ความคืบหน้าโครงการ ร้อยละ 0
สำนักงานระบบควบคุมน้ำ
ดูโครงการแผนปีฯ : พิมพ์ข้อมูล
*** สยป. ประเมินโครงการ : ไตรมาสที่ 1
กรุงเทพมหานครมีปัญหาเรื่องการจราจรทางบกเป็นปัญหาอันดับต้น ๆ ทางเลือกในการเดินทางมีจำกัด และการเดินทางโดยเรือโดยสารยังไม่ครอบคลุมพื้นที่เนื่องจากติดปัญหาอุปสรรคต่างๆ เช่น มีการก่อสร้างประตูระบายน้ำหรือสถานีสูบน้ำขวางคลอง เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมสำหรับการเดินทางโดยเรือโดยสารพัฒนาการคมนาคมทางน้ำ ส่งเสริมการท่องเที่ยว และเตรียมรองรับปริมาณน้ำหลากจากนอกแนวป้องกันของกรุงเทพมหานครให้ระบายผ่านพื้นที่กรุงเทพมหานครออกสู่ทะเลในกรณีที่มีปัญหาน้ำหลากปริมาณมากจากพื้นที่ตอนบนของกรุงเทพมหานคร รัฐบาลได้ตั้งเป้าหมายไว้ให้สามารถรับปริมาณน้ำหลากผ่านเข้ามาในพื้นที่กรุงเทพมหานครฝั่งธนบุรี ได้ประมาณ 75 ลบ.ม./วินาที สำนักการระบายน้ำจึงได้สำรวจคลองต่าง ๆ ที่มีสถานีสูบน้ำและประตูระบายน้ำขวางทางเดินเรือเพื่อจะได้ดำเนินการปรับเปลี่ยนรูปแบบให้สามารถใช้งานในการควบคุมระดับน้ำและการเดินเรือเพื่อขนส่งมวลชนไปพร้อมกัน คลองภาษีเจริญ เริ่มจากปากคลองที่บริเวณคลองบางกอกใหญ่และคลองบางขุนศรีมาบรรจบกันบริเวณวัดปากน้ำไปออกแม่น้ำท่าจีนที่ตำบลดอนไก่ดี จังหวัดสมุทรสาคร ยาว ๒๘ กิโลเมตร ส่วนที่อยู่ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร เขตบางแค เริ่มจากปากคลองบางกอกใหญ่ถึงคลองพระยาราชมนตรี ยาว 5.1 กิโลเมตร กว้าง 15-30 เมตร คลองภาษีเจริญมีประตูน้ำ ๒ แห่ง คือประตูน้ำภาษีเจริญตอนนอก อยู่ห่างที่ว่าการเขตภาษีเจริญ ๓ กิโลเมตร ช่องกว้าง ๖ เมตร และประตูน้ำภาษีเจริญตอนใน อยู่ทางด้านแม่น้ำท่าจีน คือประตูน้ำกระทุ่มแบน ทั้งสองแห่งมีขนาดประตูน้ำเท่ากัน คลองภาษีเจริญเป็นคลองที่คณะรัฐมนตรีลงมติเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๐ ให้อนุรักษ์ไว้เป็นจุดสนใจของนักท่องเที่ยวที่นิยมท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม คลองนี้เป็นเส้นทางทางน้ำที่สวยงาม และมีศาสนสถานตั้งอยู่อย่างหนาแน่นสองฝั่งคลอง ทั้งวัดและมัสยิด สถานีสูบน้ำคลองภาษีเจริญ (วัดปากน้ำ) และประตูระบายน้ำ ตั้งอยู่ปากคลองภาษีเจริญ ซอย รัชมงคลประสาธน์ แขวงปากคลองภาษีเจริญ เขตภาษีเจริญ โครงสร้างเป็น ค.ส.ล. มีสภาพเก่าทรุดโทรม เสื่อมสภาพตามอายุการใช้งาน มานานกว่า 20 ปี ปัจจุบันไม่สามารถใช้งานได้เต็มประสิทธิภาพ มีเครื่องสูบน้ำ ขนาด 3 ลบ.ม./วินาที จำนวน 5 เครื่อง อัตราการสูบน้ำรวม 15 ลบ.ม./วินาที สถานีสูบน้ำแห่งนี้เป็นจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญในการ เร่งระบายน้ำและควบคุมระดับน้ำเพื่อการป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมกรุงเทพมหานคร การสัญจรทางน้ำ การไหลเวียนน้ำเพื่อฟื้นฟูคุณภาพน้ำในคลองซอยในฤดูแล้ง อีกทั้งช่วยรักษาระดับน้ำในคลองเพื่อบรรเทาและแก้ไขปัญหาน้ำทะเลหนุน เมื่อระดับน้ำทะเลเคลื่อนไหวขึ้นและลงโดยธรรมชาติทำให้ระดับน้ำในคลองซอยมีการ ขึ้น-ลง คล้อยตามกัน น้ำทะเลหนุนสูงสุดในเดือนตุลาคมถึงเดือนธันวาคม ระดับน้ำที่สูงขึ้นนี้จะไหลเข้าท่วมบ้านเรือนและพื้นที่เพาะปลูกของประชาชนทำให้ประชาชนผู้อยู่อาศัยและเกษตรกรได้รับความเดือดร้อน ประตูเรือสัญจรทางน้ำ ปัจจุบันประตูเรือสัญจรไม่สามารถใช้งานได้เต็มประสิทธิภาพ ไม่สามารถตอบสนองต่อความต้องการใช้บริการของประชาชน เนื่องจากบริเวณอ่างจอดเรือมีระดับน้ำตื้นและมีจำนวน ไม่เพียงพอสำหรับให้บริการจอดเรือ เมื่อน้ำในคลองมีระดับน้ำสูงการจราจรทางน้ำจะหนาแน่น