็นประโยชน์สำหรับใช้ในการตรวจสอบ การใช้ประโยชน์ในที่ดินและอาคารตามข้อกำหนดผังเมืองกรุงเทพมหานคร และของหน่วยงานอื่นๆ ต่อไป 1. เพื่อให้การสร้างฐานข้อมูลทางภูมิศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการให้เลขบ้าน มีความเป็นปัจจุบันและสามารถตรวจสอบค้นหาได้อย่างรวดเร็ว 2. เพื่อให้เป็นประโยชน์ในการตรวจสอบ ค้นหาตำแหน่งที่ตั้งของอาคาร และเลขหมายประจำบ้านในพื้นที่เขตตลิ่งชันสำหรับการให้บริการประชาชน หน่วยงานอื่น ๆ และเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาเกี่ยวกับการพัฒนาเขต 3. เพื่อเป็นฐานข้อมูลตรวจสอบ เปรียบเทียบฐานข้อมูลทางภูมิศาสตร์กับสภาพพื้นที่จริงสามารถกระทำได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ 4. เพื่อเป็นประโยชน์ในการตรวจสอบข้อมูลบ้านของประชาชนและหน่วยงานราชการ 5. เพื่อนำระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ หรือแผนที่บ้านมาใช้ในการวางแผนบริหารพื้นที่ 1. ให้เลขหมายประจำบ้านแก่อาคารที่ได้รับอนุญาตปลูกสร้างใหม่ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2561 ซึ่งปลูกสร้างเสร็จพร้อมลงจุดหรือแสดงจุดที่ตั้งของอาคารไว้ในฐานข้อมูลระบบแผนที่สารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) ภายใน 7 วัน นับจากวันยื่นคำขอเลขบ้าน 2. ดำเนินการตรวจสอบ ค้นหา และจัดเก็บข้อมูลเกี่ยวกับเลขบ้านเดิม เพื่อนำเข้าสู่ฐานข้อมูลระบบ (GIS) 0.00 0.00 สำนักงานเขตตลิ่งชัน 2018-10-01 00:00:00 2019-09-30 00:00:00 แล้วเสร็จ 100.00
5 7.0.1.
ด้านที่ ๗ – การบริหารจัดการเมืองมหานคร : Management Strategy
4.2. 2562 84. โครงการตลิ่งชัน ห่วงใย ใส่ใจวัยสูงอายุ ประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ซึ่งปัญหาที่เกิดขึ้นกับผู้สูงอายุ ประกอบด้วยปัญหาด้านสุขภาพ ปัญหาด้านการเงิน และปัญหาด้านจิตใจ มักจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพของผู้สูงอายุ เราจึงควรตระหนักให้ความสำคัญในการเข้าไปดูแลช่วยเหลือ โดยเฉพาะกลุ่มผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะพิการ หรือทุพพลภาพ เนื่องจากบุคคลเหล่านี้ไม่สามารถดูแลตนเอง หรือใช้ชีวิตอย่างคนปกติทั่วไปได้ สำนักงานเขตตลิ่งชัน จึงนำปัญหาดังกล่าวมาจัดทำโครงการเพื่อดูแลและให้ความช่วยเหลือแก่ผู้สูงอายุ โดยเฉพาะกลุ่มผู้สูงอายุ ที่อยู่ในภาวะพิการ หรือทุพพลภาพ เพื่อให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โดยได้รับความดูแลช่วยเหลือจากหน่วยงานของรัฐ ครอบครัว ชุมชน และสังคม ตามความต้องการ 2.1 เพื่อให้ความช่วยเหลือผู้สูงอายุที่ป่วยติดเตียง และผู้สูงอายุทุพพลภาพ ตามความเหมาะสม 2.2 เพื่อให้ผู้สูงอายุที่ป่วยติดเตียง และผู้สูงอายุทุพพลภาพ ได้รับการดูแลด้านสุขภาพกาย และสุขภาพใจอย่างต่อเนื่อง 2.3 เพื่อให้ผู้สูงอายุที่ป่วยติดเตียง และผู้สูงอายุทุพพลภาพเข้าถึงสวัสดิการของรัฐได้อย่างทั่วถึง และเป็นไปตามหลักเกณฑ์ 2.4 เพื่อให้เกิดการบริการสาธารณะภาครัฐที่มีประสิทธิภาพ มีธรรมาภิบาล โปร่งใส บนความมีส่วนร่วมของประชาชน และความร่วมมือระหว่างรัฐ และเอกชน (Smart Governance) 2.5 เพื่อให้เกิดเครือข่ายในการเข้ามามีส่วนร่วมในการช่วยเหลือผู้สูงอายุที่ป่วยติดเตียง และผู้สูงอายุทุพพลภาพ ผู้สูงอายุที่ป่วยติดเตียงและผู้สูงอายุทุพพลภาพในชุมชนทั้ง 43 ชุมชนในพื้นที่เขตตลิ่งชันได้รับความช่วยเหลือตามความเหมาะสม ได้รับการดูแลสุขภาพกายและสุขภาพใจอย่างต่อเนื่อง สามารถเข้าถึงสวัสดิการของรัฐได้อย่างทั่วถึง และเป็นไปตามหลักเกณฑ์โดยมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน 0.00 0.00 สำนักงานเขตตลิ่งชัน 2018-10-01 00:00:00 2019-09-30 00:00:00 แล้วเสร็จ 100.00
6 7.0.1.
ด้านที่ ๗ – การบริหารจัดการเมืองมหานคร : Management Strategy
4.2. 2562 85. โครงการโรงเรียนจัดการอาหารปลอดภัย ใส่ใจสุขภาพและรักษ์สิ่งแวดล้อม (รักษารอบ) โรงเรียนเปรียบเสมือนบ้านหลังที่สองของนักเรียน ซึ่งต้องใช้ชีวิตเพื่อหาประสบการณ์ในวันหนึ่งๆ มากกว่าอยู่ที่บ้าน จึงต้องเอาใจใส่ดูแลเป็นพิเศษ การจัดสภาพแวดล้อมในโรงเรียนให้มีบรรยากาศที่ดี เหมาะสม และลดภาวะที่เป็นพิษ เพื่อพัฒนาร่างกาย จิตใจ สติปัญญาของนักเรียนให้ดีที่สุด และที่สำคัญที่สุดอีกอย่างคืออาหารที่ต้องจัดการให้สะอาดปลอดภัย ดังนั้น การจัดการอาหารให้ปลอดภัย เป็นสิ่งที่ต้องใส่ใจดูแลเป็นพิเศษ นอกจากนี้โรงเรียนยังเป็นแหล่งที่ถ่ายทอดประสบการณ์ให้นักเรียนข้อมูลเกี่ยวกับทักษะชีวิต และสิทธิขั้นพื้นฐานของนักเรียนจะต้องปลูกฝังและสร้างความเข้าใจและสร้างความตระหนักให้นักเรียน เช่น การทำบัญชีเงินออม การจัดการขยะ การป้องกันอันตรายจากอัคคีภัย และทำไมนักเรียนต้องมีบัตรประชาชน สิ่งเหล่านี้นักเรียน ครู รวมถึงผู้ปกครองจะต้องมีความเข้าใจ สำนักงานเขตตลิ่งชัน ได้ตระหนักถึงความจำเป็น และความปลอดภัยของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และผู้ใช้บริการในโรงเรียน จึงได้จัดทำโครงการโรงเรียนจัดการอาหารปลอดภัย ใส่ใจสุขภาพและรักษ์สิ่งแวดล้อม เพื่อให้นักเรียนได้บริโภคอาหารอย่างปลอดภัย และเรียนอย่างมีความสุข และมีทักษะในชีวิตอย่างเพียงพอ 1. สร้างเครือข่ายระหว่าง สำนักงานเขต โรงเรียน ประชาชนในพื้นที่ 2. บูรณาการความร่วมมือของเครือข่ายในการจัดการอาหารให้ปลอดภัย การจัดการขยะ และสร้างทักษะชีวิตให้นักเรียนในเรื่องการออมเงิน การป้องกันอัคคีภัยและการฝึกซ้อมการอพยพหนีไฟในโรงเรียนเป้าหมาย การจัดทำบัตรประจำตัวประชาชนของนักเรียน รวมถึงdารดูแลความปลอดภัยของนักเรียน 1. มีภาคีเครือข่ายระหว่าง สำนักงานเขต โรงเรียน และประชาชนในพื้นที่ 2. มีการจัดโครงการ/กิจกรรมเพื่อส่งเสริมทักษะชีวิตให้นักเรียนในโรงเรียน 2.1 ดำเนินการจัดการอาหารให้ปลอดภัยตามแนวทางที่กองสุขาภิบาลอาหาร สำนักอนามัยกำหนด - กิจกรรมเฝ้าระวังอาหารในโรงเรียนไม่ให้พบการปนเปื้อนของเชื้อโรคและสารเคมีที่ห้ามใช้ในอาหาร (โดยการใช้ชุดทดสอบอย่างง่าย Test Kit และ SI2) 2.2 การจัดโครงการกิจกรรมเพื่อส่งเสริมทักษะชีวิตให้นักเรียนในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร - จัดทำบัตรประจำบัตรประจำตัวประชาชนให้นักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 2-6 ที่ยังไม่มีบัตรประจำตัวประชาชน 2.3 การให้ความรู้เรื่องการป้องกันอัคคีภัย - ทุกโรงเรียนมีการจัดทำแผนผังภายในโรงเรียน - ทุกโรงเรียนมีการฝึกซ้อมการป้องกันอัคคีภัย และอพยพหนีไฟของนักเรียนและผู้เกี่ยวข้องในโรงเรียน 0.00 0.00 สำนักงานเขตตลิ่งชัน 2018-10-01 00:00:00 2019-09-30 00:00:00 แล้วเสร็จ 100.00
7 4.0.1.
