ลำดับ |
ยุทธศาสตร์ 20 ปี |
แผนแม่บทไอที |
ปีงบประมาณ |
ชื่อโครงการ |
หลักการและเหตุผล |
วัตถุประสงค์โครงการ |
เป้าหมายโครงการ |
งบประมาณที่ได้รับ |
งบประมาณที่ใช้ไป |
หน่วยงานที่รับผิดชอบ |
เริ่มโครงการ |
สิ้นสุดโครงการ |
สถานะโครงการ |
คืบหน้า (ร้อยละ) |
1 |
3.0.3. |
4.2. |
2560 |
พัฒนาระบบสารสนเทศ เพื่อยกระดับสมรรถนะการบริหารทรัพยากรบุคคลข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากรุงเทพมหานคร |
เพื่อยกระดับสมรรถนะการบริหารทรัพยากรบุคคลของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากรุงเทพมหานคร โดยการวิเคราะห์ข้อมูลรายบุคคลทุกมิติ รวมทั้งการบริหารทรัพยากรบุคคลทุกระบบผ่านระบบสารสนเทศ เพื่อให้ข้อมูลมีความถูกต้อง เป็นปัจจุบัน
|
1. เพื่อปรับปรุง เพิ่มเติม ข้อมูลปฐมภูมิข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากรุงเทพมหานครให้สามารถทำงานผ่านระบบสารสนเทศได้อย่างครบวงจร ทำให้กรุงเทพมหานครมีศูนย์ข้อมูลกลางของข้าราชการครูฯ ที่มีความถูกต้อง เป็นปัจจุบัน
2. เพื่อพัฒนาระบบสนับสนุนการบริหารทรัพยากรบุคคลทุกระบบ ให้เป็นกลไกขับเคลื่อน ผลักดันให้ข้อมูลปฐมภูมิของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากรุงเทพมหานคร และเอกสารทะเบียนประวัติมีความถูกต้อง แม่นยำ และเป็นปัจจุบันตลอดเวลาโดยเร็ว และเป็นช่องทางหนึ่งในการที่ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากรุงเทพมหานครจะสามารถเข้าถึงข้อมูลสำคัญของตนเองได้ด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ
3. เพื่อให้สามารถบูรณาการเชื่อมโยงระบบสารสนเทศด้านการบริหารจัดการ และการวิเคราะห์ข้อมูลรายบุคคลในการยกระดับสมรรถนะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากรุงเทพมหานคร ตลอดจนวางแผนการจัดการศึกษาของกรุงเทพมหานครให้เป็นไปในทิศทางที่ถูกต้อง เหมาะสม อีกทั้งสามารถรองรับการปรับปรุงโครงสร้างองค์กรด้านการศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4. เพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพด้านระบบรักษาความปลอดภัยของข้อมูลแบบองค์รวมด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยข้อมูลข่าวสารของทางราชการ และกฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
|
กรุงเทพมหานคร มีระบบฐานข้อมูลประวัติการรับราชการของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากรุงเทพมหานคร ที่มีการบริหารทรัพยากรบุคคลภายใต้กฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาทุกสังกัด คือ สังกัดสำนักการศึกษา จำนวน 61 อัตรา สังกัดสำนักงานเขต 15,846 อัตรา และสังกัดสำนักพัฒนาสังคม 135 อัตรา รวม 16,042 อัตรา ที่มีความถูกต้อง เป็นปัจจุบัน สามารถอ้างอิงได้ตามเอกสารทะเบียนประวัติ (ก.พ.7)ทั้งหมด ตลอดจนทะเบียนประวัติ (ก.พ.7)ของลูกจ้างกรุงเทพมหานครที่ปฏิบัติงานในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 1,172 คน พร้อมทั้งระบบสนับสนุนการบริหารทรัพยากรบุคคล จำนวน 20 ระบบ อันจะทำให้สามารถขับเคลื่อนข้อมูลให้เป็นปัจจุบันได้ตลอดเวลา รวมถึงการบริหารจัดการแฟ้มทะเบียนประวัติและ ก.พ.7 ของข้าราชการครูฯ ที่เกษียณอายุราชการหรือลาออกจากราชการตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน จำนวนไม่น้อยกว่า 8,000 คน ที่สามารถใช้ข้อมูลจากระบบอิเล็กทรอนิกส์แทนการเก็บรักษาต้นฉบับไว้ |
0.00 |
0.00 |
สำนักการศึกษา |
2016-10-01 00:00:00 |
2017-09-30 00:00:00 |
กำลังดำเนินการ |
28.00 |
2 |
3.0.2. |
3.1. |
2561 |
พัฒนาเครือข่ายคอมพิวเตอร์ภายในสำนักการศึกษา |
สำนักการศึกษานำเทคโนโลยีสารสนเทศมาช่วยสนับสนุนภารกิจของสำนักการศึกษาโดยผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ไร้สายเป็นหลัก จึงจำเป็นต้องพัฒนาเครือข่ายคอมพิวเตอร์ภายในสำนักการศึกษาโดยจัดหาผู้มีความรู้ความชำนาญมาติดตั้งระบบสายสัญญาณที่มีข้อดีด้านประสิทธิภาพการส่งสัญญาณและอายุการใช้งานสายสัญญาได้ยาวนาน
|
1. เพื่อพัฒนาเครือข่ายคอมพิวเตอร์ภายในสำนักการศึกษาให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น
2. เพื่อส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศมาช่วยสนับสนุนภารกิจของสำนักการศึกษาเป็นไปด้วยความต่อเนื่อง
|
ด้านปริมาณ
1. ติดตั้งเครือข่ายคอมพิวเตอร์ภายในสำนักการศึกษาให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น
2. ติดตั้งระบบไฟฟ้า (เต้ารับไฟฟ้า) จำนวน 200 จุด
ด้านคุณภาพ
บุคลากรของสำนักการศึกษาสามารถใช้ทรัพยากรสารสนเทศทั้งภายในและผ่านระบบอินเทอร์เน็ตได้อย่างมีประสิทธิภาพ
|
1,028,500.00 |
0.00 |
สำนักการศึกษา |
2017-10-01 00:00:00 |
2018-09-30 00:00:00 |
ยกเลิก |
10.00 |
3 |
3.0.2. |
6.2. |
2561 |
ยกระดับมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ด้วยเทคโนโลยีผ่านนวัตกรรม Maths-Whizz |
ในการจัดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ สื่อและนวัตกรรมการเรียนรู้เป็นตัวกลางสำคัญที่จะส่งผลให้ผู้เรียนเข้าถึงความรู้ และคุณลักษณะตามมาตรฐานการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ ผู้เรียนควรมีโอกาสเรียนรู้จากการปฏิบัติจริง ฝึกทักษะ กระบวนการ จัดกิจกรรมการเรียนรู้เสริมด้วยนวัตกรรมต่างๆ ที่หลากหลาย ซึ่งนวัตกรรม Maths-Whizz เป็นนวัตกรรมหนึ่งที่เป็นระบบการเรียนการสอนแบบพัฒนาตามศักยภาพของผู้เรียนเป็นรายบุคคล (Personalised Learning) และแก้ปัญหาความแตกต่างของอายุทางคณิตศาสตร์ (Maths Agetm) ซึ่งผลการวิจัยจากหลายประเทศ พบว่า นักเรียนที่เรียนรู้ผ่านนวัตกรรม Maths-Whizz จำนวน 60 นาที/สัปดาห์ ต่อเนื่องเป็นเวลา 12 เดือน จะมีพัฒนาการอายุทางคณิตศาสตร์ มากถึง 18 เดือน และช่วยเสริมสร้างกำลังใจให้นักเรียนได้เรียนรู้คณิตศาสตร์อย่างมีความสุข ดังนั้น เพื่อให้โรงเรียนสามารถยกระดับมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ หน่วยศึกษานิเทศก์ จึงได้จัดทำโครงการยกระดับมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ด้วยเทคโนโลยีผ่านนวัตกรรม Maths-Whizz ให้กับโรงเรียนที่เปิดโครงการสองภาษา (หลักสูตรไทย-อังกฤษ) เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนคณิตศาสตร์แบบบูรณาการ และสร้างเจตคติที่ดีต่อการเรียนคณิตศาสตร์ อันจะส่งผลให้ผู้เรียนมีทักษะทางด้านคณิตศาสตร์เต็มตามศักยภาพ นำไปสู่การยกระดับคุณภาพการศึกษาให้ได้มาตรฐานในระดับสากลต่อไป
|
1.เพื่อยกระดับมาตรฐานการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนระดับประถมศึกษาในโรงเรียนที่เปิดโครงการสองภาษา (หลักสูตรไทย-อังกฤษ) สังกัดกรุงเทพมหานคร
2.เพื่อให้ครูผู้สอนคณิตศาสตร์ใช้นวัตกรรม Maths-Whizz ในการพัฒนาศักยภาพของผู้เรียนเป็นรายบุคคล (Personalised Learning)
3.เพื่อให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้แบบบูรณาการ และสร้างเจตคติที่ดีต่อการเรียนคณิตศาสตร์
|
ด้านปริมาณ
1.โรงเรียนที่เปิดโครงการสองภาษา (หลักสูตรไทย-อังกฤษ) ที่มีความพร้อมในการจัดห้องเรียนด้วยนวัตกรรม Maths-Whizz จำนวน 44 โรงเรียน
2. ผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอนคณิตศาสตร์ระดับประถมศึกษา ศึกษานิเทศก์ และผู้ที่เกี่ยวข้อง ได้เข้ารับการอบรมเชิงปฏิบัติการ การใช้นวัตกรรม Maths-Whizz
ด้านคุณภาพ
1. นักเรียนระดับประถมศึกษาในโรงเรียนที่เปิดโครงการสองภาษา (หลักสูตรไทย-อังกฤษ) มีพัฒนาการอายุทางคณิตศาสตร์สูงขึ้น
2. ครูผู้สอนคณิตศาสตร์มีทักษะการสอนและสามารถใช้นวัตกรรม Maths-Whizz เป็นเครื่องมือส่งเสริมการจัดกระบวนการเรียนรู้ให้กับนักเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3. ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารระดับสำนักการศึกษา และระดับกรุงเทพมหานคร สามารถวางนโยบายในการยกระดับมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์อย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น |
10,505,250.00 |
0.00 |
สำนักการศึกษา |
2017-10-01 00:00:00 |
2018-09-30 00:00:00 |
ยกเลิก |
10.00 |
4 |
3.0.2. |
4.2. |
2561 |
พัฒนาระบบสารสนเทศ เพื่อยกระดับสมรรถนะการบริหารทรัพยากรบุคคลข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากรุงเทพมหานคร |
เพื่อยกระดับสมรรถนะการบริหารทรัพยากรบุคคลของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากรุงเทพมหานคร โดยการวิเคราะห์ข้อมูลรายบุคคลทุกมิติ รวมทั้งการบริหารทรัพยากรบุคคลทุกระบบผ่านระบบสารสนเทศ เพื่อให้ข้อมูลมีความถูกต้อง เป็นปัจจุบัน
|
1. เพื่อปรับปรุง เพิ่มเติม ข้อมูลปฐมภูมิข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากรุงเทพมหานครให้สามารถทำงานผ่านระบบสารสนเทศได้อย่างครบวงจร ทำให้กรุงเทพมหานครมีศูนย์ข้อมูลกลางของข้าราชการครูฯ ที่มีความถูกต้อง เป็นปัจจุบัน
2. เพื่อพัฒนาระบบสนับสนุนการบริหารทรัพยากรบุคคลทุกระบบ ให้เป็นกลไกขับเคลื่อน ผลักดันให้ข้อมูลปฐมภูมิของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากรุงเทพมหานคร และเอกสารทะเบียนประวัติมีความถูกต้อง แม่นยำ และเป็นปัจจุบันตลอดเวลาโดยเร็ว และเป็นช่องทางหนึ่งในการที่ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากรุงเทพมหานครจะสามารถเข้าถึงข้อมูลสำคัญของตนเองได้ด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ
3. เพื่อให้สามารถบูรณาการเชื่อมโยงระบบสารสนเทศด้านการบริหารจัดการ และการวิเคราะห์ข้อมูลรายบุคคลในการยกระดับสมรรถนะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากรุงเทพมหานคร ตลอดจนวางแผนการจัดการศึกษาของกรุงเทพมหานครให้เป็นไปในทิศทางที่ถูกต้อง เหมาะสม อีกทั้งสามารถรองรับการปรับปรุงโครงสร้างองค์กรด้านการศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4. เพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพด้านระบบรักษาความปลอดภัยของข้อมูลแบบองค์รวมด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยข้อมูลข่าวสารของทางราชการ และกฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
|
กรุงเทพมหานคร มีระบบฐานข้อมูลประวัติการรับราชการของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากรุงเทพมหานคร ที่มีการบริหารทรัพยากรบุคคลภายใต้กฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาทุกสังกัด คือ สังกัดสำนักการศึกษา จำนวน 61 อัตรา สังกัดสำนักงานเขต 15,846 อัตรา และสังกัดสำนักพัฒนาสังคม 135 อัตรา รวม 16,042 อัตรา ที่มีความถูกต้อง เป็นปัจจุบัน สามารถอ้างอิงได้ตามเอกสารทะเบียนประวัติ (ก.พ.7)ทั้งหมด ตลอดจนทะเบียนประวัติ (ก.พ.7)ของลูกจ้างกรุงเทพมหานครที่ปฏิบัติงานในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 1,172 คน พร้อมทั้งระบบสนับสนุนการบริหารทรัพยากรบุคคล จำนวน 20 ระบบ อันจะทำให้สามารถขับเคลื่อนข้อมูลให้เป็นปัจจุบันได้ตลอดเวลา รวมถึงการบริหารจัดการแฟ้มทะเบียนประวัติและ ก.พ.7 ของข้าราชการครูฯ ที่เกษียณอายุราชการหรือลาออกจากราชการตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน จำนวนไม่น้อยกว่า 8,000 คน ที่สามารถใช้ข้อมูลจากระบบอิเล็กทรอนิกส์แทนการเก็บรักษาต้นฉบับไว้ |
20,100,000.00 |
0.00 |
สำนักการศึกษา |
2017-10-01 00:00:00 |
2018-09-30 00:00:00 |
แล้วเสร็จ |
100.00 |
5 |
3.0.2. |
6.2. |
2561 |
ประกวดผลงานนวัตกรรมแห่งการเรียนรู้ของข้าราชการครูกรุงเทพมหานคร |
กรุงเทพมหานครได้ให้ความสำคัญต่อการพัฒนาการศึกษาเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะในการพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากรุงเทพมหานคร ให้มีสมรรถนะ มีความเป็นมืออาชีพตามมาตรฐานที่กำหนด เนื่องจากข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากรุงเทพมหานคร เป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยให้การจัดการศึกษาของโรงเรียนบรรลุตามเป้าหมาย อาชีพครูจึงเป็นอาชีพที่สำคัญที่ควรได้รับการส่งเสริมและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนต้องสร้างขวัญและกำลังใจให้กับกลุ่มข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากรุงเทพมหานครในการปฏิบัติหน้าที่ และให้เกียรติชมเชยต่อความสามารถของกลุ่มข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากรุงเทพมหานคร ที่ได้ร่วมสร้างผลงานที่เป็นประโยชน์ต่อการเรียนการสอน ในอันที่จะส่งเสริมการสร้างวัฒนธรรมชุมชนทางการเรียนรู้ทางวิชาชีพของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากรุงเทพมหานคร หรือ PLC (Professional Learning Community) ให้เข้มแข็งในระบบการศึกษาของกรุงเทพมหานคร
จากความสำคัญดังกล่าว สำนักการศึกษาในฐานะที่เป็นหน่วยงานหลักในการจัดการศึกษาของกรุงเทพมหานคร ซึ่งปัจจุบันมีโรงเรียนที่ต้องรับผิดชอบ จำนวน ๔๓๗ โรงเรียน และข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากรุงเทพมหานคร จำนวน ๑๔,๑๘๕ คน จึงเห็นควรให้มีการคัดเลือกข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากรุงเทพมหานครที่มีผลงานดีเด่นด้านการพัฒนาการเรียนการสอนแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้และอื่น ๆ ที่นำไปสู่การพัฒนานักเรียนกรุงเทพมหานคร เพื่อยกย่องเชิดชูเกียรติให้เข้ารับรางวัล และเพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ครูผู้สอนทั่วกรุงเทพมหานคร โดยจัดให้มีการประกวดผลงานนวัตกรรมแห่งการเรียนรู้ของข้าราชการครูกรุงเทพมหานคร
|
1 เพื่อส่งเสริมและกระตุ้นให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาของโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร ได้แสดงศักยภาพและความสามารถในการเรียนการสอนตามกลุ่มสาระและงานที่รับผิดชอบ
2 เพื่อเป็นการยกย่องและเชิดชูเกียรติและสร้างขวัญกำลังใจให้แก่ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากรุงเทพมหานครที่มีความพร้อมและมุ่งมั่นในการสอนและงานที่รับผิดชอบ
3 เพื่อเป็นต้นแบบให้กับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากรุงเทพมหานครได้ศึกษาและเรียนรู้วัฒนธรรมชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) ตลอดจนเผยแพร่ผลงานให้สาธารณชนรับรู้ต่อไป
|
1 ด้านปริมาณ
- จัดให้มีการประกวดผลงานนวัตกรรมแห่งการเรียนรู้ของข้าราชการครูกรุงเทพมหานครสำหรับกลุ่มข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากรุงเทพมหานคร จำนวน ๑๐ ประเภท ๆ ละ ๓ รางวัล ได้แก่
(๑) กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
(๒) กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
(๓) กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ
(๔) กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
(๕) กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ
(๖) กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
(๗) กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี
(๘) กลุ่มสาระการเรียนรู้ ...
