รายละเอียดตัวชี้วัด

Back Home

2.1 ระดับความสำเร็จในการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว รวมถึงจัดให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกและความปลอดภัยให้กับนักท่องเที่ยว : 2300-855

ค่าเป้าหมาย ระดับความสำเร็จ : 5

ผลงานที่ทำได้ ระดับความสำเร็จ : 5

ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์
(ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (output))

0

รายละเอียดตัวชี้วัดฯ : พิมพ์ข้อมูล

*** สยป. ตรวจประเมินตัวชี้วัด : ไตรมาสที่ 1: 100

ผลงานเทียบกับเป้าหมายรายไตรมาส

ไตรมาสที่
(1 - 4)
*ผลงาน*
(ระดับความสำเร็จ)
*ผลประเมินตัวชี้วัด*
(* 2.1 / 2.2 *)
1
0.00
100
100 / 100
2
0.00
0
0 / 0
3
0.00
0
0 / 0
4
5.00
100
0 / 0

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 1

การดำเนินการตัวชี้วัด ระดับความสำเร็จในการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว รวมถึงจัดให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกและความปลอดภัยให้กับนักท่องเที่ยว จะต้องดำเนินการการอนุรักษ์ ฟื้นฟูและพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว รวมถึงจัดให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกและความปลอดภัยให้กับนักท่องเที่ยว ตามเกณฑ์ที่กำหนด โดยมีกิจกรรมสนับสนุนตัวชี้วัดนี้ จำนวน 1 โครงการ คือ โครงการพัฒนาการท่องเที่ยววิถีถิ่นสู่การท่องเที่ยว ที่ยั่งยืนในแหล่งท่องเที่ยวกรุงเทพมหานคร งบประมาณ 919,500.-บาท ผลการดำเนินงานไตรมาสที่ 1 (ตุลาคม 2563 – ธันวาคม 2563) 1. จัดเตรียมข้อมูลการประชุมเชิงบูรณาการเพื่อพัฒนาการท่องเที่ยววิถีถิ่นสู่การท่องเที่ยวที่ยั่งยืนในแหล่งท่องเที่ยวโดยมีการวางแผนกำหนดวันจัดประชุม 2. จัดทำหนังสือประสานสำนักงานเขต 50 เขต ร่วมกิจกรรมตามโครงการฯ 3. ร่างขอบเขตของงาน (TOR) และกำหนดราคากลางการจ้างเหมาจัดกิจกรรมการศึกษาดูงานแหล่งท่องเที่ยวต้นแบบ ณ แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม แหล่งมรดกทางภูมิปัญญา ชุมชนท่องเที่ยววิถีถิ่น 4. กำหนดจัดกิจกรรมประชุมเชิงบูรณาการเพื่อพัฒนาการท่องเที่ยววิถีถิ่นสู่การท่องเที่ยวยั่งยืนในแหล่งท่องเที่ยวกรุงเทพมหานคร ในวันที่ 14 มกราคม 2564 ณ โรงแรม ปริ๊นพาเลซ มหานาค กรุงเทพมหานคร

