ความคืบหน้าโครงการ ร้อยละ 100
หัวหน้ากลุ่มงานวิเคราะห์คุณภาพน้ำ
ดูโครงการแผนปีฯ : พิมพ์ข้อมูล
*** สยป. ประเมินโครงการ : ไตรมาสที่ 1
ด้วยกรุงเทพมหานครมีหน้าที่ในการดูแล รับผิดชอบ คู คลองต่างๆ ในเขตพื้นที่รวมทั้งสิ้น 1,682 คูคลอง ความยาวรวม 2,604 กิโลเมตร โดยแบ่งเป็นคลองจำนวน 1,161 คลอง และคู-ลำกระโดง จำนวน 521 คู โดยอยู่ภายใต้ความรับผิดชอบของสำนักการระบายน้ำจำนวน 213 คลอง และ 5 คู ลำกระโดง รวมทั้งสิ้น 218 คูคลอง แหล่งน้ำเหล่านี้ถูกใช้ประโยชน์ทั้งในด้านการระบายน้ำเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วม การคมนาคม การเกษตรกรรม เป็นต้น แต่ปัจจุบันแหล่งน้ำส่วนใหญ่มีสภาพทรุดโทรมน้ำเน่าเสียส่งกลิ่นเหม็น ซึ่งเป็นก่อความเดือดร้อนรำคาญแก่ประชาชนทั้งที่สัญจรไปมาและที่อาศัยอยู่ริมฝั่งคูคลองเป็นอย่างมาก มีผลต่อสภาพทางเศรษฐกิจและสังคมโดยรวม สำนักงานจัดการคุณภาพน้ำ สำนักการระบายน้ำ ตระหนักในเรื่องคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน จึงเฝ้าระวังคุณภาพน้ำ โดยการเก็บตัวอย่างน้ำเพื่อทำการตรวจวิเคราะห์เป็นประจำทุกเดือน อีกทั้งยังมีการเพิ่มจำนวนจุดเก็บตัวอย่างน้ำจากเดิม 315 จุด ในปี 2564 เป็น 320 จุด ในปี 2565 เพื่อให้ครอบคลุมพื้นที่รับผิดชอบของกรุงเทพมหานครมากยิ่งขึ้น และยังเป็นการตรวจสอบปัญหาที่อาจเกิดผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนจากสาเหตุมลพิษทางน้ำ นอกจากนี้ยังเป็นการเฝ้าระวังไม่ให้ปัญหามลพิษทางน้ำ ทวีความรุนแรง โดยทำการวิเคราะห์ค่าความสกปรกในรูปของบีโอดี (BOD) ซึ่งเป็นค่าที่จุลินทรีย์นำไปใช้ย่อยสลายสารอินทรีย์ในน้ำ หรือค่าที่บ่งชี้ถึงความสกปรกของแหล่งน้ำนั่นเอง หากค่าบีโอดีสูง แสดงว่าแหล่งน้ำนั้นมีความเสื่อมโทรม ไม่เหมาะแก่การอยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตในน้ำ และไม่เหมาะที่จะนำมาใช้ในการอุปโภคบริโภค ดังนั้น เพื่อให้การบริหารจัดการน้ำเป็นไปอย่างเหมาะสมและเฝ้าระวังการเกิดปัญหาเฉียบพลัน จึงได้จัดทำโครงการจัดทำแผนที่แสดงคุณภาพน้ำและจัดลำดับความสำคัญของคลองและแม่น้ำเจ้าพระยาในเขตกรุงเทพมหานครที่ต้องได้รับการฟื้นฟู โดยการนำผลการวิเคราะห์ความสกปรกในรูปบีโอดีของคลองและแม่น้ำเจ้าพระยามาจัดลำดับค่าความสกปรก และแจ้งแก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องใช้เป็นข้อมูลดำเนินการฟื้นฟูสภาพน้ำ อีกทั้งจัดทำแผนที่แสดงคุณภาพน้ำในภาพรวมของกรุงเทพมหานคร เพื่อใช้ในการบริหารจัดการน้ำต่อไป
11131010/11131010
(1) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 100.00 (2022-09-30)
30/09/2565 : เก็บตัวอย่างน้ำตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการ เดือนกันยายน 2565 1. DO≥ 2mg/l 30 % จำนวน 158 จุด คิดเป็น 49.2 % 2. BOD ≤ 4 mg/l 3.5 % จำนวน 94 จุด คิดเป็น 29.3 % 3. NH3-N ≤ 0.5 mg/l 3 % จำนวน 34 จุด คิดเป็น 10.6 %
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(2) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 96.00 (2022-09-26)
26/09/2565 : เก็บตัวอย่างน้ำตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการ เดือนสิงหาคม 2565 1. DO≥ 2mg/l 30 % จำนวน 12 จุด คิดเป็น 38 % 2. BOD ≤ 4 mg/l 3.5 % จำนวน 21 จุด คิดเป็น 6.5 % 3. NH3-N ≤ 0.5 mg/l 3 % จำนวน 12 จุด คิดเป็น 3.7 %
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(3) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 88.00 (2022-08-25)
เก็บตัวอย่างน้ำตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการ เดือนกรกฎาคม 2565 1. DO≥ 2mg/l 30 % จำนวน 139 จุด คิดเป็น 43.3 % 2. BOD ≤ 4 mg/l 3.5 % จำนวน 25 จุด คิดเป็น 7.8 % 3. NH3-N ≤ 0.5 mg/l 3 % จำนวน 2 จุด คิดเป็น 0.6 %
