ความคืบหน้าโครงการ ร้อยละ 100
สำนักงานป้องกันและบำบัดการติดยาเสพติด
ดูโครงการแผนปีฯ : พิมพ์ข้อมูล
*** สยป. ประเมินโครงการ : ไตรมาสที่ 1
กรุงเทพมหานครได้ดำเนินการแก้ไขปัญหายาเสพติดในพื้นที่ชุมชนมาอย่างต่อเนื่อง โดยดำเนินการนำร่องการบำบัดในชุมชนตั้งแต่ปี พ.ศ. 2555 จนถึงปี พ.ศ. 2557 มีชุมชนนำร่องดำเนินการในพื้นที่ 50 เขต รวม 50 ชุมชน พบว่าชุมชนนำร่องดังกล่าวสามารถดำเนินการดูแลปัญหาผู้เสพยาเสพติดในชุมชนได้ ประกอบกับผู้บริหารได้มีนโยบายให้ขยายการดำเนินงานในพื้นที่ 50 เขต อีกเขตละ 4 ชุมชน รวม 200 ชุมชน ในระหว่างปี พ.ศ. 2557-2558 โดยใช้ชื่อว่าชุมชนร่วมใจระวังภัยยาเสพติด และการดำเนินโครงการประชารัฐร่วมใจตามนโยบายรัฐบาล ในระหว่างปี พ.ศ. 2559-2560 ที่ดำเนินการในชุมชนที่ขึ้นทะเบียนกับกรุงเทพมหานครทั้งหมด จากผลการประเมินความสามารถของชุมชนในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๖2 ถึงปี พ.ศ. ๒๕๖4 พบว่าจำนวนชุมชนที่ความสามารถของชุมชนในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดตามลำดับ ดังนี้ ปี พ.ศ. 2562 ร้อยละ 84.7 ปี พ.ศ. 2563 ร้อยละ 77.9 ปี พ.ศ. 2564 ร้อยละ 76.5 และปี พ.ศ. 2565 ร้อยละ 81.7 แสดงให้เห็นว่าการดำเนินงานป้องกันละแก้ไขปัญหายาเสพติดในชุมชนโดยชุมชนมีความสำคัญ โดยเฉพาะการบูรณาการความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องภายใต้ความร่วมมือที่เข้มแข็งของชุมชน การดำเนินงานในชุมชนตามแผนพัฒนากรุงเทพมหานคร ระยะ ๒๐ ปี ระยะที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๖๑-๒๕๖๕) ด้านที่ ๑ มหานครปลอดภัย มิติที่ ๑.๒ ปลอดอาชญากรรมและยาเสพติด สำนักงานป้องกันและบำบัดการติดยาเสพติดได้ดำเนินการส่งเสริมและสนับสนุนเพื่อเสริมสร้างให้ชุมชนมีความเข้มแข็งในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในพื้นที่มาอย่างต่อเนื่อง โดยดำเนินการพัฒนาเสริมสร้างศักยภาพให้กับแกนนำชุมชนและผู้เกี่ยวข้องให้สามารถขับเคลื่อนงานด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในชุมชนโดยมีชุมชนเป็นแกนหลักในการดำเนินงานร่วมกับภาคีเครือข่ายต่าง ๆ ในพื้นที่ ในปี พ.ศ. 2562 ได้เริ่มดำเนินงานตามแนวทางการดูแลผู้มีปัญหายาเสพติดโดยใช้ชุมชนเป็นศูนย์กลางหรือเป็นฐาน (Community-Based Treatment - CBTx) และการลดอันตรายจากการใช้ยาเสพติด (Harm Reduction) ในพื้นที่ให้บริการของศูนย์บริการสาธารณสุขที่มีคลินิกบำบัดยาเสพติด พร้อมกับรัฐบาลมีนโยบายให้แต่ละจังหวัดขยายพื้นที่ชุมชนในการดำเนินงานดูแลผู้มีปัญหายาเสพติดโดยใช้ชุมชนเป็นฐานเพิ่มขึ้น ปัจจุบันมีชุมชนเป้าหมายที่ดำเนินงานดังกล่าวประมาณ 130 ชุมชน และจะต้องสนับสนุนให้มีการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งขยายการดำเนินงานให้ครอบคลุมพื้นที่ให้บริการของศูนย์บริการสาธารณสุขทั้ง 