ด้านที่ ๔ – มหานครกระชับ : Bangkok as a Compact City
4.2. 2563 การลงจุดแสดงตำแหน่งอาคารที่มีการออกเลขรหัสประจำบ้าน ตามแผนปฏิบัติราชการกรุงเทพมหานคร ประจำปี พ.ศ. 2563 ทำขึ้นเพื่อให้หน่วยงานของกรุงเทพมหานครมีกรอบและทิศทางการพัฒนากรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2563 ที่ชัดเจน ในส่วนของฝ่ายทะเบียน มีลักษณะงานประจำ สอดคล้องกับสถานการณ์และทิศทางการพัฒนากรุงเทพมหานคร ด้านที่ 4 มหานครกระชับ มิติที่ 4.1 กรุงเทพมหานครเติบโตอย่างเป็นระเบียบตามผังเมืองรวม กำหนดโครงการสำคัญในแผน กิจกรรมการลงจุดแสดงตำแหน่งอาคารที่มีการออกเลขรหัสประจำบ้านและลงจุดแสดงตำแห่งพื้นที่ ที่อนุญาตให้มีการก่อสร้างอาคาร 1. เพื่อให้การสร้างฐานข้อมุลทางภูิศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการให้เลขบ้าน มีความเป็นปัจจุบันและสามารถตรวจสอบ ค้นหาได้อย่างสะดวกรวดเร็ว 2. เพื่อเป็นประโยชน์ในการตรวจสอบ ค้นหาตำแหน่งที่ตั้งของอาคาร และเลขหมายประจำบ้านในพื้นที่เขตตลิ่งชัน สำหรับการให้บริการประชาชน หน่วยงานอื่น ๆ และเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาเกี่ยวกับการพัฒนาเขต 3. เพื่อเป็นฐานข้อมูลตรวจสอบ เปรียบเทียบฐานข้อมูลทางภูมิศาสตร์กับสภาพพื้นที่จริงสามรถกระทำได้อย่างรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ 4. เพื่อเป็นประโยชน์ในการตรวจสอบข้อมูลบ้านของประชาชนและหน่วยงานราชการ 5. เพื่อนำระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ หรือแผนที่บ้านมาใชในการวางแผนบริหารพื้นที่ 1. ให้เลขหมายประจำบ้านแก่อาคารที่ได้รับอนุญาตปลูสร้างใหม่ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2562 ซึ่งปลุสร้างเสร็จพร้อมลงจุดหรือแสดงจุดที่ตั้งของอาคารไว้ในฐานข้อมูลระบบแผที่สารสนเทศภุมิศาสตร์ (GIS) ภายใน 7 วัน นับจากวันยื่นคำขอเลขบ้าน 2. ดำเนินการตรวจสอบ ค้นหา และจัดเก็บข้อมูลเกี่ยวกับเลขบ้านเดิม เพื่อนำเข้าสู่ฐานข้อมูลระบบ (GIS) 0.00 0.00 สำนักงานเขตตลิ่งชัน 2019-10-01 00:00:00 2020-09-30 00:00:00 แล้วเสร็จ 100.00
8 7.0.1.
ด้านที่ ๗ – การบริหารจัดการเมืองมหานคร : Management Strategy
4.2. 2563 โครงการคืนชีวิตแหล่งท่องเที่ยวในชุมชนวัดจำปา ชุมชนวัดจำปาเป็นชุมชนเก่าแก่ที่สุด 1 ใน 8 ของกรุงเทพมหานคร พื้นที่ล้อมรอบด้วยคลองสายหลัก 2 สาย คือคลองบางระมาดและคลองบ้านไทร และมีคลองลัดวัดจำปาเชื่อมคลองทั้งสองสาย เข้าด้วยกันทำให้พื้นที่ของชุมชนมีลักษณะเป็นเกาะ ประชาชนมีการดำเนินชีวิตที่เรียบง่าย เนื่องจากบริเวณนี้ แต่เดิมเป็นแหล่งการค้าชุมชนและท่าเรือเก่า ประกอบกับเป็นย่านการเกษตร ซึ่งเต็มไปด้วยสวนผลไม้ พืชผักพื้นบ้าน พืชสวนครัว และต้นไม้สีเขียว ทำให้มีความร่มรื่น บรรยากาศของบ้านสวนริมคลองที่มีวิถีชีวิตแบบดั้งเดิมเป็นแหล่งเรียนรู้ที่สามารถบอกเล่ามรดกทางวัฒนธรรมที่มีประวัติยาวนานกว่า 500 ปี แต่ความเจริญ ในยุคโลกาภิวัฒน์ส่งผลให้การท่องเที่ยวทางธรรมชาติลดน้อยลง สำนักงานเขตตลิ่งชัน จึงได้บูรณาการความร่วมมือกับหน่วยงานทุกภาคส่วน สนับสนุนการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ (Creative Tourism) โดยนำเอาปัจจัยพื้นฐานของชุมชนมาพัฒนาเป็นกิจกรรมการท่องเที่ยว และเป็นส่วนสำคัญในการอนุรักษ์ เรียนรู้ ถ่ายทอดมรดกทางศิลปวัฒนธรรมในพื้นที่ ส่งเสริมภูมิปัญญา วิถีชีวิตดั้งเดิมของท้องถิ่น ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่นในการบริหารจัดการด้านการท่องเที่ยว ต่อยอดให้เกิดการพัฒนาทางเศรษฐกิจ รวมไปถึงการสร้างเสริมศักยภาพของชุมชนให้มีความพร้อมและมีประสิทธิภาพในการท่องเที่ยวของเมืองในอนาคต เป็นการสร้างงาน สร้างรายได้แก่ชุมชนอย่างยั่งยืน 1. เพื่อให้ชุมชนตระหนักและมีส่วนร่วมในการอนุรักษณ์ศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญา และวิถีชีวิตของชุมชนอย่างยั่งยืน 2. เพื่อพัฒนาศักยภาพด้านการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของชุมชนให้ได้มาตรฐาน และสอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาชุมชนที่ปราศจากการทำลายสิ่งแวดล้อม และนำมาซึ่งความสำเร็จของการพัฒนาอย่างยั่งยืน 3. เพื่อส่งเสริมและเชื่อมโยงการท่องเที่ยวให้เป็นแหล่งศึกษา แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และส่งต่อประสบการณ์แก่นักท่องเที่ยว ชุมชนมีการบริหารจัดการครบตามองค์ประกอบหลักของการท่องเที่ยวโดยชุมชนทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ 1. ทรัพยากรธรรมชาติและวัฒนธรรม คือ การปรับปรุงภูมิทัศน์ให้สวยงามและเป็นระเบียบเรียบร้อย 2. องค์กรชุมชน คือ การมีส่วนร่วมการดำเนินการ และอนุรักษ์อย่างยั่งยืน 3. การจัดการ คือ จัดทำเส้นทางการท่องเที่ยวตลอดแนว 4. การเรียนรู้ คือ วิถีชาวสวน การเกษตรกรรม การเพาะพันธุ์จิ้งหรีด เป็นต้น 0.00 0.00 สำนักงานเขตตลิ่งชัน 2019-10-01 00:00:00 2020-09-29 00:00:00 แล้วเสร็จ 100.00
9 7.0.1.
ด้านที่ ๗ – การบริหารจัดการเมืองมหานคร : Management Strategy
4.2. 2563 โครงการตลิ่งชัน ห่วงใย ใส่ใจวัยสูงอายุ ประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ซึ่งปัญหาที่เกิดขึ้นกับผู้สูงอายุ ประกอบด้วยปัญหาด้านสุขภาพ ปัญหาด้านการเงิน และปัญหาด้านจิตใจ มักจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพของผู้สูงอายุ เราจึงควรตระหนักให้ความสำคัญในการเข้าไปดูแลช่วยเหลือ โดยเฉพาะกลุ่มผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะพิการ หรือทุพพลภาพ เนื่องจากบุคคลเหล่านี้ไม่สามารถดูแลตนเอง หรือใช้ชีวิตอย่างคนปกติทั่วไปได้ สำนักงานเขตตลิ่งชัน จึงนำปัญหาดังกล่าวมาจัดทำโครงการเพื่อดูแลและให้ความช่วยเหลือแก่ผู้สูงอายุ โดยเฉพาะกลุ่มผู้สูงอายุ ที่อยู่ในภาวะพิการ หรือทุพพลภาพ เพื่อให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โดยได้รับความดูแลช่วยเหลือจากหน่วยงานของรัฐ ครอบครัว ชุมชน และสังคม ตามความต้องการ 2.1 เพื่อให้ความช่วยเหลือผู้สูงอายุที่ป่วยติดเตียง และผู้สูงอายุทุพพลภาพ ตามความเหมาะสม 2.2 เพื่อให้ผู้สูงอายุที่ป่วยติดเตียง และผู้สูงอายุทุพพลภาพ ได้รับการดูแลด้านสุขภาพกาย และสุขภาพใจอย่างต่อเนื่อง 2.3 เพื่อให้ผู้สูงอายุที่ป่วยติดเตียง และผู้สูงอายุทุพพลภาพเข้าถึงสวัสดิการของรัฐได้อย่างทั่วถึง และเป็นไปตามหลักเกณฑ์ 2.4 เพื่อให้เกิดการบริการสาธารณะภาครัฐที่มีประสิทธิภาพ มีธรรมาภิบาล โปร่งใส บนความมีส่วนร่วมของประชาชน และความร่วมมือระหว่างรัฐ และเอกชน (Smart Governance) 2.5 เพื่อให้เกิดเครือข่ายในการเข้ามามีส่วนร่วมในการช่วยเหลือผู้สูงอายุที่ป่วยติดเตียง และผู้สูงอายุทุพพลภาพ ผู้สูงอายุที่ป่วยติดเตียงและผู้สูงอายุทุพพลภาพในชุมชนทั้ง 43 ชุมชนในพื้นที่เขตตลิ่งชันได้รับความช่วยเหลือตามความเหมาะสม ได้รับการดูแลสุขภาพกายและสุขภาพใจอย่างต่อเนื่อง สามารถเข้าถึงสวัสดิการของรัฐได้อย่างทั่วถึง และเป็นไปตามหลักเกณฑ์โดยมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน 0.00 0.00 สำนักงานเขตตลิ่งชัน 2019-10-01 00:00:00 2020-09-30 00:00:00 แล้วเสร็จ 100.00
10 7.0.1.
