ความคืบหน้าโครงการ ร้อยละ 85
กองควบคุมโรคติดต่อ
ดูโครงการแผนปีฯ : พิมพ์ข้อมูล
*** สยป. ประเมินโครงการ : ไตรมาสที่ 1
ตามที่เกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ “โควิด- 19” (COVID-19) กระจายไปยังหลายประเทศทั่วโลก รวมทั้งในประเทศไทยและกรุงเทพมหานคร ประกอบกับเมื่อวันที่ 30 มกราคม 2563 องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ประเมินสถานการณ์ดังกล่าวแล้วพบว่า เหตุการณ์การระบาดในครั้งนี้เป็นการระบาดที่แพร่กระจายได้อย่างรวดเร็ว จึงประกาศให้การระบาดของโรคดังกล่าว เป็นภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขระหว่างประเทศ (Public health emergency of international concern (PHEIC)) และต่อมากระทรวงสาธารณสุข โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ ได้ประกาศให้โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ “โควิด- 19” (COVID-19) เป็นโรคติดต่ออันตราย ตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 ลำดับที่ 14
08080000/08080000
1 เพื่อเตรียมพร้อมด้านทรัพยากร ระบบการปฏิบัติ ทั้งหน่วยปฏิบัติการหลักและหน่วยสนับสนุน ให้สามารถดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหาจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ได้อย่างรวดเร็ว ทันเหตุการณ์และมีประสิทธิภาพ 2 เพื่อกำหนดกรอบการปฏิบัติงานให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถปฏิบัติการป้องกันและบรรเทาภัย จากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ได้อย่างเป็นระบบและบูรณาการ 3 เพื่อป้องกันและบรรเทาผลกระทบทางสุขภาพ เศรษฐกิจ สังคม ของประชาชนที่เกิดจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
เพื่อควบคุมสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ COVID-19 ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร
ด้านที่ ๑ – มหานครปลอดภัย : Bangkok as a Safe City |
๑.๖ - ปลอดโรคคนเมือง อาหารปลอดภัย |
๑.๖.๒ โรคติดต่อที่สำคัญในเมืองได้รับการเฝ้าระวังและควบคุมไม่ให้ระบาดไปในวงกว้าง% |
๑.๖.๒.๓ พัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่ายในการควบคุมพาหะนำโรคไข้เลือดออก |
(1) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 100.00 (2021-09-15)
15/09/2564 : รายงานสอบสวนโรคดำเนินการเรียบร้อยแล้ว 9,393 ยอดทั้งหมดของรายงานสอบสวนโรค 105,500 คิดเป็นร้อยละ 8.9
** ปัญหาของโครงการ :1. สถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19 ) ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร มีการแพร่กระจายอย่างรวดเร็วและรุนแรง มีผู้ติดเชื้อเป็นจำนวนมาก การระบาดเป็นกลุ่มก้อนเพิ่มมากขึ้น โดยภาพรวมยังไม่สามารถควบคุมการระบาดให้อยู่ในวงจำกัดได้ 2. ทีมบุคลากรผู้ปฏิบัติหน้าที่สอบสวนโรคมีไม่เพียงพอต่อภารกิจที่เพิ่มมากขึ้น ไม่สามารถเขียนรายงานสอบสวนโรคได้ครบทุกราย เนื่องจากต้องทุ่มระดมสรรพกำลังในการควบคุมโรคในพื้นที่เพื่อรักษาชีวิตประชาชนแทน 3. สถานพยาบาลส่งข้อมูลผู้ป่วยล่าช้า/ไม่ส่ง/ที่อยู่ไม่ชัดเจน ทำให้การสอบสวนโรคล่าช้าไม่สามารถติดต่อผู้ป่วยได้ ส่งผลให้มีผู้ป่วยจำนวนหนึ่งไม่ได้รับการสอบสวนโรค 4. การประสานงานระหว่างสถานพยาบาล กรมควบคุมโรค ศูนย์บริการสาธารณสุข และ EOC ไม่ชัดเจน มีความซ้ำซ้อน ทำให้การเข้าพื้นที่เพื่อสอบสวนโรคล่าช้า ไม่สามารถติดตามผู้สัมผัสเสี่ยงสูงได้ 5. ในกรุงเทพมหานครมีหน่วยงานหลายหน่วยดำเนินการตรวจหาเชื้อโคโรนา 2019 อีกทั้งเจ้าพนักงานโรคติดต่อผู้มีหน้ารับรายงานตามกฎหมายมีหลายหน่วยงาน ทำให้การสื่อสารข้อมูลผู้ป่วยไปยังผู้มีหน้าที่สอบสวนโรคในพื้นที่ไม่ครบถ้วน
** อุปสรรคของโครงการ :เนื่องจากสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19 ) ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร มีการแพร่กระจายอย่างรวดเร็วและรุนแรง การระบุตัวผู้ติดเชื้อและผู้สัมผัสเสี่ยงสูงทุกรายในกรุงเทพมหานครเพื่อทำการสอบสวนโรคเบื้องต้นตามที่กำหนดในนิยามมีความซับซ้อนด้านข้อมูลสูงและไม่สามารถดำเนินการได้โดยบุคลากรด้านสาธารณสุขซึ่งมีข้อจำกัดด้านความเชี่ยวชาญในการจัดทำฐานข้อมูล นอกจากนี้ในสถานการณ์ที่มีผู้ติดเชื้อไม่ได้รับการรักษาและเสียชีวิตในที่อยู่อาศัยจำนวนมาก บุคลากรศูนย์บริการสาธารณสุขจำเป็นต้องปฏิบัติภารกิจอื่น ได้แก่ การดูแลผู้ติดเชื้อที่ตกค้างในชุมชน การให้วัคซีนในชุมชน ซึ่งภารกิจดังกล่าวได้รับการเร่งรัดให้ดำเนินการตามนโยบายเพื่อให้ประชาชนได้รับประโยชน์สูงสุด นอกจากนี้บุคลากรบางส่วนยังติดเชื้อจากการปฏิบัติงาน ทำให้บุคลากรสำนักอนามัยไม่เพียงพอต่อการสอบสวนโรค
------------------&&&--------------------