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 2

ผลการดำเนินงานไตรมาสที่ 2 (1 ต.ค. 2563 – 31 มี.ค. 2564) โครงการที่สนับสนุนตัวชี้วัดนี้คือโครงการพัฒนาการท่องเที่ยววิถีถิ่นสู่การท่องเที่ยวที่ยั่งยืนในแหล่งท่องเที่ยว กรุงเทพมหานคร ผลการดำเนินการ ๑. จัดเตรียมข้อมูล การวางแผนกำหนดจัดวันประชุม การจัดเตรียมเอกสารวาระการประชุม สำหรับการดำเนินงานกิจกรรมการประชุมเชิงบูรณาการเพื่อพัฒนาการท่องเที่ยววิถีถิ่นสู่การท่องเที่ยวที่ยั่งยืนในแหล่งท่องเที่ยว และเตรียมการจัดกิจกรรมการศึกษาดูงานแหล่งท่องเที่ยวต้นแบบ ณ แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม แหล่งมรดกทางภูมิปัญญา ชุมชนท่องเที่ยววิถีถิ่น ๒. ประสานสำนักงานเขต ๕๐ เขต เพื่อเชิญเข้าร่วมกิจกรรมตามโครงการพัฒนาการท่องเที่ยววิถีถิ่นสู่การท่องเที่ยวที่ยั่งยืนในแหล่งท่องเที่ยว กรุงเทพมหานคร ๓. แต่งตั้งคณะทำงานและประชุมคณะทำงานพิจารณาหลักเกณฑ์การวัดผลความสำเร็จตามแนวทางในการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว รวมถึงการจัดให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกและปลอดภัยให้กับนักท่องเที่ยว ๔. แจ้งประธานกลุ่มเขต ๖ กลุ่มเขต เพื่อแจ้งหลักเกณฑ์การอนุรักษ์ ฟื้นฟู และพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว รวมถึงการจัดให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกและปลอดภัยให้กับนักท่องเที่ยว ๕. กำหนดจัดโครงการฯ ภายหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) คลี่คลาย โดยมีกำหนดการดำเนินกิจกรรม ๔ กิจกรรม ดังนี้ ๕.๑ กิจกรรมการประชุมเชิงบูรณาการ เพื่อพัฒนาการท่องเที่ยววิถีถิ่นสู่การท่องเที่ยวที่ยั่งยืนในแหล่งท่องเที่ยว กำหนดจัดกิจกรรมจำนวน ๒ ครั้งๆ ละ ๑๒๐ คน ในวันพฤหัสบดีที่ ๑๑ มีนาคม ๒๕๖๔ และวันพฤหัสบดีที่ ๑๕ กรกฎาคม ๒๕๖๔ เวลา ๐๘.๓๐ – ๑๖.๓๐ น. ณ โรงแรมปริ๊นพาเลซ มหานาค เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร ๕.๒ กิจกรรมการประชุม Focus Group เพื่อพัฒนาการท่องเที่ยววิถีถิ่นสู่การท่องเที่ยวที่ยั่งยืนในแหล่งท่องเที่ยว กำหนดจัดกิจกรรมจำนวน ๖ ครั้งๆ ละ ๕๐ คน ดังนี้ - ครั้งที่ ๑ วันพุธที่ ๒๔ มีนาคม ๒๕๖๔ กลุ่มการปฏิบัติงานสำนักงานเขต กลุ่มกรุงธนเหนือ ณ สำนักงานเขตธนบุรีหรือแหล่งท่องเที่ยวที่เหมาะสม - ครั้งที่ ๒ วันพุธที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๖๔ กลุ่มการปฏิบัติงานสำนักงานเขต กลุ่มกรุงธนใต้ ณ สำนักงานเขตทุ่งครุหรือแหล่งท่องเที่ยวที่เหมาะสม - ครั้งที่ ๓ วันพุธที่ ๗ เมษายน ๒๕๖๔ กลุ่มการปฏิบัติงานสำนักงานเขต กลุ่มกรุงเทพใต้ ณ สำนักงานเขตสาทรหรือแหล่งท่องเที่ยวที่เหมาะสม - ครั้งที่ ๔ วันพุธที่ ๒๑ เมษายน ๒๕๖๔ กลุ่มการปฏิบัติงานสำนักงานเขต กลุ่มกรุงเทพกลาง ณ สำนักงานเขตป้อมปราบศัตรูพ่ายหรือแหล่งท่องเที่ยวที่เหมาะสม - ครั้งที่ ๕ วันพุธที่ ๒๘ เมษายน ๒๕๖๔ กลุ่มการปฏิบัติงานสำนักงานเขต กลุ่มกรุงเทพตะวันออก ณ สำนักงานเขตลาดกระบังหรือแหล่งท่องเที่ยวที่เหมาะสม - ครั้งที่ ๖ วันพุธที่ ๕ พฤษภาคม ๒๕๖๔ กลุ่มการปฏิบัติงานสำนักงานเขต กลุ่มกรุงเทพเหนือ ณ สำนักงานเขตบางเขนหรือแหล่งท่องเที่ยวที่เหมาะสม ๕.๓ กิจกรรมการศึกษาดูงานแหล่งท่องเที่ยวต้นแบบ ณ แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม แหล่งมรดก ทางภูมิปัญญา ชุมชนท่องเที่ยววิถีถิ่น จำนวน ๖ ครั้งๆ ละ ๘๐ คน ดังนี้ - ครั้งที่ ๑ วันเสาร์ที่ ๘ พฤษภาคม ๒๕๖๔ ณ ตลาดมดตะนอย บางมด เขตทุ่งครุ - ครั้งที่ ๒ วันเสาร์ที่ ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๖๔ ณ ชุมชนกะดีจีน เขตธนบุรี - ครั้งที่ ๓ วันเสาร์ที่ ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๖๔ ณ ย่านเจริญกรุง เขตสาทร และเขตบางคอแหลม - ครั้งที่ ๔ วันเสาร์ที่ ๒๙ พฤษภาคม ๒๕๖๔ ณ ย่านคลองผดุงกรุงเกษม เขตสัมพันธวงศ์ และเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย - ครั้งที่ ๕ วันเสาร์ที่ ๕ มิถุนายน ๒๕๖๔ ณ ชุมชนหัวตะเข้ เขตลาดกระบัง - ครั้งที่ ๖ วันเสาร์ที่ ๑๒ มิถุนายน ๒๕๖๔ ณ โครงการทองอุไรงามตา ร่วมพัฒนาริมคลอง ส่องศูนย์เรียนรู้ ดูทุ่งบางเขน เขตบางเขน ๕.๔ กิจกรรมการสนับสนุนและส่งเสริมการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว ด้านความปลอดภัยด้านสิ่งอำนวยความสะดวก หรือการบริการในแหล่งท่องเที่ยว จำนวน ๖ แหล่ง โดยดำเนินการร่วมกับ ๖ กลุ่มเขต ประกอบด้วย - กิจกรรมการสนับสนุนและส่งเสริมการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว ด้านความปลอดภัยด้านสิ่งอำนวย ความสะดวก หรือการบริการในแหล่งท่องเที่ยว จำนวน ๖ แหล่ง - กิจกรรมการสำรวจผลการพัฒนาการจัดทำสิ่งอำนวยความสะดวกหรือบริการในแหล่งท่องเที่ยว จำนวน ๖ แหล่ง ๖. จัดกิจกรรมการประชุมเชิงบูรณาการเพื่อพัฒนาการท่องเที่ยววิถีถิ่นสู่การท่องเที่ยวที่ยั่งยืนในแหล่งท่องเที่ยว เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๑๑ มีนาคม ๒๕๖๔ ณ โรงแรมปริ๊นพาเลซ มหานาค เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย โดยผู้เข้าร่วมประชุมได้ร่วมกันวางแผนการดำเนินการและระดมความคิดเห็นในเรื่องการบูรณาการเพื่อพัฒนาการท่องเที่ยววิถีถิ่นฯ และการพัฒนาเส้นทางท่องเที่ยวผสมผสานวัตวิถีของดีในชุมชน

