ความคืบหน้าโครงการ ร้อยละ 0
สำนักงานระบบควบคุมน้ำ
ดูโครงการแผนปีฯ : พิมพ์ข้อมูล
*** สยป. ประเมินโครงการ : ไตรมาสที่ 1
รัฐบาลมีนโยบายให้กรุงเทพมหานครปรับปรุงประตูเรือสัญจรแนวคลองชักพระ คลองมอญ และคลองบางกอกใหญ่ เพื่อพัฒนาการคมนาคมทางน้ำและส่งเสริมการท่องเที่ยว อีกทั้งเพื่อเตรียมรองรับปริมาณน้ำหลากจากนอกแนวป้องกันของกรุงเทพมหานครให้ระบายผ่านพื้นที่กรุงเทพมหานครออกสู่ทะเลในกรณีที่มีปัญหาน้ำหลากปริมาณมากจากพื้นที่ตอนบนของกรุงเทพมหานคร รัฐบาลได้ตั้งเป้าหมายไว้ให้สามารถรับปริมาณน้ำหลากผ่านเข้ามาในพื้นที่กรุงเทพมหานครฝั่งธนบุรี ได้ประมาณ 75 ลบ.ม./วินาที สถานีสูบน้ำและประตูเรือสัญจร เป็นจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญในการเร่งระบายน้ำ ควบคุมระดับน้ำ และการสัญจรทางน้ำ เนื่องจากการเดินทางโดยเรือโดยสารยังไม่ครอบคลุมพื้นที่ เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อม สำนักการระบายน้ำจึงได้สำรวจคลองต่าง ๆ เพื่อจักได้ดำเนินการปรับเปลี่ยนรูปแบบให้สามารถใช้งานในการควบคุมระดับน้ำและการเดินเรือเพื่อขนส่งมวลชน และส่งเสริมการท่องเที่ยวทางน้ำไปพร้อมกัน ตามแผนพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวย่านคลองบางหลวง และพื้นที่เกี่ยวเนื่อง ดังนี้ คลองชักพระ หรือ คลองบางขุนศรี ลำคลองกว้างประมาณ 10-15 เมตร และยาว 5.45 กิโลเมตร ไหลแยกจากคลองบางกอกน้อยบริเวณวัดสุวรรณคีรีไปเชื่อมกันบริเวณที่คลองมอญตัดกับคลองบางกอกใหญ่ ทุกๆ วันแรม 2 ค่ำ เดือน 12 จะมีประเพณีชักพระ โดยเรือที่ประดิษฐานพระพุทธรูปจะถูกชักลากจากวัดนางชี คลองภาษีเจริญผ่านคลองชักพระและคลองบางกอกน้อย ออกสู่แม่น้ำเจ้าพระยา แล้วอ้อมมาเข้าคลองบางกอกใหญ่กลับไปที่วัดนางชีตามเดิม ซึ่งนับเป็นงานประเพณีชักพระแห่งเดียวในกรุงเทพมหานคร และเป็นที่มาของชื่อคลองนี้ จากปากคลองบางกอกใหญ่ไปสิ้นสุดปากคลองบางกอกน้อย ผ่านจุดท่องเที่ยวที่สำคัญ อาทิ ท่าเรือวังหลัง วัดอรุณราชวราราม สถานีสูบน้ำคลองบางกอกใหญ่ วัดหงส์รัตนารามราชวรวิหาร ท่าเรือตลาดพลู วัดปากน้ำภาษีเจริญ วัดประดู่ฉิมพลี วัดนวลนรดิศ ตลาดน้ำคลองบางหลวง คลองบางจาก บ้านศิลปิน วัดคูหาสวรรค์ ตลาดน้ำตลิ่งชัน สถานีสูบน้ำคลองชักพระ พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติเรือราชพิธี เป็นต้น ปัจจุบันคลองชักพระเป็นคลองเพื่อ การระบายน้ำ การสัญจรทางน้ำ การท่องเที่ยว และเป็นคลองที่ใช้ในการบริหารจัดการน้ำร่วมกับคลองอื่นๆ ที่ไหลเชื่อม ได้แก่ คลองบ้านไทร คลองบางระมาด และคลองบางพรม และยังเป็นแนวแบ่งเขตบางกอกน้อย กับเขตตลิ่งชันตลอดทั้งสาย สถานีสูบน้ำคลองชักพระ โครงสร้างประตูเป็น ค.ส.ล. มีสภาพเก่าทรุดโทรม เสื่อมสภาพตามอายุการใช้งาน มานานเกินกว่า 20 ปี ไม่สามารถใช้งานได้เต็มประสิทธิภาพ (ยกเว้นระบบไฟฟ้าที่ได้รับการปรับปรุงหลังจากห้องควบคุมระบบไฟฟ้าระเบิดเมื่อคราวเกิดปัญหาน้ำท่วมใน พ.ศ. 2554) มีเครื่องสูบน้ำที่ใช้งานประจำ จำนวน 15 เครื่อง ขนาดกำลังสูบรวม 45 ลบ.ม./วินาที และเครื่องสูบน้ำชั่วคราว ขนาดกำลังสูบ 3 ลบ.ม./วินาที จำนวน 1 เครื่อง ประตูเรือสัญจรทางน้ำ ปัจจุบันมีประตูเรือสัญจร 1 ช่อง ใช้ประโยชน์ร่วมสองอย่าง คือ เป็นประตูควบคุมระดับน้ำ และเป็นประตูเรือสัญจรของเรือหางยาวและเรือขนาดเล็กใช้ผ่านช่องทาง เมื่อต้องเปิด - ปิดบานเพื่อการบริหารจัดการน้ำตามแผนปฏิบัติงานและเพื่อการให้บริการแก่เรือสัญจรผ่าน ต้องใช้เวลานาน ประมาณ 25-30 นาที/เที่ยว เที่ยวละ 10 ลำ ซึ่งเป็นข้อจำกัดที่ทำให้การบริการต้องใช้เวลานานและมีเรือจอดสะสมจำนวนมากเพื่อรอการบริการผ่านช่องทางเดินเรือ ในช่วงเวลาเร่งด่วนหรือเมื่อมีระดับน้ำในคลองสูงกว่าระดับน้ำควบคุมการจราจรทางน้ำจะหนาแน่น และจากการเจริญเติบโตของสังคมทำให้มีจำนวนเรือรอรับบริการเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้เกิดปัญหาการจราจรทางน้ำเพิ่มขึ้น ในวันธรรมดามีเรือผ่านเส้นทางประจำ 80 – 100 ลำ/วัน และในวันหยุดมีเรือผ่านเส้นทางทุก ๆ 2 – 5 นาที ทั้งนี้มีเรือผ่านเส้นทางตลอดเวลาที่เปิดให้บริการสถิติสูงสุด 281 เที่ยว/วัน (บันทึก พ.