ความคืบหน้าโครงการ ร้อยละ 100
นางสาวปัทมนันท์ ธนาพรประดิษฐ์ โทร. 022257612 ต่อ 111
ดูโครงการแผนปีฯ : พิมพ์ข้อมูล
*** สยป. ประเมินโครงการ : ไตรมาสที่ 1
กรุงเทพมหานครเป็นเมืองแห่งการท่องเที่ยวที่มีทรัพยากรการท่องเที่ยวที่หลากหลาย ทั้งที่มนุษย์สร้างขึ้นทางด้านประวัติศาสตร์วัฒนธรรมประเพณี ย่านชุมชน แหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาที่สืบทอดมาจากบรรพบุรุษและแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่หลากหลาย การท่องเที่ยวในย่านเก่าแหล่งประวัติศาสตร์เมืองหลายแห่งที่ปัจจุบัน ประชาชนในพื้นมีการรวมตัวกันเพื่อนำทรัพยากรทางการท่องเที่ยวในพื้นที่ ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ ให้เป็นที่รวมตัวของกลุ่มชาวบ้านกลุ่มเยาวชน ที่สร้างความสามัคคี รวมถึงสร้างรายได้อันเป็นการสนับสนุนชุมชนในย่านได้เป็นอย่างดี กรุงเทพมหานครในฐานะองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น เล็งเห็นความเข้มแข็งขององค์กรภาคประชาชนในพื้นที่ แต่ขาดการสนับสนุนการทำงานอย่างต่อเนื่อง โดยในปี ๒๕๖๑ กรุงเทพมหานคร ได้จัดทำโครงการเพื่อพัฒนาย่านประวัติศาสตร์เมืองสู่การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ จำนวน ๗ ย่าน ได้แก่ ย่านบางลำพู ย่านเสาชิงช้า-ภูเขาทอง ย่านนางเลิ้ง ย่านบ้านบุ ย่านคลองบางระมาด ย่านตลาดน้อย-บางรักและย่านหัวตะเข้ เพื่ออนุรักษ์ ฟื้นฟู พัฒนากิจกรรม ส่งเสริมการมีส่วนร่วม และพัฒนาเส้นทางทางการท่องเที่ยว ซึ่งทำให้ประชาชนในย่านแหล่งท่องเที่ยวมีความตื่นตัว สร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน และทำให้ได้ข้อมูลเชิงประวัติศาสตร์บอกเล่า เป็นผลงานย่านแหล่งท่องเที่ยวนำไปต่อยอด ให้การสร้างสรรค์กิจกรรมการท่องเที่ยว โดยประชาชนสามารถยืนได้ด้วยตัวเองได้เป็นอย่างดี สำนักงานวัฒนธรรมและการท่องเที่ยว เห็นความสำคัญของพัฒนาการท่องเที่ยววิถีถิ่นสู่การท่องเที่ยวที่ยั่งยืนในแหล่งท่องเที่ยวกรุงเทพมหานคร จึงได้จัดทำโครงการพัฒนาการท่องเที่ยววิถีถิ่นสู่การท่องเที่ยวที่ยั่งยืนในแหล่งท่องเที่ยวกรุงเทพมหานคร ในพื้นที่ย่านแหล่งท่องเที่ยวที่มีศักยภาพ มีกลุ่มองค์กรภาคประชาชนที่จะร่วมกันสร้างสรรค์การท่องเที่ยวในพื้นที่ เพื่อสร้างโอกาสการพัฒนาท้องถิ่นอย่างต่อเนื่องและการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนต่อไป
23070000/23070000
๑ เพื่ออนุรักษ์ ฟื้นฟู และพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว แหล่งเรียนรู้ที่มีคุณค่าของย่านต่างๆ ในกรุงเทพมหานครให้ดำรงอยู่อย่างมีคุณค่าและน่าสนใจ กระตุ้นให้เกิดการสร้างพลังจากภายในขององค์กรภาคประชาชนให้มีความเข้มแข็งในการบริหารจัดการการท่องเที่ยวในท้องถิ่นอย่างยั่งยืน ๒ เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว ร่วมกับ ๖ กลุ่มเขต ในการจัดทำสิ่งอำนวยความสะดวกหรือบริการในแหล่งท่องเที่ยว ๓ เพื่อสนับสนุนการทำงานเชิงเครือข่ายระหว่างภาคีที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว การจัดการวัฒนธรรม การส่งเสริมและสนับสนุนมรดกภูมิปัญญาวิถีถิ่นสู่การท่องเที่ยวที่ยั่งยืนของกรุงเทพมหานคร ๔ เพื่อพัฒนาศักยภาพบุคลากรในพื้นที่ให้มีส่วนร่วมในทำงานเชิงเครือข่ายร่วมกับภาคี การท่องเที่ยวที่เกี่ยวข้องกับและเกื้อกูลกับพื้นที่แหล่งท่องเที่ยวอื่นในกรุงเทพมหานคร
ดำเนินการจ้างเอกชนจัดกิจกรรมการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และพัฒนาการท่องเที่ยว ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ๖ กลุ่มเขต โดยกำหนดจัดกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาการท่องเที่ยววิถีถิ่นสู่การท่องเที่ยวที่ยั่งยืนในแหล่งท่องเที่ยวกรุงเทพมหานคร ดังนี้ ๑. กิจกรรมการประชุมเชิงบูรณาการเพื่อพัฒนาการท่องเที่ยววิถีถิ่นสู่การท่องเที่ยวที่ยั่งยืนในแหล่งท่องเที่ยว จำนวน ๒ ครั้ง โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นข้าราชการกรุงเทพมหานครและเครือข่ายภาคประชาชน จำนวน ๑๒๐ คน จาก ๖ กลุ่มเขต ณ สถานที่ประชุมหรือโรงแรมในกรุงเทพมหานคร ๒. กิจกรรมการประชุม Focus group เพื่อพัฒนาการท่องเที่ยววิถีถิ่นสู่การท่องเที่ยวที่ยั่งยืนในแหล่งท่องเที่ยว โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นข้าราชการกรุงเทพมหานครและเครือข่ายภาคประชาชน จำนวน ๕๐ คน จำนวน ๖ ครั้ง (กลุ่มเขตละ ๑ ครั้ง) ณ สถานที่ประชุมในพื้นที่ ๖ กลุ่มเขต ๓. กิจกรรมการศึกษาดูงานแหล่งท่องเที่ยวต้นแบบ ณ แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม วิถีชุมชน แหล่งมรดกทางภูมิปัญญา ในพื้นที่ ๖ กลุ่มเขต คน จำนวน ๖ ครั้ง (กลุ่มเขตละ ๑ ครั้ง) จำนวนครั้งละ ๘๐ คน โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นข้าราชการกรุงเทพมหานครและเครือข่ายภาคประชาชนรวมเจ้าหน้าที่ดำเนินการ ๔. กิจกรรมการสนับสนุนและส่งเสริมการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว ด้านความปลอดภัย และสิ่งอำนวยความสะดวกหรือบริการในแหล่งท่องเที่ยว ร่วมกับ ๖ กลุ่มเขต จำนวน ๑ แหล่ง/๑ กลุ่มเขต
