ลำดับ | ยุทธศาสตร์ 20 ปี | แผนแม่บทไอที | ปีงบประมาณ | ชื่อโครงการ | หลักการและเหตุผล | วัตถุประสงค์โครงการ | เป้าหมายโครงการ | งบประมาณที่ได้รับ | งบประมาณที่ใช้ไป | หน่วยงานที่รับผิดชอบ | เริ่มโครงการ | สิ้นสุดโครงการ | สถานะโครงการ | คืบหน้า (ร้อยละ) |
1 | 7.0.1. ด้านที่ ๗ – การบริหารจัดการเมืองมหานคร : Management Strategy |
4.2.1 | 2560 | กิจกรรมพัฒนาเว็บไซต์หลักสี่เพื่อบริการข้อมูลแก่ประชาชน | ปัจจุบันการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารต้องมีความถูกต้องและรวดเร็ว ดังนั้นสำนักงานเขตหลักสี่จึงมีการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารของหน่วยงานและให้บริการบนเว็บไซต์ของหน่วยงาน ซึ่งประกอบด้วย 3.1 ปฏิทินกิจกรรม 3.2 ข้อมูลเกี่ยวกับองค์กร 3.3 ข่าวสาร 3.4 การให้บริการ 3.5 ติดต่อเรา | - ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ของหน่วยงานให้มีข้อมูลถูกต้อง ครบถ้วน และเป็นปัจจุบัน - เผยแพร่ข่าวสารประชาสัมพันธ์ของสำนักงานเขตเพื่อเผยแพร่ให้ประชาชนได้รับทราบ - เผยแพร่ข้อมูลองค์ความรู้ของสำนักงานเขต | - เว็บไซต์ของหน่วยงานได้รับการให้มีข้อมูลถูกต้อง ครบถ้วน และเป็นปัจจุบัน - เผยแพร่ข่าวสารประชาสัมพันธ์ของสำนักงานเขตเพื่อเผยแพร่ให้ประชาชนได้รับทราบทุกสัปดาห์ - เผยแพร่ข้อมูลองค์ความรู้ของสำนักงานเขตและปรับปรุงให้ทันเหตุการณ์ | 0.00 | 0.00 | สำนักงานเขตหลักสี่ | 2016-10-01 00:00:00 | 2017-09-30 00:00:00 | แล้วเสร็จ | 100.00 |
2 | 7.0.1. ด้านที่ ๗ – การบริหารจัดการเมืองมหานคร : Management Strategy |
4.2.1 | 2560 | กิจกรรมการประชาสัมพันธ์ข่าวสารของสำนักงานเขตหลักสี่ ผ่านแอพพลิเคชั่น Line@ | ปัจจุบันเทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก ทำให้การติดต่อสื่อสารมีความสะดวก รวดเร็วขึ้น ซึ่งแอพพลิเคชั้น Line@ เป็นอีกช่องทางหนึ่งที่จะทำให้การติดต่อสื่อสาร การส่งข้อมูล ข่าวสาร เกิดความรวดเร็ว สำนักงานเขตหลักสี่จึงได้นำ Line@ มาให้ประโยชน์ในการส่งข่าวสารประชาสัมพันธ์ต่างๆให้ประชาชนได้ทราบ | เพื่อที่จะช่วยทำให้ประชาชนและผู้รับบริการ ได้รับความสะดวก รวดเร็วในการติดต่อกับสำนักงานเขตหลักสี่ | - จำนวนผู้ติดตามผ่านเครือข่ายแอพพลิเคชั่น Line@ มีจำนวนไม่น้อยกว่า 100 ราย -ผู้ติดตามผ่านเครือข่ายแอพพลิเคชั่น Line@ มีความพึงพอใจระดับมากถึงมากที่สุดร้อยละ 80 | 0.00 | 0.00 | สำนักงานเขตหลักสี่ | 2016-10-01 00:00:00 | 2017-09-30 00:00:00 | แล้วเสร็จ | 100.00 |
3 | 7.0.1. ด้านที่ ๗ – การบริหารจัดการเมืองมหานคร : Management Strategy |
4.2. | 2560 | กิจกรรมการจัดตั้งศูนย์บริหารราชการฉับไวใสสะอาด Bangkok Fast & Clear(BFC) | การดำเนินการตามนโยบายผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร | การดำเนินการตามนโยบายผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร | เพื่อให้ผู้รับบริการของศูนย์บริหารราชการฉับไวใสสะอาด Bangkok Fast & Clear (BFC) เกิดความพึงพอใจสูงสุด | 0.00 | 0.00 | สำนักงานเขตหลักสี่ | 2016-10-01 00:00:00 | 2017-09-30 00:00:00 | แล้วเสร็จ | 100.00 |
4 | 2.0.1. ด้านที่ ๒ - มหานครสีเขียว สะดวกสบาย : Bangkok as a Green and Convenient City |
4.2. | 2561 | โครงการเพิ่มช่องทางการรับและแก้ไขเรื่องร้องทุกข์ (โครงการให้บริการที่ดีที่สุด ปีงบประมาณ พ.ศ. 2560) | -เขตหลักสี่ อยู่ในกลุ่มเขตกรุงเทพเหนือ ซึ่งถือเป็นเขต ที่อยู่อาศัยรองรับการขยายตัวของเมือง ทางทิศตะวันออก (ตอนเหนือ) ของกรุงเทพมหานคร เป็นที่ตั้งของหน่วยงานที่สำคัญต่างๆ เช่น ศูนย์ราชการ มีโครงข่ายการคมนาคม เช่น ถนนแจ้ง-วัฒนะ ถนนวิภาวดีรังสิต รถไฟฟ้าสายสีแดง ซึ่งสามารถเชื่อมโยงกับพื้นที่ส่วนต่างๆ ของกรุงเทพมหานคร ทำให้เกิดการขยายตัวของเมืองอย่างรวดเร็ว มีการสร้างคอนโดมิเนียม อาคารพาณิชย์เพิ่มมากขึ้นในพื้นที่เขตหลักสี่ มีการเดินทางสัญจรของผู้คนในการดำเนินชีวิตประจำวันมากขึ้น การอพยพย้ายถิ่นฐานเข้ามาทำงาน หรือการเดินทางเข้าออกเมือง ทำให้เกิดปัญหาต่างๆ ตามมา เช่น การจราจร ความสะอาด ความสงบเรียบร้อย เป็นต้น การเข้าแก้ปัญหาในพื้นที่อย่างเร่งด่วนในด้านกายภาพ ไม่ว่าจะเป็นพื้นถนน/ทางเท้าชำรุด ปัญหาต้นไม้ใหญ่ในพื้นที่เขตล้ม/โค่น ปัญหาฝาท่อระบายน้ำ/อุปกรณ์สาธารณูปโภคชำรุด ปัญหาน้ำท่วมขัง ปัญหาท่อระบายน้ำส่งกลิ่นเหม็น และอีกหลายๆปัญหาที่ส่งผลต่อความเดือดร้อนของประชาชนและนักท่องเที่ยว จึงมีความจำเป็นในการสร้างความปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สินแก่ประชาชนและกลุ่มนักท่องเที่ยว สมกับเป็นมหานครแห่งความปลอดภัยและมหานครแห่งความสุข | 1. เพื่อแก้ปัญหาทางกายภาพที่เกิดขึ้นในพื้นที่เขตได้อย่างรวดเร็ว 2. เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมในการดูแล เฝ้าระวังและแจ้งปัญหาที่พบเห็น 3. เพิ่มช่องทางในการประชาสัมพันธ์กิจกรรมสำคัญของสำนักงานเขต | 1. สามารถแก้ไขปัญหาเรื่องร้องทุกข์ที่ได้รับแจ้งร้อยละ 80 2. ระยะเวลามาตรฐานในการแก้ไขปัญหาที่ได้รับแจ้งผ่านเครือข่าย - กรณีเรื่องดำเนินการปกติและอยู่ในอำนาจหน้าที่ของสำนักงานเขต กำหนดระยะเวลาแล้วเสร็จไม่เกิน 3 วันทำการ 3. เกิดเครือข่าย “เพิ่มช่องทางการรับและการแก้ไขเรื่องร้องทุกข์” ในแอปพลิเคชั่น LINE จำนวนไม่น้อยกว่า 100 ราย | 0.00 | 0.00 | สำนักงานเขตหลักสี่ | 2017-10-01 00:00:00 | 2018-09-30 00:00:00 | แล้วเสร็จ | 100.00 |
5 | 7.0.1. ด้านที่ ๗ – การบริหารจัดการเมืองมหานคร : Management Strategy |
4.2. | 2561 | กิจกรรมการลงจุดแสดงตำแหน่งที่มีการอนุญาตให้มีการก่อสร้างและการออกเลขรหัสประจำบ้านของอาคารที่ขออนุญาตก่อสร้าง ปี 2561 | - เพื่อกำหนดการออกเลขรหัสประจำบ้านให้สอดล้องกับผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร | - เพื่อแสดงตำแหน่งการออกเลขรหัสประจำบ้านบนโฉนดที่ดิน - เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการใช้ประโยชน์ที่ดินให้สอดคล้องกับผังเมืองกรุงเทพมหานคร | - ร้อยละ 100 ของตำแหน่งของอาคารที่มีการออกเลขรหัสประจำบ้าน | 0.00 | 0.00 | สำนักงานเขตหลักสี่ | 2017-10-01 00:00:00 | 2018-09-30 00:00:00 | แล้วเสร็จ | 100.00 |
