ความคืบหน้าโครงการ ร้อยละ 100
นางยุพดี เชาวณาพรรณ์ โทร 7498
ดูโครงการแผนปีฯ : พิมพ์ข้อมูล
*** สยป. ประเมินโครงการ : ไตรมาสที่ 1
-ผลของการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีทางการแพทย์ปัจจุบัน ทำให้ผู้ป่วยมีชีวิตยืนยาวขึ้นการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายที่บ้าน (Palliative Homecare) จึงมีความจำเป็นและสำคัญ เป็นทางเลือกที่จะช่วยให้ผู้ป่วยไม่ทุกข์ทรมานเมื่อระยะสุดท้ายมาถึง การดูแลที่ดีและเหมาะสม และบริการนี้ควรเป็นส่วนหนึ่งในบริการของกรุงเทพมหานครที่จัดให้กับผู้ป่วยทุกคนและครอบครัวสามารถเข้าถึงบริการนี้ได้ จึงเป็นความจำเป็นเร่งด่วนที่สำนักอนามัย โดยกองการพยาบาลสาธารณสุขเป็นแกนหลักในการร่วมจัดและให้บริการผู้ป่วยระยะท้ายที่บ้าน อย่างเป็นรูปธรรมให้เกิดขึ้นในพื้นที่ และสภาพปัจจุบัน พบว่ามีผู้ป่วยเรื้อรังและผู้สูงอายุที่จำเป็นต้องได้รับการติดตามเยี่ยมที่บ้าน มีมากขึ้น ทั้งกลุ่มที่มีความพิการติดตัว ช่วยเหลือตัวเองได้น้อยถึงไม่ได้เลย มีสายอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่หลากหลายติดตัวมาจากโรงพยาบาล จำเป็นต้องมีการปรับพัฒนากระบวนการให้ทันสมัย ถึงการพัฒนาเครื่องมือเครื่องใช้ทางการแพทย์ ผู้ป่วยหลังผ่าตัด มารดาทารกหลังคลอด หรืออื่น ๆ ที่จำเป็นต้องได้รับ การดูแล แนะนำ อย่างต่อเนื่อง จากที่กล่าวมาในเบื้องต้นมาตรการหนึ่งที่คาดว่าจะมีประสิทธิผลในการดูแลผู้ป่วยเรื้อรังและผู้สูงอายุ ก็คือการสร้างพยาบาลผู้จัดการสุขภาพในการดูแลผู้ป่วยและผู้สูงอายุแบบประคับประคองที่บ้าน (Nurse Care Manager for palliative care in Home ward) ที่เป็นผู้จัดทำแผนการดูแลรายบุคคล บริหารจัดการ และควบคุมกำกับผู้ดูแลผู้สูงอายุ (Care giver)
08040000/08040000
1.เพื่อสร้างพยาบาลผู้จัดการสุขภาพในการดูแลผู้ป่วยและผู้สูงอายุแบบประคับประคองที่บ้าน (Nurse Care Manager for palliative care in Home ward) ในการไปบริหารจัดการผู้ดูแลผู้สูงอายุ (Care giver) ได้อย่างครบวงจร 2.สร้างทักษะ ในการสร้างพลังดูแลทางจิตใจให้แก่ผู้ป่วย ญาติและผู้ดูแล 3.ศึกษาปัญหา คิดค้นรูปแบบการพยาบาลใหม่ๆ เพื่อให้การพยาบาลผู้ป่วยระยะท้ายของชีวิต ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีและตายอย่างสมศักดิ์ศรี 4.พัฒนาระบบสารสนเทศ และทักษะในการใช้สารสนเทศ ให้เป็นศูนย์กลางเชื่อมและควบคุมติดตามการดูแลผู้ป่วย ผู้สูงอายุแบบประคับประคอง ระหว่างเครือข่ายปฐมภูมิ ทุติยภูมิ ตติยภูมิ อย่างมีประสิทธิภาพ 5.พัฒนางานวิจัยทางการพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยและผู้สูงอายุแบบประคับประคองที่บ้าน
