ความคืบหน้าโครงการ ร้อยละ 100
สำนักงานป้องกันและบำบัดการติดยาเสพติด
ดูโครงการแผนปีฯ : พิมพ์ข้อมูล
*** สยป. ประเมินโครงการ : ไตรมาสที่ 1
ตามแนวคิดการดูแลช่วยเหลือผู้มีปัญหายาเสพติดในฐานะที่เป็นผู้ป่วย จำเป็นที่พวกเขาจะต้องได้รับการติดตามดูแลช่วยเหลือแม้ว่าจะยังไม่ได้เข้าสู่กระบวนการบำบัดรักษาฟื้นฟู หรืออยู่ระหว่างการบำบัดฟื้นฟู หรือสิ้นสุดการบำบัดฟื้นฟูแล้วก็ตาม ซึ่งประมวลกฎหมายยาเสพติดฉบับใหม่ พ.ศ. ๒๕๖๔ ได้กำหนดให้สถานพยาบาลยาเสพติดหรือสถานฟื้นฟูสมรรถภาพติดตามดูแลผู้เข้ารับการบำบัดฟื้นฟูอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งกำหนดให้มีการฟื้นฟูสภาพทางสังคมให้แก่ผู้ติดยาเสพติดหรือผู้ผ่านการบำบัดรักษาฟื้นฟู เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ติดยาเสพติดหรือผู้ผ่านการบำบัดรักษาฟื้นฟู ให้ได้รับโอกาสและการยอมรับในสังคม ดังนั้นจึงจำเป็นที่พวกเขาจะต้องได้รับการดูแลช่วยเหลือจากหน่วยงานหรือผู้เกี่ยวข้อง โดยผ่านการประสานความร่วมมือจากภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาชน ในการติดตาม ดูแล ช่วยเหลือ ตามความจำเป็นและเหมาะสม สำนักงานป้องกันและบำบัดการติดยาเสพติด จึงจัดทำโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการติดตามดูแลช่วยเหลือผู้ผ่านการบำบัดรักษาฟื้นฟูยาเสพติด เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานด้านการติดตามดูแลช่วยเหลือแก่ ผู้ที่ผ่านการบำบัดรักษาฟื้นฟูยาเสพติดในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ให้สามารถดำเนินชีวิตอย่างมีคุณภาพในสังคมได้ต่อไป ตลอดจนสนับสนุนเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
08090000/08090000
๒.๑ เพื่อเพิ่มศักยภาพให้กับเจ้าหน้าที่ในการติดตามดูแลผู้ผ่านการบำบัดรักษาฟื้นฟูยาเสพติด ๒.๒ เพื่อให้ผู้ที่ติดยาเสพติดและผู้ที่ผ่านการบำบัดฟื้นฟูยาเสพติดในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ได้รับการติดตามดูแลต่อเนื่อง
๓.๑ จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การติดตามดูแลผู้ผ่านการบำบัดรักษาฟื้นฟูยาเสพติดต่อเนื่อง แบบไป-กลับ จำนวน ๒ รุ่น ๆ ละ ๑ วัน กลุ่มเป้าหมายประกอบด้วยเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานและผู้เกี่ยวข้อง สำนักงานเขตละ ๔ คน รวม ๕๐ เขต จำนวน ๒๐๐ คน ผู้ดำเนินการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เจ้าหน้าที่ดำเนินการและผู้เกี่ยวข้อง จำนวนรุ่นละ ๑๕ คน รวมรุ่นละ ๑๑๕ คน รวมจำนวนทั้งสิ้น ๒๓๐ คน ๓.๒ จัดกิจกรรม “พิชิตใจ Work Shop” แบบไป-กลับ จำนวน ๑๐ ครั้ง ๆ ละ ๑ วัน กลุ่มเป้าหมายประกอบด้วย ผู้ผ่านการบำบัดฟื้นฟู และผู้เกี่ยวข้อง (เช่น ครอบครัว ชุมชน เป็นต้น) ครั้งละ ๔๐ คน ผู้ดำเนินการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และเจ้าหน้าที่ดำเนินการ ครั้งละ ๘ คน รวมครั้งละ ๔๘ คน
ด้านที่ ๑ – มหานครปลอดภัย : Bangkok as a Safe City |
๑.๑ - ปลอดมลพิษ |
๑.๑.๒ เด็กและเยาวชนไม่เสพยาเสพติด ผู้เสพผู้ติดเข้าสู่ระบบการบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพที่มีมาตรฐานแ% |
๑.๑.๒.๓ บำบัดรักษาฟื้นฟู ติดตามดูแลผู้เสพผู้ติดยา/สารเสพติดให้สามารถกลับไป ดำเนินชีวิตได้ตามปกติในสังคม |
