ความคืบหน้าโครงการ ร้อยละ 0
สำนักงานระบบควบคุมน้ำ
ดูโครงการแผนปีฯ : พิมพ์ข้อมูล
*** สยป. ประเมินโครงการ : ไตรมาสที่ 1
สถานีสูบน้ำและประตูระบายน้ำเป็นจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญในการเร่งระบายน้ำและควบคุมระดับน้ำเพื่อการป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมกรุงเทพมหานคร อีกทั้งยังใช้ในการไหลเวียนน้ำเพื่อฟื้นฟูคุณภาพน้ำ แก้ไขปัญหาน้ำเน่าเสีย และเพื่อการสัญจรทางน้ำ จากการสำรวจสถานีสูบน้ำและประตูระบายน้ำในพื้นที่ฝั่งธนบุรี พบว่ามีสภาพทรุดโทรมเนื่องจากการใช้งานมาเป็นระยะเวลานาน และบางแห่งไม่สามารถบริหารจัดการน้ำได้เต็มประสิทธิภาพ จากปัญหาดังกล่าวและจากการเจริญเติบโตของสังคมเมืองที่เพิ่มขึ้นทำให้เกิดปัญหา น้ำสะสมและการระบายน้ำลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยาต้องใช้ระยะเวลาเพิ่มมากขึ้น คลองสนามชัย หรือ คลองมหาชัย เป็นคลองที่ขุดขึ้นแทนที่คลองโคกขาม มีความคดเคี้ยวมาก จุดเริ่มต้นของคลองอยู่ต่อจากคลองด่าน บริเวณแยกคลองบางขุนเทียน เขตจอมทอง แล้วไปออกแม่น้ำท่าจีนที่อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร ตัวคลองลึก 3 เมตร กว้าง 14 เมตร (ช่วงคลองวัดสิงห์ ถึง คลองราชมนตรี ยาวประมาณ 2,570 เมตร) เดิมใช้ในการคมนาคมไปกรุงศรีอยุธยาโดยไม่ต้องผ่านเข้าทางแม่น้ำเจ้าพระยา เป็นการบุกเบิกพื้นที่สองฝั่งคลองมาใช้ในการเกษตรอย่างกว้างขวาง ปัจจุบันคลองสนามชัยเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญในกรุงเทพมหานคร และจังหวัดสมุทรสาคร ในจังหวัดสมุทรสาครเรียกคลองนี้ว่าคลองมหาชัย และฝั่งธนบุรีเรียกคลองด่าน โดยไม่ได้เจาะจงว่าบริเวณใดเป็นจุดเริ่มต้นคลองสนามชัย สถานีสูบน้ำคลองวัดสิงห์ ตอนคลองสนามชัย เป็นสถานีหลักที่ช่วยในการลดจุดเสี่ยงน้ำท่วมบางขุนเทียน ตั้งอยู่ในพื้นที่ชุมชนเอกชัย (ติดกับวัดกำแพง) เขตจอมทอง ปัจจุบันมีเครื่องสูบน้ำที่ใช้งานประจำ ขนาด 3 ลบ.ม./วินาที จำนวน 2 เครื่อง ทั้งสองเครื่องมีสภาพชำรุดทรุดโทรม เนื่องจากมีอายุการใช้งานนานเกินกว่า 25 ปี ทำให้การสูบระบายน้ำไม่มีประสิทธิภาพ ต้องใช้เครื่องสูบน้ำ-ชั่วคราว 5 ลบ.ม./วินาที 1 เครื่อง อัตราการสูบน้ำรวม 11 ลบ.ม./วินาที ช่วยสูบระบายน้ำฝน ซึ่งไม่เพียงพอต่อการสูบเร่งระบายน้ำเมื่อฝนตกหนัก (Heavy Rain ฝนตกมีปริมาณตั้งแต่ 35 มิลลิเมตร ถึง 90 มิลลิเมตร) หรือฝนตกอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานาน ทำให้ประชาชนได้รับความเดือดร้อนจากปัญหาน้ำท่วม และในฤดูแล้งไม่สามารถแก้ไขปัญหาน้ำเน่า น้ำเหม็น น้ำดำได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้ง อาคารที่พักเจ้าหน้าที่เป็นอาคาร ค.ส.ล. สภาพชำรุดทรุดโทรม มีรอยแตกร้าวเป็นจำนวนมากและมีแนวโน้มว่าจะชำรุดเพิ่มมากขึ้น ซึ่งทำให้เสียภาพลักษณ์ของประเทศ สำนักงานระบบควบคุมน้ำ สำนักการระบายน้ำ มีความจำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องดำเนินโครงการปรับปรุงสถานี-สูบน้ำคลองวัดสิงห์ ตอนคลองสนามชัย โดยติดตั้งเครื่องสูบน้ำ ขนาด 3 ลบ.ม./วินาที จำนวน 5 เครื่อง เพิ่มประสิทธิภาพอัตราการสูบน้ำรวมเป็น 15 ลบ.