ความคืบหน้าโครงการ/กิจกรรม

Back Home
FusionCharts will render here

โครงการพัฒนาเมืองอัจฉริยะเพื่อสนับสนุนการพัฒนาพื้นที่โดยรอบคลองผดุงกรุงเกษม : 21000000-6521

สํานักยุทธศาสตร์และประเมินผล : (2565)

40

ความคืบหน้าโครงการ ร้อยละ 40

กลุ่มงานยุทธศาสตร์ผังเมือง การจราจรและขนส่ง

ดูโครงการแผนปีฯ : พิมพ์ข้อมูล

*** สยป. ประเมินโครงการ : ไตรมาสที่ 1 100

หลักการและเหตุผล

คลองผดุงกรุงเกษม เป็นคลองที่มีศักยภาพในการเชื่อมต่อการเดินทางด้วยระบบขนส่งมวลชน ล้อ ราง เรือ ได้แก่ รถโดยสารประจำทาง เช่น สาย 171 (ปอ.) สาย 49 สาย 505 (ปอ.) สาย 511 (ปอ.) และ 53 ซึ่งเชื่อมเส้นทางมายังริม 2 ฝั่งคลอง มีเส้นทางสัญจรทางน้ำด้วยเรือโดยสารไฟฟ้าตามแนวคลองผดุงกรุงเกษม ซึ่งเป็นการสนับสนุนการเชื่อมต่อระบบขนส่งมวลชนจากแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณท่าเรือเทเวศร์ มายังสถานีรถไฟฟ้าหัวลำโพง รวม 11 ท่าเรือ ระยะทางประมาณ 5 กิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ 4 เขตได้แก่ เขตพระนคร เขตดุสิต เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย และเขตปทุมวัน โดยมีเรือด่วนเจ้าพระยาและเรือข้ามฟากบริเวณท่าเรือเทเวศร์ เรือโดยสารคลองแสนแสบซึ่งมาบรรจบกับเส้นทางเดินเรือคลองผดุงกรุงเกษมบริเวณตลาดโบ๊เบ๊ และรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินที่สถานีรถไฟหัวลำโพง และความยาวของคลองยังต่อเนื่องไปถึงพื้นที่ย่านตลาดน้อย ออกสู่แม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณท่าเรือข้ามฟากสี่พระยา ในพื้นที่เขตสัมพันธวงศ์ และเขตบางรัก แต่ทั้งนี้ ถนนและทางเท้าบริเวณริมคลองผดุงกรุงเกษมบางช่วงมี สภาพชำรุดเสียหาย รวมทั้งมีการใช้พื้นที่เพื่อประกอบกิจกรรมการค้าขายบนทางเท้า ทำให้ศักยภาพในการใช้ประโยชน์พื้นที่ลดลง จึงจำเป็นต้องดำเนินการปรับปรุงภูมิทัศน์บริเวณริมคลองผดุงกรุงเกษมทั้ง 2 ฝั่ง เพื่อให้เกิดความเป็นระเบียบเรียบร้อย สร้างทัศนียภาพสวยงาม ประชาชนสามารถเดินทางสัญจรได้อย่างสะดวก และปลอดภัย ตลอดแนวคลอง ในปี 2552 สำนักการวางผังและพัฒนาเมือง (สำนักผังเมือง เดิม) ได้นำเสนอผลการศึกษาโครงการปรับปรุงฟื้นฟูย่านคลองผดุงกรุงเกษมทั้ง 2 ฝั่งคลอง ใน 5 บริเวณหลัก ได้แก่ ย่านตลาดเทวราชกุญชร ย่านวัดโสมนัสวรวิหารและย่านตลาดนางเลิ้ง ย่านตลาดสะพานขาวและบริเวณโรงหนังปารีส ย่านตลาดโบ๊เบ๊ และย่านหัวลำโพง เพื่อปรับปรุงและพัฒนาสภาพแวดล้อมให้สวยงาม เป็นระเบียบเรียบร้อย เป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญในการส่งเสริมและเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจสร้างรายได้ให้แก่ประชาชนและชุมชน และในปี 2563 กรุงเทพมหานครได้แต่งตั้งคณะทำงานปรับปรุงภูมิทัศน์และก่อสร้างทางจักรยานคลองผดุงกรุงเกษม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มพื้นที่ริมคลองให้สามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ รองรับการใช้งานสำหรับทุกคน (Universal Design) มีความสะดวก ปลอดภัย ในการเดินทาง พัฒนาพื้นที่สีเขียวเพื่อการพักผ่อน หย่อนใจการฟื้นฟู ส่งเสริม เอกลักษณ์ของแต่ละย่าน ที่มีความสำคัญ การมีส่วนร่วมและรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในพื้นที่ต่อการพัฒนาในด้านต่าง ๆ รวมทั้ง การสร้างเครือข่ายที่เข้มแข็งของชุมชน ในการดูแลรักษาพื้นที่ นอกจากนี้ สำนักการวางผังและพัฒนาเมือง ยังได้ดำเนินการศึกษาแผนการพัฒนาฟื้นฟูย่าน ตลาดน้อยและพื้นที่ต่อเนื่อง ซึ่งเป็นพื้นที่เชื่อมโยงกับแนวคลองผดุงเกรงเกษม เพื่อต่อยอดการพัฒนาพื้นที่คลองผดุงกรุงเกษม กรุงเทพมหานครจึงดำเนินการผลักดันการพัฒนาพื้นที่ตลอด 2 ฝั่งคลองอย่างบูรณาการรอบด้าน โดยการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานเพื่อเชื่อมโยงการเดินทางสัญจร และปรับปรุงภูมิทัศน์บริเวณโดยรอบคลองผดุงกรุงเกษมเพื่อส่งเสริมให้เกิดการเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากศักยภาพเพื่อการสัญจรของพื้นที่ ในขณะเดียวกัน กรุงเทพมหานครต้องคำนึงถึงประชาชนริมคลอง โดยส่งเสริมกิจกรรมทางเศรษฐกิจ และยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน เพื่อให้ประชาชนได้รับประโยชน์และ เห็นความสำคัญของการพัฒนาพื้นที่ อันจะนำไปสู่การมีส่วนร่วมในการดูแลรักษาพื้นที่อย่างยั่งยืน