(1) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 100.00 (2023-09-07)
07/09/2566 : สรุปผลการดำเนินงานโครงการโครงการติดตามดูแลช่วยเหลือผู้ที่เข้ารับการบำบัดฟื้นฟูยาเสพติดอย่างต่อเนื่อง ชื่อโครงการติดตามดูแลช่วยเหลือผู้ที่เข้ารับการบำบัดฟื้นฟูยาเสพติดอย่างต่อเนื่อง หน่วยงานรับผิดชอบสำนักงานป้องกันและบำบัดการติดยาเสพติด ปีงบประมาณพ.ศ.2566 1.วัตถุประสงค์ 1.1 เพื่อพัฒนากรอบแนวคิดที่ถูกต้องในการติดตามดูแลช่วยเหลือผู้ที่เข้ารับการบำบัดฟื้นฟูยาเสพติดอย่างต่อเนื่องให้กับเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง 1.2 เพื่อให้เจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องสามารถปฏิบัติงานได้อย่างเหมาะสม 2.เป้าหมาย จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนความรู้ด้านติดตามดูแลช่วยเหลือผู้ที่เข้ารับการบำบัดฟื้นฟูยาเสพติดอย่างต่อเนื่อง (continuum of substance abuse care) แบบไป - กลับ ครั้งละ 1 วัน จำนวน 2 ครั้ง ๆ ละ 160 คน รวม 2 ครั้ง จำนวน 320 คน กลุ่มเป้าหมายประกอบด้วย - เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานบำบัดฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดจากศูนย์บริการสาธารณสุข (คลินิกก้าวใหม่ และก้าวใหม่พลัส) และสถานฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด จำนวนครั้งละ 142 คน - ผู้ดำเนินการแลกเปลี่ยนความรู้ เจ้าหน้าที่ดำเนินการและผู้เกี่ยวข้อง ครั้งละ 18 คน 3.งบประมาณ เบิกจ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566 เงินอุดหนุนรัฐบาล แผนงานยุทธศาสตร์ส่งเสริมการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผลผลิตการจัดบริการสาธารณะ กิจกรรมการจัดบริการสาธารณะด้านสังคม งบเงินอุดหนุน เงินอุดหนุนทั่วไป รายการเงินอุดหนุนสำหรับแก้ไขปัญหายาเสพติดในพื้นที่กรุงเทพมหานคร โครงการติดตามดูแลช่วยเหลือผู้ที่เข้ารับการบำบัดฟื้นฟูยาเสพติดอย่างต่อเนื่อง เป็นเงิน 266,000 บาท (สองแสนหกหมื่นหกพันบาทถ้วน) งบประมาณที่ใช้จริง 204,128 เนื่องจากสถานการณ์เลือกตั้ง ปี 2566 จึงขออนุมัติเปลี่ยนแปลงรายละเอียดการดำเนินโครงการ จากเดิม ดำเนินการเดือนมีนาคมถึงเดือนมิถุนายน 2566 เป็น ดำเนินการระหว่างเดือนเมษายน - กรกฎาคม 2566 และเปลี่ยนแปลงรายละเอียดรายการค่าใช้จ่ายในกิจกรรมแลกเปลี่ยนความรู้ด้านติดตามดูแลช่วยเหลือผู้ที่เข้ารับการบำบัดฟื้นฟูยาเสพติดอย่างต่อเนื่อง จากเดิม 266,000 บาท เป็น จำนวนเงิน 252,000 บาท ดังนี้ 1.ค่าตอบแทนผู้ดำเนินการแลกเปลี่ยนความรู้ จากเดิม จำนวนเงิน 36,000 บาท เป็นจำนวนเงิน 18,000 บาท 2.ค่าวัสดุในการจัดกิจกรรม จากเดิม จำนวนเงิน 6,000 บาท เป็นจำนวนเงิน 10,000 บาท รายละเอียดตามหนังสือ ที่ กท0709/316 ลงวันที่ 13 ก.พ.2566 4.ผลการดำเนินงาน โครงการติดตามดูแลช่วยเหลือผู้ที่เข้ารับการรักษาบำบัดฟื้นฟูยาเสพติดอย่างต่อเนื่อง กิจกรรมแลกเปลี่ยนความรู้ด้านติดตามดูแลช่วยเหลือผู้ที่เข้ารับการบำบัดฟื้นฟูยาเสพติดอย่างต่อเนื่อง (continuum of substance abuse care) ครั้งที่ 1 วันที่ 29 พฤษภาคม 2566 สถานที่ โรงแรมมารวย การ์เด้น เขตจตุจักร จำนวนผู้เข้าร่วม เจ้าหน้าที่และวิทยากร รวมทั้งสิ้น 141 คน รายละเอียดการดำเนินโครงการ เวลา 08.45 - 09.00 