ด้านที่ ๗ – การบริหารจัดการเมืองมหานคร : Management Strategy
4.2. 2563 กิจกรรมการพัฒนาฐานข้อมูลสำนักงานเขตตลิ่งชัน เพื่อให้หน่วยงานมีการจัดทำฐานข้อมูล การนำเข้าข้อมูลที่ถูกต้อง ครบถ้วน รวดเร็ว ทันสมัย และมีการแบ่งปันการใช้งานข้อมูล ตามที่ สยป. กำหนดในคู่มือฯ ความสำเร็จของการพัฒนาฐานข้อมูล ตามที่ สยป. กำหนดในคู่มือฯ ฐานข้อมูลของสำนักงานเขตตลิ่งชัน ตามที่ สยป. กำหนดในคู่มือฯ 0.00 0.00 สำนักงานเขตตลิ่งชัน 2019-10-01 00:00:00 2020-09-29 00:00:00 แล้วเสร็จ 100.00
11 1.0.2.
ด้านที่ ๑ – มหานครปลอดภัย : Bangkok as a Safe City
.. 2564 ค่าใช้จ่ายโครงการอาสาสมัครชักลากมูลฝอยในชุมชน ปัญหาด้านการจัดการมูลฝอยถือเป็นปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมที่มีความสำคัญในกรุงเทพมหานคร อันเนื่องมาจากความเจริญเติบโตด้านเศรษฐกิจ เทคโนโลยี และการเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากร ปัญหามูลฝอยมิใช่ปัญหาเฉพาะหน่วยงานภาครัฐเท่านั้นแต่เป็นปัญหาของประชาชนทุกคนในชุมชนในฐานะผู้ผลิตมูลฝอย ดังนั้นปัจจัยที่มีความสำคัญซึ่งจะช่วยสนับสนุนให้การจัดการมูลฝอยประสบผลสำเร็จจะต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของประชาชน การลดและแยกมูลฝอยที่แหล่งกำเนิด และการสนับสนุนการนำมูลฝอยรีไซเคิลกลับมาใช้ประโยชน์ นับเป็นการแก้ไขปัญหาที่ต้นเหตุ เพื่อลดการทิ้งมูลฝอยเข้าสู่กระบวนการในการเก็บขนมูลฝอย เพื่อให้การบริการเก็บขนมูลฝอยของกรุงเทพมหานครมีประสิทธิภาพและได้รับความร่วมมือที่ดีจากชุมชน สำนักสิ่งแวดล้อมจึงจัดทำโครงการอาสาสมัครชักลากมูลฝอยในชุมชน (โครงการชุมชนร่วมใจรักสะอาดเพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดีของกรุงเทพมหานครเดิม ได้ดำเนินงานตั้งแต่ปีงบประมาณ ๒๕๔๒ จนถึงปัจจุบัน) เพื่อมุ่งหวังที่จะให้การบริการจัดเก็บมูลฝอยในชุมชนต่าง ๆ มีความทั่วถึงแม้แต่ชุมชนที่อยู่ริมคลอง หรือในครอก ซอก ซอยที่รถเก็บมูลฝอยเข้าไปไม่ถึง ทำให้เกิดการทิ้งขยะลงแม่น้ำลำคลอง เกิดขยะตกค้างส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม กรุงเทพมหานครจึงจำเป็นต้องมีอาสาสมัครชักลากมูลฝอยในชุมชน เพื่อทำในการชักลากมูลฝอยออกมาไว้ ณ จุดพักขยะ หรือจุดรวมขยะเพื่อให้รถเก็บขนมูลฝอยสามารถจัดเก็บได้และไม่เกิดขยะตกค้างในชุมชน โดยมีสำนักงานเขตเป็นหน่วยงานในการดำเนินการประสานงานและสร้างความร่วมมือระหว่างหน่วยงานของรัฐและชุมชนในการมีส่วนร่วม ในการรักษาความสะอาด โดยว่าจ้างอาสาสมัครชักลากมูลฝอยในชุมชน เพื่อทำการชักลากมูลฝอยออกมาไว้ที่พักหรือจุดรวบรวมมูลฝอย เพื่อให้กรุงเทพมหานครสามารถจัดเก็บได้ โดยกรุงเทพมหานครจะจ่ายค่าตอบแทนอาสาสมัครวันละ 150.-บาท เนื่องจากมีการปฏิบัติงานจำนวน 15 วันต่อเดือน และจะให้การสนับสนุนงบประมาณด้านวัสดุอุปกรณ์ในการจัดเก็บและชักลากมูลฝอย 1. ชุมชนมีการลดและคัดแยกมูลฝอย และนำกลับมาใช้ประโยชน์ 2. การเก็บขนมูลฝอยของสำนักงานเขตมีประสิทธิภาพมากขึ้น ลดปัญหามูลฝอยตกค้าง 3. ปริมาณมูลฝอยของชุมชนลดลง 297,000.00 289,707.00 สำนักงานเขตตลิ่งชัน 2020-10-01 00:00:00 2021-09-30 00:00:00 แล้วเสร็จ 100.00
12 1.0.2.
ด้านที่ ๑ – มหานครปลอดภัย : Bangkok as a Safe City
.. 2564 ค่าใช้จ่ายในการส่งเสริมการแปรรูปมูลฝอยอินทรีย์เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ กรุงเทพมหานครเป็นศูนย์กลางของความเจริญทางเศรษฐกิจของประเทศไทย ทำให้มีประชากรเข้ามาประกอบอาชีพและพักอาศัยอย่างหนาแน่น ส่งผลให้เกิดปัญหาด้านการจัดการมูลฝอย โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหามูลฝอยจากชุมชนที่มีปริมาณเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปี จากการศึกษาองค์ประกอบมูลฝอยของกรุงเทพมหานครพบว่ามูลฝอยอินทรีย์มีสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 50 ซึ่งหากประชาชนสามารถลดและคัดแยกมูลฝอยอินทรีย์ที่แหล่งกำเนิดและนำไปใช้ประโยชน์ เช่น การเลี้ยงสัตว์ การทำปุ๋ยหมัก การผลิตน้ำหมักชีวภาพหรือน้ำยาอเนกประสงค์ ช่วยลดปริมาณมูลฝอยอินทรีย์ ส่งผลให้กรุงเทพมหานครเสียค่าใช้จ่ายในการจัดการมูลฝอยน้อยลง เพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการคัดแยกมูลฝอยที่แหล่งกำเนิด ตามหลัก 3R รวมถึงส่งเสริมการลดและคัดแยกมูลฝอยที่แหล่งกำเนิดให้บรรลุเป้าหมาย ฝ่ายรักษาความสะอาดฯ ได้จัดทำโครงการส่งเสริมการแปรรูปขยะเศษอาหารเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ ซึ่งเป็นการสนับสนุนการรณรงค์ส่งเสริมให้ประชาชนมีการนำมูลฝอยอินทรีย์มาใช้ประโยชน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นการสร้างเครือข่ายความร่วมมือด้านสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมการนำทรัพยากรกลับมาใช้ประโยชน์ ประหยัดงบประมาณการจัดการมูลฝอยของกรุงเทพมหานคร อีกทั้งเป็นการเสริมสร้างภาพลักษณ์ที่ดีต่อการจัดการมูลฝอยของกรุงเทพมหานคร 1. ประชาชนและสำนักงานเขตได้ทำปุ๋ยน้ำชีวภาพ น้ำยาชีวภาพ ปุ๋ยอินทรีย์ หรือนำมูลฝอยเศษอาหารไปเป็นอาหารสัตว์ 2. ประชาชนมีส่วนร่วมในการจัดการมูลฝอย ณ แหล่งกำเนิด 3. ลดปริมาณมูลฝอยอินทรีย์ เป็นการลดค่าใช้จ่ายในการกำจัดมูลฝอยของกรุงเทพมหานคร 50,000.00 49,980.00 สำนักงานเขตตลิ่งชัน 2020-10-01 00:00:00 2021-09-30 00:00:00 แล้วเสร็จ 100.00
13 2.0.1.