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 3

ผลการดำเนินงานไตรมาสที่ 3 (1 ต.ค. 2563 – 30 มิ.ย 2564) โครงการที่สนับสนุนตัวชี้วัดนี้คือโครงการพัฒนาการท่องเที่ยววิถีถิ่นสู่การท่องเที่ยวที่ยั่งยืนในแหล่งท่องเที่ยว กรุงเทพมหานคร ผลการดำเนินการ ๑. จัดเตรียมข้อมูล การวางแผนกำหนดจัดวันประชุมเชิงบูรณาการเพื่อพัฒนาการท่องเที่ยววิถีถิ่นสู่การท่องเที่ยวที่ยั่งยืนในแหล่งท่องเที่ยว และเตรียมการจัดกิจกรรมการศึกษาดูงานแหล่งท่องเที่ยวต้นแบบ ณ แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม แหล่งมรดกทางภูมิปัญญา ชุมชนท่องเที่ยววิถีถิ่น ๒. ประสานสำนักงานเขต ๕๐ เขต เพื่อเชิญเข้าร่วมกิจกรรมตามโครงการพัฒนาการท่องเที่ยววิถีถิ่นสู่การท่องเที่ยวที่ยั่งยืนในแหล่งท่องเที่ยว กรุงเทพมหานคร ๓. แต่งตั้งคณะทำงานและประชุมคณะทำงานพิจารณาหลักเกณฑ์การวัดผลความสำเร็จตามแนวทางในการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว รวมถึงการจัดให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกและปลอดภัยให้กับนักท่องเที่ยว ๔. แจ้งประธานกลุ่มเขต ๖ กลุ่มเขต เพื่อแจ้งหลักเกณฑ์การอนุรักษ์ ฟื้นฟู และพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว รวมถึงการจัดให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกและปลอดภัยให้กับนักท่องเที่ยว ๕. กำหนดจัดโครงการฯ ภายหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) คลี่คลาย โดยมีกำหนดการดำเนินกิจกรรม ๔ กิจกรรม ดังนี้ ๕.๑ กิจกรรมการประชุมเชิงบูรณาการ เพื่อพัฒนาการท่องเที่ยววิถีถิ่นสู่การท่องเที่ยวที่ยั่งยืนในแหล่งท่องเที่ยว กำหนดจัดกิจกรรมจำนวน ๒ ครั้งๆ ละ ๑๒๐ คน ในวันพฤหัสบดีที่ ๑๑ มีนาคม ๒๕๖๔ และวันพฤหัสบดีที่ ๑๕ กรกฎาคม ๒๕๖๔ เวลา ๐๘.๓๐ – ๑๖.๓๐ น. ณ โรงแรมปริ๊นพาเลซ มหานาค เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร ๕.๒ กิจกรรมการประชุม Focus Group เพื่อพัฒนาการท่องเที่ยววิถีถิ่นสู่การท่องเที่ยวที่ยั่งยืนในแหล่งท่องเที่ยว กำหนดจัดกิจกรรมจำนวน ๖ ครั้งๆ ละ ๕๐ คน ดังนี้ - ครั้งที่ ๑ วันพุธที่ ๒๔ มีนาคม ๒๕๖๔ กลุ่มการปฏิบัติงานสำนักงานเขต กลุ่มกรุงธนเหนือ ณ สำนักงานเขตธนบุรีหรือแหล่งท่องเที่ยวที่เหมาะสม - ครั้งที่ ๒ วันพุธที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๖๔ กลุ่มการปฏิบัติงานสำนักงานเขต กลุ่มกรุงธนใต้ ณ สำนักงานเขตทุ่งครุหรือแหล่งท่องเที่ยวที่เหมาะสม - ครั้งที่ ๓ วันพุธที่ ๗ เมษายน ๒๕๖๔ กลุ่มการปฏิบัติงานสำนักงานเขต กลุ่มกรุงเทพใต้ ณ สำนักงานเขตสาทรหรือแหล่งท่องเที่ยวที่เหมาะสม - ครั้งที่ ๔ วันพุธที่ ๒๑ เมษายน ๒๕๖๔ กลุ่มการปฏิบัติงานสำนักงานเขต กลุ่มกรุงเทพกลาง ณ สำนักงานเขตป้อมปราบศัตรูพ่ายหรือแหล่งท่องเที่ยวที่เหมาะสม - ครั้งที่ ๕ วันพุธที่ ๒๘ เมษายน ๒๕๖๔ กลุ่มการปฏิบัติงานสำนักงานเขต กลุ่มกรุงเทพตะวันออก ณ สำนักงานเขตลาดกระบังหรือแหล่งท่องเที่ยวที่เหมาะสม - ครั้งที่ ๖ วันพุธที่ ๕ พฤษภาคม ๒๕๖๔ กลุ่มการปฏิบัติงานสำนักงานเขต กลุ่มกรุงเทพเหนือ ณ สำนักงานเขตบางเขนหรือแหล่งท่องเที่ยวที่เหมาะสม ๕.๓ กิจกรรมการศึกษาดูงานแหล่งท่องเที่ยวต้นแบบ ณ แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม แหล่งมรดก ทางภูมิปัญญา ชุมชนท่องเที่ยววิถีถิ่น จำนวน ๖ ครั้งๆ ละ ๘๐ คน ดังนี้ - ครั้งที่ ๑ วันเสาร์ที่ ๘ พฤษภาคม ๒๕๖๔ ณ ตลาดมดตะนอย บางมด เขตทุ่งครุ - ครั้งที่ ๒ วันเสาร์ที่ ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๖๔ ณ ชุมชนกะดีจีน เขตธนบุรี - ครั้งที่ ๓ วันเสาร์ที่ ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๖๔ ณ ย่านเจริญกรุง เขตสาทร และเขตบางคอแหลม - ครั้งที่ ๔ วันเสาร์ที่ ๒๙ พฤษภาคม ๒๕๖๔ ณ ย่านคลองผดุงกรุงเกษม เขตสัมพันธวงศ์ และเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย - ครั้งที่ ๕ วันเสาร์ที่ ๕ มิถุนายน ๒๕๖๔ ณ ชุมชนหัวตะเข้ เขตลาดกระบัง - ครั้งที่ ๖ วันเสาร์ที่ ๑๒ มิถุนายน ๒๕๖๔ ณ โครงการทองอุไรงามตา ร่วมพัฒนาริมคลองส่องศูนย์เรียนรู้ ดูทุ่งบางเขน เขตบางเขน ๕.