ความคืบหน้าโครงการ ร้อยละ 0
สำนักงานระบบควบคุมน้ำ
ดูโครงการแผนปีฯ : พิมพ์ข้อมูล
*** สยป. ประเมินโครงการ : ไตรมาสที่ 1
สถานีสูบน้ำสามเสนเป็นหนึ่งในสถานีสูบน้ำริมแม่น้ำเจ้าพระยา ตั้งอยู่บริเวณปลาย คลองสามเสนเชื่อมต่อกับแม่น้ำเจ้าพระยา ทำหน้าที่สูบระบายน้ำและควบคุมระดับน้ำคลองสามเสนตั้งแต่แม่น้ำเจ้าพระยาถึงทางรถไฟสายเหนือซึ่งมีความกว้าง 10-25 เมตร ยาว 2,800 เมตร ซึ่งรับและระบายน้ำฝน น้ำทิ้งจากพื้นที่ถนนสามเสน ถนนราชวิถี ถนนพระราม 5 คลองสามเสนยังเชื่อมต่อคลองเปรมประชากรซึ่งไปเชื่อมกับกับระบบคลองระบายน้ำในพื้นที่ของเกาะรัตนโกสินทร์ รวมทั้งยังเชื่อมต่อระบบระบายน้ำของอุโมงค์ระบายน้ำใต้คลองบางซื่อ และอุโมงค์ระบายน้ำบึงมักกะสัน สถานีสูบน้ำสามเสนเริ่มใช้งานปี พ.ศ. 2529 มีอัตราการสูบน้ำ 45 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที เครื่องสูบน้ำมีสภาพเก่าไม่สามารถระบายน้ำได้อย่างประสิทธิภาพตามเดิม และไม่สามารถลดระดับน้ำในคลองเพื่อใช้เป็นแก้มลิงในการรับรองน้ำฝนให้ได้ต่ำกว่าระดับ -2.00 ม.รทก. (ระดับขุดลอกคลอง -2.50 ม.รทก.) จากผลการเปลี่ยนแปลงสภาวะภูมิอากาศ เกิดพายุฝนตกรุนแรงมากขึ้น และมีแนวโน้มเกิดบ่อยครั้ง ตลอดจนในพื้นที่มีการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดิน ส่งผลทำให้มีปริมาณน้ำที่สถานีสูบน้ำคลองสามเสนต้องระบายออกจากพื้นที่เพิ่มมากขึ้น จำเป็นต้องมีการพัฒนาปรับปรุงประสิทธิภาพการระบายน้ำ ระบบควบคุมน้ำ เพื่อป้องกันแก้ปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่ และควบคุมระดับน้ำเพื่อการไหลเวียนน้ำของคลองสามเสนให้สามารถเชื่อมต่อกับระบบคลองระบายน้ำเกาะรัตนโกสินทร์ อุโมงค์ระบายน้ำใต้คลองบางซื่อ อุโมงค์ระบายน้ำบึงมักกะสัน สำนักการระบายน้ำจึงได้มีโครงการปรับปรุงสถานีสูบน้ำสามเสน โดยปรับปรุงประสิทธิภาพระบบเครื่องจักรกล ระบบไฟฟ้า และก่อสร้างอาคารที่ทำการ เพื่อเร่งระบายน้ำในพื้นที่จากคลองสามเสนลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา และก่อสร้างประตูระบายน้ำพร้อมระบบสูบน้ำใหม่บริเวณคลองสามเสนเชื่อมต่อคลองเปรมประชากร ปรับปรุงประตูระบายน้ำสรรพาวุธ ปรับปรุงประตูระบายน้ำเม่งเส็ง และปรับปรุงประตูระบายน้ำดุสิต เพื่อให้สามารถควบคุมระดับน้ำในคลองสามเสนและเชื่อมต่อกับระบบคลองระบายน้ำและระบบอุโมงค์ระบายน้ำให้สามารถบริหารจัดการน้ำอย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
11090000/11090000
เพื่อปรับปรุงสถานีสูบน้ำสามเสน
เพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำในคลองสามเสน พื้นที่ถนนสามเสน ถนนราชวิถี ถนนพระราม 5 และระบบการบังคับน้ำที่เชื่อมต่อกับระบบคลองระบายน้ำเกาะรัตนโกสินทร์ อุโมงค์ระบายน้ำคลองบางซื่อ อุโมงค์ระบายน้ำบึงมักกะสัน โดย 3.1 ปรับปรุงสถานีสูบน้ำขนาดอัตราการสูบ 45 ลบ.ม.ต่อวินาที่ จำนวน 1 แห่ง 3.2 ติดตั้งอาคารที่พักเจ้าหน้าที่ จำนวน 1 แห่ง
ด้านที่ ๑ – มหานครปลอดภัย : Bangkok as a Safe City |
๑.๓ - ปลอดอุบัติเหตุ |
๑.๓.๑ ลดความสูญเสียจากอุบัติเหตุจราจร% |
๑.๓.๑.๑ ปรับปรุงสภาพถนนและจุดเสี่ยงอันตราย |
(1) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 0.00 (2023-09-21)
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(2) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 0.00 (2023-08-24)
24/08/2566 :
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(3) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 0.00 (2023-07-26)
26/07/2566 :
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(4) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 0.00 (2023-06-26)
26/06/2566 :
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(5) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 0.00 (2023-05-24)
24/05/2566 :
** ปัญหาของโครงการ :-
** อุปสรรคของโครงการ :-
------------------&&&--------------------
(6) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 0.00 (2023-04-25)
25/04/2566 :
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(7) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 0.00 (2023-03-27)
27/03/2566 :
** ปัญหาของโครงการ :-
** อุปสรรคของโครงการ :-
------------------&&&--------------------
(8) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 0.00 (2023-02-24)
24/02/2566 :
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(9) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 10.00 (2023-02-23)
23/02/2566 :
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
ตัวชี้วัด : (2566) ความสามารถระบายน้ำท่วมขังในถนนสายหลักได้ กรณีฝนตกไม่เกิน 100 มม./ชม. (นาที) (ผลลัพท์)
ค่าเป้าหมาย นาที : 180
ผลงานที่ทำได้ นาที : 235
ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์ ตัวชี้วัดระดับผลลัพธ์ (outcome)
** ผลการประเมินโครงการ (รายไตรมาส) **