ความคืบหน้าโครงการ ร้อยละ 75
กลุ่มงานยุทธศาสตร์ผังเมือง การจราจรและขนส่ง
ดูโครงการแผนปีฯ : พิมพ์ข้อมูล
*** สยป. ประเมินโครงการ : ไตรมาสที่ 1
คลองผดุงกรุงเกษม เป็นคลองที่มีศักยภาพในการเชื่อมต่อการเดินทางด้วยระบบขนส่งมวลชน ล้อ ราง เรือ ได้แก่ รถโดยสารประจำทาง เช่น สาย 171 (ปอ.) สาย 49 สาย 505 (ปอ.) สาย 511 (ปอ.) และ 53 ซึ่งเชื่อมเส้นทางมายังริม 2 ฝั่งคลอง มีเส้นทางสัญจรทางน้ำด้วยเรือโดยสารไฟฟ้าตามแนวคลองผดุงกรุงเกษม ซึ่งเป็นการสนับสนุนการเชื่อมต่อระบบขนส่งมวลชนจากแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณท่าเรือเทเวศร์ มายังสถานีรถไฟฟ้าหัวลำโพง รวม 11 ท่าเรือ ระยะทางประมาณ 5 กิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ 4 เขตได้แก่ เขตพระนคร เขตดุสิต เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย และเขตปทุมวัน โดยมีเรือด่วนเจ้าพระยาและเรือข้ามฟากบริเวณท่าเรือเทเวศร์ เรือโดยสารคลองแสนแสบซึ่งมาบรรจบกับเส้นทางเดินเรือคลองผดุงกรุงเกษมบริเวณตลาดโบ๊เบ๊ และรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินที่สถานีรถไฟหัวลำโพง และความยาวของคลองยังต่อเนื่องไปถึงพื้นที่ย่านตลาดน้อย ออกสู่แม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณท่าเรือข้ามฟากสี่พระยา ในพื้นที่เขตสัมพันธวงศ์ และเขตบางรัก แต่ทั้งนี้ ถนนและทางเท้าบริเวณริมคลองผดุงกรุงเกษมบางช่วงมี สภาพชำรุดเสียหาย รวมทั้งมีการใช้พื้นที่เพื่อประกอบกิจกรรมการค้าขายบนทางเท้า ทำให้ศักยภาพในการใช้ประโยชน์พื้นที่ลดลง จึงจำเป็นต้องดำเนินการปรับปรุงภูมิทัศน์บริเวณริมคลองผดุงกรุงเกษมทั้ง 2 ฝั่ง เพื่อให้เกิดความเป็นระเบียบเรียบร้อย สร้างทัศนียภาพสวยงาม ประชาชนสามารถเดินทางสัญจรได้อย่างสะดวก และปลอดภัย ตลอดแนวคลอง ในปี 2552 สำนักการวางผังและพัฒนาเมือง (สำนักผังเมือง เดิม) ได้นำเสนอผลการศึกษาโครงการปรับปรุงฟื้นฟูย่านคลองผดุงกรุงเกษมทั้ง 2 ฝั่งคลอง ใน 5 บริเวณหลัก ได้แก่ ย่านตลาดเทวราชกุญชร ย่านวัดโสมนัสวรวิหารและย่านตลาดนางเลิ้ง ย่านตลาดสะพานขาวและบริเวณโรงหนังปารีส ย่านตลาดโบ๊เบ๊ และย่านหัวลำโพง เพื่อปรับปรุงและพัฒนาสภาพแวดล้อมให้สวยงาม เป็นระเบียบเรียบร้อย เป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญในการส่งเสริมและเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจสร้างรายได้ให้แก่ประชาชนและชุมชน และในปี 2563 กรุงเทพมหานครได้แต่งตั้งคณะทำงานปรับปรุงภูมิทัศน์และก่อสร้างทางจักรยานคลองผดุงกรุงเกษม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มพื้นที่ริมคลองให้สามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ รองรับการใช้งานสำหรับทุกคน (Universal Design) มีความสะดวก ปลอดภัย ในการเดินทาง พัฒนาพื้นที่สีเขียวเพื่อการพักผ่อน หย่อนใจการฟื้นฟู ส่งเสริม เอกลักษณ์ของแต่ละย่าน ที่มีความสำคัญ การมีส่วนร่วมและรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในพื้นที่ต่อการพัฒนาในด้านต่าง ๆ รวมทั้ง การสร้างเครือข่ายที่เข้มแข็งของชุมชน ในการดูแลรักษาพื้นที่ นอกจากนี้ สำนักการวางผังและพัฒนาเมือง ยังได้ดำเนินการศึกษาแผนการพัฒนาฟื้นฟูย่าน ตลาดน้อยและพื้นที่ต่อเนื่อง ซึ่งเป็นพื้นที่เชื่อมโยงกับแนวคลองผดุงเกรงเกษม เพื่อต่อยอดการพัฒนาพื้นที่คลองผดุงกรุงเกษม กรุงเทพมหานครจึงดำเนินการผลักดันการพัฒนาพื้นที่ตลอด 