๔ กิจกรรมการสนับสนุนและส่งเสริมการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว ด้านความปลอดภัยด้านสิ่งอำนวยความสะดวก หรือการบริการในแหล่งท่องเที่ยว จำนวน ๖ แหล่ง โดยดำเนินการร่วมกับ ๖ กลุ่มเขต ประกอบด้วย - กิจกรรมการสนับสนุนและส่งเสริมการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว ด้านความปลอดภัยด้านสิ่งอำนวย ความสะดวก หรือการบริการในแหล่งท่องเที่ยว จำนวน ๖ แหล่ง - กิจกรรมการสำรวจผลการพัฒนาการจัดทำสิ่งอำนวยความสะดวกหรือบริการในแหล่งท่องเที่ยว จำนวน ๖ แหล่ง ๖. จัดกิจกรรมการประชุมเชิงบูรณาการเพื่อพัฒนาการท่องเที่ยววิถีถิ่นสู่การท่องเที่ยวที่ยั่งยืนในแหล่งท่องเที่ยว เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๑๑ มีนาคม ๒๕๖๔ ณ โรงแรมปริ๊นพาเลซ มหานาค เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย โดยผู้เข้าร่วมประชุมได้ร่วมกันวางแผนการดำเนินการและระดมความคิดเห็นในเรื่องการบูรณาการเพื่อพัฒนาการท่องเที่ยววิถีถิ่นฯ และการพัฒนาเส้นทางท่องเที่ยวผสมผสานวัตวิถีของดีในชุมชน 7. จัดประชุม Focus Group เพื่อพัฒนาการท่องเที่ยววิถีถิ่นสู่การท่องเที่ยวที่ยั่งยืนในแหล่งท่องเที่ยว ครั้งที่ ๑ เมื่อวันที่ ๒๔ มีนาคม ๒๕๖๔ ณ วัดกัลยาณมิตรและชุมชนกุฎีจีน เขตธนบุรี 8. จัดกิจกรรม Focus Group เพื่อพัฒนาวิถีถิ่นส^jการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน ครั้งที่ 3 (กลุ่มเขตกรุงเทพใต้) เมื่อวันที่ 7 เมษายน 2564 - พื้นที่เขตบางคอแหลม เยี่ยมชมตลาดชุมชน เจริญกรุง 103 ว่าเป็นต้นแบบของการบริหารจัดการ โดยชุมชน มีอาหารหลากหลาย ต้นฉบับ ไทย-มุสลิม ที่มีเอกลักษณ์ อัตลักษณ์เฉพาะ วัตถุประสงค์เพื่อเป็นการเชื่อมโยงบูรณาการ ผลักดันให้เกิดการรวมพลังสร้างสรรค์และพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวในกลุ่มเขตกรุงเทพใต้ ให้ได้มาตรฐาน มีทรัพยากรการท่องเที่ยว สิ่งอำนวยความสะดวกและความปลอดภัยให้กับนักท่องเที่ยว มีการจัดเส้นทางการท่องเที่ยว ส่งเสริมและสนับสนุนมรดกภูมิปัญญาวิถีถิ่นสู่การท่องเที่ยวที่ยั่งยืน - พื้นที่เขตสาทร เยี่ยมชมแหล่งท่องเที่ยวของเขตสาทร ได้แก่ วัดยานนาวา สาทร คาแนล อาร์ต และวัดดอน รวมถึงแหล่งรวมอาหาร ที่จัดได้ว่าเป็น street food ของย่านที่สำคัญ ในพื้นที่เขตสาทร - ขออนุมัติเลื่อนกิจกรรมตามโครงการค่าใช้จ่ายในการพัฒนาการท่องเที่ยววิถีถิ่นสู่การท่องเที่ยวที่ยั่งยืนในแหล่งท่องเที่ยวกรุงเทพมหานคร ตามประกาศกรุงเทพมหานครวันที่ 17 เมษายน 2564 เรื่อง สั่งปิดสถานที่เป็นการชั่วคราว (ฉบับที่ 24) และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 18 เมษายน 2564 เนื่องจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) และมีหนังสือแจ้งเลื่อนกิจกรรมตามโครงการฯ ถึงผู้อำนวยการเขต ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาสังคม และสำนักการจราจรและขนส่ง - หน่วยงานได้เวียนหนังสือเพื่อให้ ๖ กลุ่มเขต พิจารณาเสนอกิจกรรมฯ ที่ดำเนินการฯ ภายใต้ภารกิจของแต่ละสำนักงานเขตที่เกี่ยวข้อง โดยได้ดำเนินการตามขั้นตอน ดังนี้ - ผอ.