ความคืบหน้าโครงการ ร้อยละ 100
นางสาวลักคะณา เสโนฤทธิ์ โทร 3428
ดูโครงการแผนปีฯ : พิมพ์ข้อมูล
*** สยป. ประเมินโครงการ : ไตรมาสที่ 1
สภาพการเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศประกอบกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 รวมทั้งยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580)แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่12 (พ.ศ.2560-2564) แผนการศึกษาแห่งชาติ (พ.ศ.๒๕๖๐-๒๕๗๕)พระราชบัญญัติ การพัฒนาเด็กปฐมวัยพ.ศ. ๒๕๖๒ แผนยุทธศาสตร์ชาติด้านเด็กปฐมวัย(พ.ศ.2560-2564) นำไปสู่กรอบการกำหนดทักษะสำคัญในศตวรรษที่ 21 ที่มีความสำคัญต่อการกำหนดเป้าหมายในการพัฒนาเด็กปฐมวัยให้มีความสอดคล้องและทันต่อการเปลี่ยนแปลงทุกด้าน แผนพัฒนากรุงเทพมหานคร ระยะ ๒๐ ปี ระยะที่ ๒ (พ.ศ.๒๕๖๑-๒๕๖๕) กรุงเทพมหานครมีนโยบายให้มีการพัฒนาคุณภาพการศึกษาทุกกลุ่มเป้าหมายโดยกำหนดแผนพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษากรุงเทพมหานคร ด้านที่ ๓มหานครสำหรับทุกคน มิติที่ ๓.๓ การศึกษาสำหรับทุกคน “เมืองกรุงเทพฯ สามารถจัดการศึกษาให้แก่เด็กและเยาวชนในเขตพื้นที่กรุงเทพฯ อย่างทั่วถึง โดยไม่แบ่งแยกความแตกต่างทางสังคม การเมือง วัฒนธรรม และศาสนา และจัดการศึกษาที่มีคุณภาพ สามารถพัฒนาให้เยาวชนในพื้นที่กรุงเทพฯ มีความรู้มีจิตสำนึกรักเมืองกรุงเทพฯ หวงแหนและร่วมสืบทอดวัฒนธรรม และอัตลักษณ์ของเมืองกรุงเทพฯ มีคุณธรรม มีทักษะในการดำรงชีวิตและประกอบอาชีพสุจริต” นำไปสู่การศึกษาที่มีคุณภาพรองรับ Thailand ๔.๐ ซึ่งเน้นความมั่นคงมั่งคั่งและยั่งยืนทั้งด้านเศรษฐกิจสังคมการเมืองรวมถึงความเป็นเมืองอัจฉริยะ (Smart City) ผู้เรียนทุกระดับชั้นตั้งแต่ระดับปฐมวัย ระดับประถมศึกษา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย จะต้องได้รับการพัฒนาเต็มตามศักยภาพและมีศักยภาพสูงขึ้นสู่มาตรฐานสากล โดยบูรณาการแนวทางโครงการตามแนวพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาพระราชทานให้คณะกรรมการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยประเทศไทย นำไปพิจารณาริ่เริ่มดำเนินการนำร่องในประเทศไทย โดยพระองค์ท่านได้ทอดพระเนตรตัวอย่างโครงการนี้เมื่อคราวเสด็จพระราชดำเนินเยือนเยอรมัน เมื่อปี พ.ศ. 2552 ซึ่งเป็นโครงการด้านการศึกษาในระดับปฐมวัยที่ใหญ่ที่สุด ในการนี้มูลนิธิสมเด็จพระเทพพระรัตนะราชสุดา ได้ดำเนินการให้มีการศึกษาโครงการโดยประสานกับโครงการ Haus der kleinenForscher “บ้านนักวิทยาศาสตร์”ซึ่งเป็นโครงการความร่วมมือระหว่างภาครัฐ และภาคเอกชน ที่ส่งเสริมการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพยิ่ง สามารถปลูกฝังนิสัยรักวิทยาศาสตร์ให้กับเด็กได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถขยายผลไปสู่โรงเรียนอนุบาล จำนวนมากในเวลาอันสั้น สามารถควบคุมมาตรฐานได้อย่างดี นอกจากนี้โครงการยังมีกิจกรรมที่เชื่อมโยงกับ พ่อ แม่ ผู้ปกครอง อีกด้วย นับว่าเป็นการส่งเสริมการเรียนวิทยาศาสตร์ ระดับรากฐานที่มีประสิทธิภาพอย่างยิ่งและสร้างพื้นฐานการเรียนรู้ของเยาวชนไทย กรุงเทพมหานครมีโรงเรียนทั้งหมด จำนวน ๔๓๗ โรงเรียน แบ่งเป็น๕๐สำนักงานเขต และมีโรงเรียนที่เปิดทำการสอนตั้งแต่ระดับปฐมวัย จำนวน ๔๒๙ โรงเรียน