รายงานสรุปจำนวนโครงการด้านเทคโนโลยีดิจิทัลของกรุงเทพมหานคร (ระหว่าง ปี 2560 - 2563): ณ วันที่ 24/11/2024 จำนวน 6 โครงการ

ลำดับ ยุทธศาสตร์ 20 ปี แผนแม่บทไอที ปีงบประมาณ ชื่อโครงการ หลักการและเหตุผล วัตถุประสงค์โครงการ เป้าหมายโครงการ งบประมาณที่ได้รับ งบประมาณที่ใช้ไป หน่วยงานที่รับผิดชอบ เริ่มโครงการ สิ้นสุดโครงการ สถานะโครงการ คืบหน้า (ร้อยละ)
1 1.0.3. .. 2566 กิจกรรมการเชื่อมโยงข้อมูลระบบสารสนเทศโรงพยาบาล Hospital information System (HIS) กับระบบ Health Link สำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร เป็นหน่วยงานหนึ่งในสังกัดกรุงเทพมหานคร มีอำนาจ หน้าที่เกี่ยวกับการจัดให้มีบริการโรงพยาบาลในการตรวจรักษาพยาบาล ส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค ฟื้นฟู สุขภาพและสมรรถภาพ เพื่อลดการบาดเจ็บและการตายจากการเจ็บป่วยของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร ได้เล็งเห็นความสำคัญของการนำข้อมูลทางด้านการแพทย์และสาธารณสุขมาใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด การนำข้อมูลจากระบบสารสนเทศโรงพยาบาลแต่ละแห่งเพียงหน่วยงานเดียว ไม่สามารถใช้เป็นข้อมูลสนับสนุนในการแก้ปัญหาได้ในทุกมิติ จึงจำเป็นต้องพัฒนาการเชื่อมโยงแลกเปลี่ยนข้อมูลทางการแพทย์กับหน่วยงานอื่น เพื่อนำข้อมูลมาช่วยในการบริหารจัดการพัฒนาคุณภาพการให้บริการ และช่วยในการแก้ปัญหาด้านต่าง ๆ ให้ดียิ่งขึ้น กรุงเทพมหานคร โดย สำนักการแพทย์ ร่วมกับ สถาบันส่งเสริมการวิเคราะห์และบริหารข้อมูลขนาดใหญ่ภาครัฐ (สวข.) หรือ GBDi ได้จัดทำข้อตกลงความร่วมมือโครงการจัดทำระบบดิจิทัลและเทคโนโลยีเพื่อเชื่อมโยงข้อมูลสุขภาพทั่วประเทศ และได้จัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ เรื่องการพัฒนาเพิ่มคุณภาพการบริการด้านการแพทย์และสาธารณสุขผ่านเทคโนโลยีดิจิทัล ระหว่างกระทรวงกลาโหม กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กรุงเทพมหานคร ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช สภากาชาดไทย สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เมื่อวันที่ ๑๗ มีนาคม ๒๕๖๕ ณ ห้องประชุมบางกอก อาคารไอราวัตพัฒนา ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร ๒ โดยโครงการ Health Link จะทำการเชื่อมข้อมูลสุขภาพของโรงพยาบาลในสังกัดสำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานครทั้ง ๑๑ แห่งเข้าสู่ระบบฐานข้อมูลกลางของ Health Link โดยใช้มาตรฐาน Fast Healthcare Interoperability Resources (FHIR) จากองค์กร Health Level Seven (HL7) หรือเรียกสั้น ๆ ว่า HL7 FHIR ซึ่งเป็นมาตรฐานการแลกเปลี่ยนข้อมูลสุขภาพที่มีผู้ใช้งานทั่วโลก เพื่อเชื่อมโยงข้อมูลสุขภาพจากระบบสารสนเทศโรงพยาบาลทั้ง ๑๑ แห่ง เข้ากับโครงการเชื่อมโยงข้อมูลสุขภาพทั่วประเทศ (Health Information