69 แห่ง เพื่อยกระดับให้ชุมชนที่มีศักยภาพสามารถดูแลผู้มีปัญหายาเสพติดโดยใช้ชุมชนเป็นเป็นฐาน และเรียนรู้ในการพัฒนาชุมชนด้วยศักยภาพของชุมชน ลดการพึ่งพาภาครัฐให้เหลือน้อยที่สุด โดยภาครัฐเป็นเพียงผู้ให้การสนับสนุนและเปิดโอกาสให้ชุมชนมีการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องต่อไป ซึ่งสอดคล้องกับประมวลกฎหมายยาเสพติดที่ต้องการส่งเสริมให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการบำบัดรักษาฟื้นฟูและติดตามดูแลและช่วยเหลือผู้ติดยาเสพติดหรือผู้ผ่านการบำบัดรักษาฟื้นฟูยาเสพติด
08090000/08090000
๒.๑ เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานดูแลผู้ที่ใช้ยาเสพติดโดยชุมชนเป็นศูนย์กลางให้กับศูนย์บริการสาธารณสุข 69 แห่ง ๒.๒ เพื่อให้มีชุมชนมีส่วนร่วมในการบำบัดฟื้นฟูผู้ที่ใช้ยาเสพติดในชุมชน
จัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินงานดูแลผู้ที่ใช้ยาเสพติดโดยชุมชนเป็นศูนย์กลางให้กับศูนย์บริการสาธารณสุข 69 แห่ง ดังนี้ 1 จัดประชุมชี้แจงทำความเข้าใจการดำเนินงานดูแลผู้ที่ใช้ยาเสพติดโดยชุมชนเป็นศูนย์กลาง จำนวน 2 ครั้ง แบบไป-กลับ ครั้งละ 50 คน กลุ่มเป้าหมายประกอบด้วย ข้าราชการสังกัดกรุงเทพมหานครและบุคคลภายนอก จำนวน 40 คน และเจ้าหน้าที่ดำเนินการ จำนวน 10 คน 2 จัดกิจกรรมเสริมสร้างและพัฒนากลไกในการดูแลผู้ที่ใช้ยาเสพติดโดยชุมชนเป็นศูนย์กลาง ในพื้นที่ศูนย์บริการสาธารณสุข 69 แห่ง ๆ ละ 2 ครั้ง ๆ ละ 35 คน กลุ่มเป้าหมายประกอบด้วย ข้าราชการสังกัดกรุงเทพมหานคร คณะกรรมการชุมชนหรือแกนนำชุมชน ประชาชน และเจ้าหน้าที่ดำเนินการ 3 จัดกิจกรรมขับเคลื่อนการดำเนินงานดูแลผู้ที่ใช้ยาเสพติดโดยชุมชนเป็นศูนย์กลางในพื้นที่กรุงเทพมหานคร จำนวน 4 ครั้ง แบบไป-กลับ ครั้งละ 120 คน กลุ่มเป้าหมายประกอบด้วย ข้าราชการสังกัดกรุงเทพมหานครและบุคคลภายนอก จำนวนครั้งละ 110 คน และเจ้าหน้าที่ดำเนินการ จำนวนครั้งละ 10 คน 4 จัดกิจกรรมเสริมศักยภาพและพัฒนากลไกการบูรณาการดูแลบำบัดฟื้นฟูผู้ใช้ยาเสพติดในชุมชนตามประมวลกฎหมายยาเสพติดในพื้นที่เป้าหมาย แบบไป-กลับ จำนวน 1 ครั้ง กลุ่มเป้าหมายประกอบด้วย ข้าราชการสังกัดกรุงเทพมหานคร แกนนำชุมชนหรือคณะกรรมการชุมชน และอาสาสมัครสาธารณสุข/อาสาสมัครกรุงเทพมหานครเฝ้าระวังภัยและยาเสพติด และผู้เกี่ยวข้อง รวม 230 คน ผู้ดำเนินการเสริมศักยภาพและเจ้าหน้าที่ดำเนินการ รวม 20 คน รวมทั้งสิ้น 250 คน
ด้านที่ ๑ – มหานครปลอดภัย : Bangkok as a Safe City |
๑.๑ - ปลอดมลพิษ |
๑.๑.๒ เด็กและเยาวชนไม่เสพยาเสพติด ผู้เสพผู้ติดเข้าสู่ระบบการบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพที่มีมาตรฐานแ% |
๑.๑.๒.๑ เพิ่มระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด |
(1) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 100.00 (2023-09-07)