ดังนั้นการที่จะพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาระดับปฐมวัยให้มีประสิทธิภาพจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งในการวางรากฐานของการศึกษาให้เด็กปฐมวัยมีความพร้อมในพัฒนาการครบทั้ง ๔ ด้าน ได้แก่ ด้านร่างกาย อารมณ์- จิตใจ สังคมและสติปัญญาเพื่อให้เด็กปฐมวัยมีทักษะในการดำเนินชีวิตและมีความสามารถที่จะไปศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้นได้เต็มตามศักยภาพ สำนักการศึกษาเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร ซึ่งตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาและนโยบายดังกล่าว ดังนั้นในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕64 จึงกำหนด เป้าหมายการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาระดับปฐมวัยที่ต้องพัฒนาเด็กตั้งแต่อายุ 4 – 6 ปี ให้มีพัฒนาการด้านร่างกายอารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา ที่เหมาะสมกับวัย สามารถอยู่ในสังคมที่มีความแตกต่างระหว่างบุคคลเป็นการเตรียมความพร้อมที่จะเรียนรู้และสร้างรากฐานชีวิตเพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัยไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ เป็นคนดี มีวินัย ภูมิใจในชาติและมีความรับผิดชอบต่อตนเอง ครอบครัวชุมชน สังคมและประเทศชาติตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา ๔4 ดังนั้นหน่วยศึกษานิเทศก์จึงจัดทำ โครงการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาระดับปฐมวัยและการดำเนินงานบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานครโดยมุ่งเน้นการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ได้สอดคล้องกับพัฒนาการตามวัยทั้ง ๔ ด้าน ตามแนวทางบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยประเทศไทยในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นโครงการตามแนวพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาพระราชทานให้คณะกรรมการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยประเทศไทย สามารถปลูกฝังนิสัยรักวิทยาศาสตร์ให้กับเด็กได้อย่างมีประสิทธิภาพ นับว่าเป็นการส่งเสริมการเรียนวิทยาศาสตร์ ระดับรากฐานที่มีประสิทธิภาพอย่างยิ่งและสร้างพื้นฐานการเรียนรู้ของเยาวชนไทย โดยได้มีการกำหนดกิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการให้ข้าราชการครูผู้สอนระดับปฐมวัย ศึกษานิเทศก์ และมีการนิเทศติดตามการจัดการศึกษาในระดับปฐมวัยอย่างเป็นระบบ
09040200/09040200
2.1 เพื่อพัฒนาข้าราชการครูผู้สอนระดับปฐมวัย ให้มีความรู้ความสามารถในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ได้สอดคล้องกับพัฒนาการตามวัยทั้ง 4 ด้าน 2.2 เพื่อพัฒนาข้าราชการครูผู้สอนระดับปฐมวัยผู้สอนระดับปฐมวัยให้มีความรู้ความสามารถในการจัดประสบการณ์การทดลองและโครงงานวัฏจักรสืบเสาะให้กับเด็กปฐมวัย 2.3 เพื่อพัฒนาข้าราชการครูผู้สอนระดับปฐมวัยให้มีการประเมินพัฒนาการตามเกณฑ์มาตรฐานกรุงเทพมหานคร 2.4 เพื่อส่งเสริมให้สถานศึกษาดำเนินการตามแนวทางบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยและเข้ารับการประเมินเพื่อรับตราบ้านวิทยาศาสตร์น้อยประเทศไทย 2.5 เพื่อส่งเสริมการนิเทศ ติดตามการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาระดับปฐมวัยอย่างเป็นระบบ
