ความคืบหน้าโครงการ/กิจกรรม

Back Home
FusionCharts will render here

โครงการส่งเสริมการบูรณาการเครือข่ายและสร้างการมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ : 21000000-6589

สํานักยุทธศาสตร์และประเมินผล : (2566)

20

ความคืบหน้าโครงการ ร้อยละ 20

กลุ่มงานยุทธศาสตร์การศึกษาและพัฒนาสังคม

ดูโครงการแผนปีฯ : พิมพ์ข้อมูล

*** สยป. ประเมินโครงการ : ไตรมาสที่ 1

หลักการและเหตุผล

คนพิการ เป็นบุคคลซึ่งมีข้อจํากัดในการปฏิบัติกิจกรรมในชีวิตประจำวันหรือการเข้าไปมีส่วนร่วมทางสังคม เนื่องจากมีความบกพร่องทางการเห็น การได้ยิน การเคลื่อนไหว การสื่อสาร จิตใจ อารมณ์ พฤติกรรม สติปัญญา การเรียนรู้ หรือความบกพร่องอื่นใด ประกอบกับมีอุปสรรคในด้านต่าง ๆ และมีความจำเป็นเป็นพิเศษ ที่จะต้องได้รับความช่วยเหลือด้านหนึ่งด้านใด เพื่อให้สามารถปฏิบัติกิจกรรมในชีวิตประจำวัน หรือเข้าไปมีส่วนร่วมทางสังคมได้อย่างบุคคลทั่วไป โดยในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 การพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการมีการดำเนินการในหลายมิติ เช่น การส่งเสริมให้เข้าถึงระบบสวัสดิการของรัฐ (ข้อมูล เดือนพฤศจิกายน 2564 ;สพส.) (1) การสงเคราะห์และช่วยเหลือตามระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการจัดสวัสดิการและการสงเคราะห์ พ.ศ. 2557 มีคนพิการได้รับการสนับสนุนการซ่อมแซมที่อยู่อาศัย จำนวน 706 คน (2) การจ่ายเบี้ยความพิการผ่านระบบบูรณาการฐานข้อมูลสวัสดิการสังคม (e-Social Welfare) มีคนพิการรับเบี้ยผ่านระบบฯ จำนวน 91,810 คน มีการจัดงาน “คนพิการตัวอย่างกรุงเทพมหานคร” เพื่อสร้างความภาคภูมิใจและยกย่องการดำเนินชีวิตของคนพิการ นอกจากนี้ ด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ดำเนินการจัดทำสิ่งอำนวยความสะดวกคนพิการ 50 สำนักงานเขต การก่อสร้างลิฟต์สำหรับคนพิการของระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานคร จำนวน 19 ตัว ใน 16 สถานี ติดตั้งดวงโคมพร้อมอุปกรณ์เสียงประกอบทางข้าม จำนวน 100 ชุด บริเวณ 54 ทางแยก เป็นต้น กรุงเทพมหานครยังคงมีเป้าหมายในการพัฒนาและยกระดับคุณภาพชีวิตคนพิการ ด้วยการส่งเสริมคุ้มครอง พิทักษ์สิทธิของบุคคล พัฒนาศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ เพื่อสร้างความเป็นธรรมและความเสมอภาคในการดำรงชีวิตรวมถึงมีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ โดยพิจารณาจากความต้องการ 6 ด้าน ได้แก่ ด้านสุขภาพ ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม ด้านการศึกษา ด้านโครงสร้างพื้นฐาน และด้านอื่น ๆ ประกอบกับผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครได้ให้ความสำคัญแก่คนพิการและได้กำหนดนโยบายที่เกี่ยวข้องกับคนพิการ เช่น “บัตรคนพิการ จุดเดียวจบ ทุก รพ.สังกัด กทม.” “ส่งเสริมการจ้างงานคนพิการ ในหน่วยงานของ กทม.” “ปรับปรุงอาคาร สถานที่ ของ กทม.ตามหลักการออกแบบสำหรับทุกคน (Universal Design)” เป็นต้น ทั้งนี้ เพื่อลดความเหลื่อมล้ำให้คนพิการสามารถอยู่ในสังคมได้อย่างมีศักดิ์ศรีและดำเนินชีวิตได้เฉกเช่นคนทั่วไป นอกจากนี้ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครยังได้แต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนนโยบายด้านคนพิการของกรุงเทพมหานคร เพื่อเป็นกลไกในการเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินการด้านคนพิการของกรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นการประสานความร่วมมือของกรุงเทพมหานครและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน รวมถึงภาคีทุกภาคส่วน การดำเนินงานกระจายอยู่ในภารกิจของหน่วยงานต่าง ๆ เช่น สำนักพัฒนาสังคม สำนักอนามัย สำนักการแพทย์ สำนักการศึกษา สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล สำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว สำนักการโยธา สำนักการจราจรและขนส่ง สำนักงานปกครองและทะเบียน สำนักงานเขต เป็นต้น กองยุทธศาสตร์ทรัพยากรมนุษย์และสังคม เห็นความสำคัญในการร่วมมือกันเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ซึ่งหากคนพิการได้มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น กำหนดประเด็น แผนงาน โครงการ หรือให้ข้อเสนอแนะต่าง ๆ ก็จะสามารถทำให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมถึงเกิดความเข้มแข็งภายในชุมชนของคนพิการ จึงจัดทำโครงการบูรณาการเครือข่ายและการสร้างการมีส่วนร่วม เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการขึ้น โดยเป็นการบูรณาการความร่วมมือของเครือข่ายประชาสังคม และหน่วยงานหลายภาคส่วน รวมถึงเป็นการสำรวจความต้องการทั้ง 6 ด้านของคนพิการเพื่อที่ทำให้ตอบสนองความต้องการของคนพิการได้อย่างแท้จริง

