ผลการปฏิบัติราชการประจำปี : ของหน่วยงาน : 07000000

Home Home SED

มิติที่ 4 ด้านคุณภาพการปฏิบัติราชการ

(1) ความสำเร็จในการเสนอนวัตกรรมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของหน่วยงาน
[มิติที่ 4 : ]

๑.๖ - ปลอดโรคคนเมือง อาหารปลอดภัย ๑.๖.๓ คนกรุงเทพฯทุกคนมีโอกาสได้รับบริการทางการแพทย์และสาธารณสุขที่เท่าเทียม มีคุณภาพ แ
ความสำเร็จในการเสนอนวัตกรรมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของหน่วยงาน

หน่วยนับ :คะแนน

เป้าหมาย :100.00

ผลงาน :100.00

ผลงานเทียบกับเป้าหมายรายไตรมาส

ไตรมาสที่
(1 - 4)
*ผลงาน*
(คะแนน)
*ผลประเมินตัวชี้วัด*
(* 2.1 / 2.2 *)
1
0.00

100 / 100
2
0.00

0 / 0
3
80.00

0 / 0
4
100.00

0 / 0

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 1

สำนักการแพทย์ได้คัดเลือกครงการจัดบริการเจาะเลือดผู้ป่วยถึงบ้าน (Mobile Lab) ของโรงพยาบาลในสังกัดสำนักการแพทย์ และอยู่ระหว่างจัดทำโครงการจัดบริการเจาะเลือดผู้ป่วยถึงบ้าน (Mobile Lab) ของโรงพยาบาลในสังกัดสำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร และจัดประชุมเพื่อชี้แจงแนวทางการดำเนินงานโครงการฯ แก่โรงพยาบาลในสังกัดสำนักการแพทย์ จำนวน 8 แห่ง (รพก.-รพส.)

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 2

สำนักการแพทย์เสนอ “การบริการทางการแพทย์รูปแบบใหม่ (New normal) ของโรงพยาบาลในสังกัดสำนักการแพทย์” เป็นโครงการพัฒนานวัตกรรมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของสำนักการแพทย์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ให้สำนักงาน ก.ก. หลังจากได้รับการประสานแจ้งผลการพิจารณาตามมติของคณะกรรมการพัฒนานวัตกรรม กทม.

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 3

มีการใช้ระบบการบริการแบบ New normal โดยมีผลการดำเนินงาน ตั้งแต่วันที่ 1 – 31 พ.ค.2564 ดังนี้ 1) การให้บริการเจาะเลือดผู้ป่วยถึงบ้าน (Mobile lab) จำนวน 928 ครั้ง 2) การให้บริการรักษาพยาบาลด้วยระบบโทรเวชกรรม (Telemedicine) จำนวน 6,745 คน 6,749 ครั้ง 3) การรับยาทางไปรษณีย์ จำนวน 4,651 ครั้ง 4) การับยาผ่านระบบ Drive thru จำนวน 360 ครั้ง 5) การรับยาร้านขายยา จำนวน 1 คน