Exchange: Health Link) ให้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการรักษาพยาบาลของโรงพยาบาล ระบบสารสนเทศโรงพยาบาลในสังกัดสำนักการแพทย์ สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลสุขภาพส่วนบุคคลได้ตามมาตรฐานที่กำหนดของโครงการเชื่อมโยงข้อมูลสุขภาพทั่วประเทศ (Health Information Exchange: Health Link) ภายในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 0.00 0.00 สำนักการแพทย์ 2022-10-01 00:00:00 2023-09-30 00:00:00 แล้วเสร็จ 100.00
2 1.0.2. .. 2566 นำเข้าข้อมูลอาคาร 9 ประเภท ที่จะต้องจัดให้มีการตรวจสอบอาคารในพื้นที่กลุ่มเขตกรุงเทพเหนือ กลุ่มเขตกรุงเทพกลาง กลุ่มเขตกรุงเทพตะวันออก กลุ่มเขตกรุงธนเหนือ และกลุ่มเขตกรุงธนใต้ เพื่อจัดทำฐานข้อมูลอาคาร สำนักงานควบคุมอาคาร สำนักการโยธา กรุงเทพมหานคร เป็นหน่วยงานที่ดูแลเกี่ยวกับการอนุญาต ตรวจสอบ และควบคุมการใช้อาคาร รวมถึงอาคารที่ต้องจัดให้มีผู้ตรวจสอบ ตามกฎกระทรวงฯ พ.ศ. 2548 ที่กระจายตัวอยู่ตามพื้นที่ต่าง ๆ ในกรุงเทพมหานคร ซึ่งอาคารเหล่านี้ประกอบไปด้วย อาคารสูง (อาคารที่มีความสูงเกิน 23 เมตรขึ้นไป) อาคารขนาดใหญ่พิเศษ (อาคารที่มีพื้นที่ทุกชั้นรวมกันตั้งแต่ 10,000 ตารางเมตรขึ้นไป) อาคารชุมนุมคน (อาคารที่ชุมนุมคนได้ตั้งแต่ 500 คนขึ้นไป หรือเป็นอาคารเพื่อประโยชน์ในการชุมนุมคนที่มีพื้นที่ตั้งแต่ 1,000 ตารางเมตรขึ้นไป) อาคารชุด (ตามกฎหมายว่าด้วยอาคารชุดหรืออาคารอยู่อาศัยรวม ที่มีพื้นที่อาคารรวมตั้งแต่ 2,000 ตารางเมตรขึ้นไปต่ออาคาร) โรงมหรสพ โรงแรมตามกฎหมายว่าด้วยโรงแรม ที่มีจำนวนห้องพักตั้งแต่ 80 ห้องขึ้นไป สถานบริการตามกฎหมายว่าด้วยสถานบริการ ที่มีพื้นที่ตั้งแต่ 200 ตารางเมตรขึ้นไป อาคารโรงงานตามกฎหมายว่าด้วยโรงงานที่มีความสูงมากกว่าหนึ่งชั้น และมีพื้นที่ใช้สอยตั้งแต่ 5,000 ตารางเมตร ขึ้นไป ป้ายหรือสิ่งที่สร้างขึ้นสำหรับติดหรือตั้งป้ายที่สูงจากพื้นดินตั้งแต่ 15 เมตรขึ้นไป หรือมีพื้นที่ตั้งแต่ 50 ตารางเมตรขึ้นไป หรือป้ายที่ติดหรือตั้งบนหลังคาหรือดาดฟ้าของอาคาร หรือส่วนหนึ่งส่วนใดของอาคารที่มีพื้นที่ตั้งแต่ 25 ตารางเมตรขึ้นไป ซึ่งอาคารเหล่านี้ หากไม่ได้รับการตรวจสอบความพร้อมด้านความปลอดภัยในการใช้อาคารอาจส่งผลถึงชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนได้ จึงมีความจำเป็นที่จะต้องมีฐานข้อมูลของอาคารดังกล่าวที่อยู่ในความดูแลของกรุงเทพมหานคร เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน และยกระดับความปลอดภัย เพื่อลดจำนวนอุบัติภัยอันเกิดจากสิ่งก่อสร้างประเภทอาคาร เพื่อบรรลุเป้าหมายการเป็นเมืองที่มีความปลอดภัยต่อการใช้งานอาคารสาธารณะ และประชาชนรู้สึกมีความเชื่อมั่นในด้านความปลอดภัยในการใช้อาคารในพื้นที่ นำเข้าข้อมูลอาคารที่ต้องจัดให้มีผู้ตรวจสอบ (อาคาร 9 