3.1 ด้านปริมาณ 3.1.1 ข้าราชการครูผู้สอนระดับปฐมวัย จำนวน 429 คน 3.1.2 ศึกษานิเทศก์ จำนวน 60 คน 3.2 ด้านคุณภาพ 3.2.1 ข้าราชการครูผู้สอนระดับปฐมวัยจัดประสบการณ์การเรียนรู้ได้สอดคล้องกับพัฒนาการ ตามวัยทั้ง 4 ด้าน ในระดับดีขึ้นไป 3.2.2 ข้าราชการครูผู้สอนระดับปฐมวัย ผู้สอนระดับปฐมวัยมีการประเมินพัฒนาการตามเกณฑ์มาตรฐานกรุงเทพมหานคร ระดับดีขึ้นไป 3.2.3 ข้าราชการครูผู้สอนระดับปฐมวัย ผู้สอนระดับปฐมวัยจัดประสบการณ์การทดลองและโครงงานวัฏจักรสืบเสาะให้กับเด็กปฐมวัย ระดับดีขึ้นไป 3.2.4 สถานศึกษาดำเนินการตามแนวทางบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย 3.2.5 สถานศึกษาในสังกัดกรุงเทพมหานครที่ส่งโครงงานวัฏจักรสืบเสาะ ผ่านการประเมินเพื่อเข้ารับตราพระราชทานบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยประเทศไทย 3.2.6 ข้าราชการครูผู้สอนระดับปฐมวัย ผู้สอนระดับปฐมวัยได้รับการส่งเสริมนิเทศติดตามการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาระดับปฐมวัยอย่างเป็นระบบ
ด้านที่ ๓ - มหานครสำหรับทุกคน : Bangkok as a City for All |
๓.๓ - การศึกษาสำหรับทุกคน |
๓.๓.๒ การพัฒนาคุณภาพการศึกษา% |
๓.๓.๒.๑ โรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานครมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในวิชาหลัก |
(1) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 100.00 (2021-09-08)
08/09/2564 : ศึกษานิเทศก์ติดตาม และสรุปผลการประเมินพัฒนาการของเด็กปฐมวัย ผลปรากฏว่าเด็กปฐมวัยมีพัฒนาการสมวัยระดับพอใช้ขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ ๙๙ สูงกว่าค่าเป้าหมายที่กำหนด
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(2) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 80.00 (2021-08-09)
09/08/2564 : กิจกรรมที่ 5 การประชุมเข้ารับตราพระราชทานรับตราพระราชทานบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยประเทศไทย ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่า จึงมีการเลื่อนกำหนดการเข้ารับตราของโรงเรียนที่ผ่านการประเมิน โดยไม่มีกำหนด
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(3) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 70.00 (2021-07-02)
02/07/2564 : ดำเนินการในกิจกรรมที่ ๔ เรื่อง การประชุมประเมินโครงงานวัฎจักรสืบเสาะของโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร โดยมีโรงเรียนขอรับการประเมินเพื่อรับตราพระราชทานบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยประเทศไทย ครั้งที่ ๓ จำนวน ๔๒๙ โรงเรียน ผลการประเมิน มีโรงเรียนที่ผ่านจำนวน ๒๗๘ โรงเรียน คิดเป็นร้อยละ ๖๔.๘๐
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(4) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 60.00 (2021-06-10)
10/06/2564 : ดำเนินงานกิจกรรมที่ ๔ การประชุมคณะกรรมการผู้ประสานงานเครือข่ายและวิทยากรเครือข่ายท้องถิ่น เพื่อประเมินโครงงานวัฏจักรสืบเสาะของโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร จำนวน ๑๙๐ โรงเรียน
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(5) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 55.00 (2021-05-10)
10/05/2564 : ปฏิบัติกิจกรรมที่ 4 การประชุมประเมินโครงงานวัฏจักรสืบเสาะของโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร โดยผ่านระบบ ZOOM เนื่องจากการระบาดของโรค Covid-19
