ความคืบหน้าโครงการ ร้อยละ 70
กลุ่มงานพัฒนาระบบโครงข่าย
ดูโครงการแผนปีฯ : พิมพ์ข้อมูล
*** สยป. ประเมินโครงการ : ไตรมาสที่ 1
การพัฒนาการเชื่อมโยงรูปแบบการเดินทางเพื่อเข้าถึงระบบขนส่งสาธารณะหลักในเขต กรุงเทพมหานคร เป็นการพัฒนาโครงข่ายคมนาคมขนส่งของเมืองที่สอดคล้องกับนโยบายและพันธกิจ ของกรุงเทพมหานคร ตลอดจนภารกิจหน้าที่ของสำนักการจราจรและขนส่ง กรุงเทพมหานคร (สจส.) ทั้งนี้ การประเมินศักยภาพ การเชื่อมต่อโครงข่ายสาธารณะในปัจจุบันและในอนาคต รูปแบบการพัฒนาระบบขนส่ง รองที่เหมาะสมสอดคล้องกับพฤติกรรมการเดินทางของผู้โดยสาร โดยมีเป้าหมายเพื่อสนับสนุนผู้เดินทางให้มาใช้ บริการระบบขนส่งสาธารณะหลักเพื่อลดการใช้รถยนต์ส่วนบุคคลและบรรเทาปัญหาการจราจร สามารถเพิ่มขีด ความสามารถในการเข้าถึง เชื่อมต่อ และส่งเสริมศักยภาพในการเดินทางของประชาชน ที่ผ่านมาสำนักงาน นโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข. ได้ดำเนินการศึกษาการพัฒนโครงข่ายคมนาคมเชื่อมโยงรูปแบบ การเดินทางเพื่อเข้าถึงสถานีรถฟฟ้าและสนามบินในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ปี พ.ศ. ๒๕๖๕ และ ได้ทำการกำหนดแผนพัฒนโครงข่ายคมนาคมเชื่อมโยงรูปแบบการเดินทาง เพื่อเข้าถึงสถานีรถไฟฟ้าตามแผน แม่บทระบบขนส่งมวลชนทางราง ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล (M-MAP) สนามบินและระบบขนส่ง สาธารณะรูปแบบอื่น เพื่อเป็นการพัฒนาการเดินทางของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร ทั้งนี้ สำนัก การจราจรและขนส่ง กรุงเทพมหานคร (สจส.) จึงมีแนวคิดที่จะนำเส้นทางที่มีศักยภาพตามโครงข่ายคมนาคม เชื่อมโยงรูปแบบการเดินทางภายในเขตกรุงเทพมหานคร มาทำการศึกษาในรายละเอียด เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติ ต่อไป
17041000/17041000
๒.๑ ศึกษาโครงข่ายการเชื่อมต่อการเดินทางของผู้โดยสารในระบบขนส่งสาธารณะหลักกับระบบขนส่ง รูปแบบต่างๆ และสิ่งอำนวยความสะดวก (Facilities) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริการบริเวณจุดเชื่อมต่อการ เดินทางรองรับการพัฒนาของระบบขนส่งสาธารณะในเขตกรุงเทพมหานคร ๒.๒ พัฒนาระบบขนส่งรองที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพในการเชื่อมต่อการเดินทางและสิ่งอำนวยความ สะดวกในการเชื่อมต่อการเดินทาง (Intermodal Transfer Facility: ITF) เพื่อเข้าถึงระบบขนส่งสาธารณะหลัก และสถานีรถไฟฟ้าในเขตกรุงเทพมหานคร ๒.๓ เสนอแนะรูปแบบการพัฒนาระบบขนส่งรองเชื่อมต่อระบบขนส่งสาธารณะหลัก เพื่อเป็นแนวทาง นำไปสู่การปฏิบัติของหน่วยงานกรุงเทพมหานคร
หน่วยงานมีรายงานผลการศึกษาวิเคราะห์ ความเหมาะสมระบบขนส่งมวลชนขนาดรอง ในถนนสาย รองและถนนซอยของกรุงเทพมหานคร โดยต้องสำรวจ รวบรวมข้อมูลพื้นฐาน ผลการศึกษาและแผนงานโครงการ ต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เสนอแนะและศึกษาความคุ้มค่าระบบขนส่งรองเชื่อมต่อระบบขนส่งสาธารณะหลัก จำนวน ๑ ฉบับ
(1) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 70.00 (2023-07-20)
20/07/2566 :
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(2) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 50.00 (2023-05-11)
11/05/2566 :
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(3) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 50.00 (2023-04-15)
15/04/2566 :
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(4) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 50.00 (2023-03-28)
28/03/2566 : หัวหน้าหน่วยงานของรัฐให้ความเห็นชอบรายงานผลการพิจารณาปละผู้มีอำนาจอนุมัติสั่งจ้าง
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(5) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 25.00 (2023-02-16)
16/02/2566 :
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(6) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 25.00 (2023-01-30)
30/01/2566 :
** ปัญหาของโครงการ :มีการเพิ่มขอบเขตของงาน โดยการเพิ่มการศึกษา ระบบขนส่งด่วนพิเศษ BRT เข้าไปใน TOR
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
ตัวชี้วัด : 11. ร้อยละการพัฒนาและความสำเร็จเชิงกายภาพของโครงข่ายทางเท้า/ ทางจักรยาน/ทางเชื่อม ได้รับการพัฒนา/ปรับปรุง ให้มีสภาพที่เหมาะสมต่อการสัญจรได้จริงอย่างเหมาะสม (เส้นทางเดิม)
ค่าเป้าหมาย ผลผลิต : 0
ผลงานที่ทำได้ ผลผลิต :
ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์ ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (output)
** ผลการประเมินโครงการ (รายไตรมาส) **