ลำดับ |
ยุทธศาสตร์ 20 ปี |
แผนแม่บทไอที |
ปีงบประมาณ |
ชื่อโครงการ |
หลักการและเหตุผล |
วัตถุประสงค์โครงการ |
เป้าหมายโครงการ |
งบประมาณที่ได้รับ |
งบประมาณที่ใช้ไป |
หน่วยงานที่รับผิดชอบ |
เริ่มโครงการ |
สิ้นสุดโครงการ |
สถานะโครงการ |
คืบหน้า (ร้อยละ) |
1 |
7.0.5. |
.. |
2566 |
โครงการพัฒนาระบบบริหารทรัพยากรบุคคลของกรุงเทพมหานคร |
กรุงเทพมหานครเป็นองค์กรปกครองท้องถิ่นรูปแบบพิเศษที่มีผู้ปฏิบัติงานในองค์กรจำนวนมาก ประกอบด้วยข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญ ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา-กรุงเทพมหานคร ลูกจ้างประจำของกรุงเทพมหานคร ลูกจ้างชั่วคราว และบุคลากรกรุงเทพมหานคร
ในการเป็นองค์กรกลางด้านการบริหารทรัพยากรบุคคลของกรุงเทพมหานครจำเป็นต้องมีข้อมูลด้านบุคคลของผู้ปฏิบัติงานอย่างครบถ้วน ถูกต้อง และทันสมัยสามารถนำมาจัดทำเป็นสารสนเทศสำหรับการบริหารจัดการด้านการวางแผนกำลังคนและการบริหารงานบุคคลเพื่อให้ผู้บริหารของกรุงเทพมหานคร คณะกรรมการด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล ตลอดจนผู้ปฏิบัติงานสามารถใช้ข้อมูลสารสนเทศด้านบุคคลได้อย่างรวดเร็ว ทันเวลา เกิดประสิทธิภาพ และประสิทธิผลในการบริหารทรัพยากรบุคคลได้สูงสุด
พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการกรุงเทพมหานครและบุคลากรกรุงเทพมหานคร
พ.ศ. 2554 กำหนดให้สำนักงาน ก.ก. มีอำนาจหน้าที่ในการดำเนินการเกี่ยวกับแผนกำลังคน
ของข้าราชการกรุงเทพมหานครและบุคลากรกรุงเทพมหานคร เป็นศูนย์กลางข้อมูลทรัพยากรบุคคล
ของข้าราชการกรุงเทพมหานครและบุคลากรกรุงเทพมหานคร และดำเนินการเกี่ยวกับการรักษาทะเบียน-ประวัติและการควบคุมเกษียณอายุของข้าราชการกรุงเทพมหานครและบุคลากรกรุงเทพมหานคร ร่วมกับหน้าที่อื่น ๆ แต่เนื่องจากปัจจุบันกรุงเทพมหานครยังไม่มีระบบบริหารทรัพยากรบุคคลที่สามารถรวบรวมข้อมูลทางด้านบุคคลเพื่อการบริหารทรัพยากรบุคคลในภาพรวมและจัดทำเป็นสารสนเทศสำหรับ
การตัดสินใจของผู้บริหาร คณะกรรมการ หรือผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องได้
สำนักงาน ก.ก. เห็นความสำคัญของการมีข้อมูลด้านบุคคลของกรุงเทพมหานคร
ที่จำเป็นอย่างยิ่งต่อการบริหารทรัพยากรบุคคลในยุคการเปลี่ยนแปลงสู่การเป็นประเทศไทย 4.0 นับเป็นภารกิจสำคัญของสำนักงาน ก.ก. ที่จะสร้างฐานข้อมูลทรัพยากรบุคคลของผู้ปฏิบัติงานในกรุงเทพมหานครและสร้างระบบสารสนเทศด้านทรัพยากรบุคคลซึ่งจะเป็นเครื่องมือสำคัญสำหรับผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานด้านบุคคล ซึ่งจะต้องมีการดำเนินการอย่างเร่งด่วนให้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในยุคดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่น จึงจัดทำโครงการพัฒนาระบบบริหารทรัพยากรบุคคลของกรุงเทพมหานครขึ้น |
1. กรุงเทพมหานครมีระบบบริหารทรัพยากรบุคคลที่สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์ต่อกรุงเทพมหานคร
2. กรุงเทพมหานครมีข้อมูลสารสนเทศด้านบุคคลสำหรับใช้ในการตัดสินใจเพื่อการบริหารทรัพยากรบุคคลที่มีประสิทธิภาพ |
พัฒนาระบบบริหารทรัพยากรบุคคลของกรุงเทพมหานครให้สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์ต่อกรุงเทพมหานคร |
11,125,900.00 |
0.00 |
สํานักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร |
2022-10-01 00:00:00 |
2024-09-30 00:00:00 |
กำลังดำเนินการ |
80.00 |
2 |
7.0.2. |
.. |
2566 |
สำรวจจัดสร้างและปรับปรุงหมุดหลักฐานทางดิ่งและทางราบในบริเวณกรุงเทพมหานคร |
กรุงเทพมหานครได้กำหนดมาตรฐานในการก่อสร้างในส่วนที่เกี่ยวกับระดับความสูงของสิ่งก่อสร้าง เช่น ระดับผิวจราจรของถนนโดยเปรียบเทียบกับค่าระดับน้ำทะเลปานกลางของประเทศไทย (รทก.) ที่บริเวณเกาะหลัก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โดยจัดสร้างหมุดอ้างอิงในบริเวณกรุงเทพมหานคร กระจายอยู่ทั่วไปเพื่อใช้อ้างอิงในการก่อสร้างในแต่ละบริเวณของพื้นที่กรุงเทพมหานครโดยในอดีตก่อนปี พ.ศ. 2522 มีการจัดสร้างหมุดอ้างอิงไว้ตามโครงการต่าง ๆ กระจายอยู่ทั่วไป ไม่มีการรวบรวมเป็นหมวดหมู่ทำให้ยากต่อการใช้งานและไม่มีโอกาสตรวจสอบและปรับแก้หมุดหลักฐานเหล่านี้อย่างเป็นระบบ
