ความคืบหน้าโครงการ/กิจกรรม

Back Home
FusionCharts will render here

โครงการปรับปรุงสถานีสูบน้ำและประตูเรือสัญจรทางน้ำ บริเวณสถานีสูบน้ำคลองบางกอกใหญ่ (สคน) : 11000000-7326

สํานักการระบายน้ำ : (2566)

0

ความคืบหน้าโครงการ ร้อยละ 0

สำนักงานระบบควบคุมน้ำ

ดูโครงการแผนปีฯ : พิมพ์ข้อมูล

*** สยป. ประเมินโครงการ : ไตรมาสที่ 1

หลักการและเหตุผล

รัฐบาลมีนโยบายให้กรุงเทพมหานครปรับปรุงประตูเรือสัญจรแนวคลองชักพระ คลองมอญ และคลองบางกอกใหญ่ เพื่อพัฒนาการคมนาคมทางน้ำและส่งเสริมการท่องเที่ยว เตรียมรองรับปริมาณน้ำหลากจากนอกแนวป้องกันของกรุงเทพมหานครให้ระบายผ่านพื้นที่กรุงเทพมหานครออกสู่ทะเล ในกรณีที่มีปัญหา น้ำหลากปริมาณมากจากพื้นที่ตอนบนของกรุงเทพมหานคร และได้ตั้งเป้าหมายไว้ให้สามารถรับปริมาณ น้ำหลากผ่านเข้ามาในพื้นที่กรุงเทพมหานครฝั่งธนบุรีได้ประมาณ 75 ลบ.ม./วินาที สถานีสูบน้ำและประตูเรือสัญจร เป็นจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญในการเร่งระบายน้ำ ควบคุมระดับน้ำ และการสัญจรทางน้ำ ปัจจุบันการเดินทางโดยเรือโดยสารยังไม่ครอบคลุมพื้นที่ ดังนั้นเพื่อเตรียมความพร้อมสำนักการระบายน้ำจึงได้สำรวจคลองต่าง ๆ เพื่อจักได้ดำเนินการปรับเปลี่ยนรูปแบบให้สามารถใช้งาน ในการควบคุมระดับน้ำและการเดินเรือเพื่อขนส่งมวลชน และส่งเสริมการท่องเที่ยวทางน้ำไปพร้อมกัน ตามแผนพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวย่านคลองบางหลวง และพื้นที่เกี่ยวเนื่อง ดังนี้ คลองบางกอกใหญ่ สมัยสมเด็จพระเจ้าตากสิน ราชสำนักย้ายมาอยู่ที่กรุงธนบุรี คลองบางกอกใหญ่กลายมาเป็นชุมชนของข้าหลวง จึงนิยมเรียกกันติดปากว่า "คลองบางข้าหลวง" หรือ "คลองบางหลวง" รัฐบาล จอมพลถนอม กิตติขจร กำหนดให้คลองบางกอกใหญ่เป็นคลองสำคัญที่ต้องอนุรักษ์ไว้ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2510 คลองแยกจากแม่น้ำเจ้าพระยาทางฝั่งขวาของป้อมวิไชยประสิทธิ์ ไปสิ้นสุดที่คลองมอญ ตรงข้ามปากคลองชักพระ มีความยาวประมาณ 6 กิโลเมตร ถือเป็นเส้นทางสัญจรและระบายน้ำ และยังเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมที่สำคัญ อีกทั้งมีศาสนสถานตั้งอยู่อย่างหนาแน่นทั้งสองฝั่งทั้งวัดและมัสยิด สถานีสูบน้ำคลองบางกอกใหญ่ มีเครื่องสูบน้ำที่ใช้งานประจำ 18 เครื่อง ขนาดกำลังสูบรวม 54 ลบ.ม./วินาที และเครื่องสูบน้ำชั่วคราว ขนาดกำลังสูบ 3 ลบ.ม./วินาที 1 เครื่อง เครื่องสูบน้ำและตู้ควบคุมกำลังไฟฟ้าหลักมีสภาพชำรุดทรุดโทรม เนื่องจากมีอายุการใช้งานมานานเกิน 20 ปี (ติดตั้ง พ.ศ. 2538) ไม่สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่เพียงพอต่อการสูบเร่งการระบายน้ำในเวลาที่มีฝนตกหนัก หรือฝนตกต่อเนื่องเป็นเวลานาน ทำให้สูบน้ำออกจากพื้นที่ได้ช้าและใช้เวลานาน ประชาชนได้รับความเดือดร้อนจากปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่ ด้านทิศเหนือของสถานีสูบน้ำ เป็นพื้นที่ที่ใช้ติดตั้งระบบไฟฟ้าแรงสูง อาคารที่ทำการเจ้าหน้าที่ ห้องควบคุมระบบเครื่องจักรกลด้วยระบบไฟฟ้าแรงต่ำทั้งหมด อยู่ในพื้นที่ของวัดกัลยาณมิตรที่กรุงเทพมหานครทำสัญญาเช่าใช้พื้นที่กับวัดกัลยาณมิตร พระอารามหลวงและมีพระวิหารหลวง ซึ่งจะสิ้นสุดสัญญาในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2564 และปัจจุบันทางวัดมีความประสงค์ที่จะขอคืนพื้นที่เพื่อพัฒนาพื้นที่ดังกล่าว ด้านทิศใต้ของสถานีสูบน้ำติดกับพื้นที่วัดโมลีโลกยารามราชวรวิหาร พระอารามหลวงชั้นโท ชนิดราชวรวิหาร ที่สร้างในสมัยอยุธยา ทั้งนี้ วัดทั้งสองแห่งเป็นที่นิยมเข้าเยี่ยมชมของนักท่องเที่ยว ประชาชนและนักท่องเที่ยวสามารถใช้เส้นทางสะพานทางเดินข้ามคลองของสถานีสูบน้ำคลองบางใหญ่ไปมาระหว่างวัดทั้งสองแห่งตามเวลาที่วัด และสำนักการระบายน้ำกำหนด เมื่อสิ้นสุดสัญญาเช่าที่ดินตามเหตุข้างต้นกรุงเทพมหานครจำเป็นจะต้องดำเนินการรื้อย้ายระบบไฟฟ้าแรงสูง อาคารที่ทำการเจ้าหน้าที่ ห้องควบคุมระบบเครื่องจักรกลด้วยระบบไฟฟ้าแรงต่ำทั้งหมดตั้งอยู่ในพื้นที่ของวัดกัลยาณมิตรไปตั้งที่แห่งใหม่ให้เหมาะสม พร้อมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพสถานีสูบน้ำปรับปรุงประตูเรือสัญจรและสะพานทางเดินที่เชื่อมต่อไปยังวัดทั้งสองแห่งให้เหมาะสม สะดวก และสวยงาม ประตูเรือสัญจรทางน้ำ ปัจจุบันมีประตูเรือสัญจร 1 ช่อง เป็นช่องทางเดินเรือหางยาวและเรือขนาดเล็กใช้ผ่านช่องทาง เมื่อต้องเปิด-ปิดบานที่ระดับน้ำควบคุม เพื่อให้เรือผ่าน ต้องใช้เวลานาน ประมาณ 25-30 นาที/เที่ยว เที่ยวละ 10-15 ลำ เส้นทางสองฝั่งคลองบางกอกใหญ่ไปสิ้นสุดปากคลองบางกอกน้อยผ่านจุดท่องเที่ยวที่สำคัญ อาทิ ท่าเรือวังหลัง วัดอรุณราชวราราม สถานีสูบน้ำคลองบางกอกใหญ่ วัดหงส์รัตนารามราชวรวิหาร ท่าเรือตลาดพลู วัดปากน้ำภาษีเจริญ วัดประดู่ฉิมพลี วัดนวลนรดิศ ตลาดน้ำคลองบางหลวง คลองบางจาก บ้านศิลปิน วัดคูหาสวรรค์ ตลาดน้ำตลิ่งชัน สถานีสูบน้ำคลองชักพระ พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติเรือราชพิธี เป็นต้น ด้วยทางน้ำบริเวณสถานีสูบน้ำคลองบางกอกใหญ่มีร่องน้ำตื้นและมีประตูเรือสัญจรเพียง 1 ช่องจึงไม่สามารถรองรับเรือท่องเที่ยวหรือตอบสนองต่อความต้องการใช้บริการทางเรือของประชาชนให้ผ่านช่องทางได้อย่างรวดเร็วและเพียงพอต่อจำนวนเรือที่เพิ่มมากขึ้น จากการเจริญเติบโตของเมืองทำให้เกิดปัญหาการจราจรทางน้ำดังกล่าวข้างต้นเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ สำนักงานระบบควบคุมน้ำ สำนักการระบายน้ำ มีความจำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องดำเนินโครงการ ปรับปรุงสถานีสูบน้ำและประตูเรือสัญจรทางน้ำบริเวณสถานีสูบน้ำ เพื่อการบริหารจัดการน้ำ เพิ่มประสิทธิภาพระบบระบายน้ำ เพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการเรือสัญจร และปรับปรุงภูมิทัศน์โดยรอบ