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 4

โครงการบริการทางการแพทย์รูปแบบใหม่ (New normal) ของโรงพยาบาลในสังกัดสำนักการแพทย์ เป็นนวัตกรรมให้บริการ (Service Innovation) โดยการนำระบบการเจาะเลือดผู้ป่วยถึงบ้าน (Mobile lab) ซึ่งสามารถต่อยอดไปสู่การให้บริการรักษาพยาบาลด้วยระบบโทรเวชกรรม (Telemedicine) กรณีผู้ป่วยมีผลการตรวจทางห้องปฏิบัติปกติ และแพทย์พิจารณาแล้วเห็นว่าสามารถรับบริการด้วยระบบดังกล่าวได้ จนถึงพัฒนากระบวนการจ่ายยารูปแบบใหม่ ได้แก่ การรับยา ณ ห้องจ่ายยาโรงพยาบาล การจัดส่งยาทางบริษัทไปรษณีย์ การรับยาผ่าน Drive Thru และการรับยาผ่านร้านขายยาคุณภาพใกล้บ้าน ซึ่งจะช่วยให้ผู้ป่วยได้รับโอกาสทางการรักษา และเข้าถึงบริการทางการแพทย์ได้อย่างเท่าเทียมโดยไม่ต้องเสียเวลา และค่าใช้จ่ายในการเดินทาง นับเป็นรูปแบบการให้บริการทางการแพทย์แบบใหม่ (New normal) แก่ประชาชน ในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร โดยมีการพัฒนานวัตกรรมการให้บริการทางการแพทย์รูปแบบใหม่ ตั้งแต่การเจาะเลือดผู้ป่วยถึงบ้าน (Mobile lab) การให้บริการรักษาพยาบาลด้วยระบบโทรเวชกรรม (Telemedicine) และการจ่ายยารูปแบบใหม่ที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตรูปแบบใหม่ (New Normal) เพื่อเพิ่มโอกาสการเข้าถึงบริการทางการแพทย์ของประชาชนที่เหมาะสมต่อไป ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่ได้จากการดำเนินโครงการ ตัวชี้วัดที่วัดความสำเร็จของโครงการ 1. มีระบบการให้บริการแบบ New normal (เป้าหมาย 1 ระบบ) ผลการดำเนินงาน 1 ระบบ 2. มีการนำนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ไม่น้อยกว่า 30 วัน (เป้าหมาย 5 เดือน) โดยสรุปผลการดำเนินโครงการ ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน – 31 สิงหาคม 2564 ดังนี้ 1. เจาะเลือดผู้ป่วยถึงบ้าน (Mobile lab) จำนวน 4,032 ครั้ง 2. รักษาพยาบาลด้วยระบบโทรเวชกรรม (Telemedicine) จำนวน 30,952 ครั้ง 3. รับยาทางไปรษณีย์ จำนวน 24,875 ครั้ง 4. รับยาผ่านระบบ Drive thru จำนวน 4,151 ครั้ง 5. รับยาร้านขายยา จำนวน 5 คน

** สรุปผลการดำเนินงาน **

โครงการ/กิจกรรมที่สนับสนุนตัวชี้วัด

(2) ความสำเร็จในการพัฒนาและจัดเก็บฐานข้อมูลที่มีความสำคัญต่อการปฏิบัติงานหรือการให้บริการ
[มิติที่ 4 : ]

๗.๕ - เทคโนโลยีสารสนเทศ๗.๕.๑ กรุงเทพมหานครให้บริการประชาชนด้วยความสะดวก รวดเร็ว ถูกต้องและโปร่งใส โดยประยุกต์
ความสำเร็จในการพัฒนาและจัดเก็บฐานข้อมูลที่มีความสำคัญต่อการปฏิบัติงานหรือการให้บริการ

หน่วยนับ :ร้อยละ

เป้าหมาย :100.00

ผลงาน :100.00


ผลงานเทียบกับเป้าหมายรายไตรมาส

ไตรมาสที่
(1 - 4)
*ผลงาน*
(ร้อยละ)
*ผลประเมินตัวชี้วัด*
(* 2.1 / 2.2 *)
1
0.00

100 / 100
2
0.00

0 / 0
3
80.00

0 / 0
4
100.00

0 / 0

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 1

อยู่ระหว่างจัดประชุมคณะทำงาน เพื่อพิจารณาการพัฒนาหรือปรับปรุงฐานข้อมูล ตามแนวทางที่ สยป. กำหนด

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 2

อยู่ระหว่างจัดทำคำอธิบายชุดข้อมูลดิจิทัล (Metadata) และพจนานุกรมข้อมูล (Data Dictionary)

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 3

สำนักการแพทย์ได้ส่งหนังสือไปยังสำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล เรื่องการนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ในการปฏิบัติงาน ตามบันทึกที่ กท 0602/6064 ลงวันที่ 22 มิถุนายน 2564

