ลำดับ | ยุทธศาสตร์ 20 ปี | แผนแม่บทไอที | ปีงบประมาณ | ชื่อโครงการ | หลักการและเหตุผล | วัตถุประสงค์โครงการ | เป้าหมายโครงการ | งบประมาณที่ได้รับ | งบประมาณที่ใช้ไป | หน่วยงานที่รับผิดชอบ | เริ่มโครงการ | สิ้นสุดโครงการ | สถานะโครงการ | คืบหน้า (ร้อยละ) |
1 | 1.0.1. ด้านที่ ๑ – มหานครปลอดภัย : Bangkok as a Safe City |
6.2. | 2561 | โครงการศึกษาวิจัยพัฒนาและส่งเสริมนวัตกรรมการจัดการคุณภาพน้ำ (สจน.) | สวนสาธารณะเป็นสถานที่พักผ่อนที่ประชาชนจำนวนมากเข้ามาใช้บริการ เพื่อประกอบกิจกรรมในด้านต่างๆ เช่น การออกกำลังกาย การพบปะสังสรรค์ หรือชุมนุมเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และการพักผ่อนหย่อนใจ เป็นต้น ซึ่งทางผู้รับผิดชอบต้องมีการจัดเตรียมสถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ เช่น ห้องน้ำ และสถานที่จำหน่ายอาหารไว้รองรับผู้มาใช้บริการ อีกทั้งเนื่องจากสวนสาธารณะต้องมีการจัดสถานที่ให้สวยงามและร่มรื่นสำหรับผู้มาใช้บริการ ทำให้สวนสาธารณะต้องมีการใช้ปุ๋ยเป็นจำนวนมากในการบำรุงรักษาต้นไม้ ซึ่งเมื่อเกิดฝนตกจะทำให้ปุ๋ยบางส่วนถูกชะล้างลงสู่บึงในสวนสาธารณะ ประกอบกับมีประชาชนให้อาหารปลา ทำให้ปริมาณปลาในบึงเพิ่มมากขึ้น เป็นสาเหตุให้น้ำในบึงมีธาตุอาหารพวกไนโตรเจนและฟอสฟอรัส ซึ่งธาตุอาหารทั้งสองชนิดดังกล่าวเป็นธาตุที่สาหร่ายใช้ในการเจริญเติบโต ทำให้เกิดปัญหา Eutrophication ในแหล่งน้ำ โดยในช่วงกลางวันจะพบว่าน้ำในบึงมีสีเขียวเนื่องจากมีการสังเคราะห์แสงของสาหร่าย จึงทำให้มีออกซิเจนละลายน้ำอยู่ในปริมาณมาก แต่ในเวลากลางคืนสาหร่ายใช้ออกซิเจนในการเจริญเติบโตทำให้เกิดการแย่งชิงออกซิเจนกับปลาในน้ำ ซึ่งหากปริมาณออกซิเจนที่ละลายอยู่ในน้ำไม่เพียงพอให้จะทำให้ปลาตายได้ การบำบัดไนโตรเจนและฟอสฟอรัสในน้ำสามารถทำได้หลายวิธี เช่น การใช้สารเคมีเพื่อให้เกิดการตกตะกอน และการก่อสร้างระบบบำบัดน้ำเสียแบบตะกอนเร่ง ซึ่งต้องใช้งบประมาณในการออกแบบก่อสร้าง การดำเนินงาน การดูแลรักษา ซึ่งหากใช้วิธีการนี้ก็จะส่งผลให้จำนวนตะกอนที่จะต้องกำจัดเพิ่มมากขึ้น และทำให้น้ำมีสภาพเป็นด่าง อีกทั้งวิธีการนี้ไม่สอดคล้องกลมกลืนกับสภาพของสวนสาธารณะและสภาพคุณลักษณะของน้ำในสวนสาธารณะที่มีค่าความสกปรกอยู่ระหว่าง 5 – 16 มิลลิกรัมต่อลิตร นอกจากวิธีการดังได้กล่าวไปแล้วนั้น ยังมีการใช้พืชในการบำบัดไนโตรเจนและฟอสฟอรัสก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ได้มีการศึกษาอย่างกว้างขวาง เนื่องจากไนโตรเจนและฟอสฟอรัสเป็นธาตุอาหารที่ใช้ในการเจริญเติบโตของพืช ดังนั้นเพื่อกำจัดธาตุอาหาร และความสกปรกในน้ำรวมทั้งเพื่อให้สอดคล้องกับสภาพสวนสาธารณะและคุณลักษณะของน้ำในสวนสาธารณะ จึงได้มีการศึกษาชนิดของพืชที่เหมาะสมกับการบำบัดน้ำในสวนสาธารณะโดยการใช้พืชขึ้น ซึ่งเป็นวิธีที่ง่ายและประหยัดค่าใช้จ่ายในการดูแลและบำรุงรักษา | 1. ศึกษาประสิทธิภาพการบำบัดน้ำของพืชในการกำจัดไนโตรเจนและฟอสฟอรัส ในบึงของสวนลุมพินี 2. เพื่อศึกษาชนิดของพืชที่เหมาะสมกับการบำบัดน้ำในสวนลุมพินีและสามารถนำผลไปประยุกต์ใช้กับสวนสาธารณะอื่นได้ | 1.น้ำในบึงของสวนลุมพินีได้รับการบำบัดให้มีคุณภาพที่ดีขึ้น 2.สามารถคัดเลือกพืชที่ใช้ในการกำจัดไนโตรเจนและฟอสฟอรัส 3.เป็นแหล่งศึกษาดูงานสำหรับประชาชนและหน่วยงานที่สนใจ | 0.00 | 0.00 | สํานักการระบายน้ำ | 2017-10-01 00:00:00 | 2018-09-30 00:00:00 | แล้วเสร็จ | 100.00 |
2 | 1.0.3. ด้านที่ ๑ – มหานครปลอดภัย : Bangkok as a Safe City |
6.2. | 2562 | โครงการนวัตกรรมทางการแพทย์และสาธารณสุข สำนักอนามัย ปี 2562 (สพธ.)(ข้อบัญญัติฯ) | การประกวดผลงานนวัตกรรมทางการแพทย์และสาธารณสุข ทั้งในรูปแบบสิ่งประดิษฐ์หรือกระบวนการในการปฏิบัติงานที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชนและสังคม ให้เกิดขึ้นในองค์กร นับเป็นกลยุทธ์หนึ่งที่สำนักอนามัยสามารถกระตุ้นผู้ปฏิบัติงานให้มีความคิดริเริ่ม ซึ่งสำนักงานพัฒนาระบบสาธารณสุขโดยกลุ่มวิจัยและพัฒนาทางสาธารณสุข ริเริ่มและดำเนินโครงการนวัตกรรมทางการแพทย์และสาธารณสุข อย่างต่อเนื่องเป็นระยะ พบว่าสร้างความเปลี่ยนแปลงการทำงานในงานประจำ ให้มีข้อสังเกตและพัฒนาเป็นผลงานที่เรียบง่ายแต่ได้ประโยชน์ โดยการจัดงานเสนอผลงานผู้เข้าร่วมโครงการฯ ได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนความรู้ กระตุ้นให้เกิดมุมมอง แนวคิดใหม่ๆ ในการพัฒนางานบริการ และสามารถต่อยอดนำองค์ความรู้จากผลงานที่จัดแสดงไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้รับบริการ | 2.1 จัดประกวดนวัตกรรมทางการแพทย์และสาธารณสุข เพื่อกระตุ้นความคิดสร้างสรรค์จากงานที่ทำประจำ 2.2 จัดงานแสดงผลงานนวัตกรรมทางการแพทย์และสาธารณสุขเพื่อเป็นเวทีแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และแสดงผลงานนวัตกรรมทางการแพทย์และสาธารณสุข | เชิงคุณภาพ ผู้เข้าร่วมโครงการมีแนวคิดในการสร้างนวัตกรรมงานประจำจากการแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับผู้นำเสนอผลงาน และสามารถนำแนวคิดที่ได้รับไปพัฒนาตนเอง สร้างนวัตกรรมทางการแพทย์และสาธารณสุข เพื่องานบริการประชาชน ตลอดจนได้เผยแพร่ผลงานให้หน่วยงานต่างๆได้รับรู้ เชิงปริมาณ - จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 1 ครั้ง ให้กับข้าราชการสำนักอนามัยผู้สนใจส่งผลงานเข้าประกวด - จัดประกวดผลงานนวัตกรรมทางการแพทย์และสาธารณสุข โดยจัดประชุมคณะกรรมการ 2 ครั้ง - จัดงานแสดงผลงานนวัตกรรมทางการแพทย์และสาธารณสุข 1 ครั้ง โดย มีผู้ร่วมงาน 450 คน เป็นข้าราชการทั้งในและนอกสังกัดกรุงเทพมหานคร ทั้งภาครัฐ เอกชน และประชาชน โดยจัดพิมพ์เอกสารเผยแพร่นวัตกรรมฯ ปี พ.ศ.2562 จำนวน 1,000 เล่ม | 900,000.00 | 898,973.25 | สำนักอนามัย | 2018-10-01 00:00:00 | 2019-09-30 00:00:00 | แล้วเสร็จ | 100.00 |
3 | 1.0.1. ด้านที่ ๑ – มหานครปลอดภัย : Bangkok as a Safe City |
6.2. | 2562 | โครงการศึกษาวิจัยพัฒนาและส่งเสริมนวัตกรรมการจัดการคุณภาพน้ำ (สจน.) | ในปัจจุบันโรงควบคุมคุณภาพน้ำทุ่งครุสามารถรองรับการบำบัดน้ำเสียได้มากถึง 65,000 ลุกบาศก์เมตรต่อวัน โดยระบบหลักที่ใช้ในการลดสารอินทรีย์ คือ ระบบบำบัดแบบใช้อากาศ เนื่องจากปัจจุบันการขยายตัวทางเศรษฐกิจและการเพื่มจำนวนของประชากรทำให้ปริมาณน้ำเสียเข้าสู่ระบบบำบัดมากขึ้น อีกทั้งพื้นที่โรงควบคุมคุณภาพน้ำทุ่งครุมีจำกัดจึงไม่สามารถขยายขนาดของระบบบำบัดน้ำเสียได้ จึงจำเป็นต้องมีการศึกษาหาแนวทางในการปรัปปรุงระบบบำบัดน้ำเสียให้สามารถรับภาระสารอินทรีย์ที่เพิ่มมากขึ้น การใส่ตัวกลางในระบบบำบัดน้ำเสียจะเป็นการเพิ่มพื้นที่ยึดเกาะให้กับจุลินทรีย์ในระบบ ทำให้เกิดฟิล์มชีวะ ขึ้นในระบบและความหลากหลายของชนิดจุลินทรีย์เพิ่มมากขึ้นส่งผลให้ความสามารถในการบำบัดสูงขึ้นตามไปด้วย ในการวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาผลของตัวกลางต่อการเพิ่มประสิทธิภาพของระบบบำบัดน้ำเสีย | เพื่อศึกษาผลของตัวกลาง(PVA Gel)ต่ออัตราการไหลที่ยังคงประสิทธิภาพในการบำบัดน้ำเสียชุมชนในระบบบำบัดแบบใช้อากาศ | ได้แนวทางในการพัฒนาระบบบำบัดน้ำเสียชุมชนเมื่อมีอัตราการไหลที่สูงขึ้นในอนาคต | 0.00 | 0.00 | สํานักการระบายน้ำ | 2018-10-01 00:00:00 | 2019-09-30 00:00:00 | แล้วเสร็จ | 100.00 |
