ความคืบหน้าโครงการ/กิจกรรม

Back Home
FusionCharts will render here

งานปรับปรุงลานผลิตปุ๋ยหมักจากตะกอนน้ำเสียหนองแขม (สจน.) : 11000000-7209

สํานักการระบายน้ำ : (2566)

10

ความคืบหน้าโครงการ ร้อยละ 10

นายประธาน บรรจงปรุ หัวหน้ากลุ่มงานโครงการและจัดการตะกอน โทร.2324

ดูโครงการแผนปีฯ : พิมพ์ข้อมูล

*** สยป. ประเมินโครงการ : ไตรมาสที่ 1 100

หลักการและเหตุผล

สำนักการระบายน้ำ กรุงเทพมหานคร ได้เปิดเดินระบบบำบัดน้ำเสียเพื่อแก้ไขปัญหาน้ำเสียชุมชนในกรุงเทพมหานครแล้ว จำนวน 8 แห่ง สามารถรองรับน้ำเสียได้ 1,112,000 ลบ.ม./วัน โดยใช้กระบวนการบำบัดทางชีวภาพซึ่งก่อให้เกิดตะกอนจุลินทรีย์ส่วนเกินเป็นผลพลอยได้จากกระบวนการบำบัดน้ำเสีย ตะกอนน้ำเสียดังกล่าวผ่านกระบวนการหมักแบบไร้อากาศ (Anaerobic Digestion System) ณ โรงควบคุมคุณภาพน้ำหนองแขม เพื่อปรับเสถียร โดยมีปริมาณตะกอนน้ำเสียที่ผ่านการบำบัดเกิดขึ้นเฉลี่ยราว 10,000 - 20,000 ลูกบาศก์เมตร/ปี จากการวิเคราะห์คุณสมบัติของตะกอนเหล่านี้ มีปริมาณธาตุอาหารหลักที่เป็นประโยชน์ต่อพืช ได้แก่ ไนโตรเจน (N) ฟอสฟอรัส (P) และโพแทสเซียม (K) อยู่ปริมาณหนึ่ง ดังนั้น สำนักงานจัดการคุณภาพน้ำ สำนักการระบายน้ำ จึงได้เริ่มทดลองนำตะกอนที่ผ่านการหมักแล้วไปผลิตเป็นปุ๋ยหมักโดยหมักรวมกับเศษวัชพืช และใช้วิธีการหมักแบบกองแถว (Windrow method) ตั้งแต่ปลายปี พ.ศ.2548 เป็นต้นมา ต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน ปุ๋ยหมักจากตะกอนน้ำเสียดังกล่าวมีการแจกจ่ายให้กับหน่วยงานภายในของกรุงเทพมหานครเป็นหลัก โดยใช้บำรุงดินและใช้กับพืชที่ไม่ใช้เพื่อการบริโภค ซึ่งมีปริมาณการขอความอนุเคราะห์ปุ๋ยหมักจากหน่วยงานต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง ในปัจจุบันแจกจ่ายปุ๋ยหมักจากตะกอนน้ำเสียมากกว่า 10,000 ลูกบาศก์เมตร/ปี สามารถประหยัดงบประมาณในการซื้อปุ๋ยอินทรีย์ได้กว่า 20 ล้านบาท (เทียบกับราคาปุ๋ยอินทรีย์ที่กิโลกรัมละ 2 บาท) โดยปกติกระบวนการหมักปุ๋ยแบบกองแถว เป็นกระบวนการที่ประหยัดงบประมาณ แต่ใช้พื้นที่ในการดำเนินการค่อนข้างมาก เพราะต้องการการย่อยสลายโดยใช้ความร้อนจากแสงอาทิตย์ และการระบายอากาศจากลมธรรมชาติ ต้องมีพื้นที่ในการผสมตะกอนน้ำเสียกับวัสดุหมักให้เข้ากัน ก่อนตั้งกองแถวกว้างประมาณ 1.5 เมตร สูงประมาณ 1.0 เมตร และยาวประมาณ 3.0 เมตร และต้องมีพื้นที่ในการพลิกกลับกองทุก 1 สัปดาห์จนกระบวนการหมักเสร็จสมบูรณ์ ซึ่งใช้เวลาในฤดูร้อนประมาณ 45 วัน และ 60 วันในฤดูฝน อย่างไรก็ตาม การผลิตปุ๋ยหมักจากตะกอนน้ำเสียโดยวิธีการดังกล่าว ยังประสบปัญหาการผลิตในช่วงฤดูฝน เนื่องจากสภาพพื้นที่ปัจจุบันไม่มีโรงเรือนและหลังคาสำหรับจัดเก็บวัสดุอุปกรณ์และปุ๋ยหมักที่ผ่านกระบวนการหมักสมบูรณ์แล้ว อีกทั้งมีการขอคืนพื้นที่จากสำนักสิ่งแวดล้อมซึ่งเดิมสำนักการระบายน้ำมีการใช้พื้นที่ในการผลิตปุ๋ยหมักจากตะกอน น้ำเสียราว 14 ไร่ แต่ปัจจุบันเหลือเพียง 4 ไร่ และพื้นที่จำนวน 2.4 จากทั้งหมด 4 ไร่เป็นดินมักเกิดน้ำท่วมขังบ่อยครั้ง เครื่องจักรขนาดเบาไม่สามารถเข้าไปใช้งานในพื้นที่ได้ ดังนั้นจึงมีพื้นที่ที่ใช้ประโยชน์เพื่อการผลิตปุ๋ยหมักจากตะกอนน้ำเสียเพียง 2.4 ไร่ ทำให้มีพื้นที่ในการเก็บตะกอนน้ำเสียที่รอผลิต พื้นที่ในการผลิตและจัดเก็บปุ๋ยหมักที่สมบูรณ์แล้วน้อยลงมาก และส่งผลให้มีปริมาณตะกอนที่คงค้างอยู่ที่โรงควบคุมคุณภาพน้ำหนองแขมและจตุจักร เนื่องจากปัญหาการใช้ประโยชน์ในพื้นที่ได้ไม่เต็มที่ ดังนั้น สำนักการระบายน้ำ จึงเสนอให้มีงานปรับปรุงลานผลิตปุ๋ยหมักจากตะกอนน้ำเสีย ให้สามารถผลิตปุ๋ยหมักจากตะกอนน้ำเสียได้เต็มประสิทธิภาพ และเป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว เนื่องจากสามารถแก้ปัญหาน้ำท่วมขังในพื้นที่ในช่วงฤดูฝน สามารถใช้ประโยชน์พื้นที่ได้เต็มประสิทธิภาพ ลดปัญหาเครื่องจักรเข้าพื้นที่ไม่ได้ และสามารถผลิตปุ๋ยในช่วงฤดูฝนได้โดยใช้ระยะเวลาน้อยกว่าเดิม อีกทั้งมีพื้นที่ในการเก็บปุ๋ยหมักจากตะกอนน้ำเสียที่หมักสมบูรณ์แล้วพร้อมแจกจ่ายอีกด้วย