จึงพิจารณาเห็นว่าควรทำการตรวจสอบค่าระดับของหมุดอย่างสม่ำเสมอ กล่าวคือควรทำทุกรอบ 5 ปี ถ้าหากนานมากกว่า 5 ปีแล้ว ข้อมูลค่าระดับต่าง ๆ ของหมุดจะเริ่มมีความคลาดเคลื่อนผิดไปจากเดิม หากไม่ดำเนินการปรับปรุงใหม่และทิ้งระยะเวลาไว้นานดังเช่นในอดีต ก็จะเกิดความคลาดเคลื่อนสูงมากขึ้น หากนำไปใช้จะก่อให้เกิดความเสียหายมาก และจากเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่ในปลายปี พ.ศ. 2554 มีเสียงเรียกร้องจากประชาชนผ่านสื่อมวลชนต่าง ๆ ต้องการจะทราบว่าน้ำจะท่วมสูงกว่าหลังถนนเท่าใด ทำให้ไม่สามารถที่จะวางแผนการป้องกันน้ำท่วมได้ ซึ่งโดยข้อเท็จจริง สำนักการโยธาได้ดำเนินการทำแผนที่ค่าระดับหลังถนนสายหลัก ๆ ไว้แล้วตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550 และได้ติดตั้งป้ายบอกค่าระดับแล้วในปี พ.ศ. 2557
แต่ยังไม่ครอบคลุมพื้นที่ทั่วกรุงเทพมหานครและระดับหลังถนนดังกล่าวมีการทรุดตัวไปตามระยะเวลา ค่าระดับหลังถนนจึงไม่เป็นปัจจุบัน ในการปรับปรุงหมุดหลักฐานใหม่ในครั้งนี้จะได้ทำแผนที่ค่าระดับหลังถนนต่าง ๆ และป้ายบอกค่าระดับให้มากขึ้น รวมทั้งประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนโดยทั่วไปทราบ เพื่อประโยชน์ในการป้องกันปัญหาน้ำท่วมในอนาคต |
เพื่อปรับปรุงค่าระดับของหมุดควบคุมทางดิ่งที่มีอยู่ให้มีค่าที่ถูกต้องตรงกับความเป็นจริงและซ่อมแซมหมุดหลักฐานทางดิ่งที่เสียหายให้สามารถใช้งานได้ |
จัดสร้างหมุดหลักฐานทางราบ จำนวน 5 คู่ (10 หมุด) |
6,200,000.00 |
0.00 |
สํานักการโยธา |
2022-10-01 00:00:00 |
2024-03-31 00:00:00 |
กำลังดำเนินการ |
35.00 |
3 |
7.0.1. |
.. |
2566 |
การดำเนินการพัฒนาและจัดเก็บฐานข้อมูลของสำนักการจราจรและขนส่ง |
การดำเนินงานตามภารกิจ จำเป็นต้องรวบรวมข้อมูลจราจรที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำมาพัฒนาโปรแกรมประยุกต์ด้านจราจรในการบริหารจัดการหรือประกอบการตัดสินใจของผู้บริหารได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังเป็นช่องทางเสริมสร้างภาพลักษณ์ของหน่วยงานในการสื่อสารและให้บริการข้อมูลจราจรแก่ประชาชนหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง |
1 เพื่อพัฒนาระบบสารสนเทศด้านจราจรสำหรับการบริหารจัดการและให้บริการประชาชน
2 เพื่อเป็นศูนย์กลางในการบริหารจัดการข้อมูลและเชื่อมต่อระบบต่างๆ ของสำนักการจราจรและขนส่ง
3. เพื่อการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างหน่วยงานและประชาชน
|
พัฒนาและจัดเก็บฐานข้อมูลที่มีความสำคัญต่อการปฏิบัติงานหรือการให้บริการ |
0.00 |
0.00 |
สํานักการจราจรและขนส่ง |
2022-10-01 00:00:00 |
2023-09-30 00:00:00 |
แล้วเสร็จ |
100.00 |
4 |
7.0.2. |
.. |
2566 |
โครงการจัดหาระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการเครื่องคอมพิวเตอร์ลูกข่าย (Desktop Management) |
หน่วยงานต่าง ๆ ของกรุงเทพมหานครได้จัดหาเครื่องคอมพิวเตอร์ลูกข่าย มาเชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายสื่อสารของกรุงเทพมหานครสำหรับใช้งานระบบสารสนเทศต่าง ๆ เช่น ระบบ MIS ระบบงาน 50 สำนักงานเขต และระบบงานอื่น ๆ ที่พัฒนามาเพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการปฏิบัติงานและให้บริการประชาชน ปัจจุบันมีเครื่องคอมพิวเตอร์ลูกข่าย มากกว่า 25,000 เครื่อง ที่เชื่อมต่อใช้งานเข้ากับระบบเครือข่ายสื่อสารดังกล่าว ซึ่งจากจำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์ลูกข่ายที่มีจำนวนมาก จึงส่งผลให้การดูแลบำรุงรักษา และการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นกับเครื่องคอมพิวเตอร์ลูกข่ายจำเป็นต้องดำเนินการในเชิงป้องกันและในกรณีที่เกิดเหตุขัดข้องขึ้นกับเครื่องคอมพิวเตอร์ลูกข่ายจำเป็นต้องแก้ไขโดยรวดเร็ว เพื่อให้หน่วยงานสามารถใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ลูกข่าย ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และไม่มีผลกระทบต่อผู้ใช้งานและประชาชนที่มาใช้บริการจึงมีความจำเป็นต้องจัดหาระบบควบคุมและบริหารจัดการเครื่องลูกข่ายเพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการตรวจสอบสถานะ และแก้ไขให้ Hardware และ Software ให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพและเพื่อป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้น รวมถึงช่วยลดเวลา ลดขั้นตอนในการแก้ไขปัญหากับเครื่องคอมพิวเตอร์ลูกข่ายที่ใช้ตามหน่วยงานต่าง ๆ ของกรุงเทพมหานคร และลดค่าใช้จ่ายในการเดินทางเพื่อไปแก้ไขปัญหาที่หน่วยงานและเป็นการวางแนวทางการกำหนดนโยบายการจัดการระบบสารสนเทศของกรุงเทพมหานคร ให้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น |
เพื่อเป็นการปรับปรุงให้บริการแก้ไขปัญหาเครื่องคอมพิวเตอร์ลูกข่ายของหน่วยงานกรุงเทพมหานครให้เป็นจุดบริการจุดเดียวเบ็ดเสร็จ สามารถแก้ไขปัญหาข้อขัดข้องของเครื่องคอมพิวเตอร์ลูกข่ายได้รวดเร็ว และครอบคลุมปัญหาที่เกี่ยวข้องกับระบบคอมพิวเตอร์ มีความสะดวกรวดเร็วในการปรับแต่งระบบโปรแกรม หรือติดตั้งเพิ่มเติมเพื่อนำมาใช้งานตามความประสงค์ของหน่วยงาน ประกอบด้วย สำนักงานเขต 50 เขต สำนักการคลัง และผู้บริหารกรุงเทพมหานคร |
จัดหาระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการเครื่องคอมพิวเตอร์ลูกข่าย (Desktop Management) ของกรุงเทพมหานครเพื่อให้มีเครื่องมือวิเคราะห์ข้อมูลของเครื่องคอมพิวเตอร์ลูกข่ายและระบบโปรแกรมที่ใช้ปฏิบัติงานภายในหน่วยงานของกรุงเทพมหานครโดยสามารถดำเนินการและบริหารจัดการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ลูกข่ายได้จากส่วนกลาง ซึ่งจะลดเวลาในการแก้ไขปัญหา เพิ่มความสะดวกรวดเร็ว และสร้างความเชื่อถือให้กับหน่วยงานของกรุงเทพมหานคร |
11,548,800.00 |
0.00 |
สํานักยุทธศาสตร์และประเมินผล |
2022-10-01 00:00:00 |
2023-09-30 00:00:00 |
กำลังดำเนินการ |
90.00 |
5 |
7.0.2. |
.. |
2566 |
โครงการจัดทำระบบการวางแผนทรัพยากรองค์กรของกรุงเทพมหานคร (BMA-ERP) |
ดำเนินการโครงการจัดทำระบบการวางแผนทรัพยากรองค์กรของกรุงเทพมหานคร (BMA-ERP) เพื่อพัฒนาระบบการบริหารจัดการทรัพยากรองค์กร (Enterprise
Resource Planning : ERP) ของกรุงเทพมหานคร สำหรับทดแทนระบบ MIS 2 ให้สามารถรองรับกับระเบียบ
นโยบาย และแผนการปฏิบัติราชการที่เปลี่ยนแปลง สำหรับการปฏิบัติงานด้านการเงิน บัญชี และระบบทรัพย์สินของหน่วยงานในกรุงเทพมหานคร ขยายขอบเขตการใช้งานหรือให้บริการได้อย่างครอบคลุม มีเสถียรภาพ สามารถบริหารจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีข้อมูลที่สามารถสนับสนุนการตัดสินใจของผู้บริหารกรุงเทพมหานครได้ เพื่อมุ่งสู่การเป็นรัฐบาลดิจิทัล |
๑ เพื่อให้กรุงเทพมหานครมีระบบการวางแผนทรัพยากรองค์กรของกรุงเทพมหานคร
๒ เพื่อจัดทำระบบให้รองรับมาตรฐานผังบัญชีและการบันทึกบัญชีให้เป็นไปตามแนวทางการบัญชีภาครัฐ |
๑ มีระบบสารสนเทศที่รองรับการปฏิบัติงานด้านการเงิน บัญชี และทรัพย์สินของกรุงเทพมหานครได้อย่างครอบคลุม ครบถ้วน
๒ เพื่อให้สามารถนำข้อมูลมาใช้ในการบริหารจัดการ และติดตามงานในภาพรวมของกรุงเทพมหานคร |
218,035,400.00 |
0.00 |
สํานักยุทธศาสตร์และประเมินผล |
2022-10-01 00:00:00 |
2023-09-30 00:00:00 |
กำลังดำเนินการ |
30.00 |
6 |
7.0.1. |
.. |
2566 |
จ้างที่ปรึกษาจ้างบริการวิชาการในด้านดิจิทัลเพื่อการขับเคลื่อนนโยบายและยุทธศาสตร์ดิจิทัลในการพัฒนากรุงเทพมหานคร |