- 2 -
(๘) กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา
(๙) กลุ่มครูแนะแนว
(๑๐) กลุ่มครูการศึกษาพิเศษ (เรียนร่วม)
2 ด้านคุณภาพ
- ได้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากรุงเทพมหานคร ที่มีศักยภาพและคุณภาพ เป็นที่ยอมรับของสาธารณชน สามารถเป็นแบบอย่างและต้นแบบในการเรียนการสอนได้
- ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากรุงเทพมหานคร มีขวัญ กำลังใจ และได้รับการยกย่องและเชิดชูเกียรติ
|
2,474,000.00 |
0.00 |
สำนักการศึกษา |
2017-10-01 00:00:00 |
2018-09-30 00:00:00 |
ยกเลิก |
10.00 |
6 |
3.0.3. |
4.2. |
2561 |
กิจกรรมสำรวจความต้องการทรัพยากรสารสนเทศของประชาชน |
ปัจจุบันสังคมมีความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และมีลักษณะเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้มากขึ้น ทุกคนในสังคมจำเป็นต้องมีความสนใจข่าวสารและข้อมูลต่าง ๆ เพื่อนำมาใช้ในการดำเนินชีวิตและการประกอบอาชีพ สภาพสังคมเช่นนี้ส่งผลให้ข้อมูลข่าวสารเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับทุกคนในสังคม และเนื่องจากห้องสมุดเป็นแหล่งรวบรวมทรัพยากรสารสนเทศหลากหลาย โดยเฉพาะห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้ ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนการศึกษาทั้งการศึกษา ในระบบ การศึกษานอกระบบ การศึกษาตามอัธยาศัย และการศึกษาตลอดชีวิต เพราะเป็นสถานที่ให้บริการประชาชนทุกเพศทุกวัยได้มีโอกาสเข้าถึงข้อมูลข่าวสารความรู้ต่าง ๆ ทั้งยังส่งเสริมให้ประชาชนมีนิสัยรักการอ่าน เพื่อนำไปพัฒนาตนเองให้เป็นผู้มีความรู้ความสามารถทั้งในการทำงานและการดำเนินชีวิตได้อย่างมีคุณภาพ |
1. เพื่อสำรวจความต้องการทรัพยากรสารสนเทศของประชาชน
2. เพื่อจัดหาทรัพยากรสารสนเทศที่สอดคล้องกับความต้องการของประชาชน
|
สำรวจความต้องการทรัพยากรสารสนเทศของประชาชน |
0.00 |
0.00 |
สํานักวัฒนธรรม กีฬาและการท่องเที่ยว |
2017-10-01 00:00:00 |
2018-09-30 00:00:00 |
แล้วเสร็จ |
100.00 |
7 |
3.0.1. |
4.2. |
2561 |
การจัดทำฐานข้อมูลแรงงานนอกระบบ |
1.แรงงานนอกระบบ หมายถึง ผู้มีงานทำที่ไม่ได้รับความคุ้มครอง และไม่มีหลักประกันทางสังคมจากการทำงาน (ตามกฎหมายประกันสังคม และพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541) (ที่มา : กระทรวงแรงงาน)
2.กลุ่มเป้าหมาย หมายถึง กลุ่มแรงงานนอกระบบที่สำนักพัฒนาสังคมได้วิเคราะห์หรือกำหนดไว้อย่างชัดเจนว่าเป็นกลุ่มที่มีความสำคัญในลำดับต้นในการให้ความช่วยเหลือในช่วงปี 2561 และหน่วยงานของกรุงเทพมหานครสามารถให้บริการหรือตอบสนองความต้องการของกลุ่มเหล่านี้ได้ดี เช่น กลุ่มวินมอเตอร์ไซต์รับจ้างที่ขึ้นทะเบียนกับสำนักงานเขต
|
เพื่อให้กลุ่มแรงงานนอกระบบการรับทราบสิทธิทางสวัสดิการและแหล่งเงินทุน หมายถึง การดำเนินโครงการ/กิจกรรมที่ผลักดันให้แรงงานนอกระบบกลุ่มเป้าหมายสามารถรับทราบ/เข้าถึงสวัสดิการหรือสิทธิประโยชน์ตามกฎหมายต่างๆ ซึ่งจัดขึ้นเพื่อก่อให้เกิดความมั่นคงในการดำรงชีวิต อาทิ สิทธิในการประกันตนของแรงงานนอกระบบตามกฎหมายประกันสังคม มาตรา ๔๐ สิทธิตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานพ.ศ. ๒๕๔๑ สิทธิตามพระราชบัญญัติการออมแห่งชาติ พ.ศ. 2554 : การเป็นสมาชิกกองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) หรือกองทุนอื่นๆ ที่มีวัตถุประสงค์ใกล้เคียงกัน สิทธิในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนทรัพยากรเพื่อการประกอบอาชีพ เช่น บริการสินเชื่อของธนาคารต่างๆ กองทุนที่ให้การสนับสนุนการจัดกิจกรรมของกลุ่มอาชีพ เช่น กองทุนพัฒนาชุมชนกรุงเทพมหานคร กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง ฯลฯ การเข้ารับบริการของสถานธนานุบาล (โรงรับจำนำ) ของกรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นแหล่งเงินทุนดอกเบี้ยต่ำในระดับชุมชน การส่งเสริมเรื่องการบริหารจัดการรายได้ สร้างความรู้ความเข้าใจด้านการเงิน ส่งเสริมวินัยการออมเงิน และการบริหารหนี้สิน เพื่อให้แรงงานนอกระบบและประชาชนทั่วไปสามารถบริหารจัดการด้านการเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพ
|
มีฐานข้อมูลแรงงานนอกระบบ |
0.00 |
0.00 |
สํานักพัฒนาสังคม |
2017-10-01 00:00:00 |
2018-09-30 00:00:00 |
แล้วเสร็จ |
100.00 |
8 |
3.0.2. |
6.2. |
2562 |
ประกวดนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ |
สำนักการศึกษาเป็นหน่วยงานหลักที่จะต้องส่งเสริมสนับสนุนให้สถานศึกษาของกรุงเทพมหานครได้มีการจัดการเรียนรู้ที่สอดรับตามแผนและบรรลุตามเป้าประสงค์ ดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการประกวดนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ เพื่อเป็นการกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาเพื่อยกระดับการจัดการเรียนรู้ของกรุงเทพมหานคร และสร้างขวัญกำลังใจแก่ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากรุงเทพมหานคร ตลอดจนเป็นเวทีแห่งการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และเผยแพร่นวัตกรรมของสถานศึกษาสังกัดกรุงเทพมหานคร เพื่อเป็นต้นแบบให้แก่สถานศึกษาอื่น อันจะนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพการศึกษาของกรุงเทพมหานครที่ยั่งยืนต่อไป |
1.เพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากรุงเทพมหานครได้ใช้ความรู้ความสามารถในการออกแบบและการสร้างนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ที่มีประสิทธิภาพ
2. เพื่อเป็นแรงกระตุ้นและเสริมสร้างขวัญกำลังใจให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากรุงเทพมหานครสร้างนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้
3. เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนได้พัฒนาทักษะการเรียนรู้ การใช้นวัตกรรม หรือสื่อ หรือเทคโนโลยีสารสนเทศในการจัดทำโครงงาน เกิดการเรียนรู้จากการฝึกปฏิบัติ
|
ด้านปริมาณ
1. ได้นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ในระดับปฐมวัย ระดับประถมศึกษา และระดับมัธยมศึกษา
2. ได้โครงงานจากการใช้นวัตกรรม หรือสื่อ หรือเทคโนโลยีสารสนเทศของนักเรียน ในระดับปฐมวัย ระดับประถมศึกษา และระดับมัธยมศึกษา
ด้านคุณภาพ
1. ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากรุงเทพมหานคร มีการออกแบบและสร้างการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 อย่างมีประสิทธิภาพ
2. นักเรียนโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานครสร้างโครงงานโดยนำนวัตกรรม หรือสื่อหรือเทคโนโลยีสารสนเทศ มาประยุกต์ใช้ได้อย่างเป็นรูปธรรมและสร้างสรรค์
|
318,500.00 |
189,150.00 |
สำนักการศึกษา |
2018-10-01 00:00:00 |
2019-09-30 00:00:00 |
แล้วเสร็จ |
100.00 |
9 |
3.0.2. |
4.2. |
2562 |
พัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อยกระดับสมรรถนะการบริหารทรัพยากรบุคคลข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากรุงเทพมหานคร |
เพื่อยกระดับสมรรถนะการบริหารทรัพยากรบุคคลของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากรุงเทพมหานคร โดยการวิเคราะห์ข้อมูลรายบุคคลทุกมิติ รวมทั้งการบริหารทรัพยากรบุคคลทุกระบบผ่านระบบสารสนเทศ เพื่อให้ข้อมูลมีความถูกต้อง เป็นปัจจุบัน
|
1. เพื่อปรับปรุง เพิ่มเติม ข้อมูลปฐมภูมิข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากรุงเทพมหานครให้สามารถทำงานผ่านระบบสารสนเทศได้อย่างครบวงจร ทำให้กรุงเทพมหานครมีศูนย์ข้อมูลกลางของข้าราชการครูฯ ที่มีความถูกต้อง เป็นปัจจุบัน
2. เพื่อพัฒนาระบบสนับสนุนการบริหารทรัพยากรบุคคลทุกระบบ ให้เป็นกลไกขับเคลื่อน ผลักดันให้ข้อมูลปฐมภูมิของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากรุงเทพมหานคร และเอกสารทะเบียนประวัติมีความถูกต้อง แม่นยำ และเป็นปัจจุบันตลอดเวลาโดยเร็ว และเป็นช่องทางหนึ่งในการที่ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากรุงเทพมหานครจะสามารถเข้าถึงข้อมูลสำคัญของตนเองได้ด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ
3. เพื่อให้สามารถบูรณาการเชื่อมโยงระบบสารสนเทศด้านการบริหารจัดการ และการวิเคราะห์ข้อมูลรายบุคคลในการยกระดับสมรรถนะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากรุงเทพมหานคร ตลอดจนวางแผนการจัดการศึกษาของกรุงเทพมหานครให้เป็นไปในทิศทางที่ถูกต้อง เหมาะสม อีกทั้งสามารถรองรับการปรับปรุงโครงสร้างองค์กรด้านการศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4. เพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพด้านระบบรักษาความปลอดภัยของข้อมูลแบบองค์รวมด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยข้อมูลข่าวสารของทางราชการ และกฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
|
กรุงเทพมหานคร มีระบบฐานข้อมูลประวัติการรับราชการของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากรุงเทพมหานคร ที่มีการบริหารทรัพยากรบุคคลภายใต้กฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาทุกสังกัด คือ สังกัดสำนักการศึกษา จำนวน 61 อัตรา สังกัดสำนักงานเขต 15,846 อัตรา และสังกัดสำนักพัฒนาสังคม 135 อัตรา รวม 16,042 อัตรา ที่มีความถูกต้อง เป็นปัจจุบัน สามารถอ้างอิงได้ตามเอกสารทะเบียนประวัติ (ก.พ.7)ทั้งหมด ตลอดจนทะเบียนประวัติ (ก.พ.7)ของลูกจ้างกรุงเทพมหานครที่ปฏิบัติงานในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 1,172 คน พร้อมทั้งระบบสนับสนุนการบริหารทรัพยากรบุคคล จำนวน 20 ระบบ อันจะทำให้สามารถขับเคลื่อนข้อมูลให้เป็นปัจจุบันได้ตลอดเวลา รวมถึงการบริหารจัดการแฟ้มทะเบียนประวัติและ ก.พ.7 ของข้าราชการครูฯ ที่เกษียณอายุราชการหรือลาออกจากราชการตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน จำนวนไม่น้อยกว่า 8,000 คน ที่สามารถใช้ข้อมูลจากระบบอิเล็กทรอนิกส์แทนการเก็บรักษาต้นฉบับไว้ |
25,400,000.00 |
0.00 |
สำนักการศึกษา |
2018-10-01 00:00:00 |
2019-09-30 00:00:00 |
แล้วเสร็จ |
100.00 |
10 |
3.0.3. |
4.2. |
2562 |
โครงการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้กรุงเทพมหานคร |
สำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว โดยส่วนห้องสมุดและการเรียนรู้ สำนักงานนันทนาการและส่งเสริมการเรียนรู้ มีหน้าที่ส่งเสริมการเรียนรู้ พัฒนาห้องสมุดและนวัตกรรมการเรียนรู้เพื่อสอดคล้องกับระบบบริการห้องสมุดและการเรียนรู้แนวใหม่ ตามนโยบายการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Life long learning) แต่ห้องสมุดทั้งหมดไม่มีระบบการบริการสืบค้นออนไลน์ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ไม่สามารถนำเสนอนวตกรรมใหม่ ๆ ที่ตอบสนองความต้องการตามวิถีชีวิตดิจิทัลในปัจจุบัน นอกจากนี้ ห้องสมุดมากกว่า 20 แห่ง ไม่มีระบบโปรแกรมห้องสมุดอัตโนมัติ บางแห่งใช้ซอฟแวร์ห้องสมุดแพลตฟอร์มวินโดว์ให้บริการภายในห้องสมุดเท่านั้น ไม่ได้ใช้ทรัพยากรสารสนเทศร่วมกัน การจัดทำเครือข่ายให้บริการทรัพยากรสารสนเทศแบบรวมศูนย์พร้อมบริการสืบค้นออนไลน์เพื่อใช้ข้อมูลทรัพยากรร่วมกันระหว่างห้องสมุด ซึ่งเป็นรูปแบบของความร่วมมือในการจัดทำข้อมูลบรรณานุกรมให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน ช่วยลดภาระ ลดปัญหาความซ้ำซ้อน ความผิดพลาดในการลงรายการหนังสือของห้องสมุดแต่ละแห่ง ผู้ใช้บริการสามารถสืบค้นข้อมูลสิ่งพิมพ์ผ่านระบบออนไลน์ เชื่อมโยงข้อมูลหนังสือและสามารถเชื่อมโยงกับเครือข่ายสังคมออนไลน์เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกัน ห้องสมุดทุกแห่งสามารถให้บริการสารสนเทศเชิงรุกที่ตอบสนองความต้องการรับรู้ข่าวสารของประชาชนในสังคมดิจิทัลสะดวก รวดเร็ว สามารถสืบค้น เข้าถึงข้อมูลห้องสมุดด้วยการใช้อุปกรณ์สื่อสารทั้ง สมาร์ทโฟน แท็บแลต คอมพิวเตอร์ การบริการเหล่านี้จะเป็นการสร้างโอกาสให้ผู้ใช้บริการเข้าถึงสารสนเทศของห้องสมุด อย่างเท่าเทียมโดยไม่มีข้อจำกัดเรื่องเวลาและสถานที่
|
1. เพื่อให้เครือข่ายห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้กรุงเทพมหานครที่เข้าร่วมโครงการ สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสารและทรัพยากร ตลอดจนการให้บริการยืมคืนทรัพยากรร่วมกันได้
2. สมาชิกห้องสมุด ประชาชนทั่วไปและบุคคลที่สนใจ สามารถสืบค้นข้อมูลทรัพยากรสารสนเทศผ่านทางเครือข่ายอินเตอร์เน็ต และสามารถเข้าถึงข้อมูลของห้องสมุดทุกแห่งได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3. วางแนวทางการพัฒนาเพื่อรองรับให้ห้องสมุดทุกแห่งของกรุงเทพมหานครสามารถเชื่อมโยงข้อมูลถึงกันได้แบบออนไลน์
4. ยกระดับการดำเนินงานภายในให้คล่องตัว รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
5. เพื่อพัฒนาระบบการบริการของห้องสมุดกรุงเทพมหานครให้มีความทันสมัยสอดคล้องกับความต้องการและการศึกษาค้นคว้าผ่านระบบจัดการสื่อความรู้ออนไลน์ ผู้ใช้บริการสามารถเข้าถึงแหล่งเรียนรู้ได้ทุกที่ทุกเวลา
|
1. หอสมุดเมืองกรุงเทพมหานคร และห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้กรุงเทพมหานคร รวมทั้งสิ้น 36 แห่ง
2. ผู้ใช้บริการห้องสมุด จำนวนกว่า 2 ล้านคนต่อปี
3. ทรัพยากรสารสนเทศกว่า 9 แสนเล่ม |
14,544,000.00 |
0.00 |
สํานักวัฒนธรรม กีฬาและการท่องเที่ยว |
2018-10-01 00:00:00 |
2019-09-30 00:00:00 |
กำลังดำเนินการ |
80.00 |
11 |
3.0.1. |
4.2. |
2562 |
โครงการ การเพิ่มฐานข้อมูลรหัสชุมชนเข้าในระบบทะเบียนบ้านเขตปทุมวัน |
กำหนดนโยบายของรัฐในการให้ความช่วยเหลือและพัฒนาชุมชน มีความสัมพันธ์โดยตรงกับจำนวนบ้านและบุคคลผู้อาศัยในชุมชน ซึ่งข้อมูลจำนวนบ้านในชุมชนเปลี่ยนแปลงทุกปี เนื่องจากอาจถูกจำหน่าย รื้อถอน หรือปลูกสร้างบ้านเพิ่มตลอดเวลา
สำนักงานเขตปทุมวัน จึงได้จัดทำโครงการเพิ่มระบบฐานข้อมูลรหัสชุมชนเข้าในระบบทะเบียนบ้านเขตปทุมวัน เพื่อปรับปรุงฐานข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน และทำให้การสืบค้น คัดแยกข้อมูลบ้านและประชาชนในชุมชนเป็นไปอย่างรวดเร็ว
|
1.เพื่อเพิ่มศักยภาพของระบบฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร
2.เพื่อปรับปรุงระบบทะเบียนบ้านให้เป็นปัจจุบัน และเป็นการกำหนดขอบเขตของชุมชนที่แน่นอน
3.เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการข้อมูลชุมชนแก่หน่วยงานและบุคคลที่เกี่ยวข้อง
4.สามารถใช้ระบบฐานข้อมูลรหัสชุมชน ให้เป็นประโยชน์ต่อภารกิจของสำนักงานเขตและหน่วยงานอื่น
|
1.ปรับปรุงข้อมูลรหัสชุมชน จำนวน 17 ชุมชน ในฐานข้อมูลทะเบียนราษฎรให้เป็นปัจจุบัน
2.จัดระบบทะเบียนบ้านลงในรหัสชุมชน จำนวน 2,822 หลังคาเรือน |
0.00 |
0.00 |
สำนักงานเขตปทุมวัน |
2018-01-01 00:00:00 |
2019-09-30 00:00:00 |
แล้วเสร็จ |
100.00 |
12 |
3.0.2. |
6.2. |
2563 |
โครงการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้เพื่อผลิตสื่อเทคโนโลยีเสมือนจริง |
จากผลการทดสอบความสามารถพื้นฐานของผู้เรียนระดับชาติ (NT) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2560 พบว่า คะแนนเฉลี่ยด้านการคิดคำนวณของนักเรียนโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร เท่ากับ 34.13 ซึ่งต่ำกว่าคะแนนเฉลี่ยระดับประเทศ จากผลการทดสอบดังกล่าวแสดงให้เห็นว่านักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ของโรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร มีปัญหาเรื่องทักษะด้านการคิดคำนวณ ซึ่งจะส่งผลต่อการเรียนรู้ในระดับที่สูงขึ้นของนักเรียน
สำนักการศึกษา ตระหนักถึงความสำคัญของการนำเทคโนโลยีมาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนรู้ของนักเรียน เห็นว่าเทคโนโลยีเสมือนจริง (AR) สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ของครูในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร เพื่อสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ของครูและนักเรียน และส่งเสริมให้มีการนำเทคโนโลยีมาใช้พัฒนาการจัดการเรียนรู้ในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานครให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
|
1. เพื่อวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
2. เพื่อผลิตสื่อเทคโนโลยีเสมือนจริงกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
|
1 ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากรุงเทพมหานครที่ปฏิบัติการสอนวิชาคณิตศาสตร์ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง
2 นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2563 ที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง
|
3,978,500.00 |
0.00 |
สำนักการศึกษา |
2019-10-01 00:00:00 |
2020-09-30 00:00:00 |
กำลังดำเนินการ |
90.00 |
13 |
3.0.2. |
4.2. |
2563 |
โครงการพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์เพื่อการเรียนรู้ต่อเนื่อง |
สืบเนื่องจากกรุงเทพมหานครได้ตระหนักถึงความสำคัญในการพัฒนาการศึกษา โดยการนำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเข้ามาช่วยพัฒนาการเรียนการสอนให้เกิดประสิทธิภาพ เพื่อให้สอดคล้องตามแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2579 ยุทธศาสตร์ที่ 4 การสร้างโอกาสความเสมอภาคและความเท่าเทียมทางการศึกษา เป้าหมาย การเพิ่มโอกาสทางการศึกษาผ่านเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการศึกษาสำหรับคนทุกช่วงวัย
ดังนั้น เพื่อให้การพัฒนาการศึกษาของกรุงเทพมหานครเป็นไปอย่างต่อเนื่อง มีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับเทคโนโลยีสมัยใหม่ รองรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากรุงเทพมหานคร 14,375 คน และนักเรียนในสังกัดจำนวน 286,719 คน ทั่วพื้นที่ 50 สำนักงานเขต สำนักการศึกษาจึงจัดทำโครงการเช่าระบบคอมพิวเตอร์เพื่อการเรียนรู้ต่อเนื่อง ในปีงบประมาณ พ.ศ.2563 โดยกำหนดวัตถุประสงค์การใช้และการบริหารจัดการห้องคอมพิวเตอร์อย่างชัดเจน สามารถนำไปปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมและมีประสิทธิภาพได้มากขึ้น
|
1. เพื่อพัฒนานักเรียนสังกัดกรุงเทพมหานครให้มีความรู้ความสามารถ มีทักษะการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในทุกระดับ
2. เพื่อพัฒนาสภาพแวดล้อมห้องคอมพิวเตอร์ให้เอื้อต่อการเรียนรู้ และเพื่อเปิดโอกาสให้ครูผู้สอนและนักเรียนเข้าถึงเทคโนโลยีดิจิทัลที่ทันสมัย
3. เพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาของโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร รองรับการจัดกระบวนการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
|
เป้าหมายรวม
โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร 437 โรงเรียน มีห้องคอมพิวเตอร์สำหรับจัดการเรียนรู้ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลที่มีประสิทธิภาพครบทุกโรงเรียน
ด้านปริมาณ
1. พัฒนาห้องคอมพิวเตอร์ของโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 437 โรงเรียน ห้องคอมพิวเตอร์ จำนวน 576 ห้อง เครื่องคอมพิวเตอร์ จำนวน 21,916 เครื่อง
2. พัฒนาระบบคอมพิวเตอร์สำนักการศึกษา จำนวน 1 แห่ง ดังนี้
1) พัฒนาศูนย์ฝึกอบรมคอมพิวเตอร์ เครื่องคอมพิวเตอร์ จำนวน 51 เครื่อง
2) พัฒนาศูนย์ควบคุมระบบคอมพิวเตอร์และเครือข่าย จำนวน 1 แห่ง
ด้านคุณภาพ
1. นักเรียนในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานครมีองค์ความรู้และความสามารถใช้กระบวนการเทคโนโลยีสารสนเทศในการสืบค้นข้อมูล การเรียนรู้ การสื่อสาร การแก้ปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพ
2. ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากรุงเทพมหานครมีองค์ความรู้และความสามารถใช้คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือในการสอนและสร้างสื่อการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
|
63,298,900.00 |
0.00 |
สำนักการศึกษา |
2019-10-01 00:00:00 |
2020-09-29 00:00:00 |
แล้วเสร็จ |
100.00 |
14 |
3.0.2. |
4.2. |
2563 |
4.1 กิจกรรมการพัฒนาฐานข้อมูลของสำนักการศึกษา |
ตามเกณฑ์คู่มือการประเมินผลการปฏิบัติราชการตามคำรับรองการปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๓ (มิติที่ ๔ ตัวชี้วัดที่ ๔.๑)
|
ตามเกณฑ์คู่มือการประเมินผลการปฏิบัติราชการตามคำรับรองการปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๓ (มิติที่ ๔ ตัวชี้วัดที่ ๔.๑)
|
ตามเกณฑ์คู่มือการประเมินผลการปฏิบัติราชการตามคำรับรองการปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๓ (มิติที่ ๔ ตัวชี้วัดที่ ๔.๑) |
0.00 |
0.00 |
สำนักการศึกษา |
2019-10-01 00:00:00 |
2020-09-29 00:00:00 |
แล้วเสร็จ |
100.00 |
15 |
3.0.2. |
4.2. |
2563 |
โครงการพัฒนาระบบสารสนเทศและเทคโนโลยีการจัดการศึกษา |
สำนักการศึกษาเป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่สนับสนุน ส่งเสริมการจัดการศึกษาของกรุงเทพมหานคร มีส่วนราชการภายใน 8 ส่วนราชการ ซึ่งแต่ละส่วนราชการมีข้อมูลต่างๆ มากมาย แต่ยังขาดระบบการเชื่อมโยง และแลกเปลี่ยนข้อมูลในระดับฐานข้อมูลระหว่างส่วนราชการและสถานศึกษา ทำให้เกิดปัญหาด้านความถูกต้อง ความซ้ำซ้อนของข้อมูล และข้อมูลไม่เป็นปัจจุบัน การนำระบบบริหารข้อมูลสารสนเทศ ซึ่งเป็นระบบจัดเก็บข้อมูลในระบบฐานข้อมูลอย่างเป็นระบบ จะทำให้การเชื่อมโยงข้อมูลภายในส่วนราชการของสำนักการศึกษาและสถานศึกษาเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อใช้ประกอบการวิเคราะห์และการตัดสินใจของผู้บริหารได้อย่างมีประสิทธิภาพ
|
1. เพื่อจัดทำระบบฐานข้อมูลสารสนเทศด้านการศึกษา สำหรับเป็นศูนย์กลางในการรวบรวมข้อมูลของโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร เพื่อใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึก และให้บริการข้อมูลในรูปแบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS)