สวท. แต่งตั้งคณะทำงานพิจารณาหลักเกณฑ์การวัดผลความสำเร็จตามแนวทางในการอนุรักษ์ฯ - คณะทำงานฯ ได้พิจารณาหลักเกณฑ์ฯ เรียบร้อยแล้ว และได้เวียน กลุ่มเขต ๖ กลุ่มเขต เพื่อทราบ และพิจารณาคัดเลือก กิจกรรม/โครงการที่จะดำเนินการเพื่อการอนุรักษ์ ฟื้นฟู ฯ แหล่งท่องเที่ยว ในปี ๒๕๖๔ - กลุ่มเขต ๖ กลุ่มเขต ได้ส่งข้อมูลแผนการดำเนินการจัดกิจกรรมการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวรวมถึงจัดให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกและความปลอดภัยให้กับนักท่องเที่ยว โดยมีผู้แทนสำนักงานเขต ในแต่ละกลุ่มเขต ส่งแผนการดำเนินการจัดกิจกรรมการอนุรักษ์ ดังนี้ เขตบางกอกใหญ่ เขตธนบุรี เขตลาดกระบัง เขตประเวศ เขตสัมพันธวงศ์ เขตทุ่งครุ เขตบางขุนเทียน เขตบางบอน เขตราษฎร์บูรณะ เขตบางแค เขตภาษีเจริญ เขตบางคอแหลม เขตปทุมวัน เขตบางเขน และเขตหลักสี่ 9. กลุ่มเขตทั้ง ๖ กลุ่มเขตได้ส่งแผนการดำเนินการจัดกิจกรรมการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวรวมถึงจัดให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกและความปลอดภัยให้กับนักท่องเที่ยว ดังนี้ ๑) กลุ่มเขตกรุงธนใต้ เสนอ ย่านคลองบางมด เขตทุ่งครุ, ตลาดน้ำคลองบางหลวงและชุมชนพูนบำเพ็ญ เขตภาษีเจริญ, วัดม่วงและศาลเจ้าแม่ทับทิม เขตบางแค, คลองรางไผ่และวัดบางบอน เขตบางบอน, พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นกรุงเทพมหานครเขตราษฎร์บูรณะ เขตราษฎร์บูรณะ, และย่านสวนบวรประชานันท์และคลองเฉลิมชัยพัฒนา เขตบางขุนเทียน ๒) กลุ่มเขตกรุงธนเหนือ เสนอ วัดอรุณราชวราราม เขตบางกอกใหญ่ และย่านกะดีจีน เขตธนบุรี ๓) กลุ่มเขตกรุงเทพใต้ เสนอ ตลาดริมคลองเจริญกรุง ๑๐๓ (ชุมชนสวนหลวง ๑) เขตบางคอแหลม และสะพานจักรยานลอยฟ้าสวนลุมพินี – สวนเบญจกิตติ (สะพานเขียว) เขตปทุมวัน ๔) กลุ่มเขตกรุงเทพกลาง เสนอ ถนนคนเดินคลองโอ่งอ่างและสตรีทอาร์ทชุมชนตลาดน้อย เขตสัมพันธวงศ์ ๕) กลุ่มเขตกรุงเทพตะวันออก เสนอ ตลาดหัวตะเข้ เขตลาดกระบัง และวัดกระทุ่มเสือปลา เขตประเวศ ๖) กลุ่มเขตกรุงเทพเหนือ เสนอ ศูนย์อนุรักษ์และพัฒนาทรัพยากรท้องถิ่นเขตบางเขน ขุมชนเกษตรก้าวหน้าลำรางหนองกง เขตบางเขน และวัดหลักสี่ เขตหลักสี่ 10. กลุ่มเขตทั้ง ๖ กลุ่มเขต ได้ส่งรายงานผลการดำเนินการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว รวมถึงการจัดการให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกและความปลอดภัยให้กับนักท่องเที่ยว อันประกอบด้วย ภาพถ่ายประกอบการรายงานทั้งก่อนและหลังการดำเนินการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว รวมไปถึงการเผยแพร่การดำเนินการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวสู่สาธารณะแบบไม่จำกัดรูปแบบช่องทาง โดยมีสถานที่ต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ ๑) กลุ่มเขตกรุงเทพเหนือ ได้แก่ ศูนย์อนุรักษ์และพัฒนาทรัพยากรท้องถิ่นเขตบางเขน ขุมชนเกษตรก้าวหน้าลำรางหนองกง เขตบางเขน และวัดหลักสี่ เขตหลักสี่ ๒) กลุ่มเขตกรุงเทพกลาง ได้แก่ ถนนคนเดินคลองโอ่งอ่างและสตรีทอาร์ทชุมชนตลาดน้อย เขตสัมพันธวงศ์ ๓) กลุ่มเขตกรุงเทพตะวันออก ได้แก่ ตลาดหัวตะเข้ เขตลาดกระบัง และวัดกระทุ่มเสือปลา เขตประเวศ ๔) กลุ่มเขตกรุงเทพใต้ ได้แก่ ตลาดริมคลองเจริญกรุง ๑๐๓ (ชุมชนสวนหลวง ๑) เขตบางคอแหลม และสะพานจักรยานลอยฟ้าสวนลุมพินี – สวนเบญจกิตติ (สะพานเขียว) เขตปทุมวัน ๕) กลุ่มเขตกรุงธนเหนือ ได้แก่ วัดอรุณราชวราราม เขตบางกอกใหญ่ และย่านกะดีจีน เขตธนบุรี ๖) กลุ่มเขตกรุงธนใต้ ได้แก่ ย่านคลองบางมด เขตทุ่งครุ, ตลาดน้ำคลองบางหลวงและชุมชนพูนบำเพ็ญ เขตภาษีเจริญ, พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นกรุงเทพมหานครเขตราษฎร์บูรณะ เขตราษฎร์บูรณะ