(2) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 79.00 (2021-08-30)
30/08/2564 : เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(3) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 75.00 (2021-07-25)
25/07/ 2564 : เป็นไปตามแผนที่กำหนด
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :-
------------------&&&--------------------
(4) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 70.00 (2021-06-29)
29/06/2564 : ดำเนินการได้ตามแผนที่กำหนด รายงานสอบสวนโรคดำเนินการ 5,253 รายเรียบร้อยแล้ว จากยอดทั้งหมด 41,919 ของรายงานสอบสวนโรค คิดเป็นร้อยละ 12.5
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(5) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 55.00 (2021-05-27)
27/05/2564 : สามารถดำเนินการได้ตามแผนที่กำหนด
** ปัญหาของโครงการ :-
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(6) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 50.00 (2021-04-29)
29/04/2564 : ดำเนินการตามแผนที่วางไว้
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(7) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 50.00 (2021-03-26)
26/03/2564 : - รับแจ้งข้อมูลผู้ป่วย ผู้สัมผัส - ติดตามข้อมูลผู้ป่วย ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ - จัดทำฐานข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลผู้ป่วยผู้สัมผัส - จัดทำรายงานสถานการณ์ - ปฏิบัติการสอบสวนโรคในพื้นที่ - จัดทำรายงานสอบสวนโรค
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(8) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 35.00 (2021-02-15)
15/02/2564 : - รับแจ้งข้อมูลผู้ป่วย ผู้สัมผัส - ติดตามข้อมูลผู้ป่วย ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ - จัดทำฐานข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลผู้ป่วยผู้สัมผัส - จัดทำรายงานสถานการณ์ - ปฏิบัติการสอบสวนโรคในพื้นที่ - จัดทำรายงานสอบสวนโรค - ปฏิบ้ติงานแจ้งข่าวและติดตามสถานการณ์การระบาด วิเคราะห์ข้อมูล เดือนกุมภาพันธ์ 2564
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(9) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 30.00 (2021-01-29)
29/01/2564 : - รับแจ้งข้อมูลผู้ป่วย ผู้สัมผัส - ติดตามข้อมูลผู้ป่วย ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ - จัดทำฐานข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลผู้ป่วยผู้สัมผัส - จัดทำรายงานสถานการณ์ - ปฏิบัติการสอบสวนโรคในพื้นที่ - จัดทำรายงานสอบสวนโรค - ปฏิบ้ติงานแจ้งข่าวและติดตามสถานการณ์การระบาด วิเคราะห์ข้อมูล เดือนมกราคม 2564
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(10) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 20.00 (2020-12-16)
16/12/2563 : ดำเนินการรับแจ้งข่าวและลงสอบสวนโรค COVID-19 ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ตามเกณฑ์ที่กำหนด ทีมตระหนักรู้สถานการณ์ ปฏิบัติงานนอกวเลาราชการของบุคลากรทางการแพทย์ และสาธารณสุข ประจำเดือนธันวาคม 2563
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(11) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 5.00 (2020-11-23)
23/11/2563 : ศึกษาข้อมูลโครงการ ปฏิบัติงานรับแจ้งข่าวและติดตามสถานการณ์การระบาด วิเคราะห์ข้อมูล เดือนพฤศจิกายน 2563
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(12) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 5.00 (2020-10-27)
27/10/2563 : ขออนุมัติโครงการ ปฏิบัติงานแจ้งข่าวและติดตามสถานการณ์การระบาด วิเคราะห์ข้อมูล เดือนตุลาคม 2563
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
ตัวชี้วัด : ร้อยละความสำเร็จของผู้ติดเชื้อโควิด-19 ได้รับการสอบสวนและควบคุมโรคเบื้องต้น
ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 100
ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 100
ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์ ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (output)
** ผลการประเมินโครงการ (รายไตรมาส) **