ด้านที่ ๖ – มหานครแห่งเศรษฐกิจและการเรียนรู้ : Bangkok as an Economic and Learning Centre |
๖.๒ - เมืองแห่งนักท่องเที่ยวระดับโลก |
๖.๒.๑ กรุงเทพมหานครเป็นเมืองที่น่าท่องเที่ยวระดับโลก% |
๖.๒.๑.๕ แหล่งท่องเที่ยวและทรัพยากรการท่องเที่ยวในพื้นที่ของกรุงเทพมหานครได้รับ |
(1) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 100.00 (2021-09-07)
07/09/2564 : 1.สรุปโครงการค่าใช้จ่ายในการพัฒนาการท่องเที่ยววิถีถิ่นสู่การท่องเที่ยวที่ยั่งยืนในแหล่งท่องเที่ยวกรุงเทพมหานคร กลุ่มงานพัฒนาการท่องเที่ยวได้ดำเนินการจัดกิจกรรมดังต่อไปนี้ 1.1 กิจกรรมการประชุมเชิงบูรณาการเพื่อพัฒนาการท่องเที่ยววิถีถิ่นสู่การท่องเที่ยวที่ยั่งยืนในแหล่งท่องเที่ยวโครงการค่าใช้จ่ายในการพัฒนาการท่องเที่ยววิถีถิ่นสู่การท่องเที่ยวที่ยั่งยืนในแหล่งท่องเที่ยว (ครั้งที่ 1) เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 11 มีนาคม 2564 ณ โรงแรมปริ๊นพาเลซ มหานาค เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย โดยได้ผลลัพธ์เป็นเส้นทางการท่องเที่ยว 1 กลุ่มเขต/1 เส้นทาง จำนวน 6 เส้นทาง 1.2 กิจกรรม Focus group เพื่อพัฒนาการท่องเที่ยววิถีถิ่นสู่การท่องเที่ยวที่ยั่งยืนในแหล่งท่องเที่ยว ได้ดำเนินการจัดประชุมในพื้นที่ 3 กลุ่มเขต ๆ ละ 1 ครั้ง ๆ ละ 50 คน ซึ่งผลกิจกรรม Focus group ได้มีการระดมความคิดกำหนดเส้นทางท่องเที่ยว ของทุกสำนักงานเขต และลงพื้นที่ศึกษาดูงานแหล่งท่องเที่ยวต้นแบบ ดังนี้ - ครั้งที่ 1 วันพุธที่ 24 มีนาคม 2564 กลุ่มเขตกรุงธนเหนือ ณ ชุมชนกุฎีจีน เขตธนบุรี โดยมีผู้เข้ารับการอบรมและเจ้าหน้าที่ จำนวน 50 คน ใช้จ่ายงบประมาณเป็นเงิน 10,000.- บาท - ครั้งที่ 2 วันพุธที่ 31 มีนาคม 2564 กลุ่มเขตกรุงธนใต้ ณ ลานวัฒนธรรม มัสยิดนุรุ้ลฮูดา เขตทุ่งครุ โดยมีผู้เข้ารับการอบรมและเจ้าหน้าที่ จำนวน 50 คน ใช้จ่ายงบประมาณเป็นเงิน 10,000.- บาท - ครั้งที่ 3 วันพุธที่ 7 เมษายน 2564 กลุ่มเขตกรุงเทพใต้ ณ ที่ทำการชุมชนสวนหลวง 1 ซอยเจริญกรุง 103 เขตบางคอแหลม โดยมีผู้เข้ารับการอบรมและเจ้าหน้าที่ จำนวน 50 คน ใช้จ่ายงบประมาณเป็นเงิน 10,000.- บาท 1.3 ยกเลิกกิจกรรมดังต่อไปนี้ - กิจกรรม Focus group เพื่อพัฒนาการท่องเที่ยววิถีถิ่นสู่การท่องเที่ยวที่ยั่งยืนในแหล่งท่องเที่ยว อีก 3 ครั้ง จำนวนเงิน 30,000.- บาท ได้แก่ ครั้งที่ 4 กลุ่มเขตกรุงเทพกลาง, ครั้งที่ 5 กลุ่มเขตกรุงเทพตะวันออก และครั้งที่ 6 กลุ่มเขตกรุงเทพเหนือ - กิจกรรมการศึกษาดูงานแหล่งท่องเที่ยวต้นแบบ ณ แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมแหล่งมรดกทางภูมิปัญญา ชุมชนท่องเที่ยววิถีถิ่น จำนวน 6 ครั้ง เป็นเงิน 440,400.- บาท - กิจกรรมการประชุมเชิงบูรณาการเพื่อพัฒนาการท่องเที่ยววิถีถิ่นสู่การท่องเที่ยวที่ยั่งยืนในแหล่งท่องเที่ยวโครงการค่าใช้จ่ายในการพัฒนาการท่องเที่ยววิถีถิ่นสู่การท่องเที่ยวที่ยั่งยืนในแหล่งท่องเที่ยว (ครั้งที่ 2) จำนวนเงิน 92,400.- บาท - การสนับสนุนและส่งเสริมการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว ด้านความปลอดภัย ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก หรือการบริการในแหล่งท่องเที่ยวในกรุงเทพมหานคร เป็นเงิน 224,300.- บาท ทั้งนี้ ได้นำเรียนผู้อำนวยการสำนักงานวัฒนธรรมและการท่องเที่ยว พิจารณายกเลิกการจัดกิจกรรมตามโครงการฯ รายละเอียดตามหนังสือด่วนมากที่ 0096/2564 ลงวันที่ 10 สิงหาคม 2564 เรียบร้อยแล้ว 2. สรุปกิจกรรมตามหลักเกณฑ์แนวทางในการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว รวมถึงการจัดให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกและปลอดภัยให้กับนักท่องเที่ยว มีตัวชี้วัดจำนวน 8 แห่ง โดยหน่วยงานของกรุงเทพมหานคร สามารถทำได้ 18 แห่ง จาก 15 สำนักงานเขต ซึ่งการประเมินผลตรงตามหลักเกณฑ์ทั้ง 18 แห่ง