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 4

ผลการดำเนินงานไตรมาสที่ 4 ( ตุลาคม 2563 - กันยายน 2564) สำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว ได้ดำเนินการ ตามคำนิยามและเกณฑ์การให้คะแนนที่กำหนดในตัวชี้วัดฯ เรียบร้อยแล้ว ตามขั้นตอนการดำเนินงานตามแนวทาง ที่สำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว ได้บูรณาการการดำเนินการร่วมกับสำนักงานเขต ในการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว รวมถึงจัดให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกและความปลอดภัยให้กับนักท่องเที่ยว โดยแหล่งท่องเที่ยวที่ได้รับการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และพัฒนา รวมถึงจัดให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกและความปลอดภัยให้กับนักท่องเที่ยวซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด และเหมาะสมกับบริบทของแต่ละแหล่งท่องเที่ยว รวมจำนวนทั้งสิ้น 18 แหล่ง จากพื้นที่ดำเนินการ 15 เขต โดยมีขั้นตอนการดำเนินการ ดังนี้ 1. แต่งตั้งคณะทำงานพิจารณาและจัดทำหลักเกณฑ์การวัดผลความสำเร็จตามแนวทางในการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว รวมถึงจัดให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกและความปลอดภัยให้กับนักท่องเที่ยว 2. จัดประชุมคณะทำงานพิจารณาร่างหลักเกณฑ์การวัดผลความสำเร็จตามแนวทางในการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว และจัดให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกและความปลอดภัยให้กับนักท่องเที่ยว รวมถึงจัดทำสรุปหลักเกณฑ์การวัดผลความสำเร็จฯ พร้อมเวียนแจ้งให้กลุ่มเขตรับทราบเกณฑ์ที่กำหนด เพื่อขอความร่วมมือในการดำเนินการในเชิงพื้นที่ 3. สำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยวมอบหมายข้าราชการประจำกลุ่มเขต ให้คำปรึกษาประสานงาน และชี้แจงเกี่ยวกับหลักเกณฑ์การวัดผลความสำเร็จฯ 4. สำนักงานเขตเสนอแผนการดำเนินการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว รวมถึงจัดให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกและความปลอดภัยให้กับนักท่องเที่ยว โดยมีแหล่งท่องเที่ยวที่เสนอจะดำเนินการ จำนวน 20 แหล่ง 5. สำนักงานเขตรายงานผลการดำเนินการมายังสำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว พร้อมภาพถ่าย ก่อน-หลัง ดำเนินการ และการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์การดำเนินการในช่องทางสื่อต่าง ๆ ตามแบบฟอร์มที่สำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยวกำหนด 6. สำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยวพิจารณาตรวจสอบการดำเนินการของสำนักงานเขตตามหลักเกณฑ์การวัดผลความสำเร็จฯ โดยมีแหล่งท่องเที่ยวที่ได้รับการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และพัฒนา รวมถึงมีสิ่งอำนวยความสะดวกและความปลอดภัยให้กับนักท่องเที่ยวเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด และเหมาะสมกับบริบทของแต่ละแหล่งท่องเที่ยว รวมจำนวน ทั้งสิ้น 18 แหล่ง จากพื้นที่ 15 เขต โดยจำแนกผลการดำเนินงานตามกลุ่มเขตได้ ดังนี้ 1. กลุ่มเขตกรุงธนใต้ จำนวน 8 แหล่ง ได้แก่ - เขตบางแค 1) วัดม่วง – ปรับปรุงทาสีที่กั้นกันตกราวทางเดินเลียบคลองภาษีเจริญ - เขตภาษีเจริญ 2) ตลาดน้ำคลองบางหลวง – จัดทำป้ายแหล่งท่องเที่ยว และจัดเสื้อชูชีพ 3) ชุมชนพูนบำเพ็ญ – การจัดทำป้ายแหล่งท่องเที่ยว จัดเสื้อชูชีพ และถังดับเพลิงในชุมชน - เขตบางขุนเทียน 4) สวนบวรประชานันท์ – สร้างสะพานไม้ข้ามคลองเฉลิมชัย - เขตราษฎร์บูรณะ 5) พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นกรุงเทพมหานคร ซ่อมแซมสะพานข้ามคลองราษฎร์บูรณะทางเข้าพิพิธภัณฑ์ - เขตทุ่งครุ 6) คลองบางมด -ซ่อมทาสีสะพานราวสะพานทางเดินริมคลอง จัดทำจุดเช็คอินบริเวณตลาด มดตะนอย - เขตบางบอน 7) วัดบางบอน จัดทำแผ่นพับประชาสัมพันธ์วัด - เขตบางบอน 8) คลองรางไผ่ - จัดทำแผ่นพับประชาสัมพันธ์วัด จัดทำป้ายแผนที่ ป้ายสื่อความหมาย ปรับภูมิทัศน์ทางเดินเลียบคลอง ติดตั้งเสาไฟฟ้าส่องสว่าง จัดทำ Street Art บนกำแพงริมคลอง 2. กลุ่มเขตกรุงธนเหนือ จำนวน 2 แหล่ง ได้แก่ - เขตบางกอกใหญ่ 9) วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร - ซ่อมทางเดินถนนวังเดิมหน้าวัดอรุณฯ จัดระเบียบสายสื่อสารย่านวังเดิมจัดเทศกิจอำนวยความสะดวกนักท่องเที่ยวบริเวณท่าเรือ จัดทำแอพฯ แอปเดียวเที่ยวทั่ววัด ประสานทางวัดจัดทำ QR Code - เขตธนบุรี 10) ย่านชุมชนกุฎีจีน – เพิ่มถังดับเพลิง ปรับปรุงทางเดินเท้าในชุมชน จัดระเบียบสายสื่อสาร ปรุงปรุงท่าเรือ ปักหมุดแหล่งท่องเที่ยวนุมชน ทำ QR Code เส้นทางท่องเที่ยว 3. กลุ่มเขตกรุงเทพกลาง จำนวน 2 แหล่ง ได้แก่ - เขตสัมพันธวงศ์ 11) คลองโอ่งอ่าง – ตกแต่งโคมไฟแบบจีนเพิ่มแสงสว่างบริเวณทางเดินริมคลอง 12) ชุมชนโบราณตลาดน้อย – ติดตั้งไฟส่องสว่างทางเข้าชุมชน ติดตั้งไฟส่องสว่างไปยังกำแพง Street Art 4. กลุ่มเขตกรุงเทพใต้ จำนวน 2 แหล่ง ได้แก่ - เขตบางคอแหลม13) ตลาดริมคลองเจริญกรุง 103 (ชุมชนสวนหลวง 1) – จัดทำป้ายผังเส้นทางตลาด ปรับปรุงทางเท้าทางเดินชุมชน ติดป้ายห้ามรถเข้า-ออก ในวันปิดตลาด - เขตปทุมวัน 14) สะพานจักรยานลอยฟ้าสวนลุมพีนี – สวนเบญจกิตติ (สะพานเขียว) – ซ่อมแซมระบบไฟฟ้าส่องสว่าง ทาสีพื้นทางเดินราวกันตก 5. กลุ่มเขตกรุงเทพเหนือ จำนวน 2 แหล่ง ได้แก่ - เขตบางเขน 15) ศูนย์อนุรักษ์และพัฒนาทรัพยากรท้องถิ่นเขตบางเขน ชุมชนเกษตรก้าวหน้าลำรางหนองกง – จัดทำจุดจอดจักรยาน ปรับปรุงราวสะพานทางเดินชมสวนเกษตรสาธิต - เขตหลักสี่ 16) วัดหลักสี่ – ปรับปรุงสะพานข้ามคลองหลังวัด 6. กลุ่มเขตกรุงเทพตะวันออก จำนวน 2 แหล่ง ได้แก่ - เขตประเวศ 17) วัดกระทุ่มเสือปลา – ซ่อมแซม ทาสีทางขึ้นลงท่าน้ำ ซ่อมแซมห้องน้ำวัดฯ ปรับภูมิทัศน์ทางเดินริมคลองประเวศบุรีรมย์ ทำจุดเช็คอิน จัดทำที่นั่งในวัด - เขตลาดกระบัง 18) ตลาดหัวตะเข้ – ซ่อมแซมคอสะพานข้ามคลองประเวศบุรีรมย์ สำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว ดำเนินการได้ครบถ้วนและบรรลุเป้าหมายตามตัวชี้วัดฯ ที่กำหนด รวมจำนวนทั้งสิ้น 18 แหล่ง จากพื้นที่ดำเนินการ 15 เขต