6 | 7.0.1. ด้านที่ ๗ – การบริหารจัดการเมืองมหานคร : Management Strategy |
4.2. | 2561 | กิจกรรมการลงจุดแสดงตำแหน่งที่มีการอนุญาตให้มีการก่อสร้างและการออกเลขรหัสประจำบ้านของอาคารที่ขออนุญาตก่อสร้าง ปี 2561 | เพื่อกำหนดการออกเลขรหัสประจำบ้านให้สอดคล้องกับผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร | - เพื่อแสดงตำแหน่งการออกเลขรหัสประจำบ้านบนโฉนดที่ดิน - เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการใช้ประโยชน์ที่ดินให้สอดคล้องกับผังเมืองกรุงเทพมหานคร | - ร้อยละ 100 ของตำแหน่งของอาคารที่มีการออกเลขรหัสประจำบ้าน | 0.00 | 0.00 | สำนักงานเขตหลักสี่ | 2017-10-01 00:00:00 | 2018-09-30 00:00:00 | แล้วเสร็จ | 100.00 |
7 | 7.0.1. ด้านที่ ๗ – การบริหารจัดการเมืองมหานคร : Management Strategy |
4.2. | 2561 | กิจกรรมการติดตามแก้ไขเรื่องร้องเรียนผ่านระบบรับเรื่องร้องทุกข์ | ตามที่กองกลาง กำหนด | ตามที่กองกลาง กำหนด | ตามที่กองกลาง กำหนด | 0.00 | 0.00 | สำนักงานเขตหลักสี่ | 2017-10-01 00:00:00 | 2018-09-30 00:00:00 | แล้วเสร็จ | 100.00 |
8 | 7.0.1. ด้านที่ ๗ – การบริหารจัดการเมืองมหานคร : Management Strategy |
4.2. | 2562 | กิจกรรมการติดตามแก้ไขเรื่องร้องเรียนผ่านระบบรับเรื่องร้องทุกข์ | ตามที่กองกลาง กำหนด | ตามที่กองกลาง กำหนด | ตามที่กองกลาง กำหนด | 0.00 | 0.00 | สำนักงานเขตหลักสี่ | 2018-10-01 00:00:00 | 2019-09-30 00:00:00 | แล้วเสร็จ | 100.00 |
9 | 1.0.1. ด้านที่ ๑ – มหานครปลอดภัย : Bangkok as a Safe City |
3.1. | 2563 | กิจกรรมการจัดทำระบบฐานข้อมูลผู้ประกอบการที่เป็นแหล่งกำเนิดน้ำเสียในกรุงเทพมหานคร | ปัญหาน้ำเน่าเสียของแหล่งน้ำสาธารณะ เป็นปัญหาที่นับวันจะทวีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้นโดยเฉพาะในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ความพยายามที่จะลดความสกปรกหรือการปนเปื้อนของแหล่งน้ำดังกล่าวไม่สามารถดำเนินการให้เกิดผลในระยะเวลาอันสั้นได้อย่างเป็นรูปธรรม จึงมีแนวทางในการลดความสกปรกที่จะเพิ่มให้กับแหล่งน้ำดังกล่าวโดยการประชาสัมพันธ์ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของแหล่งกำเนิดน้ำเสียเพื่อลดความสกปรกที่จะเพิ่มให้แหล่งน้ำธรรมชาติ รวมทั้งส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้ประกอบการมีการบำบัดน้ำเสียขั้นต้น (Pretreatment) หรือกรณีผู้ประกอบการที่เป็นแหล่งกำเนิดน้ำเสียที่มีระบบบำบัดน้ำเสียของตนเอง ก็จะสนับสนุนให้สามารถควบคุมกระบวนการให้น้ำผ่านการบำบัดมีคุณสมบัติผ่านตามมาตรฐานน้ำทิ้ง ทั้งนี้ แนวทางในการดำเนินการหรือกระตุ้นให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาน้ำเน่าเสียจำเป็นต้องมีฐานข้อมูลระบบบำบัดน้ำเสียของผู้ประกอบการ ปริมาณน้ำเสียประเภทและขนาดของระบบบำบัดน้ำเสียที่มีอยู่ในพื้นที่เขตหลักสี่เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการวางแผน กำหนดแนวทางการบริหารจัดการคุณภาพน้ำของกรุงเทพมหานคร จึงเป็นที่มาของโครงการจัดทำฐานข้อมูลระบบบำบัดน้ำเสียของผู้ประกอบการ ในพื้นที่เขตหลักสี่ ซึ่งเป็นแหล่งกำเนิด น้ำเสียที่มีความสำคัญในอันดับต้นๆ | เพื่อจัดทำฐานข้อมูลระบบบำบัดน้ำเสียของสถานประกอบการในพื้นที่เขตหลักสี่ เพื่อให้ทราบถึงข้อมูลพื้นฐานต่างๆ เช่น ปริมาณน้ำเสีย ประเภทและขนาดของระบบบำบัดน้ำเสียที่มีอยู่ในเขตหลักสี่ เพื่อใช้เป็นแหล่งข้อมูลหรือฐานข้อมูลในการวางแผนด้านการจัดการคุณภาพน้ำสำหรับแหล่งน้ำสาธารณะ ลดการเกิดน้ำเสียจากแหล่งกำเนิด รวมถึงการพัฒนาระบบบำบัดน้ำเสียรวมให้เหมาะสมกับแหล่งกำเนิดน้ำเสียในพื้นที่และประกอบการพิจารณาดำเนินการในเรื่องการจัดเก็บค่าธรรมเนียมในการบำบัดน้ำเสีย | เพื่อให้สามารถรวบรวมประเมินผล และใช้ฐานข้อมูลดังกล่าวในการวางแผน บริหารจัดการ ในด้านการจัดการคุณภาพน้ำในเขตหลักสี่และขยายไปให้ครอบคลุมทั้ง 50 เขตการปกครอง (ทั่วทั้งกรุงเทพมหานคร) โดยเป็นการบูรณาการร่วมกับสำนักการระบายน้ำ เพื่อประสานความร่วมมือกับ สถานประกอบการต่างๆ ที่เป็นแหล่งให้ข้อมูล | 0.00 | 0.00 | สำนักงานเขตหลักสี่ | 2019-10-01 00:00:00 | 2020-09-29 00:00:00 | แล้วเสร็จ | 100.00 |
10 | 4.0.1. ด้านที่ ๔ – มหานครกระชับ : Bangkok as a Compact City |
4.2. | 2563 | กิจกรรมการนำระบบสารสนเทศ (GIS) มาใช้ในการบริหารจัดการหรือพัฒนางาน | -ปัจจุบันในชีวิตประจำวันของเราได้รับประโยชน์จากเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นอย่างมาก เนื่องจากทำให้สะดวกรวดเร็วทั้งในการทำงาน การติดต่อสื่อสาร และทำให้มีการตัดสินใจได้อย่างแม่นยำขึ้น ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ก็เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งที่มีบทบาทและมีความสำคัญมากในการนำไปประยุกต์ใช้งานในหลากหลายมิตินิยมใช้กันทั่วโลก ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ (Geographic Information Systems: GIS)คือ กระบวนการทำงานเกี่ยวกับข้อมูลเชิงพื้นที่ด้วยระบบคอมพิวเตอร์ เป็นการใช้ฐานข้อมูลภูมิศาสตร์ (Geographic Database) สำนักงานเขตหลักสี่เล็งเห็นประโยชน์ จึงมีการนำระบบสารสนเทศ (GIS) มาใช้ในการบริหารจัดการหรือพัฒนางาน | -สามารถนำระบบสารสนเทศ (GIS) มาใช้ในการบริหารจัดการหรือพัฒนางาน | -นำระบบสารสนเทศ (GIS) มาใช้ในการบริหารจัดการหรือพัฒนางานอย่างน้อย 1 งาน | 0.00 | 0.00 | สำนักงานเขตหลักสี่ | 2019-10-01 00:00:00 | 2020-09-29 00:00:00 | แล้วเสร็จ | 100.00 |
11 | 7.0.1. ด้านที่ ๗ – การบริหารจัดการเมืองมหานคร : Management Strategy |