ด้านที่ ๒ - มหานครสีเขียว สะดวกสบาย : Bangkok as a Green and Convenient City
.. 2564 ค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษา ปรับปรุงและเพิ่มพื้นที่สีเขียว กรุงเทพมหานครมีพื้นที่สีเขียวและสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ เฉลี่ยในปี 2561 จำนวน 6.58 ตร.ม. ต่อประชากร 1 คน ซึ่งเมื่อเทียบกับเป้าหมายตามมาตรฐานที่กรุงเทพมหานคร ตั้งเป้าหมายไว้ในปี 2575 ที่จำนวน 9 ตร.ม. ต่อประชากร 1 คน ซึ่งจำเป็นต้องหาเพิ่มพื้นที่สีเขียวเพิ่มขึ้น โดยกำหนดเป็นยุทธศาสตร์ในแผนพัฒนากรุงเทพมหานคร ระยะ 20 ปี ที่ทุกหน่วยงานต้องดำเนินการ สำนักงานเขตตลิ่งชัน เป็นพื้นที่รอบนอกของกรุงเทพมหานคร เดิมพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่เกษตรกรรม ต่อมาเมื่อมีการขยายตัวของเมือง มีถนนสายหลักเกิดใหม่ ตัดผ่านพื้นที่เขตหลายสาย และมีการปรับปรุงก่อสร้างพร้อมขยายขนาดของถนนสายรองอีก ทำให้พื้นที่สีเขียวเดิมลดลง พื้นที่เกษตรกรรมเดิมแปรสภาพเป็นที่อยู่อาศัย สถานประกอบการประเภทร้านค้า ร้านอาหาร ฯลฯ ตามการขยายตัวของเมือง และอัตราเพิ่มขึ้นของประชากรที่เข้ามาอาศัยในพื้นที่เขตตลิ่งชันที่สูงขึ้น ซึ่งในอนาคตจะทำให้มีพื้นที่สีเขียวลดน้อยลง พื้นที่เพื่อการพักผ่อนหย่อนใจสำหรับให้ประชาชนลดน้อยลง และไม่เป็นไปตามเป้าหมาย ตามมาตรฐานที่กรุงเทพมหานครกำหนดไว้ สำนักงานเขตตลิ่งชันได้ตระหนักถึงความสำคัญในเรื่องดังกล่าว จึงได้ดำเนินการเพิ่มพื้นที่สีเขียวโดยการจัดหาพื้นที่สีเขียวเพิ่มขึ้น ในขณะเดียวกันจำเป็นต้องรักษาสภาพสวนสาธารณะ สวนหย่อม และพื้นที่สีเขียวตามสภาพที่ต่างที่มีอยู่เดิม ให้คงสภาพที่สวยงาม เป็นระเบียบเรียบร้อย และเพียงพอต่อความต้องการใช้ประโยชน์ของประชาชน จึงได้จัดทำโครงการค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษา ปรับปรุงและเพิ่มพื้นที่สีเขียว อย่างต่อเนื่องทุกปี เพื่อมุ่งหวังให้เขตตลิ่งชันเป็นเมืองสีเขียวของกรุงเทพมหานคร สนองตอบการเป็นมหานครสีเขียว ตามยุทธศาสตร์การพัฒนากรุงเทพมหานคร ได้อย่างยั่งยืนต่อไป 1. พื้นที่เขตตลิ่งชันมีทัศนียภาพสวยงาม ร่มรื่น มีความเป็นระเบียบเรียบร้อย 2. เพิ่มพื้นที่สีเขียวให้เขตตลิ่งชันและกรุงเทพมหานครให้เป็นไปตามเป้าหมายตามแผนพัฒนากรุงเทพมหานคร 3. ประชาชนมีพื้นที่พักผ่อนหย่อนใจและออกกำลังกาย เป้าหมาย : 1.ปรับปรุงพื้นที่ใต้สะพานข้ามคลองบางขุนศรี ขนาดพื้นที่ 4,480 ตารางเมตร 2. ปรับปรุงภูมิทัศน์ถนนพุทธมณฑลสาย 1 ช่วงข้ามถนนบรมราชชนนีทั้งสองด้าน (4 แปลง) และ ปรับปรุงภูมิทัศน์เกาะกลางจากถนนเลียบทางรถไฟ-แยกไฟแดง สวนผัก พื้นที่ 4,806 ตารางเมตร 1,166,000.00 663,263.00 สำนักงานเขตตลิ่งชัน 2020-10-01 00:00:00 2021-09-30 00:00:00 แล้วเสร็จ 100.00
14 7.0.1.
ด้านที่ ๗ – การบริหารจัดการเมืองมหานคร : Management Strategy
.. 2564 ค่าใช้จ่ายในการอบรมวิชาชีพเสริมรายได้ สำนักงานเขตตลิ่งชันเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบงานด้านส่งเสริมอาชีพแก่ประชาชน จึงได้จัดโครงการส่งเสริมทักษะวิชาชีพ เพื่อให้ประชาชนได้มีโอกาสนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ประโยชน์ เป็นทางเลือกหนึ่งให้ประชาชนที่ว่างงาน ผู้มีรายได้น้อย ได้มีโอกาสฝึกอบรมเสริมสร้างทักษะวิชาชีพ ตลอดจนพัฒนาฝีมือเพื่อนำไปประกอบเป็นอาชีพหลัก หรืออาชีพเสริมเพิ่มพูนรายได้ 2.1 เพื่อให้ประชาชนมีรายได้เสริม มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น 2.2 เพื่อเพิ่มทักษะความรู้ให้แก่ประชาชนผู้สนใจ ให้มีโอกาสเข้ารับการอบรมวิชาชีพ และประชาชนได้ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ 2.3 มีการรวมกลุ่มกันและสร้างเครือข่าย เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน เปิดอบรมหลักสูตรวิชาชีพระยะสั้นให้แก่ประชาชนในพื้นที่เขตตลิ่งชันและประชาชนทั่วไป ผู้สนใจ จำนวน ๒ หลักสูตร 33,000.00 33,000.00 สำนักงานเขตตลิ่งชัน 2020-10-01 00:00:00 2021-05-31 00:00:00 แล้วเสร็จ 100.00
15 7.0.1.
ด้านที่ ๗ – การบริหารจัดการเมืองมหานคร : Management Strategy
.. 2564 ค่าใช้จ่ายในการสนับสนุนการดำเนินงานของคณะกรรมการชุมชน ตามระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการสนับสนุนการพัฒนาชุมชน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2555 โดยกำหนดให้กรุงเทพมหานครจ่ายค่าสนับสนุนการดำเนินงานของคณะกรรมการชุมชน โดยเบิกจ่ายตามจำนวนบ้านที่มีทะเบียนบ้านของแต่ละชุมชน สำนักงานเขตตลิ่งชัน ซึ่งเป็นเขตชั้นนอกสภาพโดยทั่วไปส่วนใหญ่ใช้เป็นที่อยู่อาศัยและการเกษตรบางส่วน ทำให้การเคลื่อนย้ายของประชาชนจากชุมชนอื่นกระจายเข้าสู่พื้นที่กลายเป็นสังคมเมือง การดำเนินการพัฒนาชุมชนจึงนับว่ามีความซับซ้อนและละเอียดอ่อนมากขึ้น ทำให้รูปแบบการดำเนินการพัฒนาชุมชนต้องอาศัยกลไกของประชาชนที่สามารถเปลี่ยนแปลงและปรับปรุงได้กับทุกสถานการณ์ เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องและยั่งยืนตามกระบวนการพัฒนาอย่างแท้จริง การสนับสนุนการดำเนินงานของคณะกรรมการชุมชน จึงเป็นเป้าหมายหลักที่สามารถกระจายงบประมาณให้แก่กลไกหลักในการพัฒนาชุมชน อันได้แก่ คณะกรรมการชุมชนที่ได้รับการจัดตั้งอย่างเป็นทางการเพื่อนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนทางสังคมและสภาพแวดล้อมให้น่าอยู่ตามความต้องการของประชาชนอย่างแท้จริงต่อไป 2.1 เพื่อเป็นการสนับสนุนกรรมการชุมชนให้สามารถดำเนินงานพัฒนาท้องถิ่นของตนเองอย่างแท้จริงต่อเนื่องและยั่งยืน ครบทั้ง 5 ด้าน ได้แก่ ด้านกายภาพ ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม ด้านอนามัย และด้านจิตใจ 2.2 เพื่อสนับสนุนส่งเสริมกระบวนการทำงานร่วมกันของกรรมการชุมชนและประชาชน ให้เกิดความเข้มแข็ง 2.3 เพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้การพัฒนาชุมชนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ รวดเร็ว ตอบสนองความต้องการของประชาชนอย่างแท้จริง ส่งเสริมการสนับสนุนการดำเนินงานของคณะกรรมการชุมชนในพื้นที่เขตตลิ่งชัน จำนวน 45 ชุมชน 3,090,000.00 1,079,155.00 สำนักงานเขตตลิ่งชัน 2020-10-01 00:00:00 2021-09-30 00:00:00 แล้วเสร็จ 100.00
16 7.0.1.
