ความคืบหน้าโครงการ ร้อยละ 0
กองวินัยและเสริมสร้างจริยธรรม
ดูโครงการแผนปีฯ : พิมพ์ข้อมูล
*** สยป. ประเมินโครงการ : ไตรมาสที่ 1
สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (สำนักงาน ป.ป.ช.) ได้พัฒนาเครื่องมือการประเมินเชิงบวกเพื่อเป็นมาตรการป้องกันการทุจริต และเป็นกลไกในการสร้างความตระหนักให้หน่วยงานภาครัฐมีการดำเนินงานอย่างโปร่งใสและมีคุณธรรม โดยใช้ชื่อว่า “การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (Integrity and Transparency Assessment : ITA)” โดยเริ่มดำเนินการในปีงบประมาณ พ.ศ. 2556 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน และมีการขยายขอบเขตและพัฒนา ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขี้น ซึ่งการประเมินฯ ดังกล่าว มีผลต่อดัชนีการรับรู้การทุจริต (CPI) ของประเทศไทย ซึ่งตามแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561 - 2580) ได้กำหนดตัวชี้วัดว่า ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 – 2570 จะต้องมีค่าดัชนีการรับรู้การทุจริต (CPI) ของประเทศไทย อยู่ในอันดับ 1 ใน 43 จาก 180 ประเทศ และ/หรือ ไม่ต่ำกว่า 57 คะแนน ซึ่งกรุงเทพมหานครได้เข้าร่วมการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (ITA) โดยในปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 มีผลการประเมิน 88.50 คะแนน (ระดับ A) ปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 มีผลการประเมินได้คะแนน 91.48 คะแนน (ระดับ A) ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 มีผลการประเมินได้คะแนน 88.32 คะแนน (ระดับ A) และปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 มีผลการประเมินได้คะแนน 90.01 คะแนน (ระดับ A) และมีเป้าหมายที่จะให้ผลการประเมินดังกล่าวในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 และในปีงบประมาณต่อ ๆ ไปอยู่ที่ระดับไม่ต่ำกว่า AA จากการดำเนินการที่ผ่านมากรุงเทพมหานครได้คะแนนการเปิดเผยข้อมูลสาธารณะ (OIT) เต็ม 100 คะแนน ทั้งในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 พ.ศ. 2564 และ พ.ศ.2565 แต่คะแนนในส่วนของแบบวัดการรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายใน (IIT) และแบบวัดการรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอก (EIT) มีคะแนนที่น้อยลง จึงทำให้ผลคะแนนการประเมินของกรุงเทพมหานครลดลง และสะท้อนถึงการดำเนินงานของกรุงเทพมหานคร ซึ่งมาจากการประเมินของข้าราชการและบุคลากรของกรุงเทพมหานครที่ปฏิบัติงานมาไม่น้อยกว่า 1 ปี จำนวนไม่น้อยกว่า 400 คน และจากผู้มาติดต่อ ผู้รับบริการ และคู่สัญญาของกรุงเทพมหานคร จำนวนไม่น้อยกว่า 400 คน ที่ต้องมีการปรับปรุงและพัฒนาการดำเนินงานของกรุงเทพมหานครให้ดียิ่งขึ้น โดยจากการประเมินที่ผ่านมาสะท้อนให้เห็นว่า ข้าราชการและบุคลากรของกรุงเทพมหานคร ยังไม่มีความเข้าใจในการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (ITA) อีกทั้งยังไม่ทราบว่าการประเมินฯ ดังกล่าว มีวัตถุประสงค์อย่างไร และมีความสำคัญต่อการดำเนินงานของกรุงเทพมหานคร และของประเทศไทยอย่างไร อีกทั้งการรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายใน (IIT) คือ ข้าราชการและบุคลากรของกรุงเทพมหานครที่ปฏิบัติงานมาไม่น้อยกว่า 1 ปี ที่มีคะแนนเพิ่มขึ้นย่อมเกี่ยวเนื่องกับการดำเนินงานของกรุงเทพมหานครที่มุ่งพัฒนาให้กรุงเทพมหานครมีความโปร่งใส มีคุณธรรม และตรวจสอบได้ และจะสะท้อนให้ผู้มาติดต่อ ผู้รับบริการ และคู่สัญญาของกรุงเทพมหานคร คือผู้ทำแบบวัดการรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอก (EIT) รับรู้ถึงการดำเนินงานของกรุงเทพมหานครที่มีความโปร่งใส มีคุณธรรม และตรวจสอบได้