11090000/11090000

วัตถุประสงค์ของโครงการ

เพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ฝั่งธนบุรี เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมพื้นที่สองฝั่งคลอง ควบคุมระดับน้ำของคลองซอยที่เชื่อมต่อ เพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำในคลองบางกอกใหญ่เพื่อเตรียมรองรับปริมาณน้ำหลากจากนอกแนวป้องกันให้ระบายน้ำผ่านพื้นที่กรุงเทพมหานครระบายออกสู่ทะเล อีกทั้งเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการเรือสัญจร ส่งเสริมและสนับสนุนระบบการเดินทาง ล้อ ราง เรือ เพิ่มศักยภาพเชิงพื้นที่กรุงเทพมหานครชั้นในและชั้นกลางให้สอดคล้องกับระบบสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ และปรับปรุงภูมิทัศน์โดยรอบให้สวยงาม โดย 2.1 ปรับปรุงสถานีสูบน้ำคลองบางกอกใหญ่ ขนาดกำลังสูบรวม 63 ลบ.ม./วินาที จำนวน 1 แห่ง 2.2 ก่อสร้างประตูเรือสัญจร จำนวน 1 แห่ง 2.3 ก่อสร้างทางลำเลียง จำนวน 1 แห่ง 2.4 ก่อสร้างอาคารที่พักเจ้าหน้าที่ จำนวน 1 แห่ง 2.5 ปรับปรุงภูมิทัศน์ จำนวน 1 แห่ง