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 4

สำนักการแพทย์ ได้ดำเนินการพัฒนาและจัดเก็บฐานข้อมูลที่มีความสำคัญต่อการปฏิบัติงานหรือการให้บริการ ตามหนังสือสำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล ด่วนที่สุด ที่ กท 0510/2149 ลงวันที่ 25 พฤศจิกายน 2563 กำหนดแนวทางการดำเนินงานตามตัวชี้วัดที่ 5.2 ตามคู่มือการประเมินผลการปฏิบัติราชการตามคำรับรองการปฏิบัติราชการฯ 5 ขั้นตอน ซึ่งสำนักการแพทย์ ได้ดำเนินการตามแนวทางดังกล่าว ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 1.1 การแต่งตั้งคณะทำงานกำกับดูแลข้อมูลระดับหน่วยงาน สำนักการแพทย์พิจารณาใช้คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารสารสนเทศ สำนักการแพทย์ แทนการแต่งตั้งคณะทำงานดังกล่าว เพื่อลดความซ้ำซ้อน เนื่องจากมีบุคลากรที่เป็นคณะทำงานชุดเดียวกัน 1.2 จัดประชุมคณะกรรมการบริหารสารสนเทศ สำนักการแพทย์ ครั้งที่ 1/2563 เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 24 ธันวาคม 2563 เวลา 13.30 – 16.00 น. ณ ห้องประชุมแพทยพัฒน์ ชั้น 5 สำนักการแพทย์ เพื่อร่วมกันพิจารณาแนวทางการพัฒนาฐานข้อมูลให้มีขอบเขตการใช้ประโยชน์ได้กว้างขวางขึ้น โดยที่ประชุมมีมติให้นำข้อมูล จำนวนผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่มารับบริการในโรงพยาบาลสังกัดสำนักการแพทย์ จำแนกรายเขต เพศ และอายุ มาพัฒนาเป็นฐานข้อมูลของหน่วยงาน 1.3 ดำเนินการจัดทำบัญชีรายการข้อมูล (Data Catalog) และแผนพัฒนาฐานข้อมูลของหน่วยงาน 1.4 ส่งเอกสารหลักฐานการดำเนินการขั้นตอนที่ 1 ไปยังสำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล ตามหนังสือสำนักการแพทย์ ด่วนที่สุด ที่ กท 0602/13860 ลงวันที่ 28 ธันวาคม 2564 เรื่อง ส่งเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานตามตัวชี้วัดที่ 5.2 ของสำนักการแพทย์ (ขั้นตอนที่ 1) ขั้นตอนที่ 2 สำนักการแพทย์ดำเนินการจัดทำคำอธิบายชุดข้อมูลดิจิทัล (Metadata) และพจนานุกรมข้อมูล (Data Dictionary) และส่งเอกสารหลักฐานการดำเนินการขั้นตอนที่ 2 ไปยังสำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล ตามหนังสือสำนักการแพทย์ ด่วนที่สุด ที่ กท 0602/3078 ลงวันที่ 29 มีนาคม 2564 เรื่อง ส่งเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานตามตัวชี้วัดที่ 5.2 ของสำนักการแพทย์ (ขั้นตอนที่ 2) ขั้นตอนที่ 3 สำนักการแพทย์ ดำเนินการปรับปรุงฐานข้อมูลให้มีคุณภาพและเป็นปัจจุบันอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง จำแนกเป็น 2 ส่วน ดังนี้ ส่วนที่ 1 รักษาสถานภาพฐานข้อมูลที่ดำเนินการในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 จำนวน 14 ตัวชี้วัด ได้แก่ (1) ประชาชนอายุ 15 ปีขึ้นไป ได้รับการคัดกรองโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง (2) อัตราการตายของผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ไม่มีภาวะแทรกซ้อน