07/09/2566 : สรุปโครงการสนับสนุนการดำเนินงานดูแลผู้ที่ใช้ยาเสพติดโดยชุมชนเป็นศูนย์กลาง (CBTx and Harm Reduction) ชื่อโครงการสนับสนุนการดำเนินงานดูแลผู้ที่ใช้ยาเสพติดโดยชุมชนเป็นศูนย์กลาง (CBTx and Harm Reduction) หน่วยงานรับผิดชอบ สำนักงานป้องกันและบำบัดการติดยาเสพติดสำนักอนามัย ปีงบประมาณพ.ศ. ๒๕๖๖ ๑. วัตถุประสงค์ ๑.๑ เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานดูแลผู้ที่ใช้ยาเสพติดโดยชุมชนเป็นศูนย์กลางให้กับศูนย์บริการสาธารณสุข 69 แห่ง ๑.๒ เพื่อให้มีชุมชนมีส่วนร่วมในการบำบัดฟื้นฟูผู้ที่ใช้ยาเสพติดในชุมชน ๒. เป้าหมาย จัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินงานดูแลผู้ที่ใช้ยาเสพติดโดยชุมชนเป็นศูนย์กลาง ให้กับศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๙ แห่ง ๓. งบประมาณ เบิกจ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๖ เงินอุดหนุนรัฐบาล แผนงานยุทธศาสตร์ส่งเสริมการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผลผลิตการจัดบริการสาธารณะ กิจกรรมการจัดบริการสาธารณะด้านสังคม งบเงินอุดหนุน เงินอุดหนุนทั่วไป รายการเงินอุดหนุนสำหรับแก้ไขปัญหายาเสพติดในพื้นที่กรุงเทพมหานครโครงการสนับสนุนการดำเนินงานดูแลผู้ที่ใช้ยาเสพติดโดยชุมชนเป็นศูนย์กลาง (CBTx and Harm Reduction) จำนวนเงินทั้งสิ้น 1,534,๐๐๐บาท (หนึ่งล้านห้าแสนสามหมื่นสี่พันบาทถ้วน) งบประมาณที่ใช้จริง ๑,๐๙๐,๓๙๐ บาท ๔. ผลการดำเนินโครงการ ๔.๑ กิจกรรมที่ ๑ ประชุมชี้แจงทำความเข้าใจการดำเนินงานดูแลผู้ที่ใช้ยาเสพติดโดยชุมชน เป็นศูนย์กลาง เมื่อวันที่ ๑๘ มกราคม ๒๕๖๖ เวลา ๐๓.๓๐ - ๑๖.๐๐ น. ณ ห้องประชุม ชั้น ๒๓ อาคารธานีนพรัตน์ ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร ๒ (ดินแดง) และการประชุมทางไกลผ่านโปรแกรม Microsoft Teams โดยมี นางภาวิณี รุ่งทนต์กิจ รองผู้อำนวยการ สำนักอนามัย เป็นประธานการประชุม ผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วย ผู้อำนวยการสำนักงานป้องกันและบำบัดการติดยาเสพติด ผู้อำนวยการศูนย์บริการสาธารณสุขหรือผู้แทน บุคลากรผู้ปฏิบัติงานด้านการบำบัดฟื้นฟูผู้เสพ ผู้ติดยาเสพติด และเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง รวมทั้งสิ้น ๑๓๒ คน ทั้งนี้ ไม่ได้ใช้งบประมาณ ๔.๒ กิจกรรมที่ ๒ กิจกรรมเสริมสร้างและพัฒนากลไกในการดูแลผู้ที่ใช้ยาเสพติดโดยชุมชนเป็นศูนย์กลางในพื้นที่ศูนย์บริการสาธารณสุข โดยศูนย์บริการสาธารณสุขทั้ง ๖๙ แห่ง เป็นผู้นำหรือผู้สนับสนุนในกิจกรรมเพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูล รับฟังความคิดเห็นข้อเสนอแนะ และสร้างการมีส่วนร่วมของสมาชิก ในชุมชนให้บรรลุเป้าหมายของเวทีประชาคม โดยใช้ข้อมูลทุกด้านที่เกี่ยวข้อง ทั้งจากชุมชน และแหล่งข้อมูลอื่น ๆ โดยใช้งบประมาณในโครงการสนับสนุนการดำเนินงานดูแลผู้ที่ใช้ยาเสพติดโดยชุมชนเป็นศูนย์กลาง (CBTx and Harm Reduction) ผู้เข้าร่วมกิจกรรมประกอบด้วย ข้าราชการสังกัดกรุงเทพมหานคร คณะกรรมการชุมชน หรือแกนนำชุมชน ประชาชน ผู้แทนหน่วยงาน ภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง และเจ้าหน้าที่ดำเนินการ ครั้งละ ๓๕ คน ณ ชุมชนเป้าหมายในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ๖๙ แห่ง จัดกิจกรรมครั้งที่ ๑ ระหว่างวันที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ - ๑๕ มีนาคม ๒๕๖๖ ครั้งที่ ๒ ระหว่างวันที่ ๑๖ - ๓๐ มิถุนายน ๒๕๖๖ ๔.๓ กิจกรรมที่ ๓ กิจกรรมขับเคลื่อนการดำเนินงานดูแลผู้ที่ใช้ยาเสพติดโดยชุมชนเป็นศูนย์กลางในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ได้รับอนุมัติยกเลิกกิจกรรม รายละเอียดตามหนังสือสำนักงานป้องกันและบำบัดการติดยาเสพติด ที่ กท ๐๗๐๙/๑๐๖๑ ลงวันที่ ๖ มิถุนายน ๒๕๖๖ การติดตามความความก้าวหน้าของโครงการสนับสนุนการดำเนินงานดูแลผู้ที่ใช้ยาเสพติดโดยชุมชนเป็นศูนย์กลาง (CBTx and Harm Reduction) และได้บูรณาการกิจกรรมและงบประมาณในโครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทบทวนการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในพื้นที่กรุงเทพมหานคร รวม ๒ กิจกรรม ดังนี้ ๔.๓.๑ กิจกรรมที่ ๑ การประชุมก้าวใหม่สัญจรศูนย์บริการสาธารณสุข เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผลการดำเนินงานบำบัดฟื้นฟูผู้มีปัญหาการใช้ยาเสพติดในชุมชน และการพัฒนาการให้บริการของศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๙ แห่ง กลุ่มเป้าหมายประกอบด้วยบุคลากรศูนย์บริการสาธารณสุข และสำนักงานป้องกันและบำบัดการติดยาเสพติด รวม ๑๕๐ คน รวม ๖ ครั้ง ครั้งละ ๑ วัน ดังนี้ - กลุ่มกรุงเทพกลางและกรุงเทพเหนือ ครั้งที่ ๑ เมื่อวันที่ ๒๐ เมษายน ๒๕๖๖ ณ ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๘ จี๊ด-ทองคำ บำเพ็ญ และครั้งที่ ๒ เมื่อวันที่ ๑๑ สิงหาคม ๒๕๖๖ ณ ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๑ จตุจักร - กลุ่มกรุงเทพใต้และกรุงเทพตะวันออก ครั้งที่ ๑ เมื่อวันที่ ๒๖ เมษายน ๒๕๖๖ และครั้งที่ ๒ เมื่อวันที่ ๔ สิงหาคม ๒๕๖๖ ณ ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๑ วัดธาตุทอง - กลุ่มกรุงธนเหนือและกรุงธนใต้ ครั้งที่ ๑ เมื่อวันที่ ๑๑ พฤษภาคม ๒๕๖๖ และครั้งที่ ๒ เมื่อวันที่ ๒๖ กรกฎาคม ๒๕๖๖ ณ ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๗ ทวีวัฒนา ๔.๓.