ด้านที่ ๗ – การบริหารจัดการเมืองมหานคร : Management Strategy
.. 2564 ค่าใช้จ่ายในการจ้างอาสาสมัครเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานด้านพัฒนาสังคม สืบเนื่องจากปัญหาทางเศรษฐกิจและสังคมที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง และมีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะปัญหาการกระทำรุนแรงต่อเด็กและสตรี การทอดทิ้งผู้สูงอายุ คนพิการฯลฯ แม้ว่าจะมีหลายหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนเร่งดำเนินการเพื่อแก้ไขปัญหา แต่ก็ยังไม่สามารถบรรลุผลในทางปฏิบัติได้ดีเท่าที่ควร ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการขาดความร่วมมือ หรือการมีส่วนร่วมของประชาชนในการแก้ไขปัญหา การขาดจิตสำนึกที่ตระหนักถึงความสำคัญและความจำเป็นที่ต้องแก้ไข รวมทั้งการไม่ทราบ หรือไม่สามารถเข้าถึงแหล่งการให้บริการและการช่วยเหลือของหน่วยงานต่างๆ ได้ กรุงเทพมหานครจึงได้ส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินงานของอาสาสมัครเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานด้านพัฒนาสังคม เพื่อให้ประชาชนในชุมชนได้ตระหนักถึงความสำคัญของการมีส่วนร่วมของประชาชนในชุมชน ได้เรียนรู้ถึงการเฝ้าระวังเพื่อป้องกัน และร่วมมือกันแก้ไขปัญหาให้แก่ผู้ด้อยโอกาส โดยเฉพาะผู้สูงอายุ และผู้พิการสามารถเข้าถึงสวัสดิการ และความช่วยเหลืออื่นจากรัฐอย่างทั่วถึง โดยสำนักพัฒนาสังคมซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการส่งเสริมการ มีส่วนร่วมของประชาชน การจัดสวัสดิการสังคม การป้องกัน การบรรเทาปัญหาและการพัฒนาฟื้นฟูแก่ประชาชนผู้ประสบปัญหา ได้กำหนดแนวทางการปฏิบัติงานตามนโยบายของผู้บริหารกรุงเทพมหานคร ซึ่งมีรูปแบบการทำงานร่วมกันระหว่างฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคมกับประชาชนอย่างเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น 2.1 เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินงานด้านสังคมสงเคราะห์ และการจัดสวัสดิการสังคมของฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม สำนักงานเขตตลิ่งชัน 2.2 เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาชุมชนและการมีส่วนร่วมของประชาชนในชุมชน 3.1 จ้างเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานด้านพัฒนาสังคมประจำสำนักงานเขตตลิ่งชัน จำนวน ๔ คน 3.2 ประชาชนกลุ่มเป้าหมายทุกระดับ ได้รับการพิทักษ์คุ้มครองสิทธิ ได้รับสวัสดิการและการส่งเสริมพัฒนาอย่างครอบคลุม ทั่วถึง และเป็นธรรม รวมทั้งสามารถเข้าถึงบริการและได้รับการสงเคราะห์ช่วยเหลือในกรณีจำเป็นอย่างรวดเร็ว 3.3 เกิดเครือข่ายการทำงานด้านสวัสดิการ การพัฒนาชุมชน การให้บริการและการสงเคราะห์ช่วยเหลือแก่เด็ก สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการ และผู้ด้อยโอกาสในทุกภาคส่วนของกรุงเทพมหานคร 585,200.00 528,657.00 สำนักงานเขตตลิ่งชัน 2020-10-01 00:00:00 2021-09-30 00:00:00 แล้วเสร็จ 100.00
17 7.0.1.
ด้านที่ ๗ – การบริหารจัดการเมืองมหานคร : Management Strategy
.. 2564 ค่าใช้จ่ายในการสนับสนุนเจ้าหน้าที่เพื่อปฏิบัติงานด้านเด็ก สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการ และผู้ด้อยโอกาส สืบเนื่องจากปัญหาทางเศรษฐกิจและสังคมที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง และมีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะปัญหาการกระทำรุนแรงต่อเด็กและสตรี การทอดทิ้งผู้สูงอายุ คนพิการฯลฯ แม้ว่าจะมีหลายหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนเร่งดำเนินการเพื่อแก้ไขปัญหา แต่ก็ยังไม่สามารถบรรลุผลในทางปฏิบัติได้ดีเท่าที่ควร ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการขาดความร่วมมือ หรือการมีส่วนร่วมของประชาชนในการแก้ไขปัญหา การขาดจิตสำนึกที่ตระหนักถึงความสำคัญและความจำเป็นที่ต้องแก้ไข รวมทั้งการไม่ทราบ หรือไม่สามารถเข้าถึงแหล่งการให้บริการและการช่วยเหลือของหน่วยงานต่างๆ ได้ กรุงเทพมหานครจึงได้ส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินงานของอาสาสมัครเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานด้านเด็ก สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการ และผู้ด้อยโอกาส เพื่อให้ประชาชนในชุมชน ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการมีส่วนร่วมของประชาชนในชุมชน ได้เรียนรู้ถึงการเฝ้าระวังเพื่อป้องกัน และร่วมมือกันแก้ไขปัญหาให้แก่ผู้ด้อยโอกาส โดยเฉพาะผู้สูงอายุ และผู้พิการสามารถเข้าถึงสวัสดิการ และความช่วยเหลืออื่นจากรัฐอย่างทั่วถึง โดยสำนักพัฒนาสังคมซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน การจัดสวัสดิการสังคม การป้องกัน การบรรเทาปัญหาและการพัฒนาฟื้นฟูแก่ประชาชนผู้ประสบปัญหา ได้กำหนดแนวทางการปฏิบัติงานตามนโยบายของผู้บริหารกรุงเทพมหานคร ซึ่งมีรูปแบบการทำงานร่วมกันระหว่างฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคมกับประชาชนอย่างเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น 2.2 เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินงานด้านสังคมสงเคราะห์ และการจัดสวัสดิการสังคมของฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม สำนักงานเขตตลิ่งชัน 2.1 เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาชุมชนและการมีส่วนร่วมของประชาชนในชุมชน 3.1 จ้างเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานด้านเด็ก สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการ และผู้ด้อยโอกาสประจำสำนักงานเขตตลิ่งชัน จำนวน ๔ คน 3.2 ประชาชนกลุ่มเป้าหมายทุกระดับ ได้รับการพิทักษ์คุ้มครองสิทธิ ได้รับสวัสดิการ และการส่งเสริมพัฒนาอย่างครอบคลุม ทั่วถึง และเป็นธรรม รวมทั้งสามารถเข้าถึงบริการและได้รับการสงเคราะห์ช่วยเหลือในกรณีจำเป็นอย่างรวดเร็ว 3.3 เกิดเครือข่ายการทำงานด้านสวัสดิการ การพัฒนาชุมชน การให้บริการและการสงเคราะห์ช่วยเหลือแก่เด็ก สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการ และผู้ด้อยโอกาสในทุกภาคส่วนของกรุงเทพมหานคร 514,600.00 401,199.00 สำนักงานเขตตลิ่งชัน 2020-10-01 00:00:00 2021-09-30 00:00:00 แล้วเสร็จ 100.00
18 7.0.1.
ด้านที่ ๗ – การบริหารจัดการเมืองมหานคร : Management Strategy
.. 2564 ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร ศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร เป็นภารกิจที่กรุงเทพมหานครได้รับการถ่ายโอนมาจากกรมส่งเสริมการเกษตร ตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542 และแผนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2543 จำนวน 50 ศูนย์ ในพื้นที่ 26 เขตชั้นนอก เป็นศูนย์กลางให้เกษตรกรได้เข้ามามีส่วนร่วมคิด วิเคราะห์ วางแผน และบริหารจัดการแผนด้วยตนเอง และเป็นสถานที่ให้บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีทางการเกษตรทั้งด้านพืช ปศุสัตว์ ประมง รวมทั้งเป็นศูนย์กลาง การให้ข้อมูลข่าวสารการเกษตรที่สำคัญแก่เกษตรกรในลักษณะบูรณาการของหน่วยงานต่างๆ เพื่อให้เกิดจุดศูนย์รวมการบริการความรู้ด้านการเกษตร เพื่อให้การดำเนินกิจกรรมข้างต้นเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ บรรลุเป้าหมายขององค์กรและเกิดประโยชน์สูงสุดกับเกษตรกรและประชาชนทั่วไป สำนักงานเขตตลิ่งชัน โดยฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม จึงได้จัดทำโครงการเพื่อส่งเสริมกิจกรรมศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร 2.1 เพื่อส่งเสริมการดำเนินงานศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร 2.2 เพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรเกิดการรวมกลุ่ม พัฒนาอาชีพ และอนุรักษ์พื้นที่การเกษตร 2.3 เพื่อส่งเสริมการประชาสัมพันธ์ข่าวสารด้านการเกษตร 3.1 จัดประชุมคณะกรรมการศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร จำนวน 4 ครั้ง/ปี 3.2 จัดกิจกรรมส่งเสริมการรวมกลุ่มและพัฒนาด้านการเกษตร ให้เกษตรกรและประชาชนทั่วไป การให้ความรู้และสาธิตเทคโนโลยีด้านการเกษตร 3.3 ประชาสัมพันธ์ข่าวสารและองค์ความรู้ด้านการเกษตรให้แก่ เกษตรกรและประชาชนผู้สนใจ 460,400.00 398,440.00 สำนักงานเขตตลิ่งชัน 2020-10-01 00:00:00 2021-09-30 00:00:00 แล้วเสร็จ 100.00
19 7.0.1.
