ความคืบหน้าโครงการ ร้อยละ 100
นางสาวปรีดา พูลสิน โทร. 0 2203 2749
ดูโครงการแผนปีฯ : พิมพ์ข้อมูล
*** สยป. ประเมินโครงการ : ไตรมาสที่ 1
สำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยวให้ความสำคัญและดำเนินการตามแผนพัฒนากรุงเทพมหานคร 20 ปี (พ.ศ.2561 – พ.ศ.2580) ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3.4 สังคมพหุวัฒนธรรม กลยุทธ์ที่ 3.4.3พัฒนาและส่งเสริมให้มีพื้นที่เพื่อการเรียนรู้ทางพหุวัฒนธรรมที่หลากหลายทั้งในเชิงรูปแบบและลักษณะกิจกรรมในกรุงเทพมหานครเป็นการส่งเสริมให้ประชาชนและเยาวชนในกรุงเทพมหานครเรียนรู้วัฒนธรรมเมืองกรุงเทพมหานครโดยผ่านกิจกรรม รวมทั้งเปิดโอกาสให้สมาชิกของแต่ละกลุ่มวัฒนธรรมมีพื้นที่ในการแสดงตัวปัจจุบันการส่งเสริมกิจกรรมด้านวัฒนธรรมของกรุงเทพมหานครส่วนใหญ่เป็นกิจกรรมตามวาระและเทศกาลสำคัญ ยังขาดการสร้างสรรค์กิจกรรมเรียนรู้ทางด้านวัฒนธรรมที่น่าสนใจในรูปแบบอื่นๆ ศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยเป็นการปรับปรุง สร้างสรรค์ ผสมผสานระหว่างศิลปวัฒนธรรมแบบดั้งเดิมและศิลปวัฒนธรรมตามบริบทของปัจจุบันซึ่งกำลังเป็นที่สนใจอย่างกว้างขวางทั้งด้านทัศนศิลป์ สถาปัตยกรรม ดนตรี วรรณศิลป์ ศิลปะการแสดง การออกแบบเครื่องแต่งกาย ฯลฯ ที่มีความโดดเด่นเพียงพอในการนำมาจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมในพื้นที่กรุงเทพมหานคร โดยการจัดงานเทศกาลศิลปวัฒนธรรม-กรุงเทพมหานครทั้งนี้เพื่อปลุกกระแสและสร้างแรงดึงดูดให้ประชาชนได้รู้จักและมีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมในกรุงเทพมหานครมากยิ่งขึ้นนอกจากนี้ยังเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ (Creative Tourism)ซึ่งสอดคล้องกับลักษณะนักท่องเที่ยวรูปแบบใหม่ ที่มุ่งแสวงหาและเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรมในรูปแบบต่างๆ
23071000/23071000
2.1 เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนผลงานด้านศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยในกรุงเทพมหานคร 2.2 เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ และเผยแพร่ผลงานด้านศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย 2.3 เพื่อสร้างสรรค์กิจกรรมส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยในพื้นที่กรุงเทพมหานคร 2.4 เพื่อให้ประชาชนทั่วไปได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยร่วมกับเครือข่ายศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยกรุงเทพมหานคร 2.5 เพื่อส่งเสริมและเพิ่มศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ (Creative Tourism) สามารถกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศ
3.1 จัดงานเทศกาลศิลปวัฒนธรรมกรุงเทพมหานคร จำนวน 1 ครั้ง 3.2 เครือข่ายศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย 9 สาขา และสมาชิกของกลุ่มวัฒนธรรมร่วมสมัยในกรุงเทพมหานครมีพื้นที่จัดแสดงผลงานและแนวคิดการสร้างสรรค์ผลงานสู่สาธารณะชน 3.3 เกิดการเชื่อมโยงแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยในพื้นที่กรุงเทพมหานคร
(1) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 100.00 (2023-02-23)