03040000/03040000
1. เพื่อส่งเสริมและขับเคลื่อนการดำเนินการเพื่อป้องกันการทุจริตของกรุงเทพมหานคร 2. เพื่อสร้างการรับรู้ให้ข้าราชการและบุคลากรกรุงเทพมหานคร มีคุณธรรมและจริยธรรมตามหลักธรรมาภิบาล 3. เพื่อให้การดำเนินงานตามภารกิจของกรุงเทพมหานครเป็นไปอย่างโปร่งใส มีคุณธรรม ตรวจสอบได้ และเกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชน
คะแนนแบบวัดการรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายใน (IIT) และคะแนนการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (ITA) ของกรุงเทพมหานคร ได้รับคะแนนการประเมินสูงขึ้นกว่าปีที่ผ่านมา
ด้านที่ ๗ – การบริหารจัดการเมืองมหานคร : Management Strategy |
๗.๓ - การบริหารทรัพยากรบุคคล |
๗.๓.๒ กรุงเทพมหานครมีระบบบริหารทรัพยากรบุคคลเข้มแข็งเอื้อต่อความเป็นธรรมสามารถสร้างสมดุล% |
๗.๓.๑.๓ ส่งเสริมด้านคุณธรรมความโปร่งใสในการบริหารงานบุคคลตามหลักธรรมาภิบาลและส่งเสริมให้กรุงเทพมหานครมีภาพลักษณ์ที่ดีขึ้น |
(1) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 100.00 (2023-09-11)
มีการรายงานผลการดำเนินการ พร้อมด้วยข้อเสนอแนะ ปัญหาและอุปสรรคต่อผู้บริหารกรุงเทพมหานครทราบ
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(2) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 100.00 (2023-07-24)
24/07/2566 : กรุงเทพมหานครและสำนักงานเขตได้ดำเนินการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใส (ITA) เรียบร้อยแล้ว อยู่ระหว่างรอประกาศผลจากสำนักงาน ป.ป.ช. ในเดือนสิงหาคม 2566 นี้
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ปัญหาและอุปสรรค : เนื่องจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 นี้เกณฑ์การประเมิน ITA ของกรุงเทพมหานคร และสำนักงานเขตมีความแตกต่างกัน จึงทำให้เกิดปัญหาในการสื่อสาร ความเข้าใจในการประเมิน และบางสำนักงานเขต บางหน่วยงาน หรือบางส่วนราชการในสังกัดสำนักปลัดกรุงเทพมหานครยังไม่ค่อยให้ความร่วมมือในการเปิดเผยข้อมูลและการสำรวจข้อมูลกับส่วนกลาง (กรุงเทพมหานคร) ตลอดทั้งปัญหาเรื่องของงานระบบการรายงานผลออนไลน์ที่หน่วยงานไม่สามารถดาวน์โหลดข้อมูลการรายงานผ่านระบบได้ ซึ่งเป็นการเพิ่มภาระให้หน่วยงานต้องกรอกข้อมูลการรายงานด้วยการกรอกข้อมูลผ่านฟอร์มที่สำนักงาน ก.ก. เผยแพร่ ข้อคิดเห็นเพิ่มเติม : เนื่องจากการาประเมิน ITA เป็นการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสของหน่วยงาน อีกทั้งยังส่งผลต่อภาพลักษณ์ของหน่วยงาน ดังนั้น ความสำเร็จของการประเมินจึงต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกหน่วยงานและส่วนราชการของกรุงเทพมหานคร ซึ่งสะท้อนถึงความสามัคคีและประสิทธิภาพการบริหารงานของหน่วยงาน จึงเห็นควรให้ทุกหน่วยงานให้ความสำคัญกับการประเมิน ตลอดจนสร้างการสื่อสารและการรับรู้แก่ข้าราชการและประชาชนของกรุงเทพมหานครด้วย
------------------&&&--------------------
(3) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 95.00 (2023-06-30)
30/06/2566 : กรุงเทพมหานคร และสำนักงานเขต ได้ดำเนินการตอบแบบวัดการรับรู้ IIT EIT และ OIT เรียบร้อยแล้ว ซึ่งสามารถดำเนินการได้ครบถ้วน และภายในระยะเวลาตามปฏิทินที่สำนักงาน ป.ป.ช. กำหนด โดยสำนักงาน ป.ป.ช. จะดำเนินการประกาศผลการประเมินให้ทราบต่อไปภายในเดือนสิงหาคม 2566
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(4) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 70.00 (2023-05-11)