1.เชิงปริมาณ 1.1 กลุ่มเป้าหมายหลัก บุคลากรสายงานพยาบาลและสาธารณสุข ระดับปฏิบัติการ ชำนาญการและชำนาญการพิเศษ ในสังกัดสำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร 1.2 บุคลากรนอกสังกัดสำนักอนามัย จากโรงพยาบาลในภาคีเครือข่ายในพื้นที่ สำนักงาน กองวิชาการต่างๆ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 1.3 ผู้เกี่ยวข้อง 1) เจ้าหน้าที่ดำเนินการ จำนวน 8 - 15 คน 2) วิทยากรวันละ 1-6 คน 2.เชิงคุณภาพ 2.1 พยาบาลวิชาชีพ สามารถเป็นพยาบาลผู้จัดการสุขภาพในการดูแลผู้ป่วยและผู้สูงอายุแบบประคับประคองที่บ้าน (Nurse Care Manager for palliative care in Home ward) ในการไปบริหารจัดการผู้ดูแลผู้สูงอายุ (Care giver) ได้อย่างครบวงจร 2.2 พยาบาลวิชาชีพผู้ผ่านการอบรมมีศักยภาพในการเป็นพยาบาลผู้จัดการสุขภาพ ในการดูแลผู้ป่วยและผู้สูงอายุแบบประคับประคองที่บ้าน (Nurse Care Manager for palliative care in Home ward) ตามแผนยุทธศาสตร์การพยาบาลผู้ป่วยระยะท้ายของชีวิต
ด้านที่ ๗ – การบริหารจัดการเมืองมหานคร : Management Strategy |
๗.๓ - การบริหารทรัพยากรบุคคล |
๗.๓.๑ บุคลากรกรุงเทพมหานครเป็นผู้ปฏิบัติงานแบบมืออาชีพ มีคุณธรรม จริยธรรม และเป็นที่เชื่% |
๗.๓.๑.๑ การพัฒนาบุคลากรให้มีทักษะ ความรู้ ความสามารถ มีความเป็นมืออาชีพ |
(1) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 100.00 (2017-09-07)
7/9/2560 : ดำเนินโครงการแล้วเสร็จตามแผนงานที่วางไว้แล้ว
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(2) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 90.00 (2017-08-15)
15/8/2560 : ดำเนินการประชุมวิชาการ เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้งานวิจัยทางการพยาบาลของพยาบาลผู้จัดการสุขภาพในการดูแลผู้ป่วยและผู้สูงอายุแบบประคับประคองที่บ้าน สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร ในวันที่ 31 กรกฎาคม 2560 และจัดทำเล่มนวัตกรรมและงานวิจัยทางการพยาบาลกรุงเทพมหานคร ในโครงการการพัฒนาศักยภาพพยาบาลผู้จัดการสุขภาพในการดูแลผู้ป่วยและผู้สูงอายุแบบประคับประคอง ผลงานจากศูนย์บริการสาธารณสุขทั้ง 68 แห่ง เรียบร้อยแล้ว โดยมีผลงานวิจัยและนวัตกรรมทางการพยาบาล จำนวน 8 เรื่อง มีแนวทางในการนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ในการพัฒนางานบริการพยาบาลของศูนย์บริการสาธารณสุข สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร จำนวน 8 เรื่อง
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(3) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 84.00 (2017-07-13)
13/7/2560 : อยู่ระหว่างขั้นตอนการ ดำเนินการเสนอขออนุมัติคำสั่งผู้เข้าร่วมประชุมวิชาการ เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้งานวิจัยทางการพยาบาลของพยาบาลผู้จัดการสุขภาพในการดูแลผู้ป่วยและผู้สูงอายุแบบประคับประคองที่บ้าน สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร ในวันที่ 31 กรกฎาคม 2560 และดำเนินการรวบรวมผลงานจากศูนย์บริการสาธารณสุขทั้ง 68 แห่ง เพื่อจัดทำเล่มนวัตกรรมและงานวิจัยทางการพยาบาลกรุงเทพมหานคร ในโครงการการพัฒนาศักยภาพพยาบาลผู้จัดการสุขภาพในการดูแลผู้ป่วยและผู้สูงอายุแบบประคับประคอง
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(4) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 81.00 (2017-06-08)