ศ. 2559) ประกอบกับบริเวณสถานีสูบน้ำคลองมีร่องน้ำตื้น ที่ระดับน้ำควบคุมไม่สามารถรองรับเรือท่องเที่ยว เรือสัญจรขนาดกลางขึ้นไปที่ใหญ่กว่าเรือหางยาว ให้ผ่านช่องทางได้ ไม่สามารถตอบสนองต่อความต้องการใช้บริการ และจากการเจริญเติบโตของสังคมทำให้มีจำนวนเรือเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ จึงเกิดปัญหาการจราจรทางน้ำเพิ่มขึ้น อีกทั้งเครื่องกว้าน Soft Start ชำรุด เมื่อเปิดบานประตูเรือสัญจรและใช้คำสั่งหยุดบาน เครื่องจะหยุดทันที มีเสียงดังและจะเกิดการกระแทกอย่างแรง มีความเสี่ยงที่อาจจะเกิดอันตรายกับประชาชนและเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน สำนักงานระบบควบคุมน้ำ สำนักการระบายน้ำ มีความจำเป็นเร่งด่วนที่จะดำเนินโครงการ ปรับปรุงสถานีสูบน้ำและประตูเรือสัญจรทางน้ำบริเวณสถานีสูบน้ำ เพื่อการบริหารจัดการน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ และเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการเรือสัญจร เพื่อเร่งเปิด-ปิดประตูเรือสัญจร อำนวยความสะดวกในการเดินเรือขนส่งมวลชน สนับสนุนการแก้ไขและบรรเทาปัญหาการจราจรในกรุงเทพมหานคร และส่งเสริมการท่องเที่ยว
11090000/11090000
2.1 ปรับปรุงสถานีสูบน้ำคลองชักพระ กำลังสูบรวม 52.50 ลบ.ม./วินาที จำนวน 1 แห่ง 2.2 ปรับปรุงประตูเรือสัญจร จำนวน 1 แห่ง 2.3 ปรับปรุงภูมิทัศน์ จำนวน 1 แห่ง
ปรับปรุงสถานีสูบน้ำและประตูเรือสัญจรทางน้ำบริเวณสถานีสูบน้ำคลองชักพระ ณ สถานีสูบน้ำคลองชักพระ เขตตลิ่งชัน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ฝั่งธนบุรี เพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการเรือสัญจร สนับสนุนและเตรียมความพร้อมรองรับปริมาณน้ำหลากให้ระบายน้ำออกสู่ทะเล ส่งเสริมและสนับสนุนระบบการเดินทาง ล้อ ราง เรือ เพื่อเพิ่มศักยภาพเชิงพื้นที่แก่กรุงเทพมหานคร
ด้านที่ ๑ – มหานครปลอดภัย : Bangkok as a Safe City |
๑.๓ - ปลอดอุบัติเหตุ |
๑.๓.๑ ลดความสูญเสียจากอุบัติเหตุจราจร% |
๑.๓.๑.๑ ปรับปรุงสภาพถนนและจุดเสี่ยงอันตราย |
(1) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 0.00 (2023-09-22)
22/09/2566 :
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(2) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 0.00 (2023-08-24)
24/08/2566 :
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(3) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 0.00 (2023-07-26)
26/07/2566 :
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(4) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 0.00 (2023-06-23)
23/06/2566 :
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(5) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 0.00 (2023-05-24)
24/05/2566 :
** ปัญหาของโครงการ :-
** อุปสรรคของโครงการ :-
------------------&&&--------------------
(6) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 0.00 (2023-04-25)
25/04/2566 :
** ปัญหาของโครงการ :-
** อุปสรรคของโครงการ :-
------------------&&&--------------------
(7) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 0.00 (2023-03-27)
27/03/2566 :
** ปัญหาของโครงการ :-
** อุปสรรคของโครงการ :-
------------------&&&--------------------
(8) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 0.00 (2023-02-23)
23/02/2566 :
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
ตัวชี้วัด : (2566) ความสามารถระบายน้ำท่วมขังในถนนสายหลักได้ กรณีฝนตกไม่เกิน 100 มม./ชม. (นาที) (ผลลัพท์)
ค่าเป้าหมาย นาที : 180
ผลงานที่ทำได้ นาที : 235
ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์ ตัวชี้วัดระดับผลลัพธ์ (outcome)
** ผลการประเมินโครงการ (รายไตรมาส) **