ม./วินาที และย้ายจุดที่ตั้งของสถานีสูบน้ำแห่งใหม่ไปก่อสร้างห่างจากที่ตั้งสถานีสูบน้ำเดิมประมาณ 31 เมตร เนื่องจากตำแหน่งที่ตั้งและขนาดโครงสร้างของบ่อสูบแห่งเดิมมีขนาดเล็กไม่สามารถปรับใช้ กับขนาดของเครื่องสูบน้ำ เครื่องเก็บขยะอัตโนมัติพร้อมทางลำเลียง อาคารที่พักเจ้าหน้าที่ เครื่องจักรกลและอุปกรณ์ประกอบอื่น ๆ ที่ต้องติดตั้งใหม่เพื่อให้สามารถสูบเร่งระบายน้ำออกจากชุมชนเอกชัย พื้นที่ใกล้เคียง และสนับสนุนการเร่งผันน้ำที่ท่วมขังออกจากพื้นที่ชุมชนลงสู่แม่น้ำสายหลักได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น อีกทั้งมีความสำคัญมากในการสูบน้ำดีที่ผันมาจากคลองภาษีเจริญเข้าปรับสภาพน้ำเน่า น้ำเหม็น และน้ำดำให้กับคลองซอยต่าง ๆ ในช่วงฤดูแล้งได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
11090000/11090000
2.1 ปรับปรุงสถานีสูบน้ำคลองวัดสิงห์ ตอนคลองสนามชัย อัตราการสูบน้ำรวม 15 ลบ.ม./วินาที จำนวน 1 แห่ง 2.2 ก่อสร้างอาคารที่พักเจ้าหน้าที่ จำนวน 1 แห่ง 2.3 ก่อสร้างทางลำเลียงขยะและอุปกรณ์ จำนวน 1 แห่ง 2.4 ปรับปรุงภูมิทัศน์ จำนวน 1 แห่ง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ฝั่งธนบุรี เพิ่มประสิทธิภาพระบบระบายน้ำและเตรียมความพร้อมรองรับปริมาณน้ำหลากจากนอกแนวป้องกันของกรุงเทพมหานคร ให้ระบายน้ำผ่านพื้นที่กรุงเทพมหานครแล้วระบายออกสู่ทะเล เพื่อเพิ่มศักยภาพเชิงพื้นที่กรุงเทพมหานครชั้นใน และชั้นกลางให้สอดคล้องกับระบบสาธารณูปโภค และสาธารณูปการเพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชนและสร้างภาพลักษณ์ที่ดีของประเทศ
ปรับปรุงสถานีสูบน้ำคลองวัดสิงห์ ตอนคลองสนามชัย ในพื้นที่ชุมชนเอกชัย เขตจอมทอง
ด้านที่ ๑ – มหานครปลอดภัย : Bangkok as a Safe City |
๑.๓ - ปลอดอุบัติเหตุ |
๑.๓.๑ ลดความสูญเสียจากอุบัติเหตุจราจร% |
๑.๓.๑.๑ ปรับปรุงสภาพถนนและจุดเสี่ยงอันตราย |
(1) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 0.00 (2023-09-22)
22/09/2566 :
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(2) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 0.00 (2023-08-24)
24/08/2566 :
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(3) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 0.00 (2023-07-26)
26/07/2566 :
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(4) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 0.00 (2023-06-23)
23/06/2566 :
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(5) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 0.00 (2023-05-24)
24/05/2566 :
** ปัญหาของโครงการ :-
** อุปสรรคของโครงการ :-
------------------&&&--------------------
(6) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 0.00 (2023-04-25)
25/04/2566 :
** ปัญหาของโครงการ :-
** อุปสรรคของโครงการ :-
------------------&&&--------------------
(7) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 0.00 (2023-03-27)
27/03/2566 :
** ปัญหาของโครงการ :-
** อุปสรรคของโครงการ :-
------------------&&&--------------------
(8) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 0.00 (2023-02-23)
23/02/2566 :
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
ตัวชี้วัด : (2566) ความสามารถระบายน้ำท่วมขังในถนนสายหลักได้ กรณีฝนตกไม่เกิน 100 มม./ชม. (นาที) (ผลลัพท์)
ค่าเป้าหมาย นาที : 180
ผลงานที่ทำได้ นาที : 235
ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์ ตัวชี้วัดระดับผลลัพธ์ (outcome)
** ผลการประเมินโครงการ (รายไตรมาส) **