ประเภทตามกฎหมายควบคุมอาคาร) ในพื้นที่กลุ่มเขตกรุงเทพเหนือ กลุ่มเขตกรุงเทพกลาง กลุ่มเขตกรุงเทพตะวันออก กลุ่มเขตกรุงธนเหนือ กลุ่มเขตกรุงธนใต้ จำนวน 6500 อาคาร โดยการลงพื้นที่เพื่อถ่ายรูป เก็บรายละเอียดต่าง ๆ ของอาคาร และสแกนเอกสารอนุญาต รวมทั้งแบบแปลนของอาคาร เข้าสู่ระบบบริหารจัดการงานควบคุมอาคาร เพื่อให้มีฐานข้อมูลอาคารครอบคลุมทุกพื้นที่ของกรุงเทพมหานคร เพื่อใช้สำหรับการวางแผนปฏิบัติงานควบคุม ตรวจสอบอาคารที่มีความเสี่ยง และล่อแหลมที่จะทำให้เกิดอุบัติภัยจากการใช้งานอาคาร และสามารถแก้ไขปัญหา ด้านความปลอดภัยต่อการใช้อาคารที่มีความเสี่ยงได้ทันกาล 36,311,400.00 0.00 สํานักการโยธา 2022-10-01 00:00:00 2023-09-30 00:00:00 กำลังดำเนินการ 25.00
3 1.0.2. .. 2566 การสนับสนุนเครื่องสูบน้ำแก่สำนักงานเขต (กคจ.) กรุงเทพมหานครได้เจริญเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว มีการพัฒนาระบบสาธารณูปโภคอย่างต่อเนื่องรูปแบบการใช้ที่ดินเปลี่ยนแปลงไป รวมถึงระบบระบายน้ำและการป้องกันน้ำท่วมเดิมไม่สามารถรองรับได้ จึงก่อให้เกิดปัญหาน้ำท่วมรอระบายทวีความรุนแรงมากขึ้น เพื่อให้การสนับสนุนเครื่องสูบน้ำและอุปกรณ์แก่สำนักงานเขตต่าง ๆ ติดตั้งใช้งานด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่ที่สำนักงานเขตรับผิดชอบ สนับสนุนเครื่องสูบน้ำและอุปกรณ์เป็นไปตามแผนการสนับสนุนประจำปี 0.00 0.00 สํานักการระบายน้ำ 2022-10-01 00:00:00 2023-09-30 00:00:00 แล้วเสร็จ 100.00
4 1.0.2. .. 2566 การซ่อมและบำรุงรักษาเครื่องสูบน้ำ เครื่องผลักดันน้ำและเครื่องจักรกล (กคจ.) กรุงเทพมหานครได้ดำเนินการติดตั้งและตรวจสอบเครื่องสูบน้ำ เครื่องผลักดันน้ำ โดยใช้เครื่องจักรกลและเครื่องทุ่นแรงต่างๆ เพื่อรองรับการป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่อย่างต่อเนื่องตลอดเวลา จึงส่งผลให้เกิดการชำรุดเสียหายจากการใช้งาน เพื่อซ่อมและบำรุงรักษาเครื่องสูบน้ำ เครื่องผลักดันน้ำ และเครื่องจักรกล ให้มีความพร้อมในการนำไปใช้ปฏิบัติงานตลอดเวลา และสำรองเปลี่ยนทดแทนกรณีชำรุดเสียหาย การซ่อมและบำรุงรักษาเครื่องสูบน้ำ เครื่องผลักดันน้ำ และเครื่องจักรกล เป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ 0.00 0.00 สํานักการระบายน้ำ 2022-10-01 00:00:00 2023-09-30 00:00:00 แล้วเสร็จ 100.00
5 1.0.2. .. 2566 โครงการพัฒนาระบบประเมินปริมาณฝนและพยากรณ์ฝนล่วงหน้าโดยใช้ข้อมูลเรดาร์ตรวจอากาศ (กสน.) ในช่วง ๓-๔ ปี ที่ผ่านมานี้ กรุงเทพมหานครต้องประสบกับปัญหาน้ำท่วมขังจากฝนตกในพื้นที่อยู่บ่อยครั้ง สืบเนื่องมาจาก ๒ ปัจจัยหลัก ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงของการใช้ประโยชน์ที่ดินที่มีการขยายตัวของชุมชุนเมืองเพิ่มอย่างรวดเร็ว และการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศโลกที่ทำให้ปริมาณฝนที่ตกมีความเข้มสูงขึ้นมาก