** ปัญหาของโครงการ :การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ที่เพิ่มสูงขึ้น ทำให้ไม่สามารถลงพื้นที่เพื่อจัดกิจกรรม และจัดการประชุมเชิงบูรณาการได้ตามที่กำหนดไว้
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(2) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 60.00 (2021-08-24)
24/08/2564 : กลุ่มงานพัฒนาการท่องเที่ยวได้มีหนังสือเลขที่ 0096/2564 ลงวันที่ 10 สิงหาคม 2564 เรื่องขออนุมัติยกเลิกการจัดกิจกรรมโครงการค่าใช้จ่ายการท่องเที่ยววิถีถิ่นสู่การท่องเที่ยวที่ยั่งยืนในแหล่งท่องเที่ยวกรุงเทพมหานคร เนื่องจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ทำให้กรุงเทพมหานครได้ออกประกาศกรุงเทพมหานคร ลงวันที่ 17 เมษายน 2564 เรื่อง สั่งปิดสถานที่เป็นการชั่วคราว (ฉบับที่ 24) ซึ่งผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 18 เมษายน 2564 ได้กำหนดให้พื้นที่ควบคุมสูงสุด 18 จังหวัด รวมไปถึงกรุงเทพมหานคร โดยกำหนดมาตรการควบคุมที่จำเป็น ตามข้อ 3 มาตรการควบคุมแบบูรณาการ ข้อ 3.5 การจัดกิจกรรมที่มีความเสี่ยงต่อการแพร่โรค เช่น การประชุม การจัดสัมมนา โดยจำกัดจำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรมไม่เกิน 50 คน กรณีเกิน 50 คนแต่ไม่เกิน 1,000 คน ให้ขออนุญาตโดยยื่นแผนการจัดการจัดงานและมาตรการควบคุมโรคต่อสำนักอนามัย ประกอบกับจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่จากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ได้เพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว จนไม่สามารถดำเนินการจัดกิจกรรมการประชุมเชิงบูรณาการเพื่อพัฒนาการท่องเที่ยววิถีถิ่นจำนวน 1 ครั้ง, กิจกรรม Focus Group จำนวน 3 ครั้ง และกิจกรรมการศึก๋ษาดูงานแหล่งท่องเที่ยวต้นแบบ จำนวน 6 ครั้ง ซึ่งผู้อำนวยการสำนักงานวัฒนธรรมและการท่องเที่ยวได้ลงนามอนุมัติยกเลิกโครงการและมอบหมายฝ่ายบริหารงานทั่วไปดำเนินการในสิ่งที่เกี่ยวข้องในวันที่ 11 สิงหาคม 2564
** ปัญหาของโครงการ :การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ทำให้บางสถานที่ปิดเป็นการชั่วคราว ไม่สามารถจัดกิจกรรมได้ ประกอบกับการติดเชื้อของผู้ป่วยรายใหม่ที่เพิ่มสูงขึ้นในแต่ละวัน ทำให้ไม่สามารถจัดกิจกรรมตามโครงการฯ ซึ่งเป็นโครงการที่มีการรวมตัวประชุม ปรึกษาหารือ และแสดงความคิดเห็น ซึ่งอาจมีผู้เสี่ยงติดเชื้อหรือผู้ที่อยู่ในภาวะเสี่ยงต่อการติดเชื้อมาเข้าร่วมกิจกรรมส่งผลให้เกิดการแพร่กระจายในวงกว้างได้
** อุปสรรคของโครงการ :กลุ่มงานพัฒนาการท่องเที่ยวดำเนินการยกเลิกโครงการเนื่องจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ที่เพิ่มสูงขึ้นจนไม่สามารถดำเนินได้อย่างต่อเนื่อง
------------------&&&--------------------
(3) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 60.00 (2021-07-21)
21/07/2564 : กลุ่มเขต 6 กลุ่มเขต ได้ดำเนินการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว รวมถึงการจัดการให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกและความปลอดภัยให้กับนักท่องเที่ยว ดังต่อไปนี้ 1.กลุ่มเขตกรุงเทพเหนือ ศูนย์อนุรักษ์และพัฒนาทรัพยากรท้องถิ่นเขตบางเขน ชุมชนเกษตรก้าวหน้าลำรางหนองกง เขตบางเขน -จัดทำจุดจอดจักรยาน ปรับปรุงราวสะพาน และพัฒนาพื้นที่โดยรอบบริเวณแหล่งท่องเที่ยว วัดหลักสี่ เขตหลักสี -พัฒนาทำความสะอาดรอบวัดหลักสี่ และปรับปรุงสะพานข้ามคลองเปรมประชากรหลังวัดหลักสี่ 2.กลุ่มเขตกรุงเทพกลาง คลองโอ่งอ่าง เขตสัมพันธวงศ์ -ติดตั้งโคมไฟสีแดงส่องสว่างแบบจีน ตลอดแนวทางเดินริมคลอง ชุมชนตลาดน้อย เขตสัมพันธวงศ์ -ติดตั้งไฟส่องสว่างบริเวณทางเข้าชุมชน และบริเวณสตรีทอาร์ท เพื่อให้เกิดความสวยงามและปลอดภัยในการถ่ายรูป 3.กลุ่มเขตกรุงเทพตะวันออก ตลาดหัวตะเข้ เขตลาดกระบัง -พัฒนาคอสะพานข้ามคลองประเวศบุรีรัมย์ ซึ่งเชื่อมระหว่างตลาดใหม่กับชุมชนหลวงพรต-ท่านเลี่ยม วัดกระทุ่มเสือปลา เขตประเวศ -พัฒนาภูมิทัศน์ทางเดินริมคลองประเวศบุรีรัมย์ฝั่งตรงข้ามวัด 4.กลุ่มเขตกรุงเทพใต้ ตลาดริมคลองชุมชนสวนหลวง 1 (เจริญกรุง 103) เขตบางคอแหลม -ตั้งจุดคัดกรองลงทะเบียนเข้า-ออก ตรวจวัดอุณหภูมิ และขอความร่วมมือนักท่องเที่ยวสวมหน้ากากอนามัย เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) -จัดทำแผนผังเส้นทางตลาดริมคลองชุมชนสวนหลวง 1 (เจริญกรุง 103) -โครงการจิตอาสาพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว -ปรับปรุงภูมิทัศน์ทางเท้า -สร้างมาตรการห้ามขับรถเข้า-ออกในพื้นที่แหล่งท่องเที่ยวเพื่อความปลอดภัยของนักท่องเที่ยวและลดมลพิษภายในชุมชน สะพานจักรยานลอยฟ้าสวนลุมพินี-สวนเบญจกิตติ (สะพานเขียว) เขตปทุมวัน -ซ่อมแซมระบบไฟส่องสว่าง ราวกันตก ทาสีพื้นทางเดิน -ประดับตกแต่งต้นไม้ -ทำความสะอาด 5.