เป้าหมายของโครงการ

ปรับปรุงสถานีสูบน้ำและประตูเรือสัญจรทางน้ำบริเวณสถานีสูบน้ำคลองบางกอกใหญ่ ณ สถานีสูบน้ำคลองบางกอกใหญ่ แขวงวัดกัลยา เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร

สนับสนุนยุทธศาสตร์กรุงเทพมหานครฯ

ด้านที่ ๑ – มหานครปลอดภัย : Bangkok as a Safe City
๑.๓ - ปลอดอุบัติเหตุ
๑.๓.๑ ลดความสูญเสียจากอุบัติเหตุจราจร%
๑.๓.๑.๑ ปรับปรุงสภาพถนนและจุดเสี่ยงอันตราย

ผลการดำเนินงาน

(1) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 0.00 (2023-09-22)

0.00

22/09/2566 :

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(2) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 0.00 (2023-08-24)

0.00

24/08/2566 :

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(3) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 0.00 (2023-07-26)

0.00

26/07/2566 :

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(4) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 0.00 (2023-06-23)

0.00

23/06/2566 :

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(5) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 0.00 (2023-05-24)

0.00

24/05/2566 :

** ปัญหาของโครงการ :-

** อุปสรรคของโครงการ :-

------------------&&&--------------------

(6) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 0.00 (2023-04-25)

0.00

25/04/2566 :

** ปัญหาของโครงการ :-

** อุปสรรคของโครงการ :-

------------------&&&--------------------

(7) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 0.00 (2023-03-27)

0.00

27/03/2566 :

** ปัญหาของโครงการ :-

** อุปสรรคของโครงการ :-

------------------&&&--------------------

(8) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 0.00 (2023-02-23)

0.00

23/02/2566 :

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

แผนการดำเนินงานฯ

ขั้นตอน 1
:1.แผนการจัดซื้อจัดจ้าง เตรียมการ
:10.00%
เริ่มต้น :2022-09-01 00:00:00
สิ้นสุด :2022-09-01 00:00:00
ขั้นตอน 2
:2.ร่างขอบเขตงาน/รายละเอียดพัสดุและร่างเอกสารเชิญชวน
:10.00%
เริ่มต้น :2022-10-01 00:00:00
สิ้นสุด :2022-10-01 00:00:00
ขั้นตอน 3
:3.รายงานขอซื้อขอจ้าง
:10.00%
เริ่มต้น :2022-11-01 00:00:00
สิ้นสุด :2022-11-01 00:00:00
ขั้นตอน 4
:4.การจัดหา
:10.00%
เริ่มต้น :2022-12-01 00:00:00
สิ้นสุด :2022-12-01 00:00:00
ขั้นตอน 5
:5.รายงานผลการพิจารณา อนุมัติซื้อ/จ้าง และประกาศผู้ชนะ
:10.00%
เริ่มต้น :2023-01-01 00:00:00
สิ้นสุด :2023-01-01 00:00:00
ขั้นตอน 6
:6.ลงนามสัญญาถึงสิ้นสุดสัญญา
:50.00%
เริ่มต้น :2023-02-01 00:00:00
สิ้นสุด :2023-02-01 00:00:00

(ทดสอบ) แสดงขั้นตอนการดำเนินงานโครงการ : 11000000-7326

(คลิก) ขั้นตอนการปฏิบัติงานของโครงการ : 11000000-7326

สนับสนุนตัวชี้วัดตามแผนฯ

รายละเอียดเกี่ยวกับตัวชี้วัด : 1100-6522

ตัวชี้วัด : (2566) ความสามารถระบายน้ำท่วมขังในถนนสายหลักได้ กรณีฝนตกไม่เกิน 100 มม./ชม. (นาที) (ผลลัพท์)

ค่าเป้าหมาย นาที : 180

ผลงานที่ทำได้ นาที : 235

ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์
ตัวชี้วัดระดับผลลัพธ์ (outcome)

ไตรมาสที่
(1 - 4)
*ผลงาน*
(นาที)
*ผลประเมินตัวชี้วัด*
(* 2.1 / 2.2 *)
1
175.00

95 / 100
2
15.00

100 / 100
3
50.00

100 / 100
4
235.00

100 / 100

** ผลการประเมินโครงการ (รายไตรมาส) **