ลำดับ | ยุทธศาสตร์ 20 ปี | แผนแม่บทไอที | ปีงบประมาณ | ชื่อโครงการ | หลักการและเหตุผล | วัตถุประสงค์โครงการ | เป้าหมายโครงการ | งบประมาณที่ได้รับ | งบประมาณที่ใช้ไป | หน่วยงานที่รับผิดชอบ | เริ่มโครงการ | สิ้นสุดโครงการ | สถานะโครงการ | คืบหน้า (ร้อยละ) |
1 | 7.0.1. ด้านที่ ๗ – การบริหารจัดการเมืองมหานคร : Management Strategy |
4.2.1 | 2560 | กิจกรรมการปรับปรุงข้อมูลบนเว็บไซต์ของสำนักงานเขตภาษีเจริญ | สำนักงานเขตภาษีเจริญ เล็งเห็นความสำคัญของการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของหน่วยงาน จึงดำเนินการปรับปรุง แก้ไข เพิ่มเติม ข้อมูลข่าวสาร ต่างๆ ในเว็บไซด์สำนักงานเขตภาษีเจริญให้เป็นปัจจุบันอยู่เสมอ เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของหน่วยงานได้อย่างถูกต้อง รวดเร็ว | เพื่อให้เว็บไซด์ของหน่วยงานได้รับการปรับปรุง แก้ไข เพิ่มเติม ข้อมูลข่าวสาร ต่างๆ ให้เป็นปัจจุบันอยู่เสมอ ประชาชนเข้าถึงได้ง่าย ได้ข้อมูลที่ถูกต้อง เป็นปัจจุบัน | ดำเนินการปรับปรุงข้อมูลในเว็บไซด์ของสำนักงานเขตภาษีเจริญให้เป็นไปตามเกณฑ์และเป็นปัจจุบัน | 0.00 | 0.00 | สำนักงานเขตภาษีเจริญ | 2016-10-01 00:00:00 | 2017-09-30 00:00:00 | แล้วเสร็จ | 100.00 |
2 | 4.0.1. ด้านที่ ๔ – มหานครกระชับ : Bangkok as a Compact City |
4.2. | 2562 | กิจกรรมการลงจุดแสดงตำแหน่งอาคารที่มีการออกเลขรหัสประจำบ้าน | การวางแผนเพื่อการบริหารจัดการเมือง ระบบจัดการฐานข้อมูลแผนที่การใช้ประโยชน์และการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินและอาคาร ระบบอำนวยความสะดวกในการสืบค้น วิเคราะห์ และแสดงผลข้อมูลในแต่ละพื้นที่ถือเป็นองค์ประกอบสำคัญของระบบภูมิสารสนเทศที่ต้องนำมาใช้เพื่อการวิเคราะห์ ติดตามและประเมินผลผังเมืองรวมต่อไปในอนาคต | 1. เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการใช้ประโยชน์ที่ดินให้สอดคล้องกับผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร 2. เพื่อเป็นการบูรณาการฐานข้อมูลระบบภูมิสารสนเทศ กับข้อมูลของระบบงานทะเบียนราษฎรในส่วนของการออกเลขหมายประจำบ้าน ให้ทันสมัยอยู่เสมอ 3. เพื่อสามารถค้นหาตำแหน่งการลงจุดการออกเลขหมายประจำบ้านได้อย่างรวดเร็ว 4. เพื่อให้ข้อมูลการออกเลขหมายประจำบ้านของสำนักงานเขตภาษีเจริญ ถูกต้อง ครบถ้วน และเป็นปัจจุบัน สอดคล้องกับผังเมืองรวม กรุงเทพมหานคร | ร้อยละ 100 ของการลงจุดแสดงตำแหน่งอาคารที่มีการออกเลขรหัสประจำบ้าน | 0.00 | 0.00 | สำนักงานเขตภาษีเจริญ | 2018-10-01 00:00:00 | 2019-09-30 00:00:00 | แล้วเสร็จ | 100.00 |
3 | 0.0.0. **** ภารกิจงานประจำของหน่วยงาน **** |
