ความคืบหน้าโครงการ ร้อยละ 100
กองการพยาบาลสาธารณสุข
ดูโครงการแผนปีฯ : พิมพ์ข้อมูล
*** สยป. ประเมินโครงการ : ไตรมาสที่ 1
จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโคโรนาไวรัส 2019 (COVID-19) ที่เกิดในช่วงสองปีที่ผ่านมา และได้ส่งผลกระทบทั่วโลก ทั้งในด้านสุขภาพ สังคมและเศรษฐกิจ เป็นตัวเร่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในหลาย ๆ ด้าน และทำให้สถานการณ์ของโลกที่มีความผันผวน ไม่แน่นอน คลุมเครือ และซับซ้อน วิกฤตมากขึ้น ทำให้สังคมเกิดการเปลี่ยนแปลงเกิดเป็นยุคปกติวิถีใหม่ (New Normal) การเผชิญกับสถานการณ์และรอดพ้นจากภาวะวิกฤตที่เกิดขึ้น จำเป็นอย่างยิ่งที่บุคคลต้องมีความสามารถในการปรับเปลี่ยน ยืดหยุ่น สามารถวิเคราะห์สถานการณ์ปัญหา และหาทางออกในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ การพัฒนานวัตกรรมทางเทคโนโลยีดิจิตัลอย่างก้าวกระโดด สถานการณ์สุขภาพของโลก และวิกฤตโรคติดต่ออุบัติใหม่ ทำให้สังคมต้องเปลี่ยนแบบแผนการดำเนินชีวิตเป็นความปกติวิถีใหม่ พยาบาลวิชาชีพที่สามารถปฏิบัติงานในสถานการณ์เปลี่ยนแปลงดังกล่าวได้ จะต้องมีสมรรถนะสำคัญหลายประการได้แก่ ความสามารถในการนำความรู้มาใช้ประเมินภาวะสุขภาพ สามารถคิดวิเคราะห์ปัญหาสุขภาพส่วนมากของบุคคลทุกช่วงวัย และแก้ปัญหาด้วยการออกแบบบริการพยาบาลอย่างสร้างสรรค์โดยคำนึงถึงสิทธิและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ เป็นนักจัดการสุขภาพในคลินิกรายกรณีโดยเฉพาะในกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ผู้สูงอายุ และโรคติดต่ออุบัติใหม่ มีความกล้าหาญทางจริยธรรม แสดงภาวะผู้นำ ทำงานร่วมกับทีมสุขภาพ สามารถใช้ภาษาและติดต่อสื่อสารกับผู้รับบริการได้ชัดเจน รอบรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของสังคม ข้าราชการสายงานพยาบาลเป็นกำลังหลักที่สำคัญในการพัฒนาและปรับเปลี่ยนการบริหารจัดการ ในการให้บริการด้านการแพทย์และสาธารณสุขของสำนักอนามัย โดยเฉพาะผู้บริหารทางการพยาบาล ต้องมีความรู้ความสามารถในการบริหารจัดการระบบสุขภาพและองค์กรอย่างมืออาชีพ มีภาวะผู้นำ มีทักษะและความสามารถในการประสานความร่วมมือกับทีมสหวิชาชีพและผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งภายใน และภายนอกองค์กรได้อย่างเป็นที่ยอมรับ สามารถสร้างความสมดุลระหว่างคุณภาพการดูแลสุขภาพ และค่าใช้จ่ายในการดูแล ความต้องการของผู้ใช้บริการกับความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ สามารถพัฒนา คุณภาพบริการพยาบาลและบริการจัดการตามภารกิจงานด้านการพยาบาลของสำนักอนามัย ได้แก่ การส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันและควบคุมโรค การรักษาพยาบาล และการฟื้นฟูสุขภาพ ทั้งเชิงรับและเชิงรุก ในบริบทของสังคม วัฒนธรรม และเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเป็นการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม และเสริมศักยภาพของบุคคล ครอบครัว และชุมชนในการดูแลสุขภาพของตนเอง พร้อมทั้งการศึกษา วิจัยโดยเน้นแบบมุ่งผลลัพธ์ สร้างนวัตกรรมทางการพยาบาล การรวบรวมผลการวิจัย และการใช้หลักฐาน เชิงประจักษ์ทางการพยาบาล มีการพัฒนาความรู้ความสามารถของตนเองอย่างต่อเนื่อง ซึ่งการพัฒนาศักยภาพของผู้บริหารการพยาบาลด้านการบริหารอนามัย จึงมีความสำคัญยิ่งต่อการพัฒนาระบบบริการพยาบาลของสำนักอนามัย และควรได้รับการเรียนรู้ด้วยประสบการณ์ตรงจากหน่วยงานต่างๆ ที่เป็นเลิศด้านสาธารณสุข ทั้งในและต่างประเทศ เพื่อเปิดมุมมองและเปิดประสบการณ์ใหม่ๆ นำมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนา ระบบบริการพยาบาลของกรุงเทพมหานคร อันจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้บริการด้านการแพทย์และสาธารณสุข ของกรุงเทพมหานครต่อไป กองการพยาบาลสาธารณสุขตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาผู้บริหารทางการพยาบาลให้มีความรู้และประสบการณ์ทางการบริหารที่ทันสมัย จึงได้ดำเนินการจัดโครงการฝึกอบรมหลักสูตรผู้บริหารทางการพยาบาลเพื่อเพิ่มศักยภาพด้านบริหารอนามัย รุ่นที่ 2 ให้แก่ผู้บริหารทางการพยาบาล สำนักอนามัย เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมเพิ่มพูนวิสัยทัศน์ สร้างผลงานด้วยนวัตกรรมด้านการดูแลสุขภาพประชาชน โดยหวังว่าเมื่อสิ้นสุดการฝึกอบรมจะได้นำประสบการณ์ที่จะรับไปปรับใช้ในการบริหารและจัดบริการประชาชนให้มีประสิทธิภาพและและสามารถดำเนินตามนโยบายที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอได้
08040000/08040000
2.1 เพื่อพัฒนาผู้บริหาร/ผู้นำทางการพยาบาลให้มีความรู้ ความสามารถ และทักษะในการบริหารจัดการ มีภาวะผู้นำ มีความคิดสร้างสรรค์ สามารถบริหารจัดการองค์กรพยาบาลในสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป 2.2 สร้างผลงานเชิงประจักษ์ จากประสบการณ์การดูงานมาประยุกต์จัดทำรูปแบบและนวัตกรรมใหม่ๆ เป็นต้นแบบให้กับผู้นำทางพยาบาล นำไปใช้ในการพัฒนาองค์กรของตนเองได้