11131030/11131030

วัตถุประสงค์ของโครงการ

เพื่อปรับปรุงลานผลิตปุ๋ยหมักจากตะกอนน้ำเสีย ให้สามารถผลิตปุ๋ยหมักจากตะกอนน้ำเสียได้เต็มประสิทธิภาพ แก้ไขปัญหาน้ำท่วมขังในฤดูฝน และมีพื้นที่เก็บอุปกรณ์ เครื่องจักร และปุ๋ยหมักจากตะกอนน้ำเสียที่หมักสมบูรณ์แล้วก่อนแจกจ่ายให้กับหน่วยงานที่ขอความอนุเคราะห์ต่อไป

เป้าหมายของโครงการ

เพื่อปรับปรุงลานผลิตปุ๋ยหมักจากตะกอนน้ำเสีย ประกอบด้วย ป้ายอาคาร อาคารสำนักงาน ลานจอดรถ โครงสร้างพื้นที่ในการผลิตปุ๋ย รั้วด้านหน้า และโรงเก็บวัสดุอุปกรณ์

สนับสนุนยุทธศาสตร์กรุงเทพมหานครฯ

ด้านที่ ๒ - มหานครสีเขียว สะดวกสบาย : Bangkok as a Green and Convenient City
๒.๑ - ภูมิทัศน์สวยงาม
๒.๑.๑ กรุงเทพมหานครจัดระเบียบเมือง ปรับปรุงทัศนียภาพของเมืองให้แลดูสะอาด ไม่มีสายไฟฟ้า%
๒.๑.๑.๑ ตลาดหรือแผงค้าขายที่กีดขวางทางเท้า กีดขวางการจราจรและบดบังทัศนียภาพ ได้รับการจัดระเบียบได้ครบทุกกลุ่มเขต

ผลการดำเนินงาน

(1) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 10.00 (2023-09-25)

10.00

25/09/2566 : ไม่ได้รับงบประมาณ

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(2) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 10.00 (2023-08-27)

10.00

27/08/2566 : ไม่ได้รับงบประมาณ

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(3) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 10.00 (2023-07-21)

10.00

21/07/2566 : ไม่ได้รับงบประมาณ

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(4) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 10.00 (2023-06-20)

10.00

20/06/2566 : ไม่ได้รับงบประมาณ

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(5) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 10.00 (2023-05-29)

10.00

29/05/2566 : ไม่ได้รับงบประมาณ

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(6) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 10.00 (2023-04-21)

10.00

21/04/2566 : ไม่ได้รับงบประมาณ

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(7) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 10.00 (2023-03-29)

10.00

29/03/2566 : ไม่ได้รับงบประมาณ

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(8) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 10.00 (2023-02-27)

10.00

27/02/2566 : ไม่ได้รับงบประมาณ

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(9) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 10.00 (2023-01-30)

10.00

30/01/2566 : ไม่ได้รับงบประมาณ

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(10) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 10.00 (2022-12-29)

10.00

29/12/2565 : อยู่ระหว่างดำเนินการ

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

แผนการดำเนินงานฯ

ขั้นตอน 1
:ขออนุมัติโครงการและขอจัดสรรงบประมาณ
:100.00%
เริ่มต้น :2022-10-01 00:00:00
สิ้นสุด :2022-10-01 00:00:00

(ทดสอบ) แสดงขั้นตอนการดำเนินงานโครงการ : 11000000-7209

(คลิก) ขั้นตอนการปฏิบัติงานของโครงการ : 11000000-7209

สนับสนุนตัวชี้วัดตามแผนฯ

รายละเอียดเกี่ยวกับตัวชี้วัด : 1100-6539

ตัวชี้วัด : (2566) ปริมาณน้ำที่ผ่านการบำบัดถูกนำกลับมาใช้ประโยชน์ (สจน.) (เจรจาตกลง)

ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 8.57

ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 8.77

ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์
ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (output)

ไตรมาสที่
(1 - 4)
*ผลงาน*
(ร้อยละ)
*ผลประเมินตัวชี้วัด*
(* 2.1 / 2.2 *)
1
8.74

100 / 100
2
8.88

0 / 0
3
8.78

100 / 100
4
8.77

0 / 0

** ผลการประเมินโครงการ (รายไตรมาส) **