** สรุปผลการดำเนินงาน **

นิยาม หรือความหมายของตัวชี้วัด

- แหล่งท่องเที่ยว หมายถึง สถานที่ที่มีความสำคัญ มีทรัพยากรทางการท่องเที่ยวที่มีคุณค่าน่าสนใจ ดึงดูดให้ผู้คนมาเยี่ยมเยือน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องราว สถานที่ วัตถุสิ่งของภูมิปัญญา สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ หรือกิจกรรมที่เกิดขึ้นในพื้นที่กรุงเทพฯ และพื้นที่เชื่อมโยง ทั้งที่อยู่ในความรับผิดชอบ และไม่อยู่ในความรับผิดชอบของกรุงเทพมหานคร - แหล่งท่องเที่ยวที่ได้รับการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และพัฒนา หมายถึง แหล่งท่องเที่ยวที่มีกลุ่ม/องค์กร/ประชาชนที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว ซึ่งพร้อมขับเคลื่อนการดำเนินการด้านการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และพัฒนาในแหล่งท่องเที่ยวนั้น - จัดให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกและความปลอดภัยให้กับนักท่องเที่ยว หมายถึง การส่งเสริม สนับสนุน การให้คำปรึกษา การสำรวจ การจัดกิจกรรม การออกแบบ การปรับปรุง และการดำเนินการใดๆ เพื่อพัฒนาให้แหล่งท่องเที่ยวจัดให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกและความปลอดภัยในแหล่งท่องเที่ยวของกรุงเทพมหานคร โดยประสานผู้เกี่ยวข้องให้มีส่วนร่วมในการดำเนินการตามความเหมาะสม ตามบริบท ตามความต้องการของแหล่งท่องเที่ยว โดยอาศัยความร่วมมือระหว่างสำนักงานเขต สำนัก เครือข่ายภาคเอกชน และภาคประชาชน - สิ่งอำนวยความสะดวกและความปลอดภัยให้กับนักท่องเที่ยวหมายถึง ระบบโครงสร้างพื้นฐาน ระบบการคมนาคม สภาพทางกายภาพ เส้นทางท่องเที่ยว การบริการการท่องเที่ยว การเข้าถึง อุปกรณ์อำนวยความสะดวก อุปกรณ์ด้านความปลอดภัย การสื่อสาร การสื่อความหมาย อุปกรณ์เทคโนโลยี เช่นอารยสถาปัตย์ ทางลาด-ทางเดินผู้พิการ สำหรับผู้พิการห้องน้ำสาธารณะ/ห้องน้ำผู้พิการ ลานจอดรถ ช่องจอดรถสำหรับผู้พิการ ไฟฟ้าส่องสว่าง ป้ายสัญลักษณ์ต่างๆ ทางข้ามทางม้าลายข้ามถนนไฟคนข้ามถนน แผนที่ แผ่นพับ โบรชัวร์แนะนำแหล่งท่องเที่ยว การบริการรถเข็น บริการยืมคืนพาหนะชมแหล่งเที่ยว บริการรถเชื่อมต่อสถานที่จอดรถกับแหล่งท่องเที่ยว การลง check in หรือปักหมุด บันทึกสถานที่ท่องเที่ยวใน Google maps หรือในโซเชียลมีเดียต่างๆอุปกรณ์อำนวยความสะดวก อาทิ Hand rail ราวจับทางเดิน ป้ายข้อความ อักษรเบรลล์ ป้ายสื่อความหมายบรรยายแหล่งท่องเที่ยว อุปกรณ์ด้านความปลอดภัย อาทิ ถังดับเพลิง เสื้อชูชีพ ห่วงยาง สัญญาณเตือนอัคคีภัยฉุกเฉิน ระบบ CCTV เป็นต้นการบริการ การสื่อสาร การสื่อความหมาย อาทิ free Wi-Fi, QR Code อุปกรณ์เทคโนโลยี อาทิ เครื่องบรรยายสถานที่ท่องเที่ยวส่วนบุคคล (Audio Guide) เป็นต้น