ด้านที่ ๗ – การบริหารจัดการเมืองมหานคร : Management Strategy
.. 2564 ค่าใช้จ่ายในการส่งเสริมกิจกรรมสโมสรกีฬาและลานกีฬา กรุงเทพมหานครได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาการกีฬาเพื่อมวลชนและการพัฒนากีฬาขั้นพื้นฐาน เนื่องจากมีความเกี่ยวพันและเป็นความต้องการของประชาชนในกรุงเทพมหานครเป็นส่วนใหญ่ จึงได้กำหนดให้มีการจัดตั้งลานกีฬาสำหรับประชาชนที่กระจายอยู่ในชุมชนต่างๆ ทั่วกรุงเทพมหานคร เพื่อใช้เป็นสถานที่ออกกำลังกาย เสริมสร้างพลานามัย นันทนาการ และการจัดกิจกรรมรวมกลุ่ม เพื่อการพัฒนาและจัดระเบียบชุมชนของตนให้น่าอยู่ และนอกเหนือจากนี้ ยังเป็นการสร้างทางเลือก แก่ประชาชนในชุมชนด้านการป้องกันปัญหายาเสพติด ปัญหาอาชญากรรม ฯลฯ โดยได้กำหนดให้โครงการส่งเสริมกิจกรรมสโมสรกีฬาและลานกีฬา เป็นโครงการนโยบายของกรุงเทพมหานครและให้ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ซึ่งผลการดำเนินงานที่ผ่านมามีข้อควรปรับปรุงในเรื่องความพอเพียงในการให้บริการ เช่น การปรับปรุงในด้านกายภาพ อุปกรณ์กีฬา จำนวนลานกีฬาและจำนวนอาสาสมัครลานกีฬา รวมทั้งผู้ใช้บริการมีความต้องการให้มีสิ่งอำนวยความสะดวก เช่น ห้องน้ำ ไฟฟ้าส่องสว่าง เป็นต้น สำนักงานเขตตลิ่งชัน มีลานกีฬาทั้งสิ้น 17 ลาน ดังนั้นเพื่อเป็นการตอบสนองความต้องการของประชาชนผู้รับบริการ จึงได้จัดโครงการส่งเสริมกิจกรรมสโมสรกีฬาและลานกีฬาขึ้น เพื่อจัดหาสถานที่ให้ประชาชนในชุมชนได้มีสถานที่ออกกำลังกาย เล่นกีฬา และสร้างสรรค์กิจกรรมที่เป็นประโยชน์แก่ชุมชน รวมทั้งเป็นสถานที่ในการทำกิจกรรมร่วมกันในครอบครัวอย่างต่อเนื่อง และจัดให้มีอาสาสมัครลานกีฬา ช่วยปฏิบัติงานในลานกีฬา เพื่อให้มีความพร้อมต่อการใช้บริการ สนับสนุนการดำเนินกิจกรรมด้านสโมสรกีฬาการปรับปรุงด้านกายภาพ เพื่อพัฒนาระดับลานกีฬาในพื้นที่เขตตลิ่งชัน ให้มีมาตรฐานและเกิดเป็นรูปธรรม อันจะนำไปสู่กระบวนการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่เขตตลิ่งชันต่อไป 2.1 เพื่อจัดหาสถานที่ให้ประชาชนในชุมชน ได้มีสถานที่ออกกำลังกายเล่นกีฬาอย่างต่อเนื่อง และสร้างสรรค์กิจกรรมที่เป็นประโยชน์แก่ชุมชน รวมทั้งเป็นสถานที่ในการ ทำกิจกรรมร่วมกันของคนในครอบครัวอย่างต่อเนื่อง 2.2 เพื่อส่งเสริมให้เด็ก เยาวชน และประชาชน ได้มีโอกาสพัฒนาความสามารถด้านกีฬา 2.3 เพื่อสนับสนุนการจัดกิจกรรมต่างๆ ของสโมสรกีฬาเขตตลิ่งชัน 3.1 จ้างอาสาสมัครลานกีฬา จำนวน 4 คน เพื่อจัดกิจกรรมด้านกีฬาและนันทนาการ ภายในลานกีฬาให้แก่ผู้มาใช้บริการลานกีฬา 3.2 สนับสนุนให้สมาชิกสโมสรกีฬาเขตตลิ่งชัน และประชาชนทุกเพศทุกวัยในชุมชนพื้นที่ เขตตลิ่งชัน ได้รับการส่งเสริมและพัฒนาด้านการกีฬา 685,900.00 577,127.00 สำนักงานเขตตลิ่งชัน 2020-10-01 00:00:00 2021-09-30 00:00:00 แล้วเสร็จ 100.00
20 7.0.1.
ด้านที่ ๗ – การบริหารจัดการเมืองมหานคร : Management Strategy
.. 2564 ค่าใช้จ่ายในการจัดกิจกรรมครอบครัวรักการอ่าน ภายใต้กระแสโลกาภิวัฒน์ที่สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจ การเมือง สังคมและเทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว จึงได้มีการปรับแนวคิดใหม่ที่ไม่เน้นพัฒนาประเทศแบบแยกส่วน แต่เน้นการพัฒนา แบบองค์รวม โดยดำเนินการพัฒนาอย่างมีความสมดุล รู้จักพอประมาณอย่างมีเหตุผล มีภูมิคุ้มกัน รู้เท่าทันโลก และเสริมสร้างให้เกิดคนดีในสังคมทุกระดับ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นมีผลกระทบต่อเด็กและเยาวชนซึ่งเป็นทรัพยากรบุคคลและเป็นผู้สืบทอดเจตนารมณ์และวิถีชีวิตของประเทศ หากเด็กและเยาวชนไม่ได้รับการพัฒนา ศักยภาพให้สอดคล้องกับการพัฒนาการของร่างกาย จิตใจ อารมณ์และสังคม จะทำให้ขาดบุคลากรที่ดีมีคุณภาพไม่สามารถพัฒนาประเทศชาติให้เจริญก้าวหน้าได้ ห้องสมุด คือ ขุมคลังทางปัญญาของชุมชน และเป็นสัญลักษณ์ของความใฝ่รู้ของผู้คนในสังคม นั้น ๆ ซึ่งมีความเคลื่อนไหวทางปัญญาและมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และห้องสมุดที่ดีสามารถตอบสนองความต้องการค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเองของเด็ก เยาวชน และประชาชนได้มากที่สุดในการหาความรู้ในเชิงวิชาการ การติดตามข่าวสารบ้านเมืองผ่านสื่อในรูปแบบต่างๆ ที่มีความน่าสนใจ ทันสมัย ตลอดจนกิจกรรมต่างๆ ที่น่าสนใจ และควรต้องจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านที่หลากหลายและต่อเนื่อง เพื่อสร้างสรรค์กิจกรรมเครือข่ายการเรียนรู้เพื่อให้เด็ก เยาวชนและประชาชนรู้จักแสวงหาข้อมูลรู้จักคิด รู้จักเลือกสรรสารสนเทศที่ดีมีประโยชน์เหมาะแก่การนำไปใช้ ในการดำเนินชีวิตพัฒนาตนเอง ให้เป็นสังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้สร้างสรรค์ประสบการณ์ในการอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุข และเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้นตามนโยบายของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร สำนักงานเขตตลิ่งชันได้เห็นความสำคัญของการพัฒนาการเรียนรู้นอกห้องเรียน โดยเฉพาะ การส่งเสริมให้เด็ก เยาวชน และประชาชนมาใช้บริการอ่านหนังสือ และเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ที่บ้านหนังสือมากยิ่งขึ้น จึงได้จัดทำโครงการครอบครัวรักการอ่าน เพื่อตอบสนองต่อความต้องการเรียนรู้และพัฒนาองค์ความรู้ต่างๆ ให้ประชาชนได้ทุกเพศทุกวัย 2.1 เพื่อสร้างสรรค์ประสบการณ์เครือข่ายการเรียนรู้ที่หลากหลาย 2.2 ส่งเสริมเด็ก เยาวชน และประชาชนให้มีนิสัยรักการอ่าน และการศึกษาค้นคว้านอกห้องเรียน 2.3 เพื่อให้บริการข่าวสารและความรู้ต่างๆ ที่ทันต่อเหตุการณ์ความเคลื่อนไหวของประเทศและโลก 2.4 ส่งเสริมให้เด็ก เยาวชน และประชาชนรู้จักใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ 2.5 เพื่อส่งเสริมภาพพจน์ ด้านการให้บริการสาธารณะในพื้นที่กรุงเทพมหานครในการจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชน เด็ก เยาวชน และประชาชนเข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 2 ครั้ง ๆ ละ 170 คน รวมทั้งสิ้น 340 คน จัดกิจกรรม ณ บริเวณบ้านหนังสือวัดทองบางเชือกหนัง และบ้านหนังสือชุมทางตลิ่งชัน เด็ก เยาวชน และประชาชนได้ทำกิจกรรมส่งเสริมการอ่านร่วมกัน เมื่อการดำเนินกิจกรรมเสร็จสิ้นแล้ว เด็ก เยาวชน และประชาชน มีนิสัยรักการอ่านตามความมุ่งมั่นและวิสัยทัศน์ของกรุงเทพมหานคร 80,000.00 0.00 สำนักงานเขตตลิ่งชัน 2020-10-01 00:00:00 2021-09-30 00:00:00 ยกเลิก 10.00
21 7.0.1.