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(4) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 80.00 (2022-07-26)
26/07/2565 : เก็บตัวอย่างน้ำตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการ เดือนมิถุนายน 2565 1. DO≥ 2mg/l 30 % จำนวน 121 จุด คิดเป็น 37.7 % 2. BOD ≤ 4 mg/l 3.5 % จำนวน 4 จุด คิดเป็น 1.2 % 3. NH3-N ≤ 0.5 mg/l 3 % จำนวน 0 จุด คิดเป็น 0 %
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(5) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 72.00 (2022-06-24)
24/06/2565 : เก็บตัวอย่างน้ำตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการ เดือนพฤษภาคม 2565 1. DO≥ 2mg/l 30 % จำนวน 139 จุด คิดเป็น 43.3 % 2. BOD ≤ 4 mg/l 3.5 % จำนวน 13 จุด คิดเป็น 4.0 % 3. NH3-N ≤ 0.5 mg/l 3 % จำนวน 10 จุด คิดเป็น 3.1 %
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(6) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 64.00 (2022-05-25)
25/05/2565 : เก็บตัวอย่างน้ำตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการ เดือนเมษายน 2565 1. DO≥ 2mg/l 30 % จำนวน 200 จุด คิดเป็น 62.3 % 2. BOD ≤ 4 mg/l 3.5 % จำนวน 12 จุด คิดเป็น 3.7 % 3. NH3-N ≤ 0.5 mg/l 3 % จำนวน 17 จุด คิดเป็น 5.3 %
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(7) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 56.00 (2022-04-25)
25/04/2565 : เดือน มี.ค.65 1. DO≥ 2mg/l 30 % จำนวน 209 จุด คิดเป็น 65.1 % 2. BOD ≤ 4 mg/l 3.5 % จำนวน 13 จุด คิดเป็น 4 % 3. NH3-N ≤ 0.5 mg/l 3 % จำนวน 25 จุด คิดเป็น 7.8 %
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(8) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 48.00 (2022-03-28)
28/03/2565 : เดือน ก.พ.65 1. DO≥ 2mg/l 30 % จำนวน 193 จุด คิดเป็น 60.1 % 2. BOD ≤ 4 mg/l 3.5 % จำนวน 24 จุด คิดเป็น 7.5 % 3. NH3-N ≤ 0.5 mg/l 3 % จำนวน 24 จุด คิดเป็น 7.5 %
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(9) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 40.00 (2022-02-24)
24/02/2565 : เดือน ม.ค.65 1. DO≥ 2mg/l 30 % จำนวน 194 จุด คิดเป็น 60.4 % 2. BOD ≤ 4 mg/l 3.5 % จำนวน 14 จุด คิดเป็น 4.3 % 3. NH3-N ≤ 0.5 mg/l 3 % จำนวน 21 จุด คิดเป็น 6.5 %
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(10) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 32.00 (2022-01-31)
31/01/2565 : เก็บตัวอย่างน้ำตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการ เดือน ต.ค.64 1. DO≥ 2mg/l 30 % จำนวน 133 จุด คิดเป็น 41.4 % 2. BOD ≤ 4 mg/l 3.5 % จำนวน 7 จุด คิดเป็น 2.2 % 3. NH3-N ≤ 0.5 mg/l 3 % จำนวน 14 จุด คิดเป็น 4.4 % เดือน พ.ย.64 1. DO≥ 2mg/l 30 % จำนวน 164 จุด คิดเป็น 51.1 % 2. BOD ≤ 4 mg/l 3.5 % จำนวน 24 จุด คิดเป็น 7.5 % 3. NH3-N ≤ 0.5 mg/l 3 % จำนวน 22 จุด คิดเป็น 6.9 % เดือน ธ.ค.64 1. DO≥ 2mg/l 30 % จำนวน 174 จุด คิดเป็น 54.2 % 2. BOD ≤ 4 mg/l 3.5 % จำนวน 46 จุด คิดเป็น 14.3 % 3. NH3-N ≤ 0.5 mg/l 3 % จำนวน 20 จุด คิดเป็น 6.2 %
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
ตัวชี้วัด : ร้อยละความสำเร็จในการระบายน้ำท่วมขังจากถนนสายหลัก
ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 100
ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 100
ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์ ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (output)
** ผลการประเมินโครงการ (รายไตรมาส) **