4.2. | 2563 | การพัฒนาฐานข้อมูล | สำนักงานเขตมีการรวบรวมข้อมูล (Data) หมายถึง ข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น และได้มีการรวบรวมเก็บไว้ในรูปแบบต่างๆ ในสื่อต่างๆ ลงใน ฐานข้อมูล (Database) หมายถึง กลุ่มของข้อมูลที่ถูกเก็บรวบรวมไว้ โดยมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันโดยไม่ได้บังคับว่าข้อมูลทั้งหมดนี้จะต้องเก็บไว้ในแฟ้มข้อมูล (Data file) เดียวกันหรือแยกเก็บหลายๆ แฟ้มข้อมูล (Data file) และมีการจัดการฐานข้อมูล (Database) อย่างเป็นระบบ | มีการจัดการฐานข้อมูล (Database) โดยการนำเข้าข้อมูลที่ถูกต้อง ครบถ้วน รวดเร็ว ทันสมัย และมีการแบ่งปันการใช้งานข้อมูล ตามแผนการพัฒนาฐานข้อมูลของหน่วยงาน | มีการจัดการฐานข้อมูล (Database) โดยการนำเข้าข้อมูลที่ถูกต้อง ครบถ้วน รวดเร็ว ทันสมัย เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาการปฏิบัติงานตามภารกิจหลักของหน่วยงาน และภาพรวมของกรุงเทพมหานคร | 0.00 | 0.00 | สำนักงานเขตภาษีเจริญ | 2019-10-01 00:00:00 | 2020-09-29 00:00:00 | แล้วเสร็จ | 100.00 |
4 | 0.0.0. **** ภารกิจงานประจำของหน่วยงาน **** |
.. | 2564 | โครงการกรุงเทพฯ เมืองแห่งสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมที่ดี สะอาด ปลอดภัย | กรุงเทพมหานคร เป็นมหานครแห่งศูนย์กลางของความเจริญและการพัฒนาในหลายๆด้าน มีประชากรอาศัยอยู่อย่างหนาแน่น มีโรงงานอุตสาหกรรม สถานประกอบการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพจำนวนมาก ก่อเกิดปัญหาการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม ภาวะโลกร้อน การเพิ่มขึ้นของโรคระบาด ปัญหาด้านการสาธารณสุข ทางสังคม ด้านการจราจร และ ปัญหาด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินและการดำเนินชีวิต การปนเปื้อนของเชื้อโรคในอาหาร การร้องเรียนและเหตุเดือดร้อนรำคาญต่างๆ หรือเหตุอื่นที่อาจก่อให้เกิดความเสื่อมหรือเป็นอันตรายต่อสุขภาพซึ่งกระทบต่อการดำเนินชีวิตของประชาชน เพื่อเสริมสร้างให้ประชาชนมีการดำเนินชีวิตและมีสุขภาพอนามัยที่ดี จำเป็นต้องเฝ้าระวัง ควบคุมป้องกันและแก้ไขปัญหาด้านสาธารณสุข ออกปฏิบัติงานในด้านสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ เช่น การตรวจสอบควบคุมสถานประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ การป้องกันปัญหาด้านสุขาภิบาลอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การตรวจสอบติดตามการบังคับใช้กฎหมายตามพระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ.2560 การแก้ไขและตรวจสอบปัญหาเหตุเดือดร้อนรำคาญ การตรวจสอบและควบคุมสถานที่จำหน่ายและสะสมอาหารป้องกันการปนเปื้อนของเชื้อโรคหรือสารเคมีในอาหาร การเฝ้าระวังและตอบโต้เหตุฉุกเฉิน รวมทั้งการปฏิบัติงานในภาวะหรือสถานการณ์ฉุกเฉินเร่งด่วน สามารถปฏิบัติงานได้อย่างรวดเร็ว มีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชน | 1. เพื่อตรวจสอบเฝ้าระวังการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมและด้านสุขลักษณะ ด้านอาชีวอนามัย ความปลอดภัย ด้านอาหารปลอดภัยของสถานประกอบกิจการ 2. เพื่อส่งเสริมการจัดการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมและอาชีวอนามัยของสถานประกอบกิจการและการจัดการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมของอาคารและสถานที่ทำงานให้มีสภาวะสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมและอาชีวอนามัยที่ดี 3. เพื่อเพิ่มศักยภาพในการจัดการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมที่ดีและสนับสนุนการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล สำนักงานเขตภาษีเจริญ ในการปฏิบัติงานด้านสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม และอาชีวอนามัยให้ทันต่อวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ทันสมัย มีความพร้อมต่อการแก้ไขปัญหาที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์ปัญหาด้านสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม 4. ป้องกันและคุ้มครองสุขอนามัยที่ดีของประชาชนในเขตภาษีเจริญ ให้ปราศจากภาวะคุกคามทางสุขภาพจากควันบุหรี่ และเพื่อบังคับใช้กฎหมายตามพระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ.2560 | - กิจกรรมที่ 1 การบังคับใช้กฎหมายตามพระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ.2560 ออกปฏิบัติงานนอกเวลาราชการของวันราชการปกติในเวลาเย็น กลางคืน หรือยามวิกาลในสถานที่ราชการ สถานที่สาธารณะ แหล่งชุมนุมชน สถานพยาบาล สถานศึกษา วัดและศาสนสถาน ป้ายรถโดยสารประจำทาง และสถานีรถไฟฟ้า เพื่อดำเนินการตรวจสอบและประชาสัมพันธ์การปฏิบัติตามพระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ.2560 จำนวน 35 - กิจกรรมที่ 2 การตรวจสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม ออกปฏิบัติงานในภาวะฉุกเฉิน เร่งด่วน หรือกรณีจำเป็นนอกเวลาราชการของวันราชการปกติในเวลาเย็น กลางคืน หรือยามวิกาล เพื่อดำเนินการแก้ไขปัญหาให้กับประชาชน การตรวจสอบแก้ไขเหตุเดือดร้อนรำคาญ การตรวจสอบด้านสุขลักษณะ อาชีวอนามัย ด้านอาหารปลอดภัยความปลอดภัยในสถานประกอบการ ตรวจการปนเปื้อนของเชื้อโรคในอาหาร การรณรงค์เผยแพร่ความรู้ด้านสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมและส่งเสริมสุขภาพอนามัย การป้องกันและควบคุมปัญหาสาธารณสุข หรือปัญหาทางด้านสาธารณสุขอื่นๆตามสถานการณ์ จำนวน 48 วัน | 165,100.00 | 36,000.00 | สำนักงานเขตภาษีเจริญ | 2020-10-01 00:00:00 | 2021-09-30 00:00:00 | แล้วเสร็จ | 100.00 |
5 | 1.0.2. ด้านที่ ๑ – มหานครปลอดภัย : Bangkok as a Safe City |
.. | 2564 | โครงการกรุงเทพมหานครเขตปลอดบุหรี่ | จากรายงานของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ปี พ.ศ. 2561 พบว่า ทั่วประเทศมีประชากรอายุ ๑๕ ปีขึ้นไป สูบบุหรี่ ๑0.๗ ล้านคน เป็นผู้สูบบุหรี่ที่อยู่ในพื้นที่กรุงเทพมหานครประมาณ 1.2 ล้านคน ผลกระทบที่เกิดจากการสูบบุหรี่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญกับบุคคลที่อยู่บริเวณใกล้เคียง และก่อให้เกิดโรคร้ายกับผู้ที่ได้รับควันบุหรี่นั้นด้วย ประกอบกับพระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ. 