2 ฝั่งคลองอย่างบูรณาการรอบด้าน โดยการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานเพื่อเชื่อมโยงการเดินทางสัญจร และปรับปรุงภูมิทัศน์บริเวณโดยรอบคลองผดุงกรุงเกษมเพื่อส่งเสริมให้เกิดการเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากศักยภาพเพื่อการสัญจรของพื้นที่ ในขณะเดียวกัน กรุงเทพมหานครต้องคำนึงถึงประชาชนริมคลอง โดยส่งเสริมกิจกรรมทางเศรษฐกิจ และยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน เพื่อให้ประชาชนได้รับประโยชน์และ เห็นความสำคัญของการพัฒนาพื้นที่ อันจะนำไปสู่การมีส่วนร่วมในการดูแลรักษาพื้นที่อย่างยั่งยืน
21050200/21050200
2.1 เพื่อเพิ่มศักยภาพการเชื่อมต่อการเดินทางในพื้นที่ตลอดแนวคลองผดุงกรุงเกษม 2.2 เพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียวและพื้นที่สาธารณะเพื่อให้ประโยชน์ร่วมกันของประชาชนริมคลองผดุงกรุงเกษม 2.3 เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนริมคลองผดุงกรุงเกษม
3.1 จำนวนผู้ใช้บริการขนส่งสาธารณะ เรือไฟฟ้าคลองผดุงกุงเกษมเพิ่มขึ้น 3.2 พื้นที่สีเขียวและพื้นที่สาธารณะเพื่อให้ประโยชน์ร่วมกันเพิ่มขึ้น
(1) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 75.00 (2023-07-21)
21/07/2566 : 1. ปรับปรุงภูมิทัศน์บริเวณริมคลองผดุงกรุงเกษม (5ช่วง) 1.1 ช่วงจากสะพานเทเวศรนฤมิตรถึงแม่น้ำเจ้าพระยา (เทเวศร์) พื้นที่เขตดุสิตและเขตพระนคร ความคืบหน้าร้อยละ 85 1.2 ช่วงจากสะพานพิทยเสถียรถึงสะพานเจริญสวัสดิ์ 36 พื้นที่เขตบางรักและเขตสัมพันธ์วงศ์ ความคืบหน้าร้อยละ 98 1.3 ช่วงจากสะพานจตุรภักตร์รังสฤษดิ์ ถึงสะพานมัฆวานรังสรรค์ พื้นที่เขตป้อมปราบศัตรูพ่ายและเขตดุสิต ความคืบหน้าร้อยละ 100 (ตรวจรับงานเเล้ว) 1.4 ช่วงจากสะพานกษัตริย์ศึก ถึงสะพานจตุรภักตร์รังสฤษดิ์ พื้นที่เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย เขตปทุมวันและเขตดุสิต ความคืบหน้าร้อยละ 70 อยู่ระหว่างพิจารณาขอต่ออายุสัญญา 1.5 ช่วงจากสะพานมัฆวานรังสรรค์ ถึงสะพานเทเวศรนฤมิตร พื้นที่เขตดุสิตและเขตพระนคร (ศูนย์ก่อสร้างและบูรณะ 3 ส่วนก่อสร้างและบูรณะ 2) ความคืบหน้าร้อยละ 70 อยู่ระหว่างแก้ไขสัญญา 2. โครงการพัฒนาระบบการเดินเรือในคลองผดุงกรุงเกษมระยะที่ ๒ เปิดการเดินเรือเมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2566 จำนวนผู้โดยสารเฉลี่ยประมาณ 390 คน/วัน 3. กำหนดนำเนอโครงการ Smart City จากการมีส่วนร่วมของประชาชนและนักศึกษาจาก USL ร่วมกับ สยป. สวพ. ม.นวมินทร์ สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ในวันที่ 18 ส.ค.2566
** ปัญหาของโครงการ :1. ปัญหาคนจรจัดเข้ามาใช้พิ้นที่ และการจอดรถไม่เป็นระเบียบในเวลากลางคืน บริเวณริมคลองช่วงที่ปรับปรุงเสร็จเเล้ว 3. ปัญหาการเจรจาให้แผงลอยออกจากพพื้นที่ บริเวณริมคลองช่วงที่อยู่ระหว่างการปรับปรุงเ
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(2) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 40.00 (2023-02-13)