8/6/2560 : อยู่ระหว่างขั้นตอนการ ดำเนินการจัดทำคำสั่งผู้เข้าร่วมประชุมวิชาการ เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้งานวิจัยทางการพยาบาลของพยาบาลผู้จัดการสุขภาพในการดูแลผู้ป่วยและผู้สูงอายุแบบประคับประคองที่บ้าน สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร ในช่วงเดือนกรกฎาคม และดำเนินการรวบรวมผลงานจากศูนย์บริการสาธารณสุข เพื่อจัดทำเล่มนวัตกรรมและงานวิจัยทางการพยาบาลกรุงเทพมหานคร
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(5) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 77.00 (2017-05-15)
15/5/2560 : อยู่ระหว่างขั้นตอนการ ดำเนินการขอรายชื่อ เพื่อจัดทำคำสั่งผู้เข้าร่วมประชุมวิชาการ เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้งานวิจัยทางการพยาบาลของพยาบาลผู้จัดการสุขภาพในการดูแลผู้ป่วยและผู้สูงอายุแบบประคับประคองที่บ้าน สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร ในช่วงเดือนกรกฎาคม และดำเนินการรวบรวมผลงานจากศูนย์บริการสาธารณสุข เพื่อจัดทำเล่มนวัตกรรมและงานวิจัยทางการพยาบาลกรุงเทพมหานคร
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(6) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 75.00 (2017-04-26)
26/4/2560 : อยู่ระหว่างขั้นตอนการ ดำเนินการประชุมเชิงปฏิบัติการ การจัดทำงานวิจัยทางการพยาบาลของพยาบาลผู้จัดการสุขภาพในการดูแลผู้ป่วยและผู้สูงอายุแบบประคับประคองที่บ้าน สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร ครั้งที่ 4 เพื่อสรุป อภิปรายผลการวิจัยทางการพยาบาลและร่วมวิพากษ์โครงการวิจัยทางการพยาบาล ผลการดำเนินกิจกรรม พบว่า ผู้เข้าร่วมประชุม 71 คน มีหัวข้อการวิจัยทั้งหมด 53 เรื่อง อยู่ในระหว่างการพัฒนา ในการนี้มีอยู่ในระหว่างการขอรับรองโครงการวิจัยจากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคน กรุงเทพมหานคร จำนวน 13 เรื่อง
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(7) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 73.00 (2017-04-10)
10/4/2560 : อยู่ระหว่างขั้นตอนการดำเนินการตรวจสอบข้อมูลผู้ป่วยและผู้สูงอายุ ข้อมูลโรค สิทธิการรักษา ปัญหาความต้องการในการเยี่ยมติดตาม ที่ได้รับการส่งต่อฯ จากโรงพยาบาลเครือข่าย เพื่อส่งต่อข้อมูลไปยังศูนย์บริการสาธารณสุข 68 แห่ง เพื่อการพยาบาลต่อเนื่องที่บ้าน (HHC) ผ่านโปรแกรม BMA Home Ward Referral และ ไลน์ BMA Home Ward รวมทั้งกำหนดรหัสเข้าใช้งานโปรแกรมฯ ให้แก่โรงพยาบาลภาคีเครือข่าย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ต่อเนื่อง ดำเนินการอบรมหลักสูตร Nurse Care Manager โดยกองการพยาบาลสาธารณสุข ร่วมกับ คณะพยาบาลศาสตร์เกื้อการุณย์ มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช เพื่อให้พยาบาลวิชาชีพของสำนักอนามัย สามารถเป็นพยาบาลผู้จัดการสุขภาพในการดูแลผู้ป่วยและผู้สูงอายุ (Nurse Care Manager in Home ward) ในวันที่ 20 มี.ค. – 10 เม.ย. 2560 รวมทั้งมอบวุฒิบัตรหลักสูตรการอบรม Nurse Care Manager