๒ กิจกรรมที่ ๒ กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนเรียนรู้ทบทวน พัฒนา การดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในพื้นที่กรุงเทพมหานครเพื่อจัดทำแผนงาน โครงการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗ กลุ่มเป้าหมายประกอบด้วย ผู้แทนสำนักงานเขต สำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว สำนักพัฒนาสังคม สำนักการศึกษา สำนักการแพทย์ สำนักเทศกิจ สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล สำนักปลัดกรุงเทมหานคร สำนักอนามัย และภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง รวม ๑๐๐ คน มีกำหนดจัดกิจกรรมในวันที่ ๗ - ๘ กันยายน ๒๕๖๖ ณ โรงแรมปริ้นซ์ พาเลซ มหานาค ๔.๔ กิจกรรมที่ ๔ กิจกรรมเสริมศักยภาพและพัฒนากลไกการบูรณาการดูแลบำบัดฟื้นฟูผู้ใช้ยาเสพติดในชุมชนตามประมวลกฎหมายยาเสพติดในพื้นที่เป้าหมาย เมื่อวันที่ ๑๓ มีนาคม ๒๕๖๖ เวลา ๐๘.๓๐ -๑๖.๓๐ น.ณ โรงแรมรอยัล ซิตี้ เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร โดยมีนางภาวิณี รุ่งทนต์กิจ รองผู้อำนวยการสำนักอนามัย เป็นประธาน ผู้เข้าร่วมประชุมได้แก่ ผู้ปฏิบัติงานดูแลช่วยเหลือผู้ใช้ยาเสพติดในชุมชนในพื้นที่หนองแขมประกอบด้วย เจ้าหน้าที่สำนักงานเขตหนองแขม เจ้าหน้าที่ศูนย์บริการสาธารณสุข ผู้แทนสถานีตำรวจนครบาล ประธานชุมชน อาสาสมัครสาธารณสุข อาสาสมัครเฝ้าระวังภัยและยาเสพติด เจ้าหน้าที่และวิทยากร รวมทั้งสิ้น ๑๘๐ คน
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(2) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 95.00 (2023-08-25)
25/08/2566 : 1.จัดสรรงบประมาณให้สำนักงานเขต 50 เขต เขตละ 40,000 บาท เมื่อวันที่ 11 มกราคม 2566 เพื่อดำเนินการจัดกิจกรรมในชุมชนเป้าหมายด้านการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ตามแนวทางที่ได้ชี้แจงเรียบร้อยแล้ว ดังนี้ 1.1จัดกิจกรรมตามแนวทางขับเคลื่อนการบำบัดฟื้นฟูผู้มีปัญหาการใช้ยาเสพติดในชุมชนโดยชุมชนเป็นฐาน (Community based treatment: CBTx) ต่อเนื่องในชุมชนเป้าหมายเดิม (135 ชุมชน) และขยายการดำเนินการในชุมชนที่มีศักยภาพหรือชุมชนที่มีกองทุนแม่ของแผ่นดิน อย่างน้อยเขตละ 1 ชุมชน ตามบริบทของชุมชนเป้าหมาย และตามความเหมาะสม 1.2จัดกิจกรรมรณรงค์เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในพื้นที่ชุมชนเป้าหมายด้านการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ปีงบประมาณ พ.ศ.2566 เพื่อลดระดับปัญหายาเสพติดในชุมชน 2.ให้คำปรึกษาแนะนำ และติดตามการดำเนินงานเป็นระยะ 3.อยู่ระหว่างรวบรวมข้อมูลเพื่อสรุปผลการดำเนินงาน
** ปัญหาของโครงการ :บุคลิกภาพและธรรมชาติของผู้ป่วยยาเสพติดทำให้การค้ดกรองและจูงใจเข้าสู่ระบบการรักษาทำได้ยาก
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(3) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 80.00 (2023-07-26)