การบริหารงานของกรุงเทพมหานครมีการประยุกต์นำเทคโนโลยีดิจิทัล เป็นเครื่องมือหลักในการพัฒนา และปฏิรูปกระบวนการทำงานให้ทันสมัย ถูกต้อง รวดเร็ว และเป็นเครื่องมือกำหนดยุทธศาสตร์ การขับเคลื่อนการพัฒนาเมือง ให้สอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาประเทศ ทั้งนี้ผู้บริหารสามารถเห็นภาพรวมการเชื่อมโยงของข้อมูล และสามารถวางแผนการพัฒนาเมือง และบริการสาธารณะ รวมทั้งกำหนดนโยบาย และแนวทางปฏิบัติ ด้านดิจิทัลในการพัฒนากรุงเทพมหานคร และการสร้างนวัตกรรมบริการใหม่ ๆ เพื่อให้บริการกับประชาชน สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล มีพันธกิจในการกำหนดนโยบาย เป้าหมายการจัดทำและพัฒนาแผนพัฒนากรุงเทพมหานคร โดยการแปลงยุทธศาสตร์ เป็นแผนนำไปสู่การปฏิบัติ การติดตามและประเมินผล การดำเนินการ รวมทั้งการบริหารจัดการพัฒนา และให้บริการด้านเทคโนโลยี สารสนเทศ ของกรุงเทพมหานคร เพื่อผลักดันให้กรุงเทพมหานครเป็นรัฐบาลดิจิทัล จึงเสนอโครงการนี้เพื่อศึกษาการวิเคราะห์ด้านดิจิทัล เพื่อการขับเคลื่อนนโยบาย และยุทธศาสตร์ดิจิทัลในการพัฒนากรุงเทพมหานคร และจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายที่ใช้กำหนดนโยบายและยุทธศาสตร์เชิงรุก และข้อเสนอแนะการเปิดเผยข้อมูลศักยภาพสูงของกรุงเทพมหานคร (Open Bangkok) รวมทั้งความพร้อมและต้องการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล และโครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยีดิจิทัล โดยข้อมูลที่ได้ จากการวิเคราะห์ จะเป็นกลไกสำคัญ ในการขับเคลื่อน การพัฒนาเมือง และเพิ่มศักยภาพ ของกรุงเทพมหานคร ให้พัฒนาไปสู่ การเป็นมหานครชั้นนำ ของเอเชียต่อไป
|
2.1 เพื่อให้กรุงเทพมหานครมีแนวทาง การพัฒนาเพื่อการขับเคลื่อนนโยบาย และยุทธศาสตร์ดิจิทัล ในการพัฒนากรุงเทพมหานคร ที่สอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาประเทศ
2.2 เพื่อศึกษาข้อมูลตามภารกิจ ข้อมูลขนาดใหญ่ ข้อมูลเปิดของหน่วยงานกรุงเทพมหานคร และข้อมูลของหน่วยงานภายนอกที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานของกรุงเทพมหานครในการจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายที่สามารถนำมาใช้กำหนดนโยบายและยุทธศาสตร์เชิงรุกที่สามารถแปลงไปสู่การปฏิบัติได้อย่างเหมาะสม รวมทั้งข้อเสนอแนะการเปิดเผยข้อมูลศักยภาพสูงของกรุงเทพมหานคร (Open Bangkok)
2.3 เพื่อเป็นแนวทางในการกำหนดนโยบายและแนวทางปฏิบัติในการพัฒนากรุงเทพมหานครให้เป็นรัฐบาลดิจิทัล โดยศึกษาความพร้อมและความต้องการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล และโครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยีดิจิทัล ซึ่งครอบคลุมในส่วนของการปรับเปลี่ยนรูปแบบวิธีการปฏิบัติงาน การบูรณาการบริการและข้อมูลภาครัฐ การให้บริการภาครัฐ และกฎหมายที่เกี่ยวข้องเพื่อให้หน่วยงานของกรุงเทพมหานครสามารถให้บริการประชาชนผ่านช่องทางดิจิทัลได้อย่างเบ็ดเสร็จและไร้รอยต่อ
2.4 เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาบุคลากรของกรุงเทพมหานครให้มีความพร้อม และความรู้ด้านข้อมูลดิจิทัลและด้านเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อใช้ในการปฏิบัติงานตามภารกิจ
|
กรุงเทพมหานครมีการขับเคลื่อนนโยบายและยุทธศาสตร์ดิจิทัลในการพัฒนากรุงเทพมหานครให้เป็นรัฐบาลดิจิทัล โดยมียุทธศาสตร์และการวางแผนกลยุทธ์ในการบริหารจัดการเมืองและบริการสาธารณะ เพื่อให้กรุงเทพมหานครเป็นเมืองน่าอยู่อย่างยั่งยืนและประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี
|
14,142,000.00 |
0.00 |
สํานักยุทธศาสตร์และประเมินผล |
2022-10-01 00:00:00 |
2023-09-30 00:00:00 |
กำลังดำเนินการ |
70.00 |
7 |
7.0.4. |
.. |
2566 |
ระบบป้องกันไฟฟ้าสำหรับเครือข่ายสื่อสารข้อมูล |