๓.๑ เชิงปริมาณ 3.1.1 กลุ่มเป้าหมายหลัก : จำนวน 30 คน ข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญ ตำแหน่งประเภทพยาบาลวิชาชีพระดับชำนาญการพิเศษ หัวหน้าพยาบาลกลุ่มงานการพยาบาลและการบริหารทั่วไป พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ ผู้ช่วยหัวหน้าพยาบาลลำดับที่ 1 กลุ่มงานการพยาบาลและการบริหารทั่วไป และนักวิชาการพยาบาล/นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการพิเศษ สำนักอนามัย 3.1.2 ผู้เกี่ยวข้อง : 1) เจ้าหน้าที่ดำเนินงาน 6 คน 2) วิทยากร ตลอดหลักสูตร 46 วันๆ ละ 2 คน รวมทั้งสิ้น 38 คน 3.2 เชิงคุณภาพ 3.2.1 ผู้สำเร็จการฝึกอบรม ได้ร่วมพัฒนาความคิด เสริมสร้างทัศนคติ อันจะเป็นการสร้างองค์ความรู้สำหรับการนำไปพัฒนาต่อยอดได้ 3.2.2 ผู้สำเร็จการฝึกอบรม สามารถนำความรู้ ทักษะและประสบการณ์ที่ได้รับจากการฝึกอบรมไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงาน สร้างผลงานเชิงประจักษ์ เป็นต้นแบบให้กับผู้นำทางพยาบาล นำไปใช้ในการพัฒนาองค์กรของตนเองได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม
ด้านที่ ๗ – การบริหารจัดการเมืองมหานคร : Management Strategy |
๗.๓ - การบริหารทรัพยากรบุคคล |
๗.๓.๒ กรุงเทพมหานครมีระบบบริหารทรัพยากรบุคคลเข้มแข็งเอื้อต่อความเป็นธรรมสามารถสร้างสมดุล% |
๗.๓.๑.๑ พัฒนาสมรรถนะของทรัพยากรบุคคล ให้มุ่งสู่ความเป็นมืออาชีพ |
(1) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 100.00 (2023-09-13)
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(2) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 100.00 (2023-08-08)
08/08/2566 : เชิงปริมาณ กลุ่มเป้าหมายหลัก : จำนวน 30 คน ข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญ ตำแหน่งประเภทพยาบาลวิชาชีพระดับชำนาญการพิเศษ หัวหน้าพยาบาลกลุ่มงานการพยาบาลและการบริหารทั่วไป พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ ผู้ช่วยหัวหน้าพยาบาลลำดับที่ 1 กลุ่มงานการพยาบาลและการบริหารทั่วไป และนักวิชาการพยาบาล/นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการพิเศษ สำนักอนามัย เชิงคุณภาพ ผู้สำเร็จการฝึกอบรม ได้ร่วมพัฒนาความคิด เสริมสร้างทัศนคติ และมีความรู้เพิ่มขึ้นร้อยละ 100
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(3) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 95.00 (2023-07-14)
14/07/2566 : ดำเนินการฝึกอบรมใกล้แล้วเสร็จตามหลักสูตรที่กำหนด
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(4) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 90.00 (2023-06-14)
14/06/2566 : ดำเนินการฝึกอบรมตามหลักสูตรที่กำหนด ซึ่งแบ่งเป็นภาควิชาการประกอบด้วยการบรรยาย กิจกรรมกลุ่ม ฝึกปฏิบัติ ภาคศึกษาดูงานภายในประเทศ
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(5) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 60.00 (2023-05-16)
16/05/2566 : ดำเนินการฝึกอบรมตามหลักสูตรที่กำหนด
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(6) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 55.00 (2023-04-10)
10/04/2566 : ดำเนินการฝึกอบรมตามหลักสูตรที่กำหนด
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(7) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 50.00 (2023-03-14)
14/03/2566 : ได้รับอนุมัติโครงการและแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงาน,อยู่ระหว่างการลงนามคำสั่งให้ข้าราชการเข้ารับการฝึกอบรม,ได้รับอนุมัติเงินนอกงบประมาณฯ,ประสานวิทยากรและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(8) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 15.00 (2023-02-15)
15/02/2566 : ขออนุมัติโครงการและแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงาน
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(9) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 5.00 (2023-01-20)
20/01/2566 : อยู่ระหว่างดำเนินการ
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
ตัวชี้วัด : ร้อยละความสำเร็จในการพัฒนาบุคลากรตามหลักสมรรถนะมุ่งสู่ ความเป็นมืออาชีพ (ผลลัพธ์)
ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 90
ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 100
ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์ ตัวชี้วัดระดับผลลัพธ์ (outcome)
** ผลการประเมินโครงการ (รายไตรมาส) **