วิธีการคำนวณ หรือ เกณฑ์การประเมิน

วัดจากจำนวนแหล่งท่องเที่ยวที่ได้รับการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และพัฒนา รวมถึงการจัดให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกและความปลอดภัยให้กับนักท่องเที่ยว (ตามแนวทางที่หน่วยงานของกรุงเทพมหานครพิจารณาความเหมาะสมและบริบทของแต่ละแหล่งท่องเที่ยว) ที่สำนักงานเขต สำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว หน่วยงานของกรุงเทพมหานคร หรือหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาชน ร่วมกันดำเนินการในแหล่งท่องเที่ยว โดยเกณฑ์การวัดผลความสำเร็จในการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และการพัฒนา รวมถึงการจัดให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกและปลอดภัยให้กับนักท่องเที่ยว ให้เป็นไปตามเกณฑ์ที่สำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยวกำหนด - ระดับความสำเร็จ ๕ / ร้อยละ ๑๐๐ / คะแนน ๑๐๐ คะแนน จำนวน ๘ แหล่งท่องเที่ยวที่ได้รับการอนุรักษ์ ฟื้นฟูและพัฒนา รวมถึงจัดให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกและความปลอดภัยให้กับนักท่องเที่ยว - ระดับความสำเร็จ ๔ / ร้อยละ ๙๐ / คะแนน ๙ คะแนน จำนวน ๗ แหล่งท่องเที่ยวที่ได้รับการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และพัฒนา รวมถึงจัดให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกและความปลอดภัยให้กับนักท่องเที่ยว - ระดับความสำเร็จ ๓ / ร้อยละ ๘๐ / คะแนน ๘ คะแนน จำนวน ๖ แหล่งท่องเที่ยวที่ได้รับการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และพัฒนา รวมถึงจัดให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกและความปลอดภัยให้กับนักท่องเที่ยว - ระดับความสำเร็จ ๒ / ร้อยละ ๗๐ / คะแนน ๗ คะแนน จำนวน ๕ แหล่งท่องเที่ยวที่ได้รับการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และพัฒนา รวมถึงจัดให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกและความปลอดภัยให้กับนักท่องเที่ยว - ระดับความสำเร็จ ๑ / ร้อยละ ๖๐ / คะแนน ๖ คะแนน กำหนดพื้นที่และจัดทำแผนการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และพัฒนา รวมถึงจัดให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกและความปลอดภัยให้กับนักท่องเที่ยว ใน ๘ แหล่งท่องเที่ยว

วิธีการการเก็บข้อมูล/แหล่งข้อมูล

- รายงานสรุปผลการดำเนินการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และพัฒนา รวมถึงการจัดให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกและความปลอดภัยให้กับนักท่องเที่ยวในแต่ละแหล่งท่องเที่ยว - เอกสารข้อมูลการประสานงานของหน่วยงาน หรือเอกสารการประชุม หรือเอกสารที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ - ภาพถ่ายจุดที่ดำเนินการในแต่ละแหล่งท่องเที่ยว ก่อนและหลังการดำเนินการ และมีการเผยแพร่ผลดำเนินการผ่านสื่อสาธารณะทั่วไป

สนับสนุนยุทธศาสตร์กรุงเทพมหานครฯ

:ด้านที่ ๖ – มหานครแห่งเศรษฐกิจและการเรียนรู้ : Bangkok as an Economic and Learning Centre
:๖.๒ - เมืองแห่งนักท่องเที่ยวระดับโลก
:๖.๒.๑ กรุงเทพมหานครเป็นเมืองที่น่าท่องเที่ยวระดับโลก%
:๖.๒.๑.๕ แหล่งท่องเที่ยวและทรัพยากรการท่องเที่ยวในพื้นที่ของกรุงเทพมหานครได้รับ

โครงการ/กิจกรรมที่สนับสนุนตัวชี้วัด

ฐานข้อมูลประกอบตัวชี้วัดการพัฒนาเมือง