ความคืบหน้าโครงการ ร้อยละ 100
นางยุพดี เชาวณาพรรณ์ โทร.02 276 03858
ดูโครงการแผนปีฯ : พิมพ์ข้อมูล
*** สยป. ประเมินโครงการ : ไตรมาสที่ 1
จากการดำเนินงานที่ผ่านมา ศูนย์ส่งต่อเพื่อการพยาบาลต่อเนื่องที่บ้าน โดยกองการพยาบาลสาธารณสุข เริ่มการดำเนินงานอย่างเป็นรูปธรรมเมื่อวันที่ 18 เมษายน 2559 มีรายงานจำนวนผู้ป่วยและผู้สูงอายุที่จากการส่งต่อเพื่อการดูแลต่อเนื่องที่บ้าน ระหว่างเดือน เมษายน-กันยายน 2559 มีจำนวน 4,784 ราย และระหว่างเดือนตุลาคม 2559 -มีนาคม 2560 มีจำนวนถึง 9,273 ราย นับว่าเป็นสถานการณ์ที่มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งในระยะเริ่มต้นของการพัฒนาโปรแกรม การจัดเก็บข้อมูลของผู้ป่วยและผู้สูงอายุเพื่อการดูแลต่อเนื่อง (Home Health Care) นั้น โปรแกรมในส่วนของระบบการพยาบาลต่อเนื่องที่บ้าน (Home Health Care) และระบบการให้การพยาบาลในลักษณะ Home Ward ของศูนย์บริการสาธารณสุข ยังมีข้อจำกัดในการจัดเก็บข้อมูลเพื่อให้เป็นฐานข้อมูลเดียวกัน เนื่องจากข้อจำกัดของการพัฒนาโปรแกรม รวมถึงการจัดเก็บข้อมูลและวิเคราะห์ ข้อมูล ในปัจจุบันที่เพิ่มมากขึ้น รวมถึงความต้องการในการใช้ข้อมูลทางการรักษาพยาบาลและข้อมูลการพยาบาลต่อเนื่องที่บ้านเพิ่มมากขึ้นด้วย โดยเฉพาะข้อมูลพยาบาลผู้จัดการสุขภาพ (Nurse Care Manager) ข้อมูลผู้ดูแลช่วยเหลือ (Caregiver) ข้อมูลแผนการดูแลรายบุคคล (Care Plan) ซึ่งเป็นข้อมูลที่สนับสนุนการการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในชุมชน รวมถึงการจัดเก็บข้อมูลซึ่งเป็นข้อมูลที่แสดงถึงคุณภาพของการพยาบาล ได้แก่แผนการจัดระบบการพยาบาลเฉพาะโรค แผนการจัดระบบบริการสุขภาพ (Nursing Care Plans) การพัฒนาระบบการให้คำปรึกษา เพื่อวางแผนให้การพยาบาลผ่านระบบสารสนเทศ เชื่อมโยง Family doctor เชื่อมโยงการสั่งการรักษาพยาบาลผ่านระบบ Telemedicine เป็นการนำเทคโนโลยีมาช่วยให้ผู้ป่วยและบุคลากรทางการแพทย์สามารถพูดคุยตอบโต้กันได้แบบ Real-time ระหว่างศูนย์บริการสาธารณสุขกับโรงพยาบาลเครือข่าย เพื่อลดระยะเวลาในการเดินทางและค่าใช้จ่ายเพื่อไปรับการรักษาที่โรงพยาบาล เป็นบริการที่ต้องพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งสอดรับกับการเปลี่ยนแปลงไปตามสถานการณ์ปัจจุบัน กองการพยาบาลสาธารณสุขตระหนักถึงความสำคัญในการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อให้เกิดระบบงานที่สนับสนุนการพยาบาลต่อเนื่องที่บ้าน ให้เกิดความรวดเร็ว เพื่อการดูแลต่อเนื่องสำหรับผู้ป่วยและผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ของหน่วยบริการปฐมภูมิอย่างเหมาะสมไม่เป็นภาระแก่ครอบครัวมากเกินไป ให้บริการดูแลด้านสาธารณสุขถึงที่บ้านอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ ตามปัญหาสุขภาพโดยการมีส่วนร่วมของครอบครัว ชุมชนและท้องถิ่นให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดีอยู่ในสังคมอย่างมีศักดิ์ศรี เข้าถึงบริการอย่างถ้วนหน้าและเท่าเทียม เป็นการสร้างสังคมแห่งความเอื้ออาทร และสมานฉันท์ กองการพยาบาลสาธารณสุขจึงจำเป็นต้องพัฒนาระบบสารสนเทศที่สามารถช่วยให้กระบวนการบริหารจัดการเพื่อการพยาบาลต่อเนื่องที่บ้าน และการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นและเพิ่มประสิทธิภาพในการเชื่อมโยงข้อมูลให้ครอบคลุมพื้นที่กรุงเทพมหานคร และส่งมอบบริการที่ดีมีคุณภาพให้กับประชาชนต่อไป
08040000/08040000
1 เพื่อพัฒนาระบบสารสนเทศศูนย์ส่งต่อเพื่อการรักษาพยาบาลและการพยาบาลต่อเนื่องที่บ้าน ในการบริหารจัดการงานการพยาบาลต่อเนื่องที่บ้าน (Home Health Care) และการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น 2 เพื่อพัฒนาระบบสารสนเทศให้สามารถเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลการดูแลผู้ป่วยและผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ระหว่างหน่วยงาน กับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 13 กรุงเทพมหานครโรงพยาบาลสังกัดสำนักการแพทย์ และ สถานพยาบาลเครือข่าย ได้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพครอบคลุมพื้นที่กรุงเทพมหานคร และให้อยู่บนระบบ Cloud ของ กรุงเทพมหานคร 3 เพื่อพัฒนาระบบสารสนเทศของแผนการพยาบาลเฉพาะโรค แผนการจัดระบบบริการสุขภาพ (Nursing Care Plans) 4 เพื่อพัฒนาโมบายแอพพลิเคชั่นสำหรับผู้ดูแล (Mobile Application for Caregiver) สนับสนุนการดูแลผู้ป่วยและผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง
1 ระบบสารสนเทศสามารถใช้งานระบบการรักษาพยาบาลและระบบการพยาบาลต่อเนื่องที่บ้านได้อย่างประสิทธิภาพ โดยมี 1.1 ระบบประมวลผลรายการ (Transaction Processing Systems) 1.2 ระบบการรายงาน (Management Report Systems) 1.3 ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Report System) 1.4 ระบบสารสนเทศสำนักงาน (Office Information Systems) 2 ระบบสารสนเทศสนับสนุนการบริการสาธารณสุขสำหรับผู้ป่วยและผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง 3 ระบบสารสนเทศเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลการรักษาพยาบาลและระบบการพยาบาลต่อเนื่องที่บ้านระหว่างหน่วยงาน ได้แก่โรงพยาบาลสังกัดสำนักการแพทย์ จำนวน 5 แห่ง และสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 13 กรุงเทพมหานคร และอยู่บนระบบ Cloud ของ กทม. 4 ระบบสารสนเทศของแผนการพยาบาลเฉพาะโรค แผนการจัดระบบบริการสุขภาพ (Nursing Care Plans) 5 โมบายแอพพลิเคชั่น (Mobile Application for Caregiver) สำหรับผู้ดูแล (Caregiver) สามารถใช้งานสนับสนุนการดูแลผู้ป่วยและผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง จำนวน 1 ระบบ
ด้านที่ ๗ – การบริหารจัดการเมืองมหานคร : Management Strategy |
๗.๕ - เทคโนโลยีสารสนเทศ |
๗.๕.๑ กรุงเทพมหานครให้บริการประชาชนด้วยความสะดวก รวดเร็ว ถูกต้องและโปร่งใส โดยประยุกต์% |
๗.๕.๑.๒ มีระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงาน |
(1) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 40.00 (2018-09-07)
7/9/2561 : อยู่ระหว่างขั้นตอนการจัดทำขอบเขตโดยละเอียด (Terms of Reference: TOR) และหารือการจัดซื้อจัดจ้าง ต่อไป
** ปัญหาของโครงการ :เป็นโครงการต่อเนื่องปีงบประมาณ 2561-2562
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(2) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 40.00 (2018-08-16)
16/8/2561 : อยู่ระหว่างขั้นตอนขออนุมัติใช้เงินนอกงบประมาณ (บัญชี) โครงการสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า และกำหนดขอบเขตโดยละเอียดของงาน (Terms of Refence : TOR) เรียบร้อยแล้ว ขณะนี้อยู่ระหว่างการหารือการจัดซื้อจัดจ้างในโครงการฯ
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มีี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(3) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 40.00 (2018-07-23)
23/7/2561 : อยู่ระหว่างขั้นตอนการกำหนดขอบเขตโดยละเอียดของงานต่อเนื่องและขอหารือการจัดซื้อจัดจ้างในโครงการที่ถูกต้องและเหมาะสม
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(4) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 40.00 (2018-06-25)
25/6/2561 : อยู่ระหว่างขั้นตอนการแต่งตั้งคณะกรรมการและกำหนดขอบเขตของงานโดยละเอียด
** ปัญหาของโครงการ :การจัดทำ TOR มีความยุ่งยากซับซ้อน จะทำให้การดำเนินการค่อนข้างล่าช้า
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(5) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 5.00 (2018-06-02)
2/6/2561 : อยู่ระหว่างขั้นตอน...ประสานงานกับหน่วยงานที่รับพัฒนาระบบสารสนเทศศูนย์ส่งต่อเพื่อการรักษาพยาบาลและการพยาบาลต่อเนื่องที่บ้าน
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
ตัวชี้วัด : ร้อยละของความสำเร็จของการบำรุงรักษาระบบสารสนเทศเพื่อการปฏิบัติงานและบริหารจัดการ (ผลลัพธ์)
ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 80
ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 99
ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์ ตัวชี้วัดระดับผลลัพธ์ (outcome)
** ผลการประเมินโครงการ (รายไตรมาส) **