น. พิธีเปิดกิจกรรมแลกเปลี่ยนความรู้ด้านติดตามดูแลช่วยเหลือผู้ที่เข้ารับการบำบัดฟื้นฟูยาเสพติดอย่างต่อเนื่อง (continuum of substance abuse care) โดย นายแพทย์ธนัช พจน์พิศุทธิพงศ์ ผู้อำนวยการสำนักงานป้องกันและบำบัดการติดยาเสพติด เวลา 09.00 - 12.00 น. กิจกรรมแลกเปลี่ยนความรู้ เรื่อง “การติดตามดูแลช่วยเหลือผู้ใช้ยาเสพติดอย่างต่อเนื่อง รูปแบบ Case Manager” โดยคณะวิทยากรจากสถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี (สบยช.) จำนวน 3 ท่าน ได้แก่ 1. นางสาวกาญจนา ภูยาธร ตำแหน่ง นักสังคมสงเคราะห์ชำนาญการพิเศษ 2.นางสาวรัชนีกร อินทุประภา ตำแหน่ง นักสังคมสงเคราะห์ชำนาญการ และ 3.นางสาวอมาวสี กลั่นสุวรรณ ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ โดยทีมวิทยากรแนะนำแนวทางการจัดการรายกรณี (Case management) และการพัฒนาทักษะในการเป็นผู้จัดการรายกรณีอย่างเหมาะสม เวลา 13.00 - 15.00 น. กิจกรรมแลกเปลี่ยนความรู้ เรื่อง “การติดตามดูแลช่วยเหลือผู้ใช้ยาเสพติดอย่างต่อเนื่อง รูปแบบ Case Manager” โดยคณะวิทยากรจากสถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี (สบยช.) จำนวน 3 ท่าน ได้แก่ 1. นางสาวกาญจนา ภูยาธร ตำแหน่ง นักสังคมสงเคราะห์ชำนาญการพิเศษ 2.นางสาวรัชนีกร อินทุประภา ตำแหน่ง นักสังคมสงเคราะห์ชำนาญการ และ 3.นางสาวอมาวสี กลั่นสุวรรณ ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ ซึ่งได้ให้การแลกเปลี่ยนถึงแนวทางการติดตามดูแลช่วยเหลือผู้ที่เข้ารับการบำบัดฯ อย่างต่อเนื่อง เวลา 15.00 – 16.00 น. สรุปและตอบข้อซักถามเกี่ยวกับแนวทางการติดตามดูแลช่วยเหลือผู้ที่เข้ารับการบำบัดฟื้นฟูยาเสพติดอย่างต่อเนื่องอย่างต่อเนื่อง และให้การบ้านในเรื่องการฝึกวางแผนพัฒนาระบบติดตามการรักษาและดูแลอย่างต่อเนื่องของ กทม. โดยให้แต่ละกลุ่มนำเสนอข้อมูลในกิจกรรมครั้งต่อไป (ครั้งที่ 2 วันที่ 14 กรกฎาคม 2566) ครั้งที่ 2 วันที่ 14 กรกฎาคม 2566 สถานที่ โรงแรมมารวย การ์เด้น เขตจตุจักร จำนวนผู้เข้าร่วม เจ้าหน้าที่และวิทยากร รวมทั้งสิ้น 130 คน รายละเอียดการดำเนินโครงการ เวลา 09.00 - 12.00 น. กิจกรรมแลกเปลี่ยนความรู้ เรื่อง “ แนวทางสร้างเสริมศักยภาพการดำเนินงานติดตามดูแลช่วยเหลือฟื้นฟู ผู้ติดยาเสพติดอย่างต่อเนื่องของกรุงเทพมหานคร” โดยคณะวิทยากรจากสถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี (สบยช.) จำนวน 3 ท่าน ได้แก่ 1. นางสาวกาญจนา ภูยาธร ตำแหน่ง นักสังคมสงเคราะห์ชำนาญการพิเศษ 2.นางสาวรัชนีกร อินทุประภา ตำแหน่ง นักสังคมสงเคราะห์ชำนาญการ และ 3.นางสาวอมาวสี กลั่นสุวรรณ ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ โดยให้แต่ละกลุ่มนำเสนอการบ้านที่ได้รับในการครั้งก่อน เกี่ยวกับวางแผนพัฒนาระบบติดตามการรักษาและดูแลอย่างต่อเนื่องของ กทม. ซึ่งพบว่า ผู้เข้าร่วมกิจกรรมเล็งเห็นถึงความสำคัญในการทำงานติดตามดูแลอย่างต่อเนื่อง แต่ยังคงมีข้อจำกัดในเรื่องของการส่งต่อหน่วยงานอื่นๆ เพื่อให้การช่วยเหลือเคส ตลอดจนกำลังคนในการติดตามมีไม่เพียงพอ จึงมีการคิดนำเอาเทคโนโลยีการสื่อสารแบบต่างๆ เข้ามาช่วยในการเพิ่มช่องทางติดตามที่หลากหลาย ตอบสนองต่อความต้องการของผู้รับบริการมากขึ้น เวลา 13.00 - 15.00 น. กิจกรรมแลกเปลี่ยนความรู้ เรื่อง “ทบทวนการดำเนินงานติดตามดูแลช่วยเหลือฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดอย่างต่อเนื่อง (continuum of substance abuse care)” โดยคณะวิทยากรจากสถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี (สบยช.) จำนวน 3 ท่าน ได้แก่ 1. นางสาวกาญจนา ภูยาธร ตำแหน่ง นักสังคมสงเคราะห์ชำนาญการพิเศษ 2.