ความคืบหน้าโครงการ ร้อยละ 100
กองสุขาภิบาลอาหาร
ดูโครงการแผนปีฯ : พิมพ์ข้อมูล
*** สยป. ประเมินโครงการ : ไตรมาสที่ 1
แผนพัฒนากรุงเทพมหานคร ระยะ ๒๐ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๑ - ๒๕๘๐) ฉบับปรับปรุง กำหนดวิสัยทัศน์ให้กรุงเทพมหานครเป็น “มหานครแห่งเอเชีย” โดยการดำเนินการตามแผนพัฒนากรุงเทพมหานคร ระยะ ๒๐ ปี ระยะที่ ๓ (พ.ศ. ๒๕๖๖ - ๒๕๗๐) ในยุทธศาสตร์ที่ ๑ การสร้างเมืองปลอดภัยและหยุ่นตัวต่อวิกฤตการณ์ ยุทธศาสตร์ย่อยที่ ๑.๕ เมืองสุขภาพดี (Healthy City) ให้ความสำคัญกับการพัฒนากรุงเทพมหานครให้เป็นเมืองอาหารปลอดภัย ซึ่งได้กำหนดเป้าหมายในการพัฒนาการตรวจเฝ้าระวังคุณภาพอาหารและการรับรองมาตรฐานสถานประกอบการอาหาร เพื่อให้ประชาชนบริโภคอาหารที่มีความปลอดภัยจากเชื้อโรคและสารปนเปื้อนที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ ๒๐ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๑ - ๒๕๘๐) ที่กำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพคน ครอบคลุมความรอบรู้ด้านสุขภาพ การควบคุมและป้องกันปัจจัยเสี่ยงที่คุกคามต่อสุขภาพ การสร้างสภาวะแวดล้อมที่เอื้อต่อการมีสุขภาวะที่ดี สถานการณ์การเจ็บป่วยด้วยโรคอาหารเป็นพิษในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ในรอบ ๕ ปีล่าสุด (ปี พ.ศ. ๒๕๕๙ - ๒๕๖๓) พบว่าอัตราการป่วยต่อแสนประชากรเท่ากับ ๘๙.๘๔ ๙๑.๔๐ ๑๒๘.๗๒ ๑๑๖.๔๖ และ ๘๔.๕๒ ตามลำดับ ซึ่งมีแนวโน้มสูงขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๕๙ - ๒๕๖๑ และลดลงในปี พ.ศ. ๒๕๖๒ บ่งชี้ว่ากรุงเทพมหานครยังคงเผชิญกับสภาพปัญหาความไม่ปลอดภัยด้านอาหาร ทั้งนี้ เนื่องจากกรุงเทพมหานครเป็นศูนย์รวมของวัตถุดิบอาหาร เป็นแหล่งกระจายสินค้า วัตถุดิบอาหารส่วนใหญ่ มีการนำเข้ามาจากต่างจังหวัดและต่างประเทศ ซึ่งอยู่นอกเหนือการควบคุมกำกับดูแลของกรุงเทพมหานคร อีกทั้งจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพเศรษฐกิจและสังคม และการขยายตัวของเขตเมือง อัตราการเจริญเติบโตของธุรกิจอาหารเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้เกิดสถานประกอบการอาหารเพิ่มจำนวนมากขึ้นตามแรงขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจที่มีผลมาจากนโยบายการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐในผู้ประกอบการรายย่อย โดยมีจำนวนสถานประกอบการอาหารในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ๒๐,๑๖๖ ราย (ข้อมูล ๓๐ กันยายน ๒๕๖๔) อีกทั้งยังส่งผลให้รูปแบบการประกอบธุรกิจด้านอาหารมีการปรับเปลี่ยนให้เข้ากับวิถีชีวิตคนเมืองที่มีแต่ความเร่งรีบต้องการบริการที่ความสะดวกสบาย เช่น การเพิ่มจำนวนของธุรกิจจำหน่ายอาหารแบบออนไลน์และบริการส่งถึงที่ (Ready-to-Eat Food Delivery) การจำหน่ายอาหารในลักษณะของ Food Truck รถเร่ขายอาหารแบบให้บริการเข้าถึงชุมชน ประกอบกับการเคลื่อนย้ายและเพิ่มจำนวนแรงงานต่างด้าวที่ขาดความรู้ด้านสุขาภิบาลอาหารในสถานประกอบการด้านอาหาร สิ่งเหล่านี้ส่งผลต่อสุขลักษณะและความปลอดภัยของอาหาร และจากการเจริญเติบโตของธุรกิจอาหารที่มีเป็นจำนวนมากนั้น หากขาดการบริหารจัดการที่ดี และระบบตรวจสอบควบคุมกำกับของเจ้าหน้าที่ภาครัฐขาดประสิทธิภาพไม่สามารถควบคุมกำกับให้สถานประกอบการดำเนินการให้เป็นไปตามข้อกำหนดและกฎหมายที่เกี่ยวข้องได้อย่างทั่วถึงและสม่ำเสมอ อาจส่งผลกระทบต่อสภาวะความเป็นอยู่โดยปกติสุขของประชาชนได้ เช่น เกิดเหตุเดือดร้อนรำคาญจากการประกอบกิจการอาหาร ไม่ว่าจะเป็นกลิ่น เสียง ความร้อน การระบายน้ำเสีย หรือฝุ่นละออง นอกจากนี้ยังพบว่าจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด 19) ซึ่งเป็นโรคอุบัติใหม่ และในพื้นที่กรุงเทพมหานครพบผู้ติดเชื้อจำนวนมาก โดยสถานประกอบการจำหน่ายอาหาร ได้แก่ ตลาด ร้านอาหาร ซูเปอร์มาร์เก็ต มินิมาร์ท และแผงลอยจำหน่ายอาหารริมบาทวิถี เป็นสถานที่ซึ่งประชาชนส่วนใหญ่มีความจำเป็น ต้องเข้าไปใช้บริการ และอาจก่อให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด 19) ได้ หากสถานประกอบการอาหารดังกล่าวไม่มีการปฏิบัติตามมาตรการในการป้องกันโรคตามที่ทางภาครัฐกำหนด ดังนั้น สำนักอนามัยจึงได้จัดทำโครงการกรุงเทพฯเมืองอาหารปลอดภัย ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖ ขึ้น เพื่อกำหนดกรอบและทิศทางในการดำเนินงานด้านอาหารปลอดภัยให้มีความต่อเนื่อง รวมทั้งให้หน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนได้ตื่นตัว ตระหนักถึงความสำคัญในเรื่องความปลอดภัยของอาหาร รวมทั้งควบคุม กำกับสถานประกอบการให้เป็นไปตามมาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานคร และมาตรการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด 19) ตามมาตรการของกระทรวงสาธารณสุข เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชนทั้งในด้านการได้บริโภคอาหารที่สะอาด ปลอดภัย ได้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดี และได้รับการป้องกันการเกิดโรคติดต่อในสถานประกอบการอาหาร อีกทั้งเป็นการเสริมสร้างภาพลักษณ์ ประชาสัมพันธ์งานด้านอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานครด้วย
08960000/08960000
๑) เพื่อปรับปรุง พัฒนา ยกระดับมาตรฐานสถานประกอบการอาหาร ทั้งด้านสุขลักษณะ ด้านความปลอดภัยอาหาร และการป้องกันโรคอุบัติใหม่ ๒) เพื่อตรวจสอบและเฝ้าระวังคุณภาพอาหารในสถานประกอบการอาหาร ๓) เพื่อพัฒนาความรู้ความเข้าใจ จิตสำนึกและความร่วมมือขององค์กรภาคเอกชน ผู้ประกอบการ และประชาชนทั่วไปในเรื่องการสุขาภิบาลอาหารและอาหารปลอดภัย ๔) เพื่อคุ้มครองผู้บริโภค และสร้างความมั่นใจในการบริโภคอาหารที่สะอาดปลอดภัย
๑. ตรวจสอบ เฝ้าระวังคุณภาพอาหารโดยสุ่มตรวจวิเคราะห์หาการปนเปื้อนเชื้อโรคและสารพิษในอาหารที่จำหน่ายในสถานประกอบการอาหารพื้นที่กรุงเทพมหานคร ๕๐ เขต ได้แก่ ตลาด ซูเปอร์มาร์เก็ต มินิมาร์ท ร้านอาหาร แผงลอยจำหน่ายอาหารริมบาทวิถี และโรงเรียน ๒. ส่งเสริมให้สถานประกอบการอาหารทุกประเภทมีการพัฒนาผ่านเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานคร และมีมาตรการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด 19) ตามมาตรการของกระทรวงสาธารณสุข ร้อยละ ๑๐๐ ๓. จัดการอบรมหลักสูตรการสุขาภิบาลอาหารของกรุงเทพมหานครให้แก่ผู้ประกอบกิจการ และผู้สัมผัสอาหารในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ๔. จัดทำคู่มือวิชาการสุขาภิบาลอาหาร ได้แก่ คู่มือแนวทางการจัดการอาหารปลอดภัยในสถานศึกษา คู่มือหลักสูตรการสุขาภิบาลอาหารของกรุงเทพมหานคร และคู่มือการดำเนินงานสุขาภิบาลอาหารในสถานที่จำหน่ายอาหารพื้นที่กรุงเทพมหานคร
