ความคืบหน้าโครงการ ร้อยละ 0
สำนักงานระบบควบคุมน้ำ
ดูโครงการแผนปีฯ : พิมพ์ข้อมูล
*** สยป. ประเมินโครงการ : ไตรมาสที่ 1
ตามที่รัฐบาลมีนโยบายให้กรุงเทพมหานครปรับปรุงประตูเรือสัญจรแนวคลองชักพระ คลองมอญ และคลองบางกอกใหญ่ เพื่อพัฒนาการคมนาคมทางน้ำและส่งเสริมการท่องเที่ยว และเพื่อเตรียมรองรับปริมาณน้ำหลากจากนอกแนวป้องกันของกรุงเทพมหานครให้ระบายผ่านพื้นที่กรุงเทพมหานครออกสู่ทะเล ในกรณีที่มีปัญหาน้ำหลากปริมาณมากจากพื้นที่ตอนบนของกรุงเทพมหานคร โดยตั้งเป้าหมายไว้ให้สามารถรับปริมาณน้ำหลากผ่านเข้ามาในพื้นที่กรุงเทพมหานครฝั่งธนบุรีได้ประมาณ 75 ลบ.ม./วินาที และตามแผนพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวย่านคลองบางหลวง และพื้นที่เกี่ยวเนื่องของกรุงเทพมหานคร เพื่อเตรียมความพร้อมรับและสนองนโยบายดังกล่าว สำนักการระบายน้ำจึงได้สำรวจคลองต่าง ๆ สถานีสูบน้ำและประตูเรือสัญจร ซึ่งเป็นจุดยุทธศาสตร์ ที่สำคัญในการเร่งระบายน้ำ ควบคุมระดับน้ำ และบริการการสัญจรทางน้ำ เพื่อจักได้ดำเนินการปรับเปลี่ยนรูปแบบ ให้สามารถระบายน้ำและการควบคุมระดับน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนี้ คลองมอญ หรือ คลองบางเสาธง เป็นคลองที่ขุดขึ้นคลองหนึ่งที่ตั้งอยู่ระหว่างเขตบางกอกใหญ่ กับเขตบางกอกน้อย ที่มาของชื่อคลองมาจากที่ริมสองฝั่งคลองเป็นชุมชนชาวมอญเรียงรายกันไปตลอดแนว คลองมอญแยกจากแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันตก พาดผ่านเป็นแนวแบ่งเขตแดนระหว่างเขตบางกอกน้อย และบางกอกใหญ่ ไปออกยังบริเวณที่คลองบางน้อยและคลองบางเชือกหนังไหลมาบรรจบกันในรอยต่อเขตภาษีเจริญและเขตตลิ่งชัน คลองมอญมีความยาวประมาณ 3 กิโลเมตร มีศาสนสถานและวัดสำคัญ ๆ มากมาย เช่น วัดเครือวัลย์ วัดนาคกลาง วัดพระยาทำ วัดครุฑ วัดโพธิ์เรียง วัดบางเสาธง วัดปากน้ำฝั่งใต้ วัดเกาะ คลองมอญจึงมีความสำคัญต่อการระบายน้ำและการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในเขตกรุงเทพมหานครชั้นในเป็นอย่างมาก ชื่ออื่นๆ ของคลองมอญที่นิยมเรียกกัน คือ คลองบางเสาธง ซึ่งเรียกกันในช่วงที่มารวมกับคลองบางน้อย และบางเชือกหนัง หรือบางครั้งก็ถือว่าคลองช่วงนี้เป็นส่วนหนึ่งของคลองบางน้อย สถานีสูบน้ำคลองมอญ มีเครื่องสูบน้ำที่ใช้งานประจำ 8 เครื่อง ขนาดกำลังสูบรวม 24 ลบ.ม./วินาที และเครื่องสูบน้ำชั่วคราว ขนาดกำลังสูบ 3 ลบ.ม./วินาที 1 เครื่อง เครื่องสูบน้ำและตู้ควบคุมกำลังไฟฟ้าหลัก มีสภาพชำรุดทรุดโทรมมาก เนื่องจากมีอายุการใช้งานมานานเกิน 20 ปี ไม่สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่เพียงพอต่อการสูบเร่งการระบายน้ำในเวลาที่มีฝนตกหนัก หรือฝนตกอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานาน ทำให้สูบน้ำออกจากพื้นที่ได้ช้าและใช้เวลานาน ทำให้ประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อน อีกทั้งระบบไฟฟ้าแรงสูง ระบบไฟฟ้าแรงต่ำ(สายไฟฟ้าฉนวนมีสภาพเก่า กรอบ และมีรอยร้าว) และระบบไฟฟ้าควบคุมเครื่องจักรกลเสื่อมสภาพมาก ทั้งนี้นับตั้งแต่ติดตั้งระบบไฟฟ้าทั้งหมดยังไม่เคยได้รับการปรับปรุงประสิทธิภาพ ซึ่งการเสื่อมสภาพของระบบไฟฟ้าดังกล่าวข้างต้นจะก่อให้เกิดอุบัติเหตุและอันตรายถึงชีวิตผู้ปฏิบัติงาน และอาคารที่ทำการเจ้าหน้าที่ สภาพชำรุดทรุดโทรมมาก เนื่องจากมีอายุการใช้งานมานานเกิน 20 ปี ประตูเรือสัญจรทางน้ำ ปัจจุบันมีช่องทางเพื่อการบริหารจัดการน้ำ 1 ช่อง และมีช่องทางประตูเรือสัญจร 1 ช่อง การให้บริการแก่เรือหางยาวและเรือขนาดเล็กผ่านช่องทางประตูเรือสัญจรจะ เปิด-ปิด ตามแผนควบคุมระดับน้ำที่ สำนักการระบายน้ำ กำหนดทุกวัน เรือที่ผ่านช่องทางได้เที่ยวละ 6 ลำ ใช้เวลารอการเปิด-ปิดประตูและปรับระดับน้ำประมาณ 20 นาที/เที่ยว บริเวณประตูเรือสัญจรมีร่องน้ำตื้นจึงไม่สามารถรองรับเรือของโครงการ ล้อ ราง เรือ หรือเรือท่องเที่ยวขนาดกลางขึ้นไปให้ผ่านช่องทางได้ จากการเจริญเติบโตของสังคมทำให้มีจำนวนเรือเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ จึงเกิดปัญหาการบริหารจัดการน้ำและการจราจรทางน้ำเพิ่มขึ้น สำนักงานระบบควบคุมน้ำ สำนักการระบายน้ำ มีความจำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องดำเนินโครงการปรับปรุงสถานีสูบน้ำและประตูเรือสัญจรทางน้ำบริเวณสถานีสูบน้ำคลองมอญ เพื่อการบริหารจัดการน้ำ โดยการเพิ่มประสิทธิภาพระบบระบายน้ำ และเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการผ่านช่องทางของเรือสัญจรให้เร็วขึ้น
11090000/11090000
2.1 ปรับปรุงสถานีสูบน้ำคลองมอญ ขนาดกำลังสูบรวม 28 ลบ.ม./วินาที จำนวน 1 แห่ง 2.2 ปรับปรุงประตูเรือสัญจร จำนวน 1 แห่ง 2.3 ปรับปรุงภูมิทัศน์ จำนวน 1 แห่ง
ปรับปรุงสถานีสูบน้ำและประตูเรือสัญจรทางน้ำบริเวณสถานีสูบน้ำคลองมอญ ณ สถานีสูบน้ำคลองมอญ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ฝั่งธนบุรี เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วม รองรับปริมาณน้ำหลากให้เร่งระบายน้ำออกสู่ทะเล เพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการเรือสัญจร ส่งเสริมและสนับสนุนระบบการเดินทาง ล้อ ราง เรือ เพื่อขนส่งมวลชน เพิ่มศักยภาพเชิงพื้นที่กรุงเทพมหานครชั้นใน และชั้นกลางให้สอดคล้องกับระบบสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ และเพิ่มความปลอดภัยในการปฏิบัติงานแก่เจ้าหน้าที่
ด้านที่ ๑ – มหานครปลอดภัย : Bangkok as a Safe City |
๑.๓ - ปลอดอุบัติเหตุ |
๑.๓.๑ ลดความสูญเสียจากอุบัติเหตุจราจร% |
๑.๓.๑.๑ ปรับปรุงสภาพถนนและจุดเสี่ยงอันตราย |
(1) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 0.00 (2023-09-22)
22/09/2566 :
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(2) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 0.00 (2023-08-24)
24/08/2566 :
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(3) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 0.00 (2023-07-26)
26/07/2566 :
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(4) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 0.00 (2023-06-23)
23/06/2566 :
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(5) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 0.00 (2023-05-24)
24/05/2566 :
** ปัญหาของโครงการ :-
** อุปสรรคของโครงการ :-
------------------&&&--------------------
(6) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 0.00 (2023-04-25)
25/04/2566 :
** ปัญหาของโครงการ :-
** อุปสรรคของโครงการ :-
------------------&&&--------------------
(7) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 0.00 (2023-03-27)
27/03/2566 :
** ปัญหาของโครงการ :-
** อุปสรรคของโครงการ :-
------------------&&&--------------------
(8) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 0.00 (2023-02-23)
23/02/2566 :
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
ตัวชี้วัด : (2566) ความสามารถระบายน้ำท่วมขังในถนนสายหลักได้ กรณีฝนตกไม่เกิน 100 มม./ชม. (นาที) (ผลลัพท์)
ค่าเป้าหมาย นาที : 180
ผลงานที่ทำได้ นาที : 235
ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์ ตัวชี้วัดระดับผลลัพธ์ (outcome)
** ผลการประเมินโครงการ (รายไตรมาส) **