4.2. | 2563 | กิจกรรมการแก้ไขเรื่องร้องเรียนจากประชาชน/ผู้รับบริการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2563 | ตามที่ สลป. กำหนด | ตามที่ สลป. กำหนด | ตามที่ สลป. กำหนด | 0.00 | 0.00 | สำนักงานเขตหลักสี่ | 2019-10-01 00:00:00 | 2020-09-30 00:00:00 | แล้วเสร็จ | 100.00 |
12 | 7.0.1. ด้านที่ ๗ – การบริหารจัดการเมืองมหานคร : Management Strategy |
4.2. | 2563 | กิจกรรมการพัฒนาฐานข้อมูลของสำนักงานเขตหลักสี่ | -ทบทวนระบบข้อมูลที่ต้องการในการปฏิบัติงานและติดตามผลการดำเนินงาน การวิเคราะห์และจัดทำรายละเอียดของข้อมูลที่ต้องการจัดเก็บ การจัดทำแผนพัฒนาระบบข้อมูล การพัฒนาฐานข้อมูล และการนำเข้าข้อมูลของหน่วยงาน | -เพื่อการพัฒนาฐานข้อมูลของเขตหลักสี่ 1 ฐานข้อมูล | -การนำเข้าข้อมูลที่ถูกต้อง ครบถ้วน รวดเร็ว ทันสมัย และมีการแบ่งปันการใช้งานข้อมูล ตามแผนการพัฒนาฐานข้อมูลของหน่วยงานและเกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาการปฏิบัติงานตามภารกิจหลักของหน่วยงาน และภาพรวมของกรุงเทพมหานคร | 0.00 | 0.00 | สำนักงานเขตหลักสี่ | 2019-10-01 00:00:00 | 2020-09-29 00:00:00 | แล้วเสร็จ | 100.00 |
13 | 1.0.2. ด้านที่ ๑ – มหานครปลอดภัย : Bangkok as a Safe City |
.. | 2564 | ค่าใช้จ่ายโครงการอาสาสมัครกรุงเทพมหานครเฝ้าระวังภัยและยาเสพติด | -ปัญหายาเสพติดเป็นปัญหาสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อความสงบสุขของประชาชนและเป็นภัยต่อความมั่นคงของประเทศ แม้ว่าจะมีบูรณาการการดำเนินงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติดในทุกมาตรการอย่างเข้มแข็งกับหน่วยงานภาคีในทุกระดับ สถานการณ์การค้าและการแพร่ระบาดยาเสพติดในพื้นที่กรุงเทพมหานครในปัจจุบันพบว่ายังมีการจับกุมผู้ต้องคดีค้ายาเสพติดที่สำคัญและปริมาณของกลางที่ยึดได้ยังมีปริมาณสูงต่อเนื่อง รวมทั้งในช่วง 5 ปี ที่ผ่านมาผู้เข้ารับการบำบัดรักษาการติดยาและสารเสพติดเป็นเยาวชนที่มีอายุระหว่าง 15 – 24 ปี ซึ่งเป็นอนาคตของชาติ จึงมีความจำเป็นที่ต้องเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิดเมื่อกลับสู่ชุมชน เพื่อลดโอกาสเข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติดซ้ำ ส่วนเยาวชนที่มีอายุต่ำกว่า 15 ปี ที่ไม่เคยเกี่ยวข้องกับ ยาเสพติดควรได้รับการส่งเสริมภูมิคุ้มกันจากครอบครัวและชุมชน ประกอบกับศูนย์อำนวยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดแห่งชาติ ได้มีคำสั่งที่ 2/2558 ลงวันที่ 22 พฤษภาคม 2558 จัดตั้งคณะกรรมการบริหารการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดกรุงเทพมหานคร โดยมีผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเป็นประธาน กรรมการบริหารมีอำนาจหน้าที่ในการกำหนดยุทธศาสตร์ นโยบาย เป้าหมายในการดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในพื้นที่กรุงเทพมหานคร สั่งการ มอบหมายให้หน่วยงานในพื้นที่ดำเนินการบูรณาการ ทั้งแผนงาน งบประมาณและการปฏิบัติเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด และแผนปฏิบัติราชการกรุงเทพมหานคร ประจำปี พ.ศ.2561 ด้านที่ 1 มหานครปลอดภัย มิติที่ 1.2 ปลอดอาชญากรรมและ ยาเสพติด เป้าประสงค์ที่ 1.2.2.1 เพิ่มระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการเฝ้าระวังยาเสพติด และแผนพัฒนากรุงเทพมหานครระยะ 20 ปี (พ.ศ.2556 – 2575) มีเป้าหมายในการจัดตั้งอาสาสมัคร เฝ้าระวังภัยและยาเสพติดในปี 2561 – 2565 ไม่น้อยกว่า 16,432 คน กรุงเทพมหานครเริ่มจัดตั้งอาสาสมัครกรุงเทพมหานครเฝ้าระวังภัยและยาเสพติดตั้งแต่ปี 2557 โดยมีภารกิจเฝ้าระวังภัยต่าง ๆ ในชุมชน เฝ้าระวังและป้องกันอาชญากรรมและการแพร่ระบาดของ ยาเสพติดในชุมชน และสถานศึกษารอบชุมชน ค้นหาและชักจูงผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติดให้เข้ารับการบำบัดรักษาในระบบสมัครใจ ติดตาม ดูแล และช่วยเหลือผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติดที่ผ่านการบำบัดรักษา ติดตามข้อมูลข่าวสารที่อาจเป็นภัยต่อความมั่นคงของรัฐและแจ้งเหตุต่างๆ ไปยังผู้ประสานงานของสำนักงานเขต และให้ความรู้และประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารของทางราชการ ทั้งนี้อาสาสมัครฯ ถือเป็นเครือข่ายภาคประชาชนที่สำคัญในการเฝ้าระวังภัยและยาเสพติดของกรุงเทพมหานคร สำนักงานเขตหลักสี่ มีอาสาสมัครกรุงเทพมหานครเฝ้าระวังภัยและยาเสพติดที่ผ่านการพัฒนาศักยภาพแล้ว จำนวน 432 คน มีศูนย์เฝ้าระวังภัยและยาเสพติดในชุมชน เขตหลักสี่ จำนวน 11 ศูนย์ เพื่อให้การขับเคลื่อนงานของอาสาสมัครกรุงเทพมหานครเฝ้าระวังภัยและ ยาเสพติด เกิดความต่อเนื่องและยั่งยืนในการดำเนินงาน เป็นเครือข่ายภาคประชาชนในการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันยาเสพติดและเฝ้าระวังภัยในชุมชน รวมทั้งเพื่อเป็นการสนับสนุนนโยบายของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครด้านปลอดภัย (COMMUNITY) : ชีวิตปลอดภัย ทรัพย์สินปลอดภัย ชุมชนและสังคมปลอดภัย สำนักงานเขตหลักสี่ จึงจัดทำโครงการอาสาสมัครกรุงเทพมหานครเฝ้าระวังภัยและยาเสพติดเขตหลักสี่ | 1.เพื่อพัฒนาศักยภาพของอาสาสมัครกรุงเทพมหานครเฝ้าระวังภัยและยาเสพติดเขตหลักสี่ 2.เพื่อเพิ่มระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการเฝ้าระวังอาชญากรรมและยาเสพติด 3.เพื่อติดตามสถานการณ์ภัยและยาเสพติดในชุมชน และให้อาสาสมัครฯ ปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ | 1. พัฒนาศักยภาพอาสาสมัครกรุงเทพมหานครเฝ้าระวังภัยและยาเสพติด 2. อาสาสมัครฯ จัดกิจกรรมเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในพื้นที่เขตหลักสี่ | 115,500.00 | 0.00 | สำนักงานเขตหลักสี่ | 2020-10-01 00:00:00 | 2021-09-30 00:00:00 | ยกเลิก | 10.00 |
14 | 1.0.1. ด้านที่ ๑ – มหานครปลอดภัย : Bangkok as a Safe City |
