รายละเอียดตัวชี้วัด

Back Home

ร้อยละความสำเร็จของคลองในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ได้รับการปรับภูมิทัศน์ เพื่อสร้างอัตลักษณ์ให้กับพื้นที่ : 1700-955

ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 0

ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 100

ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์
(ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (output))

0

รายละเอียดตัวชี้วัดฯ : พิมพ์ข้อมูล

*** สยป. ตรวจประเมินตัวชี้วัด : ไตรมาสที่ 1:

ผลงานเทียบกับเป้าหมายรายไตรมาส

ไตรมาสที่
(1 - 4)
*ผลงาน*
(ร้อยละ)
*ผลประเมินตัวชี้วัด*
(* 2.1 / 2.2 *)
1
20.00

0 / 0
2
40.00

0 / 0
3
60.00

0 / 0
4
100.00

0 / 0

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 1

เข้าร่วมการประชุมกับสำนักการระบายน้ำ พร้อมกำหนดภารกิจการดำเนินการปรับภูมิทัศน์ในระดับสำนักและสำนักงานเขต

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 2

1. มีการจัดทำ action plan การปรับภูมิทัศน์คลองของสำนักการจราจรและขนส่ง และได้จัดส่งให้สำนักการระบายน้ำเรียบร้อยแล้ว 2. จัดทำแผนพัฒนาการสัญจรและจุดเชื่อมต่อในคลองเป้าหมาย 41 คลอง

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 3

1. ผู้อำนวยการสำนักการจราจรและขนส่งได้อนุมัติเห็นชอบแผนพัฒนาเส้นทางการสัญจรและจุดเชื่อมต่อ เรียบร้อยแล้ว 2. สำนักการจราจรและขนส่ง มีหนังสือแจ้งสำนักงานสำรวจความต้องการที่จะรับการสันบสนุนจากสำนักการจราจรและขนส่งในการจัดทำป้ายชื่อคลอง/ป้ายแนะนำเส้นทาง 3. ดำเนินการสำรวจและตรวจสอบ ป้ายชื่อคลอง/ป้ายแนะนำเส้นทาง กล้อง CCTV และท่าเรือที่อยู่ในความรับผิดชอบของหน่วยงาน ให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 4

1. จัดทำรายงานผลการดำเนินงานปรับภูมิทัศน์คลอง และจัดส่งให้สำนักการระบายน้ำเรียบร้อยแล้ว

** สรุปผลการดำเนินงาน **

นิยาม หรือความหมายของตัวชี้วัด

การปรับภูมิทัศน์คลอง หมายถึง การฟื้นฟูและพัฒนาพื้นที่ตลอดแนวคลองเป้าหมายโดยมีเป้าหมายให้คลองและพื้นที่ริมคลองมีความสวยงาม สะอาด ปลอดภัย สอดคล้องกับบริบทของพื้นที่ สร้างความโดดเด่นเป็นอัตลักษณ์ ทั้งภูมิทัศน์ที่เป็นแหล่งธรรมชาติหรือสถานที่ที่ถูกสร้างขึ้น รวมถึงการบำรุงรักษาให้เกิดความยั่งยืน และพัฒนาต่อยอดเชิงพื้นที่เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน อัตลักษณ์ หมายถึง ผลรวมของลักษณะเฉพาะของสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่โดดเด่น ซึ่งทำให้สิ่งนั้นเป็นสิ่งที่รู้จักหรือจำได้ (สามารถสร้างใหม่หรือเปลี่ยนแปลงหรือพัฒนาให้ดีขึ้นได้) เช่น การประดับ ตกแต่งต่าง ๆ สร้างพื้นที่ให้เกิดความเป็นเอกลักษณ์สอดคล้องกับแต่ละพื้นที่โดยใช้แนวทางการพัฒนาในรูปแบบ Tactical Urbanism, Urban Renewal เป็นต้น คลองเป้าหมาย หมายถึง คลองเป้าหมายตามบัญชีคลองของกรุงเทพมหานคร ครอบคลุมพื้นที่ 50 เขต Tactical Urbanism หมายถึง การพัฒนาเมืองหรือชุมชนโดยการเปลี่ยนแปลงบริเวณรกร้างหรือมีบรรยากาศแห้งแล้งเช่น ถนน ทางเท้า กำแพง สนามเด็กเล่น แหล่งเสื่อมโทรม ให้กลายเป็นพื้นที่หรือย่านสร้างสรรค์ มีชีวิตชีวา และน่าอยู่มากขึ้นโดยการตกแต่งหรือก่อสร้างในต้นทุนต่ำ เน้นการมีส่วนร่วมและใช้แรงงานสองมือของคนในชุมชนเป็นหลัก การฟื้นฟูเมือง (Urban Renewal) เป็นการปรับปรุงฟื้นฟูเมืองหรือส่วนของเมืองที่เสื่อมโทรมด้วยกาลเวลาหรือปัจจัยอื่นให้มีชีวิตชีวาขึ้นใหม่โดยดำเนินการด้านกายภาพ เศรษฐกิจ สังคม ให้สอดคล้องกัน ซึ่งการดำเนินการมีผลต่อการสร้างงานและทำให้สภาพแวดล้อมของเมืองดีขึ้น