21050200/21050200

วัตถุประสงค์ของโครงการ

1) เพื่อเพิ่มศักยภาพการเชื่อมต่อการเดินทางในพื้นที่ตลอดแนวคลองผดุงกรุงเกษม 2) เพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียวและพื้นที่สาธารณะเพื่อให้ประโยชน์ร่วมกันของประชาชนริมคลองผดุงกรุงเกษม 3) เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนริมคลองผดุงกรุงเกษม

เป้าหมายของโครงการ

1. จำนวนผู้ใช้บริการระบบขนส่งสาธารณะในพื้นที่ เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา 2. มูลค่าทางเศรษฐกิจของพื้นที่/ราคาประเมินที่ดินเพิ่มขึ้น 3. รายได้เฉลี่ยของประชาชนในพื้นที่เพิ่มขึ้น

สนับสนุนยุทธศาสตร์กรุงเทพมหานครฯ

ด้านที่ ๔ – มหานครกระชับ : Bangkok as a Compact City
๔.๑ - กรุงเทพมหานครเติบโตอย่างเป็นระเบียบตามผังเมืองรวม
๔.๑.๑ กรุงเทพมหานครชั้นในและชั้นกลาง มีการใช้ประโยชน์ที่ดินอย่างเต็มศักยภาพ สอดคล้องกับ%
๔.๑.๑.๑ ส่งเสริมการขยายตัวในการใช้ประโยชน์ที่ดินเต็มประสิทธิภาพตามผังเมือง