2. เพื่อให้สามารถบูรณาการเชื่อมโยงแลกเปลี่ยนข้อมูลสารสนเทศด้านการศึกษาระหว่างหน่วยงานภายในสำนักการศึกษา โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร เพื่อยกระดับการใช้งานข้อมูลสารสนเทศด้านการศึกษาทุกมิติให้มีประสิทธิภาพ รองรับนโยบายของรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์
3. เพื่อพัฒนาเชื่อมโยงระบบฐานข้อมูลสารสนเทศของสำนักการศึกษากับฐานข้อมูลกลางการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้
|
1. ด้านปริมาณ
สำนักการศึกษา และโรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 437 โรงเรียน มีระบบฐานข้อมูลสารสนเทศที่เป็นปัจจุบัน
2. ด้านคุณภาพ
1. สำนักการศึกษาและโรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานครสามารถใช้ระบบฐานข้อมูลสารสนเทศที่มีความถูกต้อง ความรวดเร็ว และเป็นปัจจุบัน
2. โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานครสามารถใช้ข้อมูลสารสนเทศในการจัดการด้านการศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
|
18,226,400.00 |
0.00 |
สำนักการศึกษา |
2019-10-01 00:00:00 |
2020-09-30 00:00:00 |
แล้วเสร็จ |
100.00 |
16 |
3.0.2. |
6.2. |
2563 |
โครงการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษครู เพื่อยกระดับคุณภาพนักเรียนด้วยสื่อนวัตกรรมใหม่ สำหรับครูและบุคลากรทางการศึกษาสังกัดกรุงเทพมหานคร
|
ปัจจุบันภาษาอังกฤษถือเป็นภาษากลางของโลกที่คนต่างภาษาต่างวัฒนธรรมใช้ติดต่อสื่อสารระหว่างกัน ความสำคัญนี้จึงทำให้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สองรองจากภาษาประจำชาติ และภาษาอังกฤษมีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับคนไทยทุกคนทั้งเพื่อการติดต่อสื่อสารโดยตรงกับชาวต่างชาติและเพื่อใช้แสวงหาสืบค้นข้อมูลความรู้จากแหล่งต่าง ๆ จำนวนมากที่เป็นภาษาอังกฤษ ไม่ว่าอยู่ในรูปแบบของหนังสือ บทความ วารสาร หรือข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต การมีทักษะภาษาอังกฤษจะทำให้ได้รับโอกาสที่ดีในหลายๆ ด้าน เพราะนอกจากจะสามารถติดต่อสื่อสารได้แล้ว ยังสามารถเพิ่มโอกาสการเรียนรู้ เพิ่มโอกาสในการพัฒนาตนเอง สามารถสร้างวิสัยทัศน์ พัฒนาความคิด ทัศนคติ และสามารถเป็นผู้ตามทันโลกอีกด้วย ผู้บริหารกรุงเทพมหานครได้เล็งความสำคัญและประโยชน์ระยะยาวของการมีทักษะภาษาอังกฤษของบุคลากรในองค์กรจึงมีนโยบายส่งเสริมการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษให้แก่ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากรุงเทพมหานคร เพื่อการพัฒนาศักยภาพของตนเองที่ส่งผลต่อการยกระดับคุณภาพการศึกษาของนักเรียนกรุงเทพมหานครในอนาคต
สำนักการศึกษาจึงได้จัดทำโครงการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษครู เพื่อยกระดับคุณภาพนักเรียนด้วยสื่อนวัตกรรมใหม่ สำหรับครูและบุคลากรทางการศึกษาสังกัดกรุงเทพมหานคร เพื่อส่งเสริมและพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษให้แก่ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากรุงเทพมหานคร โดยให้ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอเพื่อผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ทางภาษาที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล และให้ครูสามารถปฏิบัติงานการสอนให้แก่นักเรียนได้อย่างเต็มที่ ลดการออกนอกห้องเรียนให้สอดคล้องกับนโยบาย "คืนครูสู่ห้องเรียน" ของกรุงเทพมหานคร
|
1 เพื่อพัฒนาและยกระดับทักษะภาษาอังกฤษของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากรุงเทพมหานคร
2 เพื่อส่งเสริมศักยภาพการจัดการเรียนรู้ของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากรุงเทพมหานครให้กว้างขวางขึ้นจากแหล่งเรียนรู้ที่เป็นภาษาอังกฤษ ส่งผลสัมฤทธิ์ต่อการพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนในทุกวิชา
|
1 ด้านปริมาณ
ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากรุงเทพมหานคร จำนวน ๓,๐๐๐ คน เข้ารับการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษครู เพื่อยกระดับคุณภาพนักเรียนด้วยสื่อนวัตกรรมใหม่
2 ด้านคุณภาพ
ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากรุงเทพมหานครสามารถนำความรู้และทักษะภาษาอังกฤษไปใช้การจัดการเรียนการสอนในวิชาที่รับผิดชอบได้
|
29,287,600.00 |
0.00 |
สำนักการศึกษา |
2019-10-01 00:00:00 |
2020-09-29 00:00:00 |
ยกเลิก |
35.00 |
17 |
3.0.1. |
4.2. |
2563 |
โครงการจัดทำฐานข้อมูลแรงงานนอกระบบ |
แรงงานนอกระบบกลุ่มเป้าหมาย หมายถึง กลุ่มแรงงานนอกระบบที่สำนักพัฒนาสังได้วิเคราะห์หรือกำหนดไว้อย่างชัดเจนว่าเป็นกลุ่มที่มีความสำคัญในลำดับต้นในการให้ความช่วยเหลือในช่วงปี 2561 และหน่วยงานของกรุงเทพมหานครสามารถให้บริการหรือตอบสนองความต้องการของกลุ่มเหล่านี้ได้ดีที่สุด |
เพื่อให้กลุ่มแรงงานนอกระบบการรับทราบสิทธิทางสวัสดิการและแหล่งเงินทุน หมายถึง การดำเนินโครงการ/กิจกรรมที่ผลักดันให้แรงงานนอกระบบกลุ่มเป้าหมายสามารถรับทราบ/เข้าถึงสวัสดิการหรือสิทธิประโยชน์ตามกฎหมายต่างๆ ซึ่งจัดขึ้นเพื่อก่อให้เกิดความมั่นคงในการดำรงชีวิต อาทิ สิทธิในการประกันตนของแรงงานนอกระบบตามกฎหมายประกันสังคม มาตรา ๔๐ สิทธิตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานพ.ศ. ๒๕๔๑ สิทธิตามพระราชบัญญัติการออมแห่งชาติ พ.ศ. 2554 : การเป็นสมาชิกกองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) หรือกองทุนอื่นๆ ที่มีวัตถุประสงค์ใกล้เคียงกัน สิทธิในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนทรัพยากรเพื่อการประกอบอาชีพ เช่น บริการสินเชื่อของธนาคารต่างๆ กองทุนที่ให้การสนับสนุนการจัดกิจกรรมของกลุ่มอาชีพ เช่น กองทุนพัฒนาชุมชนกรุงเทพมหานคร กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง ฯลฯ การเข้ารับบริการของสถานธนานุบาล (โรงรับจำนำ) ของกรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นแหล่งเงินทุนดอกเบี้ยต่ำในระดับชุมชน การส่งเสริมเรื่องการบริหารจัดการรายได้ สร้างความรู้ความเข้าใจด้านการเงิน ส่งเสริมวินัยการออมเงิน และการบริหารหนี้สิน เพื่อให้แรงงานนอกระบบและประชาชนทั่วไปสามารถบริหารจัดการด้านการเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพ |
มีฐานข้อมูลแรงงานนอกระบบ |
0.00 |
0.00 |
สํานักพัฒนาสังคม |
2019-10-01 00:00:00 |
2020-09-30 00:00:00 |
แล้วเสร็จ |
100.00 |
18 |
3.0.1. |
4.2. |
2563 |
ค่าใช้จ่ายในการส่งเสริมกิจการสภาเด็กและเยาวชนกรุงเทพมหานคร |
ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ พ.ศ. 2550 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2 ) พ.ศ. 2560 ได้กำหนดแนวทางในการส่งเสริมพัฒนาเด็กและเยาวชนให้เหมาะสมและสอดคล้องกับสภาพสังคมในปัจจุบัน โดยมีเป้าหมายส่งเสริมเด็กและเยาวชนในทุกระดับให้มีส่วนร่วมในการดำเนินงานเพื่อการพัฒนาเด็กและเยาวชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ สนับสนุนให้เข้ามามีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นในเรื่องต่างๆ ที่มีผลกระทบต่อเด็กและเยาวชน ตลอดจนสนับสนุนให้เด็กและเยาวชนได้มีการแสดงออกที่สอดคล้องกับระดับความรู้ความสามารถซึ่งพัฒนาไปตามวัยของเด็กและเยาวชน
สำนักงานเขตบางกอกใหญ่ โดยฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม จึงได้จัดทำโครงการค่าใช้จ่ายในการส่งเสริมกิจการสภาเด็กและเยาวชนกรุงเทพมหานคร เพื่อพัฒนาศักยภาพของเด็กและเยาวชน โดยใช้กระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน คิดค้นและดำเนินกิจกรรมที่เกิดจากความต้องการของกลุ่ม ซึ่งจะช่วยให้เด็กและเยาวชนได้มีโอกาสแสดงออกทางความคิด และมีส่วนร่วมในการพัฒนาตนเอง ชุมชน และสังคมอย่างเป็นรูปธรรมที่ชัดเจน
|
2.1 เพื่อสนับสนุนและขับเคลื่อนการดำเนินงานของสภาเด็กและเยาวชนเขตบางกอกใหญ่
2.2 เพื่อส่งเสริมสภาเด็กและเยาวชนเขตบางกอกใหญ่ให้เป็นศูนย์กลางการประสานงานและการมีส่วนร่วมของเด็กและเยาวชนในพื้นที่เพื่อการแสดงออกในเชิงสร้างสรรค์และเหมาะสม
2.3 เพื่อส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนมีความเสียสละ ยึดมั่นในคุณธรรม ดำเนินชีวิตตามวิถีประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข มีจิตสาธารณะร่วมพัฒนา ชุมชน สังคมและประเทศ
|
3.1 จ้างอาสาสมัครช่วยปฏิบัติงานสภาเด็กและเยาวชนเขตบางกอกใหญ่ จำนวน 1 คน
3.2 กิจกรรมการประชุมสมาชิกสภาเด็กและเยาวชนเขตและผู้เกี่ยวข้องประจำเดือน จำนวน 20 คน จัดประชุม จำนวน 6 ครั้ง/ปี
3.3 กิจกรรม “เด็กไทยยุคใหม่ ใส่ใจสิ่งแวดล้อม” ณ ศูนย์ศึกษาธรรมชาติกองทัพบก (บางปู) เฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา จังหวัดสมุทรปราการ กลุ่มเป้าหมายประกอบด้วยสมาชิกสภาเด็กและเยาวชนเขตฯ นักเรียน นักศึกษาจากสถานศึกษาในพื้นที่เขต พร้อมผู้เกี่ยวข้องและเจ้าหน้าที่ดำเนินการรวมทั้งสิ้น 50 คน
3.4 กิจกรรม “สานสัมพันธ์สภาเด็กและเยาวชนเขตบางกอกใหญ่”กลุ่มเป้าหมายประกอบด้วยสมาชิกสภาเด็กและเยาวชนเขตฯ นักเรียน นักศึกษาจากสถานศึกษาในพื้นที่เขต พร้อมผู้เกี่ยวข้องและเจ้าหน้าที่ดำเนินการรวมทั้งสิ้น 60 คน ณ สำนักงานเขตบางกอกใหญ่
|
149,800.00 |
1,500.00 |
สำนักงานเขตบางกอกใหญ่ |
2019-10-01 00:00:00 |
2020-09-29 00:00:00 |
แล้วเสร็จ |
100.00 |
19 |
3.0.3. |
.. |
2564 |
7.1 โครงการพัฒนาเยาวชนกรุงเทพมหานครร่วมกับเมืองพี่เมืองน้อง |
กรุงเทพมหานครในฐานะเมืองหลวงของประเทศและเป็นศูนย์กลางของการเจริญเติบโต ในทุกด้าน รวมทั้งศูนย์กลางของประเทศไทยในการติดต่อสัมพันธ์กับต่างประเทศ โดยเฉพาะในระดับเมือง กรุงเทพมหานครได้สถาปนาความสัมพันธ์เป็นเมืองพี่เมืองน้อง และมีความสัมพันธ์ตามกรอบบันทึกความร่วมมือกับเมืองใหญ่ต่าง ๆ รวมทั้งเมืองที่มีความสัมพันธ์และความร่วมมือใกล้ชิด ซึ่งที่ผ่านมากรุงเทพมหานครได้ดำเนินงานตามกรอบความสัมพันธ์ อันมีส่วนช่วยผลักดันให้เกิดการพัฒนาการบริหารจัดการของกรุงเทพมหานครในรูปแบบต่าง ๆ และมีส่วนช่วยส่งเสริมกิจกรรมในภาพรวมของประชาชนในแต่ละเมือง ส่งผลให้มีความสัมพันธ์ที่ดีและสร้างความเข้าใจระหว่างเมืองมากยิ่งขึ้น
โครงการพัฒนาเยาวชนกรุงเทพมหานครร่วมกับเมืองพี่เมืองน้อง เป็นอีกหนึ่งโครงการความร่วมมือที่มีความสำคัญในการเปิดโอกาสให้กับเยาวชนกรุงเทพมหานครได้มีประสบการณ์การเรียนรู้กับเยาวชนในต่างประเทศผ่านกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อศึกษาและสร้างความเข้าใจซึ่งกันและกันทั้งในเรื่องการศึกษา สังคม การเมืองการปกครอง เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม เทคโนโลยี และศิลปวัฒนธรรม โดยคาดว่าจะมีเมืองที่ให้ความร่วมมือจัดกิจกรรมเชิญเยาวชนกรุงเทพมหานครเดินทางเยือนในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 จำนวน 9 เมือง ได้แก่ กรุงปักกิ่ง นครเซี่ยงไฮ้ เมืองต้าเหลียน เมืองเฉิงตู กรุงโซล เมืองแตกู เมืองปูซาน จังหวัดฟูกูโอกะ และจังหวัดไอจิ และเมืองอื่นๆ ที่มีความสัมพันธ์แบบเมืองพี่เมืองน้อง นอกจากนี้มีเมืองที่เชิญเยาวชนกรุงเทพมหานครเข้าร่วมในด้านการแสดงดนตรีและศิลปวัฒนธรรม ได้แก่ นครเฉิงตู เมืองปูซาน และกรุงโซล และอาจเป็นไปได้ว่าจะมีเมืองที่ประสงค์เชิญและแสวงหาความร่วมมือด้านพัฒนาเยาวชนกับกรุงเทพมหานครเพิ่มขึ้นอีก เช่น กรุงมอสโก เป็นต้น |