21060100/21060100

วัตถุประสงค์ของโครงการ

เพื่อผลักดันเครือข่ายประชาสังคมให้มีส่วนร่วมในการกำหนดประเด็น แผนงาน โครงการ หรือข้อเสนอแนะ ในการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการในพื้นที่กรุงเทพมหานคร

เป้าหมายของโครงการ

มีแผนงานบูรณาการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการของกรุงเทพมหานคร 1 ฉบับ

สนับสนุนยุทธศาสตร์กรุงเทพมหานครฯ

ผลการดำเนินงาน

(1) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 0.00 (2023-05-01)

0.00

จัดทำหนังสือที่ กท0506/829 ลว 31 มี.ค. 66 ขอความอนุเคราะห์ตอบแบบสำรวจข้อมูลผู้สูงอายุ เวียนแจ้งแก่หน่วยงานในสังกัดกรุงเทพมหานคร ขณะนี้อยู่ระหว่างประมลผลข้อมูลที่หน่วยงานตอบแบบสำรวจ

** ปัญหาของโครงการ :หน่วยงานส่งข้อมูลที่หลากหลายรูปแบบ ทำให้ไม่สามารถใช้ข้อมูลได้เต็มประสิทธิภาพ ต้องใช้ระยะเวลาในการดำเนินงานมากกว่าที่คาดการณ์ไว้

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

แผนการดำเนินงานฯ

ขั้นตอน 1
:1. ศึกษาข้อมูลด้านคนพิการ เพื่อประกอบการจัดทำโครงการส่งเสริมการบูรณาการเครือข่ายและสร้างการมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ
:10.00%
เริ่มต้น :2022-10-01 00:00:00
สิ้นสุด :2022-10-01 00:00:00
ขั้นตอน 2
:2. ขออนุมัติการดำเนินงานโครงการส่งเสริมการบูรณาการเครือข่ายและสร้างการมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ
:5.00%
เริ่มต้น :2022-12-01 00:00:00
สิ้นสุด :2022-12-01 00:00:00
ขั้นตอน 3
:3. สำรวจข้อมูลเครือข่ายประชาคมที่เกี่ยวข้องกับคนพิการ 50 เขต
:10.00%
เริ่มต้น :2023-01-01 00:00:00
สิ้นสุด :2023-01-01 00:00:00
ขั้นตอน 4
:4. ศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลคนพิการจากแผนงาน งานศึกษา วิจัย กฎหมาย
:10.00%
เริ่มต้น :2023-01-01 00:00:00
สิ้นสุด :2023-01-01 00:00:00
ขั้นตอน 5
:5. สำรวจความต้องการจากเครือข่ายประชาสังคม และกำหนดประเด็นสำคัญที่ต้องการให้กรุงเทพมหานครดำเนินการ/สนับสนุนในการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ในรูปแบบที่เหมาะสมกับสถานการณ์ เช่น จัดประชุม แบบสำรวจ สัมภาษณ์ เป็นต้น
:20.00%
เริ่มต้น :2023-02-01 00:00:00
สิ้นสุด :2023-02-01 00:00:00
ขั้นตอน 6
:6. จัดทำ (ร่าง) แผนงานบูรณาการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการของกรุงเทพมหานคร
:20.00%
เริ่มต้น :2023-05-01 00:00:00
สิ้นสุด :2023-05-01 00:00:00
ขั้นตอน 7
:7. ประชุมผู้ที่เกี่ยวข้องพิจารณา (ร่าง) แผนงานบูรณาการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการของกรุงเทพมหานคร
:10.00%
เริ่มต้น :2023-07-01 00:00:00
สิ้นสุด :2023-07-01 00:00:00
ขั้นตอน 8
:8. ปรับปรุงแผนงานบูรณาการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการของกรุงเทพมหานครตามความเห็น และข้อเสนอแนะ
:5.00%
เริ่มต้น :2023-08-01 00:00:00
สิ้นสุด :2023-08-01 00:00:00
ขั้นตอน 9
:9. เสนอแผนงานบูรณาการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการของกรุงเทพมหานครให้ผู้บริหารให้ความเห็นชอบ
:10.00%
เริ่มต้น :2023-09-01 00:00:00
สิ้นสุด :2023-09-01 00:00:00

(ทดสอบ) แสดงขั้นตอนการดำเนินงานโครงการ : 21000000-6589

(คลิก) ขั้นตอนการปฏิบัติงานของโครงการ : 21000000-6589

สนับสนุนตัวชี้วัดตามแผนฯ

รายละเอียดเกี่ยวกับตัวชี้วัด : 2100-2082

ตัวชี้วัด : ระดับความสำเร็จของการส่งเสริมการบูรณาการเครือข่ายและการสร้างการมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ

ค่าเป้าหมาย ระดับความสำเร็จ : 5

ผลงานที่ทำได้ ระดับความสำเร็จ :

ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์
ตัวชี้วัดระดับผลลัพธ์ (outcome)

ไตรมาสที่
(1 - 4)
*ผลงาน*
(ระดับความสำเร็จ)
*ผลประเมินตัวชี้วัด*
(* 2.1 / 2.2 *)
1
0.00

0 / 0
2
0.00

0 / 0
3
0.00

0 / 0
4
0.00

0 / 0

** ผลการประเมินโครงการ (รายไตรมาส) **