ซึ่งทั้งสองปัจจัยทำให้กรุงเทพมหานครจำเป็นต้องมีระบบจัดการระบายน้ำเชิงรุก (Proactive Drainage Management System) สำหรับเป็นเครื่องมือในการติดตาม สั่งการ และรายงานผล ในการจัดการระบายน้ำฝนที่ตกในพื้นที่กรุงเทพมหานครไปสู่ระบบระบายน้ำหลัก (อุโมงค์ระบายน้ำ คลองสายหลัก และสถานีสูบน้ำ) ซึ่งได้มีการจัดทำไว้พร้อมแล้ว เพื่อให้ระบบระบายน้ำหลักที่มีอยู่สามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ สำนักการระบายน้ำจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องดำเนินการนำเครื่องมือที่มีอยู่เดิมมาพัฒนาเพิ่มเติมให้ครบสมบูรณ์ มีความทันสมัย สามารถรองรับเทคโนโลยีสมัยใหม่สำหรับใช้ในการควบคุม ติดตาม คาดการณ์ และโต้ตอบ (Control-Monitor-Forecast-Interact) อันจะส่งผลให้ระบบระบายน้ำของกรุงเทพมหานครทำงานได้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ซึ่งจะเป็นการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนและผลกระทบจากการเกิดน้ำท่วมขังให้แก่ประชาชนที่อยู่อาศัยในกรุงเทพมหานครได้อย่างยั่งยืน ฝนที่ตกหนักเป็นสาเหตุหลักที่ก่อให้เกิดปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่กรุงเทพมหานคร สำนักการระบายน้ำ โดยกองสารสนเทศระบายน้ำ จึงได้จัดทำโครงการจัดทำระบบประเมินน้ำฝนและพยากรณ์ฝนล่วงหน้าในพื้นที่กรุงเทพมหานครโดยใช้ข้อมูลเรดาร์ตรวจอากาศ ซึ่งเป็นการประยุกต์ใช้ข้อมูลปริมาณฝนที่ตรวจวัดในอากาศด้วยเรดาร์มาประเมินเป็นปริมาณฝนที่ตรวจวัดได้จริงโดยใช้วิธีการประเมินฝนและพยากรณ์ฝนจากข้อมูลเรดาร์ที่เป็นมาตรฐานเป็นที่ยอมรับในระดับสากล ทั้งนี้ระบบการพยากรณ์ฝน ที่พัฒนาขึ้นจะสามารถประเมินปริมาณฝนรายชั่วโมงและพยากรณ์ฝนล่วงหน้าได้ ๑-๓ ชั่วโมง (Nowcasting) มีความถูกต้อง แม่นยำ น่าเชื่อถือ สามารถตรวจวัดปริมาณน้ำฝนได้อย่างต่อเนื่องภายใต้รัศมีทำการของเรดาร์ และสามารถเชื่อมโยงข้อมูลการประเมินฝนและพยากรณ์ฝนเข้ากับระบบบริหารจัดการน้ำท่วมของศูนย์ควบคุมระบบป้องกันน้ำท่วมกรุงเทพมหานคร ๒.๑ เพื่อจัดทำระบบประเมินน้ำฝนและการพยากรณ์ฝนล่วงหน้า ๑-๓ ชั่วโมง (Nowcasting) ด้วยเรดาร์ตรวจอากาศ ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร โดยใช้ข้อมูลจากเรดาร์ ๒ สถานีร่วมกัน ซึ่งประกอบด้วยสถานีเรดาร์หนองจอก และสถานีเรดาร์หนองแขม โดยวิธี Composite Radar Reflectivity ให้สามารถประเมินข้อมูลฝนเชิงพื้นที่ในแต่ละเขตของกรุงเทพมหานครได้ ๒.๒ เพื่อเชื่อมโยงระบบการประเมินน้ำฝนและการพยากรณ์ฝนล่วงหน้า ๑-๓ ชั่วโมง เข้ากับระบบบริหารจัดการน้ำท่วมของศูนย์ควบคุมระบบป้องกันน้ำท่วมแบบ Realtime เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการน้ำท่วม การประชาสัมพันธ์และการเตือนภัยล่วงหน้าในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ๓.