ด้านที่ ๗ – การบริหารจัดการเมืองมหานคร : Management Strategy
.. 2564 ค่าใช้จ่ายศูนย์ประสานงานธนาคารสมองของกรุงเทพมหานคร กรุงเทพมหานครมีบุคลากรผู้สูงอายุที่มีความรู้ความสามารถในด้านต่างๆ ซึ่งเป็นภูมิปัญญา ที่ควรอนุรักษ์และสืบทอดจำนวนมากมายที่ไม่ได้นำความรู้ความสามารถที่มีอยู่มาใช้ให้เกิดประโยชน์และนับวันจะลดน้อยลงไปเรื่อยๆ ซึ่งกลุ่มผู้สูงอายุเหล่านี้มีความตื่นตัวสูงในการรวมกลุ่ม เพื่อร่วมทำกิจกรรมต่างๆ รวมถึงให้ความช่วยเหลือสังคม ตลอดจนมีความตั้งใจที่จะนำความรู้ความสามารถมาใช้ให้เกิดประโยชน์ ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม สำนักงานเขตตลิ่งชัน ได้ตระหนักถึงความสำคัญดังกล่าว จึงได้จัดโครงการศูนย์ประสานงานธนาคารสมองของกรุงเทพมหานครขึ้น เพื่อสรรหาและคัดเลือก รวมถึงเผยแพร่ภูมิปัญญาผู้สูงอายุที่มีความรู้ความสามารถและประสบการณ์ที่น่าสนใจและเป็นประโยชน์ต่อสังคมให้คนรุ่นหลังได้สืบทอดต่อไป 2.1 เพื่อสรรหาและเผยแพร่ภูมิปัญญาผู้สูงอายุ ที่ควรอนุรักษ์และสืบทอด 2.2 เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนนำภูมิปัญญาที่ได้รับการเผยแพร่ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ 2.3 เพื่อเป็นการสร้างเสริมเอกลักษณ์ไทยจากภูมิปัญญาท้องถิ่น 2.4 เพื่อสร้างจิตสำนึกให้คนในสังคมตระหนักถึงผู้สูงอายุในฐานะบุคคลที่มีประโยชน์ต่อสังคม สรรหาภูมิปัญญาผู้สูงอายุ เขตตลิ่งชัน 1 ภูมิปัญญา เพื่อเข้าร่วมกิจกรรมเผยแพร่ภูมิปัญญาผู้สูงอายุ ณ สำนักงานเขตตลิ่งชัน 10,000.00 5,500.00 สำนักงานเขตตลิ่งชัน 2020-10-01 00:00:00 2021-09-30 00:00:00 แล้วเสร็จ 100.00
22 7.0.1.
ด้านที่ ๗ – การบริหารจัดการเมืองมหานคร : Management Strategy
.. 2564 ค่าใช้จ่ายในการส่งเสริมกิจการสภาเด็กและเยาวชนกรุงเทพมหานคร ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ พ.ศ. 2550 และที่แก้ไข เพิ่มเติม (ฉบับที่ 2 ) พ.ศ. 2560 ได้กำหนดให้ทุกจังหวัด และกรุงเทพมหานครจัดตั้งคณะบริหารสภาเด็กและเยาวชนเขตขึ้น ซึ่งให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ มีหน้าที่ในการพัฒนาเด็กและเยาวชน รวมทั้งแก้ปัญหาที่อาจมีผลกระทบในทางลบต่อเด็กและเยาวชน โดยมีเป้าหมายส่งเสริมเด็กและเยาวชนในทุกระดับให้มีส่วนร่วมในการดำเนินงานเพื่อการพัฒนาเด็กและเยาวชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งการส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนได้เข้ามามีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นในเรื่องต่างๆ ที่มีผลกระทบต่อเด็กและเยาวชน ตลอดจนสนับสนุนให้เด็กและเยาวชนได้มีการแสดงออกที่สอดคล้องกับระดับความรู้ความสามารถซึ่งพัฒนาไปตามวัย ของเด็กและเยาวชน สำนักงานเขตตลิ่งชัน โดยฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม จึงได้จัดทำโครงการค่าใช้จ่ายในการส่งเสริมกิจการสภาเด็กและเยาวชนกรุงเทพมหานคร เพื่อพัฒนาศักยภาพของกลุ่มเด็กและเยาวชน อีกทั้งผู้นำเด็กและเยาวชนโดยใช้กระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน คิดค้นและดำเนินกิจกรรมที่เกิดจากความต้องการของกลุ่ม ซึ่งจะช่วยให้เยาวชนได้มีโอกาสแสดงออกทางความคิด และมี ส่วนร่วมในการพัฒนาตนเอง ครอบครัว ชุมชน สังคมอย่างเป็นรูปธรรมที่ชัดเจน 2.1 เพื่อสนับสนุนและขับเคลื่อนการดำเนินงานของสภาเด็กและเยาวชนเขตตลิ่งชัน 2.2 เพื่อให้สภาเด็กและเยาวชนเขตตลิ่งชันเป็นศูนย์กลางประสานงานและส่งเสริมการมี ส่วนร่วมของเด็กและเยาวชน 2.3 เพื่อพัฒนาศักยภาพของกลุ่มเด็กและเยาวชนและผู้นำเด็กและเยาวชนโดยใช้กระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน คิดค้นและดำเนินกิจกรรมที่เกิดจากความต้องการของกลุ่ม 2.4 เพื่อให้เด็กและเยาวชนได้มีโอกาสแสดงออกทางความคิด และมีส่วนร่วมในการพัฒนาตนเอง ครอบครัว สังคมอย่างเป็นรูปธรรมที่ชัดเจน 2.5 เพื่อส่งเสริมความเข้มแข็งของสภาเด็กและเยาวชนเขต รวมถึงการรวมกลุ่มของเด็กและเยาวชนให้มีการแสดงออกในแนวทางที่เหมาะสม 3.1 จ้างอาสาสมัครช่วยปฏิบัติงานสภาเยาวชนเขต จำนวน 1 คน 3.2 จัดประชุมสมาชิกสภาเด็กและเยาวชนเขต และผู้เกี่ยวข้องประจำเดือน จำนวน 20 คน ประชุม จำนวน 6 ครั้ง 3.3 กิจกรรมพิเศษสภาเด็กและเยาวชนเขต จำนวน 1 ครั้ง 149,800.00 100,272.00 สำนักงานเขตตลิ่งชัน 2020-10-01 00:00:00 2021-09-30 00:00:00 แล้วเสร็จ 100.00
23 7.0.1.
ด้านที่ ๗ – การบริหารจัดการเมืองมหานคร : Management Strategy
.. 2564 ค่าใช้จ่ายในการจัดกิจกรรมการออกกำลังกาย การมีสุขภาพดี นับเป็นลาภอันพึงปรารถนาอย่างหนึ่งของมนุษย์ การออกกำลังกายที่ถูกต้องเหมาะสมจึงเป็นวิธีการสำคัญประการหนึ่งที่จะช่วยเสริมให้ร่างกายมี สุขภาพที่ดี มีพลานามัยสมบูรณ์ แข็งแรง ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอจึงเป็นการเตรียมตัวเองให้มีร่างกายที่แข็งแรง และมีสุขภาพจิตที่ดี พร้อมที่จะต่อสู้กับปัญหาต่าง ๆ ในการดำรงชีวิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ สำนักงานเขตตลิ่งชัน ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการออกกำลังกายดังกล่าว จึงจัดให้มีกิจกรรมการเต้นแอโรบิค เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้เด็ก เยาวชน และประชาชนมีสุขภาพร่างกายสมบูรณ์แข็งแรง โดยปัจจุบันสำนักงานเขตตลิ่งชัน ส่งเสริมและสนับสนุนให้ลานกีฬาในพื้นที่เขตตลิ่งชัน จำนวน 5 ลาน ดำเนินการจัดกิจกรรมการเต้นแอโรบิคขึ้น เพื่อเป็นการส่งเสริมให้ประชาชนได้ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ โดยการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพที่แข็งแรง และเรียนรู้วิธีการ/ท่าทางการออกกำลังกายที่ถูกวิธีจากวิทยากรผู้มีประสบการณ์ 2.1 เพื่อส่งเสริมให้เยาวชน เด็ก และประชาชนได้ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ รู้จักใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ ห่างไกลจากยาเสพติด 2.2 เพื่อเด็ก เยาวชน และประชาชน มีโอกาสเข้าร่วมกิจกรรมและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน 2.3 เพื่อให้เกิดความสามัคคีและส่งเสริมความสัมพันธ์อันดี ระหว่างเด็ก เยาวชน และประชาชนในชุมชน โดยใช้กิจกรรมการออกกำลังกายแอโรบิคเป็นสื่อนำ ดำเนินการจัดโครงการส่งเสริมกิจกรรมการออกกำลังกาย โดยฝึกสอนการเต้นแอโรบิค ให้แก่เด็ก เยาวชน และประชาชนทั่วไป ณ ลานกีฬาชุมชนในพื้นที่เขตตลิ่งชัน และลานบริเวณสำนักงานเขตตลิ่งชันจำนวน 5 ลาน ดังนี้ 3.1 ฝึกสอนการเต้นแอโรบิค สัปดาห์ละ 1 วัน จำนวน 1 ลาน ได้แก่ ลานบริเวณสำนักงานเขตตลิ่งชัน 3.2 ฝึกสอนการเต้นแอโรบิค สัปดาห์ละ 3 วัน จำนวน 2 ลาน ได้แก่ ลานกีฬาชุมชนวัดปากน้ำ ฝั่งเหนือ และลานกีฬาวัดทองบางเชือกหนัง 3.3 ฝึกสอนการเต้นแอโรบิค สัปดาห์ละ 4 วัน จำนวน 1 ลาน ได้แก่ ลานกีฬาชุมชนวัดมณฑป 3.4 ฝึกสอนการเต้นแอโรบิค สัปดาห์ละ 5 วัน จำนวน 1 ลาน ได้แก่ ลานกีฬามูลนิธิร่วมใจธรรม 204,500.00 82,250.00 สำนักงานเขตตลิ่งชัน 2020-10-01 00:00:00 2021-09-30 00:00:00 แล้วเสร็จ 100.00
24 7.0.1.