13/02/2566 : 1. เมื่อวันที่วันที่ 11 – 12 มกราคม 2566 ศูนย์วิจัยชุมชนเมือง (Urban Studies Lab) เชิญบุคลากรสำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล จำนวน 6 คน และบุคลากรของสำนักงานเขต ในพื้นที่โดยรอบคลองผดุงกรุงเกษม เขตละ 3 คน เข้าร่วมกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ (Workshop) ณ ศูนย์การเรียนรู้มูลนิธิฟอร์ดเพื่อชุมชนและสิ่งแวดล้อม (FREC Bangkok) เพื่อส่งเสริมบทบาทของภาครัฐในการสร้างพลเมืองตื่นรู้ (Active Citizen) ผ่านการใช้เครื่องมือการจัดทำงบประมาณแบบมีส่วนร่วม (Participatory Budgeting) และร่วมกันจัดทำโครงการต้นแบบ (Pilot Project) เพื่อแก้ปัญหาพื้นที่โดยรอบคลองผดุงกรุงเกษม 2. เมื่อวันที่ 24 มกราคม 2566 ศูนย์วิจัยชุมชนเมือง (Urban Studies Lab) ได้จัดกิจกรรมนำเสนอโครงการต้นแบบการจัดทำงบประมาณแบบมีส่วนร่วม (Participatory Budgeting): พื้นที่ทดลองรอบคลองผดุงกรุงเกษม ณ ห้องนพรัตน์ ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร (เสาชิงช้า) (เอกสารแนบ 6) โดยมีรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (รองศาสตราจารย์ทวิดา กมลเวชช) เป็นประธาน ผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วย ผู้แทนจากวิทยาลัยพัฒนาชุมชนเมือง (UCDC) มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช บุคลากรสำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล บุคลากรของสำนักงานเขตในพื้นที่โดยรอบคลองผดุงกรุงเกษม กลุ่มปั้นเมือง และผู้แทนชุมชนโดยรอบคลองผดุงกรุงเกษม ทั้งนี้ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (รองศาสตราจารย์ทวิดา กมลเวชช) ได้ให้ข้อเสนอแนะในการดำเนินงานครั้งต่อไปว่า ควรเพิ่มเติมข้อเสนอด้านกลไกเพื่อให้ภาคประชาชนสามารถเข้ามามีส่วนร่วมในการติดตามการใช้จ่ายงบประมาณของกรุงเทพมหานครได้ 3. สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล อยู่ระหว่างพิจารณาเสนอผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ให้ความเห็นชอบให้การสนับสนุนการทำงานโครงการฯ ในปีท่ 2 (มี.ค.66 - ก.พ.67) ในรูปแบบอื่น (in – kind)
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(3) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 20.00 (2022-12-19)
19/12/2565 : 1. ร่วมหารือกับศูนย์วิจัยชุมชนเมือง (Urban Studies Lab) เมื่อวันที่ 14 พ.ย. 2565 และวันที่ 13 ธ.ค. 2565 เพื่อนำเสนอโครงการวิจัย และผลการดำเนินงานโครงการการยกระดับและพัฒนา ย่านแห่งการเรียนรู้ ผ่านกลไกห้องวิจัยมีชีวิต ห้องเรียนเมือง และกระบวนการจัดทำงบประมาณแบบมีส่วนร่วม กรณีศึกษาพื้นที่รอบคลองผดุงกรุงเกษม 2. กำหนดจัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ (Work Shop) ในระหว่างวันที่ 11 -13 มกราคม 2565
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(4) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 10.00 (2022-12-01)
01/12/2565 : จัดทำรายงานผลการดำเนินงานโครงการพัฒนาเมืองอัจฉริยะเพื่อสนับสนุนการพัฒนาพื้นที่โดยรอบคลองผดุงกรุงเกษม ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 รายงานผู้อำนวยการนักยุทะศาสตร์และประเมินผล เรียบร้อยเเล้ว
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
ตัวชี้วัด : ร้อยละของโครงการที่เป็นงานประจำของหน่วยงานที่ดำเนินการสำเร็จตามเป้าหมาย
ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 100
ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 0
ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดงานประจำ ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (output)
** ผลการประเมินโครงการ (รายไตรมาส) **