ความคืบหน้าโครงการ ร้อยละ 100
กองการพยาบาลสาธารณสุข
ดูโครงการแผนปีฯ : พิมพ์ข้อมูล
*** สยป. ประเมินโครงการ : ไตรมาสที่ 1
กองการพยาบาลสาธารณสุข มีภารกิจในด้านการส่งต่อผู้ป่วยและผู้สูงอายุเพื่อการการพยาบาลต่อเนื่องที่บ้าน ผ่านระบบออนไลน์ด้วยโปรแกรม BMA Home Ward Referral ดดยการนำเข้าข้อมูลผู้ป่วยและผู้สุงอายุ ผ่าน โปรแกรม BMA Home Ward Referral และประสานการส่งต่อข้อมูลผู้ป่วยและผุ้สูงอายุระดับศูนยืบริการสาธารณสุขและระดับโรงพยาบาลทั้งในและนอกสังกัดกรุงเทพมหานคร และจัดตั้งศูนย์ส่งต่อเพื่อการพยาบาลต่อเนื่องที่บ้าน กรุงเทพมหานคร (BMA Home Ward Referral Center) ขึ้นอย่างเป็นทางการเมื่อ ปี พ.ศ.2560 เพื่อประสานการส่งต่อและประชาสัมพันธ์ศูนย์ส่งต่อฯ แก่ประชาชน หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งพัฒนาระบบส่งต่อให้มีประสิทธิภาพและขยายเครือข่ายครอบคลุมพื้นที่กรุงเทพมหานคร มีระบบส่งต่อระบบอิเล็กทรอนิกซ์และเว็บไชค์ ที่มีความคล่องตัว สะดวก รวดเร็ว ได้ข้อมูลเป็นปัจจุบัน สามารถนำข้อมูลเพื่อวางแผนการดูแลผู้ป่วยต่อเนื่องระหว่างโรงพยาบาล ศูนย์บริการสาธารณสุข และบ้านผู้ป่วย ต่อมาในปี พ.ศ.2562 ได้ดำเนินการบูรณาการระบบส่งต่อร่วมกับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) โดยการเชื่อมต่อข้อมูลการส่งต่อเพื่อการพยาบาลต่อเนื่องที่บ้านกรุงเทพมหานคร (BMA Home Ward Referral Center) ได้รับการดูแลรักษาพยาบาลอย่างต่อเนื่อง มีมาตรฐาน รวมทั้งสามารถนำฐานข้อมูลจากโปรแกรม BMA Home Ward Referral ไปใช้ในการวางแผน/โครงการ เพื่อปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยและผู้สูงอายุที่บ้านอันส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพการบริการและคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชนกรุงเทพมหานคร ปี 2566 กองการพยาบาลสาธารณสุข สำนักอนามัย มุ่งหวังเสริมสร้างความเข้มแข็งของเครือข่ายการส่งต่อเพื่อการดูแลต่อเนื่องที่บ้านอย่างยั่งยืน โดยเฉพาะผุ้ป่วยและผู้สูงอายุในพื้นที่กรุงเทพมหานครให้ได้รับพยาบาลต่อเนื่อง อาศัยความร่วมมือในการดูแลจากภาคีเครือข่ายการส่งต่อ ผ่านระบบส่งต่อเพื่อการพยาบาลต่อเนื่องที่บ้าน (BMA Home Ward Referral System) ที่มีประสิทธิภาพและครอบคลุมพื้นที่กรุงเทพมหานครมากยิ่งขึ้น
08040000/08040000
1. เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการดูแลผู้ป่วยและผู้สูงอายุที่บ้าน 2. เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินงานดูแลผู้ป่วยและผู้สูงอายุที่บ้าน ระหว่างกลุ่มศูนย์บริการสาธารณสุข โรงพยาบาลเครือข่ายการส่งต่อ และหน่วยงานที่ เกี่ยวข้อง อย่างเข้มเข็งและยั่งยืน"
1. การฝึกอบรมเพื่อการพัฒนาความรู้และทักษะการใช้โปรแกรมการส่งต่อผู้ป่วยและผู้สูงอายุต่อเนื่องที่บ้าน (BMA Home Ward Referral Program) (กิจกรรมฝึกอบรม) โดยมีผู้เข้าร่วมอบรม จำนวนทั้งสิ้น 250 คน ประกอบด้วย กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 200 คน ดังนี้ 1) ข้าราชการกรุงเทพมหานคร ประเภทวิชาการ ระดับปฏิบัติการถึงชำนาญการพิเศษ ตำแหน่งพยาบาลวิชาชีพ จำนวน 200 คน แบ่งเป็น 10 รุ่นๆ ละ 20 คน ผู้เกี่ยวข้อง จำนวน 50 คน ดังนี้ 1) เจ้าหน้าที่ดำเนินการ จำนวนรุ่นละ 4 คน ทั้งหมด 10 รุ่น รวม 40 คน 2) วิทยากร จำนวนรุ่นละ 1 คน ทั้งหมด 10 รุ่น รวม 10 คน 2. ประชุมเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินงานผ่านระบบส่งต่อ BMA Home Ward Referral เพื่อการดูแลต่อเนื่องที่บ้านอย่างเข้มเข็งและยั่งยืน (ไม่ใช่กิจกรรมฝึกอบรม) โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมเป็นกลุ่มศูนย์บริการสาธารณสุขตามกลุ่มเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร โรงพยาบาลเครือข่ายการส่งต่อ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจำนวนทั้งสิ้น 192 คน กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 192 คน แบ่งเป็น 6 รุ่นๆ ละ 23 - 42 คน ดังนี้ 1) ข้าราชการกรุงเทพมหานคร ระดับปฏิบัติการถึงชำนาญการพิเศษ ตำแหน่งพยาบาลวิชาชีพกลุ่มศูนย์บริการสาธารณสุขตามกลุ่มเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร จำนวน 138 คน 2) บุคลากรจากโรงพยาบาลภาคีเครือข่าย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย พยาบาลวิชาชีพ และบุคลากรที่เกี่ยวข้อง จำนวน 54 คน
ยุทธศาสตร์ที่ ๑ –การสร้างเมืองปลอดภัยและหยุ่นตัวต่อวิกฤตการณ์ |
๑.๕ - เมืองสุขภาพดี (Healthy City) |
๑.๕.๑ ความครอบคลุมในการจัดให้มีระบบสุขภาพปฐมภูมิ% |
๑.๕.๑.๒ พัฒนารูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยและผู้สูงอายุต่อเนื่องที่บ้าน |
(1) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 100.00 (2023-09-07)
07/09/2566 : ดำเนินงานจัดโครงการ เสริมสร้างความเข้มแข็งของเครือข่ายการส่งต่อเพื่อการดูแลต่อเนื่องที่บ้านอย่างยั่งยืน เรียบร้อยแล้ว ดำเนินงานจัดโครงการ เสริมสร้างความเข้มแข็งของเครือข่ายการส่งต่อเพื่อการดูแลต่อเนื่องที่บ้านอย่างยั่งยืน เรียบร้อยแล้ว ผลการดำเนินงาน: ร้อยละ 100 - ผลการดำเนินงานโครงการเสริมสร้าง ความเข้มแข็งของเครือข่ายการส่งต่อเพื่อการดูแลต่อเนื่องที่บ้านอย่างยั่งยืน ประกอบด้วย กิจกรรมที่ 1 การฝึกอบรมเพื่อการพัฒนาความรู้และทักษะการใช้โปรแกรมการส่งต่อผู้ป่วยและผู้สูงอายุต่อเนื่องที่บ้าน (BMA Home Ward Referral Program) มีกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 200 คน มีผู้เข้าอบรมทั้งสิ้น 186 คน คิดเป็นร้อยละ 93 การประเมินผลเกี่ยวกับความคิดเห็นเกี่ยวการฝึกอบรมในภาพรวม ได้แก่ ความสอดคล้องกับความต้องการของผู้เข้ารับการอบรม การสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงาน และมีประโยชน์และคุณค่าผลการประเมินโดยรวม พบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย=4.75, SD=0.46) และประเมินผลความรู้ก่อนและหลังของผู้เข้าฝึกอบรม พบว่า ผู้เข้าอบรมมีคะแนนความรู้เฉลี่ยก่อนการอบรม ( ค่าเฉลี่ย=7.72, SD=1.88) หลังการอบรม (ค่าเฉลี่ย=9.58, SD =.77) เมื่อนำมาทดสอบทางสถิติ t-test พบว่า คะแนนความรู้เฉลี่ยหลังการอบรมสูงกว่าก่อนการอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t= 12.28 p < 0.05) กิจกรรมที่ 2 ประชุมเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินงานผ่านระบบส่งต่อ BMA Home Ward Referral เพื่อการดูแลต่อเนื่องที่บ้านอย่างเข้มเข็งและยั่งยืน มีกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 180 คน มีผู้เข้าร่วมประชุมจำนวนทั้งสิ้น 173 คน คิดเป็นร้อยละ 96.11 แบ่งเป็นข้าราชการกรุงเทพ มหานครสามัญ จำนวน 133 คน คิดเป็นร้อยละ 76.88 และบุคลากร จากโรงพยาบาลภาคีเครือข่ายและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จำนวน 40 คน คิดเป็นร้อยละ 23.12 