ความคืบหน้าโครงการ/กิจกรรม

Back Home
FusionCharts will render here

โครงการออกแบบป้ายสื่อความหมายย่านตลาดน้อยและพื้นที่ต่อเนื่องตามแนวทางเดินที่เชื่อมโยงสู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาในย่านตลาดน้อย : 18000000-6659

สำนักการวางผังและพัฒนาเมือง : (2566)

100

ความคืบหน้าโครงการ ร้อยละ 100

กองจัดรูปที่ดินและปรับปรุงฟื้นฟูเมือง

ดูโครงการแผนปีฯ : พิมพ์ข้อมูล

*** สยป. ประเมินโครงการ : ไตรมาสที่ 1

หลักการและเหตุผล

ย่านตลาดน้อยเป็นย่านเก่าริมแม่น้ำเจ้าพระยาของกรุงเทพมหานคร ที่มีประวัติศาสตร์ความเป็นมาและมีพัฒนาการมาจากการตั้งถิ่นฐานของชุมชนชาวจีนโพ้นทะเลที่เข้ามาทำการค้า ซึ่งปัจจุบันยังมีกิจการทางการค้าของชาวไทยเชื้อสายจีนที่สืบเนื่องมาจากอดีต ทำให้ยังคงเห็นวิถีวัฒนธรรมดั้งเดิม ทั้งการค้า วัฒนธรรม ประเพณีที่ยังสืบต่อจากรุ่นสู่รุ่น รวมถึงอาคารและสิ่งปลูกสร้างที่ยังคงความสวยงามหลงเหลืออยู่เป็นจำนวนมาก แต่ตัวอาคาร ระบบสาธารณูปโภค สาธารณูปการ ตลอดจนระบบเศรษฐกิจการค้าและความสวยงามของสถานที่ย่อมมีความเสื่อมโทรมไปตามกาลเวลา อีกทั้งการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนประเภทรางที่เข้ามาในย่านดังกล่าวทำให้เกิดศักยภาพในการเข้าถึงพื้นที่มากขึ้น และมีแนวโน้มในการพัฒนาของย่านสูงขึ้นด้วย จึงเป็นโอกาสสำคัญในการอนุรักษ์ฟื้นฟูย่านเก่าให้กลับมามีชีวิตใหม่ให้สอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาเมืองทั้งยังคงไว้ซึ่งความเป็นเอกลักษณ์ของย่านเดิม สำนักการวางผังและพัฒนาเมือง ได้ดำเนินการโครงการอนุรักษ์ฟื้นฟูย่านตลาดน้อยและพื้นที่ต่อเนื่อง โดยผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการร่วมกันจัดทำผังแม่บทการอนุรักษ์ฟื้นฟูย่านและออกแบบรายละเอียดเพื่อปรับปรุงฟื้นฟูพื้นที่นำร่อง ได้แก่ การปรับปรุงท่าน้ำสวัสดี การปรับปรุงท่าน้ำภานุรังษี การปรับปรุงฟื้นฟูพื้นที่ทางเดินที่เชื่อมโยงสู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาในพื้นที่ตลาดน้อย เพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามที่ได้กำหนดไว้ในแผนแม่บทการอนุรักษ์ฟื้นฟูย่านตลาดน้อยและพื้นที่ต่อเนื่อง และสอดคล้องกับผังแม่บทฟื้นฟูย่านเมืองเก่า (กรุงเทพฯ 250) ในการพัฒนาด้านกายภาพที่ดีของชุมชนและเมือง อันจะนำไปสู่ที่การขับเคลื่อนสู่การพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม พร้อมทั้งยกระดับคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อมได้อย่างยั่งยืน ด้วยสาเหตุดังกล่าว จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ควรดำเนินการออกแบบป้ายสื่อความหมาย ย่านตลาดน้อยและพื้นที่ต่อเนื่อง ตามแนวทางเดินที่เชื่อมโยงสู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาใน ย่านตลาดน้อย เพื่อนำไปสู่พัฒนาป้ายสื่อความหมาย ป้ายบอกทาง และป้ายข้อมูลการท่องเที่ยวส่งเสริมอัตลักษณ์ และทัศนียภาพในการรับรู้ของย่านตลาดน้อยอย่างอย่างเป็นรูปธรรมในอนาคตต่อไป

18060000/18060000

วัตถุประสงค์ของโครงการ

เพื่อจัดทำแนวทางป้ายสื่อความหมายที่มีอัตลักษณ์เฉพาะพื้นที่และมีการติดตั้งที่เหมาะสมตามแนวทางเดินที่เชื่อมโยงสู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ในย่านตลาดน้อย

เป้าหมายของโครงการ

ป้ายบอกทาง และบอกสถานที่สำคัญทั้งระดับชุมชนและระดับย่าน ตามแนวทางเดินที่เชื่อมโยงสู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ในย่านตลาดน้อย

สนับสนุนยุทธศาสตร์กรุงเทพมหานครฯ

ยุทธศาสตร์ที่ ๔ –การเชื่อมโยงเมืองที่มีความคล่องตัวและระบบบริการสาธารณะแบบบูรณาการ
๔.๓ กรุงเทพมหานครเป็นเมืองที่มีรูปแบบการจัดการภูมิทัศน์เมืองอย่างยั่งยืน
๔.๓.๑ กรุงเทพมหานครมีการปรับปรุงองค์ประกอบทางภูมิทัศน์เมืองและส่งเสริมอัตลักษณ์และทัศนียภาพในการรับร%
๔.๓.๑.๓ อนุรักษ์และฟื้นฟูย่าน (Districts) ตามผังพัฒนาพื้นที่เฉพาะที่สอดคล้องกับผังเมืองรวม หรือพิจารณาเพิ่มเติมในอนาคตที่มีอัตลักษณ์และ พัฒนาพื้นที่ชุมชนอันมีความเป็นเอกลักษณ์ของในพื้นที่กรุงเทพมหานคร