26/07/2566 : 1.กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมเสริมสร้างและพัฒนากลไกลในการดูแลผู้ที่ใช้ยาเสพติดโดยชุมชนเป็นศูนย์กลางในพื้นที่ศูนย์บริการสาธารณสุข ครั้งที่ 2 เรียบร้อยแล้ว และอยู่ระหว่างเตรียมรวบรวมเอกสารการเบิกจ่าย ส่งให้ฝ่ายบริหารงานทั่วไปดำเนินการตามขั้นตอนต่อไป 2.กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมขับเคลื่อนการดำเนินงานดูแลผู้ที่ใช้ยาเสพติดโดยชุมชนเป็นศูนย์กลางในพื้นที่ กรุงเทพมหานคร ได้รับอนุมัติยกเลิกกิจกรรม เมื่อวันที่ 20 มิ.ย. 2566 โดยบูรณาการกิจกรรมของโครงการติดตามดูแลช่วยเหลือผู้ที่เข้ารับการบำบัดฟื้นฟูยาเสพติดอย่างต่อเนื่อง และโครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทบทวนการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในพื้นที่ กรุงเทพมหานคร 3.จัดกิจกรรมที่ 4 กิจกรรมเสริมศักยภาพและพัฒนากลไกการบูรณาการดูแลบำบัดฟื้นฟูผู้ใช้ยาเสพติดโดยชุมชนตามประมวลกฎหมายยาเสพติดในพื้นที่เป้าหมาย เรียบร้อยแล้ว
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(4) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 72.00 (2023-06-27)
27/06/2566 : 1.กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมเสริมสร้างและพัฒนากลไกลในการดูแลผู้ที่ใช้ยาเสพติดโดยชุมชนเป็นศูนย์กลางในพื้นที่ศูนย์บริการสาธารณสุข อยู่ระหว่างจัดกิจกรรม ครั้งที่ 2 ระหว่างวันที่ 16 - 30 มิ.ย. 2566 ณ ชุมชนเป้าหมายในพื้นที่กรุงเทพมหานคร 2.กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมขับเคลื่อนการดำเนินงานดูแลผู้ที่ใช้ยาเสพติดโดยชุมชนเป็นศูนย์กลางในพื้นที่ กรุงเทพมหานคร ได้รับอนุมัติยกเลิกกิจกรรม เมื่อวันที่ 20 มิ.ย. 2566 รายละเอียดตามหนังสือ ที่ กท0709/1061 ลงวันที่ 6 มิ.ย.66 เรื่องขอยกเลิกกิจกรรมในโครงการสนับสนุนการดำเนินงานดูแลผู้ที่ใช้ยาเสพติดโดยชุมชนเป็นศูนย์กลาง (CBT x and Harm Reduction) โดยบูรณาการกิจกรรม ของโครงการติดตามดูแลช่วยเหลือผู้ที่เข้ารับการบำบัดฟื้นฟูยาเสพติดอย่างต่อเนื่อง และโครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทบทวนการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในพื้นที่กรุงเทพมหานคร 3.จัดกิจกรรมที่ 4 กิจกรรมเสริมศักยภาพและพัฒนากลไกการบูรณาการดูแลบำบัดฟื้นฟูผู้ใช้ยาเสพติดโดยชุมชนตามประมวลกฎหมายยาเสพติดในพื้นที่เป้าหมาย เรียบร้อยแล้ว 4.อยู่ระหว่างเตรียมรวบรวมเอกสารการเบิกจ่ายส่งให้ฝ่ายบริหารงานทั่วไปดำเนินการตามขั้นตอนต่อไป
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(5) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 54.00 (2023-05-29)