สำนักงาน ก.ก. กำกับติดตาม ผลการตอบแบบวัดการเปิดเผยข้อมูลสาธารณะ (OIT) ของสำนักงานเขต ให้บรรละตามเป้าหมายและตามปฏิทินการประเมิน ITA ที่สำนักงาน ป.ป.ช. กำหนด และในส่วนผลการตอบแบบวัดการเปิดเผยข้อมูลสาธารณะ (OIT) ภาพรวมของกรุงเทพมหานคร สำนักงาน ก.ก. ได้ดำเนินการเข้าตอบแบบวัด OIT ผ่านระบบ ITAS แล้วซึ่งสามารถดำเนินการได้ครบถ้วนและทันตามกำหนดปฏิทินการประเมิน ITA ที่ ป.ป.ช. กำหนด การตอบแบบวัดการรับรู้ของผูัมีส่วนได้ส่วนเสียภายใน (IIT) และการตอบแบบวัดการรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอก (EIT) สำนักงาน ก.ก. จะดำเนินการติดตามหน่วยงานที่ยังดำเนินการไม่ครบให้ดำเนินการให้ครบทันตามกำหนดระยะเวลา ภายในวันที่ 30 มิถุนายน 2566 สำนักงานเขตทั้ง 50 เขต เข้าตอบแบบวัดการเปิดเผยข้อมูลสาธารณะ (OIT) ครบถ้วนแล้ว ทั้ง 50 สำนักงานเขต โดยสำนักงาน ปปช. ได้ตรวจและให้คะแนน OIT เบื้องต้นแล้ว ปรากฏว่าได้ 100 คะแนน
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(5) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 60.00 (2023-04-20)
20/04/2566 : สกก. ร่วมกับ สนย. สนน. สนค. สนอ. สนท. และ สยป. จัดทำแนวทางการเปิดเผยข้อมูลสาธารณะ (OIT) ให้แก่สำนักงานเขต โดยได้ดำเนินการนำเข้าข้อมูลบน Google Drive ของกองวินัยและเสริมสร้างจริยธรรม และเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ ให้ทุกสำนักงานเขตสามารถดาวน์โหลดข้อมูลดังกล่าวได้ผ่านช่องทาง Line กลุ่ม ITA ป.ป.ช. และกรุงเทพมหานคร
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(6) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 50.00 (2023-03-21)
21/03/2566 : สำนักงาน ก.ก. ร่วมกับสำนักงาน ป.ป.ช. จัดกิจกรรม Clinic Bangkok ITA 2023 สำนักงานเขต เพื่อสร้างความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (ITA) ของสำนักงานเขต แก่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน และเจ้าหน้าที่ฝ่ายโยธา ฝ่ายรายได้ ฝ่ายสิ่งแวดล้อม และฝ่ายอื่นที่เกี่ยวข้อง
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(7) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 40.00 (2023-02-24)
24/02/2566 : ดำเนินการเผยแพร่สื่อประชาสัมพันธ์การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินการของหน่วยงานภาครัฐ (ITA) ให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายใน (IIT) และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอก (EIT) เข้าตอบแบบวัดการรับรู้ IIT และ EIT
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(8) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 30.00 (2023-01-25)
25/01/2566 : ดำเนินการสำรวจจำนวนการรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายใน (IIT) และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอก (EIT)
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(9) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 10.00 (2022-12-29)
29/12/2565 : มีการประชาสัมพันธ์แจ้งข้อมูล ITA ผ่าน Application Line ให้สำนักงานเขตเตรียมความพร้อม และนำข้อมูล ITA ไปประชาสัมพันธ์และเผยแพร่การดำเนินงานต่อไป
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
ตัวชี้วัด : ร้อยละความสำเร็จของการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (Integrity and Transparency Assessment : ITA) มีคะแนนไม่น้อยกว่าระดับ AA (95.00 คะแนน)
ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 95
ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 60
ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์ ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (output)
** ผลการประเมินโครงการ (รายไตรมาส) **