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(6) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 40.00 (2021-04-09)
09/04/2564 : กิจกรรมที่ 3 การนิเทศติดตามการจัดประสบการณ์ 6 กิจกรรมหลักและการประเมินพัฒนาการ 4 ด้านของเด็กปฐมวัย ในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร โดยศึกษานิเทศก์ ประจำโรงเรียน
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(7) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 30.00 (2021-03-09)
09/03/2564 : ดำเนินการ กิจกรรมที่ ๒ การนิเทศติดตามกระบวนการเรียนรู้ผ่านการเล่นและธรรมชาติของการสืบเสาะ และการดำเนินงานบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย โดยศึกษานิเทศก์ประจำโรงเรียน นิเทศ ตามแบบประเมิน
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(8) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 25.00 (2021-02-08)
08/02/2564 : ดำเนินการ กิจกรรมที่ 2 การนิเทศติดตามกระบวนการเรียนรู้ ผ่านการเล่นและธรรมชาติของการสืบเสาะ และการดำเนินงานบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย โดยศึกษานิเทศก์ประจำโรงเรียน
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(9) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 5.00 (2021-01-08)
08/01/2564 : ดำเนินการจัดประชุมจัดทำเครื่องมือนิเทศติดตามกระบวนการเรียนรู้ ผ่านการเล่นและธรรมชาติของการสืบเสาะและการดำเนินงานบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย
** ปัญหาของโครงการ : การดำเนินการในการประชุมการจัดทำเครื่องมือไม่สามารถดำเนินการได้ตามกรอบเท่าที่ควรเนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดต่อเชื้อไวรัสโคโรนา ( COVID-19)
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(10) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 20.00 (2020-12-09)
09/12/2563 : ดำเนินการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ด้วยกระบวนการเรียนรู้ผ่านการเล่นและธรรมชาติของการสืบเสาะเด็กปฐมวัยให้กับครูผู้สอนระดับปฐมวัยจำนวน 450 คน โดยแบ่งเป็นรุ่นจำนวน 3 รุ่น รุ่นละ 150 คน ผลการดำเนินการ ครูผู้สอนระดับปฐมวัยมีความรู้ ความสามารถในการจัดประสบการณ์การทดลองและโครงงานวัฏจักรสืบเสาะ
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ : จากการสำรวจความต้องการในการเข้ารับการอบรมของครูผู้สอนระดับปฐมวัยมีจำนวนมากเกินจำนวนที่กำหนดไว้ส่งผลให้ครูไม่ได้รับความรู้และทักษะในการจัดประสบการณ์การทำโครงงานวัฏจักรสืบเสาะและกิจกรรมการทดลอง ผู้ดำเนินโครงการจึงได้กำหนดแนวทางในการพัฒนาต่อไป
------------------&&&--------------------
(11) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 5.00 (2020-10-28)
28/10/2563 : อยู่ระหว่างขั้นตอน ได้รับการอนุมัติโครงการจากผู้อำนวยการสำนักการศึกษาตามบันทึกข้อความ ที่ กท 0804/1916 วันที่ 9 ตุลาคม 2563
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
ตัวชี้วัด : ร้อยละของนักเรียนระดับปฐมวัยมีพัฒนาการสมวัย
ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 90
ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 99.25
ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์ ตัวชี้วัดระดับผลลัพธ์ (outcome)
** ผลการประเมินโครงการ (รายไตรมาส) **