4 | 1.0.3. ด้านที่ ๑ – มหานครปลอดภัย : Bangkok as a Safe City |
6.2. | 2563 | กิจกรรมส่งเสริมสร้างผลงานนวัตกรรม ผลงานวิชาการ และผลงานการทำงานวิจัยจากงานประจำสู่งานวิจัย (R2R) | ปัจจุบันความก้าวหน้าทางวิชาการด้านการแพทย์และสาธารณสุข มีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว การสร้างสรรค์ผลงานนวัตกรรม ผลงานวิชาการ และการวิจัยเกิดขึ้นอย่างมากมาย เกิดการวินิจฉัย การรักษาพยาบาลด้วยวิธีการใหม่ ๆ อย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด สำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร เป็นหน่วยงานที่มีส่วนราชการในสังกัดประกอบด้วยโรงพยาบาล ศูนย์บริการการแพทย์ฉุกเฉินกรุงเทพมหานคร (ศูนย์เอราวัณ) ซึ่งหน้าให้บริการตรวจรักษา ผู้ป่วยทั่วไป และผู้ป่วยเฉพาะทาง รวมทั้งเป็นแหล่งการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้าน แพทย์ฝึกหัด นักศึกษาแพทย์ นักศึกษาพยาบาล และนักศึกษาด้านการแพทย์และสาธารณสุข นอกสังกัดกรุงเทพมหานคร จำเป็นต้องส่งเสริมให้บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขมีความก้าวหน้าทางด้านวิชาการ และการส่งเสริมสร้างสรรค์ผลงานนวัตกรรม ผลงานวิชาการ เพื่อนำผลงานมาพัฒนาในด้านการรักษาพยาบาลและเพื่อเป็นการเผยแพร่ผลงานให้แก่ บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขในสังกัดกรุงเทพมหานคร การสนับสนุนให้เกิดการสร้างผลงานนวัตกรรม ผลงานวิชาการ และผลงานการทำงานวิจัยจากงานประจำสู่งานวิจัย (R2R) ต้องมีการบริหารจัดการ เช่นเดียวกับการให้บริการซึ่งก็ต้องมีการบริหารจัดการเพื่อให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล การจัดการให้เกิดการผลงาน คือ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ และในอนาคตต่อไปข้างหน้าที่จะเป็นการพัฒนากระบวนการให้บริการประชาชน เนื่องจากค้นพบวิธีการใหม่ทำให้กระบวนการดูแลผู้ป่วยดีขึ้น หลายครั้งมีการดำเนินการเพื่อแก้ไขหรือตอบปัญหา สามารถพัฒนาต่อยอดไปเป็นงานวิจัย หรือผลงานวัตกรรมที่เชื่อถือได้ และเป็นต้นแบบที่ดี ดังนั้นบุคลากรในสังกัดสำนักการแพทย์ต้องมีการพัฒนาเรียนรู้ สามารถนำแนวคิดและประสบการณ์จากการปฏิบัติงาน ทำให้ผลงานเชิงวิชาการที่มีคุณภาพมากขึ้นและจะเกิดองค์กรแห่งการเรียนรู้ขึ้นได้ | 1.เพื่อให้บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขได้รับความรู้และติดตามวิทยาการความก้าวหน้าด้านการแพทย์และสาธารณสุข 2.เพื่อเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดงานวิชาการ งานวิจัยในองค์กร การสร้างนวัตกรรม รวมถึงการนำผลการวิจัย และนวัตกรรม ไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานให้มีคุณภาพยิ่งขึ้น 3.เพื่อให้บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขในสังกัดได้มีโอกาส แลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ด้านการแพทย์และสาธารณสุข | จัดกิจกรรมการนำเสนอผลงานและการประกวดผลงานนวัตกรรม ผลงานวิชาการ และผลงานการทำงานวิจัยจากงานประจำสู่งานวิจัย (R2R) ของส่วนราชการในสังกัดสำนักการแพทย์ | 0.00 | 0.00 | สำนักการแพทย์ | 2019-10-01 00:00:00 | 2020-09-29 00:00:00 | แล้วเสร็จ | 100.00 |
5 | 1.0.3. ด้านที่ ๑ – มหานครปลอดภัย : Bangkok as a Safe City |
6.2. | 2563 | โครงการนวัตกรรมทางการแพทย์และสาธารณสุข สำนักอนามัย ปี 2563 (สพธ.) | การประกวดและการจัดงานนวัตกรรมทางการแพทย์และสาธารณสุข นับเป็นกลยุทธ์หนึ่งที่สำนักอนามัยสามารถกระตุ้นผู้ปฏิบัติงานให้มีความคิดริเริ่ม ซึ่งสำนักงานพัฒนาระบบสาธารณสุขโดยกลุ่มวิจัยและพัฒนาทางสาธารณสุข ริเริ่มและดำเนินโครงการนวัตกรรมทางการแพทย์และสาธารณสุข อย่างต่อเนื่องเป็นระยะ พบว่าสร้างความเปลี่ยนแปลงการทำงานในงานประจำ ให้มีข้อสังเกตและพัฒนาเป็นผลงานที่เรียบง่ายแต่ได้ประโยชน์ โดยการจัดงานเสนอผลงานผู้เข้าร่วมโครงการฯ ได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนความรู้ กระตุ้นให้เกิดมุมมอง แนวคิดใหม่ๆ ในการพัฒนางานบริการ และสามารถต่อยอดนำองค์ความรู้จากผลงานที่จัดแสดงไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้รับบริการ | 2.1 จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้การคิดนวัตกรรมทางการแพทย์และสาธารณสุข เพื่อกระตุ้นความคิดสร้างสรรค์จากงานประจำ 2.2 จัดงานแสดงผลงานนวัตกรรมทางการแพทย์และสาธารณสุข แลกเปลี่ยนความคิดเพื่อต่อยอดงานนวัตกรรมฯ ที่ผ่านการตัดสิน และแสดงผลงานนวัตกรรมระหว่างหน่วยงานในเครือข่าย | เชิงคุณภาพ ผู้เข้าร่วมโครงการมีแนวคิดในการสร้างนวัตกรรมงานประจำจากการแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับผู้นำเสนอผลงาน และสามารถนำแนวคิดที่ได้รับไปพัฒนาตนเอง สร้างนวัตกรรมทางการแพทย์และสาธารณสุข เพื่องานบริการประชาชน ตลอดจนได้เผยแพร่ผลงานให้หน่วยงานต่างๆ ได้รับรู้ เชิงปริมาณ - จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 1 ครั้ง ให้กับข้าราชการสำนักอนามัย จำนวน 80 คน - จัดประกวดและตัดสินผลงานนวัตกรรมทางการแพทย์และสาธารณสุข จำนวน 2 ครั้ง - จัดงานแสดงผลงานนวัตกรรมทางการแพทย์และสาธารณสุข 1 ครั้ง โดย มีผู้ร่วมงาน 500 คน/วัน เป็นข้าราชการทั้งในและนอกสังกัดกรุงเทพมหานคร ทั้งภาครัฐ เอกชน และประชาชน โดยมีการประกวดและตัดสินผลงาน ตลอดจนการจัดพิมพ์เอกสารฯ แจกผู้ร่วมงานและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจำนวน 1,000 เล่ม | 1,000,000.00 | 121,098.25 | สำนักอนามัย | 2019-10-01 00:00:00 | 2020-09-29 00:00:00 | แล้วเสร็จ | 100.00 |
6 | 1.0.1. ด้านที่ ๑ – มหานครปลอดภัย : Bangkok as a Safe City |
6.2. | 2563 | โครงการศึกษาวิจัยส่งเสริมนวัตกรรมการจัดการคุณภาพน้ำ (สจน.) | กรุงเทพมหานคร ซึ่งมีภาระกิจเกี่ยวกับการจัดการคุณภาพน้ำโดยมีโรงควบคุมคุณภาพน้ำบำบัดน้ำเสียซึ่งในแต่ละวันมีปริมาณน้ำเสียที่เข้าระบบปริมาณมาก นั้นหมายถึงค่าไฟฟ้าใช้ในการเดินระบบบำบัดน้ำเสียที่สูงตามปริมาณน้ำเสียที่ผ่านการบำบัด ซึ่งทางหน่วยงานค้นหามาตรการลดการใช้ไฟฟ้าเพื่อลดค่าใช้จ่ายลง พลังงานน้ำเป็นตัวเลือกหนึ่งที่น่าสนใจในการนำมาประยุกต์ใช้เพื่อประโยชน์ จึงใช้หลักการนี้นำมาศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการผลิตไฟฟ้า กำหนดให้โรงควบคุมคุณภาพน้ำเป็นสถานที่เหมาะสมในการดำเนินการศึกษาวิจัยการผลิตไฟฟ้าด้วยพลังน้ำขนาดเล็ก โดยพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตได้สามารถนำไปเก็บสะสมไว้ในแบตเตอรี่เพื่อเป็นพลังงานไฟฟ้าสำรองใช้ทดแทนพลังงานไฟฟ้าหลักจากการไฟฟ้านครหลวง พลังงานไฟฟ้าส่วนนี้เน้นนำไปใช้ในการส่วนวงจรไฟฟ้าแสงสว่างของโรงควบคุมคุณภาพน้ำ | -เพื่อศึกษาวิจัยการนำแรงดันน้ำที่อยู่ในระบบบำบัดน้ำเสียมาใช้ ในรูปแบบของการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากพลังงานน้ำ -เพื่อเป็นแนวทางการศึกษาเกี่ยวกับพลังงานทางเลือกที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม จากการนำพลังงานที่มีมาใช้ให้ประโยชน์ที่สูงสุด | เพื่อศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับระบบผลิตไฟฟ้าต้นแบบจากพลังน้ำที่อยู่ในระบบบำบัดน้ำเสีย โดยผลิตไฟฟ้าและมีระบบสำรองพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตได้กักเก็บไว้ในแบตเตอรี่เพื่อใช้เป็นพลังงานไฟฟ้า เพื่อใช้จ่ายกระแสไฟฟ้าสนับสนุนภายในโรงควบคุมคุณภาพน้ำ | 0.00 | 0.00 | สํานักการระบายน้ำ | 2019-10-01 00:00:00 | 2020-09-30 00:00:00 | แล้วเสร็จ | 100.00 |
7 | 3.0.2. ด้านที่ ๓ - มหานครสำหรับทุกคน : Bangkok as a City for All |
6.2. | 2561 | ยกระดับมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ด้วยเทคโนโลยีผ่านนวัตกรรม Maths-Whizz | ในการจัดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ สื่อและนวัตกรรมการเรียนรู้เป็นตัวกลางสำคัญที่จะส่งผลให้ผู้เรียนเข้าถึงความรู้ และคุณลักษณะตามมาตรฐานการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ ผู้เรียนควรมีโอกาสเรียนรู้จากการปฏิบัติจริง ฝึกทักษะ กระบวนการ จัดกิจกรรมการเรียนรู้เสริมด้วยนวัตกรรมต่างๆ ที่หลากหลาย ซึ่งนวัตกรรม Maths-Whizz เป็นนวัตกรรมหนึ่งที่เป็นระบบการเรียนการสอนแบบพัฒนาตามศักยภาพของผู้เรียนเป็นรายบุคคล (Personalised Learning) และแก้ปัญหาความแตกต่างของอายุทางคณิตศาสตร์ (Maths Agetm) ซึ่งผลการวิจัยจากหลายประเทศ พบว่า นักเรียนที่เรียนรู้ผ่านนวัตกรรม Maths-Whizz จำนวน 60 นาที/สัปดาห์ ต่อเนื่องเป็นเวลา 12 เดือน จะมีพัฒนาการอายุทางคณิตศาสตร์ มากถึง 18 เดือน และช่วยเสริมสร้างกำลังใจให้นักเรียนได้เรียนรู้คณิตศาสตร์อย่างมีความสุข ดังนั้น เพื่อให้โรงเรียนสามารถยกระดับมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ หน่วยศึกษานิเทศก์ จึงได้จัดทำโครงการยกระดับมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ด้วยเทคโนโลยีผ่านนวัตกรรม Maths-Whizz ให้กับโรงเรียนที่เปิดโครงการสองภาษา (หลักสูตรไทย-อังกฤษ) เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนคณิตศาสตร์แบบบูรณาการ และสร้างเจตคติที่ดีต่อการเรียนคณิตศาสตร์ อันจะส่งผลให้ผู้เรียนมีทักษะทางด้านคณิตศาสตร์เต็มตามศักยภาพ นำไปสู่การยกระดับคุณภาพการศึกษาให้ได้มาตรฐานในระดับสากลต่อไป | 1.เพื่อยกระดับมาตรฐานการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนระดับประถมศึกษาในโรงเรียนที่เปิดโครงการสองภาษา (หลักสูตรไทย-อังกฤษ) สังกัดกรุงเทพมหานคร 2.เพื่อให้ครูผู้สอนคณิตศาสตร์ใช้นวัตกรรม Maths-Whizz ในการพัฒนาศักยภาพของผู้เรียนเป็นรายบุคคล (Personalised Learning) 3.เพื่อให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้แบบบูรณาการ และสร้างเจตคติที่ดีต่อการเรียนคณิตศาสตร์ | ด้านปริมาณ 1.โรงเรียนที่เปิดโครงการสองภาษา (หลักสูตรไทย-อังกฤษ) ที่มีความพร้อมในการจัดห้องเรียนด้วยนวัตกรรม Maths-Whizz จำนวน 44 โรงเรียน 2. ผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอนคณิตศาสตร์ระดับประถมศึกษา ศึกษานิเทศก์ และผู้ที่เกี่ยวข้อง ได้เข้ารับการอบรมเชิงปฏิบัติการ การใช้นวัตกรรม Maths-Whizz ด้านคุณภาพ 1. นักเรียนระดับประถมศึกษาในโรงเรียนที่เปิดโครงการสองภาษา (หลักสูตรไทย-อังกฤษ) มีพัฒนาการอายุทางคณิตศาสตร์สูงขึ้น 2. ครูผู้สอนคณิตศาสตร์มีทักษะการสอนและสามารถใช้นวัตกรรม Maths-Whizz เป็นเครื่องมือส่งเสริมการจัดกระบวนการเรียนรู้ให้กับนักเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ 3. ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารระดับสำนักการศึกษา และระดับกรุงเทพมหานคร สามารถวางนโยบายในการยกระดับมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์อย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น | 10,505,250.00 | 0.00 | สำนักการศึกษา | 2017-10-01 00:00:00 | 2018-09-30 00:00:00 | ยกเลิก | 10.00 |
8 | 3.0.2. ด้านที่ ๓ - มหานครสำหรับทุกคน : Bangkok as a City for All |
6.2. | 2561 | ประกวดผลงานนวัตกรรมแห่งการเรียนรู้ของข้าราชการครูกรุงเทพมหานคร | กรุงเทพมหานครได้ให้ความสำคัญต่อการพัฒนาการศึกษาเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะในการพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากรุงเทพมหานคร ให้มีสมรรถนะ มีความเป็นมืออาชีพตามมาตรฐานที่กำหนด เนื่องจากข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากรุงเทพมหานคร เป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยให้การจัดการศึกษาของโรงเรียนบรรลุตามเป้าหมาย อาชีพครูจึงเป็นอาชีพที่สำคัญที่ควรได้รับการส่งเสริมและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนต้องสร้างขวัญและกำลังใจให้กับกลุ่มข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากรุงเทพมหานครในการปฏิบัติหน้าที่ และให้เกียรติชมเชยต่อความสามารถของกลุ่มข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากรุงเทพมหานคร ที่ได้ร่วมสร้างผลงานที่เป็นประโยชน์ต่อการเรียนการสอน ในอันที่จะส่งเสริมการสร้างวัฒนธรรมชุมชนทางการเรียนรู้ทางวิชาชีพของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากรุงเทพมหานคร หรือ PLC (Professional Learning Community) ให้เข้มแข็งในระบบการศึกษาของกรุงเทพมหานคร จากความสำคัญดังกล่าว สำนักการศึกษาในฐานะที่เป็นหน่วยงานหลักในการจัดการศึกษาของกรุงเทพมหานคร ซึ่งปัจจุบันมีโรงเรียนที่ต้องรับผิดชอบ จำนวน ๔๓๗ โรงเรียน และข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากรุงเทพมหานคร จำนวน ๑๔,๑๘๕ คน จึงเห็นควรให้มีการคัดเลือกข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากรุงเทพมหานครที่มีผลงานดีเด่นด้านการพัฒนาการเรียนการสอนแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้และอื่น ๆ ที่นำไปสู่การพัฒนานักเรียนกรุงเทพมหานคร เพื่อยกย่องเชิดชูเกียรติให้เข้ารับรางวัล และเพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ครูผู้สอนทั่วกรุงเทพมหานคร โดยจัดให้มีการประกวดผลงานนวัตกรรมแห่งการเรียนรู้ของข้าราชการครูกรุงเทพมหานคร | 1 