ยุทธศาสตร์ที่ ๑ –การสร้างเมืองปลอดภัยและหยุ่นตัวต่อวิกฤตการณ์ |
๑.๕ - เมืองสุขภาพดี (Healthy City) |
๑.๕.๒ ความครอบคลุมในการจัดให้มีระบบสุขภาพทุติยภูมิและตติยภูมิ% |
๑.๕.๒.๑ พัฒนาศักยภาพการให้บริการทางการแพทย์ที่มีประสิทธิภาพ |
(1) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 100.00 (2023-09-12)
12/09/2566 : กิจกรรมที่ 4 การพัฒนาการสุขาภิบาลอาหารริมบาทวิถี (งบประมาณที่ขอ จำนวน 161,200 บาท งบประมาณที่ได้รับ จำนวน 161,200 บาท, งบประมาณที่ใช้ไป จำนวน 100,640 บาท งบประมาณคงเหลือ จำนวน 60,560 บาท) 4.1 จัดกิจกรรมพัฒนาสุขาภิบาลอาหารริมบาทวิถีในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ผู้เข้าร่วมกิจกรรมประกอบด้วย เจ้าหน้าที่สำนักอนามัย เจ้าหน้าที่สำนักงานเขต ผู้ประกอบการอาหาร จำนวนรวมทั้งสิ้น 150 คน (งบประมาณที่ขอ จำนวน 90,000 บาท งบประมาณที่ได้รับ จำนวน 90,000 บาท งบประมาณที่ใช้ไป จำนวน 33,000 บาท งบประมาณคงเหลือ จำนวน 57,000 บาท) - จัดกิจกรรมฯ เรียบร้อยแล้ว เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2566 ณ ห้องบางกอก อาคารไอยราวัฒน์ ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร (ดินแดง) - เบิกจ่ายค่าใช้จ่ายในการจัดกิจกรรมฯ เรียบร้อยแล้ว รายละเอียดดังนี้ 1. ค่าอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ เป็นเงิน 22,500 บาท 2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม เป็นเงิน 10,500 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 33,000 บาท - ดำเนินการเรียบร้อยแล้ว 4.2 การตรวจประเมินติดตาม แผงลอยจำหน่ายอาหารริมบาทวิถีในพื้นที่กรุงเทพมหานคร จำนวน 2 ครั้งๆ ละ 10 วัน (งบประมาณที่ขอ จำนวน 71,200 บาท งบประมาณที่ได้รับ จำนวน 71,200 บาท งบประมาณที่ใช้ไป จำนวน 67,640 บาท งบประมาณคงเหลือ จำนวน 3,560 บาท) - ขออนุมัติแผนปฏิบัติงานนอกเวลาราชการเรียบร้อยแล้ว - จัดทำเรื่องเบิกจ่ายค่าตอบแทนบุคลากรฯ ครั้งที่ 1 เรียบร้อยแล้ว เมื่อวันที่ 18 เมษายน 2566 เป็นเงินจำนวนทั้งสิ้น 32,040 บาท - จัดทำเรื่องเบิกจ่ายค่าตอบแทนบุคลากรฯ ครั้งที่ 2 เรียบร้อยแล้ว เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2566 เป็นเงินจำนวนทั้งสิ้น 35,600 บาท - ตรวจประเมินติดตามแผงลอยจำหน่ายอาหารริมบาทวิถีในพื้นที่กรุงเทพมหานคร จำนวน 2 ครั้งๆละ 10 วัน (ครั้งที่ 1 : 14 มีนาคม – 5 เมษายน 2566 และ ครั้งที่ 2 : 22 มิถุนายน – 27 กรกฎาคม 2566) เรียบร้อยแล้ว จำนวน 14 เขต จำนวนทั้งสิ้น 293 ราย ผ่านเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัยฯ จำนวน 163 ราย (ร้อยละ 55.63) และไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัยฯ จำนวน 130 ราย (ร้อยละ 44.37) โดยมีผลการตรวจคุณภาพอาหาร ดังนี้ - สุ่มเก็บตัวอย่างอาหารเพื่อตรวจวิเคราะห์ทางด้านเคมี (บอแรกซ์ สารฟอกขาว ฟอร์มาลิน และสารกันรา) โดยใช้ชุดทดสอบเบื้องต้น จำนวน 117 ตัวอย่าง ไม่พบการปนเปื้อน จำนวน 115 ตัวอย่าง (ร้อยละ 98.29) - สุ่มเก็บตัวอย่างอาหารเพื่อตรวจวิเคราะห์หาสารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้าง โดยใช้ชุดทดสอบเบื้องต้น จำนวน 60 ตัวอย่าง พบว่าอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานทุกตัวอย่าง - สุ่มตรวจความสะอาดของอาหารพร้อมบริโภค มือผู้สัมผัสอาหาร และภาชนะอุปกรณ์ โดยใช้ชุดตรวจสอบการปนเปื้อนเชื้อโคลิฟอร์มแบคทีเรียเบื้องต้น จำนวน 477 ตัวอย่าง ไม่พบการปนเปื้อน จำนวน 423 ตัวอย่าง (ร้อย 88.68)