กรุงเทพมหานครได้นำระบบเครือข่ายสื่อสารข้อมูลมาใช้ในงานบริหารจัดการ การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ รวมถึงการให้บริการประชาชนผ่านระบบงานสานสนเทศต่างๆ เช่น ระบบงาน MIS ระบบงาน 50 เขต ระบบงานทะเบียนราษฎร และระบบงานสารสนเทศต่างๆ ของหน่วยงาน ปัจจุบันเครือข่ายสื่อสารข้อมูลมีเพียงเครื่องสำรองไฟฟ้าเท่านั้นที่ทำหน้าที่ป้องกันไฟฟ้ากระชากเข้ามาในระบบเครือข่ายสื่อสาร ซึ่งทำหน้าที่ได้ไม่เหมาะสม ทำให้เวลามีเหตุการณ์จากฟ้าผ่า หรือ ไฟฟ้ากระชากจากนอกอาคารเหนี่ยวนำ เข้ามา ไม่สามารถป้องกันได้อย่างรวดเร็วพอ ทำให้อุปกรณ์ของระบบเครือข่ายสื่อสารข้อมูลเสียหายอย่างมาก และทำให้บริหารจัดการ การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ รวมถึงการให้บริการประชาชนผ่านระบบงานสารสนเทศต่างๆ ไม่สามารถปฏิบัติงานต่อไปได้ ทั้งนี้การป้องกันความเสียหายซึ่งนำไปสู่การแก้ไขปัญหา เชิงรุก และรักษาป้องกันอุปกรณ์เครือข่ายสื่อสารให้สามารถใช้งานได้ตลอดโดยไม่มีผลกระทบดังกล่าว จึงจำเป็นต้องติดตั้งระบบอุปกรณ์ป้องกันไฟฟ้าตามหน่วยงาน ที่ติดตั้งระบบเครือข่ายสื่อสารข้อมูลหลัก จำนวน 70 หน่วยงาน เพื่อป้องกันความเสียหายต่ออุปกรณ์ที่มีมูลค่าสูง และสร้างเสถียรภาพการทำงาน ของระบบ โดยระบบจะมีการส่งข้อมูลเหตุการณ์ จากการเกิดไฟฟ้ากระชาก มายังส่วนกลางเพื่อนำมาเป็นข้อมูลในการบริหารจัดการ และดำเนินการป้องกันอย่างยั่งยืนต่อไป |
เพื่อป้องกันไฟฟ้ากระชาก ป้องกันความเสียหายต่ออุปกรณ์ระบบเครือข่ายสื่อสารข้อมูล ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ลดความสูญเสียจากปัญหาระบบไฟฟ้าที่เกิดขึ้น ต่อระบบเครือข่ายสื่อสารข้อมูล |
มีระบบป้องกันไฟฟ้ากระชากที่เกิดขึ้น และก่อความเสียหายให้กับระบบเครือข่ายสื่อสารข้อมูล พร้อมระบบบริหารจัดการข้อมูลในการตรวจสอบ และวิเคราะห์เพื่อแก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ |
13,013,875.00 |
0.00 |
สํานักยุทธศาสตร์และประเมินผล |
2023-10-01 00:00:00 |
2024-09-30 00:00:00 |
กำลังดำเนินการ |
60.00 |
8 |
7.0.3. |
.. |
2566 |
กิจกรรมการพัฒนาและจัดเก็บฐานข้อมูลสำหรับบูรณาการภารกิจของหน่วยงาน |
|
1. แต่งตั้งคณะทำงานธรรมาภิบาลข้อมูลและคณะทำงานบริกรข้อมูลระดับหน่วยงาน จัดทำบัญชีรายการข้อมูลทั้งหมด และจัดทำแผนพัฒนาข้อมูลที่มีคุณภาพสูงของหน่วยงาน ระยะ 4 ปี (พ.ศ. 2566 - 2569) 2. จัดทำและปรับปรุงข้อมูลตามแผนพัฒนาข้อมูลที่มีคุณภาพสูงของหน่วยงาน และเผยแพร่บนศูนย์ข้อมูลเปิดภาครัฐของกรุงเทพมหานคร พร้อมคำอธิบายข้อมูลดิจิทัล และพจนานุกรม 3. นำเข้าข้อมูลที่ได้จัดทำพัฒนาเป็น Dashboard ที่แสดงผลการวิเคราะห์เพื่อสนับสนุนการตัดสินใจตามภารกิจของหน่วยงาน |
1. แต่งตั้งคณะทำงานธรรมาภิบาลข้อมูลและคณะทำงานบริกรข้อมูลระดับหน่วยงาน จัดทำบัญชีรายการข้อมูลทั้งหมด และจัดทำแผนพัฒนาข้อมูลที่มีคุณภาพสูงของหน่วยงาน ระยะ 4 ปี (พ.ศ. 2566 - 2569) 2. จัดทำและปรับปรุงข้อมูลตามแผนพัฒนาข้อมูลที่มีคุณภาพสูงของหน่วยงาน และเผยแพร่บนศูนย์ข้อมูลเปิดภาครัฐของกรุงเทพมหานคร พร้อมคำอธิบายข้อมูลดิจิทัล และพจนานุกรม 3. นำเข้าข้อมูลที่ได้จัดทำพัฒนาเป็น Dashboard ที่แสดงผลการวิเคราะห์เพื่อสนับสนุนการตัดสินใจตามภารกิจของหน่วยงาน |
0.00 |
0.00 |
สํานักยุทธศาสตร์และประเมินผล |
2023-10-01 00:00:00 |
2024-09-30 00:00:00 |
กำลังดำเนินการ |
80.00 |
9 |
7.0.2. |
.. |
2566 |
ค่าใช้จ่ายในการจัดทำและปรับปรุงเว็บไซต์การท่องเที่ยวกรุงเทพมหานคร |
กรุงเทพมหานครเป็นเมืองศูนย์กลางด้านการท่องเที่ยวที่มีความโดดเด่นแห่งหนึ่งของโลก เป็นเมืองจุดหมายปลายทางที่มีเสน่ห์ดึงดูดให้นักท่องเที่ยวจำนวนมากนิยมเดินทางมาท่องเที่ยว ด้วยความหลากหลายของศิลปวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี สถาปัตยกรรม วิถีชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คน อาหาร และความคุ้มค่าในการท่องเที่ยว เป็นสิ่งที่สร้างความประทับใจและจูงใจให้นักท่องเที่ยวเดินทางมาท่องเที่ยวยังกรุงเทพมหานครเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ปัจจุบัน สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ที่มีการแพร่ระบาดในช่วงปลายปี พ.