กรุงเทพมหานครจะได้ประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรมจากความร่วมมือและความสัมพันธ์อันดีในระดับประชาชน โดยเฉพาะเยาวชนกรุงเทพมหานครร่วมกับเมืองพี่เมืองน้องและเมืองฉันมิตรที่ได้ลงนามกันไว้ ซึ่งเยาวชนกรุงเทพมหานครจะได้รับการเพิ่มพูนความรู้ ทักษะ และประสบการณ์ เพื่อนำมาพัฒนามหานครกรุงเทพได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นในอนาคต รวมทั้งเป็นการส่งเสริมพัฒนางานด้านการต่างประเทศของกรุงเทพมหานคร และเป็นการดำเนินโครงการและกิจกรรมที่สอดคล้องและเชื่อมโยงกับแผนปฏิบัติราชการกรุงเทพมหานครประจำปี พ.ศ. 2564 ให้บรรลุเป้าหมายอย่างมีประสิทธิผล |
สำนักงานการต่างประเทศ สำนักปลัดกรุงเทพมหานครดำเนินการนำคณะเยาวชนกรุงเทพมหานครและเจ้าหน้าที่กรุงเทพมหานครเดินทางเยือนเมืองพี่เมืองน้องที่มีการเชิญร่วมจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเยาวชนตามวัตถุประสงค์ของโครงการ เช่น กรุงปักกิ่ง นครเซี่ยงไฮ้ เมืองต้าเหลียน เมืองเฉิงตู กรุงโซล เมืองแตกู เมืองปูซาน จังหวัดฟูกูโอกะ จังหวัดไอจิ และเมืองอื่นๆ เป็นต้น |
1,607,500.00 |
5,804.00 |
** สำนักงานการต่างประเทศ สํานักปลัดกรุงเทพมหานคร |
2020-10-01 00:00:00 |
2021-09-30 00:00:00 |
แล้วเสร็จ |
100.00 |
20 |
3.0.3. |
.. |
2564 |
โครงการจัดหาอุปกรณ์ช่วยเหลือทางการเคลื่อนไหวแก่คนพิการ ผู้สูงอายุ และผู้ที่ประสบปัญหาทางการเคลื่อนไหว (สพธ.) |
จากการเข้าสู่สังคมสูงวัย ประกอบกับสถิติคนพิการ และผู้ที่ประสบปัญหาทางการเคลื่อนไหวที่ยังเข้าไม่ถึงบริการและฟื้นฟูสภาพมีจำนวนเพิ่มขึ้น จำเป็นต้องได้รับสวัสดิการสังคมตามสิทธิพื้นฐาน โดยมีการจัดหาอุปกรณ์ช่วยเหลือทางการเคลื่อนไหวให้กลุ่มเป้าหมายดังกล่าวสามารถดำรงชีวิตได้อย่างเป็นปกติและมีคุณภาพชีวิตดีขึ้น ซึ่งเป็นการแก้ไขปัญหาและป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาซ้ำซ้อนหรือรุนแรง จึงมีการจัดหาอุปกรณ์ช่วยเหลือทางการเคลื่อนไหวให้เหมาะสมกับสภาพร่างกาย สอดคล้องกับความต้องการและจำเป็นของกลุ่มเป้าหมายที่มีความแตกต่างกัน |
1. เพื่อจัดซื้ออุปกรณ์ช่วยเหลือทางการเคลื่อนไหวให้แก่คนพิการ ผู้สูงอายุ และผู้ที่ประสบปัญหาทางการเคลื่อนไหว
2. เพื่อให้การสงเคราะห์คนพิการ ผู้สูงอายุ และผู้ที่ประสบปัญหาทางการเคลื่อนไหวที่ประสบปัญหา และมีความต้องการจำเป็น
3. เพื่อประชุมชี้แจงผู้ดูแลคนพิการ ผู้สูงอายุในการพัฒนาศักยภาพการดูแลผู้สูงอายุ คนพิการ ผู้ได้รับอุปกรณ์ช่วยเหลือทางการเคลื่อนไหวในการใช้อุปกรณ์ได้อย่างถูกวิธี |
1. จัดซื้ออุปกรณ์ช่วยเหลือทางการเคลื่อนไหว จำนวน 4 รายการ สำหรับคนพิการ ผู้สูงอายุ และผู้ที่ประสบปัญหาทางการเคลื่อนไหว ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร จำนวน 660 คน
2. จัดประชุมชี้แจงผู้ดูแลคนพิการ ผู้สูงอายุ หรือผู้ได้รับอุปกรณ์ช่วยเหลือทางการเคลื่อนไหวในการฟื้นฟูสุขภาพในการใช้อุปกรณ์ช่วยเหลือทางการเคลื่อนไหว โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นผู้ดูแลคนพิการ ผู้สูงอายุ หรือผู้ได้รับอุปกรณ์ช่วยเหลือทางการเคลื่อนไหว นักพัฒนาสังคม สำนักงานเขต นักสังคมสงเคราะห์ ศูนย์บริการสาธารณสุข และเจ้าหน้าที่ดำเนินการจำนวน 300 คน |
1,826,100.00 |
0.00 |
สำนักอนามัย |
2020-10-01 00:00:00 |
2021-09-30 00:00:00 |
แล้วเสร็จ |
100.00 |
21 |
3.0.3. |
.. |
2564 |
โครงการจัดเสวนา มิติสุขภาพกับสถานการร์ครอบครัวในปัจจุบัน (สพธ.) |
สถานการณ์ด้านประชากรของประเทศไทย เข้าสู่การเป็น “สังคมสูงวัย (Aging Society) ทำให้ช่วงวัยทำงาน ต้องทำหน้าที่ในการดูแลกลุ่มประชากรวัยพึ่งพิง ทั้ง เด็ก เยาวชน และผู้สูงอายุที่ไม่สามารถดูแลตนเอง เมื่อวัยทำงานต้องแบกรับภาระการดูแลผู้สูงอายุในสัดส่วนที่เพิ่มมากขึ้น ย่อมส่งผลต่อคุณภาพที่ลดน้อยลงในการเลี้ยงดูเด็กและเยาวชน ทำให้ครอบครัวจำนวนหนึ่งมีความเปราะบางมากขึ้น เช่น ครอบครัวที่มีผู้สูงอายุเลี้ยงดูเด็กตามลำพัง ครอบครัวที่มีเฉพาะเด็กอยู่ตามลำพัง ครอบครัวที่ต้องดูแลสมาชิกที่เจ็บป่วยหรือพิการ สมาชิกในครอบครัวเป็นผู้ต้องขัง หรือครอบครัวพ่อแม่เลี้ยงเดี่ยว เป็นต้น ทำให้เกิดช่องว่างความเข้าใจในปัญหาเด็กและเยาวชน รวมถึงพ่อแม่ขาดทักษะและความรู้ในการเลี้ยงลูก มีส่วนผลักดันให้เด็กเข้าสู่ความเสี่ยงจากภัยทางสังคม ทั้งในเรื่องความรุนแรงในครอบครัว ยาเสพติด พฤติกรรมทางเพศที่ไม่เหมาะสม การถูกทอดทิ้ง ฯลฯ สมาชิกในครอบครัวขาดภูมิคุ้มกันต่อปัญหาสังคมอื่น ดังนั้น จึงจำเป็นต้องมีการบูรณาการงานระหว่างส่วนราชการในสังกัดสำนักอนามัยที่มีภารกิจที่เกี่ยวข้องกับการป้องกัน เฝ้าระวัง รักษา และบำบัดฟื้นฟู รวมถึงการรับฟังข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากผู้แทนองค์กรภาคเอกชนและภาคประชาชน ในการร่วมกันกำหนดรูปแบบการดำเนินงานให้สอดคล้องในทุกมิติด้านครอบครัวและเป็นไปในทิศทางเพื่อให้ผู้เข้าร่วมเสวนาฯ ได้รับทราบนโยบายการดำเนินงาน กรอบแนวทางการปฏิบัติงาน รวมถึงการให้ข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะ และความร่วมมือเพื่อพัฒนาคุณภาพระบบบริการสุขภาพครอบครัวของสำนักอนามัยให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
|
1. แลกเปลี่ยนองค์ความรู้และแนวทางการดำเนินงานที่ช่วยให้ครอบครัวที่มีคุณภาพในสถานการณ์ปัจจุบัน
2. เพื่อกำหนดมาตรการและแนวทางการปฏิบัติงานกับครอบครัวตามประเด็นปัญหาทางสังคมในมิติสุขภาพครอบครัวของสำนักอนามัย
|
ผู้เข้าร่วมงานเสวนาฯ ประกอบด้วย บุคลากรส่วนราชการสังกัดสำนักอนามัยที่จัดบริการมิติสุขภาพครอบครัวองค์กรภาคเอกชนที่ดำเนินงานด้านครอบครัวในกรุงเทพมหานคร องค์กรชุมชนหรือผู้แทนภาคประชาชนกลุ่มเขตพื้นที่ 6 กลุ่มเขตๆ ละ 5 คน และผู้ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ผู้บริหารสำนักอนามัย (ระดับบริหารต้น - อำนวยการสูง) และเจ้าหน้าที่ดำเนินการ จำนวนรวมทั้งสิ้น 120 คน |
194,000.00 |
0.00 |
สำนักอนามัย |
2020-10-01 00:00:00 |
2021-09-30 00:00:00 |
ยกเลิก |
33.00 |
22 |
3.0.3. |
.. |
2564 |
กิจกรรมช่วยเหลือผู้ถูกกระทำและ/หรือผู้ได้รับผลกระทบจากความรุนแรงในครอบครัวของศูนย์จัดการป้องกันและแก้ไขปัญหาความรุนแรงในครอบครัว (สพธ.) |
สำนักอนามัย ได้ดำเนินการพัฒนาระบบบริการเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาความรุนแรงในครอบครัวด้านสาธารณสุขให้มีประสิทธิภาพ เป็นรูปธรรม ตั้งแต่ปี 2559 ด้วยการจัดตั้งศูนย์จัดการป้องกันและแก้ไขปัญหาความรุนแรงในครอบครัวด้านสาธารณสุข (Primary Front Line) ของศูนย์บริการสาธารณสุขทั้ง 68 แห่ง โดยภารกิจของกลไกดำเนินงานดังกล่าว ได้แก่ การคัดกรอง การป้องกันปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดปัญหาความรุนแรง การให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ถูกกระทำหรือผู้ประสบปัญหาความรุนแรงในรูปแบบทีมสหวิชาชีพ โดยมีกลุ่มเป้าหมายในการให้ความช่วยเหลือ ได้แก่ เด็ก สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการ และผู้ประสบปัญหาความรุนแรงในครอบครัวให้ได้รับการบำบัดฟื้นฟูสภาพ รวมถึงการคุ้มครองพิทักษ์สิทธิทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ ตลอดจนการสร้างความตระหนักแก่ประชาชนในชุมชน เพื่อเป็นเครือข่ายเฝ้าระวังปัญหาความรุนแรงในครอบครัว นอกเหนือจากการดำเนินงานผ่านศูนย์จัดการป้องกันและแก้ไขปัญหาความรุนแรงในครอบครัวด้านสาธารณสุข (Primary Front Line) ของศูนย์บริการสาธารณสุขแล้ว ยังมีภาคีเครือข่ายการดำเนินงานในพื้นที่ของศูนย์บริการสาธารณสุขแต่ละแห่ง อาทิเช่น สำนักงานเขต โรงเรียน โรงพยาบาล สถานีตำรวจ องค์กรภาคเอกชน และภาคประชาชนในพื้นที่ ในการป้องกันและช่วยเหลือเด็ก สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการ และกลุ่มเปราะบางต่างๆ ไม่ให้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงด้วย |
1. เพื่อให้เด็ก สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการ และกลุ่มเปราะบางที่ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว ได้รับความช่วยเหลือและ/หรือส่งต่อไปยังเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง
2. เพื่อป้องกันผู้ที่ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัวไม่ให้ถูกกระทำซ้ำ |
ให้ความช่วยเหลือเด็ก สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการ และกลุ่มเปราะบาง ที่ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว ได้รับความช่วยเหลือและ/หรือส่งต่อไปยังเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง โดยนักสังคมสงเคราะห์และทีมสหวิชาชีพของศูนย์บริการสาธารณสุข 69 แห่ง |
0.00 |
0.00 |
สำนักอนามัย |
2020-10-01 00:00:00 |
2021-09-30 00:00:00 |
แล้วเสร็จ |
100.00 |
23 |
3.0.2. |
0.0.0 |
2564 |
โครงการพัฒนาสื่อการเรียนรู้ดิจิทัลเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในวิชาหลัก |
กองเทคโนโลยีการศึกษา ได้จัดทำโครงการพัฒนาสื่อการเรียนรู้ดิจิทัลเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในวิชาหลัก ได้แก่ ภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เพื่อเป็นการศึกษาและพัฒนาสื่อการเรียนรู้ที่มีคุณภาพ และส่งเสริมให้นักเรียนสามารถใช้เทคโนโลยีเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ อันจะส่งผลให้เกิดการพัฒนา การจัดการเรียนรู้ ยกระดับผลสัมฤทธิ์ในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร ได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป |
1. เพื่อผลิตสื่อการเรียนรู้ดิจิทัลมัลติมีเดีย สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่เป็นวิชาหลัก จำนวน 4 กลุ่มสาระการเรียนรู้ ได้แก่ ภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และภาษาอังกฤษ
2. เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนสามารถใช้สื่อเทคโนโลยีเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ ตามศักยภาพของตนเองได้
3. เพื่อสนับสนุนให้โรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานครมีสื่อการเรียนรู้ดิจิทัลที่มีคุณภาพและประสิทธิภาพ ใช้ประกอบการเรียนรู้ ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่เป็นวิชาหลัก สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 |
1. ด้านปริมาณ
นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีสื่อการเรียนรู้ดิจิทัลมัลติมีเดีย ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่เป็นวิชาหลัก จำนวน 4 กลุ่มสาระการเรียนรู้ ได้แก่ ภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และภาษาอังกฤษ จำนวน 10 เรื่อง
2. ด้านคุณภาพ
สื่อการเรียนรู้ดิจิทัลที่ผลิตขึ้นมีเนื้อหาตรงตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 และมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และสาระภูมิศาสตร์ ในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ได้มาตรฐาน มีความทันสมัย มีคุณภาพ และประสิทธิภาพ นักเรียนสามารถนำไปใช้พัฒนาการเรียนรู้ด้วยตนเองได้ |
3,500,000.00 |
3,500,000.00 |
สำนักการศึกษา |
2020-10-01 00:00:00 |
2021-09-30 00:00:00 |
แล้วเสร็จ |
100.00 |
24 |
3.0.2. |
0.0.0 |
2564 |
โครงการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์เชิงนวัตกรรมโดยหุ่นยนต์ |
สำนักการศึกษา ได้ดำเนินโครงการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์เชิงนวัตกรรมโดยหุ่นยนต์ เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร พัฒนาความคิดสร้างสรรค์เชิงนวัตกรรม การคิดเชิงคำนวณ การคิดวิเคราะห์ แก้ปัญหาอย่างเป็นขั้นตอนและเป็นระบบ ทำงานเป็นทีม พัฒนาสิ่งประดิษฐ์เทคโนโลยี ผ่านสื่ออุปกรณ์หุ่นยนต์เพื่อการเรียนรู้ ทั้งนี้ ได้ร่วมศึกษากับสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เพื่อการขับเคลื่อนนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ กำหนดแนวทางพิจารณาเลือกสื่อที่เหมาะสม และสอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมาย รวมทั้งการพัฒนาครูผู้สอนให้สามารถจัดการเรียนรู้ ที่ช่วยให้นักเรียนเห็นภาพและเข้าใจกระบวนการการคิดอย่างเป็นระบบได้อย่างมีคุณภาพ สามารถนำความรู้เลือกใช้เทคโนโลยีไปประยุกต์ใช้ในการสร้างนวัตกรรมในอนาคต ส่งผลให้เกิดการยกระดับพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของโรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร ให้มีประสิทธิภาพต่อไป |
1. เพื่อเสริมสร้างการเรียนรู้ให้นักเรียนฝึกปฏิบัติ พัฒนาความคิดสร้างสรรค์เชิงนวัตกรรม การคิดเชิงคำนวณ การคิดวิเคราะห์ แก้ปัญหาอย่างเป็นขั้นตอนและเป็นระบบ ทำงานเป็นทีม พัฒนาสิ่งประดิษฐ์เทคโนโลยี ผ่านสื่ออุปกรณ์หุ่นยนต์เพื่อการเรียนรู้
2. เพื่อส่งเสริมให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากรุงเทพมหานครมีความรู้ความสามารถในการจัดกระบวนการเรียนรู้ยุคใหม่ในศตวรรษที่ 21
|
1. ด้านปริมาณ
โรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร ระดับมัธยมศึกษา 109 โรงเรียน มีชุดสื่อการเรียนรู้พัฒนาความคิดสร้างสรรค์เชิงนวัตกรรมโดยหุ่นยนต์ รวมจำนวน 766 ชุด โดยจำแนกเป็น
โรงเรียนขนาดเล็ก จำนวน 9 โรงเรียนๆ ละ 4 ชุด
โรงเรียนขนาดกลาง จำนวน 35 โรงเรียนๆ ละ 6 ชุด
โรงเรียนขนาดใหญ่ จำนวน 65 โรงเรียนๆ ละ 8 ชุด
2. ด้านคุณภาพ
2.1 นักเรียนระดับมัธยมศึกษา โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานครมีการเรียนรู้ด้วยสื่อเทคโนโลยีหุ่นยนต์ สามารถพัฒนาทักษะการคิดสร้างสรรค์เชิงนวัตกรรม การคิดเชิงคำนวณ การคิดวิเคราะห์ แก้ปัญหาอย่างเป็นขั้นตอนและเป็นระบบ ทำงานเป็นทีม พัฒนาสิ่งประดิษฐ์เทคโนโลยี สร้างนวัตกรรม ได้อย่างมีคุณภาพ
2.2 ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากรุงเทพมหานคร มีความรู้ความสามารถในการจัดกระบวนการเรียนรู้ยุคใหม่ในศตวรรษที่ 21 ได้อย่างมีคุณภาพ
|
10,402,300.00 |
10,360,000.00 |
สำนักการศึกษา |
2020-10-01 00:00:00 |
2021-09-30 00:00:00 |
แล้วเสร็จ |
100.00 |
25 |
3.0.1. |
.. |
2564 |
โครงการให้คำปรึกษาแนะนำอาคารสำนักงานเขตและอาคารศูนย์บริการสาธารณสุขของกรุงเทพมหานครให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้สูงอายุและคนพิการ ตามกฎกระทรวงกำหนดสิ่งอำนวยความสะดวกในอาคารสำหรับผู้พิการหรือทุพพลภาพและคนชรา พ.ศ. 2548 (Universal Design) |
สำนักการโยธามีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบและตระหนักถึงความสำคัญของสภาวะการของประชากรต่อการให้บริการของสถานที่ที่ให้บริการของหน่วยงาน/สถานที่ราชการของกรุงเทพมหานคร เพื่อให้สามารถรองรับการให้บริการกับกลุ่มคนทุกเพศทุกวัย รวมถึงผู้สูงอายุและคนพิการที่มีแนวโน้มที่จะเข้ามาใช้บริการหน่วยงานของกรุงเทพมหานคร โดยจำเป็นที่จะต้องมีสิ่งอำนวยความสะดวกพื้นฐาน ให้สอดรับกับแนวโน้มของผู้สูงอายุและผู้พิการ ที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นดังกล่าวในอนาคต
|
๑. อาคารสถานที่ของหน่วยงานกรุงเทพมหานคร มีสาธารณูปโภคสำหรับผู้สูงอายุและ คนพิการ ที่มีมาตรฐานและเป็นไปตามหลักสากล
๒. ประชาชนได้รับความสะดวก
๓. ประชาชนเกิดความพึงพอใจในการรับบริการ
|
|
0.00 |
0.00 |
สํานักการโยธา |
2020-10-01 00:00:00 |
2021-09-30 00:00:00 |
แล้วเสร็จ |
100.00 |
26 |
3.0.3. |
.. |
2564 |
โครงการส่งเสริมการอ่านและการเรียนรู้เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ตามอัธยาศัย |
กรุงเทพมหานครมีนโยบายส่งเสริมการอ่านและการเรียนรู้ของเด็ก เยาวชนและประชาชนทั่วไป เพื่อให้เด็ก เยาวชน และประชาชน ได้มีโอกาสเรียนรู้ตลอดชีวิตและเรียนรู้วิทยาการด้านต่างๆ ที่ทันสมัย ขยายการบริการแหล่งเรียนรู้ในรูปแบบต่างๆ ได้แก่ ห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้ ห้องสมุดเคลื่อนที่ บ้านหนังสือ เพื่อสนับสนุนโครงการรณรงค์ให้กรุงเทพมหานครเป็นมหานครแห่งการอ่าน (Bangkok Read For Life) ด้วยเห็นว่าวัฒนธรรมการอ่านเป็นสิ่งสำคัญ จำเป็นจะต้องสร้างให้เกิดขึ้นกับประชาชนทุกภาคส่วน โดยมุ่งหวังที่จะสร้างวัฒนธรรมการอ่านที่ยั่งยืนให้กับคนกรุงเทพมหานคร และกรุงเทพมหานครได้รับเลือกจากองค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ให้เป็นเมืองหนังสือโลกในปี ๒๕๕๖ (World Book Capital ๒๐๑๓)
สำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว จึงได้กำหนดนโยบายและแผนยุทธศาสตร์ใน
การพัฒนาและขยายห้องสมุดในรูปแบบต่างๆ มุ่งเน้นบริการเชิงรุก เพื่อสนองความต้องการของกลุ่มเด็ก เยาวชน และประชาชนที่กว้างขวางและหลากหลาย เน้นการพัฒนาห้องสมุดสู่ห้องสมุดสมัยใหม่ เป็นห้องสมุดที่มีชีวิต จัดกิจกรรมที่หลากหลายและต่อเนื่อง เพื่อสร้างสรรค์กิจกรรมเครือข่ายการเรียนรู้ เพื่อให้เด็ก เยาวชน และประชาชนรู้จักแสวงหาความรู้ รู้จักคิด รู้จักเลือกสรรสารสนเทศที่ดีมีประโยชน์ เหมาะแก่การนำไปใช้ในการดำเนินชีวิต พัฒนาตนเอง พัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น เพื่อก่อให้เกิดสังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้ สร้างสรรค์ประสบการณ์ในการอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุข สอดคล้องกับนโยบายของกรุงเทพมหานคร ในด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตแก่เด็ก เยาวชน และประชาชนในกรุงเทพมหานครให้ดีขึ้น และได้ตามเกณฑ์ความจำเป็นพื้นฐาน ซึ่งจะนำผลไปสู่การพัฒนาสังคมและประเทศชาติต่อไป
|
๓.๑ เพื่อส่งเสริมให้เด็ก เยาวชน และประชาชนรู้จักใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์
๓.๒ เพื่อส่งเสริมเด็ก เยาวชนและประชาชนให้มีนิสัยรักการอ่าน มีวัฒนธรรมในการอ่านที่ยั่งยืน
๓.๓ เพื่อสร้างสรรค์ประสบการณ์เครือข่ายการเรียนรู้ที่หลากหลาย
๓.๔ เพื่อให้บริการข่าวสารและความรู้ต่างๆ ที่ทันต่อเหตุการณ์ความเคลื่อนไหวของประเทศและโลก
๓.๕ เพื่อส่งเสริมภาพพจน์ด้านการให้บริการสาธารณะในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ในการจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านที่เป็นประโยชน์ต่อเด็ก เยาวชน และประชาชน
|
๓.๑ จัดกิจกรรมสำหรับเด็ก เยาวชน และประชาชนทั่วไปที่มาใช้บริการห้องสมุดและการเรียนรู้ของกรุงเทพมหานคร จำนวน ๔๐ แห่ง ดังนี้
ห้องสมุดขนาดใหญ่ จำนวน ๒๐ แห่ง
๑. ห้องสมุดฯ สวนลุมพินี ๒. ห้องสมุดฯ ซอยพระนาง
๓. ห้องสมุดฯ ภาษีเจริญ ๔. ห้องสมุดฯ ลาดกระบัง
๕. ห้องสมุดฯ บางกะปิ ๖. ห้องสมุดฯ สะพานสูง
๗. ห้องสมุดฯ ทุ่งครุ ๘. ห้องสมุดฯ ดุสิต
๙. ห้องสมุดฯ มีนบุรี ๑๐. ห้องสมุดฯ บางขุนเทียน
๑๑. ห้องสมุดฯ บางบอน ๑๒. ห้องสมุดฯ ห้วยขวาง
๑๓. ห้องสมุดฯ วัดศิริพงษ์ธรรมนิมิต ๑๔. ห้องสมุดฯ บางเขน
๑๕. ห้องสมุดฯ หนองจอก ๑๖. ห้องสมุดฯ วัดลาดปลาเค้า
๑๗. ห้องสมุดฯ คลองสามวา ๑๘. ห้องสมุดฯ บ้านจิรายุ-พูนทรัพย์
๑๙. ห้องสมุดฯ ประเวศ ๒๐. ห้องสมุดฯ วัดราชโอรสาราม
ห้องสมุดขนาดกลาง จำนวน ๕ แห่ง
๒๑. ห้องสมุดฯ มูลนิธิเพื่อศูนย์กลางอิสลามแห่งประเทศไทย
๒๒. ห้องสมุดฯ เขตบางซื่อ ๒๓. ห้องสมุดสีเขียว
๒๔. ห้องสมุดฯ อนงคาราม ๒๕. ห้องสมุดฯ วัดรัชฎาธิษฐานฯ ห้องสมุดขนาดเล็ก จำนวน ๑๕ แห่ง
๒๖. ห้องสมุดวิชาการ ๒๗. ห้องสมุดฯ เขตราษฎร์บูรณะ ๒๘. ห้องสมุดและพิพิธภัณฑ์เสรีไทยอนุสรณ์ ๒๙. ห้องสมุดฯ จตุจักร
๓๐. ห้องสมุดฯ รมณีย์ทุ่งสีกัน ๓๑. ห้องสมุดฯ เคหะชุมชนดินแดง ๒
๓๒. ห้องสมุดสิ่งแวดล้อม ๓๓. ห้องสมุดฯ วัดพรหมรังษี
๓๔. ห้องสมุดวนธรรม ๓๕. ห้องสมุดฯ เขตคลองสาน
๓๖. ห้องสมุดประชาชนเคลื่อนที่ จำนวน ๕ คัน
๓.๒ กิจกรรมที่จัด ประกอบด้วย กิจกรรมพื้นฐาน ได้แก่ กิจกรรมพัฒนากระบวนการเรียนรู้ตามอัธยาศัยสำหรับเยาวชน กิจกรรมครบรอบ ๗๖ ปี วันสันติภาพไทย กิจกรรมเปิดโลกนิทาน กิจกรรมวันภาษาไทย
กิจกรรมสร้างสุขด้วยการอ่านกับผู้สูงอายุ กิจกรรม BMA BOOK & LIBRARY FAIR กิจกรรมวันเด็กแห่งชาติ ประจำปี ๒๕๖๔
|
2,923,600.00 |
767,200.00 |
สํานักวัฒนธรรม กีฬาและการท่องเที่ยว |
2020-10-01 00:00:00 |
2021-09-30 00:00:00 |
ยกเลิก |
10.00 |
27 |
3.0.2. |
.. |
2564 |
จ้างอาสาสมัครเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานด้านพัฒนาสังคม |
สืบเนื่องจากปัญหาทางเศรษฐกิจและสังคมที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง และมีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะปัญหาการกระทำรุนแรงต่อเด้กและสตรี การทอดทิ้งผู้สูงอายุ คนพิการ ฯลฯ แม้ว่าจะมีหลายหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนเร่งดำเนินการเพื่อแก้ไขปัญหา แต่ก็ยังไม่สามารถบรรลุผลในทางปฏิบัติได้ดีเท่าที่ควร ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการขาดความร่วมมือ หรือการมีส่วนร่วมของประชาชนในการแก้ไขปัญหา การขาดจิตสำนึกที่ตระหนักถึงความสำคัญ และความจำเป็นที่ต้องแก้ไข รวมทั้งการไม่ทราบหรือไม่สามารถเข้าถึงแหล่งการให้บริการและการช่วยเหลือของหน่วยงานต่างๆ ด้วยเหตุดังกล่าว ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคมจึงได้ส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินงานของอาสาสมัครช่วยงานสังคมสงเคราะห์ เพื่อให้ประชาชนในชุมชนได้ตระหนักถึงความสำคัญของการมีส่วนร่วมของประชาชนในชุมชน ได้เรียนรู้ถึงการเฝ้าระวังเพื่อป้องกันและร่วมมือกันแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม ซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการจัดสวัสดิการสังคม การป้องกัน การบรรเทาปัญหาและการพัฒนาฟื้นฟูแก่ประชาชนผู้ประสบสภาวะยากลำบากดังกล่าว มีแนวทางการปฏิบัติ ซึ่งมีรูปแบบการทำงานร่วมกับชุมชนในพื้นที่เขต ผ่านทางศูนย์บริการด้านเด็ก สตรี ผู้สูงอายุ และผู้ด้อยโอกาสเขตจอมทอง |