มีเรือผ่านเส้นทางตลอดเวลา ไม่สามารถรองรับเรือท่องเที่ยว เรือสัญจรขนาดกลางขึ้นไป ให้ผ่านช่องทางได้ และจากการเจริญเติบโตของสังคมทำให้มีจำนวนเรือเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ จึงเกิดปัญหาการจราจรทางน้ำเพิ่มขึ้น สำนักงานระบบควบคุมน้ำ สำนักการระบายน้ำ มีความจำเป็นเร่งด่วนที่ต้องดำเนินโครงการปรับปรุงสถานีสูบน้ำและประตูเรือสัญจรทางน้ำบริเวณสถานีสูบน้ำคลองภาษีเจริญ (วัดปากน้ำ) โดยติดตั้งเครื่องสูบน้ำ ขนาด 3.5 ลบ.ม./วินาที จำนวน 5 ลบ.ม./วินาที จำนวน 5 เครื่อง อัตราการสูบน้ำรวม 17.5 ลบ.ม./วินาที เพื่อการบริหารจัดการน้ำ ทั้งด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วม ควบคุมระดับน้ำ และไหลเวียนน้ำแก้ปัญหาน้ำเค็มรุกเข้าพื้นที่ ปัญหามลพิษทางน้ำ ให้แก่ประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น อำนวยความสะดวกในการเดินเรือขนส่งมวลชน สนับสนุนการแก้ไขและบรรเทาปัญหาการจราจรในกรุงเทพมหานคร และส่งเสริมการท่องเที่ยว
11090000/11090000
2.1 ปรับปรุงสถานีสูบน้ำ จำนวน 1 แห่ง 2.2 ปรับปรุงประตูเรือสัญจร จำนวน 1 แห่ง 2.3 ปรับปรุงภูมิทัศน์ จำนวน 1 แห่ง
ปรับปรุงสถานีสูบน้ำและประตูเรือสัญจรทางน้ำบริเวณสถานีสูบน้ำคลองภาษีเจริญ (วัดปากน้ำ)ซอยรัชมงคลประสาธน์ แขวงปากคลองภาษีเจริญ เขตภาษีเจริญ เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการน้ำในคลองภาษีเจริญ เพื่อแก้ไขปัญหาน้ำท่วมและการไหลเวียนน้ำ และการให้บริการการเดินเรือ
ด้านที่ ๑ – มหานครปลอดภัย : Bangkok as a Safe City |
๑.๓ - ปลอดอุบัติเหตุ |
๑.๓.๑ ลดความสูญเสียจากอุบัติเหตุจราจร% |
๑.๓.๑.๑ ปรับปรุงสภาพถนนและจุดเสี่ยงอันตราย |
(1) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 0.00 (2023-09-22)
22/09/2566 :
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(2) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 0.00 (2023-08-24)
24/08/2566 :
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(3) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 0.00 (2023-07-26)
26/07/2566 :
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(4) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 0.00 (2023-06-23)
23/06/2566 :
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(5) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 0.00 (2023-05-24)
24/05/2566 :
** ปัญหาของโครงการ :-
** อุปสรรคของโครงการ :-
------------------&&&--------------------
(6) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 0.00 (2023-04-25)
25/04/2566 :
** ปัญหาของโครงการ :-
** อุปสรรคของโครงการ :-
------------------&&&--------------------
(7) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 0.00 (2023-03-27)
27/03/2566 :
** ปัญหาของโครงการ :-
** อุปสรรคของโครงการ :-
------------------&&&--------------------
(8) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 0.00 (2023-02-23)
23/02/2566 :
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
ตัวชี้วัด : (2566) ความสามารถระบายน้ำท่วมขังในถนนสายหลักได้ กรณีฝนตกไม่เกิน 100 มม./ชม. (นาที) (ผลลัพท์)
ค่าเป้าหมาย นาที : 180
ผลงานที่ทำได้ นาที : 235
ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์ ตัวชี้วัดระดับผลลัพธ์ (outcome)
** ผลการประเมินโครงการ (รายไตรมาส) **