ความคืบหน้าโครงการ ร้อยละ 100
กองการพยาบาลสาธารณสุข
ดูโครงการแผนปีฯ : พิมพ์ข้อมูล
*** สยป. ประเมินโครงการ : ไตรมาสที่ 1
ปัจจุบันประชากรผู้สูงอายุทั่วโลกได้เพิ่มจำนวนมากขึ้น ในปี พ.ศ. 2563 ประเทศไทยก้าวสู่การเป็นสังคมสูงวัยระดังสุดยอด (Super Aged Society) โดยมีสัดส่วนผู้สูงอายุเกินร้อยละ 20 ของประชากรทั้งประเทศตามคำนิยามขององค์การสหประชาชาติ และคาดว่าจะมีสัดส่วนผู้สูงอายุมากกว่าร้อยละ 30 ของประชากรทั้งหมด ในปี พ.ศ. 2578 ซึ่งกรุงเทพมหานครเป็นจังหวัดที่มีจำนวนผู้สูงอายุมากที่สุด เมื่อจำแนกตามปัญหาเรื่องสุขภาพ พบผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ (ไม่สามารถประกอบกิจวัตรพื้นฐาน คือ กินอาหารเอง เข้าห้องน้ำเอง แต่งตัวได้เอง) มากถึงร้อยละ 5 โดยเฉพาะผู้สูงอายุวัยปลายที่ไม่สามารถช่วยเหลือ ตัวเองได้ มีมากถึงร้อยละ 19 ของผู้สูงอายุในวัยเดียวกัน ในกรุงเทพมหานคร จากฐานข้อมูลในศูนย์ส่งต่อเพื่อการพยาบาลต่อเนื่องที่บ้าน (BMA Home Ward Referral Center) พบผู้สูงอายุในกรุงเทพมหานคร ที่มีภาวะพึ่งพิงและยังมีชีวิตอยู่ จำนวน 52,031 คน ซึ่งในผู้สูงอายุกลุ่มนี้ จำเป็นที่จะต้องมีบุคคลใกล้ชิดผู้สูงอายุ หรือผู้ดูแลผู้สูงอายุเพื่อช่วยเหลือผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในการทำกิจวัตรประจำวันพื้นฐานและดูแลปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นทั้งด้านร่างกายและจิตใจ ทั้งนี้คณะกรรมกการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ได้กำหนดหลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้กรุงเทพมหานครดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพกรุงเทพมหานคร พ.ศ.2561 เพื่อการจัดสรรเงินสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง โดยนำไปบริหาร สนับสนุน ส่งเสริม การจัด บริการดูแลระยะยาว ด้านสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ซึ่งพยาบาลผู้จัดการสุขภาพ (Nurse Care Manager) และ ผู้ดูแล (Caregiver) เป็นผู้มีบทบาทในการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงรายบุคคลจากการประเมินคัดกรองความสามารถ ในการดำเนินชีวิตและด้านอื่นๆที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ได้รับบริการให้เหมาะสม กองการพยาบาลสาธารณสุข เป็นหน่วยงานหลักในการพัฒนาสมรรถนะบุคลากรสายงานพยาบาลของสำนักอนามัย ตระหนักในความสำคัญของการพัฒนาสมรรถนะพยาบาลเยี่ยมบ้านของศูนย์บริการสาธารณสุข กรุงเทพมหานคร เพื่อเป็นพยาบาลผู้จัดการสุขภาพ (Nurse Care Manager) ตามนโยบายของประเทศ โดยดำเนินการพัฒนาศักยภาพพยาบาลผู้จัดการสุขภาพในการดูแลผู้ป่วยและผู้สูงอายุต่อเนื่องที่บ้าน (Nurse Care Manager in Home Ward) ให้เป็นพยาบาลผู้จัดการสุขภาพที่มีศักยภาพ ในการจัดทำแผนการดูแลผู้ป่วยและ ผู้สูงอายุรายบุคคล สามารถบริหารจัดการและกำกับติดตามการปฏิบัติงานของผู้ดูแลช่วยเหลืองานพยาบาล ในชุมชนอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี พ.ศ. 2560 – 2564 ปัจจุบันมีพยาบาลผู้จัดการสุขภาพทั้งสิ้นจำนวน 416 คน ทั้งนี้เพื่อให้บุคลากรที่ปฏิบัติงานดังกล่าวได้รับการพัฒนาด้านความรู้และเทคโนโลยีที่ทันสมัยเพิ่มมากขึ้นตามสอดคล้องสถานการณ์ผู้สูงอายุและการเปลี่ยนแปลงทางสังคมของกรุงเทพมหานครในปัจจุบัน กองการพยาบาลสาธารณสุข จึงจัดทำโครงการฝึกอบรมหลักสูตรฟื้นฟูพยาบาลผู้จัดการสุขภาพ(Nurse Care Manager) ในการดูแลผู้ป่วยและผู้สูงอายุต่อเนื่องที่บ้าน ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 โดยพัฒนาหลักสูตรตามคู่มือแนวทางการฝึกอบรมหลักสูตรฟื้นฟู Care Manager ของสำนักอนามัยผู้สูงอายุ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข เพื่อเป็นการพัฒนาความรู้พยาบาลผู้จัดการสุขภาพของสำนักอนามัย ให้พร้อมต่อการดูแลสุขภาพแก่ผู้ป่วยและผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงของกรุงเทพมหานครให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป
08040000/08040000
เพื่อฟื้นฟูความรู้พยาบาลผู้จัดการสุขภาพ (Nurse Care Manager) ในการดูแลผู้ป่วยและผู้สูงอายุต่อเนื่องที่บ้านตามสถานการณ์และการเปลี่ยนแปลงทางสังคมของกรุงเทพมหานครในปัจจุบัน
3.1 เชิงปริมาณ การฝึกอหลักสูตรฟื้นฟูพยาบาลผู้จัดการสุขภาพ (Nurse Care Manager) ในการดูแลผู้ป่วยและผู้สูงอายุต่อเนื่องที่บ้าน แบบไป-กลับ ณ โรงแรมในกรุงเทพมหานคร (กิจกรรมฝึกอบรม) กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 140 คน เป็นข้าราชการกรุงเทพมหานคร ประเภทวิชาการ ระดับปฏิบัติการถึงระดับชำนาญการพิเศษ ตำแหน่งพยาบาลวิชาชีพ ที่เคยผ่านการอบรมหลักสูตรพยาบาลผู้จัดการสุขภาพ ผู้เกี่ยวข้อง จำนวน 12 คน 1) เจ้าหน้าที่ดำเนินการ จำนวน 10 คน 2) วิทยากร จำนวน 2 คน 3.2 เชิงคุณภาพ ผู้ผ่านการฝึกอบรมมีความรู้เกี่ยวกับเนื้อหาในหลักสูตรฯ เพิ่มขึ้น
ด้านที่ ๗ – การบริหารจัดการเมืองมหานคร : Management Strategy |
๗.๓ - การบริหารทรัพยากรบุคคล |
๗.๓.๒ กรุงเทพมหานครมีระบบบริหารทรัพยากรบุคคลเข้มแข็งเอื้อต่อความเป็นธรรมสามารถสร้างสมดุล% |
๗.๓.๑.๑ พัฒนาสมรรถนะของทรัพยากรบุคคล ให้มุ่งสู่ความเป็นมืออาชีพ |
(1) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 100.00 (2023-07-11)
11/04/2566 : 1. เชิงปริมาณ การฝึกอบรมหลักสูตรฟื้นฟูพยาบาลผู้จัดการสุขภาพ (Nurse Care Manager) ในการดูแลผู้ป่วยและผู้สูงอายุต่อเนื่องที่บ้าน แบบไป-กลับ ณ โรงแรมในกรุงเทพมหานคร (กิจกรรมฝึกอบรม) กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 124 คน เป็นข้าราชการกรุงเทพมหานคร ประเภทวิชาการ ระดับปฏิบัติการถึงระดับชำนาญการพิเศษ ตำแหน่งพยาบาลวิชาชีพ ที่เคยผ่านการอบรมหลักสูตรพยาบาลผู้จัดการสุขภาพ 2. เชิงคุณภาพ ผู้ผ่านการฝึกอบรมมีความรู้เกี่ยวกับเนื้อหาในหลักสูตรฯ เพิ่มขึ้น ร้อยละ 97.58 ของผู้เข้ารับการฝึกอบรม
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(2) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 100.00 (2023-04-10)
10/04/2566 : ดำเนินการแล้วเสร็จ
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(3) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 100.00 (2023-03-27)
27/03/2566 : สิ้นสุดโครงการ
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(4) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 55.00 (2023-03-14)
14/03/2566 : ดำเนินการฝึกอบรม ณ โรงแรมในกรุงเทพมหานคร
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(5) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 25.00 (2023-02-15)
15/02/2566 : 1. เสนอขออนุมัติโครงการและงบประมาณ 2. จัดทำคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการและดำเนินงานและจัดทำคำสั่งให้ข้าราชการเข้าอบรม 3. ประสานวิทยากร สถานที่จัดอบรม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(6) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 5.00 (2023-01-20)
20/01/2566 : อยู่ระหว่างดำเนินการ
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
ตัวชี้วัด : ร้อยละความสำเร็จในการพัฒนาบุคลากรตามหลักสมรรถนะมุ่งสู่ ความเป็นมืออาชีพ (ผลลัพธ์)
ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 90
ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 100
ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์ ตัวชี้วัดระดับผลลัพธ์ (outcome)
** ผลการประเมินโครงการ (รายไตรมาส) **