29/05/2566 : 1.จัดกิจกรรมที่ 2 กิจกรรมเสริมสร้างและพัฒนากลไกลในการดูแลผู้ที่ใช้ยาเสพติดโดยชุมชนเป็นศูนย์กลาง ในพื้นที่ศูนย์บริการสาธารณสุข เรียบร้อยแล้ว ระหว่างวันที่ 1-14 มี.ค. 2566 ณ ชุมชนเป้าหมายในพื้นที่ ศูนย์บริการสาธารณสุขทั้ง 69 แห่ง 2. กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมขับเคลื่อนการดำเนินงานดูแลผู้ที่ใช้ยาเสพติดโดยชุมชนเป็นศูนย์กลางในพื้นที่ กรุงเทพมหานคร ได้รับอนุมัติเปลี่ยนแปลงรายละเอียดกิจกรรม เมื่อวันที่ 6 ก.พ. 2566 และอยู่ระหว่างประสานงานผู้เกี่ยวข้องเพื่อเตรียมความพร้อมในการจัดกิจกรรม 3. จัดกิจกรรมที่ 4 กิจกรรมเสริมศักยภาพและพัฒนากลไกการบูรณาการดูแลบำบัดฟื้นฟูผู้ใช้ยาเสพติด โดยชุมชนตามประมวลกฎหมายยาเสพติดในพื้นที่เป้าหมาย เรียบร้อยแล้ว เมื่อวันที่ 10 มี.ค. 2566 ณ โรงแรมรอยัล ซิตี้ เขตบางพลัด 4. อยู่ระหว่างรวบรวมเอกสารการเบิกจ่ายส่งให้ฝ่ายบริหารงานทั่วไปดำเนินการตามขั้นตอนต่อไป
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(6) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 54.00 (2023-04-27)
27/04/2566 : 1.จัดกิจกรรมที่ 2 กิจกรรมเสริมสร้างและพัฒนากลไกลในการดูแลผู้ที่ใช้ยาเสพติดโดยชุมชนเป็นศูนย์กลาง ในพื้นที่ศูนย์บริการสาธารณสุข เรียบร้อยแล้ว ระหว่างวันที่ 1-14 มี.ค. 2566 ณ ชุมชนเป้าหมายในพื้นที่ ศูนย์บริการสาธารณสุขทั้ง 69 แห่ง 2. กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมขับเคลื่อนการดำเนินงานดูแลผู้ที่ใช้ยาเสพติดโดยชุมชนเป็นศูนย์กลางในพื้นที่ กรุงเทพมหานคร ได้รับอนุมัติเปลี่ยนแปลงรายละเอียดกิจกรรม เมื่อวันที่ 6 ก.พ. 2566 และอยู่ระหว่างประสานงานผู้เกี่ยวข้องเพื่อเตรียมความพร้อมในการจัดกิจกรรม 3. จัดกิจกรรมที่ 4 กิจกรรมเสริมศักยภาพและพัฒนากลไกการบูรณาการดูแลบำบัดฟื้นฟูผู้ใช้ยาเสพติด โดยชุมชนตามประมวลกฎหมายยาเสพติดในพื้นที่เป้าหมาย เรียบร้อยแล้ว เมื่อวันที่ 10 มี.ค. 2566 ณ โรงแรมรอยัล ซิตี้ เขตบางพลัด 4. อยู่ระหว่างรวบรวมเอกสารการเบิกจ่ายส่งให้ฝ่ายบริหารงานทั่วไปดำเนินการตามขั้นตอนต่อไป
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(7) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 54.00 (2023-03-24)
24/03/2566 : 1.จัดกิจกรรมที่ 2 กิจกรรมเสริมสร้างและพัฒนากลไกลในการดูแลผู้ที่ใช้ยาเสพติดโดยชุมชนเป็นศูนย์กลาง ในพื้นที่ศูนย์บริการสาธารณสุข เรียบร้อยแล้ว ระหว่างวันที่ 1-14 มี.ค. 2566 ณ ชุมชนเป้าหมายในพื้นที่ศูนย์บริการสาธารณสุขทั้ง 69 แห่ง 2.กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมขับเคลื่อนการดำเนินงานดูแลผู้ที่ใช้ยาเสพติดโดยชุมชนเป็นศูนย์กลางในพื้นที่ กรุงเทพมหานคร ได้รับอนุมัติเปลี่ยนแปลงรายละเอียดกิจกรรม เมื่อวันที่ 6 ก.พ. 2566 และอยู่ระหว่างประสานงานผู้เกี่ยวข้องเพื่อเตรียมความพร้อมในการจัดกิจกรรม 3.จัดกิจกรรมที่ 4 กิจกรรมเสริมศักยภาพและพัฒนากลไกการบูรณาการดูแลบำบัดฟื้นฟูผู้ใช้ยาเสพติดโดยชุมชนตามประมวลกฎหมายยาเสพติดในพื้นที่เป้าหมาย เรียบร้อยแล้ว เมื่อวันที่ 10 มี.ค. 2566 ณ โรงแรมรอยัล ซิตี้ เขตบางพลัด 4.อยู่ระหว่างรวบรวมเอกสารการเบิกจ่ายส่งให้ฝ่ายบริหารงานทั่วไปดำเนินการตามขั้นตอนต่อไป