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(8) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 72.00 (2017-03-20)
20/3/2560 : อยู่ระหว่างขั้นตอนการ ดำเนินการตรวจสอบข้อมูลการพยาบาลต่อเนื่องที่บ้าน ข้อมูลสิทธิการรักษา ปรับปรุงโปรแกรมฯ ให้สอดคล้องต่อการบันทึกข้อมูล การประมวลผลรายงาน รวมทั้งติดตาม ควบคุมกำกับการดำเนินงาน การใช้งานระบบส่งต่อเพื่อการพยาบาลต่อเนื่องที่บ้าน (HHC) ผ่านโปรแกรม BMA Home Ward Referral และ ไลน์ BMA Home Ward การกำหนดรหัสเข้าใช้งานโปรแกรมให้แก่โรงพยาบาลภาคีเครือข่าย และประชาสัมพันธ์ศูนย์ส่งต่อฯ ผ่านกองประชาสัมพันธ์ กรุงเทพมหานคร, สื่อมวลชน ไทยทีวีสีช่อง 3, ช่อง 5 เพื่อประชาสัมพันธ์การส่งต่อผู้ป่วยและผู้สูงอายุเพื่อติดตามเยี่ยมและให้การพยาบาลต่อเนื่องที่บ้านครอบคลุมพื้นที่กรุงเทพมหานคร ดำเนินการอบรมหลักสูตร Nurse Care Manager โดยกองการพยาบาลสาธารณสุข ร่วมกับ คณะพยาบาลศาสตร์เกื้อการุณย์ มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช เพื่อให้พยาบาลวิชาชีพของสำนักอนามัย สามารถเป็นพยาบาลผู้จัดการสุขภาพในการดูแลผู้ป่วยและผู้สูงอายุ (Nurse Care Manager in Home ward) ต่อเนื่องในวันที่ 20 มี.ค. – 10 เม.ย. 2560
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(9) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 64.00 (2017-03-09)
9/3/2560 : อยู่ระหว่างขั้นตอนการ ดำเนินการตรวจสอบข้อมูลการพยาบาลต่อเนื่องที่บ้าน ข้อมูลสิทธิการรักษา ปรับปรุงโปรแกรมฯ ให้สอดคล้องต่อการบันทึกข้อมูล การประมวลผลรายงาน รวมทั้งติดตาม ควบคุมกำกับการดำเนินงาน การใช้งานระบบส่งต่อเพื่อการพยาบาลต่อเนื่องที่บ้าน (HHC) ผ่านโปรแกรม BMA Home Ward Referral และ ไลน์ BMA Home Ward การกำหนดรหัสเข้าใช้งานโปรแกรมให้แก่โรงพยาบาลภาคีเครือข่าย และประสัมพันธ์ศูนย์ส่งต่อฯ ผ่านกองประชาสัมพันธ์ กรุงเทพมหานคร, สื่อมวลชน ไทยทีวีสีช่อง 3, ช่อง 5 เพื่อประชาสัมพันธ์การส่งต่อผู้ป่วยและผู้สูงอายุเพื่อติดตามเยี่ยมและให้การพยาบาลต่อเนื่องที่บ้านครอบคลุมพื้นที่กรุงเทพมหานคร โดยมีโรงพยาบาลเครือข่ายที่ส่งต่อมาทั้งหมด 45 แห่ง และมีจำนวนผู้ป่วยที่ได้รับการพยาบาลทั้งหมด 40,992 ราย จากการจำแนกตามกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 6 กลุ่ม ส่วนใหญ่เป็นผู้ป่วยที่เจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง จำนวน 20,553 ราย คิดเป็นร้อยละ 50.14 โดยพบว่าผู้ป่วยและผู้สูงอายุที่มีอาการคงเดิมถึงดีขึ้นร้อยละ 82 ดำเนินการอบรมหลักสูตร Nurse Care Manager โดยกองการพยาบาลสาธารณสุข ร่วมกับ คณะพยาบาลศาสตร์เกื้อการุณย์ มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช เพื่อให้พยาบาลวิชาชีพของสำนักอนามัย สามารถเป็นพยาบาลผู้จัดการสุขภาพในการดูแลผู้ป่วยและผู้สูงอายุ (Nurse Care Manager in Home ward) ต่อเนื่อง