.. | 2564 | ค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมอาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน (หลักสูตรหลัก) | ปัจจุบันกรุงเทพมหานครยังคงประสบปัญหาขาดแคลนกำลังสนับสนุนในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่รัฐ ในการเป็นหน่วยสนับสนุนด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ทำให้เมื่อมีสาธารณภัยเกิดขึ้น จึงเกิดความสูญเสียชีวิตและทรัพย์สินเป็นจำนวนมาก สำนักงานเขตหลักสี่ เป็นหน่วยงานของกรุงเทพมหานคร ซึ่งมีภารกิจในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย โดยในปัจจุบันพื้นที่เขตหลักสี่มีอาคารบ้านเรือน สถานที่ราชการ สถานประกอบการ เพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก โดยที่ประชาชนส่วนใหญ่ยังขาดความรู้และประสบการณ์ในการป้องกันภัยและบรรเทาสาธารณภัยต่าง ๆ ประกอบกับกำลังเจ้าหน้าที่ของรัฐยังมีไม่เพียงพอ ทั้งนี้ เพื่อเป็นการช่วยเหลือและสนับสนุนภารกิจในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จึงจำเป็นต้องมีการฝึกอบรมเพื่อเพิ่มจำนวนอาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนให้มีเพิ่มมากขึ้น โดยฝึกฝนให้มีความรู้ ความเข้าใจ และส่งเสริมให้มีส่วนร่วมในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย รวมถึงจัดตั้งหน่วยอาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนเพิ่มขึ้น จึงจัดให้มีโครงการฝึกอบรมอาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน หลักสูตรหลัก รุ่นที่ 16 ขึ้น | 1.เพื่อเป็นการเพิ่มจำนวนสมาชิกและจัดตั้งหน่วยอาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน 2.เพื่อให้อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนในพื้นที่เขตมีความรู้ ความเข้าใจในกิจการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน รวมทั้งให้ความรู้ในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยที่เกิดขึ้นโดยสามารถช่วยเหลือตนเองและผู้อื่นได้อย่างปลอดภัยและถูกต้องตามหลักวิชาการ 3.เพื่อเป็นกำลังสนับสนุนเจ้าหน้าที่ของรัฐในการปฏิบัติงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย 4.เพื่อสร้างกลุ่มพลังมวลชนด้านการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนของสำนักงานเขตหลักสี่ 5.เพื่อเป็นการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน | 1.เป้าหมายด้านปริมาณ โครงการฝึกอบรมอาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน หลักสูตรหลัก รุ่นที่ 16 ได้กำหนดจำนวนผู้เข้ารับการฝึกอบรม จำนวน 50 คน และเจ้าหน้าที่ดำเนินการฝึกอบรมจำนวน 10 คน โดยทำการฝึกอบรมแบบไป – กลับ เป็นเวลา 5 วัน 2.เป้าหมายด้านคุณภาพ ผู้ที่ผ่านการฝึกอบรมอาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน หลักสูตรหลัก รุ่นที่ 16 จะเป็น ผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจในกิจการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน และมีความรู้ในด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น โดยสามารถปฏิบัติงานร่วมกับเจ้าหน้าที่ของรัฐได้เป็นอย่างดี | 64,100.00 | 0.00 | สำนักงานเขตหลักสี่ | 2020-10-01 00:00:00 | 2021-09-30 00:00:00 | ยกเลิก | 10.00 |
15 | 1.0.1. ด้านที่ ๑ – มหานครปลอดภัย : Bangkok as a Safe City |
.. | 2564 | ค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมอาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน (หลักสูตรทบทวน) | เพื่อให้สมาชิก อปพร.เขตหลักสี่ที่ได้รับการฝึกอบรมอาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน หลักสูตรหลักได้มีโอกาสได้ทบทวนและเพิ่มพูนความรู้ใหม่ ๆ เกี่ยวกับการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย และเป็นการพัฒนาบุคลากรในด้านอาสาสมัครช่วยเหลืองานด้านบรรเทาสาธารณภัย ซึ่งสอดคล้องกับแผนบริหารราชการกรุงเทพมหานคร ระยะ 20 ปี (พ.ศ.2556-พ.ศ.2575) และแผนปฏิบัติราชการกรุงเทพมหานคร ประจำปี 2564 มิติที่ 1.4 ปลอดภัยพิบัติ สำนักงานเขตหลักสี่ สำนักงานเขตหลักสี่จึงได้จัดให้มีโครงการฝึกอบรมอาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน หลักสูตรทบทวน ปีงบประมาณ 2564 | 1.เพื่อให้การดำเนินงานของอาสาสมัครป้องกันฝ่ายพลเรือน (อปพร.) เป็นระบบและเกิดประสิทธิภาพยิ่งขึ้น 2.เพื่อเพิ่มพูนความรู้ ความชำนาญ และทักษะให้แก่อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน 3.เพื่อให้อาสาสมัครป้องกันฝ่ายพลเรือนมีความพร้อม ความมั่นใจในการปฏิบัติงาน 4.เพื่อให้อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นและประสบการณ์ รวมถึงการได้เพิ่มพูนความรู้และวิทยาการใหม่ ๆ ในการปฏิบัติงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย 5.เพื่อให้สมาชิก อปพร. นำความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับจากการอบรมไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อตนเอง สังคมส่วนรวมและประเทศชาติ | สมาชิกอาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนในพื้นที่เขตหลักสี่ที่เคยผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรหลักมาแล้วอย่างน้อย 1 ปี โดยกำหนดผู้เข้าฝึกอบรม จำนวน 50 คน วิทยากรและเจ้าหน้าที่ผู้ดำเนินการ จำนวน 10 คน | 41,500.00 | 0.00 | สำนักงานเขตหลักสี่ | 2020-10-01 00:00:00 | 2021-09-30 00:00:00 | ยกเลิก | 10.00 |
16 | 1.0.5. ด้านที่ ๑ – มหานครปลอดภัย : Bangkok as a Safe City |