ประชาชนในพื้นที่เขตจอมทองที่ประสบปัญหา มีโอกาสได้รับการสงเคราะห์ในเรื่องสวัสดิการต่างๆ ตามที่กำหนด |
ดำเนินงานด้านการพัฒนาสังคมในพื้นที่เขตจอมทอง โดยจัดให้มีบุคลากรผู้ปฏิบัติงานด้านพัฒนาสังคม ประจำเขต จำนวน 4 อัตรา ดังนี้
1) อาสาสมัคร วุฒิปริญญาตรี จำนวน 2 อัตรา
2) อาสาสมัครรายวัน จำนวน 2 อัตรา |
585,200.00 |
441,380.00 |
สำนักงานเขตจอมทอง |
2020-10-01 00:00:00 |
2021-09-30 00:00:00 |
แล้วเสร็จ |
100.00 |
28 |
3.0.2. |
.. |
2564 |
สนับสนุนเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานด้านเด็ก สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการ และผู้ด้อยโอกาส |
สืบเนื่องจากปัญหาทางเศรษฐกิจและสังคมที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง และมีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะปัญหาการกระทำรุนแรงต่อเด็กและสตรี การทอดทิ้งผู้สูงอายุ ผู้พิการ ฯลฯ แม้ว่าจะมีหลายหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนเร่งดำเนินการเพื่อแก้ไขปัญหา แต่ก็ยังไม่สามารถบรรลุผลในทางปฏิบัติได้ดีเท่าที่ควร ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการขาดความร่วมมือ หรือการมีส่วนร่วมของประชาชนในการแก้ไขปัญหา การขาดจิตสำนึกที่ตระหนักถึงความสำคัญ และความจำเป็นที่ต้องแก้ไข รวมทั้งการไม่ทราบหรือไม่สามารถเข้าถึงแหล่งการให้บริการและการช่วยเหลือของหน่วยงานต่างๆ ด้วยเหตุดังกล่าว ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม จึงได้ส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินงานศูนย์บริการด้านเด็ก สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการ และผู้ด้อยโอกาส เพื่อเป็นศูนย์อำนวยการในระดับพื้นที่ รวมทั้งส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินงานศูนย์รับแจ้งเหตุและบริการครอบครัวในชุมชน เพื่อให้ประชาชนในชุมชนได้ตระหนักถึงความสำคัญของการมีส่วนร่วมของประชาชนในชุมชนได้เรียนรู้ถึงการเฝ้าระวัง เพื่อป้องกันและร่วมมือกันแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม ซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการจัดสวัสดิการสังคม การป้องกัน การบรรเทาปัญหาและการพัฒนาฟื้นฟูแก่ประชาชนผู้ประสบสภาวะยากลำบากดังกล่าว มีแนวทางการปฏิบัติ ซึ่งมีรูปแบบการทำงานร่วมกับชุมชนในพื้นที่เขต ผ่านทางศูนย์บริการด้านเด็ก สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการและผู้ด้อยโอกาสเขตจอมทอง |
ประชาชนทุกระดับเกิดความสัมพันธ์อันดี มีความมั่นคงและเอื้ออาทรต่อกันทั้งภายในครอบครัวและระหว่างครอบครัว ชุมชนเกิดเครือข่ายการช่วยเหลือดูแลซึ่งกันและกัน มีระบบการเฝ้าระวังในชุมชน การป้องกันการแก้ไข และสามารถส่งต่อผู้มีปัญหาหรือได้รับความเดือดร้อน เพื่อสามารถรองรับบริการสวัสดิการและการสงเคราะห์ช่วยเหลือได้อย่างทั่วถึง |
สนับสนุนการดำเนินงานด้านเด็ก สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการ และผู้ด้อยโอกาสในพื้นที่เขตจอมทอง โดยจัดให้มีเจ้าหน้าที่เพื่อปฏิบัติงานด้านเด็ก สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการ และผู้ด้อยโกอาส ประจำเขต จำนวน 4 อัตรา ดังนี้
1) อาสาสมัคร วุฒิปริญญาตรี จำนวน 1 อัตรา
2) อาสาสมัคร วุฒิประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ด้านการเงินและบัญชี จำนวน 1 อัตรา
3) อาสาสมัครช่วยงานสังคมสงเคราะห์ จำนวน 1 อัตรา
4) อาสาสมัครคนพิการ จำนวน 1 อัตรา |
514,600.00 |
470,023.00 |
สำนักงานเขตจอมทอง |
2020-10-01 00:00:00 |
2021-09-30 00:00:00 |
แล้วเสร็จ |
100.00 |
29 |
3.0.3. |
.. |
2564 |
บริหารจัดการพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นกรุงเทพมหานคร |
สำนักงานเขตจอมทองได้จัดตั้งพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นกรุงเทพมหานครเขตจอมทองขึ้น ตั้งอยู่ในบริเวณวัดยายร่ม เขตจอมทอง ภายในพิพิธภัณฑ์เป็นแหล่งรวบรวมเรื่องราวต่างๆ ในอดีตของท้องถิ่น เกี่ยวกับวิถีชีวิตความเป็นอยู่ ประวัติศาสตร์สถานที่สำคัญและชุมชนหลากวัฒนธรรม ภูมิปัญญาของชาวสวนลิ้นจี่และสวนส้มบางมด ศิลปวัฒนธรรมในเขตจอมทองและบุคคลสำคัญ
เพื่อให้พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นกรุงเทพมหานคร เขตจอมทอง ได้เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย สำนักงานเขตจอมทองจึงได้จัดทำโครงการบริหารจัดการพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นกรุงเทพมหานครขึ้น เพื่อดำเนินกิจกรรมต่างๆ สร้างแรงดึงดูดให้ประชาชนได้เข้ามาเยี่ยมชมและเรียนรู้ประวัติศาสตร์ของท้องถิ่น อีกทั้งยังเป็นการส่งเสริม ประชาสัมพันธ์ เผยแพร่ของดีในพื้นที่เขตจอมทองให้เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย และก่อให้เกิดการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์อีกทางหนึ่งด้วย |
9.1 เกิดแหล่งเรียนรู้ด้านประวัติศาสตร์ วิถีชีวิตและภูมิปัญญาของคนในท้องถิ่น
9.2 พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นกรุงเทพมหานคร เขตจอมทอง เป็นที่รู้จักเพิ่มมากขึ้น |
1. จ้างอาสาสมัครปฏิบัติงานประจำพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น จำนวน 2 อัตรา
2. จัดกิจกรรมพิเศษสนับสนุนการดำเนินงานของพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นกรุงเทพมหานคร เขตจอมทอง |
292,600.00 |
235,852.00 |
สำนักงานเขตจอมทอง |
2020-10-01 00:00:00 |
2021-09-30 00:00:00 |
แล้วเสร็จ |
100.00 |
30 |
3.0.2. |
.. |
2564 |
ศูนย์ประสานงานธนาคารสมองของกรุงเทพมหานคร |
สำนักงานเขตจอมทองตระหนักถึงความสำคัญของการส่งเสริมให้เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ และประชาชนทั่วไปเห็นความสำคัญในการอนุรักษ์และสืบทอดภูมิปัญญาผู้สูงอายุ ให้ความสำคัญถึงคุณค่าและคุณประโยชน์ของผู้สูงอายุ ส่งเสริมให้ผู้สูงอายุใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ และธำรงรักษาไว้ซึ่งความรู้ ความสามารถและภูมิปัญญาในสาขาต่างๆ ในหลากหลายสาขาอาชีพให้คงอยู่ ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม สำนักงานเขตจอมทอง จึงได้จัดทำโครงการศูนย์ประสานงานธนาคารสมองของกรุงเทพมหานคร เพื่อเป็นศูนย์กลางของการประสานงานและเป็นศูนย์กลางข้อมูลภูมิปัญญาผู้สูงอายุในสาขาต่างๆ เพื่อถ่ายทอดและเผยแพร่ภูมิปัญญาที่มีอยู่แก่คนรุ่นหลังต่อไป |
9.1 เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ และประชาชนทั่วไปที่เข้าร่วมกิจกรรม ได้ตระหนักถึงคุณค่าและคุณประโยชน์ของภูมิปัญญาผู้สูงอายุ และนำผลงานภูมิปัญญาไปเผยแพร่สู่สังคม
9.2 สำนักงานเขตจอมทองมีข้อมูลภูมิปัญญาผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นและได้รับอนุรักษ์ให้คงอยู่สืบไป |
คัดเลือกภูมิปัญญาผู้สูงอายุระดับเขต และจัดกิจกรรมถ่ายทอดและแสดงผลงานภูมิปัญญาผู้สูงอายุ จำนวน 1 ครั้ง ภายในเดือนเมษายน 2564 เพื่อให้ผลงานภูมิปัญญาผู้สูงอายุเผยแพร่สู่สังคม |
10,000.00 |
10,000.00 |
สำนักงานเขตจอมทอง |
2021-02-01 00:00:00 |
2021-05-31 00:00:00 |
แล้วเสร็จ |
100.00 |
31 |
3.0.2. |
.. |
2564 |
ฝึกอบรมวิชาชีพเสริมรายได้ |
การอบรมวิชาชีพเสริมรายได้ให้แก่ผู้สูงอายุ สตรี เด็กและเยาวชน รวมถึงประชาชนทั่วไป เป็นนโยบายของกรุงเทพมหานคร ในการพัฒนาขีดความสามารถในการประกอบอาชีพของประชาชน เพื่อนำไปสู่การมีรายได้ที่มั่นคง โดยจัดฝึกอบรมวิชาชีพให้แก่ประชาชนทั่วไปให้สามารถนำความรู้ไปใช้ในการประกอบอาชีพหรือสร้างรายได้เสริม อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มพูนความรู้ ทักษะ สร้างความชำนาญและประสบการณ์ด้านการประกอบอาชีพ ด้านทักษะการฝึกอาชีพ
สำนักงานเขตจอมทองจึงได้จัดทำโครงการอบรมวิชาชีพเสริมรายได้ขึ้น เพื่อเพิ่มพูนความรู้ ทักษะ สร้างความชำนาญและประสบการณ์ในการประกอบอาชีพ และให้ประชาชนได้มองเห็นทางเลือกในการประกอบอาชีพเสริม และได้ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ ลดปัญหาการว่างงาน สร้างอาชีพสร้างรายได้ต่อไป |
9.1 ประชาชนได้รับความรู้ สามารถนำความรู้มาเสริมสร้างรายได้เสริมให้แก่ตนเองและครอบครัวได้
9.2 สามารถช่วยพัฒนาเศรษฐกิจในครอบครัว และมีการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ |
จัดฝึกอาชีพวิชาสมุนไพรเพื่องานอาชีพและสุขภาพ และวิชาลูกโป่งแฟนซีให้กับประชาชนทั่วไป ในวันเสาร์และวันอาทิตย์ จำนวน 9 วัน ๆ ละ 1 วิชาชีพ ๆ ละ 40 คน |
100,000.00 |
100,000.00 |
สำนักงานเขตจอมทอง |
2020-10-01 00:00:00 |
2021-04-30 00:00:00 |
แล้วเสร็จ |
100.00 |
32 |
3.0.1. |
.. |
2564 |
จัดงานวันสำคัญ อนุรักษ์ สืบสานวัฒนธรรมประเพณี |
กรุงเทพมหานครกำหนดกรอบและทิศทางการพัฒนาเมืองเพื่อก้าวสู่การเป็นมหานครที่มีความเจริญในทุกๆด้าน โดยจัดทำแผนพัฒนากรุงเทพมหานคร และกำหนดยุทธศาสตร์เพื่อรองรับการพัฒนาเมืองในด้านต่าง ๆ ทั้งนี้ยุทธศาสตร์การพัฒนากรุงเทพมหานครให้เป็นมหานครสำหรับทุกคน ที่คนกรุงเทพฯ แต่ละกลุ่ม แต่ละชุมชน สามารถดำรงรักษาไว้ซึ่งอัตลักษณ์ ประเพณี วัฒนธรรมท้องถิ่นของตนเอง ตลอดจนเป็นมหานครที่โดดเด่นในเชิงวัฒนธรรมที่หลากหลาย เป็นยุทธศาสตร์หนึ่งที่สำคัญในการที่จะขับเคลื่อนการพัฒนากรุงเทพมหานครสู่ความเป็นเมืองน่าอยู่
สำนักงานเขตจอมทองในฐานะหน่วยงานของกรุงเทพมหานครในระดับพื้นที่ เล็งเห็นว่าในการดำเนินงานสนับสนุนและส่งเสริมการอนุรักษ์ ฟื้นฟู ศิลปวัฒนธรรม ประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่นนั้น มีส่วนสำคัญในการผลักดันให้เกิดการขับเคลื่อนนโยบายดังกล่าวไปสู่การปฏิบัติ จึงได้จัดทำโครงการจัดงานวันสำคัญ อนุรักษ์ สืบสานวัฒนธรรมประเพณีไทย โดยจัดให้มีกิจกรรมในวันสำคัญ ให้เด็ก เยาวชน ประชาชน และเจ้าหน้าที่ของรัฐตระหนักถึงความสำคัญในการที่จะร่วมกันอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม และประเพณีที่ดีงามของไทยให้คงอยู่สืบไป |
9.1 ศิลปวัฒนธรรมและประเพณีไทย ภูมิปัญญาท้องถิ่นและกิจกรรมวันสำคัญของไทยได้รับการอนุรักษ์ให้คงอยู่สืบไป
9.2 ทุกภาคส่วนในพื้นที่เขตจอมทองทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาสังคมมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ ฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น
9.3 การจัดกิจกรรมวันสำคัญ อนุรักษ์สืบสานศิลปวัฒนธรรมประเพณีไทย ส่งผลให้ประชาชนในพื้นที่เขตจอมทองได้ตระหนักรู้และเห็นถึงความสำคัญ รวมทั้งมีความภาคภูมิใจในความเป็นไทย |
1. จัดกิจกรรมประเพณีลอยกระทง โดยมีกิจกรรม ประกอบด้วย การแข่งขันเรือพาย การแข่งขันตะกร้อลอดบ่วง การประกวดหนูน้อยนพมาศ และการแสดงศิลปวัฒนธรรม