ผลการดำเนินงาน

(1) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 40.00 (2022-07-12)

40.00

12/07/2565 : 1. สยป.ร่วมกับ USL นำเสนอผลการระดมความคิดเห็นจากภาคีต่างๆ เพื่อนำข้อมูลให้นักศึกษาผู้เข้าร่วมโครงการ จัดทำข้อเสนอโครงการ ในวันที่ 15 และ 24 มิ.ย. 65 ณ ห้องรัตนโกสินทร์ ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร(เสาชิงช้า) 2 สยป. โดย กยภ.และ กสศ. ร่วมกับ สนน. และ DEPA ได้ประชุมร่วมกันเพื่อหารือถึงเเนวทางการพัฒนาเเพลตฟอร์มข้อมูลเมือง (City Data Plateform) เมื่อวันที่ 30 มิ.ย. 65

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(2) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 25.00 (2022-03-29)

25.00

29/03/2565 : . 1. อยู่ระหว่างดำเนินนการทบทวนแผนงานบูณาการเพื่อฟื้นฟูและเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ประโยชน์พื้นที่คลองผดุงกรุงเกษม 2.อยู่ระหว่างทบทวนเป้าหมายการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ เพิ่มเติม ให้ครบถ้วนทั้ง 7 ด้าน ตามที่ DEPA กำหนด (ที่ประชุมคณะทำงานขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ (Smart City) ของสำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล เมื่อ 28 ก.พ. 65)

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(3) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 22.00 (2022-02-28)

22.00

28/02/2565 : 1. จากการประชุมคณะกรรมการอำนวยการบริหารแผนงานบูรณาการกรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 25 ก.พ.65 มีมติให้คณะทำงานขับเคลื่อนแผนงานบูรณาการ แผนงานบูรณาการฟื้นฟูและเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ประโยชน์พื้นที่คลองผดุงกรุงเกษม เป็นผู้บริหารจัดการเเละติดตามการดำเนินงานเกี่ยวกับ Smart city ในพื้นทีโดยรอบคลองผดุงกรุงเกษม 2. กำหนดประชุมคณะทำงานเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ (Smart City) ของสำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล ครั้งที่ 1/2565 ในวันที่ 28 ก.พ. 65 3. สำนักการจราจรและขนส่ง อยูระหว่างจัดทำรายละเอียดโครงการติดตั้งกล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) เพื่อเพิ่มความปลอดภัยบริเวณพื้นที่กรุงเกษม (แยกกษัตริย์ศึก - หัวลำโพง) เพื่อของบประมาณเพิ่มเติม ปีงบประมาณ 2565 เพื่อติดตั้งในบริเวณทางเดินริมคลองผดุงกรุงเกษมที่ได้รับการปรับภูมิทัศน์

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(4) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 20.00 (2022-02-11)

20.00

11/02/2565 : จัดทำแบบรายงานการทบทวนแผนงานบูรณาการเพื่อพัฒนาพื้นที่คลองผดุงกรุงเกษม ปี 2565 เรียบร้อยเเล้ว เเละนำสงกองยุทธศาสตร์บริหารจัดการ เมื่อ 4 ก.พ. 65

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(5) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 15.00 (2022-01-25)