** ปัญหาของโครงการ :-ไม่มี-//-
** อุปสรรคของโครงการ :-ไม่มี-//-
------------------&&&--------------------
(2) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 95.00 (2023-09-06)
06/09/2566 : กิจกรรมที่ 4 การพัฒนาการสุขาภิบาลอาหารริมบาทวิถี (งบประมาณที่ขอ จำนวน 161,200 บาท งบประมาณที่ได้รับ จำนวน 161,200 บาท, งบประมาณที่ใช้ไป จำนวน 100,640 บาท งบประมาณคงเหลือ จำนวน 60,560 บาท) 4.1 จัดกิจกรรมพัฒนาสุขาภิบาลอาหารริมบาทวิถีในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ผู้เข้าร่วมกิจกรรมประกอบด้วย เจ้าหน้าที่สำนักอนามัย เจ้าหน้าที่สำนักงานเขต ผู้ประกอบการอาหาร จำนวนรวมทั้งสิ้น 150 คน (งบประมาณที่ขอ จำนวน 90,000 บาท งบประมาณที่ได้รับ จำนวน 90,000 บาท งบประมาณที่ใช้ไป จำนวน 33,000 บาท งบประมาณคงเหลือ จำนวน 57,000 บาท) - จัดกิจกรรมฯ เรียบร้อยแล้ว เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2566 ณ ห้องบางกอก อาคารไอยราวัฒน์ ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร (ดินแดง) - เบิกจ่ายค่าใช้จ่ายในการจัดกิจกรรมฯ เรียบร้อยแล้ว รายละเอียดดังนี้ 1. ค่าอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ เป็นเงิน 22,500 บาท 2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม เป็นเงิน 10,500 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 33,000 บาท - ดำเนินการเรียบร้อยแล้ว 4.2 การตรวจประเมินติดตาม แผงลอยจำหน่ายอาหารริมบาทวิถีในพื้นที่กรุงเทพมหานคร จำนวน 2 ครั้งๆ ละ 10 วัน (งบประมาณที่ขอ จำนวน 71,200 บาท งบประมาณที่ได้รับ จำนวน 71,200 บาท งบประมาณที่ใช้ไป จำนวน 67,640 บาท งบประมาณคงเหลือ จำนวน 3,560 บาท) - ขออนุมัติแผนปฏิบัติงานนอกเวลาราชการเรียบร้อยแล้ว - จัดทำเรื่องเบิกจ่ายค่าตอบแทนบุคลากรฯ ครั้งที่ 1 เรียบร้อยแล้ว เมื่อวันที่ 18 เมษายน 2566 เป็นเงินจำนวนทั้งสิ้น 32,040 บาท - จัดทำเรื่องเบิกจ่ายค่าตอบแทนบุคลากรฯ ครั้งที่ 2 เรียบร้อยแล้ว เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2566 เป็นเงินจำนวนทั้งสิ้น 35,600 บาท - ตรวจประเมินติดตามแผงลอยจำหน่ายอาหารริมบาทวิถีในพื้นที่กรุงเทพมหานคร จำนวน 2 ครั้งๆละ 10 วัน (ครั้งที่ 1 : 14 มีนาคม – 5 เมษายน 2566 และ ครั้งที่ 2 : 22 มิถุนายน – 27 กรกฎาคม 2566) เรียบร้อยแล้ว อยู่ระหว่างสรุปผลการดำเนินงาน
** ปัญหาของโครงการ :-ไม่มี-//-
** อุปสรรคของโครงการ :-ไม่มี-//-
------------------&&&--------------------
(3) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 90.00 (2023-08-15)
15/08/2566 : กิจกรรมที่ 4 การพัฒนาการสุขาภิบาลอาหารริมบาทวิถี (งบประมาณที่ขอ จำนวน 161,200 บาท งบประมาณที่ได้รับ จำนวน 161,200 บาท, งบประมาณที่ใช้ไป จำนวน 100,640 บาท งบประมาณคงเหลือ จำนวน 60,560 บาท) 4.1 จัดกิจกรรมพัฒนาสุขาภิบาลอาหารริมบาทวิถีในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ผู้เข้าร่วมกิจกรรมประกอบด้วย เจ้าหน้าที่สำนักอนามัย เจ้าหน้าที่สำนักงานเขต ผู้ประกอบการอาหาร จำนวนรวมทั้งสิ้น 150 คน (งบประมาณที่ขอ จำนวน 90,000 บาท งบประมาณที่ได้รับ จำนวน 90,000 บาท งบประมาณที่ใช้ไป จำนวน 33,000 บาท งบประมาณคงเหลือ จำนวน 57,000 บาท) - จัดกิจกรรมฯ เรียบร้อยแล้ว เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2566 ณ ห้องบางกอก อาคารไอยราวัฒน์ ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร (ดินแดง) - เบิกจ่ายค่าใช้จ่ายในการจัดกิจกรรมฯ เรียบร้อยแล้ว รายละเอียดดังนี้ 1. ค่าอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ เป็นเงิน 22,500 บาท 2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม เป็นเงิน 10,500 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 33,000 บาท - ดำเนินการเรียบร้อยแล้ว 4.2 การตรวจประเมินติดตาม แผงลอยจำหน่ายอาหารริมบาทวิถีในพื้นที่กรุงเทพมหานคร จำนวน 2 ครั้งๆ ละ 10 วัน (งบประมาณที่ขอ จำนวน 71,200 บาท งบประมาณที่ได้รับ จำนวน 71,200 บาท งบประมาณที่ใช้ไป จำนวน 67,640 บาท งบประมาณคงเหลือ จำนวน 3,560 บาท) - ขออนุมัติแผนปฏิบัติงานนอกเวลาราชการเรียบร้อยแล้ว - ตรวจประเมินฯ ครั้งที่ 1 เรียบร้อยแล้ว (14 มีนาคม – 5 เมษายน 2566) - จัดทำรายงานสรุปผลการตรวจ ครั้งที่ 1 เสนอผู้บริหารเรียบร้อยแล้ว - จัดทำเรื่องเบิกจ่ายค่าตอบแทนบุคลากรฯ ครั้งที่ 1 เรียบร้อยแล้ว เมื่อวันที่ 18 เมษายน 2566 เป็นเงินจำนวนทั้งสิ้น 32,040 บาท - จัดทำเรื่องเบิกจ่ายค่าตอบแทนบุคลากรฯ ครั้งที่ 2 เรียบร้อยแล้ว เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2566 เป็นเงินจำนวนทั้งสิ้น 35,600 บาท - อยู่ระหว่างสรุปผลการตรวจประเมินฯ
** ปัญหาของโครงการ :-ไม่มี-//-
** อุปสรรคของโครงการ :-ไม่มี-//-
------------------&&&--------------------
(4) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 83.00 (2023-07-15)
15/07/2566 : กิจกรรมที่ 4 การพัฒนาการสุขาภิบาลอาหารริมบาทวิถี (งบประมาณที่ขอ จำนวน 161,200 บาท งบประมาณที่ได้รับ จำนวน 161,200 บาท, งบประมาณที่ใช้ไป จำนวน 32,040 บาท งบประมาณคงเหลือ จำนวน 129,160 บาท) 4.1 จัดกิจกรรมพัฒนาสุขาภิบาลอาหารริมบาทวิถีในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ผู้เข้าร่วมกิจกรรมประกอบด้วย เจ้าหน้าที่สำนักอนามัย เจ้าหน้าที่สำนักงานเขต ผู้ประกอบการอาหาร จำนวนรวมทั้งสิ้น 150 คน (งบประมาณที่ขอ จำนวน 90,000 บาท งบประมาณที่ได้รับ จำนวน 90,000 บาท งบประมาณที่ใช้ไป จำนวน - บาท งบประมาณคงเหลือ จำนวน 90,000 บาท) - จัดกิจกรรมฯ เรียบร้อยแล้ว เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2566 ณ ห้องบางกอก อาคารไอยราวัฒน์ ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร (ดินแดง) 4.2 การตรวจประเมินติดตาม แผงลอยจำหน่ายอาหารริมบาทวิถีในพื้นที่กรุงเทพมหานคร จำนวน 2 ครั้งๆ ละ 10 วัน (งบประมาณที่ขอ จำนวน 71,200 บาท งบประมาณที่ได้รับ จำนวน 71,200 บาท งบประมาณที่ใช้ไป จำนวน 32,040 บาท งบประมาณคงเหลือ จำนวน 39,160 บาท) (45%) - ขออนุมัติแผนปฏิบัติงานนอกเวลาราชการเรียบร้อยแล้ว - ตรวจประเมินฯ ครั้งที่ 1 เรียบร้อยแล้ว (14 มีนาคม – 5 เมษายน 2566) - จัดทำรายงานสรุปผลการตรวจ ครั้งที่ 1 เสนอผู้บริหารเรียบร้อยแล้ว - จัดทำเรื่องเบิกจ่ายค่าตอบแทนบุคลากรฯ ครั้งที่ 1 เรียบร้อยแล้ว เมื่อวันที่ 18 เมษายน 2566 เป็นเงินจำนวนทั้งสิ้น 32,040 บาท - อยู่ระหว่างการตรวจประเมินฯ ครั้งที่ 2 (วันที่ 22 มิถุนายน – 27 กรกฎาคม 2566)