วิธีการคำนวณ หรือ เกณฑ์การประเมิน

ภารกิจส่วนที่ 1 จัดทำแผนปฏิบัติการ (Action Plan) การปรับภูมิทัศน์คลองของหน่วยงาน และดำเนินงานตามแผนฯ (คะแนนร้อยละ 80) 1. เข้าร่วมประชุมและกิจกรรมตามที่สำนักการระบายน้ำกำหนด 2. จัดทำแผนปฏิบัติการ (Action Plan) การปรับภูมิทัศน์คลองในส่วนภารกิจของสำนักการจราจรและขนส่ง ส่งสำนักการระบายน้ำ 3. จัดทำแผนและพัฒนาเส้นทางการสัญจร (ทางเท้า ทางจักรยาน เส้นทางเดินเรือ) จุดเชื่อมต่อการเดินทาง ติดตั้งระบบกล้อง CCTV ป้ายบอกทาง และเครื่องหมายจราจร (เพิ่มเติม) ตามแนวคลองเป้าหมาย กรณีใช้งบประมาณให้ระบุโครงการ/กิจกรรมพร้อมรายละเอียดของรูปแบบและแบบประมาณราคาเตรียมขอจัดสรรงบประมาณ 4. ดำเนินงานโครงการ/กิจกรรมตามที่ได้นำเสนอเพื่อการพัฒนาเพิ่มเติมเชิงพื้นที่ในการปรับภูมิทัศน์คลอง เมื่อปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 - 2565 กรณีไม่ได้รับการจัดสรรงบประมาณให้ดำเนินการจัดทำคำของบประมาณของหน่วยงานในปีถัดไป 5. ร่วมดำเนินการพัฒนาพื้นที่ตามที่คัดเลือกพื้นที่หรือย่านสำคัญริมคลองพัฒนาต่อยอดเชิงพื้นที่เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน โดยประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมดำเนินการพัฒนาสถานที่ จัดทำข้อมูล และจัดกิจกรรมเพื่อการส่งเสริมเศรษฐกิจและเป็นแหล่งเรียนรู้วิถีคลอง อย่างน้อย 1 พื้นที่ 6. ตรวจสอบ และบำรุงรักษาอุปกรณ์ในความรับผิดชอบ (สายสาธารณูปโภค กล้อง CCTV และป้ายบอกทาง) บริเวณท่าเทียบเรือ ทางจักรยานและทางเดินริมคลองให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน 7. จัดทำรายงานผลการดำเนินงานการปรับภูมิทัศน์คลองตามภารกิจที่กำหนดไว้ในแผนปฏิบัติการ (Action Plan) ส่งให้สำนักการระบายน้ำภายในวันที่ 15 กันยายน 2566 ภารกิจส่วนที่ 2 ผลการประเมินภาพรวม (คะแนนร้อยละ 20) 1. ผลการประเมินในรูปแบบคณะกรรมการ โดยให้คะแนนตามหลักเกณฑ์ขององค์ประกอบภาพรวมการปรับภูมิทัศน์คลองในพื้นที่กรุงเทพมหานคร (ร้อยละ 10) 2. ผลคะแนนเฉลี่ยจากความคิดเห็นของภาคประชาสังคมต่อการปรับภูมิทัศน์คลองในพื้นที่กรุงเทพมหานคร (ร้อยละ 10) รวม คะแนนร้อยละ 100

วิธีการการเก็บข้อมูล/แหล่งข้อมูล

1. แผนการปรับภูมิทัศน์คลองภาพรวมของกรุงเทพมหานคร 2. Action Plan ของแต่ละหน่วยงาน 3. รายละเอียดโครงการ/กิจกรรม 4. รายงานผลการดำเนินงานปรับภูมิทัศน์คลองภาพรวมของกรุงเทพมหานคร 5. รายงานผลการดำเนินงานปรับภูมิทัศน์คลองของแต่ละหน่วยงาน 6. ผลสรุปคะแนนรายหน่วยงานและคะแนนภาพรวม 7. รายละเอียดและข้อเสนอการพัฒนาเพิ่มเติมของแต่ละหน่วยงาน

สนับสนุนยุทธศาสตร์กรุงเทพมหานครฯ

:ยุทธศาสตร์ที่ ๔ –การเชื่อมโยงเมืองที่มีความคล่องตัวและระบบบริการสาธารณะแบบบูรณาการ
:๔.๓ กรุงเทพมหานครเป็นเมืองที่มีรูปแบบการจัดการภูมิทัศน์เมืองอย่างยั่งยืน
:๔.๓.๑ กรุงเทพมหานครมีการปรับปรุงองค์ประกอบทางภูมิทัศน์เมืองและส่งเสริมอัตลักษณ์และทัศนียภาพในการรับร%
:๔.๓.๑.๓ อนุรักษ์และฟื้นฟูย่าน (Districts) ตามผังพัฒนาพื้นที่เฉพาะที่สอดคล้องกับผังเมืองรวม หรือพิจารณาเพิ่มเติมในอนาคตที่มีอัตลักษณ์และ พัฒนาพื้นที่ชุมชนอันมีความเป็นเอกลักษณ์ของในพื้นที่กรุงเทพมหานคร

โครงการ/กิจกรรมที่สนับสนุนตัวชี้วัด

ฐานข้อมูลประกอบตัวชี้วัดการพัฒนาเมือง