23/02/2566 : สรุปรายละเอียดการจัดงาน โครงการค่าใช้จ่ายในการจัดงานเทศการศิลปวัฒนธรรมกรุงเทพมหานคร จัดให้มีการแถลงข่าวเพื่อประชาสัมพันธ์โครงการ เมื่อวันที่ 18 มกราคม 2566 เวลา 15.30 น. ณ ห้องรัตนโกสินทร์ ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร เสาชิงช้า และจัดงานเทศกาลศิลปวัฒนธรรมกรุงเทพมหานคร ระหว่างวันที่ 25 - 29 มกราคม 2566 เวลา 15.00 - 20.00 น. ณ ลานหน้าอาคารหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร โดยนายสมบูรณ์ หอมนาน ผู้อำนวยการสำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว เป็นประธานในพิธีเปิดงานพร้อมด้วยคณะผู้บริหารสำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว กิจกรรมประกอบด้วย 1) เวทีการแสดงศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยกรุงเทพมหานคร 2) กิจกรรม Workshop จากศิลปินร่วมสมัยสาขาต่าง ๆ เช่น การทำพวงกุญแจ Paper Cut โปสการ์ด ฯลฯ 3) การแสดงศิลปะริมถนน (Street Performance) ที่รวบรวมศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยหลายแขนง เช่น หุ่นกระบอก มายากล ละครใบ้ ฯลฯ 4) ตลาดนัดศิลปะ Art & Craft Mini Market จำหน่ายงานศิลปะ งานฝีมือ จากศิลปิน นักออกแบบ ผู้สร้างสรรค์ผลงาน และผู้ประกอบการงานผีมือร่วมจำหน่ายสินค้าภายในงาน ผลการประเมินความพึงพอใจและจำนวนผู้เข้าร่วมงาน 1. จำนวนผู้เข้าร่วมงาน 634 คน 2. มีผู้ตอบแบบสอบถาม จำนวน 256 คน ค่าเฉลี่ยความพึงพอใจ 4.58 อยู่ในระดับความพึงพอใจมากที่สุด 3. ยอดจำหน่ายสินค้าประเภทผลงานศิลปะและงานฝีมือ ภายในตลาดนัดศิลปะ Art&Craft Mini Market จำนวน 12 ร้าน รายรับทั้งสิ้น 74,213.00 บาท ขั้นตอนการดำเนินงาน อยู่ระหว่างตรวจสอบเอกสารก่อนดำเนินการเบิกจ่าย
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(2) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 80.00 (2023-01-27)
27/01/2566 : กรุงเทพมหานครกำหนดจัดงานเทศกาลศิลปวัฒนธรรมกรุงเทพมหานคร ระหว่างวันที่ 25 – 29 มกราคม 2566 ณ ลานหน้าอาคารหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนผลงานด้านศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยในกรุงเทพมหานคร ให้ประชาชนได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย นอกจากนี้ยังเป็นการส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์เพื่อนำไปสู่การพัฒนาและทำให้กรุงเทพมหานครเป็นเมืองที่น่าอยู่สำหรับทุกคน รายละเอียดการจัดงาน เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2566 นายสมบูรณ์ หอมนาน ผู้อำนวยการสำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีเปิดงาน พร้อมด้วยคณะผู้บริหารสำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว ร่วมในพธีเปิดงาน โดยกิจกรรมภายในงานประกอบด้วย 1. เวทีการแสดงศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยกรุงเทพมหานคร 2. กิจกรรม Workshop จากศิลปินร่วมสมัยสาขาต่าง ๆ เช่น การทำพวงกุญแจ Paper Cut โปสการ์ด ฯลฯ 3. การแสดงศิลปะริมถนน (Street Performance) ที่รวบรวมศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยหลายแขนง เช่น หุ่นกระบอก มายากล ละครใบ้ ฯลฯ 4. ตลาดนัดศิลปะ Art & Craft Mini Market จำหน่ายงานศิลปะ งานฝีมือ จากศิลปิน นักออกแบบ ผู้สร้างสรรค์ผลงาน และผู้ประกอบการงานผีมือร่วมจำหน่ายสินค้าภายในงาน
** ปัญหาของโครงการ :-
** อุปสรรคของโครงการ :-
------------------&&&--------------------
ตัวชี้วัด : 1.2 ระดับความสำเร็จในการจัดกิจกรรมของเครือข่ายด้านพหุวัฒนธรรมเชิงพื้นที่ในกรุงเทพมหานครที่จัดกิจกรรมเพื่อการพัฒนาครบถ้วนตามที่กำหนด
ค่าเป้าหมาย ระดับ : 5
ผลงานที่ทำได้ ระดับ : 6
ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์ ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (output)
** ผลการประเมินโครงการ (รายไตรมาส) **