ความพึงพอใจของผู้เข้าประชุมต่อการเข้าร่วมกิจกรรมฯ พบว่า ผู้เข้าประชุมมีความพึงพอใจในระดับมากที่สุดในแต่ละประเด็นตามลำดับ ได้แก่ สื่อที่ใช้ในการจัดประชุมมีความเหมาะสม คิดเป็นร้อยละ 72.50 รองลงมาคือ สถานที่ที่ใช้จัดประชุมมีความเหมาะสม คิดเป็นร้อยละ 70.00 ความรู้และความเข้าใจจากเนื้อหาการประชุม คิดเป็นร้อยละ 67.50 ส่วนความสอดคล้องของเนื้อหากับวัตถุประสงค์ของการจัดประชุมและระยะเวลาในการจัดประชุมมีความเหมาะสม มีผู้เข้าประชุมให้คะแนนความพึงพอใจในระดับมากที่สุดเป็นจำนวนที่เท่ากัน คิดเป็นร้อยละ 66.67 - ผลการดูแลผู้ป่วยและผู้สูงอายุในระบบส่งต่อ จำนวน 22386 ราย ต้องการเยี่ยมบ้านได้รับการพยาบาลต่อเนื่องที่บ้านตามเกณฑ์ จำนวน 21,750 ราย (97.16%) ข้อมูล 1 ตุลาคม 65- 25กรกฎาคม 66
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มีปัญหาและอุปสรรค
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มีปัญหาและอุปสรรค
------------------&&&--------------------
(2) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 80.00 (2023-08-04)
ดำเนินการฝึกอบรมเพื่อการพัฒนาความรู้และทักษะการใช้โปรแกรมการส่งต่อผู้ป่วยและผู้สูงอายุต่อเนื่องที่บ้าน (BMA Home Ward Referral Program) รุ่น 1-5 ในระหว่างวันที่ 26 - 30มิถุนายน 25666 และ รุ่น 6-7 ในระหว่างวันที่ 3-7 กรกฎาคม 2566 ณ ศูนย์ฝึกอบรมคอมพิวเตอร์ กองพัฒนาระบบงานคอมพิวเตอร์ สำนักยุทศาสตร์และประเมินผล เรียบร้อยแล้ว และจะดำเนินการจัดประชุมแลกเปลี่ยน เรียนรู้การดำเนินงานผ่านระบบส่งต่อ BMA Home Ward Referral เพื่อการดูแลต่อเนื่องที่บ้านอย่างเข้มแข็งและยั่งยืน ระหว่างวันที่ 18, 20 และ 21 กรกฎาคม 2566 ณ ห้องประชุมชั้น 19 อาคารธานีนพรัตน์ กทม. 2 และ 24,25 และ 26 กรกฎาคม 2566 ณ ห้องประชุมชั้น 8 อาคารธานีนพรัตน์ กทม. 2 เรียบร้อยแล้ว
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มีปัญหาและอุปสรรค
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มีปัญหาและอุปสรรค
------------------&&&--------------------
(3) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 60.00 (2023-07-17)
17/07/2566 : กำลังดำเนินการฝึกอบรมเพื่อการพัฒนาความรู้และทักษะการใช้โปรแกรมการส่งต่อผู้ป่วยและผู้สูงอายุต่อเนื่องที่บ้าน (BMA Home Ward Referral Program) รุ่น 1-5 ในระหว่างวันที่ 26 - 30มิถุนายน 25666 และ รุ่น 6-7 ในระหว่างวันที่ 3-7 กรกฎาคม 2566 ณ ศูนย์ฝึกอบรมคอมพิวเตอร์ กองพัฒนาระบบงานคอมพิวเตอร์ สำนักยุทศาสตร์และประเมินผล เรียบร้อยแล้ว และจะดำเนินการจัดประชุมแลกเปลี่ยน เรียนรู้การดำเนินงานผ่านระบบส่งต่อ BMA Home Ward Referral เพื่อการดูแลต่อเนื่องที่บ้านอย่างเข้มแข็งและยั่งยืน ระหว่างวันที่ 18, 20 และ 21 กรกฎาคม 2566 ณ ห้องประชุมชั้น 19 อาคารธานีนพรัตน์ กทม. 2 และ 24,25 และ 26 กรกฎาคม 2566 ณ ห้องประชุมชั้น 8 อาคารธานีนพรัตน์ กทม. 2
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มีปัญหาและอุปสรรค
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มีปัญหาและอุปสรรค
------------------&&&--------------------
(4) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 40.00 (2023-07-05)
05/07/2566 : กำลังดำเนินการฝึกอบรมเพื่อการพัฒนาความรู้และทักษะการใช้โปรแกรมการส่งต่อผู้ป่วยและผู้สูงอายุต่อเนื่องที่บ้าน (BMA Home Ward Referral Program) ในระหว่างวันที่ 26-30 มิ.ย.66 และ 3-7 ก.ค. 66