กลุ่มเขตกรุงธนเหนือ ย่านกะดีจีน เขตธนบุรี -ปักหมุดสถานที่ท่องเที่ยวและเส้นทางการท่องเที่ยวใน Google Maps -สร้าง QR Code เส้นทางการท่องเที่ยวในย่านกะดีจีน เพื่อประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยว -เพิ่มจำนวนถังดับเพลิง -สำรวจและปรับปรุงซ่อมแซมท่าเรือ ถนน ทางเดินเท้า ไฟส่องสว่างที่ชำรุด -จัดระเบียบสายสื่อสารในชุมชน -ทาสีแหล่งท่องเที่ยวในชุมชน วัดอรุณราชวราราม เขตบางกอกใหญ่ -ซ่อมแซมถนนวังเดิม ซ่อมแซมท่อระบายน้ำในซอยวังเดิม 8 -จัดระเบียบสายสื่อสารในย่านวังเดิมและพื้นที่เกี่ยวเนื่อง -พัฒนาดูแลความสะอาดภายในวัดและพื้นที่เกี่ยวเนื่อง -ประสานวัดอรุณฯในการจัดหาสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้พิการ -จัดเทศกิจอำนวยความสะดวกในการขึ้น-ลงเรือ -ประสานวัดอรุณฯในการจัดทำแอพพลิเคชั่นและพัฒนาเว็บไซต์ -ส่งเสริมผู้ประกอบการจนส่งในการรับส่งนักท่องเที่ยวจากห้างสรรพสินค้ามายังแหล่งท่องเที่ยว 6.กลุ่มเขตกรุงธนใต้ ย่านคลองบางมด เขตทุ่งครุ -ทาสีทางเดินริมคลองบางมด จัดเก็บขยะมูลฝอยในคลอง ตลาดน้ำคลองบางหลวง เขตภาษีเจริญ -ร่วมมือกับภาคเอกชนในการจัดหาเสื้อชูชีพในแหล่งท่องเที่ยว ชุมชนพูนบำเพ็ญพัฒนา เขตภาษีเจริญ -ร่วมมือกับภาคเอกชนในการจัดหาเสื้อชูชีพในแหล่งท่องเที่ยว -จัดทำเส้นทางท่องเที่ยวและแหล่งท่องเที่ยวภายในชุมชน วัดม่วง เขตบางแค -ขุดลอกคลองเก็บขยะ -ทาสีรั้วทางเดินริมคลองและท่าเรือ พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นกรุงเทพมหานครเขตราษฎร์บูรณะ เขตราษฎร์บูรณะ -พัฒนาปรับปรุงพื้นที่บริเวณพิพิธภัณฑ์และจัดทำจุดเช็คอิน สวนบวรประชานันท์ เขตบางขุนเทียน -ปรับภูมิทัศน์ในสวน และจัดเก็บขยะในคลองเฉลิมชัยพัฒนา วัดบางบอน เขตบางบอน -จัดทำแผ่นพับประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยว -บริการรถเข็นสำหรับผู้พิการและผู้สูงอายุ
** ปัญหาของโครงการ :การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ทำให้ไม่สามารถลงพื้นที่เพื่อจัดกิจกรรมหรือติดตามผลงานในแต่ละพื้นที่ได้
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(4) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 55.00 (2021-06-25)
25/06/2564 : กลุ่มเขตทั้ง ๖ กลุ่มเขต ได้ส่งรายงานผลการดำเนินการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว รวมถึงการจัดการให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกและความปลอดภัยให้กับนักท่องเที่ยว อันประกอบด้วย ภาพถ่ายประกอบการรายงานทั้งก่อนและหลังการดำเนินการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว รวมไปถึงการเผยแพร่การดำเนินการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวสู่สาธารณะแบบไม่จำกัดรูปแบบช่องทาง โดยมีสถานที่ต่างๆดังต่อไปนี้ ๑. กลุ่มเขตกรุงเทพเหนือ ได้แก่ ศูนย์อนุรักษ์และพัฒนาทรัพยากรท้องถิ่นเขตบางเขน ขุมชนเกษตรก้าวหน้าลำรางหนองกง เขตบางเขน และวัดหลักสี่ เขตหลักสี่ ๒. กลุ่มเขตกรุงเทพกลาง ได้แก่ ถนนคนเดินคลองโอ่งอ่างและสตรีทอาร์ทชุมชนตลาดน้อย เขตสัมพันธวงศ์ ๓. กลุ่มเขตกรุงเทพตะวันออก ได้แก่ ตลาดหัวตะเข้ เขตลาดกระบัง และวัดกระทุ่มเสือปลา เขตประเวศ ๔. กลุ่มเขตกรุงเทพใต้ ได้แก่ ตลาดริมคลองเจริญกรุง ๑๐๓ (ชุมชนสวนหลวง ๑) เขตบางคอแหลม และสะพานจักรยานลอยฟ้าสวนลุมพินี – สวนเบญจกิตติ (สะพานเขียว) เขตปทุมวัน ๕. กลุ่มเขตกรุงธนเหนือ ได้แก่ วัดอรุณราชวราราม เขตบางกอกใหญ่ และย่านกะดีจีน เขตธนบุรี ๖. กลุ่มเขตกรุงธนใต้ ได้แก่ ย่านคลองบางมด เขตทุ่งครุ, ตลาดน้ำคลองบางหลวงและชุมชนพูนบำเพ็ญ เขตภาษีเจริญ, พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นกรุงเทพมหานครเขตราษฎร์บูรณะ เขตราษฎร์บูรณะ
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(5) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 47.00 (2021-05-18)