นางสาวรัชนีกร อินทุประภา ตำแหน่ง นักสังคมสงเคราะห์ชำนาญการ และ 3.นางสาวอมาวสี กลั่นสุวรรณ ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ สรุปสิ่งที่ได้แลกเปลี่ยนความรู้ตลอดการเข้าร่วมโครงการ โดยกำหนดเป้าหมาย กระบวนการ จนถึงผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้น และการดำเนินงานอย่างสอดคล้องเพื่อไปถึงเป้าหมายในการให้บริการ ซึ่งผู้เข้าร่วมกิจกรรมเกิดความเข้าใจและสามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้เพื่อวางแนวทางการดำเนินงานติดตามดูแลช่วยเหลือฟื้นฟู เวลา 15.00 – 16.00 น. สรุปและตอบข้อซักถามเกี่ยวกับแนวทางการติดตามดูแลช่วยเหลือผู้ที่เข้ารับการบำบัดฟื้นฟูยาเสพติดอย่างต่อเนื่อง และพิธีปิดกิจกรรม
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(2) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 97.00 (2023-08-25)
25/08/2566 : 1 จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนความรู้ด้านการติดตามดูแลช่วยเหลือผู้ที่เข้ารับการบำบัดฟื้นฟูยาเสพติดอย่างต่อเนื่อง (continuum of substance abuse care) ครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 เรียบร้อยแล้ว 2.จัดส่งเอกสารเพื่อเบิกจ่ายงบประมาณตามขั้นตอนเรียบร้อยแล้ว 3.อยู่ระหว่างสรุปรายงานผลการดำเนินโครงการเสนอผู้บริหารเรียบร้อยแล้ว
** ปัญหาของโครงการ :- ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ : ไม่มี
------------------&&&--------------------
(3) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 90.00 (2023-07-26)
26/07/2566 : โครงการติดตามดูแลช่วยเหลือผู้ที่เข้ารับการบำบัดฟื้นฟูยาเสพติดอย่างต่อเนื่อง กิจกรรมแลกเปลี่ยนความรู้ด้านติดตามดูแลช่วยเหลือผู้ที่เข้ารับการบำบัดฟื้นฟูผู้ใช้ยาเสพติดอย่างต่อเนื่อง (continuum of substance abuse care) รายละเอียดการดำเนินโครงการ 1. จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนความรู้ด้านการติดตามดูแลช่วยเหลือผู้ที่เข้ารับการบำบัดฟื้นฟูยาเสพติด อย่างต่อเนื่อง (continuum of substance abuse care) ครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 เรียบร้อยแล้ว 2. จัดส่งเอกสารเพื่อเบิกจ่ายงบประมาณตามขั้นตอนเรียบร้อยแล้ว 3. อยู่ระหว่างสรุปรายงานผลการดำเนินโครงการเสนอผู้บริหาร
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(4) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 75.00 (2023-06-27)
1.จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนความรู้ด้านการติดตามดูแลช่วยเหลือผู้ที่เข้ารับการบำบัดฟื้นฟูยาเสพติดอย่างต่อเนื่อง (continuum of substance abuse care) ครั้งที่ 1 เรียบร้อยแล้ว เมื่อวันที่ 29 พ.ค. 2566 ณ โรงแรมมารวย การ์เด้น เขตจตุจักร โดยมีกำหนดจัดกิจกรรม ครั้งที่ 2ในวันที่ 14 ก.ค.2566 2.จัดส่งเอกสารเพื่อเบิกจ่ายงบประมาณตามขั้นตอนเรียบร้อยแล้ว
