ความคืบหน้าโครงการ ร้อยละ 63
นายธีรยุทธ คุณมาก (0891533154)
ดูโครงการแผนปีฯ : พิมพ์ข้อมูล
*** สยป. ประเมินโครงการ : ไตรมาสที่ 1
ตามที่รัฐบาลได้ดำเนินการโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน (ดอนเมือง – สุวรรณภูมิ – อู่ตะเภา) โดยช่วงจากสถานีพญาไทไปยังสนามบินดอนเมืองมีพื้นที่ก่อสร้างทางรถไฟใต้ดินจากบริเวณถนนกำแพงเพชร 5 ตัดกับถนนพระราม 6 ผ่านถนนกำแพงเพชร 5 ถึงซอยระนอง 1 ระยะทางประมาณ 3,600 เมตร บริเวณจุดตัดทางรถไฟกับคลองสามเสนมีแนวก่อสร้างอุโมงค์รถไฟใต้ดินและมีแนวท่อรวบรวมน้ำเสีย ขนาด Ø 1.80 เมตร ที่ต้องรื้อย้ายออก ซึ่งขณะก่อสร้างมีการปิดกั้นคลองสามเสน ทำให้ไม่สามารถระบายน้ำจากพื้นที่ฝั่งตะวันออกของทางรถไฟออกสู่แม่น้ำเจ้าพระยาได้ดังเดิม ประกอบกับแนวก่อสร้างตลอดเส้นทางทับซ้อนกับระบบระบายน้ำเดิม (ถนนกำแพงเพชร 5) ทำให้ต้องก่อสร้างระบบระบายน้ำใหม่ทดแทน และปรับทิศทางการไหลของน้ำทั้งหมดลงสู่ระบบระบายน้ำเดิมถนนพระราม 6 ที่ปัจจุบันมีประสิทธิภาพจำกัด เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาดังกล่าว กรุงเทพมหานคร โดยสำนักการระบายน้ำจึงจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนทิศทางการระบายน้ำคลองสามเสนให้สามารถระบายลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยาได้ดังเดิม โดยการก่อสร้างท่อขนส่งน้ำใต้ถนนพระราม 6 เพื่อรับน้ำจากคลองสามเสนและระบายลงสู่อุโมงค์ระบายน้ำใต้คลองบางซื่อเพื่อระบายออกสู่แม่น้ำเจ้าพระยาโดยตรง สำนักการระบายน้ำจึงได้จัดทำโครงการก่อสร้างท่อขนส่งน้ำใต้ถนนพระรามที่ 6 จากคลองสามเสนลงสู่อุโมงค์ใต้คลองบางซื่อ เพื่อป้องกันน้ำท่วมขังในพื้นที่ชั้นในของกรุงเทพมหานคร
11140000/11140000
1. เพื่อเตรียมการป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมขังที่จะเกิดขึ้นในพื้นที่ เนื่องจากระบบระบายน้ำเดิมได้รับผลกระทบจากโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน ช่วงพญาไทถึงดอนเมือง 2. เพื่อสนับสนุนโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน ช่วงพญาไทถึงดอนเมืองที่เป็นโครงสร้างพื้นฐานหลักในการพัฒนาระเบียบเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกตามนโยบายของรัฐบาล
3.1 สร้างท่อขนส่งน้ำ ขนาด 3.00 เมตร ยาวประมาณ 3,000 เมตร 3.2 สร้างอาคารรับน้ำคลองสามเสน จำนวน 1 แห่ง 3.3 สร้างบ่อเชื่อมท่อระบายน้ำเดิม จำนวน 9 แห่ง
ด้านที่ ๑ – มหานครปลอดภัย : Bangkok as a Safe City |
๑.๓ - ปลอดอุบัติเหตุ |
๑.๓.๑ ลดความสูญเสียจากอุบัติเหตุจราจร% |
๑.๓.๑.๑ ปรับปรุงสภาพถนนและจุดเสี่ยงอันตราย |
(1) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 63.00 (2023-07-06)
06/07/2566 : ปรับพื้นที่ก่อสร้างปล่องท่อขนส่งน้ำคลองบางซื่อ ขนย้ายวัสดุอุปกรณ์เข้าสถานที่ก่อสร้าง
** ปัญหาของโครงการ :บริเวณที่ลอดผ่านบ้านเช่าในพื้นที่ราชพัสดุริมคลองบางซื่อยังไม่ได้ รับหนังสืออนุญาตการใช้ประโยชน์ในที่ราชพัสดุจากกรมธนารักษ์
** อุปสรรคของโครงการ :-
------------------&&&--------------------