Ischemic Heart, CKD, Stroke (3) อัตราการตายของผู้ป่วยโรคความความดันโลหิตสูงด้วย Intracerebral Hemorrhage หรือ Hemorrhagic Stroke (4) จำนวนคลินิกผู้สูงอายุที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน “คลินิกผู้สูงอายุคุณภาพ” (5) ร้อยละของความพึงพอใจของผู้สูงอายุที่มารับบริการในคลินิกผู้สูงอายุ (6) อัตราการคลอดมีชีพในหญิงอายุ 15 - 19 ปี (7) ร้อยละของผู้เข้าร่วมโครงการอ้วนลงพุงมีรอบเอวหรือค่า BMI ลดลงจากเดิม (8) ร้อยละของความสำเร็จในการผ่านการตรวจประเมินมาตรฐานคุณภาพโรงพยาบาล (Re - Accreditaion) (9) ระดับความสำเร็จในการพัฒนาศักยภาพโรงพยาบาลระดับทุติยภูมิระดับสูง และระดับ ตติยภูมิระดับสูง (10) ความพึงพอใจของผู้ป่วยต่อการให้บริการของโรงพยาบาลในสังกัดกรุงเทพมหานคร (11) ความสำเร็จในการส่งต่อระหว่างโรงพยาบาลในสังกัดสำนักการแพทย์ (12) ความสำเร็จในการส่งต่อระหว่างโรงพยาบาลกับศูนย์บริการสาธารณสุข (13) ร้อยละของผู้ป่วยวิกฤติฉุกเฉินที่ขอรับบริการทางการแพทย์ฉุกเฉินขั้นสูง (Advance) /ขั้นพื้นฐาน (Basic) สามารถรับบริการตามเวลาที่กำหนด (10 นาที และ 15 นาที ตามลำดับ) (14) ร้อยละผลงานวิจัย/Innovation/R2R ที่นำไปใช้ในการปฏิบัติงาน ส่วนที่ 2 นำเข้าฐานข้อมูลใหม่ในระบบ ได้แก่ จำนวนผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่มารับบริการในโรงพยาบาลสังกัดสำนักการแพทย์ จำแนกรายเขต เพศ และอายุ (รายไตรมาส) ขั้นตอนที่ 4 สำนักการแพทย์ มีการนำข้อมูลผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่มารับบริการในโรงพยาบาลสังกัดสำนักการแพทย์ ไปใช้ในการวิเคราะห์สถานการณ์และปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชากรในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร ตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาสำนักการแพทย์ ระยะ 4 ปี (พ.ศ.2564 – 2567) และส่งเอกสารหลักฐานการดำเนินการขั้นตอนที่ 4 ไปยังสำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล ตามหนังสือสำนักการแพทย์ ที่ กท 0602/6064 ลงวันที่ 22 มิถุนายน 2564 เรื่อง ส่งเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานตามตัวชี้วัดที่ 5.2 ของสำนักการแพทย์ (ขั้นตอนที่ 4) ขั้นตอนที่ 5 สำนักการแพทย์ ดำเนินการเผยแพร่ข้อมูลตามตัวชี้วัดที่ 5.2 ต่อสาธารณะ ผ่านเว็บไซต์ของสำนักการแพทย์ ที่ URL : http://www.msdbangkok.go.th/home.html หัวข้อ บริการข้อมูลทางการแพทย์ของโรงพยาบาลในสังกัดสำนักการแพทย์ และเอกสารหลักฐานการดำเนินการขั้นตอนที่ 5 ไปยังสำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล ตามหนังสือสำนักการแพทย์ ด่วนที่สุด ที่ กท 0602/8203 ลงวันที่ 26 สิงหาคม 2564 เรื่อง ส่งเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานตามตัวชี้วัดที่ 5.2 ของสำนักการแพทย์ (ขั้นตอนที่ 5)

** สรุปผลการดำเนินงาน **

โครงการ/กิจกรรมที่สนับสนุนตัวชี้วัด