ผลการดำเนินงาน

(1) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 100.00 (2023-08-23)

100.00

23/08/2566 : 1.จัดทำป้ายฯ (แบบทดลอง) ติดตั้งในตำแหน่งที่กำหนดไว้ 2.ประเมินผลความพึงพอใจของประชาชนในการออกแบบป้ายและกำหนดจุดติดตั้งรวบรวมข้อมูลแหล่งท่องเที่ยวมรดกทางวัฒนธรรมในย่านตลาดน้อย 3.จัดทำรายงานสรุปผลการดำเนินงานและผลการประเมินความพึงพอใจในการออกแบบป้าย

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(2) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 90.00 (2023-07-25)

90.00

25/07/2566 : 1.จัดทำป้ายฯ (แบบทดลอง) ติดตั้งในตำแหน่งที่กำหนดไว้ 2.ประเมินผลความพึงพอใจของประชาชนในการออกแบบป้ายและกำหนดจุดติดตั้งรวบรวมข้อมูลแหล่งท่องเที่ยวมรดกทางวัฒนธรรมในย่านตลาดน้อย 3.จัดทำรายงานสรุปผลการดำเนินงานและผลการประเมินความพึงพอใจในการออกแบบป้าย

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(3) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 85.00 (2023-06-22)

85.00

22/06/2566 : 1.จัดทำป้ายฯ (แบบทดลอง) ติดตั้งในตำแหน่งที่กำหนดไว้ 2.ประเมินผลความพึงพอใจของประชาชนในการออกแบบป้ายและการกำหนดจุดติดตั้งรวบรวมข้อมูลแหล่งท่องเที่ยวมรดกทางวัฒนธรรมในย่าตลาดน้อย 3.จัดทำรายงานสรุปผลการดำเนินงานและผลการประเมินความพึงพอใจในการออกแบบป้ายฯ

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(4) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 80.00 (2023-05-24)

80.00

24/05/2566 : -จัดทำป้ายแบบทดลองในพื้นที่ที่กำหนดไว้ -ประเมินผลความพึงพอใจของประชาชนในการออกแบบป้ายและการกำหนดจุดติดตั้งรวบรวมข้อมูลแหลล่งท่องเที่ยวมรดกทางวัฒนธรรมในย่านตลาดน้อย

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(5) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 75.00 (2023-04-23)

75.00

23/04/2566 : 1.จัดทำป้ายฯ (แบบทดลอง) ติดตั้งในตำแหน่งที่กำหนดไว้ 2. ประเมินผลความพึงพอใจของประชาชนในการออกแบบป้ายและกำหนดจุดติดตั้งรวบรวมข้อมูลแหล่งท่องเที่ยวมรดกทางวัฒนธรรมในย่านตลาดน้อย

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(6) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 70.00 (2023-03-23)

70.00

23/03/2566 : สรุปผลแบบสอบถามความพึงพอใจของประชาชน

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(7) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 65.00 (2023-02-24)

65.00

24/02/2566 : 1.จัดป้ายบอกสถานที่และเส้นทาง (ป้ายแบบทดลอง) และติดตั้งในตำแหน่งที่กำหนดไว้ 2.ติดตั้งป้าย QR Code แบบสอบถามความพึงพอใจของประชาชนต่อป้ายสัญลักษณ์ในพื้นที่ตลาดน้อย เพื่อให้ผู้สัญจรประเมินความพึงพอใจ

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(8) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 60.00 (2023-01-25)

60.00

25/01/2566 : ดำเนินการออกแบบป้ายบอกทางและบอกสถานที่สำคัญเรียบร้อยแล้ว

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(9) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 50.00 (2022-12-29)

50.00

29/12/2565 : -ดำเนินการออกแบบป้ายบอกทางและบอกสถานที่สำคัญ -สำรวจพื้นที่ ตำแหน่งและสถานที่ติดตั้งป้าย -จัดทำผังตำแหน่งป้าย

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

แผนการดำเนินงานฯ

(ทดสอบ) แสดงขั้นตอนการดำเนินงานโครงการ : 18000000-6659

(คลิก) ขั้นตอนการปฏิบัติงานของโครงการ : 18000000-6659

สนับสนุนตัวชี้วัดตามแผนฯ

รายละเอียดเกี่ยวกับตัวชี้วัด : 1800-862

ตัวชี้วัด : ร้อยละความสำเร็จของการออกแบบป้ายสื่อความหมายย่านตลาดน้อยและพื้นที่ต่อเนื่องตามแนวทางเดินที่เชื่อมโยงสู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาในย่านตลาดน้อย

ค่าเป้าหมาย ระดับ : 5

ผลงานที่ทำได้ ระดับ : 5

ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์
ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (output)

ไตรมาสที่
(1 - 4)
*ผลงาน*
(ระดับ)
*ผลประเมินตัวชี้วัด*
(* 2.1 / 2.2 *)
1
0.00

0 / 0
2
3.00

0 / 0
3
4.00

0 / 0
4
5.00

0 / 0

** ผลการประเมินโครงการ (รายไตรมาส) **