เพื่อส่งเสริมและกระตุ้นให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาของโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร ได้แสดงศักยภาพและความสามารถในการเรียนการสอนตามกลุ่มสาระและงานที่รับผิดชอบ 2 เพื่อเป็นการยกย่องและเชิดชูเกียรติและสร้างขวัญกำลังใจให้แก่ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากรุงเทพมหานครที่มีความพร้อมและมุ่งมั่นในการสอนและงานที่รับผิดชอบ 3 เพื่อเป็นต้นแบบให้กับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากรุงเทพมหานครได้ศึกษาและเรียนรู้วัฒนธรรมชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) ตลอดจนเผยแพร่ผลงานให้สาธารณชนรับรู้ต่อไป | 1 ด้านปริมาณ - จัดให้มีการประกวดผลงานนวัตกรรมแห่งการเรียนรู้ของข้าราชการครูกรุงเทพมหานครสำหรับกลุ่มข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากรุงเทพมหานคร จำนวน ๑๐ ประเภท ๆ ละ ๓ รางวัล ได้แก่ (๑) กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (๒) กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ (๓) กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (๔) กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย (๕) กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (๖) กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม (๗) กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (๘) กลุ่มสาระการเรียนรู้ ... - 2 - (๘) กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา (๙) กลุ่มครูแนะแนว (๑๐) กลุ่มครูการศึกษาพิเศษ (เรียนร่วม) 2 ด้านคุณภาพ - ได้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากรุงเทพมหานคร ที่มีศักยภาพและคุณภาพ เป็นที่ยอมรับของสาธารณชน สามารถเป็นแบบอย่างและต้นแบบในการเรียนการสอนได้ - ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากรุงเทพมหานคร มีขวัญ กำลังใจ และได้รับการยกย่องและเชิดชูเกียรติ | 2,474,000.00 | 0.00 | สำนักการศึกษา | 2017-10-01 00:00:00 | 2018-09-30 00:00:00 | ยกเลิก | 10.00 |
9 | 3.0.2. ด้านที่ ๓ - มหานครสำหรับทุกคน : Bangkok as a City for All |
6.2. | 2562 | ประกวดนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ | สำนักการศึกษาเป็นหน่วยงานหลักที่จะต้องส่งเสริมสนับสนุนให้สถานศึกษาของกรุงเทพมหานครได้มีการจัดการเรียนรู้ที่สอดรับตามแผนและบรรลุตามเป้าประสงค์ ดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการประกวดนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ เพื่อเป็นการกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาเพื่อยกระดับการจัดการเรียนรู้ของกรุงเทพมหานคร และสร้างขวัญกำลังใจแก่ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากรุงเทพมหานคร ตลอดจนเป็นเวทีแห่งการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และเผยแพร่นวัตกรรมของสถานศึกษาสังกัดกรุงเทพมหานคร เพื่อเป็นต้นแบบให้แก่สถานศึกษาอื่น อันจะนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพการศึกษาของกรุงเทพมหานครที่ยั่งยืนต่อไป | 1.เพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากรุงเทพมหานครได้ใช้ความรู้ความสามารถในการออกแบบและการสร้างนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ที่มีประสิทธิภาพ 2. เพื่อเป็นแรงกระตุ้นและเสริมสร้างขวัญกำลังใจให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากรุงเทพมหานครสร้างนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ 3. เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนได้พัฒนาทักษะการเรียนรู้ การใช้นวัตกรรม หรือสื่อ หรือเทคโนโลยีสารสนเทศในการจัดทำโครงงาน เกิดการเรียนรู้จากการฝึกปฏิบัติ | ด้านปริมาณ 1. ได้นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ในระดับปฐมวัย ระดับประถมศึกษา และระดับมัธยมศึกษา 2. ได้โครงงานจากการใช้นวัตกรรม หรือสื่อ หรือเทคโนโลยีสารสนเทศของนักเรียน ในระดับปฐมวัย ระดับประถมศึกษา และระดับมัธยมศึกษา ด้านคุณภาพ 1. ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากรุงเทพมหานคร มีการออกแบบและสร้างการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 อย่างมีประสิทธิภาพ 2. นักเรียนโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานครสร้างโครงงานโดยนำนวัตกรรม หรือสื่อหรือเทคโนโลยีสารสนเทศ มาประยุกต์ใช้ได้อย่างเป็นรูปธรรมและสร้างสรรค์ | 318,500.00 | 189,150.00 | สำนักการศึกษา | 2018-10-01 00:00:00 | 2019-09-30 00:00:00 | แล้วเสร็จ | 100.00 |
10 | 3.0.2. ด้านที่ ๓ - มหานครสำหรับทุกคน : Bangkok as a City for All |
6.2. | 2563 | โครงการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้เพื่อผลิตสื่อเทคโนโลยีเสมือนจริง | จากผลการทดสอบความสามารถพื้นฐานของผู้เรียนระดับชาติ (NT) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2560 พบว่า คะแนนเฉลี่ยด้านการคิดคำนวณของนักเรียนโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร เท่ากับ 34.13 ซึ่งต่ำกว่าคะแนนเฉลี่ยระดับประเทศ จากผลการทดสอบดังกล่าวแสดงให้เห็นว่านักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ของโรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร มีปัญหาเรื่องทักษะด้านการคิดคำนวณ ซึ่งจะส่งผลต่อการเรียนรู้ในระดับที่สูงขึ้นของนักเรียน สำนักการศึกษา ตระหนักถึงความสำคัญของการนำเทคโนโลยีมาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนรู้ของนักเรียน เห็นว่าเทคโนโลยีเสมือนจริง (AR) สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ของครูในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร เพื่อสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ของครูและนักเรียน และส่งเสริมให้มีการนำเทคโนโลยีมาใช้พัฒนาการจัดการเรียนรู้ในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานครให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น | 1. เพื่อวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 2. เพื่อผลิตสื่อเทคโนโลยีเสมือนจริงกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 | 1 ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากรุงเทพมหานครที่ปฏิบัติการสอนวิชาคณิตศาสตร์ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง 2 นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2563 ที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง | 3,978,500.00 | 0.00 | สำนักการศึกษา | 2019-10-01 00:00:00 | 2020-09-30 00:00:00 | กำลังดำเนินการ | 90.00 |
11 | 3.0.2. ด้านที่ ๓ - มหานครสำหรับทุกคน : Bangkok as a City for All |