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(10) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 60.00 (2017-02-28)
28/2/2560 : อยู่ระหว่างขั้นตอนการ ดำเนินการเปิดศูนย์ส่งต่อเพื่อการพยาบาลต่อเนื่องที่บ้าน กรุงเทพมหานคร (BMA Home Ward Referral Center) อย่างเป็นทางการ ในวันที่ 31 มกราคม 2560 โดยได้รับเกียรติจากรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (นายทวีศักดิ์ เลิศประพันธ์) เป็นประธารในพิธีเปิดศูนย์ส่งต่อฯ ณ กองการพยาบาลสาธารณสุข สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร เพื่อเป็นศูนย์กลางการส่งต่อผู้ป่วย เชื่อมและควบคุมติดตามการดูแลผู้ป่วย ผู้สูงอายระหว่างเครือข่ายปฐมภูมิ ทุติยภูมิ ตติยภูมิ และศูนย์บริการสาธารณสุข 68 แห่ง เพื่อการพยาบาลต่อเนื่องที่บ้านอย่างมีประสิทธิภาพดุจโรงพยาบาล ครอบคลุมพื้นที่กรุงเทพมหานคร ดำเนินการอบรมหลักสูตร Nurse Care Manager โดยกองการพยาบาลสาธารณสุข ร่วมกับ คณะพยาบาลศาสตร์เกื้อการุณย์ มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช เพื่อให้พยาบาลวิชาชีพของสำนักอนามัย สามารถเป็นพยาบาลผู้จัดการสุขภาพในการดูแลผู้ป่วยและผู้สูงอายุ (Nurse Care Manager in Home ward) กลุ่มเป้าหมายได้แก่ พยาบาลวิชาชีพของศูนย์บริการสาธารณสุข แบ่งการอบรมเป็น 2 รุ่น รุ่นละ 70 คน ระยะเวลาอบรมรุ่นละ 15 วัน แบ่งเป็นการอบรมภาควิชาการ แบบไป–กลับ ณ สถานที่เอกชน ในกรุงเทพมหานคร จำนวน 12 วันการศึกษาดูงาน ณ จังหวัดลพบุรี สระบุรี และสุรินทร์ แบบพักค้าง จำนวน 3 วัน 2 คืน
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(11) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 55.00 (2017-02-08)
8/2/2560 : อยู่ระหว่างขั้นตอนการ ดำเนินการอบรมเพื่อพัฒนาศักยภาพบุคลากร เพื่อเพิ่มประสิทธิผลในการปฏิบัติงานเป็นพยาบาลผู้จัดการสุขภาพในการพัฒนาจิตวิญญาณให้แก่ผู้ป่วยและผู้สูงอายุแบบประคับประคองจนถึงระยะท้ายของชีวิตที่บ้านต่อเนื่องและดำเนินการอบรมเพื่อพัฒนาศักยภาพในการปฏิบัติการพยาบาลและการจัดการสุขภาพในการดูแลผู้ป่วยและผู้สูงอายุแบบประคับประคองที่บ้านในรูปแบบ Home Ward เรียบร้อยแล้ว ซึ่งผลของการอบรมพบว่า ร้อยละ 100 ของผู้เข้ารับการฝึกอบรม มีความรู้ ทักษะ เกี่ยวกับเนื้อหาที่อบรม สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในงานได้ ดำเนินการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาทักษะการใช้ระบบสารสนเทศในการส่งต่อผู้ป่วยแบบประคับประคองทุกกลุ่มอายุจนถึงระยะท้ายของชีวิตที่บ้าน เรื่อง “การปฏิบัติการในระบบ BMA Home Ward Referral” ของศูนย์บริการสาธารณสุขทั้ง 68 แห่ง และโรงพยาบาลในภาคีเครือข่ายทั้งภาครัฐและเอกชนในพื้นที่กรุงเทพมหานครกว่า 45 แห่ง ในวันที่ 16-27 มกราคม 2560 เรียบร้อยแล้ว ดำเนินการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อการจัดทำงานวิจัยทางการพยาบาลของพยาบาลผู้จัดการสุขภาพในการดูแลผู้ป่วยและผู้สูงอายุแบบประคับประคองที่บ้าน สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร ครั้งที่ 2 ในวันที่ 26-27 ม.ค. 60 เพื่อจัดทำโครงร่างงานวิจัย (ฉบับสมบูรณ์) 3 บท และโครงร่างเสนอคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคน กรุงเทพมหานคร จากการดำเนินงานมีโครงร่างงานวิจัยที่อยู่ในขั้นตอนนี้ 28 เรื่อง