.. | 2564 | โครงการกรุงเทพฯ เมืองอาหารปลอดภัย | เพื่อให้การดำเนินงานด้านอาหารปลอดภัยในกรุงเทพมหานครมีความยั่งยืนและเกิดประโยชน์ต่อชาวกรุงเทพมหานครอย่างสูงสุด สำนักงานเขตหลักสี่จึงได้จัดทำโครงการกรุงเทพฯ เมืองอาหารปลอดภัย ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕62 ขึ้น ภายใต้แผนยุทธศาสตร์กรุงเทพฯ เมืองอาหารปลอดภัย และเป็นไปตามนโยบายผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ด้านมหานครความปลอดภัย ทั้งนี้ เพื่อกำหนดกรอบและทิศทางในการดำเนินงานด้านอาหารปลอดภัยให้มีความต่อเนื่อง เพื่อให้หน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนได้ตื่นตัวและตระหนักถึงความสำคัญในเรื่องความปลอดภัยของอาหาร รวมทั้งเป็นการเสริมสร้างภาพลักษณ์และประชาสัมพันธ์งานด้านอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานคร รวมไปถึงการจัดทำฐานข้อมูลจากสถานประกอบการทุกกลุ่มเป้าหมายจากทุกสำนักงานเขต ทั้งนี้เพื่อก่อประโยชน์ต่อประชาชนชาวกรุงเทพมหานคร นักท่องเที่ยว รวมทั้งผู้ที่เข้ามาพักอาศัยจะได้รับการคุ้มครองสุขภาพจากการบริโภคอาหารปลอดภัย | 1. เพื่อปรับปรุง ยกระดับมาตรฐานด้านสุขลักษณะสถานที่ของสถานประกอบการอาหาร 2. เพื่อตรวจสอบและเฝ้าระวังคุณภาพอาหารในสถานประกอบการอาหาร 3. เพื่อพัฒนาความรู้ ความเข้าใจ จิตสำนึก และความร่วมมือขององค์กรภาคเอกชน ผู้ประกอบการ และประชาชนทั่วไปในเรื่องอาหารปลอดภัย 4. เพื่อคุ้มครองผู้บริโภค และสร้างความมั่นใจในการบริโภคอาหารที่สะอาดปลอดภัย | 1. ร้อยละความสำเร็จในการส่งเสริมให้สถานประกอบการอาหารมีการพัฒนาผ่านเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานคร ระดับดี ร้อยละ 100 2. ร้อยละของสถานประกอบการอาหารมีการพัฒนาผ่านเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานคร ระดับดี มีการบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green Service) ร้อยละ 20 | 75,000.00 | 0.00 | สำนักงานเขตหลักสี่ | 2020-10-01 00:00:00 | 2021-09-30 00:00:00 | แล้วเสร็จ | 100.00 |
17 | 1.0.1. ด้านที่ ๑ – มหานครปลอดภัย : Bangkok as a Safe City |
.. | 2564 | โครงการกรุงเทพฯ เมืองแห่ง สุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมที่ดี สะอาด ปลอดภัย | สำนักงานเขตหลักสี่ จึงได้จัดทำโครงการกรุงเทพฯ เมืองแห่งสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมที่ดี สะอาดปลอดภัย ปีงบประมาณ 2564 ขึ้น เพื่อให้หน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน ได้ตระหนักถึงความสำคัญในเรื่องการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม การจัดการและควบคุมปัจจัยหรือสภาวะแวดล้อมที่เป็นหรืออาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพและสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะกับการดำรงชีพของประชาชนกรุงเทพมหานคร นักท่องเที่ยวรวมทั้งผู้ที่เข้ามาพักอาศัยจะได้รับการคุ้มครองสุขภาพ | 1. การตรวจสอบแก้ไขปัญหาทางด้านสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม หรืออนามัยสิ่งแวดล้อมที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพประชาชน 2. การตรวจสอบด้านสุขลักษณะ อาชีวอนามัย ความปลอดภัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานของสถานประกอบการที่ประกอบการ 3. การให้บริการเผยแพร่ความรู้ด้านสาธารณสุขและอนามัยสิ่งแวดล้อม การส่งเสริมสุขภาพ การควบคุมป้องกันโรค และตอบโต้เหตุฉุกเฉินหรืออุบัติภัยจากสารเคมีและวัตถุอันตราย เป็นต้น การดำเนินงานตรวจสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมในพื้นที่เขตหลักสี่ หมายถึง การดำเนินงานโดยเจ้าหน้าที่ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล จำนวน 48 ครั้ง การดำเนินงานบังคับใช้กฎหมายตามพระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ. 2560 หมายถึง การดำเนินงานโดยพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ได้รับการแต่งตั้ง จำนวน 35 ครั้ง | จำนวนครั้งของการดำเนินงานตรวจสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมในพื้นที่เขตหลักสี่ และการดำเนินงานบังคับใช้กฎหมายตามพระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ. 2560 จำนวน 83 ครั้ง | 165,100.00 | 0.00 | สำนักงานเขตหลักสี่ | 2020-10-01 00:00:00 | 2021-09-30 00:00:00 | แล้วเสร็จ | 100.00 |
18 | 1.0.2. ด้านที่ ๑ – มหานครปลอดภัย : Bangkok as a Safe City |
.. | 2564 | ค่าใช้จ่ายในการส่งเสริมการแปรรูปมูลฝอยอินทรีย์เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ | ด้วยกรุงเทพมหานครมีปริมาณขยะ เป็นจำนวนมากที่ต้องนำไปกำจัดถึง 10,000 ตัน/วัน และเป็นมูลฝอยประเภทอินทรีย์สารเป็นองค์ประกอบในสัดส่วนที่สูงถึงประมาณร้อยละ 50 ซึ่งขยะอินทรีย์เหล่านี้ หากมีการคัดแยกเศษอาหาร เศษผัก ผลไม้ นำมาหมักปุ๋ยน้ำชีวภาพจากแหล่งกำเนิดจะช่วยลดปริมาณมูลฝอยและลดค่าใช้จ่ายในการจัดการมูลฝอยและเป็นการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการลดปริมาณมูลฝอยจากแหล่งกำเนิดอีกทั้งสามารถสร้างรายได้ให้กับประชาชนในชุมชน ดังนั้น สำนักงานเขตหลักสี่ จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมการแปรรูปขยะเศษอาหารเพื่อนำมาใช้ประโยชน์โดยการนำมูลฝอยหมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่ ซึ่งการนำมูลฝอยเศษอาหารมาทำปุ๋ยน้ำชีวภาพ (ขยะหอม) ปุ๋ยหมักใบไม้แห้ง และเลี้ยงไส้เดือน (เพื่อกำจัดเศษอาหาร) ไปใช้ประโยชน์ ทำให้ปริมาณมูลฝอยเศษอาหารที่กรุงเทพมหานครต้องจัดเก็บและทำลายลดลง เป็นการประหยัดงบประมาณและพลังงานของชาติ | 1. เพื่อส่งเสริมและเผยแพร่ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการลดปริมาณมูลฝอยเศษอาหาร เศษผัก เศษผลไม้และไม้ใบหญ้า โดยนำมาทำเป็นปุ๋ยน้ำชีวภาพ (ขยะหอม) ปุ๋ยหมักใบไม้แห้ง และเลี้ยงไส้เดือน (เพื่อกำจัดเศษอาหาร) นำมาใช้ประโยชน์ในด้านสิ่งแวดล้อม 2. เพื่อส่งเสริมให้ภาคส่วนต่าง ๆ กระตุ้นให้เกิดการมีส่วนร่วมของประชาชนในการลดปริมาณมูลฝอยจากแหล่งกำเนิด 3. ประชาสัมพันธ์เผยแพร่ความรู้ในการคะดอยดขยะอินทรีย์ 4. เพื่อลดปริมาณมูลฝอยที่สำนักงานเขตหลักสี่ ต้องจัดเก็บและนำไปทำลาย | 1. กิจกรรมรณรงค์ ส่งเสริมให้มีการนำมูลฝอยอินทรีย์มาใช้กระโยชน์ด้วยการทำปุ๋ยน้ำชีวภาพ (ขยะหอม) ปุ๋ยหมักใบไม้แห้ง และเลี้ยงไส้เดือน (เพื่อกำจัดเศษอาหาร) ให้กับชุมชน วัด หน่วยราชการ สถานศึกษา สถานประกอบการ รัฐวิสาหกิจในพื้นที่เขตและกระชาชนทั่วไป 2. กิจกรรมเทน้ำปุ๋ยน้ำชีวภาพ ลงในคลองพื้นที่เขตหลักสี่เพื่อบำบัดน้ำเสีย | 50,000.00 | 0.00 | สำนักงานเขตหลักสี่ | 2020-10-01 00:00:00 | 2021-09-30 00:00:00 | แล้วเสร็จ | 100.00 |