6.2. | 2563 | โครงการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษครู เพื่อยกระดับคุณภาพนักเรียนด้วยสื่อนวัตกรรมใหม่ สำหรับครูและบุคลากรทางการศึกษาสังกัดกรุงเทพมหานคร | ปัจจุบันภาษาอังกฤษถือเป็นภาษากลางของโลกที่คนต่างภาษาต่างวัฒนธรรมใช้ติดต่อสื่อสารระหว่างกัน ความสำคัญนี้จึงทำให้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สองรองจากภาษาประจำชาติ และภาษาอังกฤษมีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับคนไทยทุกคนทั้งเพื่อการติดต่อสื่อสารโดยตรงกับชาวต่างชาติและเพื่อใช้แสวงหาสืบค้นข้อมูลความรู้จากแหล่งต่าง ๆ จำนวนมากที่เป็นภาษาอังกฤษ ไม่ว่าอยู่ในรูปแบบของหนังสือ บทความ วารสาร หรือข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต การมีทักษะภาษาอังกฤษจะทำให้ได้รับโอกาสที่ดีในหลายๆ ด้าน เพราะนอกจากจะสามารถติดต่อสื่อสารได้แล้ว ยังสามารถเพิ่มโอกาสการเรียนรู้ เพิ่มโอกาสในการพัฒนาตนเอง สามารถสร้างวิสัยทัศน์ พัฒนาความคิด ทัศนคติ และสามารถเป็นผู้ตามทันโลกอีกด้วย ผู้บริหารกรุงเทพมหานครได้เล็งความสำคัญและประโยชน์ระยะยาวของการมีทักษะภาษาอังกฤษของบุคลากรในองค์กรจึงมีนโยบายส่งเสริมการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษให้แก่ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากรุงเทพมหานคร เพื่อการพัฒนาศักยภาพของตนเองที่ส่งผลต่อการยกระดับคุณภาพการศึกษาของนักเรียนกรุงเทพมหานครในอนาคต สำนักการศึกษาจึงได้จัดทำโครงการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษครู เพื่อยกระดับคุณภาพนักเรียนด้วยสื่อนวัตกรรมใหม่ สำหรับครูและบุคลากรทางการศึกษาสังกัดกรุงเทพมหานคร เพื่อส่งเสริมและพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษให้แก่ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากรุงเทพมหานคร โดยให้ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอเพื่อผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ทางภาษาที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล และให้ครูสามารถปฏิบัติงานการสอนให้แก่นักเรียนได้อย่างเต็มที่ ลดการออกนอกห้องเรียนให้สอดคล้องกับนโยบาย "คืนครูสู่ห้องเรียน" ของกรุงเทพมหานคร | 1 เพื่อพัฒนาและยกระดับทักษะภาษาอังกฤษของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากรุงเทพมหานคร 2 เพื่อส่งเสริมศักยภาพการจัดการเรียนรู้ของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากรุงเทพมหานครให้กว้างขวางขึ้นจากแหล่งเรียนรู้ที่เป็นภาษาอังกฤษ ส่งผลสัมฤทธิ์ต่อการพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนในทุกวิชา | 1 ด้านปริมาณ ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากรุงเทพมหานคร จำนวน ๓,๐๐๐ คน เข้ารับการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษครู เพื่อยกระดับคุณภาพนักเรียนด้วยสื่อนวัตกรรมใหม่ 2 ด้านคุณภาพ ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากรุงเทพมหานครสามารถนำความรู้และทักษะภาษาอังกฤษไปใช้การจัดการเรียนการสอนในวิชาที่รับผิดชอบได้ | 29,287,600.00 | 0.00 | สำนักการศึกษา | 2019-10-01 00:00:00 | 2020-09-29 00:00:00 | ยกเลิก | 35.00 |
12 | 6.0.1. ด้านที่ ๖ – มหานครแห่งเศรษฐกิจและการเรียนรู้ : Bangkok as an Economic and Learning Centre |
6.2. | 2562 | กิจกรรมสร้างความร่วมมือในการพัฒนาคุณภาพมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนเพื่อยกระดับสู่สินค้าเชิงนวัตกรรม | - พัฒนามาตรฐานและคุณค่าเชิงอัตลักษณ์ (Identity) ของผลิตภัณฑ์ โดยการนำเครื่องหมายผลิตภัณฑ์ “Bangkok Brand” มาใช้กับผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการคัดสรร โดยปัจจุบัน กรุงเทพมหานครมีผลิตภัณฑ์ชุมชนที่ได้รับคัดสรรเป็นผลิตภัณฑ์กรุงเทพมหานคร (Bangkok Brand) จำนวน 534 ผลิตภัณฑ์ และเพื่อให้ผลิตภัณฑ์กรุงเทพมหานคร (Bangkok Brand) เป็นที่รู้จักของประชาชนและผู้บริโภคอย่างแพร่หลายเพิ่มมากขึ้น เป็นการ เพิ่มช่องทางการจัดจำหน่ายและส่งเสริมการขาย | - เพื่อพัฒนาผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์กรุงเทพมหานคร (Bangkok Brand) ได้นำความรู้ ความเข้าใจ เพื่อยกระดับสินค้าเชิงนวัตกรรม | ผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์กรุงเทพมหานคร (Bangkok brand) | 0.00 | 0.00 | สํานักพัฒนาสังคม | 2018-10-01 00:00:00 | 2019-09-30 00:00:00 | แล้วเสร็จ | 100.00 |
13 | 7.0.1. ด้านที่ ๗ – การบริหารจัดการเมืองมหานคร : Management Strategy |
6.2. | 2560 | โครงการนวัตกรรมทางการแพทย์และสาธารณสุข สำนักอนามัย ปี 2560 (สพธ.)(ข้อบัญญัติ) | การประกวดผลงานนวัตกรรมทางการแพทย์และสาธารณสุข ทั้งในรูปแบบสิ่งประดิษฐ์และกระบวนการในการปฏิบัติงาน เป็นการเปิดโอกาสให้ทุกส่วนราชการของสำนักอนามัย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมแสดงผลงานนวัตกรรมทางการแพทย์และสาธารณสุข และเป็นเครื่องมือช่วยเผยแพร่และรวบรวมผลงานตัวอย่างนวัตกรรมที่ดีของสำนักอนามัย ผ่านสื่อต่างๆ และประชาชนผู้รับบริการ รวมทั้งเป็นเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกันอย่างกว้างขวาง นำสู่การพัฒนาต่อยอดและกระตุ้นความคิดสร้างสรรค์ของข้าราชการและบุคลากรในการพัฒนา งานบริการเพื่อประโยชน์ของประชาชนต่อไป | 1. จัดประกวดนวัตกรรมทางการแพทย์และสาธารณสุข เพื่อกระตุ้นความคิดสร้างสรรค์จากงานที่ทำประจำ 2. จัดงานแสดงผลงานนวัตกรรมทางการแพทย์และสาธารณสุขเพื่อเป็นเวทีแลกเปลี่ยนความคิดเห็น แสดงผลงานนวัตกรรมทางการแพทย์และสาธารณสุข และผลงานวิชาการอื่นๆ | เชิงคุณภาพ ผู้เข้าร่วมโครงการมีแนวคิดในการสร้างนวัตกรรมงานประจำจากการแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับผู้นำเสนอผลงาน และสามารถนำแนวคิดที่ได้รับไปพัฒนาตนเอง สร้างนวัตกรรมทางการแพทย์และสาธารณสุข เพื่องานบริการประชาชน ตลอดจนได้เผยแพร่ผลงานให้หน่วยงานต่างๆได้รับรู้ เชิงปริมาณ - จัดประชุมเปิดโครงการ 1 ครั้ง - จัดประกวดผลงานนวัตกรรมทางการแพทย์และสาธารณสุข โดยจัดประชุมคณะกรรมการ 5 ครั้ง - จัดงานแสดงผลงานนวัตกรรมทางการแพทย์และสาธารณสุข 1 ครั้ง โดยมีผู้ร่วมงาน 500 คน - จัดพิมพ์เอกสาร ผลงานนวัตกรรมฯ แจกผู้ร่วมงาน จำนวน 1,000 เล่ม | 1,000,000.00 | 952,785.00 | สำนักอนามัย | 2016-10-01 00:00:00 | 2017-09-30 00:00:00 | แล้วเสร็จ | 100.00 |
14 | 7.0.1. ด้านที่ ๗ – การบริหารจัดการเมืองมหานคร : Management Strategy |