18/05/2564 : กลุ่มเขตทั้ง ๖ กลุ่มเขตได้ส่งแผนการดำเนินการจัดกิจกรรมการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวรวมถึงจัดให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกและความปลอดภัยให้กับนักท่องเที่ยว โดยมีสถานที่ต่างๆดังต่อไปนี้ ๑. กลุ่มเขตกรุงธนใต้ เสนอ ย่านคลองบางมด เขตทุ่งครุ, ตลาดน้ำคลองบางหลวงและชุมชนพูนบำเพ็ญ เขตภาษีเจริญ, วัดม่วงและศาลเจ้าแม่ทับทิม เขตบางแค, คลองรางไผ่และวัดบางบอน เขตบางบอน, พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นกรุงเทพมหานครเขตราษฎร์บูรณะ เขตราษฎร์บูรณะ, และย่านสวนบวรประชานันท์และคลองเฉลิมชัยพัฒนา เขตบางขุนเทียน ๒. กลุ่มเขตกรุงธนเหนือ เสนอ วัดอรุณราชวราราม เขตบางกอกใหญ่ และย่านกะดีจีน เขตธนบุรี ๓. กลุ่มเขตกรุงเทพใต้ เสนอ ตลาดริมคลองเจริญกรุง ๑๐๓ (ชุมชนสวนหลวง ๑) เขตบางคอแหลม และสะพานจักรยานลอยฟ้าสวนลุมพินี – สวนเบญจกิตติ (สะพานเขียว) เขตปทุมวัน ๔. กลุ่มเขตกรุงเทพกลาง เสนอ ถนนคนเดินคลองโอ่งอ่างและสตรีทอาร์ทชุมชนตลาดน้อย เขตสัมพันธวงศ์ ๕. กลุ่มเขตกรุงเทพตะวันออก เสนอ ตลาดหัวตะเข้ เขตลาดกระบัง และวัดกระทุ่มเสือปลา เขตประเวศ ๖. กลุ่มเขตกรุงเทพเหนือ เสนอ ศูนย์อนุรักษ์และพัฒนาทรัพยากรท้องถิ่นเขตบางเขน ขุมชนเกษตรก้าวหน้าลำรางหนองกง เขตบางเขน และวัดหลักสี่ เขตหลักสี่
** ปัญหาของโครงการ :การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ทำให้บางสถานที่ต้องปิดเป็นการชั่วคราวตามประกาศกรุงเทพมหานคร ฉบับที่ 25 ลงวันที่ 25 เมษายน 2563 จึงทำให้ไม่สามารถลงพื้นที่ได้
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(6) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 45.00 (2021-04-28)
28/04/2564 : กิจกรรมการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวรวมถึงจัดให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกและความปลอดภัยให้กับนักท่องเที่ยว หน่วยงานได้เวียนหนังสือเพื่อให้ ๖ กลุ่มเขต พิจารณาเสนอกิจกรรมฯ ที่ดำเนินการฯ ภายใต้ภารกิจของแต่ละสำนักงานเขตที่เกี่ยวข้อง โดยได้ดำเนินการตามขั้นตอน ดังนี้ - ผอ.สวท. แต่งตั้งคณะทำงานพิจารณาหลักเกณฑ์การวัดผลความสำเร็จตามแนวทางในการอนุรักษ์ฯ - คณะทำงานฯ ได้พิจารณาหลักเกณฑ์ฯ เรียบร้อยแล้ว และได้เวียน กลุ่มเขต ๖ กลุ่มเขต เพื่อทราบ และพิจารณาคัดเลือก กิจกรรม/โครงการที่จะดำเนินการเพื่อการอนุรักษ์ ฟื้นฟู ฯ แหล่งท่องเที่ยว ในปี ๒๕๖๔ - กลุ่มเขต ๖ กลุ่มเขต ได้ส่งข้อมูลแผนการดำเนินการจัดกิจกรรมการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวรวมถึงจัดให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกและความปลอดภัยให้กับนักท่องเที่ยว โดยมีผู้แทนสำนักงานเขต ในแต่ละกลุ่มเขต ส่งแผนการดำเนินการจัดกิจกรรมการอนุรักษ์ ดังนี้ เขตบางกอกใหญ่ เขตธนบุรี เขตลาดกระบัง เขตประเวศ เขตสัมพันธวงศ์ เขตทุ่งครุ เขตบางขุนเทียน เขตบางบอน เขตราษฎร์บูรณะ เขตบางแค เขตภาษีเจริญ เขตบางคอแหลม เขตปทุมวัน เขตบางเขน และเขตหลักสี่
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(7) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 40.00 (2021-04-22)
22/04/2564 : วันที่ 7 เมษายน 2564 ส่วนการท่องเที่ยว สำนักงานวัฒนธรรมและการท่องเที่ยว จัดกิจกรรม Focus Group เพื่อพัฒนาวิถีถิ่นส^jการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน ครั้งที่ 3 (กลุ่มเขตกรุงเทพใต้) ณ ที่ทำการสำนักงานชุมชนสวนหลวง 1 ซอยเจริญกรุง 103 เขตบางคอแหลม โดยได้รับเกียรติจาก นายวิฑูรย์ อภิสิทธิ์ภูวกุล ผู้อำนวยการเขตบางคอแหลม ให้เกียรติกล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมกิจกรรมฯ และแนะนำตลาดชุมชน เจริญกรุง 103 ว่าเป็นต้นแบบของการบริหารจัดการ โดยชุมชน มีอาหารหลากหลาย ต้นฉบับ ไทย-มุสลิม ที่มีเอกลักษณ์ อัตลักษณ์เฉพาะ พร้อมผู้อำนวยการส่วนการท่องเที่ยว และหัวหน้ากลุ่มงานพัฒนาการท่องเที่ยว วัตถุประสงค์เพื่อเป็นการเชื่อมโยงบูรณาการ ผลักดันให้เกิดการรวมพลังสร้างสรรค์และพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวในกลุ่มเขตกรุงเทพใต้ ให้ได้มาตรฐาน มีทรัพยากรการท่องเที่ยว สิ่งอำนวยความสะดวกและความปลอดภัยให้กับนักท่องเที่ยว มีการจัดเส้นทางการท่องเที่ยว ส่งเสริมและสนับสนุนมรดกภูมิปัญญาวิถีถิ่นสู่การท่องเที่ยวที่ยั่งยืน ผู้เข้าร่วมกิจกรรมประกอบด้วย หัวหน้าฝ่ายพัฒนาชุมชน เจ้าหน้าที่ที่ดูแลด้านการท่องเที่ยว เครือข่ายภาคประชาชนของกลุ่มเขตกรุงเทพใต้ และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องรวม 50 คน และช่วงบ่ายของกิจกรรมฯ ได้ลงพื้นที่แหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่เขตสาทร ซึ่งได้รับเกียรติจากนายพันธ์ศักดิ์ เจริญสุข ผู้อำนวยการเขตสาทร กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมกิจกรรมฯ และนายสิงห์ ลิ้มพิรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักงานวัฒนธรรมและการท่องเที่ยว กล่าวขอบคุณผู้บริหารทั้ง 2 เขต และผู้เข้าร่วมกิจกรรม ที่ร่วมมือร่วมใจในการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวกรุงเทพมหานคร กลุ่มเขตกรุงเทพใต้ ให้เกิดความยั่งยืนโดยชุมชน จากนั้นนำชมแหล่งท่องเที่ยวของเขตสาทร ได้แก่ วัดยานนาวา สาทร คาแนล อาร์ต และวัดดอน รวมถึงแหล่งรวมอาหาร ที่จัดได้ว่าเป็น street food ของย่านที่สำคัญ ในพื้นที่เขตสาทร - สำนักงานวัฒนธรรมและการท่องเที่ยว มีหนังสือเลขที่ กท 1207/0505 ลงวันที่ 20 เมษายน 2564 เรื่อง ขออนุมัติเลื่อนกิจกรรมตามโครงการค่าใช้จ่ายในการพัฒนาการท่องเที่ยววิถีถิ่นสู่การท่องเที่ยวที่ยั่งยืนในแหล่งท่องเที่ยวกรุงเทพมหานคร ตามประกาศกรุงเทพมหานครวันที่ 17 เมษายน 2564 เรื่อง สั่งปิดสถานที่เป็นการชั่วคราว (ฉบับที่ 24) และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 18 เมษายน 2564 เนื่องจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) และผู้อำนวยการสำนักวัฒนธรรม กีฬาและการท่องเที่ยว ได้ลงนามอนุมัติและมีหนังสือแจ้งเลื่อนกิจกรรมตามโครงการฯ ถึงผู้อำนวยการเขต ตามหนังสือเลขที่ กท 1207/0899 ลงวันที่ 20 เมษายน 2564 และมีหนังสือแจ้งเลื่อนกิจกรรมตามโครงการฯ ถึงผู้อำนวยการสำนักพัฒนาสังคม และสำนักการจราจรและขนส่ง ตามหนังสือเลขที่ กท 1207/0900 ลงวันที่ 20 เมษายน 2564
** ปัญหาของโครงการ :ประกาศกรุงเทพมหานครวันที่ 17 เมษายน 2564 เรื่อง สั่งปิดสถานที่เป็นการชั่วคราว (ฉบับที่ 24) อ้างถึง ข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 (ฉบับที่ 20) ลงวันที่ 16 เมษายน 2564 มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 18 เมษายน 2564 ได้กำหนดพื้นที่ควบคุมสูงสุด 18 จังหวัด ซึ่งมีกรุงเทพมหานคร เป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุด อันเนื่องสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19)
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(8) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 35.00 (2021-03-30)
30/03/2564 : - กลุ่มงานพัฒนาการท่องเที่ยวได้ดำเนินการกิจกรรมการประชุมเชิงบูรณาการเพื่อพัฒนาการท่องเที่ยววิถีถิ่นสู่การท่องเที่ยวที่ยั่งยืนในแหล่งท่องเที่ยว ตามโครงการค่าใช้จ่ายในการพัฒนา การท่องเที่ยววิถีถิ่นสู่การท่องเที่ยวที่ยั่งยืนในแหล่งท่องเที่ยวกรุงเทพมหานคร ครั้งที่ ๑ เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๑๑ มีนาคม ๒๕๖๔ ณ โรงแรมปริ๊นพาเลซ มหานาค เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย ผู้เข้ารับการอบรมรวมเจ้าหน้าที่เสร็จสิ้นเรียบร้อยแล้ว โดยมีผู้เข้ารับการอบรมและเจ้าหน้าที่ จำนวน ๑๑๙ คน (ผู้เข้าอบรม ๑๐๙ คน ขาดการอบรมจำนวน ๑ คน ได้แก่ นางทิวาลักษณ์ พุ่มวารี ผู้แทนเครือข่ายการท่องเที่ยวภาคประชาชน สำนักงานเขตพญาไท เนื่องจากติดภารกิจส่วนตัว และเจ้าหน้าที่ ๑๐ คน ซึ่งมีค่าใช้จ่ายที่จ่ายไปทั้งสิ้น จำนวน ๙๑,๗๕๐ บาท (เก้าหมื่นหนึ่งพันเจ็ดร้อยห้าสิบบาทถ้วน) มีเงินเหลือจ่ายจำนวน ๖๕๐.- บาท (หกร้อยห้าสิบบาทถ้วน) - กลุ่มงานพัฒนาการท่องเที่ยวได้ดำเนินการจัดการประชุม Focus Group เพื่อพัฒนาการท่องเที่ยววิถีถิ่นสู่การท่องเที่ยวที่ยั่งยืนในแหล่งท่องเที่ยว ครั้งที่ ๑ เมื่อวันที่ ๒๔ มีนาคม ๒๕๖๔ ณ วัดกัลยาณมิตรและชุมชนกุฎีจีน เขตธนบุรี
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(9) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 30.00 (2021-02-24)
24/02/2564 : 1.สำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยวจัดทำคำสั่งที่ 20/2564 ลงวันที่ 8 มกราคม 2564 เรื่อง แต่งตั้งคณะทำงานพิจารณาหลักเกณฑ์การวัดผลความสำเร็จตามแนวทางในการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว รวมถึงการจัดให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกและปลอดภัยให้กับนักท่องเที่ยว 2.คณะทำงานฯ จัดการประชุมเพื่อพิจารณาแนวทางในการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว รวมถึงการจัดให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกและปลอดภัยให้กับนักท่องเที่ยว 3.