** ปัญหาของโครงการ :-ไม่มี-//-
** อุปสรรคของโครงการ :-ไม่มี-//-
------------------&&&--------------------
(5) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 65.00 (2023-06-14)
14/06/2566 : กิจกรรมที่ 4 การพัฒนาการสุขาภิบาลอาหารริมบาทวิถี (งบประมาณที่ขอ จำนวน 161,200 บาท งบประมาณที่ได้รับ จำนวน 161,200 บาท, งบประมาณที่ใช้ไป จำนวน 32,040 บาท งบประมาณคงเหลือ จำนวน 129,160 บาท) 4.1 จัดกิจกรรมพัฒนาสุขาภิบาลอาหารริมบาทวิถีในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ผู้เข้าร่วมกิจกรรมประกอบด้วย เจ้าหน้าที่สำนักอนามัย เจ้าหน้าที่สำนักงานเขต ผู้ประกอบการอาหาร จำนวนรวมทั้งสิ้น 150 คน (งบประมาณที่ขอ จำนวน 90,000 บาท งบประมาณที่ได้รับ จำนวน 90,000 บาท งบประมาณที่ใช้ไป จำนวน - บาท งบประมาณคงเหลือ จำนวน 90,000 บาท) - อยู่ระหว่างจัดทำข้อมูลและเตรียมการจัดกิจกรรมฯ - อยู่ระหว่างเตรียมการจัดกิจกรรมฯ โดยกำหนดจัดกิจกรรมฯ ในวันที่ 26 มิถุนายน 2566 ณ ห้องบางกอก อาคารไอยราวัฒน์ ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร (ดินแดง) 4.2 การตรวจประเมินติดตาม แผงลอยจำหน่ายอาหารริมบาทวิถีในพื้นที่กรุงเทพมหานคร จำนวน 2 ครั้งๆ ละ 10 วัน (งบประมาณที่ขอ จำนวน 71,200 บาท งบประมาณที่ได้รับ จำนวน 71,200 บาท งบประมาณที่ใช้ไป จำนวน 32,040 บาท งบประมาณคงเหลือ จำนวน 39,160 บาท) - ขออนุมัติแผนปฏิบัติงานนอกเวลาราชการเรียบร้อยแล้ว - ตรวจประเมินฯ ครั้งที่ 1 เรียบร้อยแล้ว (14 มีนาคม – 5 เมษายน 2566) - จัดทำรายงานสรุปผลการตรวจ ครั้งที่ 1 เสนอผู้บริหารเรียบร้อยแล้ว - จัดทำเรื่องเบิกจ่ายค่าตอบแทนบุคลากรฯ ครั้งที่ 1 เรียบร้อยแล้ว เมื่อวันที่ 18 เมษายน 2566 เป็นเงินจำนวนทั้งสิ้น 32,040 บาท - เริ่มตรวจประเมินฯ ครั้งที่ 2 วันที่ 27 มิถุนายน 2566
** ปัญหาของโครงการ :-ไม่มี-//-
** อุปสรรคของโครงการ :-ไม่มี-//-
------------------&&&--------------------
(6) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 50.00 (2023-05-12)
12/05/2566 : กิจกรรมที่ 4 การพัฒนาการสุขาภิบาลอาหารริมบาทวิถี (งบประมาณที่ขอ จำนวน 161,200 บาท งบประมาณที่ได้รับ จำนวน 161,200 บาท, งบประมาณที่ใช้ไป จำนวน 32,040 บาท งบประมาณคงเหลือ จำนวน 129,160 บาท) 4.1 จัดกิจกรรมพัฒนาสุขาภิบาลอาหารริมบาทวิถีในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ผู้เข้าร่วมกิจกรรมประกอบด้วย เจ้าหน้าที่สำนักอนามัย เจ้าหน้าที่สำนักงานเขต ผู้ประกอบการอาหาร จำนวนรวมทั้งสิ้น 150 คน (งบประมาณที่ขอ จำนวน 90,000 บาท งบประมาณที่ได้รับ จำนวน 90,000 บาท งบประมาณที่ใช้ไป จำนวน - บาท งบประมาณคงเหลือ จำนวน 90,000 บาท) - อยู่ระหว่างจัดทำข้อมูลและเตรียมการจัดกิจกรรมฯ - อยู่ระหว่างประสานขอรายชื่อผู้ค้าจากสำนักงานเขต เพื่อจัดกิจกรรมฯ 4.2 การตรวจประเมินติดตาม แผงลอยจำหน่ายอาหารริมบาทวิถีในพื้นที่กรุงเทพมหานคร จำนวน 2 ครั้งๆ ละ 10 วัน (งบประมาณที่ขอ จำนวน 71,200 บาท งบประมาณที่ได้รับ จำนวน 71,200 บาท งบประมาณที่ใช้ไป จำนวน 32,040 บาท งบประมาณคงเหลือ จำนวน 39,160 บาท) (40%) - ขออนุมัติแผนปฏิบัติงานนอกเวลาราชการเรียบร้อยแล้ว - ตรวจประเมินฯ ครั้งที่ 1 เรียบร้อยแล้ว (14 มีนาคม – 5 เมษายน 2566) - จัดทำรายงานสรุปผลการตรวจ ครั้งที่ 1 เสนอผู้บริหารเรียบร้อยแล้ว - จัดทำเรื่องเบิกจ่ายค่าตอบแทนบุคลากรฯ ครั้งที่ 1 เรียบร้อยแล้ว เมื่อวันที่ 18 เมษายน 2566 เป็นเงินจำนวนทั้งสิ้น 32,040 บาท