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(5) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 65.00 (2023-05-29)
29/05/2566 : 1.ประสานฝ่ายบริหารงานทั่วไปจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์เรียบร้อยแล้ว 2.อยู่ระหว่างประสานผู้ดำเนินการแลกเปลี่ยนความรู้และผู้เกี่ยวข้องเพื่อเตรียมความพร้อมในการจัดกิจกรรม โดยมีการเปลี่ยนแปลงกำหนดจัดกิจกรรมให้สอดคล้องกับนโยบายผู้บริหาร
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(6) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 65.00 (2023-04-27)
27/04/2566 : 1.ประสานฝ่ายบริหารงานทั่วไปจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์เรียบร้อยแล้ว 2.อยู่ระหว่างประสานผู้ดำเนินการแลกเปลี่ยนความรู้และผู้เกี่ยวข้องเพื่อเตรียมความพร้อมในการจัดกิจกรรม โดยมีการเปลี่ยนแปลงกำหนดจัดกิจกรรมให้สอดคล้องกับนโยบายผู้บริหาร
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(7) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 65.00 (2023-03-24)
24/03/2566 : 1.จัดทำคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการฯ เรียบร้อยแล้ว เมื่อวันที่ 24 ม.ค. 2566 โดย ผอ.สนอ.ลงนามเมื่อวันที่ 6 ก.พ. 2566 2.ขออนุมัติเปลี่ยนแปลงรายละเอียดกิจกรรม เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2566 ได้รับอนุมัติเมื่อวันที่ 15 ก.พ. 2566 3.ประสานฝ่ายบริหารงานทั่วไปจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์เรียบร้อยแล้ว เมื่อวันที่ 23 ก.พ. 2566 4.อยู่ระหว่างประสานผู้ดำเนินการแลกเปลี่ยนความรู้และผู้เกี่ยวข้องเพื่อเตรียมความพร้อมในการจัด กิจกรรม โดยกำหนดจัดกิจกรรมรวม 2 รุ่น ได้แก่ รุ่นที่ 1 ในวันที่ 28 เม.ย. 2566 และรุ่นที่ 2 ในวันที่ 14 ก.ค. 2566 ณ โรงแรมมารวย การ์เด้น เขตจตุจักร
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(8) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 60.00 (2023-02-28)
28/02/2566 : อยู่ระหว่างประสานผู้รับจ้างเพื่อดำเนินการปรับแก้ไขสื่อตามแนวทางการจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ของสำนักงานประชาสัมพันธ์
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(9) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 55.00 (2023-01-30)
30/01/2566 : กิจกรรมที่ 2 จัดทำสื่ออิเล็กทรอนิกส์ช่วยสนับสนุนการติดตามดูแลช่วยเหลือผู้ผ่านการบำบัดฟื้นฟู 1.อยู่ระหว่างการเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการตรวจรับวัสดุ 2.อยู่ระหว่างประสานผู้รับจ้างเพื่อดำเนินการปรับแก้ไขสื่อตามแนวทางการจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ของสำนักงานประชาสัมพันธ์
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
ตัวชี้วัด : ร้อยละของผู้ป่วยยาเสพติดเข้าสู่กระบวนการบำบัดรักษา ได้รับการดูแลอย่างมีคุณภาพต่อเนื่องจนถึง การติดตาม (Retention Rate) (ผลลัพธ์)
ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 60
ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 33.12
ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์ ตัวชี้วัดระดับผลลัพธ์ (outcome)
** ผลการประเมินโครงการ (รายไตรมาส) **