6.2. | 2561 | 29.โครงการเข้าร่วมการประชุมด้านนวัตกรรมและการพัฒนาอย่างยั่งยืน (ตัวชี้วัดที่ 6) | บุคลากรกรุงเทพมหานครได้เข้าร่วมการประชุมเกี่ยวกับนวัตกรรมและการพัฒนาอย่างยั่งยืนเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณืเกี่ยวกับการพัฒนาอย่างยั่งยืน | เพื่อพัฒนาตามหลักสมรรถนะมีการนำเนื้อหาความรู้ที่ได้รับจากการพัฒนามาเผยแพร่/ประชาสัมพันธ์หรือปรับปรุงการปฏิบัติงาน | บุคลากรกรุงเทพมหานครได้เข้าร่วมแลกเปลี่ยนและเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างประสบการณ์และนำเนื้อหาความรู้ที่ได้รับจากการพัฒนามาเผยแพร่/ประชาสัมพันธ์หรือปรับปรุงการปฏิบัติงาน (ตัวชี้วัดที่ 6 เป้าหมาย ร้อยละ 30) | 897,300.00 | 540,475.00 | ** สำนักงานการต่างประเทศ สํานักปลัดกรุงเทพมหานคร | 2017-11-15 00:00:00 | 2018-09-30 00:00:00 | แล้วเสร็จ | 100.00 |
15 | 7.0.1. ด้านที่ ๗ – การบริหารจัดการเมืองมหานคร : Management Strategy |
6.2. | 2561 | โครงการนวัตกรรมทางการแพทย์และสาธารณสุข สำนักอนามัย ปี 2561 (สพธ.)(ข้อบัญญัติฯ) | การกระตุ้นให้สร้างผลงานนวัตกรรมทางการแพทย์และสาธารณสุข ทั้งในรูปแบบสิ่งประดิษฐ์หรือกระบวนการในการปฏิบัติงานที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชนและสังคมให้เกิดขึ้นในองค์กร เป็นการเปิดโอกาสให้ทุกส่วนราชการของสำนักอนามัยและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมแสดงผลงานนวัตกรรมทางการแพทย์และสาธารณสุข และเป็นเครื่องมือช่วยเผยแพร่และรวบรวมผลงานตัวอย่างนวัตกรรมที่ดีของสำนักอนามัย ผ่านสื่อต่างๆ และประชาชนผู้รับบริการ รวมทั้งเป็นเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกันอย่างกว้างขวาง นำสู่การพัฒนาต่อยอดและกระตุ้นความคิดสร้างสรรค์ของข้าราชการและบุคลากรในการพัฒนางานบริการเพื่อประโยชน์ของประชาชนต่อไป | 1. จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้การคิดนวัตกรรมทางการแพทย์และสาธารณสุข เพื่อกระตุ้นความคิดสร้างสรรค์จากงานที่ทำประจำ 2. จัดงานแสดงผลงานนวัตกรรมทางการแพทย์และสาธารณสุข เพื่อการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นต่อยอดผลงานนวัตกรรมฯ ตัดสินผลงาน และแสดงผลงานนวัตกรรมระหว่างหน่วยงานในเครือข่าย | เชิงคุณภาพ ผู้เข้าร่วมโครงการมีแนวคิดในการสร้างนวัตกรรมงานประจำจากการแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับผู้นำเสนอผลงาน และสามารถนำแนวคิดที่ได้รับไปพัฒนาตนเอง สร้างนวัตกรรมทางการแพทย์และสาธารณสุข เพื่องานบริการประชาชน ตลอดจนได้เผยแพร่ผลงานให้หน่วยงานต่างๆได้รับรู้ เชิงปริมาณ - จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 1 ครั้ง ให้กับข้าราชการสำนักอนามัย - จัดงานแสดงผลงานนวัตกรรมทางการแพทย์และสาธารณสุข 1 ครั้ง โดยมีผู้ร่วมงาน 450 คน เป็นข้าราชการทั้งในและนอกสังกัดกรุงเทพมหานคร ทั้งภาครัฐ เอกชน และประชาชน โดยมีการประกวดและตัดสินผลงานในวันจัดงาน ตลอดจนการจัดพิมพ์เอกสารเผยแพร่นวัตกรรมฯ ปี พ.ศ. 2561 จำนวน 1,000 เล่ม | 900,000.00 | 886,819.00 | สำนักอนามัย | 2017-10-01 00:00:00 | 2018-09-30 00:00:00 | แล้วเสร็จ | 100.00 |
16 | 7.0.1. ด้านที่ ๗ – การบริหารจัดการเมืองมหานคร : Management Strategy |
6.2. | 2562 | โครงการสัมมนาเชิงปฏิบัติการเพื่อเสริมสร้างนวัตกรรมภาครัฐ | เพื่อให้หน่วยงานในสังกัดกรุงเทพมหานครพัฒนาและปรับปรุงประสิทธิภาพการปฏิบัติราชการให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น สำนักงาน ก.ก. จึงได้ส่งเสริม สนับสนุน และผลักดันให้หน่วยงาน/ส่วนราชการ เห็นความสำคัญของการพัฒนาและปรับปรุงงานบริการให้ดียิ่งขึ้น โดยการจัดให้มีการพิจารณารางวัลคุณภาพ การให้บริการของกรุงเทพมหานครขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 เป็นต้นมา เพื่อส่งเสริมและกระตุ้นให้หน่วยงาน/ส่วนราชการต่างๆ เห็นความสำคัญของการพัฒนาและปรับปรุงการบริการเพื่อประโยชน์สุขของประชาชนและมอบรางวัลให้แก่หน่วยงาน/ส่วนราชการที่สามารถพัฒนาคุณภาพการให้บริการได้อย่างมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด และเป็นแบบอย่างที่ดี (Best Practice) ให้กับหน่วยงานอื่นได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และนำไปขยายผลการดำเนินการโดยแบ่งประเภทรางวัลออกเป็น 2 ประเภท | 2.1 เพื่อให้ผู้เข้ารับการสัมมนามีความรู้ มีความเข้าใจ Innovation Mindset มีความตระหนักถึงบทบาทของข้าราชการในบริบทผู้ประกอบการภาครัฐ รองรับการเปลี่ยนแปลงตามนโยบาย Thailand 4.0 2.2 เพื่อให้ผู้เข้ารับการสัมมนาสามารถนำความรู้ไปสร้างคุณค่าจากการพัฒนานวัตกรรมในการทำงาน ส่งมอบแก่ประชาชน สาธารณะหรือส่วนรวมและองค์กร อันเป็นทางเลือกใหม่ในการนำความเปลี่ยนแปลงให้เกิดการพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ ในการทำงาน | 1. กลุ่มเป้าหมาย ข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญ จำนวน 2 รุ่นละ 50 คน จำนวน 100 คน ได้แก่ - ประเภทอำนวยการ ระดับต้น – ระดับสูง - ประเภทวิชาการ ระดับชำนาญการ – ระดับชำนาญการพิเศษ และประเภททั่วไป ระดับชำนาญงาน – ระดับอาวุโส ซึ่งดำรงตำแหน่งหัวหน้าฝ่ายหรือเทียบเท่า 2.ผู้เกี่ยวข้อง จำนวน 24 คน ได้แก่ - เจ้าหน้าที่ดำเนินการ จำนวน 18 คน - วิทยากร 2 รุ่น ๆ ละ 3 คน จำนวน 6 คน | 247,900.00 | 205,376.00 | สํานักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร | 2018-10-01 00:00:00 | 2019-09-30 00:00:00 | แล้วเสร็จ | 100.00 |
17 | 7.0.1. ด้านที่ ๗ – การบริหารจัดการเมืองมหานคร : Management Strategy |
6.2. | 2562 | กิจกรรมพัฒนาศักยภาพการใช้นวัตกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ (Self-Directed & Life Long Learning) เพื่อการพัฒนารายบุคคลและการติดตามประเมินผลสัมฤทธิ์ | ปัจจุบันได้มีการสร้างนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และกำหนดให้เป็นนวัตกรรมขององค์การ ซึ่งครอบคลุมทั้งมิติของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และมิติของการพัฒนาองค์การ โดยมิติของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์นั้น จะมุ่งเน้นการใช้นวัตกรรมทั้งด้านการฝึกอบรมที่เน้นการเพิ่มพูนความรู้ การพัฒนาทักษะ และการปรับทัศนคติให้มีความเหมาะสมกับงานให้เป็นไปตามหลักสมรรถนะ (Competency) และขยายผลไปสู่มิติของการพัฒนาในภาพรวมขององค์การในระดับมหภาค โดยนวัตกรรมจะเป็นสิ่งที่ใช้ในการเปลี่ยนแปลงองค์การทั้งในระดับบุคคล (individual) และระดับกลุ่ม (group) อย่างไรก็ตามการฝึกอบรมพัฒนาในรูปแบบเดิม (Classroom Training) อาจไม่ตอบสนองต่อการเรียนรู้ในยุคเทคโนโลยีสารสนเทศซึ่งกลุ่มเป้าหมายจะเรียนรู้พัฒนาตนเองตามที่ต้องการ และสามารถเรียนรู้ได้ทุกสถานที่ ทุกเวลาตามความสนใจ สอดคล้องกับแนวทางที่สถาบันพัฒนาข้าราชการกรุงเทพมหานครได้กำหนดไว้ในแผนพัฒนาทรัพยากรบุคคลของกรุงเทพมหานคร (พ.ศ. ๒๕๖๑ – ๒๕๖๕) ด้วยแนวคิดการพัฒนาเครื่องมือเพื่อกระตุ้นเรียนรู้ Self – Directed & Life Long Learning เพื่อการพัฒนารายบุคคล รวมทั้งการติดตามประเมินผลสัมฤทธิ์จากการพัฒนานั้น โดยก่อนการพัฒนาเครื่องมือ และนวัตกรรมต่าง ๆ จำเป็นต้องพัฒนาสร้างศักยภาพความพร้อมของบุคลากรทั้งด้านความรู้เท่าทันเทคโนโลยี และทักษะที่จำเป็นต่าง ๆ เพื่อการรองรับนวัตกรรมที่จะนำมาใช้ | ๑. เพื่อสำรวจระดับความสามารถของผู้ปฏิบัติงานสังกัดสถาบันฯ ทุกตำแหน่ง ทุกระดับ ๒. เพื่อกำหนดเนื้อหาการเรียนรู้ด้วยตนเอง ที่เป็นไปตามสมรรถนะของตำแหน่ง ๓. เพื่อกำหนดแนวทางการนำนวัตกรรมมาใช้พัฒนารายบุคคล ตอบสนองแผนพัฒนาทรัพยากรบุคคลของกรุงเทพมหานคร (พ.ศ. ๒๕๖๑ – ๒๕๖๕) เพื่อกระตุ้นการเรียนรู้ Self – Directed & Life Long Learning ที่นำไปใช้ในการพัฒนารายบุคคล | เป็นสำรวจระดับความสามารถของผู้ปฏิบัติงานตามสมรรถนะของตำแหน่ง และกำหนดเนื้อหาการเรียนรู้ด้วยตนเองเพื่อเผยแพร่ผ่านระบบออนไลน์ รวมทั้งการกำหนดแนวทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ของผู้ปฏิบัติงานในสังกัดสถาบันฯ ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายจำนวน ๑๒๐ คน | 0.00 | 0.00 | ** สถาบันพัฒนาข้าราชการ กทม. สํานักปลัดกรุงเทพมหานคร | 2018-10-01 00:00:00 | 2019-09-30 00:00:00 | แล้วเสร็จ | 100.00 |
18 | 7.0.1. ด้านที่ ๗ – การบริหารจัดการเมืองมหานคร : Management Strategy |
6.2. | 2562 | กิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านการพัฒนานวัตกรรมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารงานบุคคล | ปัจจุบันได้มีการสร้างนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และกำหนดให้เป็นนวัตกรรมขององค์การ ซึ่งครอบคลุมทั้งมิติของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และมิติของการพัฒนาองค์การ โดยมิติของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์นั้น จะมุ่งเน้นการใช้นวัตกรรมทั้งด้านการฝึกอบรมที่เน้นการเพิ่มพูนความรู้ การพัฒนาทักษะ และการปรับทัศนคติให้มีความเหมาะสมกับงานให้เป็นไปตามหลักสมรรถนะ (Competency) สอดคล้องกับแนวทางที่สถาบันพัฒนาข้าราชการกรุงเทพมหานครได้กำหนดไว้ในแผนพัฒนาทรัพยากรบุคคลของกรุงเทพมหานคร (พ.ศ. ๒๕๖๑ – ๒๕๖๕) ด้วยแนวคิดการพัฒนานวัตกรรมต่าง ๆ ประกอบด้วยการสร้าง Assessment Center เพื่อเป็นเครื่องมือประเมินผลสัมฤทธิ์ของการพัฒนา การสร้าง Dashboard เป็นแหล่งข้อมูลประกอบการตัดสินใจของผู้บริหาร และการสร้าง Digital Learning Platform เพื่อเป็นศูนย์ความรู้การบริหารมหานคร ศูนย์การเรียนรู้ด้วยตนเองและเครือข่ายการเรียนรู้เพื่อการพัฒนาบุคลากร โดยก่อนการพัฒนาเครื่องมือ และนวัตกรรมต่าง ๆ ดังกล่าว จำเป็นต้องสร้างความเข้าใจแก่ผู้เกี่ยวข้อง และสร้างศักยภาพความพร้อมของบุคลากรทั้งด้านความรู้เท่าทันเทคโนโลยี ทักษะที่จำเป็น เพื่อการรองรับนวัตกรรมที่จะนำมาใช้ | ๑. เพื่อพัฒนาความรู้ ความเข้าใจแนวพัฒนานวัตกรรมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารงานบุคคล ๒. เพื่อร่วมกันกำหนดแนวทางการนำนวัตกรรมมาใช้ และวิธีการใช้นวัตกรรมให้เหมาะสมกับลักษณะองค์กร ๓. เพื่อจัดทำแผนงานการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์โดยการใช้นวัตกรรมเพื่อตอบสนองแผนพัฒนาทรัพยากรบุคคลของกรุงเทพมหานคร (พ.ศ. ๒๕๖๑ – ๒๕๖๕) ด้านการสร้าง Assessment Center เป็นเครื่องมือประเมินผลสัมฤทธิ์ของการพัฒนา การสร้าง Dashboard เป็นแหล่งข้อมูลประกอบการตัดสินใจของผู้บริหาร และการสร้าง Digital Learning Platform เพื่อเป็นศูนย์ความรู้การบริหารมหานคร ศูนย์การเรียนรู้ด้วยตนเองและเครือข่ายการเรียนรู้เพื่อการพัฒนาบุคลากร | เป็นการจัดกลุ่มกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และร่วมกันกำหนดแนวทางการพัฒนานวัตกรรมโดยการแสดงความคิดเห็น ของผู้ปฏิบัติงานด้านทรัพยากรบุคคล และผู้เกี่ยวข้อง ดังนี้ กลุ่มเป้าหมาย เป็นข้าราชการกรุงเทพมหานคร สายงานทรัพยากรบุคคล และผู้เกี่ยวข้อง จาก สถาบันพัฒนาข้าราชการกรุงเทพมหานคร ๖๐ คน ดำเนินการจัดกิจกรรม ๒ ครั้ง ครั้งละ ๓๐ คน | 0.00 | 0.00 | ** สถาบันพัฒนาข้าราชการ กทม. สํานักปลัดกรุงเทพมหานคร | 2018-10-01 00:00:00 | 2019-09-30 00:00:00 | แล้วเสร็จ | 100.00 |
19 | 7.0.1. ด้านที่ ๗ – การบริหารจัดการเมืองมหานคร : Management Strategy |
6.2. | 2563 | หลักสูตรการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการการเพิ่มศักยภาพด้านการพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ (โครงการค่าใช้จ่ายในการพัฒนาทรัพยากรบุคคลของกรุงเทพมหานครให้มีสมรรถนะพึงประสงค์) | ในบริบทของโลกปัจจุบัน รัฐบาลระดับเมืองได้รับการคาดหวังให้เป็นผู้ผลักดันและแก้ไขปัญหาระดับโลก เช่น ความมั่นคงที่เกี่ยวเนื่องกับการก่อการร้าย ความเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ความรุนแรงของภัยธรรมชาติ ตลอดจนปัญหามลพิษ กรุงเทพมหานครก็เช่นเดียวกัน ต้องเป็นกลไกสำคัญในการดำเนินภารกิจที่มีความซับซ้อน มีขอบเขตกว้างขวางขึ้น คาดเดาได้ยากขึ้น และจัดการได้ยากขึ้น รวมทั้งยังต้องพยายามปรับองค์กรให้เท่าทันกับความเปลี่ยนแปลงแบบขุดรากที่เกิดจากความก้าวหน้าของเทคโนโลยีดิจิตอล (Technology Disruption) เพื่อให้กรุงเทพมหานครสามารถดำเนินการตามภารกิจได้อย่างเท่าทันต่อบริบทของปัญหากรุงเทพมหานครมีความจำเป็นต้องยกระดับการพัฒนาทรัพยากรบุคคลให้ก้าวทันและพร้อมรับมือกับอนาคตที่ ไม่สามารถคาดหมายทำนาย (Future-ready) โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผ่านการเรียนรู้จากเมืองต้นแบบ หรือองค์กร ชั้นนำในต่างประเทศ ที่เป็นผู้นำและสามารถเป็นแบบอย่างการดำเนินการที่ดี ในการนี้ สถาบันพัฒนาข้าราชการกรุงเทพมหานครในฐานะหน่วยงานหลักด้านการพัฒนาทรัพยากรบุคคล ได้ตระหนักถึงความจำเป็นในการพัฒนาบุคลากรในสังกัดของสถาบันฯ ให้มีศักยภาพ จึงจัดทำโครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการการเพิ่มศักยภาพด้านการพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ ในลักษณะของการ “พัฒนาผู้พัฒนาทรัพยากรบุคคล” (Training the Trainer( ประกอบด้วยการฝึกอบรมในประเทศ และการเพิ่มพูนวิสัยทัศน์และประสบการณ์จากการฝึกอบรมกับองค์กรต้นแบบในต่างประเทศ เพื่อให้บุคลากรสามารถทำงานได้อย่างเป็นมืออาชีพ และสามารถขยายผลไปสู่การยกดับคุณภาพทรัพยากรบุคคลในภาพรวมของกรุงเทพมหานครได้ต่อไป | 1. ทบทวนบทบาทและกระบวนการฝึกอบรมเพื่อการพัฒนาสู่การพัฒนาทรัพยากรบุคคล แนวใหม่ 2. เพื่อเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจ รวมถึงแนวทางในการพัฒนาทรัพยากรบุคคลในด้านต่าง ๆ เพิ่มขีดความสามารถในการปฎิบัติงานให้ประสบความสำเร็จมากขึ้น ตลอดจนสามารถบูรณาการความรู้ ไปใช้เพื่อการพัฒนาองค์กร 3. เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความพร้อมในการพัฒนาทรัพยากรบุคคลขององค์การเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลง สามารถวางแผนการพัฒนาทรัพยากรบุคคล รวมถึงบริหารจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุดต่อองค์กร 2.4 เพื่อเสริมสร้างประสบการณ์การพัฒนาบุคลากรแนวใหม่ได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นและประสบการณ์ด้าน HRD Innovation & Strategic policy Implementation จากวิทยากร และองค์กรชั้นนำต่างประเทศ | ประกอบด้วยข้าราชการกรุงเทพมหานคร ตำแหน่งนักทรัพยากรบุคคล ระดับปฏิบัติการ – ชำนาญการพิเศษ และประเภทอำนวยการ ระดับต้น สังกัดสถาบันพัฒนาข้าราชการกรุงเทพมหานคร สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 55 คน ผู้เกี่ยวข้อง 10 คน (เจ้าหน้าที่ดำเนินการ และวิทยากร) | 2,481,900.00 | 353,005.58 | ** สถาบันพัฒนาข้าราชการ กทม. สํานักปลัดกรุงเทพมหานคร | 2019-10-01 00:00:00 | 2020-09-29 00:00:00 | แล้วเสร็จ | 100.00 |