19 | 1.0.2. ด้านที่ ๑ – มหานครปลอดภัย : Bangkok as a Safe City |
.. | 2564 | โครงการนำกิ่งไม้ใบไม้นำกลับไปใช้ประโยชน์ | ปัจจุบันปริมาณมูลฝอยที่กรุงเทพมหานครจัดเก็บจากบ้านเรือนประชาชน ร้านอาหาร โรงเรียน เป็นต้น มูลฝอยบางส่วนเกิดจากการตัดแต่งกิ่งไม้ในบ้านเรือนประชาชนและพื้นที่เขต นำไปทิ้งกับมูลฝอยทั่วไป และส่งเข้าศูนย์กำจัดมูลฝอยกรุงเทพมหานคร จึงทำให้ปริมาณมูลฝอยเพิ่ม สำนักงานเขตหลักสี่ ได้ตระหนักถึงปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการคัดแยกกิ่งไม้ใบไม้ใช้ประโยชน์ในพื้นที่เขต เพื่อเป็นการลดปริมาณมูลฝอยอีกทาดงหนึ่งและสามารถนำกลับมาใช้ประโยชน์ได้ | 1. ลดปริมาณมูลฝอยอินทรีย์อันเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดก๊าชมีเทนในบ่อฝังกลบส่งผลกระทบต่อภาวะโลกร้อน 2. ลดปริมาณมูลฝอยโดยการคัดแยกกิ่งไม้ใบไม้ออกจากมูลฝอยทั่วไปที่ต้องส่งไปกำจัดและนำไปทำปุ๋ยหมักตามกระบวนการ 3. เพื่อมีปุ๋ยหมักไว้ใช้ในพื้นที่เขต เพื่อเป็นการลดปริมาณมูลฝอยและประหยัดงบประมาณในการบริหารจัดการ | ลดปริมาณมูลฝอยประเภทกิ่งไม้ใบไม้ โดยการคัดแยกกิ่งไม้ใบไม้ที่ตัดแต่งจากสวนสาธารณะ สวนหย่อมต้นไม้ใหญ่ ต้นไม้ใหญ่อยู่ริมถนนในหมู่บ้าน ชุมชน เพื่อนพมาหมักกับเศษอาหารในพื้นที่เขต | 0.00 | 0.00 | สำนักงานเขตหลักสี่ | 2020-10-01 00:00:00 | 2021-09-30 00:00:00 | แล้วเสร็จ | 100.00 |
20 | 2.0.1. ด้านที่ ๒ - มหานครสีเขียว สะดวกสบาย : Bangkok as a Green and Convenient City |
.. | 2564 | โครงการปรับปรุงภูมิทัศน์คลองสายหลักในพื้นที่กรุงเทพมหานคร | เนื่องจากคลองเปรมประชากรอยู่ในพื้นที่เขตหลักสี่ จึงต้องมีการบริหารจัดการขยะริมคลอง รณรงค์ให้ประชาชนดูแลรักษาแหล่งน้ำไม่ให้ทิ้งขยะและของเสียลงคลอง ติดตั้งไฟฟ้าส่องสว่าง ซ่อมแซมสะพานข้ามคลองให้พร้อมใช้งาน พัฒนาพื้นที่ริมคลองให้เป็นสถานที่พักผ่อน จุดชมวิวทิวทัศน์ สร้างจุดเช็คอิน Check in ติดตั้งป้ายอำนวยความสะดวกแก่ผู้มาเยือน และป้ายประดับต่าง ๆ ให้มีความสวยงามและเป็นอัตลักษณ์ของพื้นที่ | คลองในพื้นที่เขตหลักสี่ได้รับการปรับปรุงภูมิทัศน์ให้สอดคล้องกับเอกลักษณ์ของเขต | 0.00 | 0.00 | สำนักงานเขตหลักสี่ | 2020-10-01 00:00:00 | 2021-09-30 00:00:00 | แล้วเสร็จ | 100.00 | |
21 | 2.0.1. ด้านที่ ๒ - มหานครสีเขียว สะดวกสบาย : Bangkok as a Green and Convenient City |
.. | 2564 | ค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษา ปรับปรุง และเพิ่มพื้นที่สีเขียว | กรุงเทพมหานคร เป็นเมืองหลวงของประเทศ และเป็นศูนย์กลางในการปกครอง จึงเป็นแหล่งที่ประชาชนจากทั่วทุกภาคส่วนของประเทศต่างเข้ามาประกอบอาชีพในเขตกรุงเทพมหานคร ทำให้ประชากรอาศัยอยู่หนาแน่น ส่งผลให้เกิดปัญหาด้านสังคม ด้านคุณภาพชีวิต และปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งในปัจจุบันเต็มไปด้วยมลภาวะต่าง ๆ มากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งมลพิษทางอากาศ ซึ่งต้นเหตุของปัญหาเหล่านี้ส่งผลให้เกิดภาวะโลกร้อน ซึ่งปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมนั้น จะทวีความรุนแรงมากขึ้นจะส่งผลกระทบต่อประชาชนโดยรวม เพื่อลดปัญหาสิ่งแวดล้อมด้านมลพิษ เพิ่มพื้นที่สีเขียวและร่วมแก้ไขปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม สำนักงานเขตหลักสี่ได้ตระหนักถึงปัญหาดังกล่าว จึงกำหนดดำเนินการโครงการค่าใช้จา่ยในการบำรุงรักษา ปรับปรุงและเพิ่มพื้นที่สีเขียว เพื่อเป็นแนวทางการแก้ไขปัญหาโดยการเพิ่มพื้นที่สีเขียว ด้วยการปรับปรุงภูมิทัศน์ของเมืองให้ดีขึ้นด้วยการปรับปรุงสวนหย่อม ให้เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจและเพิ่มประโยชน์การใช้สอยของพื้นที่ให้เกิดความสวยงาม เป็นระเบียบเรียบร้อย ตอบสนองนโยบายของผู้บริหารกรุงเทพมหานครในการที่จะพัฒนาสภาวะแวดล้อมในด้านต่าง ๆ ให้มีความเหมาะสมในเขตกรุงเทพมหานคร | 1. เพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียว 2. เพื่อลดปัญหาโลกร้อน 3. เพื่อเพิ่มสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ ให้ความร่มรื่นให้แก่ประชาชนที่อยู่อาศัยบริเวณใกล้เคียง 4. เพื่อเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างรัฐกับประชาชนในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม 5. เพื่อเป็นการเสริมสร้างทัศนียภาพในอาคารบ้านเรือนและกรุงเทพมกานคร 6. เพื่อช่วยลดปัญหาและพัฒนาสภาวะแวดล้อมให้อยู่สภาพที่ดีตลอดไป | เพิ่มพื้นที่สีเขียว ปรับปรุงภูมิทัศน์ ปลูกต้นไม้เพิ่มบริเวณที่ถนนกำแพงเพชร 6 ตั้งแต่ปากซอยวิภาวดีรังสิต 27 ถึงหน้าสถานีตำรวจทุ่งสองห้องและปลูกต้นไม้เพิ่มบริเวณสวนสาธารณะการเคหะท่าทราย | 1,166,000.00 | 1,130,600.00 | สำนักงานเขตหลักสี่ | 2020-10-01 00:00:00 | 2021-09-30 00:00:00 | แล้วเสร็จ | 100.00 |
22 | 3.0.2. ด้านที่ ๓ - มหานครสำหรับทุกคน : Bangkok as a City for All |
.. | 2564 | ค่าใช้จ่ายศูนย์ประสานงานธนาคารสมองของกรุงเทพมหานคร | --ปัจจุบันสังคมไทยมีจำนวนผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้น กรุงเทพมหานครเป็นหน่วยงานหนึ่งซึ่งมีหน้าที่ในการจัดสวัสดิการทางสังคมให้แก่ผู้สูงอายุ และตระหนักดีว่าผู้สูงอายุเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณค่าและทำคุณประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติมาโดยตลอด ประกอบกับแผนผู้สูงอายุแห่งชาติ ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๔๕ – ๒๕๖๔) และพระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. ๒๕๔๖ ได้กำหนดให้ผู้สูงอายุมีสิทธิได้รับการคุ้มครอง การส่งเสริม และการสนับสนุนในด้านต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งให้ผู้สูงอายุได้มีการพัฒนาตนเองและมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคม | - เพื่อรวบรวมและเผยแพร่ภูมิปัญญาผู้สูงอายุ - เพื่อเผยแพร่ผลงานและเกียรติประวัติภูมิปัญญาผู้สูงอายุ - เพื่อให้เกิดการอนุรักษ์และสืบทอดสู่คนรุ่นหลังต่อไป | - เชิงปริมาณรวบรวมและเผยแพร่ภูมิปัญญาผู้สุงอายุ - เชิงคุณภาพผู้สูงอายุในชุมชนที่เข้าร่วมหลักเสร็จสิ้นโครงการ | 10,000.00 | 0.00 | สำนักงานเขตหลักสี่ | 2020-10-01 00:00:00 | 2021-09-30 00:00:00 | ยกเลิก | 10.00 |
