ความคืบหน้าโครงการ ร้อยละ 10
หัวหน้ากลุ่มงานโครงการและจัดการตะกอน
ดูโครงการแผนปีฯ : พิมพ์ข้อมูล
*** สยป. ประเมินโครงการ : ไตรมาสที่ 1
กรุงเทพมหานครประสบปัญหามลพิษทางน้ำมาอย่างยาวนาน เห็นได้จากสภาพน้ำในคูคลองจำนวนมากที่มีสีดำส่งกลิ่นเน่าเหม็น ประกอบกับขยะมูลฝอยที่ถูกทิ้งทับถมลงในคูคลองต่าง ๆ เป็นปริมาณมาก ทำให้สภาพความเน่าเสียในคูคลองที่เป็นอยู่ยิ่งรุนแรงมากยิ่งขึ้น สาเหตุสำคัญเกิดจากประชาชนจำนวนมาก ที่กระจุกตัวอยู่อย่างหนาแน่นในชุมชนทั้งเพื่อการอยู่อาศัย ทำธุรกิจ ในอาคาร สถานประกอบการ ฯลฯ ประกอบกิจกรรมอันก่อให้เกิดน้ำเสียในปริมาณมากแต่ละวัน และน้ำเสียส่วนใหญ่ถูกทิ้งลงสู่คูคลอง แหล่งน้ำ โดยไม่ได้รับการบำบัดอย่างถูกวิธี ทำให้เกิดน้ำทิ้งที่ไม่ได้มาตรฐานเพียงพอ โดยเฉพาะพื้นที่ใจกลางกรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นศูนย์รวมทั้งเศรษฐกิจ การศึกษา วัฒนธรรม และความเจริญด้านต่าง ๆ ผลคือ แหล่งน้ำคูคลองกลายสภาพเป็นแหล่งรองรับน้ำเสียที่เกิดขึ้นทุกวันในปริมาณมาก ๆ จนธรรมชาติไม่สามารถฟื้นฟูสภาพได้ จึงเกิดเป็นสภาวะมลพิษทางน้ำที่รุนแรงเป็นที่ประจักษ์ทั่วทั้งพื้นที่กรุงเทพมหานคร กรุงเทพมหานครพยายามแก้ไขปัญหามลภาวะทางน้ำในคูคลองและแม่น้ำมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน นับตั้งแต่แผนแม่บทการจัดการน้ำเสียในกรุงเทพมหานคร (Master Plan of Bangkok Sewerage System) ที่จัดทำขึ้นโดยองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งประเทศญี่ปุ่น (Japan International Cooperation Agency, JICA) ได้จัดทำขึ้นฉบับแรกเมื่อปี พ.ศ.2524 และกรุงเทพมหานครได้ทำแผนแม่บทฉบับดังกล่าวใช้เป็นแนวทางในการจัดทำแผนปฏิบัติการ (Action Plan) เพื่อ การจัดการน้ำเสียในกรุงเทพมหานคร และเป็นที่มาของการก่อสร้างระบบบำบัดน้ำเสียรวมในพื้นที่กรุงเทพมหานคร จนกระทั่งมีการปรับปรุงแผนแม่บทเพื่อการจัดการน้ำเสียของกรุงเทพมหานครขึ้นเป็นระยะใน ปี พ.ศ.2542 และปี พ.ศ.2554 ซึ่งเป็นแผนแม่บทฉบับล่าสุดที่กรุงเทพมหานครปรับปรุงแผนแม่บทการจัดการน้ำเสียของกรุงเทพมหานครร่วมกับ JICA ตามสภาพของเมืองที่เติบโตขึ้น จนถึงปัจจุบันกรุงเทพมหานครมีการก่อสร้าง และเปิดเดินระบบบำบัดน้ำเสียรวม 8 แห่ง ให้บริการบำบัดน้ำเสียแก่ประชาชนในกรุงเทพมหานครครอบคลุมพื้นที่ 21 เขตปกครอง ขนาดพื้นที่บริการ 212.4 ตารางกิโลเมตร มีขีดความสามารถในการบำบัดน้ำเสียประมาณ 1.112 ล้านลูกบาศก์เมตร/วัน แต่มีปริมาณน้ำเสียที่เข้าสู่ระบบเพียง 850,150 ลูกบาศก์เมตร/วัน คิดเป็นร้อยละ 76.45 ของประสิทธิภาพโรงควบคุมคุณภาพน้ำที่สามารถรับได้ แสดงให้เห็นว่าโรงควบคุมคุณภาพน้ำที่กรุงเทพมหานครที่มีอยู่ในปัจจุบันบางแห่งยังสามารถรับน้ำเสียเข้าสู่ระบบได้เพิ่มเติม ประกอบด้วยสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินมีรายงานตรวจสอบการดำเนินการมหานครปลอดภัย ด้านมลพิษ ของกรุงเทพมหานคร ในข้อตรวจพบที่ 1 ข้อเสนอแนะที่ 1 ให้พิจารณานำข้อมูลจุดน้ำเสียที่ยังไม่เข้าสู่ระบบบำบัดน้ำเสียของโรงควบคุมคุณภาพน้ำมาใช้ประโยชน์ในการกำหนดแนวทางควบคุมคุณภาพน้ำและการรวบรวมน้ำเสียเข้าสู่ระบบทั้งระยะสั้นและระยะยาวเพื่อให้สามารถบรรเทาและแก้ไขปัญหามลพิษทางน้ำในแต่ละพื้นที่ได้ อาทิการวางแผนตรวจสอบเฝ้าระวังคุณภาพน้ำทิ้งจากแหล่งกำเนิด การประสานขอความร่วมมือจากอาคาร สถานประกอบการ ชุมชน ซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดน้ำเสียที่มีอยู่ในพื้นที่โครงการหรือบริเวณใกล้เคียงให้เชื่อมต่อท่อน้ำเสียเข้าสู่ระบบท่อรวบรวมน้ำเสียของกรุงเทพมหานคร