กลุ่มงานพัฒนาการท่องเที่ยว ได้รับนโยบายจากผู้บริหารสำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว ให้พิจารณากำหนดวันดำเนินการจัดกิจกรรมตามโครงการค่าใช้จ่ายในการพัฒนาการท่องเที่ยววิถีถิ่น สู่การท่องเที่ยวที่ยั่งยืนในแหล่งท่องเที่ยวกรุงเทพมหานคร ดังนี้ ๑. กิจกรรมการประชุมเชิงบูรณาการเพื่อพัฒนาการท่องเที่ยววิถีถิ่นสู่การท่องเที่ยวที่ยั่งยืนในแหล่งท่องเที่ยว โดยกำหนดจัดประชุม จำนวน ๒ ครั้ง กลุ่มเป้าหมายเป็นข้าราชการกรุงเทพมหานครและเครือข่ายภาคประชาชนรวมเจ้าหน้าที่ดำเนินการ จำนวน ๑๒๐ คน ณ สถานที่ประชุมหรือโรงแรมในกรุงเทพมหานคร ดังนี้ ครั้งที่ ๑ วันพฤหัสบดีที่ ๑๑ มีนาคม ๒๕๖๔ ณ โรงแรมปริ๊นพาเลซ มหานาค เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย ครั้งที่ ๒ วันพฤหัสบดีที่ ๑๕ กรกฎาคม ๒๕๖๔ ณ โรงแรมปริ๊นพาเลซ มหานาค เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย ๒. กิจกรรม Focus group เพื่อพัฒนาการท่องเที่ยววิถีถิ่นสู่การท่องเที่ยวที่ยั่งยืนในแหล่งท่องเที่ยว โดยกำหนดจัดประชุมในพื้นที่ ๖ กลุ่มเขต ๆ ละ ๑ ครั้ง ๆ ละ ๕๐ คน กลุ่มเป้าหมายเป็นข้าราชการกรุงเทพมหานครและเครือข่ายภาคประชาชนรวมเจ้าหน้าที่ดำเนินการ ณ สถานที่ประชุมในพื้นที่ ๖ กลุ่มเขต เป็นเงิน ๖๐,๐๐๐.- บาท ดังนี้ ครั้งที่ ๑ วันพุธที่ ๒๔ มีนาคม ๒๕๖๔ กลุ่มเขตกรุงธนเหนือ ณ สำนักงานเขตธนบุรีหรือแหล่งท่องเที่ยวที่เหมาะสม ครั้งที่ ๒ วันพุธที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๖๔ กลุ่มเขตกรุงธนใต้ ณ สำนักงานเขตทุ่งครุหรือแหล่งท่องเที่ยวที่เหมาะสม ครั้งที่ ๓ วันพุธที่ ๗ เมษายน ๒๕๖๔ กลุ่มเขตกรุงเทพใต้ ณ สำนักงานเขตสาทรหรือแหล่งท่องเที่ยวที่เหมาะสม ครั้งที่ ๔ วันพุธที่ ๒๑ เมษายน ๒๕๖๔ กลุ่มเขตกรุงเทพกลาง ณ สำนักงานเขตป้อมปราบศัตรูพ่ายหรือแหล่งท่องเที่ยวที่เหมาะสม ครั้งที่ ๕ วันพุธที่ ๒๘ เมษายน ๒๕๖๔ กลุ่มเขตกรุงเทพตะวันออก ณ สำนักงานเขตลาดกระบังหรือแหล่งท่องเที่ยวที่เหมาะสม ครั้งที่ ๖ วันพุธที่ ๕ พฤษภาคม ๒๕๖๔ กลุ่มเขตกรุงเทพเหนือ ณ สำนักงานเขตบางเขนหรือแหล่งท่องเที่ยวที่เหมาะสม ๓. กิจกรรมการศึกษาดูงานแหล่งท่องเที่ยวต้นแบบ ณ แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมแหล่งมรดกทางภูมิปัญญา ชุมชนท่องเที่ยววิถีถิ่น ในพื้นที่ ๖ กลุ่มเขต จำนวน ๖ ครั้ง กลุ่มเป้าหมายเป็นข้าราชการ กรุงเทพมหานคร เครือข่ายภาคประชาชน และเจ้าหน้าที่ดำเนินการ จำนวน ๘๐ คน ดังนี้ ครั้งที่ ๑ วันเสาร์ที่ ๘ พฤษภาคม ๒๕๖๔ ณ แหล่งท่องเที่ยวย่านคลองบางมด เขตทุ่งครุ ครั้งที่ ๒ วันเสาร์ที่ ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๖๔ ณ ชุมชนกะดีจีน เขตธนบุรี ครั้งที่ ๓ วันเสาร์ที่ ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๖๔ ณ แหล่งท่องเที่ยวย่านเจริญกรุง เขตสาทรและเขตบางคอแหลม ครั้งที่ ๔ วันเสาร์ที่ ๒๙ พฤษภาคม ๒๕๖๔ ณ แหล่งท่องเที่ยวย่านคลองผดุงกรุงเกษม เขตสัมพันธวงศ์และเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย ครั้งที่ ๕ วันเสาร์ที่ ๕ มิถุนายน ๒๕๖๔ ณ ชุมชนหัวตะเข้ เขตลาดกระบัง ครั้งที่ ๖ วันเสาร์ที่ ๑๒ มิถุนายน ๒๕๖๔ ณ โครงการทองอุไรงามตา ร่วมพัฒนาริมคลอง ส่องศูนย์เรียนรู้ ดูทุ่งบางเขน เขตบางเขน รายละเอียดตามหนังสือกลุ่มงานพัฒนาการท่องเที่ยว ที่ 0009/2564 ลงวันที่ 20 มกราคม 2564 ซึ่งผู้อำนวยการสำนักงานวัฒนธรรมและการท่องเที่ยว ได้อนุมัติเปลี่ยนแปลงกำหนดจัดกิจกรรมโครงการค่าใช้จ่ายในการพัฒนาการท่องเที่ยววิถีถิ่นสู่การท่องเที่ยวที่ยั่งยืนในแหล่งท่องเที่ยวกรุงเทพมหานคร 30/3/2564: กลุ่มงานพัฒนาการท่องเที่ยวได้ดำเนินการกิจกรรมการประชุมเชิงบูรณาการเพื่อพัฒนาการท่องเที่ยววิถีถิ่นสู่การท่องเที่ยวที่ยั่งยืนในแหล่งท่องเที่ยว ตามโครงการค่าใช้จ่ายในการพัฒนา การท่องเที่ยววิถีถิ่นสู่การท่องเที่ยวที่ยั่งยืนในแหล่งท่องเที่ยวกรุงเทพมหานคร ครั้งที่ ๑ เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๑๑ มีนาคม ๒๕๖๔ ณ โรงแรมปริ๊นพาเลซ มหานาค เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย ผู้เข้ารับการอบรมรวมเจ้าหน้าที่เสร็จสิ้นเรียบร้อยแล้ว โดยมีผู้เข้ารับการอบรมและเจ้าหน้าที่ จำนวน ๑๑๙ คน (ผู้เข้าอบรม ๑๐๙ คน ขาดการอบรมจำนวน ๑ คน ได้แก่ นางทิวาลักษณ์ พุ่มวารี ผู้แทนเครือข่ายการท่องเที่ยวภาคประชาชน สำนักงานเขตพญาไท เนื่องจากติดภารกิจส่วนตัว และเจ้าหน้าที่ ๑๐ คน ซึ่งมีค่าใช้จ่ายที่จ่ายไปทั้งสิ้น จำนวน ๙๑,๗๕๐ บาท (เก้าหมื่นหนึ่งพันเจ็ดร้อยห้าสิบบาทถ้วน) มีเงินเหลือจ่ายจำนวน ๖๕๐.- บาท (หกร้อยห้าสิบบาทถ้วน)
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(10) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 15.00 (2021-01-22)