23 | 6.0.1. ด้านที่ ๖ – มหานครแห่งเศรษฐกิจและการเรียนรู้ : Bangkok as an Economic and Learning Centre |
.. | 2564 | ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร | -เพื่อให้การดำเนินกิจกรรมตามภารกิจของศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำแขวงเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ บรรลุเป้าหมายขององค์กร เกิดประโยชน์สูงสุดกับเกษตรกรและประชาชนทั่วไป ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม สำนักงานเขตหลักสี่ เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบและขับเคลื่อนการดำเนินงานของศูนย์ฯ จำเป็นอย่างยิ่งต้องขอรับการสนับสนุนงบประมาณเพื่อใช้ในการดำเนินงานตามแผน | เพื่อให้ศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรเป็นศูนย์กลางในการเสริมสร้างความเข้มแข็งของเกฒตรกร สร้างความรู้ มีส่วนร่วมคิดวิเคราะห์ กำหนดทิศทาง และวางแผนได้ด้วยตนเอง | - จัดกิจกรรมการดำเนินงานศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำแขวงทุ่งสองห้อง ได้แก่ การจัดประชุมคณะกรรมการศูนย์ - จัดกิจกรรมของศูนย์บริการและถ่ายทอดฯ เช่น การประชุมคณะกรรมการ และจัดตั้งจุดสาธิตการเกษตร จำนวน 2 จุด | 115,100.00 | 30,000.00 | สำนักงานเขตหลักสี่ | 2020-10-01 00:00:00 | 2021-09-30 00:00:00 | แล้วเสร็จ | 100.00 |
24 | 7.0.1. ด้านที่ ๗ – การบริหารจัดการเมืองมหานคร : Management Strategy |
.. | 2564 | ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการสนับสนุนกิจการอาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน | -ศูนย์อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน เขตหลักสี่ ได้จัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมรับสถานการณ์ในการเกิดภัยต่าง ๆ การบรรเทาสาธารณภัยเบื้องต้น การอาสาช่วยงานด้านการจราจร รวมทั้งเหตุความไม่สงบเรียบร้อยในพื้นที่ การก่อการร้าย การก่อวินาศกรรมเนื่องจากเหตุปัจจัยหลายประการ การกระทำที่มุ่งทำลายทรัพย์สินของรัฐหรือของประชาชน การประทุษร้ายต่อบุคคล การก่อให้เกิดความปั่นป่วนทางการเมือง เศรษฐกิจและสังคม โดยมุ่งหมายที่จะก่อให้เกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของชาติ โดยให้ประชาชนในพื้นที่ได้มีส่วนร่วมในการให้ความช่วยเหลือหน่วยงานราชการ เพื่อให้การดำเนินงานสำเร็จลุล่วงบรรลุวัตถุประสงค์ของทางราชการ จึงจำเป็นต้องกำหนดแผนปฏิบัติหน้าที่ประจำศูนย์อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน เขตหลักสี่ | 1. เพื่อให้การปฏิบัติงานด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยในพื้นที่และการช่วยเหลือผู้ประสบภัยเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ รวดเร็ว ทันต่อสถานการณ์ และถูกต้องตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยกิจการอาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน พ.ศ.2553 2. เพื่อสนองตอบนโยบายของกรุงเทพมหานครในการช่วยเหลือและบรรเทาความเดือดร้อนให้แก่ประชาชนผู้ประสบภัย 3. เพื่อลดความสูญเสียทางเศรษฐกิจของประเทศโดยรวม 4. เพื่อให้ประชาชนเกิดความรู้สึกว่ามิได้ถูกทอดทิ้งจากหน่วยงานของรัฐ 5. เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจให้แก่เจ้าหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่องและตรากตรำให้มีสวัสดิการที่ดีขึ้น อันเป็นผลในการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน | 1. เพื่อจัดเตรียมกำลังเจ้าหน้าที่ให้พร้อมที่จะเข้าปฏิบัติงานในพื้นที่เป้าหมาย และพื้นที่ที่มีปัญหาจากภัยธรรมชาติและภัยที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์ได้อย่างรวดเร็วฉับพลันทันต่อเหตุการณ์ 2. เพื่อให้ความช่วยเหลือประชาชนที่ประสบความเดือดร้อนได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผลยิ่งขึ้น 3. เพื่อลดความสูญเสียทางเศรษฐกิจให้น้อยลง 4. เพื่ออำนวยความสะดวก และบรรเทาความเดือดร้อนแก่ประชาชนในด้านต่าง ๆ เช่น การเดินทางและการจราจรในพื้นที่ที่เกิดภัยพิบัติขึ้น 5. เพื่อเสริมสร้างความรู้สึกและความสัมพันธ์อันดีระหว่างหน่วยงานของรัฐ อาสาสมัคร | 352,000.00 | 292,000.00 | สำนักงานเขตหลักสี่ | 2020-10-01 00:00:00 | 2021-09-30 00:00:00 | แล้วเสร็จ | 100.00 |
25 | 7.0.1. ด้านที่ ๗ – การบริหารจัดการเมืองมหานคร : Management Strategy |
.. | 2564 | ความสำเร็จในการเสนอนวัตกรรมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของหน่วยงาน | เนื่องจากปัญหาการจราจรติดขัด ประชาชนผู้รับบริการมีภารกิจหน้าที่การงาน ทำให้การเดินทางมาติดต่อราชการไม่สะดวกและใช้เวลามาก ประกอบกับเทคโนโลยีสารสนเทศมีความก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว การพัฒนาระบบการให้บริการโดยนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาช่วยการทำงาน เพื่อเพิ่มช่องทางการให้บริการของภาครัฐ | - เพิ่มช่องทางการให้บริการโดยนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ มาช่วยสนับสนุนการให้บริการประชาชน - ลดขั้นตอนการให้บริการจากเดิมมาติดต่อสำนักงานเขต 2 ครั้งเหลือเพียง 1 ครั้ง - เพื่อให้ประชาชนได้รับบริการที่สะดวก รวดเร็ว ประหยัดเวลา และค่าใช้จ่ายในการเดินทาง | เพิ่มช่องทางการให้บริการยื่นคำร้องขอบ้านเลขที่ปลูกใหม่ สำหรับประชาชนทั่วไป ผ่านทางระบบออนไลน์ | 0.00 | 0.00 | สำนักงานเขตหลักสี่ | 2020-10-01 00:00:00 | 2021-09-30 00:00:00 | แล้วเสร็จ | 100.00 |
26 | 7.0.1. ด้านที่ ๗ – การบริหารจัดการเมืองมหานคร : Management Strategy |