ด้านที่ ๗ – การบริหารจัดการเมืองมหานคร : Management Strategy
.. 2564 ค่าใช้จ่ายโครงการรู้ใช้ รู้เก็บ คนกรุงเทพฯ ชีวิตมั่นคง สภาพเศรษฐกิจและสังคมในปัจจุบันที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ทำให้ทุกคนต้องเผชิญกับความไม่แน่นอนในการดำรงชีวิต และการอยู่อย่างพอเพียง ประหยัด รู้จักเก็บออม มีสติ ไม่ประมาท ไม่ตื่นตระหนกไปกับสถานการณ์ต่าง ๆ รวมทั้งคอยติดตามข่าวสาร ความรู้ ปรับตัวพร้อมรับกับทุกสถานการณ์ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญยิ่ง กรุงเทพมหานครได้ตระหนักถึงความสำคัญนี้ จึงมีนโยบายให้สำนักงานเขตจัดกิจกรรมในการส่งเสริมการวางแผนทางการเงิน เพื่อขจัดปัญหาความยากจนอย่างยั่งยืน สำนักงานเขตตลิ่งชันในฐานะหน่วยงานหนึ่งของกรุงเทพมหานคร จึงนำนโยบายของกรุงเทพมหานครมาปฏิบัติ เพื่อแก้ไขปัญหาด้านเศรษฐกิจให้กับประชาชน โดยการสร้างวินัยการใช้จ่ายเงินและลดค่าใช้จ่าย รวมทั้งดำเนินกิจกรรมประชาสัมพันธ์การดำเนินงานและการให้ข้อมูลข่าวสารและช่องทางเข้า สู่ระบบบริหารการเงินให้กับประชาชน 2.1 เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีวินัยทางการเงิน และรู้จักการวางแผนทางการเงิน อันเป็นการช่วยสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจของครอบครัว 2.2 เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้นักบริหารเงินออมในการให้คำแนะนำ และเป็นที่ปรึกษา แก่ประชาชน 2.3 เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนสามารถบริหารจัดการ มีการจัดสรรเงินออม และใช้เงินออม เป็นแหล่งทุนในการประกอบอาชีพเพื่อเพิ่มรายได้ให้กับครอบครัว แนะนำการวางแผนทางการเงิน วิธีการทำบัญชีรายรับ - รายจ่ายเบื้องต้น ตรวจสอบสุขภาพทางการเงินให้แก่แรงงานนอกระบบ ผู้มีรายได้น้อย ประชาชนในชุมชน กลุ่ม ชมรมต่าง ๆ ของเขตตลิ่งชัน จำนวน 800 คน 20,000.00 8,000.00 สำนักงานเขตตลิ่งชัน 2020-10-01 00:00:00 2021-09-30 00:00:00 แล้วเสร็จ 100.00
25 7.0.1.
ด้านที่ ๗ – การบริหารจัดการเมืองมหานคร : Management Strategy
.. 2564 ค่าใช้จ่ายในการจัดงานวันสำคัญ อนุรักษ์สืบสานวัฒนธรรมประเพณี การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทย ก่อให้เกิดการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจโดยรวมอย่างรวดเร็ว ยิ่งมีความเจริญมากเพียงใดก็จำเป็นต้องมีการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มีคุณภาพ มีความรู้ความสามารถ และมีคุณธรรมมีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต ตลอดจนมีจิตสำนึกและภาคภูมิใจในการธำรงรักษาไว้ซึ่งชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ขนบธรรมเนียมประเพณีและเอกลักษณ์ไทยให้ดำรงสืบไป สำนักงานเขตตลิ่งชัน ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีไทยและมุ่งหวัง ที่จะสืบสานวัฒนธรรมและประเพณีต่าง ๆ ที่ดีงามไว้ให้ลูกหลานได้สืบต่อกันไป ดังนั้น สำนักงานเขตตลิ่งชันจึงได้จัดทำโครงการค่าใช้จ่ายในการจัดงานวันสำคัญ อนุรักษ์สืบสานวัฒนธรรมประเพณีไทยขึ้น โดยยึดหลักตามนโยบายของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครด้านคุณภาพชีวิต สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรมและเศรษฐกิจ 2.1 เพื่อให้เด็ก เยาวชนและประชาชนทั่วไปได้แสดงออกถึงความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ 2.2 เพื่ออนุรักษ์และสืบสานวัฒนธรรมและประเพณีวิถีชีวิตของความเป็นไทยให้คงไว้ตลอดไป 2.3 เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวในพื้นที่เขตตลิ่งชันและตลาดน้ำ อันเป็นการสนับสนุนนโยบายของกรุงเทพมหานครในการส่งเสริมการท่องเที่ยว 2.4 เพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น โดยการพัฒนาเด็กเยาวชนรวมทั้งสถาบันครอบครัวให้มีศักยภาพ ซึ่งจะมีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์สังคมที่อบอุ่นและเข้มแข็งในอนาคต กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมสืบสานวัฒนธรรมไทยประเพณีชักพระ ประจำปี 2563 กำหนดจัดกิจกรรม ในวันแรม 2 ค่ำ เดือน 12 ณ สำนักงานเขตตลิ่งชัน เป็นเวลา 1 วัน มีกิจกรรมต่างๆ ได้แก่ ขบวนอัญเชิญ พระบรมสารีริกธาตุทางน้ำจากวัดนางชี – สำนักงานเขตตลิ่งชัน จัดขบวนต้อนรับขบวนอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุบริเวณตลาดน้ำตลิ่งชัน จัดงานฉลองพระบรมสารีริกธาตุ มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมประมาณ 700 คน กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมส่งเสริมวัฒนธรรมและประเพณีวันสงกรานต์ กำหนดจัดกิจกรรมในเดือนเมษายน 2564 เป็นเวลา 1 วัน ณ บริเวณสำนักงานเขตตลิ่งชัน โดยกำหนดให้มีกิจกรรมถวายภัตตาหารเพลพระภิกษุ รดน้ำขอพรผู้สูงอายุ มีการแสดงของชมรมผู้สูงอายุ ฯลฯ มีประชาชนในพื้นที่เขตตลิ่งชันและบริเวณใกล้เคียงเข้าร่วมกิจกรรมประมาณ 300 คน กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมแห่เทียนพรรษาเนื่องในเทศกาลวันเข้าพรรษา กำหนดจัดกิจกรรมในเดือนกรกฎาคม 2564 เป็นเวลา 1 วัน โดยจัดกิจกรรมร่วมกับวัดในพื้นที่เขตตลิ่งชัน กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว กำหนดจัดกิจกรรมในเดือนกรกฎาคม 2564 ณ บริเวณสำนักงานเขตตลิ่งชัน เป็นเวลา 1 วัน โดยกำหนดให้มีกิจกรรมต่างๆ ได้แก่ ตักบาตรข้าวสารอาหารแห้ง ถวายภัตตาหารเช้าพระภิกษุสงฆ์ ฯลฯ มีองค์กรต่างๆ ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน สถานศึกษาและประชาชนในพื้นที่เขตตลิ่งชันและบริเวณใกล้เคียงเข้าร่วมกิจกรรมประมาณ 300 คน กิจกรรมที่ 5 กิจกรรมวันแม่แห่งชาติ กำหนดจัดกิจกรรมในเดือนสิงหาคม 2564 ณ บริเวณสำนักงานเขตตลิ่งชัน เป็นเวลา 1 วัน โดยกำหนดให้มีกิจกรรมต่างๆ ได้แก่ ตักบาตรข้าวสารอาหารแห้ง ถวายภัตตาหารเช้าพระภิกษุสงฆ์ ฯลฯ มีองค์กรต่าง ๆ ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน สถานศึกษาและประชาชน ในพื้นที่เขตตลิ่งชันและบริเวณใกล้เคียงเข้าร่วมกิจกรรม ประมาณ 300 คน 500,000.00 200,000.00 สำนักงานเขตตลิ่งชัน 2020-10-01 00:00:00 2021-09-30 00:00:00 ยกเลิก 50.00
รวม ->25 โครงการ 0 0.00 0.00 0 0.00 0 0.00 0 0 0 0