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(8) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 13.00 (2023-02-28)
28/02/2566 : 1.กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมเสริมสร้างและพัฒนากลไกลในการดูแลผู้ที่ใช้ยาเสพติดโดยชุมชนเป็นศูนย์กลางในพื้นที่ศูนย์บริการสาธารณสุข อยู่ระหว่างจัดทำคำสั่งคณะทำงาน จัดเตรียมเอกสาร และประสานงานผู้เกี่ยวข้องจากศูนย์บริการสาธารณสุขทั้ง 69 แห่ง 2.กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมขับเคลื่อนการดำเนินงานดูแลผู้ที่ใช้ยาเสพติดโดยชุมชนเป็นศูนย์กลางในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ได้รับอนุมัติเปลี่ยนแปลงรายละเอียดกิจกรรม เมื่อวันที่ 6 ก.พ. 2566 และอยู่ระหว่างประสานงานผู้เกี่ยวข้องเพื่อเตรียมความพร้อมในการจัดกิจกรรม 3.กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมเสริมศักยภาพและพัฒนากลไกการบูรณาการดูแลบำบัดฟื้นฟูผู้ใช้ยาเสพติด โดยชุมชนตามประมวลกฎหมายยาเสพติดในพื้นที่เป้าหมาย ได้รับอนุมัติเปลี่ยนแปลงรายละเอียดกิจกรรมเมื่อวันที่ 6 ก.พ. 2566 และอยู่ระหว่างประสานงานผู้เกี่ยวข้องเพื่อเตรียมความพร้อมในการจัดกิจกรรม
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(9) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 10.00 (2023-01-30)
30/01/2566 : 1. จัดกิจกรรมที่ 1 ประชุมชี้แจงทำความเข้าใจการดำเนินงานดูแลผู้ที่ใช้ยาเสพติดโดยชุมชนเป็นศูนย์กลาง เมื่อวันที่ 18 มกราคม 2566 แบบออนไลน์และไม่ใช้งบประมาณ 2. กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมเสริมสร้างและพัฒนากลไกลในการดูแลผู้ที่ใช้ยาเสพติดโดยชุมชนเป็นศูนย์กลาง ในพื้นที่ศูนย์บริการสาธารณสุข อยู่ระหว่างจัดทำคำสั่งคณะทำงาน จัดเตรียมเอกสาร และประสานงาน ผู้เกี่ยวข้องจากศูนย์บริการสาธารณสุขทั้ง 69 แห่ง 3. กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมขับเคลื่อนการดำเนินงานดูแลผู้ที่ใช้ยาเสพติดโดยชุมชนเป็นศูนย์กลางในพื้นที่ กรุงเทพมหานคร อยู่ระหว่างขออนุมัติเปลี่ยนแปลงรายละเอียดกิจกรรม และประสานงานผู้เกี่ยวข้อง 4. กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมเสริมศักยภาพและพัฒนากลไกการบูรณาการดูแลบำบัดฟื้นฟูผู้ใช้ยาเสพติด โดยชุมชนตามประมวลกฎหมายยาเสพติดในพื้นที่เป้าหมาย อยู่ระหว่างขออนุมัติเปลี่ยนแปลง รายละเอียดกิจกรรม และประสานงานผู้เกี่ยวข้อง
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
ตัวชี้วัด : ระดับความสำเร็จในการบำบัดฟื้นฟูผู้มีปัญหาการใช้ยาเสพติด ในชุมชน
ค่าเป้าหมาย ระดับ : 5
ผลงานที่ทำได้ ระดับ : 5
ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์ ตัวชี้วัดระดับผลลัพธ์ (outcome)
** ผลการประเมินโครงการ (รายไตรมาส) **