.. | 2564 | กิจกรรมการเบิกจ่ายงบประมาณในภาพรวมของสำนักงานเขตหลักสี่ | ตามหลักเกณท์ที่สำนักงบประมาณกำหนด | เพื่อให้การบริหารงบประมาณเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์ต่อประชาชนทุกภาคส่วน และเป็นไปตามเป้าหมายที่ผู้บริหารกรุงเทพมหานคร กำหนดการเบิกจ่ายให้เป็นไปตามแผนงานการใช้จ่ายเงินเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาการเบิกจ่ายเงินล่าช้า ซึ่งจะทำให้ผลการเบิกจ่ายเป็นไปตามเป้าหมาย | ผลการเบิกจ่ายได้ตามเป้าหมายที่กรุงเทพมหานครกำหนดและเป็นไปอย่างรวดเร็ว ถูกต้องตามกฎหมาย ข้อบัญญัติ ระเบียบ หนังสือสั่งการ คำสั่งที่เกี่ยวข้อง | 0.00 | 0.00 | สำนักงานเขตหลักสี่ | 2020-10-01 00:00:00 | 2021-09-30 00:00:00 | แล้วเสร็จ | 100.00 |
27 | 7.0.1. ด้านที่ ๗ – การบริหารจัดการเมืองมหานคร : Management Strategy |
.. | 2564 | กิจกรรมการพัฒนาและจัดเก็บฐานข้อมูลที่มีความสำคัญต่อการปฏิบัติงานหรือการให้บริการของสำนักงานเขตหลักสี่ | ตามที่ สยป. กำหนด | ตามที่ สยป. กำหนด | ตามที่ สยป. กำหนด | 0.00 | 0.00 | สำนักงานเขตหลักสี่ | 2020-10-01 00:00:00 | 2021-09-30 00:00:00 | แล้วเสร็จ | 100.00 |
28 | 1.0.5. ด้านที่ ๑ – มหานครปลอดภัย : Bangkok as a Safe City |
.. | 2565 | ค่าใช้จ่ายโครงการกรุงเทพฯ เมืองอาหารปลอดภัย | 1. เพื่อปรับปรุง ยกระดับมาตรฐานด้านสุขลักษณะสถานที่ของสถานประกอบการอาหาร 2. เพื่อตรวจสอบและเฝ้าระวังคุณภาพอาหารในสถานประกอบการอาหาร 3. เพื่อพัฒนาความรู้ ความเข้าใจ จิตสำนึก และความร่วมมือขององค์กรภาคเอกชน ผู้ประกอบการ และประชาชนทั่วไปในเรื่องอาหารปลอดภัย4. เพื่อคุ้มครองผู้บริโภค และสร้างความมั่นใจในการบริโภคอาหารที่สะอาดปลอดภัย | 1. ร้อยละของสถานประกอบการอาหารที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานครมีบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เท่ากับหรือมากกว่า ร้อยละ 30 2. ร้อยละของสถานประกอบการอาหารมีมาตรการป้องกันโรคโควิด 19 (COVID-19) ตามมาตรการของกระทรวงสาธารณสุขเท่ากับร้อยละ 100 | 80,900.00 | 0.00 | สำนักงานเขตหลักสี่ | 2021-10-01 00:00:00 | 2022-09-30 00:00:00 | แล้วเสร็จ | 100.00 | |
29 | 7.0.1. ด้านที่ ๗ – การบริหารจัดการเมืองมหานคร : Management Strategy |
.. | 2565 | ค่าใช้จ่ายในการส่งเสริมการแปรรูปมูลฝอยอินทรีย์เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ | 1. เพื่อส่งเสริมและเผยแพร่ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการลดปริมาณมูลฝอยเศษอาหาร เศษผัก เศษผลไม้และไม้ใบหญ้า โดยนำมาทำเป็นปุ๋ยน้ำชีวภาพ (ขยะหอม) ปุ๋ยหมักใบไม้แห้ง และเลี้ยงไส้เดือน (เพื่อกำจัดเศษอาหาร) นำมาใช้ประโยชน์ในด้านสิ่งแวดล้อม 2. เพื่อส่งเสริมให้ภาคส่วนต่าง ๆ กระตุ้นให้เกิดการมีส่วนร่วมของประชาชนในการลดปริมาณมูลฝอยจากแหล่งกำเนิด 3. ประชาสัมพันธ์เผยแพร่ความรู้ในการคะดอยดขยะอินทรีย์ 4. เพื่อลดปริมาณมูลฝอยที่สำนักงานเขตหลักสี่ ต้องจัดเก็บและนำไปทำลาย | 1. กิจกรรมรณรงค์ ส่งเสริมให้มีการนำมูลฝอยอินทรีย์มาใช้กระโยชน์ด้วยการทำปุ๋ยน้ำชีวภาพ (ขยะหอม) ปุ๋ยหมักใบไม้แห้ง และเลี้ยงไส้เดือน (เพื่อกำจัดเศษอาหาร) ให้กับชุมชน วัด หน่วยราชการ สถานศึกษา สถานประกอบการ รัฐวิสาหกิจในพื้นที่เขตและกระชาชนทั่วไป 2. กิจกรรมเทน้ำปุ๋ยน้ำชีวภาพ ลงในคลองพื้นที่เขตหลักสี่เพื่อบำบัดน้ำเสีย | 50,000.00 | 49,975.00 | สำนักงานเขตหลักสี่ | 2021-10-01 00:00:00 | 2022-09-30 00:00:00 | แล้วเสร็จ | 100.00 | |
30 | 7.0.1. ด้านที่ ๗ – การบริหารจัดการเมืองมหานคร : Management Strategy |
.. | 2565 | ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร | เพื่อให้ศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรเป็นศูนย์กลางในการเสริมสร้างความเข้มแข็งของเกฒตรกร สร้างความรู้ มีส่วนร่วมคิดวิเคราะห์ กำหนดทิศทาง และวางแผนได้ด้วยตนเอง | - จัดกิจกรรมการดำเนินงานศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำแขวงทุ่งสองห้อง ได้แก่ การจัดประชุมคณะกรรมการศูนย์ - จัดกิจกรรมของศูนย์บริการและถ่ายทอดฯ เช่น การประชุมคณะกรรมการ และจัดตั้งจุดสาธิตการเกษตร จำนวน 2 จุด | 115,100.00 | 115,100.00 | สำนักงานเขตหลักสี่ | 2021-10-01 00:00:00 | 2022-09-30 00:00:00 | แล้วเสร็จ | 100.00 | |
31 | 7.0.1. ด้านที่ ๗ – การบริหารจัดการเมืองมหานคร : Management Strategy |
.. | 2565 | ค่าใช้จ่ายโครงการกรุงเทพฯ เมืองแห่งสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมที่ดี สะอาด ปลอดภัย | 1. การตรวจสอบแก้ไขปัญหาทางด้านสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม หรืออนามัยสิ่งแวดล้อมที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพประชาชน 2. การตรวจสอบด้านสุขลักษณะ อาชีวอนามัย ความปลอดภัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานของสถานประกอบการที่ประกอบการ 3. การให้บริการเผยแพร่ความรู้ด้านสาธารณสุขและอนามัยสิ่งแวดล้อม การส่งเสริมสุขภาพ การควบคุมป้องกันโรค และตอบโต้เหตุฉุกเฉินหรืออุบัติภัยจากสารเคมีและวัตถุอันตราย เป็นต้น 4. การดำเนินงานตรวจสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมในพื้นที่เขตหลักสี่ หมายถึง การดำเนินงานโดยเจ้าหน้าที่ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล จำนวน 48 ครั้ง 5. การดำเนินงานบังคับใช้กฎหมายตามพระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ. 2560 หมายถึง การดำเนินงานโดยพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ได้รับการแต่งตั้ง จำนวน 35 ครั้ง | จำนวนครั้งของการดำเนินงานตรวจสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมในพื้นที่เขตหลักสี่ และการดำเนินงานบังคับใช้กฎหมายตามพระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ. 2560 จำนวน 83 ครั้ง | 165,100.00 | 0.00 | สำนักงานเขตหลักสี่ | 2021-10-01 00:00:00 | 2022-09-30 00:00:00 | แล้วเสร็จ | 100.00 | |
รวม ->31 โครงการ | 0 | 0.00 | 0.00 | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 | 0 | 0 | 0 | 0 |