2. จัดกิจกรรมวันผู้สูงอายุแห่งชาติ โดยมีกิจกรรม ประกอบด้วย พิธีสรงน้ำพระ ถวายภัตตาหารเพล การแสดงมุทิตาจิตรดน้ำขอพรผู้สูงอายุ การให้บริการหน่วยแพทย์เคลื่อนที่
3. จัดกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 28 กรกฎาคม 2564
4. จัดกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 12 สิงหาคม 2564 |
500,000.00 |
320,000.00 |
สำนักงานเขตจอมทอง |
2020-10-01 00:00:00 |
2021-08-31 00:00:00 |
แล้วเสร็จ |
100.00 |
33 |
3.0.1. |
.. |
2564 |
รู้ใช้ รู้เก็บ คนกรุงเทพฯ ชีวิตมั่นคง |
กรุงเทพมหานครได้มีความพยายามที่จะส่งเสริมให้ประชาชนทั้งผู้มีรายได้น้อย ผู้ประกอบอาชีพอิสระ ผู้ประกอบอาชีพรับจ้าง แรงงานนอกระบบ ได้มีโอกาสทางเศรษฐกิจ โดยมุ่งเน้นไปที่การพัฒนาศักยภาพ ทักษะ ความรู้ความสามารถในการประกอบอาชีพ การสร้างโอกาสในการเข้าถึงทรัพยากรต่างๆ การเข้าถึงสวัสดิการสังคมของรัฐ การเข้าถึงข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับตลาดงานและแหล่งทุนเพื่อประกอบอาชีพ รวมทั้งการส่งเสริมการวางแผนทางการเงิน อันจะนำไปสู่การแก้ไขและลดปัญหาหนี้สิน และมีความพยายามที่จะให้กลุ่มของผู้ที่ทำงานประจำ หรือ "มนุษย์เงินเดือน" ได้มีความรู้ และทักษะในด้านการวางแผนทางการเงินอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีภายใต้สังคมปัจจุบัน
สำนักงานเขตจอมทองได้ตระหนักถึงปัญหาทางการเงินเหล่านี้ ของกลุ่มผู้ที่อยู่ในภาคเศรษฐกิจนอกระบบ แรงงานนอกระบบ ผู้มีรายได้น้อย และผู้ที่ทำงานประจำ รวมทั้งให้ความสำคัญในเรื่องของการออมและการบริหารเงินส่วนบุคคล ส่งเสริมให้ประชาชน โดยเฉพาะแรงงานนอกระบบได้รับทราบถึงสวัสดิการสังคมต่างๆ จึงได้จัดทำโครงการ รู้ใช้ รู้เก็บ คนกรุงเทพฯ ชีวิตมั่นคง ดำเนินงานโดยศูนย์ส่งเสริมการบริหารเงินออมครอบครัวและแก้ไขปัญหาหนี้สิน เขตจอมทอง ในการเสริมสร้างความรู้ เรื่องการบริหารการเงิน การวางแผนทางการเงิน โดยเฉพาะการสร้างความตระหนักรู้ถึงมหันตภัยของหนี้ประเภทต่างๆ อันจะทำให้ประชาชนไม่ตกเป็นทาสของหนี้นอกระบบ และสามารถเลือกใช้สินค้าทางการเงินต่างๆ เช่น บัตรเครดิต บัตรกดเงินสด ได้อย่างชาญฉลาด รวมทั้งมุ่งส่งเสริมให้ประชาชนรู้จักเก็บ รู้จักใช้ มีเงินเหลือสร้างความมั่นคงให้แก่ตนเองและครอบครัวตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง มีความรู้เรื่องการแก้ไขปัญหาหนี้สิน และสามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน ส่งเสริมให้ประชาชน โดยเฉพาะแรงงานนอกระบบให้รับทราบถึงสวัสดิการทางสังคม เพื่อเป็นทางเลือกในการแก้ไขปัญหาทางการเงิน ซึ่งจะส่งผลให้คนกรุงเทพมหานครทุกคนสามารถอยู่ได้อย่างมั่นคง มีความเข้มแข็งที่เพียงพอ เศรษฐกิจของเมืองย่อมสามารถเจริญเติบโตได้อย่างยั่งยืนด้วยเช่นกัน |
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมกิจกรรมตามโครงการมีความรู้ด้านการเงินเพิ่มขึ้น ตระหนักถึงความสำคัญในการวางแผนการเงิน การบริหารหนี้สิน และการบริหารเงินของตนเอง เกิดความสนใจที่จะปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เพื่อสร้างความมั่นคงทางการเงินให้ตนเองและครอบครัว รับทราบสวัสดิการทางสังคมต่างๆ ที่รัฐจัดให้ |
จัดกิจกรรมเสริมสร้างความรู้ด้านการเงินในเรื่องการออม การวางแผนทางการเงิน การบริหารการเงิน สวัสดิการทางสังคมต่าง ๆ ให้กับแรงงานนอกระบบ ผู้มีรายได้น้อย ผู้มีงานประจำทำ นักเรียน นักศึกษา บุคลากร ในหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน สถานประกอบการ สถานศึกษา ประชาชนที่อยู่ในชุมชน จำนวน 6 ครั้ง ๆ ละ 100 คน |
20,000.00 |
4,994.00 |
สำนักงานเขตจอมทอง |
2020-10-01 00:00:00 |
2021-09-30 00:00:00 |
แล้วเสร็จ |
100.00 |
34 |
3.0.2. |
.. |
2564 |
โครงการค่าใช้จ่ายโครงการส่งเสริมพัฒนาการเด็กก่อนวัยเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียนกรุงเทพมหานคร |
สำนักงานเขตสวนหลวง ได้รับการสนับสนุนการจัดตั้งศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียนในชุมชน ซึ่งดำเนินการบริหารจัดการโดยคณะกรรมการชุมชน ในพื้นที่เขตสวนหลวงมีศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียน จำนวน 13 ศูนย์ อาสาสมัครผู้ดูแลเด็กจำนวน 97 คน เด็กก่อนวัยเรียนที่ใช้บริการกว่า 1,100 คน และมีแนวโน้มจะขยายจำนวนศูนย์มากขึ้น เนื่องจากภาวะวิกฤตทางเศรษฐกิจที่ทำให้ พ่อ แม่ ผู้ปกครอง ต้องประกอบอาชีพ นอกบ้าน ไม่มีเวลาที่จะเลี้ยงดูเด็กด้วยตนเอง และไม่สามารถนำเด็กเข้าเรียนในโรงเรียนอนุบาลได้ โดยเน้นการแบ่งเบาภาระผู้ปกครองที่ไม่มีเวลาดูแลบุตรหลานของตนเอง ให้มีความพร้อมทั้งด้านจิตใจ อนามัย สังคม ก่อนเข้าสู่ระบบการเรียนต่อไป
สภาวะศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียนในชุมชน มีความแตกต่างกันไปตามสภาพความจำเป็นของแต่ละชุมชน หลายแห่งเป็นเพียงบ้านที่อยู่อาศัยของคนในชุมชน ที่มีความเมตตาโอบอุ้มเลี้ยงดูบุตรหลานของเพื่อนบ้าน ในขณะที่อีกหลายแห่งจัดสร้างขึ้นเป็นศูนย์ฯ เด็กโดยตรง คุณภาพและมาตรฐานของศูนย์ฯ เหล่านี้ จึงแตกต่างกัน เป็นอันมาก ทั้งนี้รวมถึงสภาพความเจริญของชุมชน สภาพคล่องทางการเงินในการบริหารศูนย์ฯ และคุณภาพของอาสาสมัครผู้ดูแลเด็ก
สำนักงานเขตสวนหลวง เล็งเห็นความสำคัญของการพัฒนาเด็กก่อนวัยเรียน ซึ่งเป็นวัยสำคัญที่สุดของชีวิต ในการพัฒนาบุคลิกภาพของเด็กต่อไปในอนาคต จึงเห็นควรมีการพัฒนามาตรฐานของศูนย์ รวมทั้งสนับสนุนให้มีการจัดตั้งศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียนในชุมชนให้เพียงพอและได้มาตรฐานเดียวกัน
|
9.1 ศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียนกรุงเทพมหานคร เขตสวนหลวง มีคุณภาพเข้าสู่เกณฑ์
มาตรฐานกรุงเทพมหานคร
9.2 อาสาสมัครผู้ดูแลเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียนมีศักยภาพ มีความรู้ในการดูแลและ
เฝ้าระวังและสามารถประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัยได้มีประสิทธิภาพ
|
จัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียนกรุงเทพมหานคร เขตสวนหลวง มีคุณภาพเข้าสู่เกณฑ์มาตรฐานกรุงเทพมหานคร |
393,900.00 |
787,790.00 |
สำนักงานเขตสวนหลวง |
2020-10-01 00:00:00 |
2021-09-30 00:00:00 |
แล้วเสร็จ |
100.00 |
35 |
3.0.2. |
.. |
2564 |
ค่าใช้จ่ายศูนย์ประสานงานธนาคารสมองของกรุงเทพมหานคร |
--ปัจจุบันสังคมไทยมีจำนวนผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้น กรุงเทพมหานครเป็นหน่วยงานหนึ่งซึ่งมีหน้าที่ในการจัดสวัสดิการทางสังคมให้แก่ผู้สูงอายุ และตระหนักดีว่าผู้สูงอายุเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณค่าและทำคุณประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติมาโดยตลอด ประกอบกับแผนผู้สูงอายุแห่งชาติ ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๔๕ – ๒๕๖๔) และพระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. ๒๕๔๖ ได้กำหนดให้ผู้สูงอายุมีสิทธิได้รับการคุ้มครอง การส่งเสริม และการสนับสนุนในด้านต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งให้ผู้สูงอายุได้มีการพัฒนาตนเองและมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคม
|
- เพื่อรวบรวมและเผยแพร่ภูมิปัญญาผู้สูงอายุ
- เพื่อเผยแพร่ผลงานและเกียรติประวัติภูมิปัญญาผู้สูงอายุ
- เพื่อให้เกิดการอนุรักษ์และสืบทอดสู่คนรุ่นหลังต่อไป |
- เชิงปริมาณรวบรวมและเผยแพร่ภูมิปัญญาผู้สุงอายุ
- เชิงคุณภาพผู้สูงอายุในชุมชนที่เข้าร่วมหลักเสร็จสิ้นโครงการ |
10,000.00 |
0.00 |
สำนักงานเขตหลักสี่ |
2020-10-01 00:00:00 |
2021-09-30 00:00:00 |
ยกเลิก |
10.00 |
36 |
3.0.2. |
.. |
2565 |
โครงการค่าใช้จ่ายโครงการส่งเสริมพัฒนาการเด็กก่อนวัยเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียนกรุงเทพมหานคร |
สำนักงานเขตสวนหลวง ได้รับการสนับสนุนการจัดตั้งศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียนในชุมชน ซึ่งดำเนินการบริหารจัดการโดยคณะกรรมการชุมชน ในพื้นที่เขตสวนหลวงมีศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียน จำนวน 13 ศูนย์ อาสาสมัครผู้ดูแลเด็กจำนวน 95 คน เด็กก่อนวัยเรียนที่ใช้บริการกว่า 1,090 คน และมีแนวโน้ม จะขยายจำนวนศูนย์มากขึ้น เนื่องจากภาวะวิกฤตทางเศรษฐกิจที่ทำให้ พ่อ แม่ ผู้ปกครอง ต้องประกอบอาชีพนอกบ้าน ไม่มีเวลาที่จะเลี้ยงดูเด็กด้วยตนเอง และไม่สามารถนำเด็กเข้าเรียนในโรงเรียนอนุบาลได้ โดยเน้นการแบ่งเบาภาระผู้ปกครองที่ไม่มีเวลาดูแลบุตรหลานของตนเอง ให้มีความพร้อมทั้งด้านจิตใจ อนามัย สังคม ก่อนเข้าสู่ระบบการเรียนต่อไป
สภาวะศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียนในชุมชน มีความแตกต่างกันไปตามสภาพความจำเป็น ของแต่ละชุมชน หลายแห่งเป็นเพียงบ้านที่อยู่อาศัยของคนในชุมชน ที่มีความเมตตาโอบอุ้มเลี้ยงดูบุตรหลานของเพื่อนบ้าน ในขณะที่อีกหลายแห่งจัดสร้างขึ้นเป็นศูนย์ฯ เด็กโดยตรง คุณภาพและมาตรฐานของศูนย์ฯ เหล่านี้ จึงแตกต่างกันเป็นอันมาก ทั้งนี้รวมถึงสภาพความเจริญของชุมชน สภาพคล่องทางการเงินในการบริหารศูนย์ฯ และคุณภาพของอาสาสมัครผู้ดูแลเด็ก
สำนักงานเขตสวนหลวง เล็งเห็นความสำคัญของการพัฒนาเด็กก่อนวัยเรียน ซึ่งเป็นวัยสำคัญที่สุดของชีวิตในการพัฒนาบุคลิกภาพของเด็กต่อไปในอนาคต จึงเห็นควรมีการพัฒนามาตรฐานของศูนย์ รวมทั้งสนับสนุนให้มีการจัดตั้งศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียนในชุมชนให้เพียงพอและได้มาตรฐานเดียวกัน |
๒.๑ เพื่อพัฒนาศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียนในชุมชนให้มีคุณภาพเข้าสู่เกณฑ์มาตรฐานกรุงเทพมหานคร และเป็นไปตามมาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ
๒.๒ เพื่อส่งเสริมศักยภาพอาสาสมัครผู้ดูแลเด็กในการดูแลเฝ้าระวังและสามารถประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียนในชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ |
สนับสนุนศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียน เพื่อให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานกรุงเทพมหานครและศูนย์เด็กเล็กแห่งชาติ พัฒนาและปรับปรุงศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียนเขตสวนหลวง จำนวน 13 ศูนย์ เพื่อพัฒนาให้ได้ตามเกณฑ์มาตรฐานในด้านต่างๆ ดังนี้
3.1 ด้านการส่งเสริมสุขภาพ
3.2 ด้านการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก
3.3 ด้านอาหารสะอาด ปลอดภัย
3.4 ด้านสถานที่สะอาด ปลอดภัย
3.5 ด้านบุคลากร
3.6 ด้านการเสริมสร้างประสบการณ์ชีวิต
3.7 ด้านการมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง ชุมชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง |
343,500.00 |
343,500.00 |
สำนักงานเขตสวนหลวง |
2021-10-01 00:00:00 |
2022-09-30 00:00:00 |
แล้วเสร็จ |
100.00 |
รวม ->36 โครงการ |
0 |
0.00 |
0.00 |
0 |
0.00 |
0 |
0.00 |
0 |
0 |
0 |
0 |