** ปัญหาของโครงการ :-ไม่มี-//-
** อุปสรรคของโครงการ :-ไม่มี-//-
------------------&&&--------------------
(7) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 48.00 (2023-04-14)
14/04/2566 : กิจกรรมที่ 4 การพัฒนาการสุขาภิบาลอาหารริมบาทวิถี (งบประมาณที่ขอ จำนวน 161,200 บาท งบประมาณที่ได้รับ จำนวน 161,200 บาท, งบประมาณที่ใช้ไป จำนวน - บาท งบประมาณคงเหลือ จำนวน 161,200 บาท) 4.1 จัดกิจกรรมพัฒนาสุขาภิบาลอาหารริมบาทวิถีในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ผู้เข้าร่วมกิจกรรมประกอบด้วย เจ้าหน้าที่สำนักอนามัย เจ้าหน้าที่สำนักงานเขต ผู้ประกอบการอาหาร จำนวนรวมทั้งสิ้น 150 คน (งบประมาณที่ขอ จำนวน 90,000 บาท งบประมาณที่ได้รับ จำนวน 90,000 บาท งบประมาณที่ใช้ไป จำนวน - บาท งบประมาณคงเหลือ จำนวน 90,000 บาท) - อยู่ระหว่างจัดทำข้อมูลและกำหนดการจัดการประชุม - อยู่ระหว่างประสานสำนักเทศกิจเพื่อขอข้อมูลพื้นที่ที่ประกาศจำนวนจุดที่ทำการค้า 4.2 การตรวจประเมินติดตาม แผงลอยจำหน่ายอาหารริมบาทวิถีในพื้นที่กรุงเทพมหานคร จำนวน 2 ครั้งๆ ละ 10 วัน (งบประมาณที่ขอ จำนวน 71,200 บาท งบประมาณที่ได้รับ จำนวน 71,200 บาท งบประมาณที่ใช้ไป จำนวน - บาท งบประมาณคงเหลือ จำนวน 71,200 บาท) - ขออนุมัติแผนปฏิบัติงานนอกเวลาราชการเรียบร้อยแล้ว - ตรวจประเมินฯ ครั้งที่ 1 เรียบร้อยแล้ว (14 มีนาคม – 5 เมษายน 2566) - อยู่ระหว่างจัดทำรายงานสรุปผลการตรวจเสนอผู้บริหาร
** ปัญหาของโครงการ :-ไม่มี-//-
** อุปสรรคของโครงการ :-ไม่มี-//-
------------------&&&--------------------
(8) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 25.00 (2023-03-15)
15/03/2566 : กิจกรรมที่ 4 การพัฒนาการสุขาภิบาลอาหารริมบาทวิถี (งบประมาณที่ขอ จำนวน 161,200 บาท งบประมาณที่ได้รับ จำนวน 161,200 บาท, งบประมาณที่ใช้ไป จำนวน - บาท งบประมาณคงเหลือ จำนวน 161,200 บาท) 4.1 จัดกิจกรรมพัฒนาสุขาภิบาลอาหารริมบาทวิถีในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ผู้เข้าร่วมกิจกรรมประกอบด้วย เจ้าหน้าที่สำนักอนามัย เจ้าหน้าที่สำนักงานเขต ผู้ประกอบการอาหาร จำนวนรวมทั้งสิ้น 150 คน (งบประมาณที่ขอ จำนวน 90,000 บาท งบประมาณที่ได้รับ จำนวน 90,000 บาท งบประมาณที่ใช้ไป จำนวน - บาท งบประมาณคงเหลือ จำนวน 90,000 บาท) - อยู่ระหว่างจัดทำข้อมูลและกำหนดการจัดการประชุม - อยู่ระหว่างประสานสำนักเทศกิจเพื่อขอข้อมูลพื้นที่ที่ประกาศจำนวนจุดที่ทำการค้า 4.2 การตรวจประเมินติดตาม แผงลอยจำหน่ายอาหารริมบาทวิถีในพื้นที่กรุงเทพมหานคร จำนวน 2 ครั้งๆ ละ 10 วัน (งบประมาณที่ขอ จำนวน 71,200 บาท งบประมาณที่ได้รับ จำนวน 71,200 บาท งบประมาณที่ใช้ไป จำนวน - บาท งบประมาณคงเหลือ จำนวน 71,200 บาท) - ขออนุมัติแผนปฏิบัติงานนอกเวลาราชการเรียบร้อยแล้ว - อยู่ระหว่างการตรวจประเมินฯ ครั้งที่ 1 (14 มีนาคม – 5 เมษายน 2566)
** ปัญหาของโครงการ :-ไม่มี-//-
** อุปสรรคของโครงการ :-ไม่มี-//-
------------------&&&--------------------