15.00

25/01/2565 : 1.เเต่งตั้งคณะทำงานเมืืองอัจฉริยะของสำนักยุทธศาสตร์เเละประเมินผล (คำสั่ง สยป.ที่ 1/2564 ลว. 4 ม.ค. 25664) 2. จัดประชุมหารือ ภาคี/เครือข่ายเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาพื้นที่โดยรอบคลองผดุงกรุงเกษม เมื่อวันที่ 6 ม.ค. 64 เวลา 09.30 น. ณ ห้องนพรัตน์ ผู้เข้าร่วมประชุม ประกอบด้วย - ดร.พงษ์พิศิษฐ์ หุยากรณ์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ - ดร. ชำนาญ ติรภาส คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี - นายธนาคม วงษ์บุญธรรม เจ้าหน้าที่ส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัลอาวุโส ฝ่ายส่งเสริมเมืองอัจฉริยะ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (DEPA) - นางสาวสร้ายสุข พงษ์พูล ผอ.ส่วนอนุรักษ์และฟื้นฟูเือง สำนักการวางผังเเละพัฒนาเมือง และมีผ๔เดข้าร่วมประชุม ผ่านระบบ Zoom ได้เเก่ ผู้เเทนสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (DEPA) กลุ่ม WePark ผลุ่มปั้นเมือง และผู้เเทนชุมชนตลาดน้อย 3. สยป. โดยกองยุทธศาสตร์สาธารณูปโภคพื้นฐาน เข้าร่วม workshop ร่วมกับสำนักการวางผังเละพัฒนาเมือง และ USL การปรับปรุงภูมิทัศน์คลองผดุงกรุงเกษม ดังนี้ 3.1 โซน 6 (แยกเจริญสวัสดิ์ - ท่าเรือสี่พระยา) วันพฤหัสที่ 20 ม.ค. 65 เวลา 13.30 - 15.30 น. ณ ห้องประชุมเขตสัมพันธวงศ์ 3.2 โซน 4 (แยกมัฆวานรังสรรค์- แยกจตุรภักตร์รังสฆษดิ์ ) วันศุกร์ที่ 21 ม.ค. 65 เวลา 13.30-15.30 น. ณ ห้องประชุมสำนักงานเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย 3.3 โซน 5-6 (ตลาดเทวราช - สะพานมัฆวานรังสรรค์) วันอังคารที่ 25 ม.ค. 65 เวลา 13.30-15.30 น. ณ ห้องประชุมสำนักงานเขตพระนคร 3.4 โซน 3 (แยกจตุรภักตร์รังสฤษดิ์ - แยกกษัตริย์ศึก วันพฤหัสบดีที่ 27 ม.ค. 65 เวลา 13.30 -15.30 น. ณ ห้องประชุมสำนักงานเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย 4. อยู่ระหว่างจัดทำข้อเสนอเพื่อปรับปรุงอำนาจหน้าที่ของ คณะทำงานขับเคลื่อนแผนงานบูรณาการเพื่อฟื้นฟูและพัฒนาพื้นที่คลองผดุงกรุงเกษม ให้ครอบคลุม “แผนพัฒนาเมืองอัจฉริยะเพื่อสนับสนุนการพัฒนาพื้นที่โดยรอบคลองผดุงกรุงเกษม” เพื่อขอความเห็นชอบต่อคณะกรรมการอำนวยการบริหารแผนงานบูรณาการกรุงเทพมหานคร

** ปัญหาของโครงการ :25/01/65 : การตั้งคณะทำงานรายพื้นที่ล่าช้ากว่าเป้าหมาย

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(6) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 5.00 (2021-12-24)

5.00

24/12/2564 : 1. นายเกรียงยศ สุดลาภา รองผู้ว่าราชการกุงเทพมหานคร เข้าร่วมพิธีมอบตราสัญลักษณ์เมืองอัจฉริยะประเทศไทย เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2564 ณ อาคารภักดีบดินทร์ ทำเนียบรัฐบาล 2. อยู่ระหว่างเเต่งตั้งคณะทำงานเมองอัจฉริยะของสำนักยุทธศาสตร์เเละประเมินผล เพื่อทบทวนเป้าหมายการพัฒนาพื้นที่

** ปัญหาของโครงการ :-

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(7) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 3.00 (2021-11-16)

