รายละเอียดตัวชี้วัด

Back Home

สปท.2/ความสำเร็จในการพัฒนาบุคลากรตามหลักสมรรถนะมุ่งสู่ความเป็นมืออาชีพ : 0406-0745

ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 80

ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 100

ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์
(ตัวชี้วัดระดับผลลัพธ์ (outcome))

0

รายละเอียดตัวชี้วัดฯ : พิมพ์ข้อมูล

*** สยป. ตรวจประเมินตัวชี้วัด : ไตรมาสที่ 1: 100

ผลงานเทียบกับเป้าหมายรายไตรมาส

ไตรมาสที่
(1 - 4)
*ผลงาน*
(ร้อยละ)
*ผลประเมินตัวชี้วัด*
(* 2.1 / 2.2 *)
1
15.00
100
100 / 100
2
40.00
100
100 / 100
3
100.00
100
100 / 100
4
100.00
100
100 / 100

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 1

อยู่ระหว่างขั้นตอนการดำเนินโครงการ

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 2

จัดทำคำสั่งให้ข้าราชการเข้ารับการสัมมนาโครงการสัมมนาและดูงานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารงานฝ่ายปกครอง และขณะนี้อยู่ระหว่างการประสานฝ่ายบริหารงานทั่วไป เพื่อดําเนินการขอเงินงวด จัดซื้อจัดจ้าง ยืมเงินทดรองราชการ

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 3

ดำเนินโครงการสัมมนาโครงการสัมมนาและดูงาน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารงานฝ่ายปกครองและฝ่ายทะเบียนแล้วเสร็จ และรายงานผลการดำเนินโครงการให้ผู้บริหารกรุงเทพมหานครทราบตามลำดับชั้นแล้ว

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 4

ดำเนินโครงการสัมมนาโครงการสัมมนาและดูงาน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารงานฝ่ายปกครองและฝ่ายทะเบียนแล้วเสร็จ และรายงานผลการดำเนินโครงการให้ผู้บริหารกรุงเทพมหานครทราบตามลำดับชั้นแล้ว

** สรุปผลการดำเนินงาน **

นิยาม หรือความหมายของตัวชี้วัด

นิยาม/คำอธิบาย การพัฒนาความรู้ในการปฏิบัติงาน หมายถึง การดำเนินการด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น การบรรยาย การสัมมนา การฝีกอบรม การศึกษาดูงาน เป็นต้น เพื่อให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมาย ระเบียบและหนังสือสั่งการเกี่ยวกับการปฏิบัติงานด้านการปกครอง และการเลือกตั้ง และด้านงานทะเบียน โดยมีวัตถุประสงค์ให้ผู้เข้ารับความรู้นำความรู้ที่ได้รับจากการอบรมไปใช้ในการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น การพัฒนาความรู้ในการบริหารงาน หมายถึง การดำเนินการด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น การบรรยาย การสัมมนา การฝีกอบรม การศึกษาดูงาน เป็นต้น เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับนโยบายและการขับเคลื่อนนโยบายสู่การปฏิบัติงาน และความรู้ด้านกฎหมาย แนวทาง ระเบียบ และวิธีปฏิบัติ ตลอดจนการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีต่าง ๆ ให้สามารถปฏิบัติงานตามอำนาจหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด รวมทั้งการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ประสบการณ์ และวิสัยทัศน์ในการปฏิบัติงานและการบริการประชาชน ผู้เข้าร่วมโครงการ หมายถึง ข้าราชการระดับปฏิบัติงาน ระดับปฏิบัติงาน ระดับชำนาญงาน ระดับปฏิบัติการ ระดับชำนาญการ ฝ่ายปกครองและฝ่ายทะเบียน สำนักงาเขต และข้าราชการระดับชำนาญการ ระดับชำนาญการพิเศษ สำนักงานปกครองและทะเบียน หลักสมรรถนะ หมายถึง กรุงเทพมหานครได้กำหนดให้มีสมรรถนะหลักของข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญมาตั้งแต่ปี 2550 โดยสังเคราะห์จากนโยบาย วิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมายและแนวทางการปฏิรูปของกรุงเทพมหานคร รวมถึงจากการสำรวจความคิดเห็นข้าราชการระดับผู้บริหาร ความคิดเห็นข้าราชการทั่วไป และความคิดเห็นจากประชาชน จึงได้กำหนดสมรรถนะหลักข้าราชการกรุงเทพมหานคร ดังนี้ 1. คุณธรรมและจริยธรรมการครองตนและการประพฤติปฏิบัติตนถูกต้องตามหลักคุณธรรม จริยธรรม มีความสำนึกและรับผิดชอบต่อตนเอง ตลอดจนวิชาชีพของตนเพื่อธำรงรักษาศักดิ์ศรีแห่งอาชีพข้าราชการ 2. การบริการที่ดีพฤติกรรมที่แสดงถึงความตั้งใจ ความพยายาม ความพร้อมในการให้บริการประชาชน และอุทิศเวลาที่ตอบสนองความต้องการของผู้รับบริการ 3. การมุ่งผลสัมฤทธิ์ความมุ่งมั่นในการปฏิบัติราชการให้เกิดผลสัมฤทธิ์ตามมาตรฐานและคุณภาพงานที่กำหนด และหรือให้เกินจากมาตรฐานที่กำหนด 4. ทำงานเป็นทีมการทำงานโดยมีพฤติกรรมที่สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ สามารถรับฟังความคิดเห็นของสมาชิกในทีมเต็มใจเรียนรู้จากผู้อื่น และมีความสามารถในการสร้างและรักษาความสัมพันธภาพกับสมาชิกในทีม 5. การสั่งสมความเชี่ยวชาญในงานอาชีพ ความขวนขวาย สนใจใฝ่รู้ เพื่อพัฒนาศักยภาพ ความรู้ ความสามารถของตนในการปฏิบัติราชการด้วยการศึกษาค้นคว้าหาความรู้ พัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งยังรู้จักพัฒนา ปรับปรุงประยุกต์ใช้ความรู้เชิงวิชาการและเทคโนโลยีต่าง ๆ เข้ากับการปฏิบัติงานให้เกิดผลสัมฤทธิ์ ความเป็นมืออาชีพ หมายถึง เป็นการทำงานที่คนทำต้องรู้ที่มา สาเหตุของการทำ รู้ว่าต้องทำอะไร ใช้วิธีการอย่างไร ถ้าต้องให้คนช่วยทำ จะต้องให้คนไหนทำให้ ต้องรู้กฏ ระเบียบ ที่เกี่ยวข้อง รู้หรือคาดคะเนได้ว่าจะเกิดปัญหาอะไร ที่ไหน เพื่อหาทางป้องกันแก้ไข รู้ว่าทำแล้วจะเกิดประโยชน์อะไรบ้าง อนาคตจะเป็นอย่างไรจากการทำงานนั้น ๆ หรือรู้เป้าหมายของงานที่ทำอย่างชัดแจ้ง

วิธีการคำนวณ หรือ เกณฑ์การประเมิน

วิธีการคำนวน เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานรักษาความมั่นคงภายในกรุงเทพมหานครที่ผ่านเกณฑ์การประเมินผล หารด้วย เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานรักษาความมั่นคงภายในกรุงเทพมหานครที่เข้าร่วมโครงการทั้งหมด คูณด้วย 100 เกณฑ์การประเมิน 1. การประเมินผลความเข้าใจของผู้เข้าร่วมโครงการแต่ละราย โดยใช้แบบทดสอบความรู้ภายหลังกิจกรรมการเรียนรู้ ผู้ที่ผ่านเกณฑ์ต้องได้คะแนนจากการทำแบบทดสอบ คิดเป็นร้อยละ 80 2. การประเมินผลสำเร็จตามตัวชี้วัด ประเมินโดยคำนวณผลรวมของจำนวนผู้เข้าร่วมโครงการที่มีผลคะแนนผ่านเกณฑ์การประเมินผล คิดเป็นร้อยละ 80

วิธีการการเก็บข้อมูล/แหล่งข้อมูล

1. แบบทดสอบความรู้

สนับสนุนยุทธศาสตร์กรุงเทพมหานครฯ

:ด้านที่ ๗ – การบริหารจัดการเมืองมหานคร : Management Strategy
:๗.๓ - การบริหารทรัพยากรบุคคล
:๗.๓.๑ บุคลากรกรุงเทพมหานครเป็นผู้ปฏิบัติงานแบบมืออาชีพ มีคุณธรรม จริยธรรม และเป็นที่เชื่%
:๗.๓.๑.๑ การพัฒนาบุคลากรให้มีทักษะ ความรู้ ความสามารถ มีความเป็นมืออาชีพ

โครงการ/กิจกรรมที่สนับสนุนตัวชี้วัด

ฐานข้อมูลประกอบตัวชี้วัดการพัฒนาเมือง