22/01/2564 : ผู้อำนวยการสำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว ได้ลงนามให้ความเห็นชอบในการแจ้งเลื่อนดำเนินการกิจกรรมตามโครงการค่าใช้จ่ายในการพัฒนาการท่องเที่ยววิถีถิ่นสู่การท่องเที่ยวที่ยั่งยืนในแหล่งท่องเที่ยวกรุงเทพมหานคร ตามหนังสือที่ กท ๑๒๐๗/๐๐๑๕ ลงวันที่ ๖ มกราคม ๒๕๖๔ เนื่องด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด – 19) และมีข้อกำหนดออกตามความในมาตรา ๙ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ (ฉบับที่ ๑๖) ข้อ ๒ ห้ามการจัดกิจกรรมที่มีความเสี่ยงต่อการแพร่โรค โดยห้ามจัดกิจกรรมในเขตพื้นที่สถานการณ์ที่กำหนดเป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุด ซึ่งมีผู้เข้าร่วมเป็นจำนวนมากและมีโอกาสติดต่อสัมผัสกันได้ง่าย เช่น การประชุม การสัมมนาฯลฯ ประกอบกับคำสั่งศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด – 19) ที่ ๑๙/๒๕๖๔ ลงวันที่ ๓ มกราคม ๒๕๖๔ เรื่องพื้นที่สถานการณ์ที่กำหนดเป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุดตามข้อกำหนดฯ ได้ประกาศให้กรุงเทพมหานครเป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุดตามบัญชีแนบท้ายคำสั่ง มีผลตั้งแต่วันที่ ๑๔ มกราคม ๒๕๖๔ เป็นต้นไป จนกว่าจะมีคำสั่งเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(11) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 10.00 (2020-12-28)
28/12/2563 : 1. ผู้อำนวยการสำนักงานวัฒนธรรมและการท่องเที่ยว ได้อนุมัติแต่งตั้งร่างขอบเขตของงาน (TOR) และกำหนดราคากลางการจ้างเหมาจัดกิจกรรมการศึกษาดูงานแหล่งท่องเที่ยวต้นแบบ ณ แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม แหล่งมรดกทางภูมิปัญญา ชุมชนท่องเที่ยววิถีถิ่น ตามหนังสือกลุ่มงานพัฒนาการท่องเที่ยว เลขที่ 0194/2563 ลงวันที่ 18 ธันวาคม 2563 2. อยู่ระหว่างการจัดทำร่างหนังสือประสานสำนักงานเขต 50 เขต ร่วมกิจกรรมตามโครงการฯ
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี/ การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด – 19) ทำให้การจัดกิจกรรมไม่สามารถดำเนินการตามระยะเวลาที่กำหนด
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(12) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 10.00 (2020-11-25)
25/11/2563 : 1. ผู้อำนวยการสำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว ได้โปรดอนุมัติเปลี่ยนแปลงรายละเอียดการดำเนินงานและรายละเอียดค่าใช้จ่าย ตามโครงการฯ รายละเอียดตามหนังสือด่วนที่สุดที่ กท 1207/1319 ลงวันที่ 9 พฤศจิกายน 2563 โดยเปลี่ยนแปลงรายละเอียดการดำเนินงานและรายละเอียดค่าใช้จ่าย โดยไม่กระทบกับงบประมาณ ไม่ได้มีการเปลี่ยนวัตถุประสงค์ ไม่ได้มีการเปลี่ยนเป้าหมายการดำเนินการ 2. อยู่ระหว่างการนำเสนอ ผอ.ส่วนการท่องเที่ยว ในการเสนอขอเงิน งวด ที่ ๑ 3. อยู่ระหว่างการจัดทำร่างหนังสือประสานสำนักงานเขต 50 เขต ร่วมกิจกรรมตามโครงการฯ 24/12/2563: 1. ผู้อำนวยการสำนักงานวัฒนธรรมและการท่องเที่ยว ได้อนุมัติแต่งตั้งร่างขอบเขตของงาน (TOR) และกำหนดราคากลางการจ้างเหมาจัดกิจกรรมการศึกษาดูงานแหล่งท่องเที่ยวต้นแบบ ณ แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม แหล่งมรดกทางภูมิปัญญา ชุมชนท่องเที่ยววิถีถิ่น ตามหนังสือกลุ่มงานพัฒนาการท่องเที่ยว เลขที่ 0194/2563 ลงวันที่ 18 ธันวาคม 2563 2. อยู่ระหว่างการจัดทำร่างหนังสือประสานสำนักงานเขต 50 เขต ร่วมกิจกรรมตามโครงการฯ
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(13) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 2.00 (2020-10-22)
22/10/2563 : อยู่ระหว่างขั้นตอน...จัดเตรียมข้อมูลการประชุมเชิงบูรณาการเพื่อพัฒนาการท่องเที่ยววิถีถิ่นสู่การท่องเที่ยวที่ยั่งยืนในแหล่งท่องเที่ยว การวางแผนกำหนดวันจัดประชุม การจัดเตรียมเอกสารวาระการประชุม
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
ตัวชี้วัด : 2.1 ระดับความสำเร็จในการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว รวมถึงจัดให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกและความปลอดภัยให้กับนักท่องเที่ยว
ค่าเป้าหมาย ระดับความสำเร็จ : 5
ผลงานที่ทำได้ ระดับความสำเร็จ : 5
ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์ ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (output)
** ผลการประเมินโครงการ (รายไตรมาส) **