๑ การประยุกต์ใช้ข้อมูลตรวจวัดปริมาณฝนด้วยเรดาร์ตรวจอากาศเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพบริหารจัดการน้ำท่วมในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ๓.๒ มีระบบประเมินปริมาณฝนและคาดการณ์ฝนล่วงหน้า ๑-๓ ชั่วโมงที่มีความแม่นยำ น่าเชื่อถือ และได้มาตรฐานในระดับสากล 15,000,000.00 0.00 สํานักการระบายน้ำ 2022-10-01 00:00:00 2023-09-30 00:00:00 ไม่ได้รับงบประมาณ 10.00
6 1.0.2. .. 2566 โครงการปรับระดับหมุดหลักฐานทางดิ่ง พร้อมติดตั้งแผ่นวัดระดับน้ำที่อาคารบังคับน้ำ (กสน.) สำนักการระบายน้ำ กรุงเทพมหานคร มีภารกิจหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมพื้นที่กรุงเทพมหานคร และปริมณฑลจากสถานีสูบน้ำ ประตูระบายน้ำ จุดวัดน้ำ แ ละบ่อสูบน้ำที่กระจายอยู่ทั่วพื้นที่กรุงเทพมหานคร เพื่อใช้บริหารจัดการ และวางแผนป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วม การวางแผนป้องกันและแก้ไขปัญหา ต้องมีข้อมูลที่ถูกต้องแม่นยำ โดยเฉพาะข้อมูลทางด้านระดับน้ำ เพื่อจะได้รู้ถึงค่าความสูงของระดับน้ำ ปริมาณน้ำ จึงจำเป็นต้องมีค่าระดับหมุดหลักฐานทางดิ่งที่เป็นปัจจุบันพร้อมแผ่นวัดระดับน้ำ (STAFFGUAGE) จากการเปลี่ยนแปลงทางด้านธรณี แผ่นดินทรุดต่อเนื่องในทุก ๆ ปี จึงต้องปรับค่าระดับที่ติดตั้ง ตั้งแต่ปี 2552 พร้อมค่าระดับหมุดหลักฐานใหม่ กองสารสนเทศระบายน้ำ สำนักการระบายน้ำ จึงได้ดำเนินการโครงการปรับระดับหมุดหลักฐานทางดิ่ง พร้อมติดตั้งแผ่นวัดระดับน้ำ (STAFFGUAGE) โดยดำเนินการรังวัดค่าระดับในลักษณะเป็นวงรอบเพื่อตรวจสอบความถูกต้อง และทำการปรับแก้ค่าระดับทั้งหมด ทั้งฝั่งธนบุรีและฝั่งพระนคร แล้วจึงดำเนินการติดตั้งแผ่นวัดระดับน้ำ (STAFFGUAGE) ให้เป็นไปตามค่าหมุดหลักฐานที่ได้รังวัดไว้จะทำให้ได้ข้อมูลระดับน้ำที่ถูกต้องเป็นปัจจุบันทั้งระบบทั่วพื้นที่กรุงเทพมหานครเพื่อการบริหารจัดการน้ำในการป้องกันและแก้ไขอย่างมีประสิทธิภาพ 2.1 สำรวจปรับระดับหมุดหลักฐานทางดิ่ง ค่าระดับน้ำ รทก. (ระดับน้ำทะเลปานกลาง) ให้มีค่าที่ถูกต้องและเป็นปัจจุบันพร้อมติดตั้งแผ่นวัดระดับน้ำที่สถานีสูบน้ำ ประตูระบายน้ำ จุดวัดน้ำและบ่อสูบน้ำ 2.2 เพื่อให้มีข้อมูลในการเฝ้าระวังและตรวจสอบระดับน้ำในพื้นที่กรุงเทพมหานคร และมีค่าระดับน้ำที่จำเป็นได้ทั่วถึงในการป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมให้เป็นในแนวทางระดับมาตรฐานเดียวกัน 3.1 ติดตั้งหมุดหลักฐานทางดิ่ง (BM) ที่สถานีสูบน้ำ ประตูระบายน้ำ จุดวัดน้ำและบ่อสูบน้ำ จำนวน 700 จุด 3.2 ติดตั้งแผ่นป้ายทองเหลืองบอกค่าระดับ จำนวน 1,300 แผ่น 3.3 ถ่ายค่าระดับจากหมุดหลักฐานติดตั้งแผ่นโลหะเคลือบวัดระดับน้ำ (STAFFGUAGE) จำนวน 1,300 จุด 20,224,000.00 0.00 สํานักการระบายน้ำ 2022-10-01 00:00:00 2023-09-30 00:00:00 กำลังดำเนินการ 64.00
รวม ->6 โครงการ 0 0.00 0.00 0 0.00 0 0.00 0 0 0 0