ศ. ๒๕๖๒ เป็นต้นมา ส่งผลให้นักท่องเที่ยวมีข้อจำกัดด้านการเดินทางมาท่องเที่ยวในกรุงเทพมหานคร จึงทำให้รูปแบบและความต้องการด้านท่องเที่ยวมีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม นั่นคือนักท่องเที่ยวมีแนวโน้มพฤติกรรมเดินทางท่องเที่ยวด้วยตนเองมากขึ้น และมีความต้องการท่องเที่ยวแบบเว้นระยะห่างและลดการสัมผัสเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดต่อ ประกอบกับนักท่องเที่ยวมีความต้องการค้นหาประสบการณ์ที่แปลกใหม่ ต้องการการเข้าถึงข้อมูลต่าง ๆ ได้โดยง่าย เพื่อประกอบการวางแผนเดินทางท่องเที่ยวได้ด้วยตนเอง
ส่วนการท่องเที่ยว สำนักงานวัฒนธรรมและการท่องเที่ยว สำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว ตระหนักถึงการเตรียมความพร้อมเพื่อให้บริการข้อมูลนักท่องเที่ยว และประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการท่องเที่ยวของกรุงเทพมหานครให้นักท่องเที่ยวสามารถเข้าถึงข้อมูลได้อย่างสะดวกและมีความน่าสนใจ ทางหน่วยงานจึงได้ดำเนินโครงการค่าใช้จ่ายในการจัดทำและปรับปรุงเว็บไซต์การท่องเที่ยวกรุงเทพมหานคร
ที่สามารถตอบสนองต่อทุกความต้องการของนักท่องเที่ยว เช่น สถานที่ท่องเที่ยว ร้านอาหาร/ภัตตาคาร ที่พัก ความปลอดภัยในการเดินทาง คำแนะนำด้านการท่องเที่ยว ฯลฯ ผ่านเว็บไซต์ที่มีความน่าสนใจ ทันสมัยและมีการออกแบบเว็บไซต์ที่เน้นผู้ใช้งานเป็นศูนย์กลาง (User-centered design) โดยพัฒนาเว็บไซต์ให้ผู้ใช้งานเข้าใจและใช้งานได้ง่าย เพื่อเป็นสื่อในการจูงใจนักท่องเที่ยว และสร้างภาพลักษณ์ที่ดี กระตุ้นให้นักท่องเที่ยวเกิดความต้องการเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวยังกรุงเทพมหานคร อีกทั้ง เพื่อพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันทางด้านการท่องเที่ยวของเว็บไซต์การท่องเที่ยวกรุงเทพมหานครให้อยู่ในระดับสากล
|
๒.๑ เพื่อรวบรวมข้อมูล ปรับปรุง และนำเสนอข้อมูลด้านการท่องเที่ยวของกรุงเทพมหานคร
ที่น่าสนใจและเป็นปัจจุบันผ่านทางเว็บไซต์การท่องเที่ยวกรุงเทพมหานคร
๒.๒ เพื่อให้นักท่องเที่ยวสามารถเข้าถึงข้อมูลหรือแหล่งท่องเที่ยวกรุงเทพมหานครได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
๒.๓ เพื่อกระตุ้นและดึงดูดนักท่องเที่ยวให้เดินทางมาท่องเที่ยวในกรุงเทพมหานครมากยิ่งขึ้น
๒.๔ สนับสนุนแผนพัฒนากรุงเทพมหานคร ๒๐ ปี (พ.ศ.๒๕๕๖ – ๒๕๗๕) ยุทธศาสตร์ที่ ๖ มหานครแห่งเศรษฐกิจและการเรียนรู้ ยุทธศาสตร์ย่อยที่ ๖.๓ ศูนย์กลางการท่องเที่ยวระดับโลก
๒.๕ เพื่อสนับสนุนนโยบายของผู้บริหารกรุงเทพมหานครด้านส่งเสริมการท่องเที่ยว ตามแนวคิด “กรุงเทพฯ เมืองยิ้ม” หรือ “Bangkok Smiles”
|
ดำเนินการพัฒนาเว็บไซต์ รวบรวมข้อมูลด้านการท่องเที่ยวในเว็บไซต์การท่องเที่ยวกรุงเทพมหานคร www.bangkoktourist.com หรือชื่ออื่นที่กรุงเทพมหานครกำหนด ให้มีข้อมูลด้านการท่องเที่ยวต่าง ๆ เช่น
แหล่งท่องเที่ยว ร้านอาหาร/ภัตตาคาร ที่พัก กิจกรรมการท่องเที่ยว คำแนะนำ และข้อมูลอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับ
การท่องเที่ยว จัดทำและปรับปรุงข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน พร้อมทั้งนำเสนอให้เกิดความน่าสนใจ โดยจัดทำเนื้อหาในเว็บไซต์เป็น ๓ ภาษา (ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และภาษาจีน) และนำเทคโนโลยีอื่น ๆ มาร่วมนำเสนอเพื่อให้เว็บไซต์มีความน่าสนใจ เพิ่มการรับรู้เกี่ยวกับกรุงเทพมหานครในมิติต่าง ๆ เพื่อให้สามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวให้
เข้ามาท่องเที่ยวในกรุงเทพมหานครเพิ่มมากขึ้น
|
2,500,000.00 |
0.00 |
สํานักวัฒนธรรม กีฬาและการท่องเที่ยว |
2022-10-01 00:00:00 |
2023-09-30 00:00:00 |
แล้วเสร็จ |
100.00 |
10 |
7.0.1. |
.. |
2566 |
ค่าใช้จ่ายในการจัดงานวันสำคัญ อนุรักษ์สืบสานวัฒนธรรมประเพณี |
ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีวัฒนธรรมประเพณีและวันสำคัญอันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะที่สืบทอดมาช้านานควรแก่การดำรงรักษาอนุรักษ์สืบทอดไว้สำนักงานเขตพญาไทจึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้นเพื่ออนุรักษ์สืบสานวัฒนธรรมประเพณีไทยให้ดำรงเป็นเอกลักษณ์ของไทยสืบไป |
1. เพื่อเป็นการส่งเสริม อนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมประเพณีอันดีงามของไทย
2. เพื่อสร้างความภาคภูมิใจในเอกลักษณ์วัฒนธรรมประเพณีของท้องถิ่นและตระหนักถึงคุณค่าในการรักษาไว้ให้คงอยู่
3. เพื่อเป็นการเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนทั้งภาครัฐและเอกชน |
1. ดำเนินการในวันสำคัญต่าง ๆ จำนวน 7 กิจกรรม
2. ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้แก่ ข้าราชการลูกจ้าง เด็กและเยาวชน ประชาชน ผู้สูงอายุในพื้นที่เขตพญาไท |
500,000.00 |
324,110.00 |
สำนักงานเขตพญาไท |
2022-10-01 00:00:00 |
2023-09-30 00:00:00 |
แล้วเสร็จ |
100.00 |
11 |
7.0.1. |
.. |
2566 |
ค่าใช้จ่ายในการสนับสนุนการดำเนินงานของคณะกรรมการชุมชน |
การพัฒนาชุมชนเป็นกระบวนการเคลื่อนไหวไปสู่การเปลี่ยนแปลงเน้นการมีส่วนร่วมของประชาชนให้สามารถพึ่งพาและช่วยเหลือตนเองได้เป็นการยกระดับชุมชนให้ดีขึ้นรวมไปถึงสังคมที่พัฒนาตามมาด้วย |
1. ประชาชนสามารถช่วยเหลือตนเองได้
2. การจัดกิจกรรมด้านการพัฒนาชุมชนประสบความสำเร็จประชาชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชน
3. ชุมชนรู้จักการบริหารจัดการและทำประโยชน์ให้แก่ชุมชน จากงบประมาณที่ได้รับการสนับสนุน |
ดำเนินการเบิกจ่ายเงินค่าสนับสนุนการดำเนินงานของคณะกรรมการชุมชนในการจัดกิจกรรมด้านพัฒนาชุมชนในพื้นที่เขตพญาไท จำนวน 22 ชุมชน |
1,680,000.00 |
1,554,800.00 |
สำนักงานเขตพญาไท |
2022-10-01 00:00:00 |
2023-09-30 00:00:00 |
แล้วเสร็จ |
100.00 |
12 |
7.0.1. |
.. |
2566 |
ค่าใช้จ่ายศูนย์ประสานงานธนาคารสมองของกรุงเทพมหานคร (พญาไท) |
เพื่อให้เห็นถึงคุณค่าคุณประโยชน์ที่ผู้สูงอายุมีต่อสังคม รวมทั้งความรู้ความสามารถและส่งเสริมการถ่ายทอดภูมิความรู้ประสบการณ์อันดีงามจากผู้อาวุโสสู่คนรุ่นใหม่ |
1. เป็นศูนย์กลางของการประสานและเป็นศูนย์กลางข้อมูลด้านผู้สูงอายุที่มีทั้งความรู้ความสามารถและประสบการณ์ในสาขาต่าง ๆ อันจะนำมาช่วยงานของส่วนรวมและของกรุงเทพมหานคร
2. เสริมสร้างความตระหนักในคุณค่าและคุณประโยชน์ที่ผู้สูงอายุมีต่อสังคมโดยส่วนรวมและให้เกิดความเคารพยกย่องผู้สูงอายุ อันนำไปสู่แนวทางการลดปัญหาสังคม
3. เป็นการส่งเสริมให้ผู้สูงอายุได้ถ่ายทอดภูมิปัญญาที่มีอยู่แก่คนรุ่นหลัง |
ผู้สูงอายุได้รับการเชิดชูยกย่องภูมิปัญญาจำนวน 1 รายและถ่ายทอดภูมิปัญญาที่มีอยู่แก่คนรุ่นใหม่ |
10,000.00 |
10,000.00 |
สำนักงานเขตพญาไท |
2022-10-01 00:00:00 |
2023-09-30 00:00:00 |
แล้วเสร็จ |
100.00 |
13 |
7.0.1. |
.. |
2566 |
ค่าใช้จ่ายในการส่งเสริมกิจการสภาเด็กและเยาวชนกรุงเทพมหานคร |
สำนักงานเขตพญาไทได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบดำเนินการจัดให้มีสภาเด็กและเยาวชนเขตพญาไท เพื่อเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินงานและขับเคลื่อนการพัฒนาเด็กและเยาวชนในพื้นที่และสนับสนุนให้เด็กและเยาวชนได้แสดงความคิดเห็นหรือแสดงออกอย่างสอดคล้องกับความรู้ ความสามารถที่พัฒนาไปตามวัยเพื่อก้าวสู่การเป็นผู้นำในการพัฒนากรุงเทพมหานคร |
1. สภาเด็กและเยาวชนเขตพญาไทมีความเข้มแข็งและยั่งยืน เป็นการส่งเสริมสนับสนุนการรวมกลุ่มของเด็กและเยาวชนให้มีการแสดงออกในแนวทางที่เหมาะสม
2. ให้เด็กและเยาวชนที่เข้าร่วมโครงการหรือกิจกรรมสามารถพัฒนาระบบความคิดและมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการท้องถิ่นของตนเพื่อเตรียมพร้อมในการเติบโตเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณค่าพัฒนากรุงเทพมหานครและประเทศไทยต่อไปในอนาคต |