3.00

สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (DEPA) มีหนังสือ ด่วนที่สุด ที่สศด.0301/02210 ลว. 26 ต.ค.64 เเจ้งผลการพิจารณาของคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนการบริหารโครงการเมืองอัจฉริยะ โดยโครงการพัฒนาเมืองอัจฉริยะเพื่อสนับสนุนการพัฒนาพื้นที่โดยรอบคลองผดุงกรุงเกษม ผ่านการพิจารณาเป็นพื้นที่พัฒนาเมืองอัจฉริยะ "ประเภทเมืองเดิม"

** ปัญหาของโครงการ :-

** อุปสรรคของโครงการ :-

------------------&&&--------------------

(8) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 2.00 (2021-10-30)

2.00

01/11/2564 : อยู่ระหว่างการประสานข้อมูลกับ DEPA เพื่อพิจารณามอบตราสัญลักษณ์ การเป็นพื้นที่พัฒนาเมืองอัจฉริยะ

** ปัญหาของโครงการ :บางโครงการในเเผนพัฒนาเมืองอัจฉริยะฯไม่ได้รับการจัดสรรงบประมาณในปี 2565 จำเป็นต้องเร่งรัดผลักดันงบประมาณในปี 2566

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

แผนการดำเนินงานฯ

ขั้นตอน 1
:การวางผังและออกแบบรายละเอียดของโครงสร้างพื้นฐาน
:20.00%
เริ่มต้น :2021-10-01 00:00:00
สิ้นสุด :2021-10-01 00:00:00
ขั้นตอน 2
:เเต่งตั้งคณะทำงานพื้นที่คลองผดุงกรุงเกษมฯ
:10.00%
เริ่มต้น :2021-11-30 00:00:00
สิ้นสุด :2021-11-30 00:00:00
ขั้นตอน 3
:ติดตามผลการดำเนินงาน ไตรมาสที่ 1
:5.00%
เริ่มต้น :2021-12-15 00:00:00
สิ้นสุด :2021-12-15 00:00:00
ขั้นตอน 4
:ติดตามผลการดำเนินงาน ไตรมาสที่ 2
:5.00%
เริ่มต้น :2022-01-01 00:00:00
สิ้นสุด :2022-01-01 00:00:00
ขั้นตอน 5
:ติดตามผลการดำเนินงาน ไตรมาสที่ 3
:5.00%
เริ่มต้น :2022-04-01 00:00:00
สิ้นสุด :2022-04-01 00:00:00
ขั้นตอน 6
:ติดตามผลการดำเนินงาน ไตรมาสที่ 4
:5.00%
เริ่มต้น :2022-06-30 00:00:00
สิ้นสุด :2022-06-30 00:00:00
ขั้นตอน 7
:สรุปผลการดำเเนินงาน ตัวชี้วัด 4 ด้าน
:50.00%
เริ่มต้น :2022-09-01 00:00:00
สิ้นสุด :2022-09-01 00:00:00

(ทดสอบ) แสดงขั้นตอนการดำเนินงานโครงการ : 21000000-6521

(คลิก) ขั้นตอนการปฏิบัติงานของโครงการ : 21000000-6521

สนับสนุนตัวชี้วัดตามแผนฯ

รายละเอียดเกี่ยวกับตัวชี้วัด : 2100-2038

ตัวชี้วัด : ระดับความสำเร็จในการขับเคลื่อนพื้นที่เป้าหมายการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ ไปสู่การปฏิบัติ (โครงการพัฒนาเมืองอัจฉริยะเพื่อสนับสนุนการพัฒนาพื้นที่โดยรอบคลองผดุงกรุงเกษม)

ค่าเป้าหมาย ระดับ : 5

ผลงานที่ทำได้ ระดับ : 5

ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์
ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (output)

ไตรมาสที่
(1 - 4)
*ผลงาน*
(ระดับ)
*ผลประเมินตัวชี้วัด*
(* 2.1 / 2.2 *)
1
1.00

100 / 100
2
2.00

100 / 100
3
2.00

0 / 0
4
5.00

100 / 100

** ผลการประเมินโครงการ (รายไตรมาส) **