การประชาสัมพันธ์เผยแพร่เกี่ยวกับหลักเกณฑ์การขอรับบริการบำบัดน้ำเสียของกรุงเทพมหานครให้กับหน่วยงานภาครัฐ เอกชน และประชาชนทราบ เพื่อเป็นข้อมูลในการเชื่อมท่อน้ำเสียของกรุงเทพมหานคร ตลอดจนการวางแผนระยะยาวในการขยายโครงข่ายระบบท่อรวบรวมน้ำเสียให้ครอบคลุมพื้นที่บริการของโครงการ ข้อเสนอแนะที่ 2 กรณีโรงควบคุมคุณภาพน้ำที่มีศักยภาพในการบำบัดน้ำเสียคงเหลือแต่ปริมาณการใช้น้ำประปาในพื้นที่โครงการมีแนวโน้มลดลง จำนวน 2 แห่ง ได้แก่ โรงควบคุมคุณภาพน้ำช่องนนทรี และโรงควบคุมคุณภาพน้ำรัตนโกสินทร์ ให้ศึกษาและกำหนดแนวทางการใช้ประโยชน์โรงควบคุมคุณภาพน้ำให้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุด อาทิ การขยายพื้นที่รวบรวมน้ำเสียในพื้นที่ข้างเคียงที่ยังไม่มีระบบบัดน้ำเสีย เป็นต้น กรุงเทพมหานคร จึงได้จัดทำโครงการจ้างที่ปรึกษาเพื่อศึกษาทบทวนพื้นที่บริการบำบัดน้ำเสียของกรุงเทพมหานคร เพื่อศึกษาทบทวนพื้นที่บริการบำบัดน้ำเสียของกรุงเทพมหานครให้สอดคล้องกับสภาพเมืองที่เปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน ได้แนวทางการปรับปรุงระบบรวบรวมน้ำเสียในพื้นที่บริการ หรือพื้นที่ใกล้เคียง เพื่อใช้ประโยชน์โรงควบคุมคุณภาพน้ำให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
11131030/11131030
(1) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 10.00 (2022-09-22)
22/09/2565 : ไม่ได้รับงบประมาณ
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(2) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 10.00 (2022-08-22)
22/08/2565 : ไม่ได้รับงบประมาณ
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(3) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 10.00 (2022-07-19)
19/07/2565 : ไม่ได้รับงบประมาณ
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(4) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 10.00 (2022-06-28)
28/06/2565 : ไม่ได้รับงบประมาณ
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(5) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 10.00 (2022-05-24)
24/05/2565 : ไม่ได้รับงบประมาณ
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(6) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 10.00 (2022-04-26)
26/04/2565 : ไม่ได้รับงบประมาณ
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(7) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 10.00 (2022-03-24)
24/03/2565 : ไม่ได้รับงบประมาณ
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(8) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 10.00 (2022-02-28)
28/02/2565 : ไม่ได้รับงบประมาณ
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(9) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 10.00 (2022-01-31)
31/01/2565 : ขออนุมัติโครงการ
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
ตัวชี้วัด : ร้อยละความสำเร็จในการระบายน้ำท่วมขังจากถนนสายหลัก
ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 100
ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 100
ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์ ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (output)
** ผลการประเมินโครงการ (รายไตรมาส) **