เด็ก เยาวชนในพื้นที่เขตพญาไท ซึ่งมีความสนใจและขึ้นทะเบียนเป็นสมาชิกของสภาเด็กและเยาวชนในแต่ละสำนักงานเขต |
180,000.00 |
170,414.00 |
สำนักงานเขตพญาไท |
2022-10-01 00:00:00 |
2023-09-30 00:00:00 |
แล้วเสร็จ |
100.00 |
14 |
7.0.2. |
.. |
2566 |
กิจกรรมการพัฒนาและจัดเก็บฐานข้อมูล |
ตามคู่มือการประเมินผลการปฏิบัติราชการตามคำรับรองการปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566 |
ตามคู่มือการประเมินผลการปฏิบัติราชการตามคำรับรองการปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566 |
ตามคู่มือการประเมินผลการปฏิบัติราชการตามคำรับรองการปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566 |
0.00 |
0.00 |
สำนักงานเขตพญาไท |
2022-10-01 00:00:00 |
2023-09-30 00:00:00 |
แล้วเสร็จ |
100.00 |
15 |
7.0.1. |
.. |
2566 |
โครงการการเพิ่มประสิทธิภาพในการกำกับร้านอาหารให้จัดเก็บไขมัน (องค์ประกอบที่ 4 นวัตกรรม) |
ปัจจุบันเขตวัฒนามีร้านอาหาร จำนวน 1,445 แห่ง ถึงแม้ว่าตามกฎหมายร้านอาหารต้องติดตั้งถังดักไขมันทั้งหมด เพื่อดักไขมันจากน้ำทิ้งก่อนระบายออกท่อระบายน้ำสาธารณะ แต่ก็ยังพบว่ามีไขมันในท่อระบายน้ำ ทำให้ท่อระบายน้ำอุดตัน ระบายน้ำได้ไม่ดี พอฝนตกน้ำระบายได้ช้าเกิดน้ำท่วมขัง
น้ำมันและไขมัน (Oil and Grease) เป็นสารอาหารที่มีอยู่ในธรรมชาติได้มาจากพืชและสัตว์ น้ำเสียจากร้านอาหารที่มีน้ำมันและไขมันปนเปื้อนส่วนใหญ่มาจากการประกอบอาหาร ได้ก่อให้เกิดปัญหาน้ำมันและไขมันปล่อยออกสู่สิ่งแวดล้อมเป็นจำนวนมาก โดยอาจก่อให้เกิดการปนเปื้อนสู่ดินและแหล่งน้ำผิวดินโดยตรง
ถังดักไขมัน เป็นอุปกรณ์สำหรับแยกไขมันไม่ให้ไหลปนไปกับน้ำทิ้ง ช่วยรักษาสภาพน้ำในขั้นต้น ก่อนปล่อยลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติหรือ ท่อระบายน้ำทิ้ง การจัดการน้ำมันและไขมันโดยใช้ถังดักไขมันเป็นวิธีการที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพในการบำบัดน้ำเสียจากร้านอาหารและ ภัตตาคาร
สาเหตุหนึ่งที่มีปัญหาน้ำท่วมขังในพื้นที่กรุงเทพมหานคร คือ ไขมันที่มาจากร้านอาหาร ซึ่งอาจจะปล่อยให้ไหลล้นบ่อดักไขมันหรือขาดการดูแลที่ดีเพียงพอก่อนปล่อยน้ำทิ้งลงสู่ท่อระบายน้ำ บ่อยครั้งที่เจ้าหน้าที่ระบายน้ำลงพื้นที่เพื่อขุดลอกท่อระบายน้ำพบก้อนไขมันหนาและแข็งตัวสะสมอยู่ในท่อ ส่งผลต่อการระบายน้ำได้ ปัญหาไขมันในท่อระบายน้ำ ทำให้ท่อระบายน้ำอุดตัน ระบายน้ำได้ไม่ดี พอฝนตกน้ำระบายได้ช้าเกิดน้ำท่วมขัง ซึ่งร้านอาหารเป็นแหล่งกำเนิดน้ำเสียประเภทหนึ่งที่มีไขมันจำนวนมาก ตามกฎหมายร้านอาหารต้องติดตั้งถังดักไขมัน เพื่อดักไขมันจากน้ำทิ้งก่อนระบายออกท่อระบายน้ำสาธารณะ นอกจากนี้ยังส่งผลแก่การกำกับร้านอาหารให้ดูแลบ่อดักไขมันอย่างทั่วถึง เนื่องจากเจ้าหน้าที่ไม่สามารถเข้าตรวจสอบการปฏิบัติของร้านอาหารว่ามีการตักไขมันและเศษอาหารออกจากถังดักไขมันเป็นประจำหรือไม่
ด้วยเหตุผลดังกล่าว สำนักงานเขตวัฒนา จึงได้คัดเลือกโครงการการเพิ่มประสิทธิภาพในการกำกับร้านอาหารให้จัดเก็บไขมันผ่าน google form เพื่อลดปัญหาไขมันอุดตันในท่อระบายน้ำ และการพัฒนาวิธีการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานในการกำกับดูแลร้านอาหารของเจ้าหน้าที่โดยใช้ google form |
1. เพื่อสร้างระบบรายงานการจัดเก็บไขมันของร้านอาหาร
2. เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของผู้ประกอบการในการจัดการไขมันและการบำบัดน้ำเสียเบื้องต้นก่อนปล่อยสู่ท่อระบายน้ำสาธารณะ |
มุ่งเน้นลดปัญหาไขมันอุดตันในท่อระบายน้ำ ซึ่งเป็นสาเหตุของน้ำท่วมขัง น้ำรอระบาย โดยการกำกับดูแล ควบคุมการจัดการไขมันและเศษอาหารของร้านอาหารในพื้นที่เขตวัฒนา และเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องในการปฏิบัติงาน |
0.00 |
0.00 |
สำนักงานเขตวัฒนา |
2022-10-01 00:00:00 |
2023-09-30 00:00:00 |
แล้วเสร็จ |
100.00 |
รวม ->15 โครงการ |
0 |
0.00 |
0.00 |
0 |
0.00 |
0 |
0.00 |
0 |
0 |
0 |
0 |