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มีปัญหาและอุปสรรค
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มีปัญหาและอุปสรรค
------------------&&&--------------------
(5) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 35.00 (2023-06-13)
13/06/2566 : ได้รับการอนุมัติแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการฝึกอบรมและอนุมัติคำสั่งผู้เข้าร่วมการฝึกอบรมเพื่อการพัฒนาความรู้และทักษะการใช้โปรแกรมการส่งต่อผู้ป่วยและผู้สูงอายุต่อเนื่องที่บ้าน (BMA Home Ward Referral Program) และจะดำเนินการฝึกอบรมเพื่อการพัฒนาความรู้และทักษะการใช้โปรแกรมการส่งต่อผู้ป่วยและผู้สูงอายุต่อเนื่องที่บ้าน (BMA Home Ward Referral Program) ในระหว่างวันที่ 26-30 มิ.ย.66 และ 3-7 ก.ค. 66
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มีปัญหาและอุปสรรค
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มีปัญหาและอุปสรรค
------------------&&&--------------------
(6) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 30.00 (2023-05-08)
08/05/2566 : อยู่ระหว่างดำเนินการแต่งตั้งคณะการโครงการ
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มีปัญหาและอุปสรรค
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มีปัญหาและอุปสรรค
------------------&&&--------------------
(7) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 20.00 (2023-04-03)
03/04/2566 : อยู่ระหว่างประชาสัมพันธ์และรวบรวมรายชื่อกลุ่มเป้าหมาย
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มีปัญหาและอุปสรรค
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มีปัญหาและอุปสรรค
------------------&&&--------------------
(8) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 15.00 (2023-03-09)
09/03/2566 : ได้รับอนุมัติโครงการฯ และอนุมัติงบประมาณ
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มีปัญหาและอุปสรรค
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มีปัญหาและอุปสรรค
------------------&&&--------------------
(9) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 10.00 (2023-02-15)
15/02/2566 : ได้รับเห็นชอบในหลักการใช้เงินนอกงบประมาณในการดำเนินโครงการฯและอยู่ระหว่างเสนอขออนุมัติโครงการฯและอนุมัติงบประมาณ
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(10) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 5.00 (2023-01-20)
20/01/2566 :อยู่ระหว่างเสนอขออนุมัติโครงการฯ และเสนอขออนุมัติงบประมาณ
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มีปัญหาและอุปสรรค
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่พบปัญหาและอุปสรรค
------------------&&&--------------------
ตัวชี้วัด : ร้อยละของผู้ป่วยและผู้สูงอายุ ในระบบส่งต่อ (BMA Home Ward Referral) และต้องการการเยี่ยมบ้าน หรือการดูแลแบบประคับประคองได้รับการพยาบาลต่อเนื่องที่บ้านตามเกณฑ์
ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 95
ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 97.41
ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์ ตัวชี้วัดระดับผลลัพธ์ (outcome)
** ผลการประเมินโครงการ (รายไตรมาส) **