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(12) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 46.00 (2017-01-10)
10/1/2560 : อยู่ระหว่างขั้นตอนการ ดำเนินการอบรมเพื่อพัฒนาศักยภาพบุคลากร เพื่อเพิ่มประสิทธิผลในการปฏิบัติงานเป็นพยาบาลผู้จัดการสุขภาพในการพัฒนาจิตวิญญาณให้แก่ผู้ป่วยและผู้สูงอายุแบบประคับประคองจนถึงระยะท้ายของชีวิตที่บ้านต่อเนื่อง ดำเนินการอบรมเพื่อพัฒนาศักยภาพในการปฏิบัติการพยาบาลและการจัดการสุขภาพในการดูแลผู้ป่วยและผู้สูงอายุแบบประคับประคองที่บ้านในรูปแบบ Home Ward ดำเนินการเตรียมการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาทักษะการใช้ระบบสารสนเทศในการส่งต่อผู้ป่วยแบบประคับประคองทุกกลุ่มอายุจนถึงระยะท้ายของชีวิตที่บ้าน เรื่อง “การปฏิบัติการในระบบ BMA Home Ward Referral” ของศูนย์บริการสาธารณสุข สำนักอนามัย และโรงพยาบาลในภาคีเครือข่าย ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ในวันที่ 16-27 มกราคม 2560
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(13) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 39.00 (2016-12-19)
19/12/2559 : อยู่ระหว่างขั้นตอนการจัดทำคำสั่งผู้เข้ารับการประชุมฯ ในกิจกรรมการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาทักษะการใช้ระบบสารสนเทศในการส่งต่อผู้ป่วยฯ ดำเนินการจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อนำเสนอ(ร่าง)โครงร่างงานวิจัยทางการพยาบาลให้กับพยาบาลวิชาชีพของศูนย์บริการสาธารณสุข ทั้ง 68 แห่ง ครั้งที่ 1 ในวันที่ 8 - 9 ธันวาคม 2559 ณ โรงแรมรัชดาซิตี้ กรุงเทพมหานคร ดำเนินการอบรมและฟื้นฟูความรู้หัวหน้าพยาบาล เพื่อการบริหารจัดการงานพยาบาลผู้จัดการสุขภาพในการดูแลผู้ป่วยและผู้สูงอายุแบบประคับประคองที่บ้าน (Nurse Care Manager for palliative care in Home ward) ในวันที่ 13-14 ธ.ค. 59 ณ โรงแรมบางกอกชฎา ดำเนินการอบรมเพื่อพัฒนาศักยภาพบุคลากร เพื่อเพิ่มประสิทธิผลในการปฏิบัติงานเป็นพยาบาลผู้จัดการสุขภาพในการพัฒนาจิตวิญญาณให้แก่ผู้ป่วยและผู้สูงอายุแบบประคับประคองจนถึงระยะท้ายของชีวิตที่บ้าน
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(14) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 25.00 (2016-12-09)