(9) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 24.00 (2023-02-14)
14/02/2566 : กิจกรรมที่ 4 การพัฒนาการสุขาภิบาลอาหารริมบาทวิถี (งบประมาณที่ขอ จำนวน 161,200 บาท งบประมาณที่ได้รับ จำนวน 161,200 บาท, งบประมาณที่ใช้ไป จำนวน - บาท งบประมาณคงเหลือ จำนวน 161,200 บาท) 4.1 จัดกิจกรรมพัฒนาสุขาภิบาลอาหารริมบาทวิถีในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ผู้เข้าร่วมกิจกรรมประกอบด้วย เจ้าหน้าที่สำนักอนามัย เจ้าหน้าที่สำนักงานเขต ผู้ประกอบการอาหาร จำนวนรวมทั้งสิ้น 150 คน (งบประมาณที่ขอ จำนวน 90,000 บาท งบประมาณที่ได้รับ จำนวน 90,000 บาท งบประมาณที่ใช้ไป จำนวน - บาท งบประมาณคงเหลือ จำนวน 90,000 บาท) - อยู่ระหว่างจัดทำข้อมูลและกำหนดการจัดการประชุม - อยู่ระหว่างประสานสำนักเทศกิจเพื่อขอข้อมูลพื้นที่ที่ประกาศจำนวนจุดที่ทำการค้า 4.2 การตรวจประเมินติดตาม แผงลอยจำหน่ายอาหารริมบาทวิถีในพื้นที่กรุงเทพมหานคร จำนวน 2 ครั้งๆ ละ 10 วัน (งบประมาณที่ขอ จำนวน 71,200 บาท งบประมาณที่ได้รับ จำนวน 71,200 บาท งบประมาณที่ใช้ไป จำนวน - บาท งบประมาณคงเหลือ จำนวน 71,200 บาท) - ขออนุมัติแผนปฏิบัติงานนอกเวลาราชการเรียบร้อยแล้ว - อยู่ระหว่างจัดทำแผนการตรวจประเมินฯ ครั้งที่ 1 (เดือนมีนาคม-เมษายน 2566) -//-
** ปัญหาของโครงการ :-ไม่มี-//-
** อุปสรรคของโครงการ :-ไม่มี-//-
------------------&&&--------------------
(10) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 23.00 (2023-01-28)
28/01/2566 : กิจกรรมที่ 4 การพัฒนาการสุขาภิบาลอาหารริมบาทวิถี (งบประมาณที่ขอ จำนวน 161,200 บาท งบประมาณที่ได้รับ จำนวน 161,200 บาท, งบประมาณที่ใช้ไป จำนวน - บาท งบประมาณคงเหลือ จำนวน 161,200 บาท) 4.1 จัดกิจกรรมพัฒนาสุขาภิบาลอาหารริมบาทวิถีในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ผู้เข้าร่วมกิจกรรมประกอบด้วย เจ้าหน้าที่สำนักอนามัย เจ้าหน้าที่สำนักงานเขต ผู้ประกอบการอาหาร จำนวนรวมทั้งสิ้น 150 คน (งบประมาณที่ขอ จำนวน 90,000 บาท งบประมาณที่ได้รับ จำนวน 90,000 บาท งบประมาณที่ใช้ไป จำนวน - บาท งบประมาณคงเหลือ จำนวน 90,000 บาท) - อยู่ระหว่างจัดทำข้อมูลและกำหนดการจัดการประชุม - อยู่ระหว่างประสานสำนักเทศกิจเพื่อขอข้อมูลพื้นที่ที่ประกาศจำนวนจุดที่ทำการค้า 4.2 การตรวจประเมินติดตาม แผงลอยจำหน่ายอาหารริมบาทวิถีในพื้นที่กรุงเทพมหานคร จำนวน 2 ครั้งๆ ละ 10 วัน (งบประมาณที่ขอ จำนวน 71,200 บาท งบประมาณที่ได้รับ จำนวน 71,200 บาท งบประมาณที่ใช้ไป จำนวน - บาท งบประมาณคงเหลือ จำนวน 71,200 บาท) - ขออนุมัติแผนปฏิบัติงานนอกเวลาราชการเรียบร้อยแล้ว - อยู่ระหว่างประสานและรวบรวมรายชื่อแผงลอยจำหน่ายอาหารริมบาทวิถีเพื่อจัดทำแผนการตรวจประเมิน
** ปัญหาของโครงการ :-ไม่มี-//-
** อุปสรรคของโครงการ :-ไม่มี-//-
------------------&&&--------------------
ตัวชี้วัด : ร้อยละของตัวอย่างอาหารที่ได้รับการสุ่มตรวจไม่พบการปนเปื้อน เชื้อโรค
ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 96
ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 100
ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์ ตัวชี้วัดระดับผลลัพธ์ (outcome)
** ผลการประเมินโครงการ (รายไตรมาส) **