20 | 7.0.1. ด้านที่ ๗ – การบริหารจัดการเมืองมหานคร : Management Strategy |
6.2. | 2563 | หลักสูตรการใช้นวัตกรรมเพื่อเสริมสร้างการพัฒนารายบุคคล (โครงการค่าใช้จ่ายในการเสริมสร้างการพัฒนางานและวัฒนธรรมองค์กร) | ปัจจุบันการพัฒนาองค์กรไม่ได้มุ่งเน้นเพียงแต่การพัฒนาคน และระบบงานเท่านั้น เพราะทุกองค์กรมีความตระหนักเช่นเดียวกันว่า ทรัพยากรที่สำคัญอีกประการหนึ่ง คือ ข้อมูลความรู้ที่ใช้ในการพัฒนาองค์กร หากองค์กรใดมีแหล่งข้อมูลที่สามารถสนับสนุนการทำงาน และส่งเสริมการเรียนรู้แก่บุคลากรได้ ก็ถือเป็นความได้เปรียบในเชิงการแข่งขัน และยังเป็นรากฐานที่สำคัญต่อการพัฒนาในด้านอื่น ๆ ได้ ดังที่เราเรียกว่าองค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization) ซึ่งเป็นแนวคิดในการพัฒนาองค์กรที่เน้นการการเรียนรู้ร่วมกันของสมาชิกในองค์กร (Team Learning) ส่งเสริมการถ่ายทอดแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ ที่ส่งผลต่อการพัฒนาองค์การอย่างต่อเนื่องทันต่อสภาวะการเปลี่ยนแปลง อีกทั้งมีกระบวนการทำงานที่มีประสิทธิภาพ เกิดบรรยากาศของการคิดริเริ่ม (Initiative) โดยมุ่งเน้นการนำนวัตกรรม (Innovation) มาใช้เป็นเครื่องมือบริหารความรู้เพื่อส่งเสริมการพัฒนารายบุคคล การบริหารความรู้สำหรับการพัฒนารายบุคคล เป็นการรวบรวมความรู้ที่มีอยู่ในแหล่งต่าง ๆ มาสร้างเป็นคลังความรู้ที่เป็นระบบ รวมทั้งความรู้ที่อยู่ในตัวบุคคล (Tacit Knowledge) ซึ่งถือเป็นทุนความรู้ที่มีคุณค่า โดยใช้เทคนิคการจัดการความรู้ (Knowledge Management) และนำนวัตกรรมมาเป็นเครื่องมือในการบริหาร เพื่อสร้างเป็นคลังสารสนเทศของหน่วยงาน ให้เกิดประสิทธิภาพด้านการเข้าถึงความรู้ การแลกเปลี่ยนความรู้ และสร้างค่านิยมขององค์การ (Corporate Value) ด้านองค์กรแห่งการเรียนรู้ อันเป็นการสนับสนุนการพัฒนารายบุคคลตามแผนพัฒนาทรัพยากรบุคคลของกรุงเทพมหานคร (พ.ศ. ๒๕๖๑ – ๒๕๖๕) ดังนั้น สถาบันฯ จึงมีแนวคิดการจัดทำโครงการการใช้นวัตกรรมเพื่อส่งเสริมการพัฒนารายบุคคล ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๓ ขึ้น เพื่อสนับสนุนการพัฒนาทรัพยากรบุคคลของกรุงเทพมหานคร | ๑. เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจในการนำนวัตกรรม เทคโนโลยีมาเป็นเครื่องมือการจัดการ คลังความรู้ของหน่วยงาน ๒. เพื่อวางแผนจัดเก็บความรู้ในระบบออนไลน์ และแนวทางการสงวนรักษาผลผลิตทางปัญญาขององค์กรในรูปแบบดิจิทัล รวมทั้งวิธีการจัดการและการเผยแพร่ให้ผู้สนใจสามารถรับรู้ เข้าถึงเพื่อการใช้ประโยชน์ ๓. เพื่อวางแผนกำหนดหัวข้อความรู้ที่จำเป็นต้องใช้ในการพัฒนาทรัพยากรบุคคลของ กรุงเทพมหานคร และส่งเสริมการพัฒนารายบุคคล | กลุ่มเป้าหมายที่เป็นข้าราชการกรุงเทพมหานคร จำนวน ๒๐ คน ดังนี้ ๑. กลุ่มเป้าหมาย เป็นข้าราชการกรุงเทพมหานคร ประเภทวิชาการ ระดับปฏิบัติการ ชำนาญการ ชำนาญการพิเศษ ประเภททั่วไป ระดับชำนาญงาน อาวุโส จำนวน ๒๐ คน ๑ รุ่น ระยะเวลาการอบรมแบ่งเป็นการเรียนผ่านระบบออนไลน์ (E-Training) และการอบรมแบบไป-กลับ ๑ วัน ๒. ผู้เกี่ยวข้อง จำนวน ๖ คน ดังนี้ ๑) เจ้าหน้าที่ดำเนินการ ๔ คน ๒) วิทยากร ๒ คน | 391,800.00 | 0.00 | ** สถาบันพัฒนาข้าราชการ กทม. สํานักปลัดกรุงเทพมหานคร | 2019-10-01 00:00:00 | 2020-09-29 00:00:00 | แล้วเสร็จ | 100.00 |
21 | 9.0.4. ด้านที่ ๙ เมืองที่มีระบบบริหารจัดการที่ดี มีธรรมาภิบาล และการมีส่วนร่วมของประชาชน |
6.2. | 2560 | โครงการสัมมนาเชิงวิชาการนวัตกรรมคอมพิวเตอร์สมัยใหม่ | เพื่อพัฒนาความรู้ความสามารถแก่ตัวข้าราชการและหน่วยงานของกรุงเทพมหานครให้ก้าวหน้าและทันต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี การให้ความรู้ในเรื่องนวัตกรรม (Innovation) หมายถึงการนำสิ่งใหม่ ๆ อาจเป็นแนวความคิดหรือสิ่งประดิษฐ์ที่ยังไม่เคยมีใช้มาก่อนหรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงจากของเดิมที่มีอยู่แล้วให้มีความทันสมัยและได้ผลดีมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงกว่าเดิม การนำนวัตกรรมคอมพิวเตอร์สมัยใหม่ (Innovation) มาประยุกต์ใช้ในองค์กร ซึ่งก็คือการนำเอาสิ่งใหม่อาจจะอยู่ในรูปของความคิดหรือการกระทำรวมทั้งสิ่งประดิษฐ์เข้ามาใช้ในองค์กร เพื่อมุ่งหวังที่จะเปลี่ยนแปลงสิ่งที่มีอยู่เดิม เพื่อให้ระบบการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ทำให้เจ้าหน้าที่ในหน่วยงานเกิดการเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็ว เกิดแรงจูงใจในการเรียนและช่วยประหยัดเวลาในการเรียน เช่น การสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วย การใช้วีดีทัศน์เชิงโต้ตอบ (Interactive Video) สื่อหลายมิติ (Hypermedia) เป็นต้น การนำนวัตกรรมคอมพิวเตอร์สมัยใหม่มาใช้กับกรุงเทพมหานคร จะส่งผลให้หน่วยงานของกรุงเทพมหานครมีความสามารถทัดเทียมและแข่งขันกับหน่วยงานอื่น ๆ ได้ | 1. เพื่อเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับนวัตกรรมคอมพิวเตอร์สมัยใหม่ที่ใช้ในการปฏิบัติงานแก่ข้าราชการกรุงเทพมหานคร 2. เพื่อให้ข้าราชการกรุงเทพมหานครนำนวัตกรรมคอมพิวเตอร์สมัยใหม่มาประยุกต์ใช้ เพื่อเพิ่มศักยภาพภายในการปฏิบัติงาน | โดยมีผู้เข้าร่วมโครงการ จำนวนทั้งสิ้น 400 คน ประกอบด้วย 1. กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 360 คน ดังนี้ 1)ข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญทุกระดับ จำนวน 360 คน (จำนวน 2 รุ่น รุ่นละ 180 คน) 2. ผู้เกี่ยวข้อง จำนวน 40 คน ดังนี้ 1)เจ้าหน้าที่ดำเนินการ จำนวน 30 คน (จำนวน 2 รุ่น รุ่นละ 15 คน) 2)วิทยากร จำนวน 10 คน (จำนวน 2 รุ่น รุ่นละ 5 คน) | 362,000.00 | 278,193.00 | สํานักยุทธศาสตร์และประเมินผล | 2016-10-01 00:00:00 | 2017-09-30 00:00:00 | แล้วเสร็จ | 100.00 |
รวม ->21 หน่วยงาน | 0 | 0.00 | 0.00 | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 | 0 | 0 | 0 | 0 |