9/12/2559 : อยู่ระหว่างขั้นตอนการประสานวิทยากรในกิจกรรม แผนการประชุมฯ และประสานขอรายชื่อผู้เข้ารับการประชุม เพื่อจัดทำคำสั่งผู้เข้ารับการประชุมฯ ในกิจกรรมการอบรมหลักสูตร Nurse Care Manager, กิจกรรมการฝึกอบรมและฟื้นฟูความรู้หัวหน้ากลุ่มงานการพยาบาลและการบริหารทั่วไป, กิจกรรมการฝึกอบรมเพื่อการพัฒนาศักยภาพบุคลากร, กิจกรรมการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาศักยภาพในการปฏิบัติการพยาบาลและการจัดการสุขภาพในหน่วยบริการปฐมภูมิและการดูแลผู้ป่วยและผู้สูงอายุแบบประคับประคองที่บ้าน และ กิจกรรมการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาทักษะการใช้ระบบสารสนเทศในการส่งต่อผู้ป่วยฯ ดำเนินการกิจกรรมการนำรูปแบบ BMA Home Ward Referral ไปใช้ในศูนย์บริการสาธารณสุข และโรงพยาบาลในภาคีเครือข่าย”เพื่อการประสานเครือข่ายในเขตกรุงเทพมหานครกับพยาบาลผู้จัดการสุขภาพ (Nurse Care Manager) ในการรับส่งต่อผู้ป่วยแบบประคับประคองทุกกลุ่มอายุจนถึงระยะท้ายของชีวิตที่บ้านให้เป็นศูนย์กลางเชื่อมและควบคุมติดตามการดูแลผู้ป่วย ผู้สูงอายุแบบประคับประคอง ระหว่างเครือข่ายปฐมภูมิ ทุติยภูมิ ตติยภูมิ อย่างมีประสิทธิภาพ กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้บริหารและบุคลากรที่เกี่ยวข้อง จำนวน 300 คน ในวันที่ 2 ธันวาคม 2559 ณ โรงแรมรัชดาซิตี้ ห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(15) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 15.00 (2016-11-30)
30/11/2559 : อยู่ระหว่างขั้นตอนการประสานวิทยากรในกิจกรรมต่างๆ ที่เหลือ แผนการประชุมในกิจกรรม และประสานขอรายชื่อผู้เข้ารับการประชุม เพื่อจัดทำคำสั่งผู้เข้ารับการประชุมฯ ดำเนินการเตรียมการในการจัดกิจกรรมการนำรูปแบบ BMA Home Ward Referral ไปใช้ในศูนย์บริการสาธารณสุข และโรงพยาบาลภาคีเครือข่าย ดำเนินการสัมมนาและศึกษาดูงาน“การพัฒนาและบูรณาการแผนยุทธศาสตร์ด้านการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายของชีวิตที่บ้านในพื้นที่เขต กรุงเทพมหานคร” โดยสหสาขาวิชาชีพ เพื่อการดูแลผู้ป่วยและผู้สูงอายุแบบประคับประคองที่บ้าน รวมทั้งสิ้น จำนวน 100 คน แบ่งเป็นการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ ณ สถานที่เอกชน ในกรุงเทพมหานคร และศึกษาดูงานต่างจังหวัด จำนวน 3 วัน 2 คืน เรียบร้อยแล้ว
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(16) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 10.00 (2016-10-28)
28/10/2559 : อยู่ระหว่างขั้นตอนได้รับอนุมัติโครงการฯ แผนการปฏิบัติงาน และแผนการใช้เงินเรียบร้อยแล้ว อยู่ระหว่างขั้นตอนการประสานวิทยากรในกิจกรรมต่างๆ แผนการประชุมในกิจกรรมต่างๆ และประสานขอรายชื่อผู้เข้ารับการประชุม เพื่อจัดทำคำสั่งผู้เข้ารับการประชุมต่อไป ดำเนินการสัมมนาและศึกษาดูงาน “การพัฒนาและบูรณาการแผนยุทธศาสตร์ด้านการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายของชีวิตที่บ้านในพื้นที่เขต กรุงเทพมหานคร”
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
ตัวชี้วัด : ร้อยละความสำเร็จของการเพิ่มสมรรถนะของบุคลากรมุ่งสู่ความเป็นมืออาชีพ
ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 80
ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 100
ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์ ตัวชี้วัดระดับผลลัพธ์ (outcome)
** ผลการประเมินโครงการ (รายไตรมาส) **