(2) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 63.00 (2023-05-31)
31/05/2566 : ปรับพื้นที่ก่อสร้างปล่องท่อขนส่งน้ำคลองบางซื่อ
** ปัญหาของโครงการ :บริเวณที่ลอดผ่านบ้านเช่าในพื้นที่ราชพัสดุริมคลองบางซื่อยังไม่ได้ รับหนังสืออนุญาตการใช้ประโยชน์ในที่ราชพัสดุจากกรมธนารักษ์
** อุปสรรคของโครงการ :-
------------------&&&--------------------
(3) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 63.00 (2023-03-30)
30/03/2566 : 1. สร้างท่อขนส่งน้ำ ขนาด Æ 3.00 เมตร ยาวประมาณ 3,000 เมตร 1.4 ค่าขุดเจาะสำรวจดินลึก 50 เมตร จำนวน 15 หลุม (แล้วเสร็จ) 1.5 ค่าขุดเจาะสำรวจดินลึก 70 เมตร จำนวน 3 หลุม (แล้วเสร็จ) 3. สร้างบ่อเชื่อมท่อระบายน้ำเดิม จำนวน 9 แห่ง 3.5 ค่าใช้จ่ายพิเศษตามข้อกำหนดเฉพาะงาน (สัดส่วนเบิกจ่ายตามข้อกำหนดเฉพาะงาน)
** ปัญหาของโครงการ :- บริเวณที่ลอดผ่านบ้านเช่าในพื้นที่ราชพัสดุริมคลองบางซื่อยังไม่ได้ รับหนังสืออนุญาตการใช้ประโยชน์ในที่ราชพัสดุจากกรมธนารักษ์
** อุปสรรคของโครงการ :-
------------------&&&--------------------
(4) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 63.00 (2023-03-01)
01/03/2566 : 2. ผลงานที่ทำได้ตามปริมาณงาน 1. สร้างท่อขนส่งน้ำ ขนาด Æ 3.00 เมตร ยาวประมาณ 3,000 เมตร 1.4 ค่าขุดเจาะสำรวจดินลึก 50 เมตร จำนวน 15 หลุม (แล้วเสร็จ) 1.5 ค่าขุดเจาะสำรวจดินลึก 70 เมตร จำนวน 3 หลุม (แล้วเสร็จ) 3. สร้างบ่อเชื่อมท่อระบายน้ำเดิม จำนวน 9 แห่ง 3.5 ค่าใช้จ่ายพิเศษตามข้อกำหนดเฉพาะงาน (สัดส่วนเบิกจ่ายตามข้อกำหนดเฉพาะงาน)
** ปัญหาของโครงการ :บริเวณที่ลอดผ่านบ้านเช่าในพื้นที่ราชพัสดุริมคลองบางซื่อยังไม่ได้ รับหนังสืออนุญาตการใช้ประโยชน์ในที่ราชพัสดุจากกรมธนารักษ์
** อุปสรรคของโครงการ :-
------------------&&&--------------------
(5) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 61.00 (2023-02-01)
01/02/2566 : ส่งรายงานความก้าวหน้าประจำเดือน (Monthly Progress Report) ครั้งที่ 9 ช่วงวันที่ 1 -30 พฤศจิกายน 2565 อยู่ระหว่างดำเนินการควบคุมงานก่อสร้าง
** ปัญหาของโครงการ :-
** อุปสรรคของโครงการ :-
------------------&&&--------------------
(6) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 51.00 (2022-12-29)
29/12/2565 : เจาะสำรวจดิน
** ปัญหาของโครงการ :อยู่ระหว่างมีหนังสือถึงกรมธนารักษ์เพื่อขออนุญาตใช้ประโยชน์ ในที่ราชพัสดุ
** อุปสรรคของโครงการ :-
------------------&&&--------------------
ตัวชี้วัด : (2566) ความสามารถระบายน้ำท่วมขังในถนนสายหลักได้ กรณีฝนตกไม่เกิน 100 มม./ชม. (นาที) (ผลลัพท์)
ค่าเป้าหมาย นาที : 180
ผลงานที่ทำได้ นาที : 235
ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์ ตัวชี้วัดระดับผลลัพธ์ (outcome)
** ผลการประเมินโครงการ (รายไตรมาส) **