2560 กำหนดให้มีการจำกัดวิธีการจำหน่าย กำหนดอายุผู้ซื้อ กำหนดสถานที่ห้ามจำหน่ายยาสูบ ห้ามโฆษณา และกำหนดให้มีเขตปลอดบุหรี่ เพื่อคุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ ซึ่งกรุงเทพมหานครได้ดำเนินโครงการกรุงเทพมหานครเขตปลอดบุหรี่ต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2562 – ปัจจุบัน เพื่อสร้างพื้นที่เขตปลอดบุหรี่ในการควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบและปฏิบัติตามแผนยุทธศาสตร์การควบคุมยาสูบแห่งชาติแล้วจำนวน 6 เขต ซึ่งเป็นภารกิจภายใต้การกำกับของคณะกรรมการควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบกรุงเทพมหานคร สำนักงานเขตภาษีเจริญ จึงจัดทำโครงการกรุงเทพมหานครเขตปลอดบุหรี่ เพื่อดำเนินงานเขตปลอดบุหรี่ในการควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบในพื้นที่เขตภาษีเจริญ สร้างการรับรู้ให้แก่ประชาชนในพื้นที่เขตภาษีเจริญ ซึ่งจะเป็นการสร้างการมีส่วนร่วมที่ทำให้สังคมกรุงเทพมหานครเป็นสังคมที่ปลอดภัยจากควันบุหรี่ | 1. เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ให้เป็นไปตามกฎหมาย และแผนยุทธศาสตร์ควบคุมยาสูบแห่งชาติ 2. เพื่อขยายพื้นที่การดำเนินงานเขตปลอดบุหรี่ให้ครอบคลุมพื้นที่กรุงเทพมหานคร | ผู้เข้าร่วมอบรมมีความรู้เกี่ยวกับการดำเนินงานตามแนวทางกรุงเทพมหานครเขตปลอดบุหรี่ โดยกลุ่มเป้าหมายในการอบรม ประกอบด้วย ผู้จำหน่ายยาสูบ ผู้เกี่ยวข้อง เด็กและเยาวชนในพื้นที่เขตภาษีเจริญ | 30,000.00 | 0.00 | สำนักงานเขตภาษีเจริญ | 2020-10-01 00:00:00 | 2021-09-30 00:00:00 | ชะลอ | 17.00 |
6 | 1.0.5. ด้านที่ ๑ – มหานครปลอดภัย : Bangkok as a Safe City |
.. | 2564 | โครงการกรุงเทพฯ เมืองอาหารปลอดภัย | ประเทศไทยยังประสบกับปัญหาในด้านความไม่ปลอดภัยของอาหาร ที่ผลิตทั้งในเรื่องการปนเปื้อนของจุลินทรีย์ก่อโรคทางเดินอาหาร การตกค้างของสารเคมี สารปฏิชีวนะและสารพิษในพืชผักผลไม้เป็นต้น ซึ่งเป็นอันตรายสำคัญที่อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน เพื่อให้การดำเนินงานด้านอาหารปลอดภัยมีความยั่งยืนและเกิดประโยชน์ต่อชาวกรุงเทพมหานครสูงสุด สำนักงานเขตภาษีเจริญจึงได้จัดทำโครงการค่าใช้จ่ายโครงการกรุงเทพฯ เมืองอาหารปลอดภัย ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕64 ขึ้น เพื่อกำหนดกรอบและทิศทางในการดำเนินงานด้านอาหารปลอดภัยให้มีความต่อเนื่อง เพื่อให้หน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนได้ตื่นตัวและตระหนักถึงความสำคัญในเรื่องความปลอดภัยของอาหาร รวมทั้งเป็นการเสริมสร้างภาพลักษณ์และประชาสัมพันธ์งานด้านอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานคร รวมไปถึงการจัดทำฐานข้อมูลจากสถานประกอบการทุกกลุ่มเป้าหมาย | ๑. เพื่อปรับปรุง ยกระดับมาตรฐานด้านสุขลักษณะการจำหน่ายอาหารในสถานประกอบกิจการจำหน่ายอาหาร ๒. เพื่อตรวจสอบและเฝ้าระวังคุณภาพอาหารในสถานประกอบกิจการจำหน่ายและสะสมอาหาร ๓. เพื่อตรวจสอบคุณภาพอาหารกรณีเกิดเหตุฉุกเฉินและร้องเรียนด้านอาหาร ๔. เพื่อสร้างเสริมประสบการณ์และวิสัยทัศน์ด้านอาหารปลอดภัยให้กว้างไกลและเหมาะสมกับสถานการณ์ และพัฒนาบุคลากรผู้ปฏิบัติงานให้มีความรู้เพื่อคุณภาพงานด้านอาหารปลอดภัย ๕. เพื่อพัฒนาความรู้ความเข้าใจ จิตสำนึกและความร่วมมือขององค์กรภาคเอกชนผู้ประกอบการจำหน่ายและสะสมอาหาร และประชาชนทั่วไปในเรื่องอาหารปลอดภัย ๖. เพื่อคุ้มครองผู้บริโภค และสร้างความมั่นใจในการบริโภคอาหารที่สะอาดปลอดภัย | ร้อยละ 100 ของสถานประกอบกิจการจำหน่ายและสะสมอาหารผ่านเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัย ที่กรุงเทพมหานครกำหนด (จำนวน 195 แห่ง) | 81,000.00 | 36,050.00 | สำนักงานเขตภาษีเจริญ | 2020-10-01 00:00:00 | 2021-09-30 00:00:00 | แล้วเสร็จ | 100.00 |
7 | 0.0.0. **** ภารกิจงานประจำของหน่วยงาน **** |
.. | 2565 | โครงการกรุงเทพฯ เมืองแห่งสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมที่ดี สะอาด ปลอดภัย | กรุงเทพมหานคร เป็นมหานครแห่งศูนย์กลางของความเจริญและการพัฒนาในหลายๆด้าน มีประชากรอาศัยอยู่อย่างหนาแน่น มีโรงงานอุตสาหกรรมตั้งแต่ขนาดเล็กไปจนถึงขนาดใหญ่ มีสถานประกอบการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพจำนวนมาก ก่อเกิดปัญหาการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมที่มีสาเหตุปัจจัยเกี่ยวเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะภาวะโลกร้อน มีการเพิ่มขึ้นของโรคระบาด โรคระบาดอุบัติใหม่ที่แพร่กระจายข้ามพื้นที่อย่างรวดเร็ว ปัญหาด้านการสาธารณสุข ทางสังคม ด้านการจราจร และ ปัญหาด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินและการดำเนินชีวิต การปนเปื้อนของเชื้อโรคในอาหาร การร้องเรียนและเหตุเดือดร้อนรำคาญต่างๆ หรือเหตุอื่นที่อาจก่อให้เกิดความเสื่อมหรือเป็นอันตรายต่อสุขภาพซึ่งกระทบต่อการดำเนินชีวิตของประชาชนจำนวนมาก ดังนั้น เพื่อเสริมสร้างให้ประชาชนมีการดำเนินชีวิตและมีสุขภาพอนามัยที่ดี ตอบสนองประชาชนในการแก้ไขปัญหาสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมที่ต้องมีความแม่นยำ รวดเร็ว และได้มาตรฐานสากล เป็นความจำเป็นที่ต้องมีการปรับเปลี่ยนวิธีการทำงานใหม่ด้วยการใช้องค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ด้านการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมและกฎหมาย ประกอบการวิเคราะห์แก้ไขปัญหามากขึ้น บุคลากรด้านสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมจึงต้องมีการพัฒนาองค์ความรู้และทักษะให้เท่าทันกับการเปลี่ยนแปลงของปัญหาสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้น ด้วยการเฝ้าระวัง ควบคุมป้องกันและแก้ไขปัญหาด้านสาธารณสุข ออกปฏิบัติงานในด้านสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ เช่น การตรวจสอบควบคุมสถานประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ การป้องกันปัญหาด้านสุขาภิบาลอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การตรวจสอบติดตามการบังคับใช้กฎหมายตามพระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ.2560 การแก้ไขและตรวจสอบปัญหาเหตุเดือดร้อนรำคาญ การตรวจสอบและควบคุมสถานที่จำหน่ายและสะสมอาหารป้องกันการปนเปื้อนของเชื้อโรคหรือสารเคมีในอาหาร การเฝ้าระวังและตอบโต้เหตุฉุกเฉิน รวมทั้งการปฏิบัติงานในภาวะหรือสถานการณ์ฉุกเฉินเร่งด่วน สามารถปฏิบัติงานได้อย่างรวดเร็ว มีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชน ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล สำนักงานเขตภาษีเจริญ มีบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบในการดำเนินงานเสริมสร้างสภาวะทางสุขภาพที่ดีให้กับประชาชน และเห็นความสำคัญในเรื่องการบริหารงานด้านสาธารณสุขในระดับพื้นที่ ซึ่งใกล้ชิดประชาชนมากที่สุด จึงได้จัดทำโครงการกรุงเทพฯ เมืองแห่งสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมที่ดี สะอาด ปลอดภัย เขตภาษีเจริญ ปี พ.ศ. 2565 ขึ้น | 1. เพื่อตรวจสอบเฝ้าระวังการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมและด้านสุขลักษณะ ด้านอาชีวอนามัย ความปลอดภัย ด้านอาหารปลอดภัยของสถานประกอบกิจการ 2. เพื่อส่งเสริมการจัดการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมและอาชีวอนามัยของสถานประกอบกิจการและการจัดการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมของอาคารและสถานที่ทำงานให้มีสภาวะสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมและอาชีวอนามัยที่ดี 3. เพื่อเพิ่มศักยภาพในการจัดการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมที่ดีและสนับสนุนการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล สำนักงานเขตภาษีเจริญ ในการปฏิบัติงานด้านสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม และอาชีวอนามัยให้ทันต่อวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ทันสมัย มีความพร้อมต่อการแก้ไขปัญหาที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์ปัญหาด้านสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม 4. ป้องกันและคุ้มครองสุขอนามัยที่ดีของประชาชนในเขตภาษีเจริญ ให้ปราศจากภาวะคุกคามทางสุขภาพจากควันบุหรี่ และเพื่อบังคับใช้กฎหมายตามพระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ.2560 | - กิจกรรมที่ 1 การบังคับใช้กฎหมายตามพระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ.2560 ออกปฏิบัติงานนอกเวลาราชการของวันราชการปกติในเวลาเย็น กลางคืน หรือยามวิกาลในสถานที่ราชการ สถานที่สาธารณะ แหล่งชุมนุมชน สถานพยาบาล สถานศึกษา วัดและศาสนสถาน ป้ายรถโดยสารประจำทาง และสถานีรถไฟฟ้า เพื่อดำเนินการตรวจสอบและประชาสัมพันธ์การปฏิบัติตามพระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ.2560 จำนวน 35 - กิจกรรมที่ 2 การตรวจสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม ออกปฏิบัติงานในภาวะฉุกเฉิน เร่งด่วน หรือกรณีจำเป็นนอกเวลาราชการของวันราชการปกติในเวลาเย็น กลางคืน หรือยามวิกาล เพื่อดำเนินการแก้ไขปัญหาให้กับประชาชน การตรวจสอบแก้ไขเหตุเดือดร้อนรำคาญ การตรวจสอบด้านสุขลักษณะ อาชีวอนามัย ด้านอาหารปลอดภัยความปลอดภัยในสถานประกอบการ ตรวจการปนเปื้อนของเชื้อโรคในอาหาร การรณรงค์เผยแพร่ความรู้ด้านสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมและส่งเสริมสุขภาพอนามัย การป้องกันและควบคุมปัญหาสาธารณสุข หรือปัญหาทางด้านสาธารณสุขอื่นๆตามสถานการณ์ จำนวน 48 วัน | 165,075.00 | 165,075.00 | สำนักงานเขตภาษีเจริญ | 2021-10-01 00:00:00 | 2022-09-30 00:00:00 | แล้วเสร็จ | 100.00 |
รวม ->7 โครงการ | 0 | 0.00 | 0.00 | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 | 0 | 0 | 0 | 0 |